วิชา การจัดการทรัพยากรมนุษย์ Human Resource Management

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Graham allison ส่วนที่เหมือนกันและต่างกัน สำคัญมาก เพราะไปเกี่ยวข้องกับ กลุ่มเป้าหมาย PA=public=social BA=targeted group Pa managerialism marketisation.
Advertisements

Assignment 2 Data – Information – Knowledge - CPF
Thai Delmar’s core competencies
โดย ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่
การบริหารการวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.โยธิน แสวงดี
แนวทางการจัดทำแผน ยุทธศาสตร์ การพัฒนาบุคลากร สถาบัน ธัญญารักษ์ และศูนย์บำบัดรักษายาเสพติด ภูมิภาค 17 – 18 มกราคม 2549 ห้องประชุม 2 / 2 สถาบันธัญญารักษ์
Knowledge Management Reform to Innovation in Higher Education for The World Sustainable Development.
ประเด็น 1. ที่มาและความสำคัญของสมรรถนะ 2. ประโยชน์และการประยุกต์ใช้
ประเภทบุคลากร นักวิชาการสาธารณสุข, นักทรัพยากรบุคคล, จพ.ธุรการ Production Line 1.จัดทำแผนบุคลากร 2.จัดประชุม/สัมมนา 3.ประเมินผลและจัดการความรู้ 4.ร่วมผลิตบุคลากรทางการแพทย์
1 การวิเคราะห์ งาน Job Analysis. INDM0419 Industrial HRM2 ความหมายของการวิเคราะห์งาน การวิเคราะห์งาน คือ กระบวนการที่มีระบบใน การกำหนดทักษะ หน้าที่ และความรู้ที่
ทิศทางการศึกษา ในโลกยุคใหม่ ดร. สุรัตน์ ดวงชาทม ผู้อำนวยการสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1.
ร่าง- แผนยุทธศาสตร์ HR นายแพทย์ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๙.
การเขียนแบบ รายงาน การเยี่ยมสำรวจ นันทา ชัยพิชิตพันธ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ.
การบริหารโครงการ (project management) ผู้บริหารโครงการและทีมงาน พ. อ. หญิง อโณมา คงตะแบก กองวิชากฎหมายและสังคมศาสตร์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า.
การบริหารโครงการ (Project Management) โครงการ คือ งาน (task) ซึ่งมีการ กำหนดเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุด ที่ แน่นอนและมีความต้องการใช้ทรัพยากร ต่างๆใน แต่ละกิจกรรมโดย.
KM (Knowledge Management
ศึกษานิเทศน์และเจ้าหน้าที่จากองค์การแพธ
ICT in KM 03: เทคโนโลยีสนับสนุนการทำงานร่วมกันเป็นทีม
ปฐมนิเทศนักศึกษาฝึกงานภายนอก 18 สิงหาคม 2558
การฝึกอบรมคืออะไร.
การจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล (Individual Development Plan - IDP
การจัดการศูนย์สารสนเทศ
ครูสมศรีกับยุคปฏิรูปการศึกษา
บทที่ 2 กระบวนการและการวางแผนจัดการทรัพยากรมนุษย์ Human Resource Planning ดร. อัญภัคร์ ประพันธ์เนติวุฒิ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.
การจัดการทรัพยากรมนุษย์
Training การฝึกอบรม.
รายวิชา คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้ อาจารย์ ดร.นฤมล รักษาสุข
สำนักงานคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น
ระบบสารสนเทศในงานบริหารงานบุคคล และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
Human resources management
การจัดการองค์ความรู้
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์
การเตรียมความพร้อมข้าราชการ สู่ประชาคมอาเซียน ปี 2558
นำเสนอโดยนายอนุสรณ์ โชติชื่น และนายสมศักดิ์ พัดพรม
การปลูกจิตสำนึกในการทำกิจกรรมปรับปรุง และ ทำงานอย่างมีความสนุกสุขใจ
การจัดทำแบบบรรยายลักษณะงาน (Job Description) และตัวชีวัดระดับบุคคล
GROUP ‘2’ slide to unlock.
การพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ
การบริหารกำลังคนภาครัฐ
แผนกลยุทธ์ กรมชลประทาน
ปรัชญา วิสัยทัศน์ ปณิธาน พันธกิจ
รายงานผลตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ
ดร.วีรพจน์ ลือประสิทธิ์สกุล
แบบฟอร์มที่ 2 1. ชื่อวิชา  IFM4302 การจัดการความรู้ (Knowledge Management) 2. หัวข้อที่ประจำ สัปดาห์นี้  การเลือกใช้เครื่องมือ (Tools) ในการจัดการความรู้
ของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน
Techniques Administration
กลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์
แผนที่ยุทธศาสตร์ของศูนย์พัฒนาอนามัยพื้นที่สูงปี
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
หมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง
การจัดการทางการพยาบาล Management in Nursing
ดร.ณัฐวัฒน์ นิปกากร. DMS.
กลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์และการฝึกอบรม
ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ความรู้เกี่ยวกับ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เชิงกลยุทธ์
นพ.ทวีทรัพย์ ศิรประภาศิริ สำนักงานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ข้อมูลและสารสนเทศ.
13 October 2007
MGT 228 การจัดการสมัยใหม่
บทที่ 5 องค์กร การบริหารในองค์กรและการพัฒนางานอาชีพในองค์กร
การควบคุม (Controlling)
การเขียนย่อหน้า.
หลักการจัดการ Principle of Management
GSC151 ชีวิตและสภาพแวดล้อมในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง
การพัฒนาสหกรณ์ภาคการเกษตรเป็นองค์กรหลัก ระดับอำเภอ ปี
การจัดการทรัพยากรมนุษย์ เชิงกลยุทธ์
วิชา การจัดการทรัพยากรมนุษย์
แนวทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์
การจัดการทรัพยากรมนุษย์ เชิงกลยุทธ์
ใบสำเนางานนำเสนอ:

วิชา การจัดการทรัพยากรมนุษย์ Human Resource Management อาจารย์ดวงพร แสงทอง

หัวข้อ ความหมายของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ บทบาทหน้าที่ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์และขอบข่ายขั้นตอนในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ปรัชญาการบริหารทรัพยากรมนุษย์

ความหมายของการบริหารทรัพยากรมนุษย์

การจัดการทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง กระบวนการที่ผู้บริหารหรือผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับงานบุคลากร ร่วมกันใช้ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ในการสรรหา การคัดเลือก บรรจุบุคคลที่มีคุณสมบัติเข้าปฏิบัติงานในองค์การพร้อมทั้งธำรงรักษาและพัฒนาบุคลากรขององค์การให้เหมาะสมต่อการปฏิบัติงาน และมีคุณภาพชีวิตการทำงานที่เหมาะสมตลอดจนสร้างหลักประกันแก่สมาชิกที่พ้นจากการทำงานกับองค์การ ให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีความสุขในอนาคต

ความหมายของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ( Human Resource Management = H R M ) หมายถึง กระบวนการในการวางนโยบาย ระเบียบและกรรมวิธีในการดำเนินการกับบุคคลที่เข้ามาปฏิบัติงานในองค์กร ตั้งแต่ การสรรหา การพัฒนา การบำรุงรักษา จนถึงการพ้นจากงาน ทั้งนี้ บุคคลเหล่านั้นจะต้องได้รับความพึงพอใจและทำงาน อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อให้การปฏิบัติงานนั้นบรรลุ ผลสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กร

ความเชื่อในการบริหาร “ทรัพยากรบุคคล” คน เป็น ทรัพยากรที่มีค่าที่สุดในองค์กร คน สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กรได้ คน สามารถอุทิศให้องค์กรได้อย่างเต็มที่ หากได้รับการดูแลอย่างดีจากองค์กร องค์กรจะบรรลุเป้าหมายที่ต้องการได้ ด้วยการทำงานอย่างทุ่มเทของ คน ในองค์กร

ความหมายของการบริหารงานบุคคล เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ปัจจัยพื้นฐานแห่งความสำเร็จ แนวคิด5M คือ คน วัตถุดิบ เครื่องจักร เงินทุน และการบริหาร จะเห็นได้ว่าคน เป็นองค์ประกอบประเภทหนึ่งที่ทุกองค์การต้องให้ความสำคัญองค์การใดมีคนที่ดี คุณภาพย่อมจะนำพาให้องค์การนั้นไปสู่ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ มีผู้ให้ความหมายของการบริหารงานบุคคลไว้หลายแนวทางพอ สรุปได้ดังนี้ การบริหารงานบุคคล หมายถึง การจัดหาบุคคลที่มีคุณสมบัติ เหมาะสมเข้าทำงานในตำแหน่งต่าง ๆเพื่อให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด แต่ทั้งนี้ต้อง คำนึงถึงความสุขและความพึงพอใจของบุคลากรในหน่วยงานด้วย (ระวัง เนตร โพธิ์แก้ว 2540:115)

ปัจจัยพื้นฐานแห่งความสำเร็จ แนวคิด5M การประกอบธุรกิจจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยต่าง ๆ เพื่อให้การดำเนินกิจการเป็นไปด้วยดี บรรลุตามวัตถุประสงค์และจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ ปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญ ประกอบด้วย 1. คน (Man) 2. เงินทุน (Money) 3. วัสดุอุปกรณ์ (Materials) 4. เครื่องจักร (Machines) 5. ความรู้ในการบริหารจัดการ (Management) 5 M

การบริหารทรัพยากรบุคคล เป็นศาสตร์การจัดการเกี่ยวกับบุคคล ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงาน เพื่อให้งานบรรลุผลตามเป้าหมายขององค์การ อย่างมีประสิทธิภาพ และ สร้างความพึงพอใจให้กับผู้ปฏิบัติงาน

ความแตกต่างระหว่างการบริหารงานบุคคลและการบริหารทรัพยากรมนุษย์ การบริหารงานบุคคล หมายถึง การปฏิบัติในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรในองค์การ เน้นภารกิจในการได้คนเข้ามาทำงานในองค์การ บทบาทของฝ่ายบริหารงานบุคคลจะมีหน้าที่กำหนดนโยบาย ให้คำแนะนำรวมทั้งควบคุมและสั่งการตามสายการบังคับบัญชา นอกจากนี้ยังเป็นหน้าที่ที่เกี่ยวกับตัวบุคคลด้วยเช่น การสรรหาและคัดเลือกคนเข้ามาทำงาน การโยกย้ายหรือเลื่อนขั้น หรือแม้แต่การเกษียณอายุ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง กระบวนการที่มีการใช้กลยุทธ์ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายขององค์การ มุ่งสนองตอบเป้าหมายเป็นสำคัญ เช่น การสรรหาบุคคลที่มีความรู้ความสามารถมาให้เหมาะสมกับงาน การพัฒนาทรัพยากรบุคคลมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้พนักงานในองค์การมีความรู้ความสามารถ รวมถึงการเสริมสร้างประสบการณ์เพื่อความมีประสิทธิภาพของบุคลากร การพยายามหาแรงจูงใจเพื่อรักษาพนักงานให้อยู่ทำงานนานที่สุด เน้นให้ความสำคัญกับการเข้ามามีส่วนร่วมของพนักงานทุกๆคน เน้นความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ให้ความสำคัญต่อการรับผิดชอบของคนในองค์การในการให้สิทธิการตัดสินใจด้วยตนเอง

ความสำคัญของการบริหารงานบุคคล บุคคลในองค์การเปรียบเสมือนชิ้นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนองค์การเพื่อไปสู่จุดหมายปลายทางที่กำหนดไว้ ดังนั้นจึงควรศึกษาความสำคัญของการบริหารงานบุคคลซึ่งแยกเป็นประเด็นสำคัญๆได้ดังนี้ 1. ช่วยเสริมสร้างขวัญ และกำลังใจไม่ว่าจะเป็นด้านความสะดวกสบาย 2.ช่วยให้องค์การมีความมั่นคง และมั่งคั่งเมื่อพนักงานมีความมุ่งมั่นในการทำงานย่อมส่งผลให้องค์การมีความเจริญเติบโตและเข้มแข็ง ผลผลิตเป็นที่ยอมรับของตลาดและมีศักยภาพในการแข่งขันสูง 3.ช่วยให้เกิดความมั่นคงแก่สังคม สังคมประกอบขึ้นจากกลุ่มบุคคลเล็กๆ มารวมกันถ้าแต่ละกลุ่มมีความมั่นคงย่อมส่งผลให้สังคมเกิดความมั่นคงเช่นกัน 4. ช่วยให้เกิดความมั่นคงแก่ประเทศชาติ ถ้าบุคลากรของทุกองค์การเป็นผู้มีความสามารถ

สรุปความสำคัญของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยสรุป การจัดการทรัพยากรมนุษย์มีความสำคัญต่อการบริหารองค์การ โดยเฉพาะองค์การที่ต้องใช้มนุษย์เป็นผู้ให้บริการที่สำคัญ ซึ่งการจัดการทรัพยากรมนุษย์จะช่วยให้มีคนทำงานที่เพียงพอและต่อเนื่อง ได้คนดีมีความสามารถมาทำงานที่เหมาะสมกับงาน มีการรักษาคนให้อยู่กับองค์การโดยมีการพัฒนา การให้ค่าตอบแทนและสวัสดิการ และการประเมินผลที่เหมาะสม ตลอดจนการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนทำงาน ซึ่งจะส่งผลให้สามารถใช้ศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างเหมาะสมในการทำงานให้องค์การบรรลุตามวัตถุประสงค์

บทบาทหน้าที่ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์และขอบข่ายขั้นตอนในการบริหารทรัพยากรมนุษย์

กรอบแนวคิดการจัดการทรัพยากรมนุษย์ วัตถุประสงค์ ภาระงาน ขอบข่ายกิจกรรม เกี่ยวกับองค์การ เกี่ยวกับมนุษย์ กำหนดนโยบาย วางแผน การจ้างงาน ตำแหน่งงาน ค่าตอบแทน อื่น ๆ ให้คำแนะนำ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ แรงงานสัมพันธ์ ระเบียบวินัย ให้บริการ ปฐมนิเทศ อบรม/พัฒนา การประเมิน พัฒนาอาชีพ ควบคุม การฝึกอบรม การศึกษา การพัฒนา

กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 1.การสรรหาคัดเลือก 6.การพ้นจากงาน 2.การบรรจุ/ใช้ 5.การฝึกอบรมพัฒนา 3.การประเมินผล 4.การรักษา/จูงใจ สวัสดิการ การเลื่อนตำแหน่ง ค่าตอบแทน

บทบาทหน้าที่ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ บทบาทหน้าที่ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้องค์การมีการใช้ทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด บรรลุเป้าหมายขององค์การ ดังนั้น สมาคมการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (The Society for Human Resource Management : SHRM) ของประเทศสหรัฐอเมริกาได้กำหนดไว้ 6 บทบาทหน้าที่หลักดังนี้

บทบาทหน้าที่ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 1. การวางแผน การสรรหา และการคัดเลือกทรัพยากรมนุษย์ 1.1 การวิเคราะห์งานเพื่อสร้างความต้องการเฉพาะของงานแต่ละงาน 1.2 การคาดการณ์ความต้องการทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร 1.3 การพัฒนาและจัดทำแผนปฏิบัติการตามความต้องการที่กำหนดไว้ 1.4 การสรรหาทรัพยากรมนุษย์ตามความต้องการขององค์การ 1.5 การคัดเลือกและบรรจุในตำแหน่งที่ว่าง

การสรรหาและการคัดเลือก คุณลักษณะที่จำเป็น 4 ข้อ ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skills) ความสามารถ (ability) คุณลักษณะ/ความสามารถพิเศษอื่นๆ

การสรรหาและการคัดเลือก การได้มาซึ่ง “คนดี”+“คนเก่ง” เงินเดือน/ค่าตอบแทน สวัสดิการ ความมั่นคงในการทำงาน วิธีการทำงาน/ลักษณะงานที่ทำ สภาพแวดล้อม/บรรยากาศในการทำงาน นโยบายผู้บริหารองค์กร

ขั้นตอนการสรรหาและการคัดเลือก การรับสมัคร การตรวจสอบหลักฐาน/คุณสมบัติ การทดสอบข้อเขียน/สัมภาษณ์ การตรวจร่างกาย การตรวจสอบประวัติ การบรรจุ

บทบาทหน้าที่ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 2. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 2.1 การปฐมนิเทศและการฝึกอบรมพนักงาน 2.2 การออกแบบการปฏิบัติงานตามแผนและจัดโปรแกรมการพัฒนา 2.3 การจัดตั้งทีมงานที่มีประสิทธิภาพ 2.4 การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานแต่ละคน 2.5 การประเมินพนักงานเพื่อพัฒนาอาชีพ

การฝึกอบรมและการพัฒนา การฝึกอบรม (Training) การทำให้คนเหมาะสมกับงานทั้งความรู้ ทักษะ ทัศนคติ และพฤติกรรม ไปสู่ตำแหน่งหน้าที่/อาชีพ เพื่อประสิทธิภาพการทำงานขององค์กร นำมาซึ่ง “กำไร”

วิธีการฝึกอบรมและการพัฒนา การบรรยาย การประชุม การสัมมนา การสาธิต การฝึกปฏิบัติงานในหน้าที่ การใช้คอมพิวเตอร์ E-learning การให้การศึกษาแบบเป็นทางการ(ตรี-โท-เอก)

บทบาทหน้าที่ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 3. การจ่ายค่าตอบแทนและผลประโยชน์ 3.1 การบริหารระบบจ่ายค่าตอบแทนและผลประโยชน์เพื่อพนักงาน 3.2 การบริหารค่าตอบแทนและผลโยชน์ที่เป็นธรรม 4. พนักงานและแรงงานสัมพันธ์ 4.1 การรักษาความสัมพันธ์อันดีระหว่างองค์การและสหภาพแรงงาน 4.2 การออกแนวปฏิบัติงานที่สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างองค์การและสหภาพแรงงาน

การจ่ายค่าตอบแทน วัตถุประสงค์ ดึงดูดคนเก่งให้เข้ามาทำงาน สร้างการจูงใจในการปฏิบัติงาน สร้างขวัญกำลังใจ/ความพึงพอใจ รักษาคนที่มีความรู้ให้อยู่กับองค์กร มีผลงานดีขึ้น

รูปแบบการจ่ายค่าตอบแทน เงินเดือน (salary) ค่านายหน้า (commission) เงินรางวัล (bonus) การแบ่งส่วนกำไร การเป็นเจ้าของหุ้น

สวัสดิการและผลประโยชน์เกื้อกูล สวัสดิการนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด ที่อยู่อาศัย รถรับส่ง ค่าน้ำมันรถ ชุดทำงาน กิจกรรมนันทนาการ ร้านค้า และกีฬา การประกันชีวิต/การประกันสุขภาพ เงินช่วยเหลือค่าทำศพ

แรงงานสัมพันธ์ ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2551 - การใช้แรงงานชาย หญิง เด็ก - ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ชั่วโมงทำงาน วันหยุด วันลา - ความปลอดภัย อาชีวอนามัย สภาพแวดล้อม - สวัสดิการ - ค่าชดเชย

บทบาทหน้าที่ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 5. ความปลอดภัยและสุขภาพอนามัย 5.1 การบริหารด้านความปลอดภัยและสุขอนามัยของพนักงาน 5.2 การแก้ปัญหาที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงาน 6. การวิจัยทรัพยากรมนุษย์ 6.1 การจัดหาข้อมูลและสารสนเทศทรัพยากรมนุษย์ 6.2 การจัดระบบการสื่อสารข้อมูลการดำเนินงานของพนักงาน

ปรัชญาการบริหารทรัพยากรมนุษย์

ปรัชญาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คำว่า “ปรัชญา” เป็นการประมวลความคิดอย่างมีเหตุผลของบุคคล ที่ใช้เป็นแนวทางในปฏิบัติ ดังนั้น "ปรัชญาของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ จึงเป็นการประมวลความคิดของนักบริหารที่ได้ผ่านการสังเคราะห์อย่างถี่ถ้วน ใช้ในการกำหนดเป้าหมาย การวางแผน การดำเนินงาน และการประเมินผลเกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์”

ปรัชญาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ปรัชญาการบริหารทรัพยากรโดยทั่วไปจะเป็นกรอบความคิดในการกำหนดปรัชญาของผู้บริหาร ให้เห็นแนวทางในการบริหารงานได้มีประสิทธิภาพเร็วขึ้น จึงขอสรุปแนวปรัชญาในการบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อเป็นแนวทางในการบริหาร ดังนี้

             ปรัชญาสู่การปฏิบัติ 1. การเลือกบุคลากรเข้าปฏิบัติงานในองค์การ ควรดำเนินการด้วยความรอบคอบเพื่อให้ได้บุคลากรที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับงาน ด้วยหลักที่ว่า จัดบุคลากรให้ตรงกับงาน (Put the Right Man into the Right Job) 2.การช่วยพนักงานให้รู้จักการปรับตัวเข้ากับเพื่อนร่วมงานและลักษณะงานในระยะแรกของการเข้าทำงาน จะเป็นการสร้างความประทับใจให้กับพนักงานใหม่ เกิดความรู้สึกที่ดี เกิดบรรยากาศที่ดีในการทำงาน

ปรัชญาสู่การปฏิบัติ   3. การสร้างขวัญกำลังใจให้กับพนักงานจะเป็นแรงผลักดันให้พนักงานทุ่มเทกำลังกายกำลังใจในการทำงานให้กับองค์การ ซึ่งสามารถกระทำได้หลายวิธี เช่น การเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่งการให้สิทธิพิเศษ เป็นต้น หรือแม้แต่คำชมเชย การยกย่อง และการให้เกียรติ ก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างขวัญและกำลังใจแก่พนักงานสิ่งเหล่านี้จะมีผลต่อการพัฒนาบุคลากรและพัฒนาองค์การ 4. การเปิดโอกาสให้บุคลากรในองค์การ ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจตามระดับที่เหมาะสม เพื่อให้พนักงานได้เกิดความรู้สึกว่าตนเองมีส่วนเป็นเจ้าของกิจการด้วย จะช่วยสร้างความมั่นใจ มีความคิดริเริ่ม รักและภักดีต่อองค์การ เกิดความมุ่งมั่นที่จะพัฒนางานให้ก้าวหน้า

ปรัชญาสู่การปฏิบัติ 5. การประนีประนอม จะช่วยให้ลดข้อขัดแย้งระหว่างบุคคลกับบุคคล บุคคลกับองค์การและองค์การกับองค์การ ดังนั้น การใช้วิธีการเจรจา หรือการปรึกษาหารือจะเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาขององค์การ 6. การจัดระบบงานในองค์การให้ชัดเจน มีเป้าหมายที่แน่นอนกำหนดสายการบังคับบัญชา แจกแจงลักษณะงานสำหรับพนักงานทุกระดับ เพื่อให้รู้บทบาทหน้าที่ให้ชัดเจน จะช่วยให้เกิดความเข้าใจบุคคลและงานที่ปฏิบัติ

ปรัชญาสู่การปฏิบัติ 7. การพัฒนาบุคลากร เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เนื่องจากวิทยาการมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว การแข่งขันในระบบการตลาดมีสูง การเพิ่มพูนความรู้แก่บุคลากรในองค์การจึงเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งอาจทำได้หลายลักษณะ เช่น การฝึกอบรม การศึกษานอกสถานที่ และการศึกษาต่อ 8. การสร้างความยุติธรรมในองค์การ จะช่วยให้องค์การอยู่รอด มีความมั่นคงและก้าวหน้า การที่จะสร้างความยุติธรรม ต้องอาศัยปัจจัยหลายประการ เช่นจะต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับพนักงานทุกคน ตั้งแต่ประวัติส่วนตัว ประวัติการทำงาน และลักษณะเฉพาะของแต่ละคน เพื่อช่วยให้สามารถตัดสินใจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของแต่ละคน เป็นต้นว่า การเลื่อนตำแหน่งการเปลี่ยนงาน เปลี่ยนหน้าที่ เป็นต้น นอกจากนั้นในกรณีที่พนักงานกระทำความผิด ก็ต้องให้ความเป็นธรรมกับทุกคนเท่าเทียมกัน

แบบฝึกหัด 1. ให้นักศึกษาอธิบายความหมายความสำคัญของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 2. ให้นักศึกษาอธิบายปรัชญานโยบายของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 3. ให้นักศึกษาอธิบายบทบาทในการบริหารทรัพยากรมนุษย์และขอบข่ายขั้นตอนในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้างและมีความสำคัญอย่างไร