งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงแนวทางการพัฒนา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงแนวทางการพัฒนา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงแนวทางการพัฒนา
ปัญหาที่เกิดจากระบบเกษตรกรรมสมัยใหม่ แนวคิดการพัฒนาแบบยั่งยืน แนวคิดเกี่ยวกับความยั่งยืนทางการเกษตร ระบบการเกษตรแบบยั่งยืน

2 สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงแนวคิด
ความเสื่อมโทรมและความถดถอยของสภาพแวดล้อม  ป่าไม้ลดลง  ฝนแล้ง  น้ำท่วม ดินเสื่อมโทรม อุณหภูมิโลกสูงขึ้น  อากาศเสียเพิ่มขึ้น  น้ำเน่าเสีย  ขยะล้นเมือง นี่หรือการพัฒนา?

3 ปัญหาที่เกิดจากระบบเกษตรกรรมสมัยใหม่
ปัญหาด้านสังคม สถาบันครอบครัวแตกสลาย ชุมชนแออัดในเมือง ปัญหาด้านเศรษฐกิจ รายได้ลดลง ขณะที่รายจ่ายเพิ่มขึ้น หนี้สินเพิ่มพูน ถูกเอารัดเอาเปรียบ

4 ปัญหาที่เกิดจากระบบเกษตรกรรมสมัยใหม่ (ต่อ)
ปัญหาด้านระบบนิเวศน์วิทยา สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม มลภาวะเป็นพิษ ปัญหาด้านคุณภาพของผลผลิต คุณภาพต่ำลง คุณค่าทางโภชนาการลดลง สารเคมีตกค้าง/ปนเปื้อน

5 แนวคิดการพัฒนาแบบยั่งยืน
“การพัฒนาแบบยั่งยืน” หมายถึง รูปแบบการพัฒนาที่... ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างต่อเนื่องยาวนาน ไม่ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ก่อให้เกิดความขาดแคลนหรือภาวะมลพิษ

6 แนวคิดการพัฒนาแบบยั่งยืน
สืบเนื่องมาจาก “แนวคิดการอนุรักษ์” (conservation) แต่ครอบคลุมแนวคิดการพัฒนาในทุกๆ ด้าน เศรษฐกิจ สังคม ระบบนิเวศน์ การประสานสัมพันธ์ในสาขาการพัฒนาต่างๆ

7 การพัฒนาแบบยั่งยืนเป็นเป้าหมายที่สำคัญของการพัฒนาในทุกสาขา
แต่ความหมาย/องค์ความรู้ยังไม่ชัดเจน นักวิชาการต้องนำเสนอลักษณะและแนวทางการพัฒนาแบบยั่งยืนให้ชัดเจนมากขึ้น

8 นิยาม Sustainable Development:
คณะกรรมาธิการโลกว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (The World Commission on Environmental and Development) นิยาม Sustainable Development: “เป็นการพัฒนาที่สนองความต้องการของมนุษย์ในปัจจุบัน โดยที่ยังมีทรัพยากรเหลือไว้ให้ชนรุ่นหลังใช้สนองความต้องการในอนาคตด้วย”

9 แนวคิดเกี่ยวกับความยั่งยืนทางการเกษตร
Douglass (1984): เป็นสภาวะที่เอื้ออำนวยให้เกษตรกรสามารถผลิตเพื่อสนองความต้องการอาหารในอนาคต โดยไม่สร้างภาระทางสังคม (social cost) และไม่ทำให้เสียโอกาสหรือการกระจายรายได้

10 ความยั่งยืนทางการเกษตร ต้องพิจารณาปัจจัย 3 ประการ
เศรษฐกิจ (Economic) นิเวศวิทยาหรือสิ่งแวดล้อม (Ecology/Environment) สังคม/ชุมชน (Social/Community)

11 ความยั่งยืนทางการเกษตร ความยั่งยืนเชิงเศรษฐกิจ:
Growth Efficiency Stability ความสามารถในการผลิตที่เพียงพอต่อความต้องการ โดยใช้ทรัพยากรและกรรมวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คำนึงถึงความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจเป็นหลัก

12 ความยั่งยืนทางการเกษตร
ความยั่งยืนเชิงนิเวศวิทยาหรือสิ่งแวดล้อม: Healthy Environment Rational use of renewable natural resources Conservation of non-renewable natural resources การผลิตที่อยู่ภายใต้ข้อจำกัดของทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ทำให้สมดุลทางนิเวศวิทยาสูญเสียและเกิดมลภาวะ

13 ความยั่งยืนทางการเกษตร
ความยั่งยืนเชิงสังคมหรือชุมชน: Equity Social Participation Cultural Identity มนุษย์พึ่งพาธรรมชาติ ดังนั้นควรเป็นผู้อนุรักษ์และดำรงชีวิตให้สอดคล้องธรรมชาติ และทุกคนในชุมชนควรตระหนักในบทบาทนี้

14 Economic Environment Social Growth Efficiency Stability
Equity Social Participation Cultural identity Healthy environment Rational use of renewable natural resources Conservation of non-renewable natural resources

15 ระบบการเกษตรแบบยั่งยืน 1. ระบบการเกษตรแบบผสมผสาน (Integrated Farming)
การจัดระบบของกิจกรรมการผลิตในไร่นาให้ผสมผสานต่อเนื่องและเกื้อกูลซึ่งกันและกัน โดยใช้ทรัพยากรที่มีอย่างเหมาะสมเกิดประโยชน์สูงสุด มีความสมดุลของสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง

16 1. ระบบการเกษตรแบบผสมผสาน (ต่อ)
เป็นรูปแบบเกษตรพื้นฐานของประเทศตะวันออก ช่วยแก้ปัญหาหนี้สิน ลดการพึ่งพาภายนอกได้สูง จุดเด่น ใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ เอื้ออำนวยต่อการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน ลดต้นทุนการผลิต กิจกรรมการผลิตหลากหลาย ลดความเสี่ยง

17 1. ระบบการเกษตรแบบผสมผสาน (ต่อ)
รูปแบบที่เหมาะสม ขึ้นอยู่กับ สภาพแวดล้อมในแต่ละท้องถิ่น สภาพแวดล้อมทางกายภาพ สภาพแวดล้อมทางชีวภาพ สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม

18 2. ระบบการเกษตรแบบวนเกษตร (Agro-forestry)
หลักการ: การจัดการป่าไม้ร่วมกับการทำการเกษตร หัวใจ: “การปลูกไม้ยืนต้น” การเข้าสู่ระบบวนเกษตร ต้องค่อยเป็นค่อยไป เช่น เดิมทำการเกษตรเพื่อการค้า => ปลูกไม้ยืนต้นเพิ่มขึ้น เป็นเกษตรผสมผสานก่อน => วนเกษตร

19 3. ระบบเกษตรกรรมอินทรีย์ (Organic Farming)
หลักการ: การปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบรูณ์ตามธรรมชาติด้วยอินทรีย์วัตถุและสิ่งมีชีวิตในดิน หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีที่สังเคราะห์ขึ้น เน้นปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ควบคุมศัตรูพืช โดยหลักชีววิธี (Biological Control)

20 3. ระบบเกษตรกรรมอินทรีย์ (Organic Farming)
เป็นผลดีต่อทั้งผู้บริโภคและผู้ผลิตในด้านสุขภาพ รักษาระบบนิเวศน์ ไม่ค่อยกว้างขวาง เพราะต้องอาศัยการเรียนรู้และการดูแลเอาใจใส่ในการจัดการสูง

21 4. ระบบเกษตรกรรมธรรมชาติ (Natural Farming)
พัฒนาขึ้นโดย “มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ” ในหนังสือ The one straw revolution อาศัยความสมดุลของระบบนิเวศน์เป็นหลัก สอดคล้องกับแนวคิดและหลักศาสนาตะวันออก

22 4. ระบบเกษตรกรรมธรรมชาติ (Natural Farming)
มีหลักการ 4 ข้อ คือ การไม่ไถพรวนพื้นดิน การไม่ใส่ปุ๋ยทุกชนิด การไม่กำจัดวัชพืช การไม่ใช้สารฆ่าแมลง

23 4. ระบบเกษตรกรรมธรรมชาติ (Natural Farming)
ไม่มีรูปแบบตายตัว พืชที่ปลูก ควรเป็นพืชพื้นเมือง อุปสรรคสำคัญ คือ อิทธิพลของระบบธุรกิจที่มีผลต่อวิถีการผลิต และ ค่านิยมที่ถือเอาปริมาณผลผลิตเป็นเครื่องแสดงความสำเร็จ อาศัยการฟื้นฟูทางธรรมชาติสูง

24

25


ดาวน์โหลด ppt สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงแนวทางการพัฒนา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google