งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "งบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 งบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
สำนักงบประมาณ สำนักงบประมาณ งบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด โดย นายมนู ประสาทกุล ผู้อำนวยการกลุ่มการจัดการงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด และการบูรณาการงบประมาณในการบริหารราชการในต่างประเทศ 24 กุมภาพันธ์ 2553 สำนักงบประมาณ 1

2 ประเด็นการนำเสนอ 1. ข้อกฎหมายเกี่ยวกับการงบประมาณจังหวัด/กลุ่มจังหวัด
2. เจตนารมณ์บริหารงานงบประมาณจังหวัด/กลุ่มจังหวัด 3. กระบวนการจัดทำงบประมาณจังหวัด/กลุ่มจังหวัด 4. การบริหารงบประมาณจังหวัด/กลุ่มจังหวัด

3 การจัดทำแผนงบประมาณจังหวัดฯ
ที่มา 1.ข้อกฎหมายเกี่ยวกับการงบประมาณจังหวัด 1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 78 (2) กำหนดให้รัฐต้องดำเนินการสนับสนุนให้จังหวัดมีแผนและงบประมาณเพื่อพัฒนาจังหวัด เพื่อประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่ มาตรา 87(1) กำหนดให้รัฐต้องดำเนินการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและวางแผน พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น 2. พรบ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 มาตรา 53/1 กำหนดให้จังหวัดจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดใน พรฎ.  มาตรา 53/2 กำหนดให้นำหลักเกณฑ์และวิธีการมาใช้บังคับกับการจัดทำแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดโดยอนุโลม มาตรา 52 วรรคสาม กำหนดให้จังหวัดหรือกลุ่มจังหวัด ยื่นคำขอจัดตั้งงบประมาณได้และให้ถือว่าจังหวัดหรือ กลุ่มจังหวัดเป็นส่วนราชการตามกฎว่าด้วยวิธีการงบประมาณ 3. พรฎ.ว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551 มาตรา 8 (2) กำหนดให้ ก.น.จ. มีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบายหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดการจัดทำและบริหารงบประมาณ จังหวัดและงบประมาณกลุ่มจังหวัด เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ มาตรา 78 (2) กำหนดให้รัฐต้องดำเนินการสนับสนุนให้จังหวัดมีแผนและงบประมาณเพื่อพัฒนาจังหวัด เพื่อประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่ มาตรา 87(1) กำหนดให้รัฐต้องดำเนินการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและวางแผน พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น และ พรบ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) พ.ศ มาตรา 52 วรรคสาม กำหนดให้จังหวัดหรือกลุ่มจังหวัด ยื่นคำขอจัดตั้งงบประมาณได้และให้ถือว่าจังหวัดหรือ กลุ่มจังหวัดเป็นส่วนราชการตามกฎว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ทั้งนี้ พรฎ.ว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ มาตรา 8 (2) กำหนดให้ ก.น.จ. มีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบายหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดการจัดทำและบริหารงบประมาณจังหวัดและงบประมาณกลุ่มจังหวัด การจัดทำแผนงบประมาณจังหวัดฯ 3 3 3

4 สรุป : ข้อกฎหมายเกี่ยวกับการงบประมาณจังหวัด
กำหนดให้ครม.ต้องจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อแสดงมาตรการและรายละเอียดของแนวทางในการปฏิบัติราชการในแต่ละปีของการบริหารราชการแผ่นดิน… [มาตรา 76] กำหนดให้รัฐสนับสนุนให้จังหวัดมีแผนและงบประมาณเพื่อพัฒนาจังหวัด [มาตรา 78 (2)] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 แผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุน การจัดทำแผนพัฒนาและงบประมาณจังหวัด/กลุ่มจังหวัด จังหวัดมีฐานะเป็นส่วนราชการตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ฯ วิธีการงบประมาณ พ.ศ และสามารถยื่นคำขอตั้งงบประมาณต่อสำนักงบประมาณได้เช่นเดียวกับหน่วยงานอื่น ตามหลักเกณฑ์ที่ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกำหนด ให้จังหวัดหรือกลุ่มจังหวัดยื่นคำขอตั้งงบประมาณได้ … ในกรณีนี้ให้ถือว่าจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัดเป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ (มาตรา 52 วรรค 3) ให้จังหวัดจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระดับชาติ และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นในจังหวัด (มาตรา 53/1) พรฎ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ให้ส่วนราชการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี และแผนปฏิบัติราชการประจำปี ซึ่งต้องสอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดิน และให้เสนอแผนปฏิบัติราชการประจำปี ให้รัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ (มาตรา 16) ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ และแก้ไข พ.ศ.2551 และ พ.ศ.2552 ระเบียบสำนักนายกฯ ไทยเข้มแข็ง 2555 พ.ศ. 2552 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ..ศ. 2547 ในเบื้องต้น ขอกราบเรียนเกี่ยวกับ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำงบประมาณจังหวัด ซึ่ง โดยสรุปแล้วก็มีกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอยู่หลายฉบับด้วยกัน เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 พ.ร.บ. วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2550 ตามมาด้วย พรฎ. ว่าด้วยการบริหารจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ 30 ธันวาคม โดยมีสาระสำคัญที่เกี่ยวกับสำนักงบประมาณโดยตรง ก็คือ ‘‘ ให้จังหวัดและกลุ่มจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจำปี และคำของบประมาณ ตามนโยบาย ที่ กนจ.กำหนด และให้เสนอให้คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ ก่อนนำเสนอสำนักงบประมาณ เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนและกระบวนการขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีซึ่งจะมีประเด็นที่จะนำเสนอในรายละเอียดในลำดับต่อไป ’’ พรฎ. ว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและ กลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551 (ข้อ 8) ให้ส่วนราชการจัดทำ 1. แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ให้เสร็จภายใน 60 วัน นับแต่แผนการบริหารฯ ประกาศในราชกิจจาฯ 2. แผนปฏิบัติราชการประจำปี เสนอรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบก่อนเสนอคำของบประมาณรายจ่ายประจำปี ให้จังหวัดจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่ม จังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจำปี และคำของบประมาณ ตามนโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการที่ กนจ.กำหนด และ ให้เสนอให้คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ การจัดทำแผนงบประมาณจังหวัดฯ 4 4 4

5 แหล่งเงินงบประมาณภายในจังหวัด
งบตามนโยบายรัฐบาล (Agenda) เช่น งบชายแดนภาคใต้ งบประมาณ จังหวัด(Area) งบของหน่วยงาน (Function) ที่ดำเนินการในภูมิภาค งบอุดหนุนขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ภาพที่ 15 ในภาพที่ปรากฏอยู่นี้ แสดงให้เห็นว่า..ไม่ใช่เพียงงบประมาณจังหวัดอย่างเดียว ที่จังหวัดของท่านได้รับ ยังมีงบประมาณอีกหลายแหล่งที่ลงไปพัฒนาในพื้นที่ของท่าน เช่น งบของหน่วยงานที่ดำเนินการในภูมิภาค จากกระทรวงและกรมต่างๆ หรือในบางจังหวัดจะมีส่วนราชการส่วนกลางที่ไปตั้งในพื้นที่ของท่าน เช่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอนแก่น …ก็จะมีเม็ดเงินตามลงไปพัฒนาตรงนั้นด้วยเช่นกัน หรือกรณีนโยบายรัฐบาล อย่าง งบ SML หรืองบชายแดนภาคใต้ รัฐก็ใช้งบกลางลงไปช่วยพัฒนาและแก้ไขปัญหาเร่งด่วนในพื้นที่ให้กับท่าน เป็นต้น ที่สำคัญ… ยังมีเงินของท้องถิ่น…ที่เป็นแหล่งเงินที่สำคัญ ที่จะมีส่วนช่วยให้การทำงาน การขับเคลื่อนในการพัฒนาพื้นที่จังหวัดของท่านบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายของจังหวัด ซึ่งประชาชนในพื้นที่ก็จะได้รับการดูแลให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ที่ยกเรื่องแหล่งเงินขึ้นมาเรียนท่าน ก็เพื่อเน้นย้ำให้ท่านเห็นว่ามีหลายแหล่งเงิน ที่อยู่ในจังหวัดของท่าน ซึ่งยังไม่ได้รวมแหล่งเงินของภาคเอกชน ดังนั้น จึงไม่ใช่เพียงงบประมาณจังหวัดเท่านั้นที่ท่านจะสามารถจะนำมาพัฒนาพื้นที่ของท่าน อย่างไรก็ดี ใคร่ขอเรียนท่านว่า การมีงบประมาณจังหวัด…ก็เพื่อเติมเต็ม..เพื่อเสริม..ในส่วนที่กระทรวงหรือกรมยังไม่สามารถลงมาทำในพื้นที่ของท่านได้ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนต่างๆ แต่ทั้งนี้..ก็ควรอยู่ในภายใต้เงื่อนไขที่ว่า ควรเป็นงานหรือโครงการที่ท่าน มีศักยภาพ..สามารถทำได้เองในระดับจังหวัด และที่สำคัญต้องเป็นไปตามแผนพัฒนาจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจำปี ด้วย

6 Development Model Governance Model
เจตนารมณ์ เจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ และ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ มีแนวทางการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ ดังนี้ Area-based Approach Development Model Governance Model Collaboration/ Joined-Up Government ยึดพื้นที่เป็นหลักในการพัฒนาเพื่อกระจายการ พัฒนาและลดความเหลื่อมล้ำของความ เจริญเติบโตระหว่างพื้นที่ต่างๆ ในประเทศ แบ่งเป็น 18 กลุ่มจังหวัดและ 75 จังหวัด (กลุ่ม จังหวัดเน้นยุทธ์ศาสตร์เรื่องการสร้าง competitiveness จังหวัดเน้นยุทธ์ศาสตร์เรื่อง พัฒนาสังคม รวมถึงการสร้างโอกาสและอาชีพ) ต้องการให้แต่ละพื้นที่มี position ในการพัฒนาที่ ชัดเจน และผ่านการเห็นชอบร่วมกันทุกฝ่าย เพื่อให้เกิดความยั่งยืนและร่วมมือร่วมใจกัน การจัดการความสัมพันธ์แนวดิ่งระหว่างส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น แบ่งหน้าที่กันทำตามแต่ละยุทธ์ศาสตร์ (มา เจรจาและทำข้อตกลงร่วมกัน) ลดความซ้ำซ้อนของการใช้งบประมาณ แผ่นดิน หรือระดมทรัพยากรเข้ามาใช้ร่วมกัน ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการขับเคลื่อนยุทธ์ ศาสตร์ การจัดการความสัมพันธ์แนวนอนระหว่างภาครัฐและ ภาคส่วนอื่นในสังคม (ภาคเอกชน และภาคประชา สังคม) ประสานการลงทุนภาคเอกชน และเชื่อมโยง เข้ากับแผนชุมชน กำหนดให้ ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นตัว linkage ฝ่ายต่างๆ เข้าด้วยกัน 6 6 6

7 เจตนารมณ์การบริหารงานจังหวัดและ
2. เจตนารมณ์การบริหารงานจังหวัดและ กลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ ๑. เป็นไปตามแผนพัฒนาจังหวัดหรือแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด ๒. สร้างโอกาสและส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาชน ๓. กระจายอำนาจการตัดสินใจลงไปสู่ระดับผู้ปฏิบัติ ๔. การส่งเสริมและสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีความพร้อมในรองรับ การกระจายอำนาจ ๕. การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

8 กลไกการจัดทำแผน/โครงการ และเสนองบประมาณจังหวัดฯ
ระดับชาติ ครม. ก.น.จ. รัฐสภา เสนอแผนพัฒนาฯ แผนปฏิบัติราชการประจำปีฯ และคำขอตั้งงบประมาณฯ นรม. เป็นประธาน จัดทำร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายฯ ปี 2554เสนอสภาฯ เพื่อพิจารณาอนุมัติฯ คณะอนุกรรมการด้านแผน และด้านงบประมาณ 5 คณะ มี รอง นรม. และ รมต. ประจำ นร. เป็นประธาน รองฯ สุเทพ เทือกสุบรรณ รองฯ ไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองฯ พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ รมต. ประจำ นร. สาทิตย์ วงศ์หนองเตย รมต. ประจำ นร.วีระชัย วีระเมธีกุล คำขอตั้ง งบประมาณฯ สงป. พิจารณาคำขอ และจัดสรรงบประมาณ ภายหลังจากพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ มีผลบังคับใช้แล้ว เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2551 กระบวนการจัดทำคำขอตั้งงบประมาณได้เปลี่ยนไปจากเดิม จากที่จังหวัดสามารถส่งคำขอตั้งงบประมาณมาที่สำนักงบประมาณโดยตรง เป็นลักษณะที่จังหวัดและกลุ่มจังหวัดจะต้องจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด และกลุ่มจังหวัด เสนอต่อคณะกรรมการฯ คณะต่างๆ เพื่อพิจารณากลั่นกรอง และให้ความเห็นชอบก่อน โดยดำเนินการใน 2 ระดับ ระดับชาติ กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.น.จ.) มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธานฯ เลขาธิการ ก.พ.ร. เป็นเลขานุการ ทำหน้าที่กำหนดกรอบนโยบาย วางระบบการบริหารฯ กำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ วิธีการจัดทำแผน การพิจารณา กลั่นกรอง และให้ความเห็นชอบแผนพัฒนา แผนปฏิบัติราชการประจำปี และคำของบประมาณ ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ในทางปฏิบัติ ก.น.จ. ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ ด้านแผนและด้านงบประมาณ รวม 5 คณะ โดยมี รอง นรม. และ รมต. ประจำสำนักนายกฯ ที่กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค เป็นประธาน และ มี สศช. เป็นฝ่ายเลขานุการฯ ทำหน้าที่พิจารณา และกลั่นกรองแผนและคำของบประมาณ เพื่อนำเสนอ ก.น.จ. และ ครม. ให้ความเห็นชอบ ก่อนส่งคำขอตั้งงบประมาณให้ สำนักงบประมาณ ต่อไป ระดับพื้นที่ ให้มีคณะกรรมการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.บ.จ./ ก.บ.ก.) มีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน ทำหน้าที่จัดทำแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด บูรณาการและจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีและคำของบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด โดยการสำรวจความคิดเห็น ความต้องการและศักยภาพของประชาชนในท้องถิ่น ในจังหวัด และจัดให้มีการประชุมปรึกษาหารือร่วมกันกับบุคคลทุกภาคส่วน เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับแผนพัฒนาจังหวัดที่ ก.บ.จ. จัดทำขึ้น ทั้งนี้ การพิจารณาจัดสรรงบประมาณปี 2553 ของสำนักงบประมาณ จะดำเนินการได้เฉพาะงบประมาณของโครงการที่อยู่ในแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด ที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.น.จ. และ ครม. แล้วเท่านั้น ระดับพื้นที่ จัดทำแผนพัฒนาจังหวัด และกลุ่มจังหวัด ก.บ.ก. จัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ก.บ.จ. จัดทำคำของบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด 8 8

9 3. กระบวนการจัดการงบประมาณ จังหวัด/กลุ่มจังหวัด ภายใต้ พรฎ. ว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551 กนจ. กำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด และแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ( ม.17 และ ม. 27 ) ผู้ตรวจราชการ สำนักนายกฯ และมหาดไทย ติดตามและรายงานผลต่อ กนจ. อย่างน้อย ปีละ 2 ครั้ง สาระสำคัญของแผนฯ ครอบคลุม โครงการส่วนราชการ โครงการองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น โครงการจังหวัด โครงการภาคเอกชน จังหวัดรายงานผล การปฏิบัติงาน / การใช้จ่ายเงิน ให้ กนจ. เสนอ ครม. ภายใน วัน หลังสิ้นปีงบประมาณ กบจ. / กบก. จัดทำแผนฯ ( ม.18 และ ม.27) รัฐสภาอนุมัติงบประมาณและเสนอลงพระปรมาภิไธย และประกาศใช้ ผู้ว่าฯ รับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับแผนฯ และการปรับปรุงแผนฯ ( ม.19 และ ม.27 ) สำนักงบประมาณแจ้งการจัดสรรงบประมาณให้ผู้ว่าฯ ทราบ ภายใน วัน นับแต่ได้รับแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่าย เงิน ( ม.29 ) สงป.พิจารณา คำขอและเสนอ ครม.เห็นชอบ ผู้ว่าฯ ส่ง แผนฯ ให้ กนจ. และ คณะรัฐมนตรี เห็นชอบ ( ม.19 และ ม.27 ) ส่วนราชการ และ อปท. แจ้งผลการจัดสรรงบประมาณที่จัดสรรลงพื้นที่ ให้ผู้ว่าฯ ทราบ ภายใน 30 วัน นับแต่ พรบ. ประกาศใช้ กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ฯ จะเป็นไปตาม Flowchart ที่นำเสนอ โดยมีประเด็นที่สำคัญคือ ประเด็นแรก (1) แผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ฯ จะครอบคลุม โครงการของส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โครงการของจังหวัดเอง ตลอดจนโครงการของภาคเอกชน (2) หลังจากจังหวัด/กลุ่มจังหวัด จัดทำแผนเสนอ กนจ. และกนจ.นำเสนอ ครม. เพื่อเห็นชอบแล้ว กนจ.จะส่งให้สำนักงบประมาณ และ ถือว่าจังหวัดได้ยื่นคำของบประมาณแล้ว เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับงบประมาณของจังหวัด (ม 28) จังหวัดบันทึก คำขอตั้งงบประมาณ เข้าระบบ e-budgeting คณะรัฐมนตรี เห็นชอบแผนฯ (ม.25 , ม.36 ) กนจ. ส่งให้สำนักงบประมาณ และ ถือว่าจังหวัดได้ยื่นคำของบประมาณแล้ว เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับงบประมาณของจังหวัด (ม 28)

10 แผนการบริหารราชการแผ่นดิน
ความเชื่อมโยงของแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด กับการจัดทำคำของบประมาณ แผนการบริหารราชการแผ่นดิน กระทรวง/กรม จังหวัด/ (กลุ่มจังหวัด) แผนพัฒนาจังหวัด /กลุ่มจังหวัด(ระยะเวลา 4 ปี) แผนปฏิบัติราชการ 4 ปีของส่วนราชการ แผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจำปีของส่วนราชการ รมต.เจ้าสังกัดให้ความเห็นชอบ คำของบประมาณ ของส่วนราชการ คำของบประมาณของจังหวัด /กลุ่มจังหวัด รมต.เจ้าสังกัดให้ความเห็นชอบ แผนภาพนี้ จะเป็นการเปรียบเทียบ กระบวนการจัดทำแผนของส่วนราชการทั่วไป กับแผนของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด จะเห็นได้ว่าไม่มีความแตกต่างกันเลยเพียงแต่ในขั้นตอนสุดท้ายก่อนที่คำขอ ฯ เข้าสู่สำนักงบประมาณนั้น งบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด กนจ. จะต้องนำเสนอ ครม.ให้ความเห็นชอบ ก่อนที่ส่งให้สำนักงบประมาณ ในแผนภาพต่อไปเป็นการแสดงแหล่งเงินงบประมาณที่ทางรัฐบาลได้จัดสรรลงไปในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ e-Budgeting เสนอ กนจ. / ครม. ให้ความเห็นชอบ สำนักงบประมาณ เสนอ ครม.ให้ความเห็นชอบ รัฐสภาให้ความเห็นชอบ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 10 10

11 ขอบเขตของแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด
เป็นแผนที่มุ่งการพัฒนาจังหวัดแบบ องค์รวมที่ครอบคลุมทุกมิติ ในด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากร ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและความมั่นคง เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างโอกาสและอาชีพ ซึ่งตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด เป็นแผนที่มุ่งเน้นการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ และสังคม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันของกลุ่มจังหวัด และนำไปสู่ การกระตุ้นให้เกิดการลงทุนของภาคเอกชน และสร้างรายได้ให้กลุ่มจังหวัด

12 แนวทางการพิจารณาแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด
แผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด และ แผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดกลุ่มจังหวัด คุณภาพของแผนพัฒนาจังหวัด และแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด - แสดงทิศทางการพัฒนาที่ชัดเจน - ผ่านกระบวนการเห็นชอบจาก ทุกฝ่าย ความสอดคล้องเชื่อมโยง ระหว่างแผนพัฒนา กับ แผนปฏิบัติราชการประจำปี สำหรับกรอบนโยบายในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด นั้น ก.น.จ. ได้มีแนวทางการพิจารณาเห็นชอบแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด และ แผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดกลุ่มจังหวัด ดังนี้ 1.คุณภาพของแผนพัฒนาจังหวัด และแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด - แสดงทิศทางการพัฒนาที่ชัดเจน - ผ่านกระบวนการเห็นชอบจาก ทุกฝ่าย 2. ความสอดคล้องเชื่อมโยง ระหว่างแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดกับแผนปฏิบัติราชการประจำปี 17/01/62

13 แนวทางการพิจารณาคุณภาพแผน/โครงการของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
มีความสอดคล้องกับนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลที่มุ่งให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ให้ประชาชน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมทั้งสอดคล้องกับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 (พ.ศ ) และกรอบยุทธ์ศาสตร์การพัฒนาภาค ตามมติ ครม. เมื่อ 6 พ.ค. 2551 ความสอดคล้องเชื่อมโยงของแผน ให้ได้คุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด มีความครบถ้วนสมบูรณ์ที่จะใช้เป็นกรอบทิศทางการพัฒนาในระยะ 4 ปี ( ) สำหรับการจัดทำแผนปฏิบัติราชการฯ ปี 2554 คุณภาพแผน แผนพัฒนา กลุ่มจังหวัด ( ) แผนปฏิบัติ ราชการประจำปี พ.ศ. 2554 แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด เน้นการบูรณาการในการวางแผนร่วมกัน ทำให้มีจุดเน้นในการพัฒนาที่นำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขัน สะท้อนผลการวิเคราะห์ศักยภาพและโอกาสการพัฒนาเชิงกลุ่มพื้นที่ แนวทางและหลักเกณฑ์การพิจารณาแผนและโครงการ ประกอบด้วย 2 หลักใหญ่ๆคือ หลักความสอดคล้องเชื่อมโยง จะพิจารณาถึงความสอดคล้องเชื่อมโยงกับนโยบายของรัฐบาลโดยเฉพาะนโยบายเร่งด่วน ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาในระดับต่างๆ ได้แก่ แผนชาติ ยุทธศาสตร์ภาค และยุทธศาสตร์รายสาขาที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งความสอดคล้องกับศักยภาพ โอกาส สภาพปัญหา และตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ หลักคุณภาพ จะพิจารณาใน 2 ระดับ คือ 2.1 คุณภาพของแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด โดยจะพิจารณาในประเด็น ความชัดเจน ความเป็นเหตุเป็นผลของแผนที่สอดคล้องเชื่อมโยงตั้งแต่วิสัยทัศน์ ประเด็นยุทธศาสตร์ จนถึงแผนงานโครงการ (Logical Framework) และมีการจัดลำดับความสำคัญของโครงการ 2.2 คุณภาพของแผนงานโครงการภายใต้แผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด จะพิจารณาใน 6 เรื่อง หลักๆ คือ (1) ความสอดคล้องกับนโยบายเร่งด่วนในการกระตุ้นเศรษฐกิจ (2) ไม่เป็นโครงการจัดซื้อครุภัณฑ์ อบรม และการศึกษาวิจัย (3) ความจำเป็นของโครงการเพื่อแก้ปัญหาไม่ทำแล้วจะเกิดความเสียหาย (4) ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ (5) ความเชื่อมโยงโครงการอื่นช่วยแก้ปัญหาทั้งระบบ และ(6) ความคุ้มค่า แผนพัฒนา จังหวัด ( ) แผนปฏิบัติ ราชการประจำปี พ.ศ. 2554 แผนพัฒนาจังหวัด เน้นการวิเคราะห์ความเชื่อมโยงของปัญหา ศักยภาพ และโอกาส ที่นำไปสู่การจัดทำแผนงานโครงการต่างๆ มีการบูรณาการภารกิจร่วมของหน่วยงาน

14 แนวทางจัดทำแผนและโครงการของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
แนวทางการจัดทำโครงการ ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด คุณภาพของแผน ความสอดคล้องเชื่อมโยง ผ่านกระบวนการเห็นชอบร่วมกันของทุกฝ่าย มึความชัดเจน เป็นเหตุเป็นผล สอดคล้อง เชื่อมโยงตั้งแต่ กับกรอบหลักในการจัดทำ แผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด อาทิ นโยบายรัฐบาล แผนชาติ กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค ฯลฯ กับศักยภาพ โอกาส สภาพปัญหา และความต้องการของประชาชน ในพื้นที่ วิสัยทัศน์ ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย กลยุทธ์ แผนงาน/โครงการ

15 หลักเกณฑ์และแนวทางจัดทำโครงการของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
ลักษณะโครงการที่จะจัดทำเป็นคำของบประมาณของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด การกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างโอกาส เพิ่มรายได้ ลดภาระค่าครองชีพ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อาทิ เกษตรทฤษฎีใหม่ การพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (Creative Economy) อาทิ การใช้ภูมิปัญญา ท้องถิ่นมาสร้างมูลค่าเพิ่ม การพัฒนาและ ฟื้นฟูต่อยอดแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม การพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อ สร้างรายได้ การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่เฉพาะ/ พื้นที่พิเศษ อาทิ การค้าชายแดน อาหารฮาลาล การพัฒนาการเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน  สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของแผน และนโยบายของรัฐบาล ที่เน้นหนักเกี่ยวกับ ลักษณะโครงการต้องไม่มีวัตถุประสงค์หลัก ดังนี้ จัดซื้อครุภัณฑ์ ศึกษาฝึกอบรม ดูงาน ศึกษาวิจัย (เว้นแต่ฝึกอบรม ด้านอาชีพ และวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาที่สำคัญ ของพื้นที่) ไม่เป็นโครงการในลักษณะของกิจกรรมย่อย

16 หลักเกณฑ์และแนวทางจัดทำโครงการของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
ลักษณะโครงการที่จะจัดทำเป็นคำของบประมาณของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ช่วยพัฒนาหรือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น หากไม่ดำเนินการจะเกิดความเสียหาย เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน นำไปสู่ การกระตุ้นให้เกิดการลงทุนของภาคเอกชน และสร้างรายได้ให้จังหวัด/กลุ่มจังหวัด  ความจำเป็นของโครงการ ด้านเทคนิค (วิธีการหรือรูปแบบที่ใช้ในการดำเนินการ) ด้านกายภาพ (ความพร้อมของพื้นที่ บุคลากร การบริหารความเสี่ยง การบริหารจัดการ) ด้านงบประมาณ (ความสมเหตุสมผลของวงเงิน กับประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ) ด้านระยะเวลา (เสร็จภายในปีงบประมาณ ,มีการวิเคราะห์ ผลกระทบทางลบ)  ความเหมาะสมและ ความเป็นไปได้ ของโครงการ  ความคุ้มค่า ผลลัพธ์หรือประโยชน์ของโครงการ ที่คาดว่าจะได้รับ

17 หลักเกณฑ์การจัดสรร งบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2554 (ต่อ)
หลักเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณให้จังหวัด/กลุ่มจังหวัด ของสำนักงบประมาณ สอดคล้องตามนโยบายรัฐบาล แผนการบริหารราชการแผ่นดิน ยุทธ์ศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ตอบสนองทิศทางการพัฒนาด้านต่างๆ เช่น เศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การรักษาความมั่นคงและความสงบ และด้านการบริหารจัดการ ที่สอดคล้องกับเป้าหมายยุทธ์ศาสตร์ของแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่และเหมาะสมกับศักยภาพของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด มีความพร้อมในการดำเนินการ

18 หลักเกณฑ์การจัดสรร งบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2554 (ต่อ)
หลักเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณให้จังหวัด/กลุ่มจังหวัด ของสำนักงบประมาณ ไม่เป็นรายการผูกพันข้ามปี ไม่เป็นโครงการที่ซ้ำซ้อนกับการขอตั้งงบประมาณของส่วนราชการ/รัฐวสาหกิจ และอปท. โครงการสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่ ก.น.จ. กำหนด สำหรับโครงการของกลุ่มจังหวัด นอกจากพิจารณาจากหลักเกณฑ์ข้างต้นแล้ว โครงการฯ จะต้องมีลักษณะที่เป็นการดำเนินงานร่วมกันตั้งแต่ 2 จังหวัด ขึ้นไป หรือเป็นโครงการที่จังหวัดหนึ่งเป็นผู้ดำเนินการ แต่มีจังหวัดอื่นภายในกลุ่มเดียวกันได้รับประโยชน์จากโครงการด้วย

19 หลักเกณฑ์การจัดสรร งบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2554 (ต่อ)
หลักเกณฑ์การประมาณการค่าใช้จ่ายโครงการ สอดคล้องกับข้อเท็จจริงตามกิจกรรมที่ดำเนินการ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด มีประสิทธิภาพและประหยัด ถูกต้องตามหลักจำแนกประเภทรายจ่าย งบดำเนินงาน งบลงทุน งบเงินอุดหนุน งบรายจ่ายอื่น

20 รายจ่ายของส่วนราชการฯ จำแนกเป็น 5 ประเภทงบรายจ่าย
รายจ่ายของส่วนราชการฯ จำแนกเป็น 5 ประเภทงบรายจ่าย 1. งบบุคลากร หมายถึง รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเพื่อบริหารงานบุคคลภาครัฐ ได้แก่ เงินเดือน ค่าจ้างประจำ ค่าจ้างชั่วคราว ค่าตอบแทนพนักงานราชการ รวมถึงรายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายจากงบรายจ่ายอื่นใดในลักษณะรายจ่ายดังกล่าว 2. งบดำเนินงาน หมายถึง รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเพื่อการบริหารงานประจำ ได้แก่ รายจ่ายที่จ่ายในลักษณะค่าตอบแทน ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ และค่าสาธารณูปโภค รวมถึงรายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายจากงบรายจ่ายอื่นใดในลักษณะรายจ่ายดังกล่าว 3. งบลงทุน หมายถึง รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเพื่อการลงทุน ได้แก่ รายจ่ายที่จ่ายในลักษณะค่าครุภัณฑ์ ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง รวมถึงรายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายจากงบรายจ่ายอื่นใดในลักษณะรายจ่ายดังกล่าว 20

21 รายจ่ายของส่วนราชการฯ จำแนกเป็น 5 ประเภทงบรายจ่าย (ต่อ)
รายจ่ายของส่วนราชการฯ จำแนกเป็น 5 ประเภทงบรายจ่าย (ต่อ) การจำแนกประเภทงบรายจ่าย หมายถึง รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเป็นค่าบำรุงหรือเพื่อช่วยเหลือ สนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญหรือหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานในกำกับของรัฐ องค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สภาตำบล องค์การระหว่างประเทศ นิติบุคคล เอกชนหรือกิจการอันเป็นสาธารณประโยชน์ รวมถึง เงินอุดหนุนงบพระมหากษัตริย์ เงินอุดหนุนการศาสนา และรายจ่ายที่สำนักงบประมาณกำหนดให้ใช้จ่ายในงบรายจ่ายนี้ 4.งบเงินอุดหนุน 5.งบรายจ่ายอื่น หมายถึง รายจ่ายที่ไม่เข้าลักษณะประเภทงบรายจ่ายใดงบรายจ่ายหนึ่ง หรือรายจ่ายที่สำนักงบประมาณกำหนดให้ใช้จ่ายในงบรายจ่าย 21

22 หลักเกณฑ์จัดสรรกรอบวงเงินและโครงการพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด
กรอบวงเงิน : คำนึงถึงความเป็นธรรมและความเหมาะสมตาม ความจำเป็นในเชิงนโยบาย : ตัวแปร ได้แก่ จัดสรรเฉลี่ยเท่ากันทุกจังหวัด ร้อยละ 30 จัดสรรตามจำนวนประชากรของแต่ละจังหวัด ร้อยละ 20 จัดสรรตามความผกผันของรายได้ต่อครัวเรือน ร้อยละ 30 จัดสรรตามผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (Gross Provincial Products :GPP) ร้อยละ 10 จัดสรรตามคุณภาพแผน ร้อยละ 10

23 โครงสร้างงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
แผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจำปี แผนงานบริหารจังหวัดและกลุ่มจังหวัด เป้าหมายการให้บริการจังหวัด /กลุ่มจังหวัด กลยุทธ์ที่ 1 กลยุทธ์ที่ 2 กลยุทธ์ที่ 3 กลยุทธ์ที่ 4 กลยุทธ์ที่ 5 การปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจพื้นฐานเพื่อยกระดับรายได้ พัฒนาการค้า การท่องเที่ยวและบริการของจังหวัด การเสริมสร้างคุณภาพชีวิต สร้างความมั่นคงของประชาชน ตลอดจนการบำรุงศาสนา และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม การอนุรักษ์ ป้องกัน และควบคุมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม การป้องกัน ปราบปราม และสร้างระบบการรักษาความมั่นคงของประเทศ การพัฒนาระบบสารสนเทศและการบริหารจัดการ ผลผลิตที่ 1 ผลผลิตที่ 2 ผลผลิตที่ 3 ผลผลิตที่ 4 ผลผลิตที่ 5 การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาด้านสังคม การบริหารจัดการด้านทรัพยากรธรรม ชาติและสิ่งแวดล้อม การรักษาความมั่นคงและความสงบ การบริหารจัดการ กิจกรรม กิจกรรม กิจกรรม กิจกรรม กิจกรรม สำหรับ แผนภาพนี้ กระผมจะขอกราบเรียนถึงโครงสร้างงบประมาณ ฯ ที่จะนำไปสู่ ผลผลิตและกิจกรรมที่จังหวัดและกลุ่มจังหวัดจะต้องดำเนินการ ซึ่งจะต้องเป็น ผลผลิตและกิจกรรม ที่มาจากแผนพัฒนาจังหวัด และแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด ทั้งนี้ ได้แบ่งกลยุทธ์ในการดำเนินงานเป็น 5 กลยุทธ์ เพื่อให้เกิดผลผลิต จำนวน ผลผลิต คือ 1. ผลผลิตการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ มีกิจกรรม เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 2. ผลผลิตการพัฒนาด้านสังคม มีกิจกรรม เช่น การสร้างความมั่นคงของชีวิตและสังคม 3. ผลผลิตด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีกิจกรรม เช่น การอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ 4. ผลผลิตด้านการรักษาความมั่นคงและความสงบ มีกิจกรรม เช่น การป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมาย 5. ผลผลิตด้านการบริหารจัดการ มีกิจกรรม เช่น การพัฒนาระบบสารสนเทศ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาคุณภาพชีวิต อนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมาย พัฒนาระบบบริหารจัดการ พัฒนาการท่องเที่ยวและบริการ สร้างความมั่นคงของชีวิตและสังคม ป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย พัฒนาระบบสารสนเทศ เสริมสร้างระบบการรักษาความมั่นคงของประเทศ พัฒนาตลาด การค้าและการลงทุน ทำนุบำรุง ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ควบคุมมลพิษ สร้างโอกาสเพิ่มรายได้ อนุรักษ์พัฒนาและใช้ประโยชน์จาก ความหลากหลายทางชีวภาพ 23 23 23

24 การบูรณาการงบประมาณจังหวัด/กลุ่มจังหวัดกับหน่วยงานอื่น
จังหวัด/กลุ่มจังหวัด ต้องประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีภารกิจในการปฏิบัติงานภายใต้แผนที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ราชการส่วนกลาง รัฐวิสาหกิจ และอปท. จะต้องนำข้อมูลแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ไปประกอบการพิจารณาในการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีด้วย โครงการของราชการส่วนกลาง รัฐวิสาหกิจ และ อปท. ที่ปรากฏตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ให้ถือว่าเป็นโครงการที่มีความสำคัญระดับสูง

25 แนวทางการบูรณาการงบประมาณในมิติพื้นที่
แนวทางการบูรณาการงบประมาณในมิติพื้นที่ภายในสำนักงบประมาณ เนื่องจากแหล่งเงินที่ดำเนินการตามแผนพัฒนาจังหวัดมีหลายแหล่งเงิน การผลักดันการดำเนินการของหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และทิศทางการพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ต้องมีการบูรณาการระหว่าง กลุ่มการจัดการงบประมาณจังหวัด ฯ กับสำนักจัดทำฯ ของสำนักงบประมาณ ดังนี้ กลุ่มการจัดการงบประมาณจังหวัด ฯ ส่งแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ให้สำนักจัดทำที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการบูรณาการใน มิตินโยบายเฉพาะเรื่อง มิติกระทรวง/หน่วยงาน มิติพื้นที่ การพิจารณาของคณะกรรมการจัดการงบประมาณด้านต่างๆ ผู้แทนกลุ่มการจัดการงบประมาณจังหวัด ฯ เสนอข้อมูลเกี่ยวกับแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ให้คณะกรรมการฯ ประกอบการพิจาณางบประมาณรายจ่ายประจำปี

26 แนวทางการบูรณาการงบประมาณในมิติพื้นที่
จังหวัด เป็นหน่วยงานหลัก ประสานการดำเนินการและบูรณาการงบประมาณ จังหวัด กลุ่มจังหวัด จังหวัด มอบหมายเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการ ที่ประจำอยู่ในพื้นที่จังหวัด ทำหน้าที่ประสานงานกับส่วนราชการในส่วนกลาง เพื่อให้การจัดทำแผนปฏิบัติราชการฯ ของส่วนราชการสอดคล้องกับ แผนพัฒนา/แผนปฏิบัติราชการของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด แผนพัฒนา/แผนปฏิบัติราชการ จังหวัด/กลุ่มจังหวัด อื่นๆ ส่วนราชการ ส่วนภูมิภาค แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี และ 1 ปี ของ ส่วนราชการ ส่วนราชการส่วนกลาง ภาคเอกชน อปท. ในการบูรณาการงบประมาณในมิติพื้นที่ จังหวัดในฐานะเจ้าของพื้นที่จะต้องเป็นเจ้าภาพในการบูรณาการแผนจังหวัดและกลุ่มจังหวัด โดยจังหวัดควรเป็นหน่วยงานหลักในการประสานงาน โดย มอบหมายเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการที่ประจำอยู่ในพื้นที่จังหวัด ทำหน้าที่ประสานงานกับส่วนราชการในส่วนกลาง เพื่อให้การจัดทำแผนปฏิบัติราชการฯ ของส่วนราชการสอดคล้องกับ แผนพัฒนา/แผนปฏิบัติราชการของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด แผนปฏิบัติงานระยาว/สั้นของ อปท. การจัดทำแผนงบประมาณจังหวัดฯ 26 26

27 แนวทางการบูรณาการงบประมาณในมิติพื้นที่ (ต่อ)
แนวทางการบูรณาการงบประมาณในมิติพื้นที่ (ต่อ) แผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด และแผนปฏิบัติราชการจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ครม. เห็นชอบแผนพัฒนา/แผนปฏิบัติราชการ จังหวัดและกลุ่มจังหวัด สงป. โดยกลุ่มการจัดการงบประมาณจังหวัดฯ แจ้งสำนักจัดทำฯ ที่เกี่ยวข้อง 1 สงป. ในส่วนของสำนักงบประมาณเองก็จะรับลูก...เรื่องการบูรณาการในมิติพื้นที่ตามแผนภูมิดังภาพ ... คือ เมื่อ ครม. เห็นชอบแผนพัฒนา/แผนปฏิบัติราชการ จังหวัดและกลุ่มจังหวัด ส่ง สงป. แล้ว สงป. โดยกลุ่มการจัดการงบประมาณจังหวัดฯ (CBO) จะแจ้งประสานสำนักจัดทำงบประมาณ ที่เกี่ยวข้องภายในสำนักงบประมาณ 3. จากนั้นก็จะมีการมอบหมายให้ CBO.ในแต่ละพื้นที่ ร่วมในคณะกรรมการพิจารณางบประมาณชุดต่างๆ ของ สงป. เพื่อเสนอความเห็นเพื่อให้เกิดการบูรณาการทั้งในมิติพื้นที่ควบคู่พร้อม ๆ กันไป CBO CBO CBO 2 สำนักจัดทำด้าน… สำนักจัดทำด้าน… สำนักจัดทำด้าน… ผู้แทนฯร่วมในทุกคณะกรรมการพิจารณางบประมาณทุกชุด ของ สงป. คกก.พิจารณา งปม. ปี …. ชุดที่ 1 คกก.พิจารณา งปม. ปี…. ชุดที่ 2 คกก.พิจารณา งปม. ปี …. ชุดที่ 3… การจัดทำแผนงบประมาณจังหวัดฯ 27 27

28 ปัญหาการจัดทำงบประมาณของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด
แผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด บางส่วนยังไม่ครอบคลุมบทบาทภารกิจของหน่วยงานในจังหวัดและไม่ครอบคลุมทุกแหล่งเงิน เช่น ราชการส่วนกลาง อปท. รัฐวิสาหกิจ และเอกชน โครงการของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด บางส่วนยังมีความซ้ำซ้อนกับโครงการของราชการส่วนกลาง รัฐวิสาหกิจ และ อปท. การจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีฯ ไม่ควรคำนึงถึงกรอบวงเงินงบประมาณฯ ของปีงบประมาณที่ผ่านมาและที่คาดว่าจะได้รับจัดสรร แต่ควรคำนึงถึงความครอบคลุม ครบถ้วน และความต้องการในการบรรลุเป้าหมายของแผนฯ เป็นสำคัญ

29 กระบวนการจัดทำงบประมาณ
ปฏิทินปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 26-27 พค.53 สภาผู้แทนฯ พิจารณา ในวาระที่ 1 18-19 ส.ค.53 สภาผู้แทนฯ พิจารณาในวาระที่ 2-3 6 ก.ย. 53 วุฒิสภาเห็นชอบ ร่าง พรบ. ปี 54 กระทรวงการคลัง สงป. สศช. และธนาคารแห่งประเทศไทย ร่วมทบทวนประมาณการรายได้ กำหนดวงเงิน งปม. การทบทวน ต.ค.-ธ.ค.52 การอนุมัติ มิ.ย.-ก.ย.53 กระบวนการจัดทำงบประมาณ การวางแผน ม.ค. - ก.พ.53 การจัดทำ ก.พ.-พ.ค.53 2 6 ม.ค. 53 ครม.เห็นชอบนโยบาย วงเงินงบประมาณ 27 เม.ย. 53 ครม. เห็นชอบ การปรับปรุง งปม. ดูแลงบประมาณรายจ่ายที่หน่วยราชการเสนอมา ให้อยู่ในกรอบนโยบายและวงเงินที่รัฐบาลกำหนด ดูแลเรื่องรายรับของรัฐบาล โดยการประมาณการ รายรับจากภาษีอากรและรายได้อื่น ๆ ของรัฐ ให้ความเห็นชอบโครงการรายจ่ายของรัฐ โดยเฉพาะโครงการที่ต้อง ใช้งบประมาณมาก เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ฯ ดูแลเรื่องการกู้เงินจากต่างประเทศ เสถียรภาพการเงินของประเทศ 2 ก.พ มีค.53 สงป ทำรายละเอียดเสนอครม. 30 มี.ค. 53 ครม. เห็นชอบ รายละเอียด งปม.พร้อมหลักเกณฑ์ปรับปรุงฯ งปม. 29 29 29

30 ขั้นตอนเมื่อ คำของบประมาณผ่าน ก. น. จ. และ ครม
ขั้นตอนเมื่อ คำของบประมาณผ่าน ก.น.จ. และ ครม. ส่งให้สำนักงบประมาณแล้ว (1 ก.พ.53) 2 ก.พ มี.ค.53 ส.ง.ป.(คณะกรรมการฯ/คณะอนุกรรมการฯ ด้านต่างๆ) พิจารณาและจัดทำรายละเอียด งปม.รายจ่ายประจำปีฯ เพื่อนำเสนอ ครม. ให้ความเห็นชอบ 30 มี.ค.53(อังคาร) นำเสนอรายละเอียด งปม.รายจ่ายประจำปีฯ พร้อมหลักเกณฑ์การปรับปรุง งปม.รายจ่ายประจำปีฯ ครม.พิจารณาให้ความเห็นชอบ เป็นมติ ครม. รายละเอียด งปม.รายจ่ายประจำปีฯ และหลักเกณฑ์การปรับปรุง งปม.รายจ่ายประจำปีฯ

31 ขั้นตอนเมื่อ คำของบประมาณผ่าน ก. น. จ. และ ครม
ขั้นตอนเมื่อ คำของบประมาณผ่าน ก.น.จ. และ ครม. ส่งให้สำนักงบประมาณแล้ว (ต่อ) 31มี.ค.- 9 เม.ย.53 การปรับปรุงรายละเอียด งปม.รายจ่ายประจำปีฯ รองนายก/รัฐมนตรี มอบนโยบายให้กระทรวง ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่น ปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณฯ ตามที่ ครม. ให้ความเห็นชอบและส่งให้ สงป. เม.ย.53 สงป.(คณะกรรมการฯ/คณะอนุกรรมการฯ ด้านต่างๆ) พิจารณาปรับปรุงรายละเอียด งปม.รายจ่ายประจำปีฯ เพื่อนำเสนอ ครม.พิจารณาให้ความเห็นชอบ(อังคาร 27 เม.ย.53) 28 เม.ย.- 7พ.ค.53 สงป. จัดพิมพ์ร่าง พรบ. งปม.รายจ่ายประจำปี ฯ และเอกสาร งปม.

32 ขั้นตอนเมื่อ คำของบประมาณผ่าน ก. น. จ. และ ครม
ขั้นตอนเมื่อ คำของบประมาณผ่าน ก.น.จ. และ ครม. ส่งให้สำนักงบประมาณแล้ว (ต่อ) 11 พ.ค.53(อังคาร) นำเสนอร่าง พรบ. งปม.รายจ่ายประจำปี ฯ และเอกสาร งปม. ให้ครม.ให้ความเห็นชอบ พ.ค53 : วาระที่ 1 สภาผู้แทนฯ พิจารณา ร่าง พรบ. งปม.รายจ่ายประจำปี ฯ พ.ค. - ส.ค.53 : วาระที่ 2 ขั้นกรรมาธิการวิสามัญฯ สภาผู้แทนฯ พิจารณา ร่าง พรบ. งปม.รายจ่ายประจำปี ฯ 18-19 ส.ค.53 สภาผู้แทนฯ ให้ความเห็นชอบร่าง พรบ. งปม.รายจ่ายประจำปี ฯ ในวาระที่2 -3

33 ขั้นตอนเมื่อ คำของบประมาณผ่าน ก. น. จ. และ ครม
ขั้นตอนเมื่อ คำของบประมาณผ่าน ก.น.จ. และ ครม. ส่งให้สำนักงบประมาณแล้ว (ต่อ) มิ.ย.-ก.ย.53 ขั้นกรรมาธิการวิสามัญฯ วุฒิสภา พิจารณาร่าง พรบ. งปม.รายจ่ายประจำปี ฯ 6 ก.ย.53 วุฒิสภาให้ความเห็นชอบ ร่าง พรบ. งปม.รายจ่ายประจำปี ฯ 10 ก.ย53 นำร่าง พรบ. งปม.รายจ่ายประจำปี ฯ ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อประกาศบังคับใช้เป็นกฎหมาย ส่วนราชการ รับทราบ พรบ. งปม.รายจ่ายประจำปี ฯ และนำไปบริหาร งปม.ประจำปีของส่วนราชการ

34 4. การบริหารงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2548 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 และ(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2552 34 34

35 3. การบริหารงบประมาณ 3.1 ส่วนราชการผู้ใช้งบประมาณ
ส่งแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายฯ ภายใน 15 วัน หลังพรบ. บังคับใช้ ห้ามส่วนราชการ ก่อหนี้ผูกพันก่อนได้รับเงินประจำงวด 3.2 สำนักงบประมาณ ดูแลการใช้จ่าย งปม. ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ตามที่กำหนดไว้ใน พรบ. อนุมัติเงินประจำงวด/โอนเปลี่ยนแปลงนอกเหนืออำนาจหัวหน้าส่วนราชการ/อนุมัติการจัดสรรงบกลาง

36 คณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ
ประกาศ คณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการบริหารงบประมาณจังหวัด และงบประมาณกลุ่มจังหวัด ข้อ ๑ การบริหารงบประมาณรายจ่ายของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดให้เป็นไปตามระเบียบเกี่ยวกับ การบริหารงบประมาณ ที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ข้อ ๒ การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของกลุ่มจังหวัดให้ดำเนินการ ดังนี้ (๑) โครงการที่ดำเนินการในเขตพื้นที่จังหวัดใด ให้กลุ่มจังหวัดเจ้าของงบประมาณมอบหมาย ให้จังหวัดนั้นในฐานะที่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณเป็นผู้เบิกเงินในนาม กลุ่มจังหวัดซึ่งเป็นส่วนราชการเจ้าของงบประมาณ (๒) โครงการที่ดำเนินการในเขตพื้นที่คาบเกี่ยวกันตั้งแต่สองจังหวัดขึ้นไป ให้กลุ่มจังหวัด เจ้าของงบประมาณมอบหมายให้จังหวัดซึ่งเป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัดในฐานะที่เป็นส่วนราชการ ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณนั้นเป็นผู้เบิกเงินในนามกลุ่มจังหวัดซึ่งเป็นส่วนราชการเจ้าของ งบประมาณ การดำเนินการตามวรรคหนึ่งให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด

37 การบริหารงบฯ สำหรับส่วนราชการ / จังหวัดกลุ่มจังหวัด
ส่วนราชการฯ รับผิดชอบรายละเอียด/ รูปแบบ/ การจัดซื้อจัดจ้างให้เป็นไปตามรายการที่ได้รับจัดสรรงบฯ กรณีเกิดการผิดพลาดในข้อความและไม่ผิดวัตถุประสงค์ของการ ใช้จ่าย ให้หัวหน้าส่วนราชการฯ แก้ไขรายการได้ (ระเบียบข้อ 17) * กรอบหลักการใน การโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณฯ (ระเบียบข้อ18 แก้ไข เพิ่มเติมฉบับที่ 3 ข้อ10) เพื่อแก้ไขปัญหาในการดำเนินงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ เพื่อเพิ่มคุณภาพการให้บริการ โดยต้องคำนึงถึง ประโยชน์ของประชาชน ความประหยัด ความคุ้มค่า ความโปร่งใส กรณีเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของรายการที่ได้รับจัดสรรโดยไม่เพิ่มวงเงิน ไม่เป็นรายการผูกพันฯ และไม่กระทบต่อสาระสำคัญของรายการ 37 37 37

38 ลักษณะที่ 1 การโอนเปลี่ยนแปลงระหว่างงบรายจ่าย และระหว่างผลผลิต/
หัวหน้าส่วนราชการฯ สามารถโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณฯ ได้ตามกรอบดังกล่าวใน 3 ลักษณะ คือ ลักษณะที่ การโอนเปลี่ยนแปลงระหว่างงบรายจ่าย และระหว่างผลผลิต/ (ระเบียบข้อ 24)* โครงการ ภายใต้แผนงบประมาณเดียวกัน หัวหน้าส่วนราชการฯ สามารถโอนเปลี่ยนแปลงได้ด้วยตนเอง ยกเว้น : (1) ต้องไม่เป็นรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ (2) ต้องไม่เป็นการกำหนดอัตราข้าราชการใหม่ (3) ต้องไม่เป็นค่าเดินทางไปต่างประเทศ ที่ไม่ได้กำหนดไว้ ในแผนฯ (4) ค่าครุภัณฑ์ ราคาต่อหน่วยเกินกว่า 1 ล้านบาท (5) ค่าสิ่งก่อสร้าง ราคาต่อหน่วยเกินกว่า 10 ล้านบาท 38 38 38

39 ลักษณะที่ 2 การโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณฯ ที่เหลือจ่าย ภายใต้แผนงบประ
ลักษณะที่ การโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณฯ ที่เหลือจ่าย ภายใต้แผนงบประ (ระเบียบข้อ 25)*เดียวกัน ต้องเป็นงบฯ เหลือจ่ายจากการบรรลุเป้าหมายตามวัตถุ ประสงค์แล้ว หัวหน้าส่วนราชการฯ สามารถโอนเงินเหลือจ่าย ดังกล่าวไปใช้จ่ายในรายการภายใต้ แผนงบประมาณเดียวกันได้ ด้วยตนเอง ยกเว้น : (1) ต้องไม่เป็นรายการค่าที่ดิน (2) ต้องไม่เป็นรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ (3) ต้องไม่มีหนี้สาธารณูปโภค/ ค่าใช้จ่ายที่ผูกพันตาม กฎหมายค้างชำระ ลักษณะที่ การโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณฯ ไปเพิ่มวงเงินค่าครุภัณฑ์และ (ระเบียบข้อ26)*สิ่งก่อสร้าง ภายใต้แผนงบประมาณเดียวกัน เนื่องจากได้ดำเนินการจัดหาแล้วเกินวงเงินที่ได้รับ ทั้งนี้วงเงินส่วนเกินดังกล่าวต้องไม่เกิน 10% ของวงเงินงบประมาณ หัวหน้าส่วนราชการฯ สามารถโอนเงิน จากงบรายจ่ายใดๆ หรือนำเงินนอกงบประมาณมาสมทบเพิ่มเติมได้ ทั้งนี้ ให้หัวหน้าส่วนราชการฯ รายงานการโอนเปลี่ยนแปลง ต่อ สงป. ไม่เกิน 15 วัน ตามแบบ สงป. กำหนด (ข้อ 28 ระเบียบบริหารฯ 48) 39 39 39

40 ขอบเขตบังคับใช้ของระเบียบฯ
: การโอนเปลี่ยนแปลงรายการ นอกเหนือจากนี้ให้ทำความตกลงกับ สำนักงบประมาณ (ระเบียบข้อ 27 *) : ระเบียบนี้ใช้บังคับ สำหรับ (1) ส่วนราชการ ตามนัยมาตรา 4 พ.ร.บ. วิธีการงบประมาณฯ (2) รัฐวิสาหกิจ : ขอบเขตของระเบียบนี้ไม่ครอบคลุมการบริหารงบฯ ของ (1) รัฐวิสาหกิจที่ไม่ได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่าย (2) หน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่น (อบจ. อบต. เทศบาล และอื่นๆ) (3) หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ กรณีที่มีกฎ ระเบียบของตนเอง 40 40 40

41 ของระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551
สาระสำคัญโดยสรุป ของระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 : เพื่อประโยชน์ในการบริหารงบประมาณรายจ่ายของจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัด อาจมอบอำนาจเกี่ยวกับการใช้จ่ายงบประมาณให้แก่หัวหน้าหน่วยงานภายในจังหวัด*ที่ต้องปฏิบัติงานตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณก็ได้ : ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายของจังหวัด มีหน้าที่ควบคุมกำกับดูแลการใช้จ่ายงบประมาณของหัวหน้าหน่วยงานภายในจังหวัด ให้เป็นไปโดยสอดคล้องกับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามแผนพัฒนาจังหวัด เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการให้บริการสาธารณะภายในจังหวัด * หัวหน้าหน่วยงานภายในจังหวัด หมายถึง หัวหน้าหน่วยงานของส่วนราชการซึ่งเป็น ราชการบริหารส่วนภูมิภาค (ระดับจังหวัดหรืออำเภอ) ที่อยู่ในความควบคุมบังคับบัญชาของผู้ว่าราชการจังหวัด 41 41 41

42 4. การควบคุมงบประมาณ 4.1 ส่วนราชการผู้ใช้งบประมาณ
รายงานผลการการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายฯ ตามวิธีการและแบบที่สำนักงบประมาณกำหนด 4.2 สำนักงบประมาณ ติดตามประเมินผลฯ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ เป้าหมาย คุ้มค่าต่อการลงทุนหรือไม่ 4.3 กรมบัญชีกลาง กำหนดวิธีการเบิกจ่ายเงิน ตรวจและอนุมัติฎีกา การกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี การนำเงินส่งหรือฝากคลัง การตรวจสอบภายใน 4.4 สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ตรวจสอบงบประมาณหลังจากที่มีการใช้จ่ายงบประมาณแล้ว เป็นการตรวจหลังจ่าย(Post Audit)ตรวจสอบรายงานการรับจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน

43 4. การควบคุมงบประมาณ (ต่อ)
ข้อระเบียบเกี่ยวกับการรายงานผล/ประเมินผล รายงานผลการการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายฯ เมื่อสิ้นเวลาในแต่ละไตรมาสภายในสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นไตรมาส ส่งรายงานประจำปีที่แสดงถึงความสำเร็จของส่วนราชการฯ ภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ (กรณีไม่จัดส่งโดยไม่มีเหตุอันควร ให้แสดงเหตุผลความจำเป็นต่อผอ.สงป.) สงป. จะรายงานผลต่อ นรม. ในกรณีที่ส่วนราชการฯ ไม่ปฏิบัติการหรือไม่อาจปฏิบัติการให้เป็นไปตามแผนฯ สงป.จะรายงานผลฯ ให้แก่คณะรัฐมนตรีและใช้ผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่าย ประกอบการจัดทำงบประมาณปีต่อไปด้วย

44 สนใจค้นหาข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติม
ขอขอบคุณ ... สนใจค้นหาข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ 44 44


ดาวน์โหลด ppt งบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google