บทที่ ๒ เรื่องที่ ๗ การเขียนเชิงวิชาการ บทที่ ๒ เรื่องที่ ๗ การเขียนเชิงวิชาการ กระบวนการพัฒนาการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ ครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์
การเขียนเชิงวิชาการ
ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ การเขียนเชิงวิชาการ หมายถึง การนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้า สำรวจ รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลความรู้อย่างละเอียด ถี่ถ้วน มีเหตุผล เป็นระบบ และอ้างอิงหลักฐานอย่างมีระเบียบแบบแผน
ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ สิ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับการเขียนเชิงวิชาการ ๑. วิธีจดบันทึกข้อมูล ๒. ขั้นตอนการเขียนเชิงวิชาการ
วิธีการจดบันทึก
ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ การจดบันทึกเป็นกระบวนการในขณะที่เรากำลังรับสารอาจจำแนกได้ดังนี้ ๑. จดบันทึกจากการฟัง เช่น จดบันทึกคำบรรยาย ปาฐกถา การอภิปราย การสัมภาษณ์ การประชุม รายการจากวิทยุและโทรทัศน์ ๒. จดบันทึกจากการอ่าน เช่น จดบันทึกจากหนังสือ หนังสือพิมพ์ ตลอดจนเอกสารสิ่งพิมพ์ต่างๆ ๓. จดบันทึกจากประสบการณ์ตรง เช่น จดบันทึกเหตุการณ์หรือเรื่องราวต่างๆ ที่ได้พบเห็นได้สังเกตในชีวิตประจำวันหรือในโอกาสพิเศษต่างๆ
ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ จะจดบันทึกจากแหล่งใดก็ตาม มีหลักสำคัญที่ควรระลึกไว้ ดังนี้ ๑. เก็บข้อมูลหรือข้อความให้ถูกต้องตรงตามที่ปรากฏจริง ๒. ระบุแหล่งที่มาให้ชัดเจน รวมทั้งบอกวัน เดือน ปี ที่ได้บันทึกไว้ด้วย ๓. จดบันทึกอย่างมีระบบให้เป็นระเบียบเดียวกัน
ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ๑. วิธีจดบันทึกจากการฟัง การจดบันทึกจาการฟังจะได้ผลดีเพียงใด ขึ้นอยู่กับสมรรถภาพของผู้จดบันทึกขณะที่กำลังฟังอยู่นั้น เราไม่สามารถจดคำพูดได้ทุกคำ ฉะนั้นวิธีจดบันทึกจากการฟังจึงจำเป็นต้องรู้จักเลือกจดเฉพาะประเด็นสำคัญ กล่าวคือต้องสามารถแยกใจความสำคัญออกจากพลความได้ ข้อความตอนใดที่ไม่สำคัญหรือไม่เกี่ยวกับเรื่องนั้นโดยตรง ก็ไม่จำเป็นต้องจด
ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ทั้งนี้อาจใช้อักษรย่อหรือเครื่องหมายที่ใช้กันทั่วไป เพื่อให้บันทึกได้อย่างรวดเร็ว เช่น ร.ร. แทน โรงเรียน ร.๑ แทน รัชกาลที่ ๑ > แทน มากกว่า อาจใช้อักษรย่อหรือเครื่องหมายของตัวเองโดยเฉพาะ แต่ทั้งนี้ต้องให้เป็นระบบ จะได้ไม่สับสนภายหลัง
ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ๒. วิธีจดบันทึกจากการอ่าน ในการบันทึกจากการอ่านนั้น มีสิ่งสำคัญที่จะต้องเข้าใจและปฏิบัติ ๓ เรื่องคือ ๑. วิธีบันทึกแหล่งที่มา ๒. วิธีบันทึกข้อความ ๓. รูปแบบในการบันทึก
ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ๑. วิธีบันทึกแหล่งที่มา การบอกแหล่งที่มาของข้อความ ที่บันทึก เป็นมารยาทอันสำคัญของนักวิชาการที่แสดงความเคารพต่อเจ้าของเรื่องเดิม และเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นที่ประสงค์จะใช้หลักฐานนั้นอ้างอิงต่อไป การบอกแหล่งที่มาควรบันทึกให้เป็นระบบเพื่อสะดวกในการนำไปใช้รายงานต่อไป
ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ - หนังสือเล่ม ให้ระบุ ผู้แต่ง. ปีพิมพ์. ชื่อเรื่อง. ครั้งที่พิมพ์. เมืองที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์. ลมุล รัตตากร. ๒๕๓๙. การใช้ห้องสมุด. พิมพ์ครั้งที่ ๘. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น. พวา พันธุ์เมฆา. ๒๕๔๑. สารนิเทศกับการศึกษาค้นคว้า. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพฯ : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ - นิตยสารหรือวารสาร ให้ระบุ ผู้เขียนบทความ. ปีพิมพ์, วัน, เดือน. “ชื่อบทความ.” ชื่อวารสาร. ปีที่(ฉบับที่) : หน้าที่อ้าง สรงชล (นามแฝง). ๒๕๔๐, สิงหาคม. “หนังสือดี ๑๐๐ เล่มในรอบ ศตวรรษ.” วารสารวัฒนธรรมไทย. ๓๕(๑๑) : ๑๒-๑๖. สันต์ หัตถีรัตน์. ๒๕๔๑, ธันวาคม. “การดูแลผู้ป่วยที่หมดหวัง.” หมอชาวบ้าน. ๒๐ (๒๓๖) : ๑๔-๑๖.
ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ - หนังสือพิมพ์ ให้ระบุ ผู้เขียน. ปีพิมพ์, วันที่ เดือน. “ชื่อบทความ.” ชื่อหนังสือพิมพ์. หน้าที่อ้างอิง. สุพิศ สุจินตะกูล. ๒๕๔๑, ๒๓ พฤศจิกายน. “โอเปคที่มาเลเซีย ใครได้-ใครเสีย.” บ้านเมือง. หน้า ๔
ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ในกรณีที่ไม่ปรากฏรายการชื่อผู้แต่ง ให้ใส่ชื่อบทความไว้ในตำแหน่งรายการชื่อแต่งดังนี้ “พาดหัวข่าว.” ปีพิมพ์, วัน เดือน. ชื่อหนังสือพิมพ์. หน้าที่อ้าง. “เกินคาด ๒๔ ทองไทยผงาดที่ ๔ อชก. .” (๒๕๔๑, ๒๐ ธันวาคม). สยามกีฬา. หน้า ๑, ๑๘.
ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ - อินเทอร์เน็ต ให้ระบุ ผู้แต่ง. ปีที่สืบค้น. ชื่อเรื่อง. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : ชื่อย่อยของแหล่งที่มา. วัน เดือน ปีที่สืบค้น. พัชรา แสงศรี. ๒๕๔๗. จังหวัดเชียงใหม่. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://travel.mweb.co.th/north/Chiangmai/index.html. ๑๒ มกราคม ๒๕๔๗. เรวัติ แสงสุริยงค์. ๒๕๔๒. คนอินโดจีน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. (ออนไลน์). ๖(๖) เข้าถึงได้จาก : http://www.husobuu. (วันที่ค้นข้อมูล : ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒).
ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ - ซีดี-รอม ให้ระบุ ชื่อผู้บรรยาย หรือผู้พูดหรือผู้ขับร้อง. ปีที่ผลิต. ชื่อเรื่องหรือเพลง. (ซีดี-รอม). สถานที่ผลิต : ผู้ผลิต. อารีย์ แสงศรี. ๒๕๔๑. เที่ยวเชียวใหม่ใกล้แค่เอื้อม. (ซีดี-รอม). กรุงเทพฯ : เอ็มจีเอ จำกัด.
ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ๒. วิธีบันทึกข้อความ วิธีจดบันทึกข้อความอาจทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับความประสงค์ของผู้จดบันทึก ที่สำคัญๆ มีดังนี้ ๑) จับสาระสำคัญของข้อความที่อ่าน และจดบันทึกโดยใช้ถ้อยคำของผู้จดบันทึกเอง ทั้งนี้ให้ตรงกับความเดิม โดยไม่ต่อเติม ๒) ใช้ถ้อยคำบางคำที่สำคัญจากต้นฉบับประสมกับถ้อยคำของผู้จดบันทึกเองโดยไม่ต่อเติมเช่นกัน
ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ๓) จดข้อความตอนใดตอนหนึ่งจากหนังสือหรือเอกสารที่อ่านเพื่อใช้ในการอ้างอิง โดยจดให้ตรงตามต้นฉบับทุกประการ ใส่เครื่องหมายอัญประกาศกำกับไว้ ๔) ทำโดยวิธีใดวิธีหนึ่งใน ๓ วิธีข้างต้น และแสดงความคิดเห็นหรือข้อสังเกตเพิ่มเติม โดยระบุไว้ให้ชัดว่าตอนนี้เป็นความคิดเสริมและแยกเขียนไว้อีกตอนหนึ่งต่างหาก
ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ๓. รูปแบบในการบันทึก การจดบันทึกควรจดเพียงด้านเดียวบนแผ่นกระดาษที่มีขนาดเดียวกัน ควรวางรูปแบบในการจดบันทึกตามลำดับคือ หัวข้อใหญ่ หัวข้อย่อย แหล่งที่มาของเอกสารที่อ่าน เลขหน้าที่ข้อความนั้นปรากฏ เนื้อความ
ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ๓. วิธีจดบันทึกจากประสบการณ์ตรง ความรู้บางอย่างเราไม่อาจหาได้จากการอ่านหรือการฟัง ต้องอาศัยการไปดูและสังเกตด้วยตนเอง ความรู้ดังกล่าวเราไม่อาจหาได้จากการอ่านหรือการฟัง เพราะเป็นความรู้จากประสบการณ์ตรง แต่เราก็อาจใช้ข้อมูลนั้นสำหรับนำมาเขียนรายงานอย่างมีหลักได้เช่นกัน
ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ วิธีการจดบันทึกจากการสังเกตของจริง เรียบเรียงตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้ ๑. ระบุเรื่องที่บันทึก ๒. บอกวัน เวลา สถานที่ ให้ถูกต้อง ๓. ระบุชื่อผู้เกี่ยวข้อง
ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ๔. บอกสภาพของสิ่งที่บันทึกให้ชัดเจน เช่น เมื่อไปสังเกตโรงงานอุตสาหกรรมก็อาจบอกสภาพของโรงงานนั้นว่าทรุดโทรมหรือทันสมัย ฯลฯ ๕. เรียบเรียงตามลำดับเหตุการณ์ ๖. ถ้ามีข้อสังเกตหรือมีความคิดเห็นประการใด ควรเรียบเรียงไว้ตอนท้าย ทั้งนี้ควรเขียนให้รวบรัด ให้รายละเอียดเฉพาะที่จำเป็น ไม่ใช้ถ้อยคำฟุ่มเฟือย
วิธีการเขียนเชิงวิชาการ
ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ การเขียนเชิงวิชาการนั้น โดยปกติผู้เขียนจะปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้ ขั้นที่ ๑ เลือกหัวข้อเรื่อง ขั้นที่ ๒ กำหนดจุดมุ่งหมายและขอบเขตของเรื่อง การเขียนเชิงวิชาการต้องมีจุดมุ่งหมายเฉพาะเจาะจงว่า จะนำเสนอความรู้เกี่ยวกับอะไร เพื่ออะไร และมีขอบเขตเพียงใด เช่น เรื่อง “นกเงือก”
ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ จุดมุ่งหมาย : ให้ความรู้เกี่ยวกับนกเงือก ขอบเขต : กล่าวถึงชนิดและธรรมชาติของ นกเงือก เท่าที่พบในประเทศไทย
ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ขั้นที่ ๓ ค้นคว้าและรวบรวมความรู้ การค้นคว้าหาความรู้มาเขียนอาจทำได้โดยอ่านเอกสารต่างๆ และการไปสังเกตด้วยตนเอง เช่นในการเขียนเชิงวิชาการเรื่อง “นกเงือก” ดังกล่าวข้างต้น แหล่งความรู้มีอาทิ ๑. สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ๒. สารานุกรมสำหรับเยาวชน ๓. หนังสือวารสารต่างๆ ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องของนก ๔. สวนสัตว์ พิพิธภัณฑ์สัตว์ ๕. การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ขั้นที่ ๔ วางโครงเรื่อง โครงเรื่องเป็นเครื่องกำหนดว่า จะเขียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง จะเขียนไปในทางใด และสั้นยาวเพียงใด โครงเรื่องยังช่วยให้เรียบเรียงเรื่องได้ถูกลำดับ ดำเนินเรื่องได้ต่อเนื่องกันกำหนดเนื้อหาของแต่ละหัวข้อได้พอเหมาะและประการสำคัญที่สุด โครงเรื่องจะช่วยป้องกันไม่ให้เขียนออกนอกเรื่อง
ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ การวางโครงเรื่องก็คือ การแยกหัวข้อเรื่องออกเป็นหัวข้อย่อยๆ เมื่อเขียนรายละเอียดของแต่ละหัวข้อย่อยแล้วก็จะได้รายงานทั้งเรื่อง ฉะนั้นการทำโครงเรื่องจึงต้องจัดวางหัวข้อย่อยต่างๆ ให้เป็นไปตามลำดับ ควรทำเป็น ๒ ตอน
ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ๑. กำหนดหัวข้อย่อย ในขั้นนี้ยังไม่ต้องพะวงเรื่องการลำดับ เมื่อศึกษาได้ความรู้มาแล้วก็เขียนหัวข้อต่างๆ เรียงลงไป หัวข้อต่างๆ นี้อาจได้มาจากหนังสือที่ค้นคว้าหรืออาจได้มาจากการตั้งคำถามขึ้นเอง อาจวางหัวข้อ ดังนี้ ๑) นกเงือกมีกี่ชนิด ๒) นกเงือกมีรูปร่างลักษณะอย่างไร ๓) อาหารของนกเงือก ๔) การผสมพันธุ์ ๕) การเลี้ยงลูก ๖) ธรรมชาติของฝูงนกเงือก ฯลฯ
ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ๒. กำหนดโครงเรื่อง เมื่อเขียนหัวข้อทั้งหมดที่ค้นคว้ามาได้แล้ว ควรพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง และแก้ไขปรับปรุงดังนี้ ๑) พิจารณาความสัมพันธ์ของแต่ละหัวข้อ บางหัวข้ออาจรวมกันได้ บางหัวข้ออาจเป็นเพียงหัวข้อย่อยแฝงอยู่ในหัวข้อใหญ่ เช่น ลักษณะและชนิดของนกเงือกเป็นหัวข้อใหญ่มีหัวข้อย่อย ๒ หัวข้อ คือ ลักษณะทั่วไป และชนิดของนกเงือกในประเทศไทย ๒) จัดเรียงให้เป็นไปตามลำดับ บางหัวข้อควรอธิบายก่อนก็นำขึ้นมากล่าวก่อน บางหัวข้ออาจตัดออกได้ ๓) แก้ไขภาษาหรือข้อความตามที่เห็นสมควร
ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ตัวอย่างโครงเรื่องอาจเป็นดังนี้ ๑. ความนำ ๒. ลักษณะและชนิดของนกเงือก ๒.๑ ลักษณะทั่วไป ๒.๒ ชนิดต่างๆ ของนกเงือก ๓. ชีวิตความเป็นอยู่ของนกเงือก ๓.๑ อาหารของนกเงือก ๓.๒ การขยายพันธุ์ ๔. สรุป
มารยาทในการเขียนเชิงวิชาการ
ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อ. พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์ ๑. หากอ้างอิงข้อความหรือคำพูดมา ต้องเขียนเชิงอรรถบรรทัดสุดท้ายของหน้าที่มีข้อความนั้นปรากฏหรือเขียนอ้างอิงแบบบรรณานุกรม ๒. ไม่ลอกเลียนแบบเรื่องของผู้อื่นหรือคัดลอกเรื่องของผู้อื่นมาเป็นผลงานของตน ๓. หากจำเป็นต้องอ้างอิงหรือคัดลอกมาเพื่อเป็นตัวอย่าง ควรใช้ข้อมูลปฐมภูมิ คือ อ้างอิงจากต้นฉบับจริง ไม่ใช่อ้างต่อจากที่ผู้อื่นอ้างไว้แล้ว