การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและการจัดการ ทรัพยากรน้ำ : น้ำที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์มาจากแหล่งใหญ่ๆ 3 แหล่ง ด้วยกัน คือ 1. หยาดน้ำฟ้า (Precipitation) เช่น น้ำฝน หิมะ ลูกเห็บ 2. น้ำผิวดิน (Surface Water) เช่น ทะเลสาบ ทะเล และมหาสมุทร 3. น้ำใต้ดิน (Ground Water) เช่น น้ำบ่อ และน้ำบาดาล
การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและการจัดการ มลพิษทางน้ำ และการจัดการ มลพิษทางน้ำ (Water Pollution) หมายถึง ภาวะของน้ำที่มีมลสาร (Pollutant) ปนเปื้อนในระดับที่ทำให้คุณภาพน้ำเปลี่ยนไป จนมนุษย์และ สิ่งมีชีวิตไม่สามารถใช้ประโยชน์จากน้ำได้
การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและการจัดการ การตรวจสอบมลพิษทางน้ำ น้ำเสียมีดัชนีที่บ่งชี้การเกิดมลพิษ ได้แก่ อุณหภูมิ ความเป็นกรด – เบส ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ หรือค่าดีโอ ค่าบีโอดี ปริมาณสารโลหะหนัก สารฆ่าแมลง ตลอดจนแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์ม เป็นต้น
การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและการจัดการ ดัชนีคุณภาพน้ำ 1. ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำ (DO = Dissolved Oxygen) โดยทั่วไป ค่า BOD ในน้ำที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตในน้ำ คือ 5 – 7 มิลลิกรัม/ลิตร หากปริมาณออกซิเจนในน้ำมีค่าต่ำว่า 3 มิลลิกรัม/ลิตร จะเป็น อันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ 2. บีโอดี (BOD = Biochemical Oxygen Demand) ค่าบีโอดี ใช้เป็น ดัชนีวัดความสกปรกของน้ำ ค่ามาตรฐานน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม คือ ไม่เกิน 20 มิลลิกรัม/ลิตร
การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและการจัดการ การจัดการทรัพยากรน้ำ การจัดการทรัพยากรน้ำที่เหมาะสมและถูกวิธี มีดังนี้ 1. การปลูกจิตสำนึกในการใช้น้ำอย่างมีคุณค่า เช่น การประหยัดน้ำใน ชีวิตประจำวัน 2. การวางแผนการใช้น้ำ เพื่อให้มีน้ำใช้ตลอดฤดูกาล 3. การนำน้ำที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ 4. การแก้ไขมลพิษทางน้ำ
การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและการจัดการ ทรัพยากรดิน ดินเป็นวัตถุที่เกิดจากกระบวนการสลายตัวของหินและแร่ธาตุต่างๆ รวมตัวกับอินทรียสารต่างๆ กลายเป็นวัตถุต้นกำเนิดดิน แล้วกลายเป็นดินใน เวลาต่อมา
การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและการจัดการ มลพิษทางดิน (Soil Pollution) สาเหตุที่ทำให้เกิดมลภาวะของดิน คือ 1. การทิ้งสิ่งของต่างๆลงในดิน ทำให้มีการสะสมสารเคมีในดิน 2. การใช้สารเคมีทางการเกษตร ทำให้สารเหล่านี้ตกค้างอยู่ในดิน 3. สารกัมมันตรังสี จากแหล่งเก็บรั่วไหลลงสู่ดินทำให้แพร่กระจายและ มีอันตรายสูงต่อสิ่งมีชีวิต
การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและการจัดการ ปัญหาที่เกิดจากความเสื่อมโทรมของดิน 1. การพังทลายของดิน ทั้งจากธรรมชาติและการกระทำของมนุษย์ 2. ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งอาจจะเกิดจากการปลูกพืชชนิด เดียวกันเป็นเวลานาน การพังทลายของดิน การสูญเสียหน้าดิน เป็นต้น 3. ดินมีสมบัติไม่เหมาะสมต่อการปลูกพืช เช่น ดินเปรี้ยว ดินเค็ม ดินมี น้ำท่วมขัง ดินมีความลาดชัน
การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและการจัดการ การจัดการและการแก้ปัญหามลพิษทางดิน 1. การอนุรักษ์ดิน โดยการใช้ประโยชน์จากดินอย่างถูกต้อง 2. การป้องกันการพังทลายของดิน โดย การปลูกพืชแบบขั้นบันไดตาม บริเวณไหล่เขา หรือ การปลูกพืชคลุมดิน 3. การเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยการปลูกพืชหมุนเวียน
การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและการจัดการ ทรัพยากรอากาศ อากาศประกอบด้วยแก๊สต่างๆ ดังนี้ ไนโตรเจนร้อยละ 78 ออกซิเจน ร้อยละ 21 ที่เหลืออีกร้อยละ 1 เป็นแก๊สอาร์กอน คาร์บอนไดออกไซด์ และอื่นๆ
การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและการจัดการ มลพิษทางอากาศ (Air Pollution) มลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เกิดจากปรากฏการณ์ต่างๆ เช่น การสลายตัวของซากพืชซากสัตว์โดยการย่อยสลายของจุลินทรีย์ ทำให้ เกิดแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟต์ (H2S) ซึ่งก่อให้เกิดกลิ่นเน่าเหม็น การระเบิดของภูเขาไฟ ทำให้เกิดการฟุ้งกระจายของแก๊ส กลุ่มควัน และ ฝุ่นละอองในบรรยากาศ
การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและการจัดการ มลพิษทางอากาศที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ กิจกรรมในการดำรงชีวิตของมนุษย์ เช่น การคมนาคมต่างๆ จะทำให้มี การปล่อยแก๊สพิษออกมา เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ ออกไซด์ของไนโตรเจน ออกไซด์ของซัลเฟอร์ การเผาไม้ต่างๆ และการผลิตสินค้าในโรงงาน อุตสาหกรรม เป็นต้น
การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและการจัดการ มลสารที่ปนเปื้อนในอากาศ 1. อนุภาคแขวนลอยในอากาศ เช่น ฝุ่นละอองจากหิน ดิน ทราย ฝุ่น 2. ก๊าซพิษต่างๆ เช่น คาร์บอนมอนอกไซด์ จากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ หรือ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่มีกำมะถันผสมอยู่ 3. โลหะหนัก เช่น ตะกั่ว ปรอท (โรคมินามาตะ) แคดเมียม (โรคอิไตอิ ไต)
การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและการจัดการ ผลกระทบจากมลพิษทางอากาศ 1. ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ 2. ผลกระทบทางด้านสุขภาพอนามัย 3. ผลกระทบต่อพืช ทำให้เจริญเติบโตช้าลง
การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและการจัดการ การจัดการและแนวการแก้ไขมลพิษทางอากาศ 1. การกำหนดนโยบาย และวางแผนหรือควบคุมมลพิษทางอากาศ 2. ให้การศึกษาและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ 3. ปรับปรุงสภาพการจราจร และคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิง 5. ตั้งศูนย์ตรวจสอบและบำรุงรักษายานพาหนะ 6. สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้พลังงานรูปแบบใหม่ๆ ที่ไม่ ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ
การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและการจัดการ ทรัพยากรป่าไม้ ความสำคัญของป่าไม้ 1. เป็นแหล่งรวมของความหลากหลายทางชีวภาพและแหล่งกำเนิดของ ต้นน้ำลำธาร 2. เป็นแหล่งเอื้ออำนวยต่อปัจจัยสี่ในการดำรงชีวิตของมนุษย์ 3. ช่วยรักษาระดับอุณหภูมิของโลก และ ควบคุมปริมาณน้ำฝน 4. ช่วยในการอนุรักษ์ดินและน้ำ และเป็นแหล่งที่อยู่ของสัตว์ป่า
การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและการจัดการ สาเหตุของการลดลงของพื้นที่ป่าไม้ในประเทศไทย 1. การลักลอบตัดไม้ทำลายป่า เพื่อนำไม้และของป่ามาใช้ประโยชน์ 2. การบุกรุกพื้นที่ป่า 3. การเพิ่มจำนวนของประชากร 4. การเกิดไฟไหม้ป่าทั้งที่เกิดจากธรรมชาติและจากการกระทำของ มนุษย์
การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและการจัดการ ผลกระทบจากการทำลายป่า 1. สภาพภูมิอากาศแปรปรวน อุณหภูมิสูงขึ้น ฝนไม่ตกตามฤดูกาล 2. การเกิดอุทกภัย 3. สัตว์ป่าและพืชพรรณธรรมชาติ ลดจำนวนลงหรือสูญพันธุ์
การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและการจัดการ การจัดการทรัพยากรป่าไม้ 1. การปฏิบัติตามนโยบายแห่งชาติ ซึ่งกำหนดให้มีพื้นที่ป่าไม้ทั่ว ประเทศอย่างน้อยร้อยละ 40 ของพื้นที่ 2. การให้ความรู้กับประชาชน 3. การส่งเสริมการปลูกป่าและป้องกันการบุกรุกป่า 4. การใช้ไม้อย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ 5. การกำหนดพื้นที่ป่าอนุรักษ์
การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและการจัดการ ป่าอนุรักษ์ในประเทศไทยที่สำคัญมีดังต่อไปนี้ อุทยานแห่งชาติ (National Park) วนอุทยาน (Forest Park) สวนพฤกษศาสตร์ (Botanical Garden) สวนรุกขชาติ (Arboretum) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า (Wildlife Sanctuary) พื้นที่อนุรักษ์ธรรมชาติ (Natural Conservation Area) พื้นที่สงวนชีวาลัย (Biosphere Reserve) พื้นที่มรดกโลก (World Heritage) ป่าชายเลนอนุรักษ์ (Conservation Mangrove Forest)
การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและการจัดการ ทรัพยากรสัตว์ป่า สาเหตุที่ทำให้สัตว์ป่าลดจำนวนลง มีดังนี้ 1. การทำลายแหล่งที่อยู่อาศัย 2. การล่าสัตว์ 3. การลักลอบค้าสัตว์ป่า 4. ภัยธรรมชาติ
การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและการจัดการ การอนุรักษ์สัตว์ป่า สัตว์ที่อยู่ในข่ายอนุรักษ์ แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ สัตว์ป่าสงวน คือ สัตว์ป่าหายาก ห้ามมีไว้ครอบครองโดยเด็ดขาด สัตว์ป่าคุ้มครอง สัตว์ป่าคุ้มครองประเภท 1 คือ สัตว์ที่มีความสวยงาม ไม่กิน ไม่ล่า ช่วย ทำลายศัตรูพืช สัตว์ป่าคุ้มครองประเภท 2 คือ สัตว์ป่าซึ่งตามปกติมีการล่าเพื่อเป็น อาหารหรือการกีฬา
การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและการจัดการ การจัดการและแนวทางการอนุรักษ์สัตว์ป่า 1. การกำหนดพื้นที่อนุรักษ์ 2. การจัดตั้งศูนย์เพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ป่า 3. การจัดตั้งศูนย์การศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่า 4. การจัดตั้งสถานีวิจัยสัตว์ป่า
การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและการจัดการ หลักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ 1. การใช้แบบยั่งยืน (Sustainable Utilization) 2. การเก็บกัก (Storage) 3. การรักษาซ่อมแซม (Repair) 4. การฟื้นฟู (Rehabilitation) 5. การป้องกัน (Preventation) 6. การให้การศึกษาและเสริมสร้างความตระหนักแก่สาธารณชน
การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและการจัดการ ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น หรือ เอเลียนสปีชีส์ (Alien Species) หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นในที่ที่แตกต่างจากพื้นที่การแพร่กระจายตามธรรมชาติ สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ 1. ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่ไม่รุกราน (Non – Invasive Alien Species) 2. ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน (Invasive Alien Species)