แนวทางปฏิบัติงานตาม พ.ร.บ. แร่ พ.ศ. 2560 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) วันพฤหัสบดีที่ 24 สิงหาคม 2560 ณ โรงแรม เดอะ ทวิน ทาวเวอร์ กรุงเทพฯ
ความจำเป็นในการออกพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ เพื่อให้เหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบัน จึงได้มีการตรากฎหมายว่าด้วยแร่ขึ้นใหม่ โดยนำหลักการของพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 ซึ่งเป็นกฎหมายทางด้านเทคนิค ที่เป็นกฎหมายหลักใช้ในการควบคุมกำกับดูแลการจัดการทรัพยากรแร่ และพระราชบัญญัติพิกัดอัตราค่าภาคหลวงแร่ พ.ศ. 2509 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดพิกัดอัตราค่าภาคหลวงแร่และวิธีการจัดเก็บค่าภาคหลวงแร่ มาบัญญัติรวมไว้ในฉบับเดียวกัน เพื่อให้การบริหารจัดการทรัพยากรแร่และการจัดเก็บค่าภาคหลวงแร่เป็นไปอย่างมีระบบ พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
ประโยชน์จากพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ เจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 มุ่งหวังให้การบริหารจัดการทรัพยากรแร่และการจัดเก็บค่าภาคหลวงแร่เป็นไปอย่างมีระบบ เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป สาระสำคัญของพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 จึงส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อบริบทในด้านต่าง ๆ ดังนี้ การอำนวยความสะดวกในการอนุญาต การเข้มงวดในการกำกับดูแลการประกอบการและดูแลสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมการมีส่วนร่วมและดูแลประชาชน พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
ความแตกต่างระหว่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ และพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 สาระสำคัญ พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2510 พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2560 1. นโยบายในการบริหารจัดการแร่ ไม่มี กำหนดให้รัฐมีหน้าที่ในการบริหารจัดการแร่ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศและการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงดุลยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างรอบด้าน นโยบาย พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
ความแตกต่างระหว่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ และพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 (ต่อ) สาระสำคัญ พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2510 พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2560 2. การรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน กำหนดการมีส่วนร่วมของประชาชนไว้ไม่ชัดเจน กำหนดการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนไว้อย่างชัดเจน ตั้งแต่ขั้นตอนการกำหนดนโยบาย การอนุญาต และภายหลังการอนุญาต นโยบาย พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
ความแตกต่างระหว่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ และพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 (ต่อ) สาระสำคัญ พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2510 พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2560 3. ผู้มีอำนาจอนุญาตตามกฎหมาย การสำรวจแร่ - อาชญาบัตรสำรวจแร่ โดย เจ้าพนักงานอุตสาหกรรมแร่ประจำท้องที่ - อาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่และอาชญาบัตรพิเศษ โดย รัฐมนตรี โดย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น - อาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่ โดย อธิบดี - อาชญาบัตรพิเศษ โดย อธิบดี โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการแร่ นโยบาย พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
ความแตกต่างระหว่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ และพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 (ต่อ) สาระสำคัญ พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2510 พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2560 3. ผู้มีอำนาจอนุญาตตามกฎหมาย การทำเหมือง - ไม่มีการแบ่งประเภทการทำเหมือง - รัฐมนตรี เป็นผู้มีอำนาจในการอนุญาต - แบ่งการทำเหมืองออกเป็น 3 ประเภท - การทำเหมืองประเภทที่ 1 เจ้าพนักงานอุตสาหกรรมแร่ เป็นผู้อนุญาตโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการแร่จังหวัด - การทำเหมืองประเภทที่ 2และการทำเหมืองประเภทที่ 3 อธิบดี เป็นผู้อนุญาตโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการแร่ นโยบาย
ความแตกต่างระหว่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ และพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 (ต่อ) สาระสำคัญ พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2510 พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2560 4. การฟื้นฟูพื้นที่ภายหลังการทำเหมืองและการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการทำเหมือง กำหนดให้ผู้ถือประทานบัตรมีหน้าที่ต้องจัดการถมหรือทำดินให้เป็นไปตามเดิมเสียทุกแห่งไม่ว่าประทานบัตรนั้นจะสิ้นอายุแล้วหรือไม่ เว้นแต่เงื่อนไขในประทานบัตรจะกำหนดเป็นการเฉพาะว่าพื้นที่นั้นจะจัดการอย่างไร กำหนดให้ผู้ประกอบการเหมืองแร่ต้องจัดทำแผนฟื้นฟูสภาพพื้นที่การทำเหมือง การพัฒนา การใช้ประโยชน์ การเฝ้าระวังผลกระทบสิ่งแวดล้อมทั้งภายหลังการทำเหมืองและการปิดเหมือง และให้วางหลักประกันฟื้นฟูสภาพพื้นที่ทำเหมืองเพื่อเยียวยาสิ่งแวดล้อม และผู้ได้รับผลกระทบจากการทำเหมือง นโยบาย
ความแตกต่างระหว่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ และพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 (ต่อ) สาระสำคัญ พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2510 พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2560 5. การประมูลเข้าสวมสิทธิการทำเหมือง ไม่มี กำหนดให้เมื่อมีการคืนสิทธิการทำเหมืองจากผู้ถือประทานบัตร ผู้มีอำนาจในการอนุญาตประทานบัตรอาจนำพื้นที่ตามประทานบัตรออกประมูลและให้ผู้ชนะการประมูลเข้าสวมสิทธิการทำเหมืองตามประทานบัตรนั้น นโยบาย พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
ความแตกต่างระหว่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ และพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 (ต่อ) สาระสำคัญ พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2510 พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2560 6. การขุดหาแร่รายย่อยและการร่อนแร่ - การใช้เครื่องจักรในการขุดหาแร่รายย่อย - การควบคุมการร่อนแร่ กำหนดให้ใช้เฉพาะแรงคนจะใช้เครื่องจักรไม่ได้ ต้องออกเป็นใบอนุญาตขุดหาแร่รายย่อยและใบอนุญาตร่อนแร่ กำหนดให้การขุดหาแร่รายย่อยสามารถนำเครื่องจักรที่มีขนาดแรงม้าไม่สูงมาใช้ในการขุดหาแร่ได้ตามความเหมาะสมของชนิดแร่ที่จะอนุญาต ปรับระบบการควบคุมจากใบอนุญาตเป็นการให้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐแทน เพื่อเป็นการลดการออกใบอนุญาต นโยบาย
ความแตกต่างระหว่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ และพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 (ต่อ) สาระสำคัญ พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2510 พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2560 7. การออกใบอนุญาตและลดขั้นตอนการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจแร่ กำหนดให้การซื้อขายแร่ การครอบครองแร่ การเก็บแร่ การขนแร่ ต้องมีใบอนุญาตกำกับดูแลทุกขั้นตอน กำหนดหลักการกำกับดูแลการซื้อขายแร่ การครอบครองแร่ การเก็บแร่ การขนแร่ โดยแร่ที่ได้ชำระค่าภาคหลวงแร่ครบถ้วนแล้ว ไม่ต้องมีใบอนุญาตควบคุม เว้นแต่เป็นแร่ที่อยู่ในความควบคุมจึงจะต้องมีใบอนุญาต นโยบาย พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
ความแตกต่างระหว่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ และพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 (ต่อ) สาระสำคัญ พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2510 พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2560 8. การนำแร่เข้าในราชอาณาจักรและการส่งแร่ออกนอกราชอาณาจักร คณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีความเห็นว่า แร่ที่มีแหล่งกำเนิดนอกราชอาณาจักรไม่อยู่ในความควบคุมตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 การกำกับดูแลการนำแร่เข้ามาในราชอาณาจักรหรือการส่งแร่ออกนอกราชอาณาจักร แบ่งออกเป็น 3 ระดับ 1) ชนิดแร่ที่ต้องห้ามมิให้นำเข้าและส่งออก 2) ชนิดแร่ที่ต้องขออนุญาตนำเข้าและส่งออก 3) ชนิด สภาพ และปริมาณแร่ที่ต้องแจ้งการนำเข้า และส่งออก นโยบาย
ความแตกต่างระหว่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ และพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 (ต่อ) สาระสำคัญ พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2510 พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2560 9. การจัดเก็บรายได้และการกระจายรายได้ การจัดเก็บค่าภาคหลวงแร่ - กำหนดอัตราการจัดเก็บค่าภาคหลวงแร่ ไม่เกินร้อยละ 20 ของราคาตลาดแร่ - กำหนดอัตราการจัดเก็บค่าภาคหลวงแร่ ไม่เกินร้อยละ 30 ของราคาตลาดแร่ - กรณีที่ชำระค่าภาคหลวงแร่ไม่ตรงตามเวลาที่กฎหมายกำหนดต้องเสียเงินเพิ่มอีก 5 เท่าของค่าภาคหลวงแร่ที่จะต้องชำระ นโยบาย
ความแตกต่างระหว่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ และพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 (ต่อ) สาระสำคัญ พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2510 พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2560 9. การจัดเก็บรายได้และการกระจายรายได้ การจัดเก็บค่าภาคหลวงแร่ - กรณีที่มีการชำระค่าภาคหลวงตามกำหนดเวลา แต่มีหลักฐานที่เป็นเหตุให้เชื่อว่าเป็นการชำระไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน - กำหนดให้อธิบดีมีอำนาจจัดตั้งคณะกรรมการประเมิน เพื่อประเมินค่าภาคหลวงแร่ในส่วนของค่าภาคหลวงแร่ที่ยังขาดอยู่ นโยบาย
ความแตกต่างระหว่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ และพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 (ต่อ) สาระสำคัญ พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2510 พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2560 9. การจัดเก็บรายได้และการกระจายรายได้ การจัดเก็บค่าภาคหลวงแร่ - ส่งเป็นรายได้แผ่นดิน และกระจายให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นโยบาย พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
ความแตกต่างระหว่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ และพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 (ต่อ) สาระสำคัญ พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2510 พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2560 9. การจัดเก็บรายได้และการกระจายรายได้ เงินผลประโยชน์พิเศษแก่รัฐ - ส่งเป็นรายได้แผ่นดิน - จัดสรรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งของเขตพื้นที่ตามคำขออาชญาบัตรพิเศษและประทานบัตร นโยบาย พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
ความแตกต่างระหว่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ และพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 (ต่อ) สาระสำคัญ พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2510 พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2560 10. สิทธิประโยชน์ของผู้ประกอบการ ไม่มี กรณีที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเกี่ยวกับแร่สามารถบริหารจัดการทรัพยากรแร่ให้เกิดดุลยภาพทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมสูงกว่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนด อาจได้รับสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อยหรือยกเว้นค่าธรรมเนียม รวมถึงการบริการอื่นภายใต้กรอบแห่งกฎหมาย นโยบาย
ความแตกต่างระหว่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ และพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 (ต่อ) สาระสำคัญ พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2510 พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2560 11. ประกันสิทธิของประชาชนในการพิจารณาทางปกครอง ดำเนินการตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 กำหนดให้ออกประกาศกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาในการพิจารณาอนุญาต เหตุขัดข้อง หรือความล่าช้าในการพิจารณา รวมถึงการจัดทำและเผยแพร่คู่มือสำหรับประชาชน เพื่อให้การอนุญาตตามกระบวนการของกฎหมายมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน นโยบาย
ความแตกต่างระหว่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ และพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 (ต่อ) สาระสำคัญ พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2510 พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2560 12. ความรับผิดทางแพ่ง กำหนดให้รับผิดชอบในการกระทำของตนต่อความเสียหาย หรือความเดือดร้อนรำคาญอันเกิดขึ้นแก่บุคคล ทรัพย์สิน หรือสิ่งแวดล้อม กำหนดให้มีค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษ นอกเหนือจากความรับผิดทางแพ่งทั่วไป โดยให้ศาลมีอำนาจในการใช้ดุลพินิจที่จะกำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด นโยบาย พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
ความแตกต่างระหว่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ และพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 (ต่อ) สาระสำคัญ พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2510 พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2560 13. บทกำหนดโทษ มีทั้งโทษปรับสถานเดียว โทษจำคุก หรือทั้งจำทั้งปรับ - ปรับปรุงบทกำหนดโทษให้เหมาะสมกับสถานการณ์ โดยเฉพาะปรับเพิ่มอัตราโทษ 30 เท่าของอัตราโทษเดิม - กำหนดให้มีการปรับเป็นรายวันในการกระทำความผิดบางฐานความผิด - กำหนดให้มีคณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ เพื่อให้เกิดความรอบคอบและโปร่งใส นโยบาย
ความแตกต่างระหว่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ และพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 (ต่อ) สาระสำคัญ พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2510 พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2560 14. อัตราค่าธรรมเนียม ปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นจากที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 จำนวน 100 เท่า นโยบาย พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
การบังคับใช้พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 ประกาศในราช กิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2560 มีผลใช้บังคับเมื่อพ้น กำหนด 180 วันนับถัด จากวันประกาศในราช กิจจานุเบกษา ดังนั้น กฎหมายแร่ฉบับนี้จะมีผล ใช้บังคับในวันที่ 29 สิงหาคม 2560 เป็นต้นไป พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
ความพร้อมในการบังคับใช้พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ กพร. ได้มีการจัดตั้งคณะทำงาน เพื่อทำหน้าที่ใน การจัดทำอนุบัญญัติออกตามความในกฎหมายว่า ด้วยแร่ ขณะนี้ คณะทำงานดังกล่าว ได้มีการศึกษา วิเคราะห์ และยกร่างอนุบัญญัติได้ระดับหนึ่ง โดยเฉพาะอนุบัญญัติที่เป็นเรื่องเร่งด่วน พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
ขอขอบคุณสื่อมวลชน และผู้เข้าร่วมงานทุก ๆ ท่าน จบการแถลงข่าว ขอขอบคุณสื่อมวลชน และผู้เข้าร่วมงานทุก ๆ ท่าน พบกันใหม่โอกาสหน้า สวัสดี พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
ขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็น ร่างอนุบัญญัติ ที่เกี่ยวข้องกับ พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 ผ่านทางเว็บไซต์ กพร. ได้ที่ ... www.dpim.go.th หรือส่งความคิดเห็นผ่านทาง e-mail ได้ที่ ... pbhearing@dpim.go.th พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่