วิธีการสุ่มตัวอย่าง วิธีการสุ่มตัวอย่างมี 2 วิธี 1.การสุ่มโดยเน้นกระบวนการสุ่ม (random sampling procedures) 2.การสุ่มโดยไม่เน้นกระบวนการสุ่ม (nonrandom sampling procedures) การสุ่มตัวอย่าง
เป็นการสุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมสำหรับการวิจัยเชิงสำรวจที่สามารถ กำหนดขอบเขตประชากรได้แน่นอนสามารถทำทะเบียนสมาชิกของ ประชากรได้ชัดเจน มี 4 วิธีดังนี้ การสุ่มแบบเน้นกระบวนการสุ่ม การสุ่มแบบง่าย (simple random sampling) เป็นการสุ่มตัวอย่างที่สมาชิกทุกหน่วยมีโอกาสถูกเลือกมาเป็นกลุ่มตัวอย่างได้เท่าเทียมกัน (2) การสุ่มแบบเป็นระบบ (systematic sampling) คือการสุ่มตัวอย่างในกรณีที่สมาชิกของประชากรเป้าหมายได้รับการจัดลำดับไว้ด้วยวิธีสุ่มแล้วสามารถใช้ลำดับที่กล่าวสำหรับการสุ่มตัวอย่าง การสุ่มตัวอย่าง
(3) การสุ่มแบบแบ่งส่วน (stratified sampling) คือการสุ่มตัวอย่างในกรณีที่ประชากรเป้าหมาย ประกอบด้วยบุคคล หลายลักษณะ ซึ่งมีสัดส่วนแตกต่างกัน จำเป็นต้องสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งส่วนจึงจะได้กลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็น ตัวแทนของประชากรเป้าหมาย การสุ่มแบบเป็นกลุ่ม (cluster sampling) คือการสุ่มตัวอย่างในกรณีที่ประชากรมีขนาดใหญและเสียค่าใช้จ่ายมากหากต้องรวบรวมข้อมูลจากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบธรรมดา หรือแบบแบ่งส่วน จำเป็นต้องสุ่มแบบเป็นกลุ่มโดยแต่ละกลุ่มสามารถแทนประชากรได้ การสุ่มตัวอย่าง
การสุ่มตัวอย่างแบบไม่เน้นกระบวนการสุ่ม คือการสุ่มตัวอย่างกรณีที่ไม่มีทะเบียนประชากรไม่สามารถกำหนดขนาดที่แน่นอนของประชากร ไม่สามารถทำฉลากหมายเลขประชากรแต่ละหน่วยได้วิธีการสุ่มตัวอย่างกรณีนี้มี 3 วิธี ดังนี้ การสุ่มตัวอย่างแบบไม่เน้นกระบวนการสุ่ม (1) การสุ่มแบบตามสะดวก (convenient sampling) คือ การสุ่มตัวอย่าง โดยใช้วิธีเลือกหน่วยตัวอย่างตามความสะดวกกัน (2) การสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (specific purpose sampling) คือ การสุ่มตัวอย่างโดยผู้วิจัยพิจารณาคัดเลือกหน่วยตัวอย่างให้ตรงตามวัตถุประสงค์การวิจัย การสุ่มตัวอย่าง
(3) การสุ่มแบบอาสาสมัคร (volunteer sampling) คือการวิจัยบางกรณีไม่สามรถจะสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวกหรือเฉพาะเจาะจงได้ การสุ่มตัวอย่าง
ความลำเอียงจากการสุ่มตัวอย่าง การเกิดความลำเอียง (bias) ในการสุ่มตัวอย่างที่ทำให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่แตกต่างไปจากประชากรเป้าหมายตามขอบเขตของการวิจัย การสุ่มตัวอย่าง