งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 4 การจำลองข้อมูลและกระบวนการ (Data and Process Modeling)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 4 การจำลองข้อมูลและกระบวนการ (Data and Process Modeling)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 4 การจำลองข้อมูลและกระบวนการ (Data and Process Modeling)

2 การเขียนแผนภาพการไหลข้อมูล
แผนภาพการไหลข้อมูลเป็นเครื่องมือของนักวิเคราะห์ระบบที่ช่วยให้สามารถเข้าใจ กระบวนการทำงานของแต่ ละหน่วยงานซึ่งทราบถึงการรับและการส่งข้อมูล การประสานงาน ระหว่างกิจกรรมต่างๆ ในการดำเนินงานซึ่ง เป็นแบบจำลองของระบบที่แสดงถึงการไหลของ ข้อมูลทั้งข้อมูลนำเข้าและข้อมูลนำออกระหว่างระบบกับ แหล่งกำเนิดรวมถึงปลายทางของการ ส่งข้อมูลนอกจากนี้ยังช่วยให้รู้ถึงความต้องการข้อมูลและข้อจำกัด (ปัญหา) ในระบบงานเดิม เพื่อใช้ในการออกแบบการปฏิบัติงานในระบบใหม่

3 สัญลักษณ์ที่ใช้ในแผนภาพการไหลข้อมูล
สัญลักษณ์ที่ใช้เป็นมาตรฐานในการแสดงแผนภาพกระแสข้อมูลมีหลายชนิด แต่ในที่นี้ จะแสดงให้เห็นเพียง 2 ชนิด ได้แก่ ชุดสัญลักษณ์มาตรฐานที่พัฒนาโดย Gane และ Sarson และชุดสัญลักษณ์มาตรฐานที่พัฒนาโดย DeMarcoและYourdon โดยมีสัญลักษณ์ดังตาราง

4 ข้อกำหนดการเขียนแผนภาพการไหลข้อมูล
กฎการตั้งชื่อให้กับกระบวนการ ข้อมูลแหล่งเก็บข้อมูลและเอนทิตี ในการตั้งชื่อ ให้กับสัญลักษณ์ต่างๆ ในแผนภาพการไหลข้อมูลนั้นมีหลักการง่ายๆ 3 ข้อ ดังต่อไปนี้ 1. การตั้งชื่อให้กับกระบวนการ (Process) ให้ใช้คำกริยาเท่านั้น 2. ข้อมูล แหล่งเก็บข้อมูล และเอนทิตีให้ใช้คำนามเท่านั้น 3. บนเส้นลูกศรทุกเส้นจะต้องมีข้อมูล (คำนาม) กำกับเสมอ

5 กฎในการเขียนแผนภาพการไหลข้อมูล
1. กระบวนการจะต้องมีข้อมูลเข้า (input) และข้อมูลออก (output) จะมีข้อมูลเข้า อย่างเดียวไม่ได้ 2.กระบวนการจะต้องมีข้อมูลเข้า (input) และข้อมูลออก (output) จะมีข้อมูลออก อย่างเดียวหรือข้อมูลเข้าอย่างเดียวไม่ได้

6 กฎในการเขียนแผนภาพการไหลข้อมูล
3. ข้อความที่อยู่ในกระบวนการ (Process) จะต้องเป็นคำกริยา (Verb) หรือคำนามที่ แสดงถึงกริยาเท่านั้น เช่น พิมพ์ใบเสร็จหรือการพิมพ์ใบเสร็จ 4. ไม่สามารถส่งข้อมูลโดยตรงจากแหล่งเก็บข้อมูล (Data store) อันหนึ่งไปยังแหล่ง เก็บ ข้อมูลอีกอันหนึ่งได้การส่งข้อมูลต้องผ่านกระบวนการก่อนเสมอจึงจะส่งไปยังแหล่งเก็บข้อ มูล อื่นๆ ได

7 กฎในการเขียนแผนภาพการไหลข้อมูล
5. ข้อมูลจะต้องมีทิศทางการไหลของข้อมูลเพียงทิศทางเดียวเท่านั้น เนื่องจากไม่มีการ ทำงานใดๆ ที่เกิดขึ้นพร้อมกันได้(และเพื่อป้องกันความสับสนของผู้อ่าน) 6. ข้อมูลไม่สามารถไหลกลับเข้าสู่กระบวนการเดิมได้โดยตรงจะต้องมีกระบวนการ อย่าง น้อยหนึ่งอย่างมาจัดการกับข้อมูลดังกล่าวก่อนแล้วจึงคืนค่ากระแสข้อมูลเดิมกลับมายัง กระบวนการเริ่มต้น

8 7. ข้อความที่อยู่บนเส้นลูกศร(DataFlow)จะต้องเป็นคำนามเท่านั้น ห้ามเป็นคำกริยา
8. ไม่สามารถส่งข้อมูลโดยตรงจากเอ็นทิตีระบบอื่นไปยังอีกเอ็นทิตีหนึ่งได้โดยตรง ข้อมูลต้อง ผ่านกระบวนการภายในระบบก่อนจึงส่งไปยังสิ่งที่อยู่ภายนอกระบบปลายทางได้

9 วิธีการเขียนแผนภาพการไหลข้อมูล
การเขียนแผนภาพการไหลข้อมูลจะเขียนเป็นระดับ (Level) โดยเริ่ม จากระดับที่มีราย ละเอียดน้อยไปสู่ระดับที่มีรายละเอียดมาก ดังต่อไปนี้ ขั้นที่ 1: คอนเท็กซ์ไดอะแกรม (Context Diagram) ขั้นที่ 2: ระดับ 0 (Level 0) ขั้นที่ 3: ระดับที่ต่ำกว่า (Lower-level Diagrams) หากในขั้นที่สูงกว่ามี รายละเอียดที่ ต้องการแสดงให้ผู้อ่านได้ทราบ

10 การเขียน Context Diagram
คอนเท็กซ์ไดอะแกรมเป็นขั้นที่แสดงภาพรวมของระบบเพื่อแสดงถึงขอบเขตของระบบ งานและมี ลักษณะที่สำคัญคือ 1. มีกระบวนการเพียงแค่1 กระบวนการเท่านั้นและกระบวนการนั้นจะมีหมายเลข กระบวนการคือ หมายเลข 0 เสมอ 2. ชื่อของกระบวนการมักจะใช้ชื่อระบบ เช่น ระบบการสั่งซื้อสินค้า 3. มีเส้นลูกศร(Data flow)เชื่อมต่อจากกระบวนการไปยังเอ็นทิตีต่างๆที่เข้ามาเกี่ยวข้อง กับระบบ พร้อมทั้งระบุข้อมูลที่เข้าสู่กระบวนการและออกไปสู่เอ็นทิตี 4. ในขั้นตอนนี้จะไม่มีการแสดงแหล่งเก็บข้อมูลใดๆ 5. การเขียน Context Diagram จะเขียนให้อยู่ภายใน 1 หน้า 6. ห้ามใช้ชื่อกระบวนการซ้ำกับระดับอื่นๆ 7. อย่าเขียนเส้นข้ามหรือทับกัน

11 การเขียนContext Diagram

12 การเขียนแผนภาพการไหลข้อมูลระดับ0(Level0)
การเขียนระดับ 0 นั้นนักวิเคราะห์ระบบจะต้องระบุรายละเอียดเพิ่มขึ้นจาก Context diagram จะต้องแสดงถึงกระบวนการย่อยในระบบซึ่งเป็นกระบวนการหลักๆ ในระบบและ ระบุ แหล่งเก็บข้อมูลต่างๆ ในระดับนี้การเขียนระดับ 0 มีลักษณะสำคัญดังนี้ 1. แสดงให้เห็นถึงเอ็นทีตีต่างๆ กระบวนการหลักของระบบงาน 2. ในระดับ 0 นี้จะต้องคงเอ็นทิตี้ทั้งหมดใน Context Diagram เหมือนเดิม 3. สามารถเพิ่มแหล่งเก็บข้อมูลเข้ามาได้ 4. หมายเลขกระบวนการจะใช้เป็นเลขจำนวนเต็มเช่น เพื่อบอกว่าเป็นกระ บวนการในระดับ 0 5. ห้ามใช้ชื่อกระบวนการซ้ำซ้อนกับระดับอื่นๆ 6. พยายามหลีกเลี่ยงการเขียนเส้นที่ซ้อนทับกันทำให้ อ่านยาก

13 การเขียนแผนภาพการไหลข้อมูลระดับ0(Level0)

14 การเขียนแผนภาพการไหลข้อมูลระดับต่ำลงไป
ในกรณีที่ระดับ 0 ไม่สามารถแสดงรายละเอียดทั้งหมดได้อาจจะเนื่องจากจะทำให้ แผนภาพดูยุ่งเหยิงและอ่านได้ยาก ดังนั้นนักวิเคราะห์ระบบจะใช้วิธีการแสดงรายละเอียด ของ แต่ละกระบวนการในระดับต่ำลงไป (Lower-level Diagrams) โดยหลักการ เขียนแผนภาพ การไหลข้อมูลในระดับนี้มีดังต่อไปนี้ 1. ไม่ใช้ชื่อกระบวนการซ้ำกับระดับอื่นๆ 2. ถ้ามีกระบวนการใดที่สามารถเขียนรายละเอียดเพิ่มได้อีก ให้ขยายต่อเป็นระดับต่ำ ลงไป จนไม่สามารถแตกออกมาเป็นกระบวนการย่อยๆ ได้อีก 3. หมายเลขกระบวนการให้ใช้จุดทศนิยมเท่ากับระดับ เช่น - ระดับที่ 1 ใช้หมายเลข กระบวนการเป็น ระดับที่ 2 ใช้หมายเลขกระบวนการเป็น

15 การเขียนแผนภาพการไหลข้อมูลระดับต่ำลงไป

16 ความสมดุล(Balancing)
ระดับ(Leveling) ระดับเป็นการอธิบายกระบวนการทำงานของระบบที่สามารถอธิบายรายละเอียดของ ขั้นตอน การทำงานได้มากขึ้นบางครั้งเรียกว่าเป็นการแตกรายละเอียด (exploding) หรือแบ่ง ส่วน ของการอธิบาย (partitioning) โดยถ้ามีระดับต่ำก็เป็นรายละเอียดที่แสดงถึงขั้นตอนการ ทำงานมากยิ่งขึ้น ข้อควรระวังในระดับที่ต่ำกว่าจะต้องประกอบด้วยกระบวนการอย่างน้อย 2 กระบวนการขึ้นไป ความสมดุล(Balancing) ความสมดุลเป็นคุณลักษณะที่ใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องระหว่างระดับต่างๆ ของ แผนภาพการไหลข้อมูลทั้งหมดโดยใช้การตรวจสอบจากแผนภาพในระดับบนจะต้องมีข้อมูล นำเข้าและนำออกเหมือนกับข้อมูลนำเข้าในระดับล่าง

17 THE END


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 4 การจำลองข้อมูลและกระบวนการ (Data and Process Modeling)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google