งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

(Introduction to Soil Science)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "(Introduction to Soil Science)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 (Introduction to Soil Science)
ปฐพีศาสตร์เบื้องต้น (Introduction to Soil Science) (361212) โดย ดร. นิวัติ อนงค์รักษ์

2 การอนุรักษ์ดิน (Soil conservation)
บทที่ 11 การอนุรักษ์ดิน (Soil conservation)

3 การกร่อนดิน (soil erosion)
1. ความหมายของการกร่อนดิน การกร่อนดิน คือ กระบวนการหนึ่งหรือการที่ทำให้สารที่หุ้มเปลือกโลกหลุดไป ละลายไป หรือ กร่อนไปโดยตัวการทางธรรมชาติ ซึ่งได้แก่ ลมฟ้าอากาศ สารละลาย การครูดถู การนำพา แบ่งได้ 2 ประเภท 1) การกร่อนดินโดยธรรมชาติ (geologic or natural erosion) การ กร่อนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยมีน้ำและลมเป็นตัวการสำคัญ 2) การกร่อนดินที่มีตัวเร่ง (accelerated of man-made erosion) การ กร่อนที่มนุษย์หรือสัตว์เลี้ยงเข้ามาช่วยเร่งให้มีการกร่อนเพิ่มขึ้น จากการกร่อนตามธรรมชาติ

4 2. ประเภทของการกร่อนดิน
1. การกร่อนดินโดยธรรมชาติ 1) การชะละลาย (leaching) คือ การกร่อนดินชนิดที่แร่ธาตุต่างๆ ธาตุอาหาร และอินทรียวัตถุถูกทำให้ละลาย หรืออยู่ในสภาพแขวนลอย แล้วไหลลงสู่ ส่วนล่างของหน้าตัดดินไปกับน้ำที่ซึมผ่าน (percolation water) มีบทบาท มากที่สุดในประเภทของการกร่อนดินโดยธรรมชาติ 2) การกร่อนดินที่พื้นผิวดินโดยน้ำ (surface erosion by water) คือ การพัด พาหน้าดินหรือหินซึ่งขาดพืชพรรณปกคลุม ซึ่งเกิดจากสภาพแวดล้อม ในธรรมชาติ เช่น ลมฟ้าอากาศ และภูมิประเทศ ไม่เหมาะสม

5 3) แผ่นดินเลื่อนและดินเลื่อน (landslide and soil creep). 3

6 แผ่นดินเลื่อน (landslide) และดินเลื่อน (soil creep)

7 4) การกร่อนดินโดยลม (wind erosion) คือ บริเวณที่มีลมแรงและขาด สิ่งปกคลุมโดยธรรมชาติ ประกอบกับอุณหภูมิสูง เช่น ในทะเลทรายหรือ ริมฝั่งทะเลทราย ลมจะเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้สูญเสียดิน

8 2. การกร่อนดินที่มีตัวเร่ง 1) การกร่อนโดยน้ำ. 1
2. การกร่อนดินที่มีตัวเร่ง 1) การกร่อนโดยน้ำ 1.1) การกร่อนโดยเม็ดฝน (splash or raindrop erosion) คือ หยาดน้ำ ฟ้า (น้ำฝน) ตกลงมากระแทกก้อนดินทำให้ก้อนดินแตกกระจาย เป็นก้อนเล็ก ซึ่งจะง่ายต่อการชะล้าง ความรุนแรง ขึ้นกับขนาดเม็ดฝนและความรุนแรงของฝนที่ตก เป็นการกร่อนดินที่เกิดบนพื้นที่ที่ใช้ปลูกพืชทั่วไป 1.2) การกร่อนแบบแผ่น (sheet erosion) คือ ดินที่อิ่มตัวด้วยน้ำฝน เมื่อฝนตกลงมาเพียงเล็กน้อย น้ำที่ซึมลงไปในดินหนาประมาณ มม. เกิดการเคลื่อนที่เป็นแผ่นบางๆ เกิดบริเวณพื้นที่ลาดเทต่ำ และสังเกตยาก อนุภาคดินละเอียดและอินทรียวัตถุจะถูกชะล้างไป

9 การกร่อนโดยเม็ดฝน (splash erosion) และการกร่อนแบบแผ่น (sheet erosion)

10 1. 3) การกร่อนแบบร่อง (channel erosion) เกิดจากการกร่อนดินเมื่อมี
1.3) การกร่อนแบบร่อง (channel erosion) เกิดจากการกร่อนดินเมื่อมี น้ำในปริมาณมาก มารวมตัวกันแล้วไหลลงสู่ที่ต่ำทำให้เกิดเป็น ร่องน้ำขึ้น การกร่อนแบบริ้ว (rill erosion) เมื่อน้ำบนผิวดินมีปริมาณเพิ่มขึ้น ชั้นบางๆ ของผิวดินถูกชะล้างออกไปมากขึ้น อนุภาคของดินถูก น้ำชะล้างออกไปเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดเป็นร่องน้ำขนาดเล็ก มีความกว้างไม่เกิน 40 ซม. และลึกไม่เกิน 30 ซม การกร่อนแบบร่องธาร (gully erosion) การกร่อนของดิน ที่มี ความรุนแรงมากกว่า rill erosion เกิดร่องน้ำขนาดใหญ่ที่กว้าง และลึกกว่า rill erosion จนถึงชั้นหินดาน (bed rock) การกร่อนในธารน้ำ (stream erosion) เกิดตามธารน้ำธรรมชาติ ที่มีน้ำตลอดปี ทำให้ดินแตกกระจายและชะแร่ธาตุจากสองฝั่งไป เนื่องจากความแรงของกระแสน้ำ

11 การกร่อนแบบร่อง (channel erosion)

12 การอนุรักษ์ดิน (soil conservation)
1. ความหมายของการอนุรักษ์ดิน การอนุรักษ์ดิน คือ การกระทำใดๆ ก็ตามที่จะรักษาความสามารถในการให้ผลผลิตของดินให้สูงที่สุด และสามารถใช้ดินนั้นในการเกษตรกรรม ได้นานที่สุด

13 2. วัตถุประสงค์ของการอนุรักษ์ดินและน้ำ
1. เพื่อลดการกร่อนของดินที่มีตัวเร่ง ลงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จนอัตราการสูญเสียดินเท่ากับอัตราการเกิดดิน 2. เพื่อรักษาปริมาณอาหารธาตุในดิน ให้มีความอุดมสมบูรณ์ โดยลดการสูญเสียและมีการเพิ่มเติมในส่วนที่ขาด 3. เพื่อรักษาระดับอินทรียวัตถุ โดยการควบคุมอัตราการสลายตัวหรือการเพิ่มเติมซากพืช 4. เพื่อรักษาสมบัติทางฟิสิกส์ ที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของพืช 5. เพื่อรักษาสมบัติทางเคมีของดิน ให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช 6. เพื่อใช้น้ำที่เป็นประโยชน์ (available water) ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

14 3. หลักของการอนุรักษ์ดินและน้ำ
1. การปรุงแต่งดิน (conditioning the soil) เป็นการปรับปรุงดินให้ทนทาน ต่อการแตกกระจาย และพัฒนาให้น้ำซึมผ่านได้ดีขึ้น เช่น 1) ทำให้โครงสร้างของดินทนทาน ต่อความเสื่อมโทรม (deterioration) 2) รักษาความชื้นให้อยู่ในระดับพอเหมาะ ทำให้น้ำฝนซาบซึม (infiltrate) ได้ทันที 4) รักษาน้ำและอากาศบริเวณรากพืช ให้มีอัตราส่วนที่เหมาะสม 5) รักษาธาตุอาหารของพืช ให้อยู่ในรูปที่พืชใช้ประโยชน์ได้ และมีอัตราที่ เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช

15 2. การทำให้ดินมีสิ่งปกคลุม (cover the soil) มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ป้องกันการกระทบของเม็ดฝนและแรงลม เช่น การคลุมดินด้วยพืชหรือ เศษเหลือของพืช 2) ปรับปรุงสมบัติทางฟิสิกส์ของดิน ให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช 3) นำเอาธาตุอาหารพืชที่ถูกชะล้าง ลงไปอยู่ในดินชั้นลึกๆ กลับขึ้นมาสู่ผิวดิน เพื่อให้พืชที่ปลูกเป็นพืชหลักใช้ธาตุอาหารเหล่านั้นได้ 4) เพิ่มความอุดสมบูรณ์ของดิน ถ้าหากใช้พืชตระกูลถั่วเป็นพืชคลุมดิน จะทำให้ดินมีธาตุไนโตรเจนเพิ่มขึ้น

16 3. การทำให้ความเร็วของน้ำไหลบ่าและของลมลดลง (decrease runoff and wind velocity) มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ลดการแตกกระจายและการพัดพา ของอนุภาคของดิน 2) เพิ่มความสามารถในการแทรกซึมน้ำผ่านดิน 3) เพิ่มกักเก็บน้ำบนพื้นผิวดิน เช่น การสร้างสิ่งกีดขวางโดยการปลูกหรือ ใช้เศษเหลือของพืช 4. การทำทางระบายน้ำจากน้ำไหลบ่า (drainage of runoff water) มีจุดมุ่งหมายเพื่อระบายน้ำส่วนเกินอย่างถูกวิธี เช่น ทำทางระบายน้ำ ซึ่งมีหญ้าขึ้นหนาแน่น (sod waterway)

17 4. มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำ
1. มาตรการทางวิธีกล (mechanical measures) เป็นการควบคุมน้ำไหลบ่า หน้าดิน โดยการสร้างสิ่งกีดขวางความลาดเทของพื้นที่และทิศทางการไหลของน้ำ ช่วยลดความเร็วของกระแสน้ำ เช่น 1) การไถพรวนและปลูกพืชตามแนวระดับ (contour cultivation) เป็นการ ไถพรวน หว่าน ปลูก และเก็บเกี่ยวพืชไปตามแนวระดับขวางความลาดเท ของพื้นที่ 2) การยกร่องปิดหัวท้าย (tied ridging) เป็นการปรับพื้นที่โดยการยกร่อง ปลูกพืชเป็นสองทิศทางคือ กลุ่มหนึ่งยกร่องไปตามความลาดเท อีกกลุ่ม หนึ่งยกร่องในแนวตั้งฉากกับความลาดเททำให้เกิดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เล็กๆ เต็มพื้นที่

18 3) การยกร่องตามแนวระดับ (ridging) เป็นการยกร่องปลูกพืช โดยใช้ร่องน้ำ เป็นตัวแบ่งสันดิน 4) การทำร่องน้ำไปตามแนวระดับ (contour furrowing) เป็นการทำร่องน้ำ เดี่ยวๆ ที่ขุดขึ้นขวางความลาดเทของพื้นที่ โดยมีการลดระดับร่องน้ำ หรือไม่ลดระดับก็ได้ ความลึกของร่องน้ำอยู่ระหว่าง ซม. หรือ ขึ้นกับเนื้อดิน ส่วนระยะห่างของร่องน้ำขึ้นกับความลาดเทของพื้นที่ และปริมาณน้ำไหลบ่า 5) การยกแปลงและขุดร่องไปตามแนวระดับ (broad - ridging or bedding) เป็นการยกแปลงฐานกว้าง และขุดร่องแบ่งแยกพื้นที่ระหว่างแปลงปลูกพืช ไปตามแนวระดับ

19 มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำวิธีกล
contour cultivation tied ridging ridging contour furrowing มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำวิธีกล

20 6) คันดิน (terracing) เป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างขวางความลาดเทของพื้นที่ โดยพื้นที่จะถูกแบ่งออกเป็นช่วงๆ เพื่อเก็บกักน้ำไหลบ่าในแต่ละช่วง หรือเบนน้ำไหลบ่าออกไปจากพื้นที่ 7) คันดินรับน้ำรูปครึ่งวงกลม (semicircular bund) และคันดินรับน้ำรูป สี่เหลี่ยมคางหมู (trapezoidal bund) เป็นการทำคันดินให้เป็นรูป ครึ่งวงกลมและรูปสี่เหลี่ยมคางหมูตามแนวระดับ โดยใช้แรงคน เพื่อช่วย เก็บกักน้ำไหลบ่าจากพื้นที่ด้านบน 8) คันดินเบนน้ำ (diversion terrace) เป็นคันดินขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นขวาง ความลาดเทของพื้นที่โดยมีการลดระดับเพื่อเบนน้ำที่ไหลบ่าลงมาจาก พื้นที่ด้านบนไปยังทางระบายน้ำ

21 broad - ridging or bedding มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำวิธีกล
terracing semicircular bund diversion terrace มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำวิธีกล

22 9) ขั้นบันไดดิน (bench terraces) เป็นการปรับพื้นที่เป็นขั้นๆ ต่อเนื่องกัน คล้ายขั้นบันได 10) ขั้นบันไดดินสำหรับไม้ผล (orchard bench terrace) เป็นการปรับพื้นที่ เป็นขั้นบันไดแบบแคบๆ สำหรับปลูกไม้ผลโดยมีความกว้างประมาณ เมตรไปตามแถวไม้ผล 11) กำแพงหิน (stone wall) เป็นการใช้ก้อนหินเรียงขึ้นมาเป็นกำแพง โดยมีระยะห่างที่เหมาะสมในพื้นที่ที่เกิดการกร่อนของดินมาก 12) คูรับน้ำขอบเขา (hillside ditches) เป็นคูรับน้ำที่สร้างบริเวณขอบเขา ตามแนวระดับหรือลดระดับเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือรูปสี่เหลี่ยมคางหมู ระยะห่างของคูขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศและสิ่งแวดล้อม

23 มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำวิธีกล
bench terrace orchard bench terrace stone wall hillside ditches มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำวิธีกล

24 13) ฐานปลูกไม้ผลเฉพาะต้น (individual basin) เป็นการปรับพื้นที่เป็น ฐานขนาดเล็กที่ทำขึ้นสำหรับปลูกต้นไม้แต่ละต้นโดยเฉพาะในพื้นที่ ที่มีความชันสูง เส้นผ่าศูนย์กลางขึ้นกับขนาดทรงพุ่มของต้นไม้ที่ปลูก 14) คันชะลอความเร็วของน้ำ (check dam) เป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นใน พื้นที่ที่มีการกร่อนของดินแบบร่องลึก โดยสร้างขวางเป็นช่วงๆ ในร่องน้ำ ที่มีการกัดเซาะ อาจสร้างด้วย เศษไม้ เศษพืช หิน ดิน หรือคอนกรีตก็ได้ 15) ทางระบายน้ำ (waterway) เป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นเพื่อรับน้ำจาก พื้นที่ต่างๆ ซึ่งถูกเบนมาเพื่อให้ไหลไปยังแหล่งที่ต้องการ เช่น อ่างเก็บน้ำ ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์และแหล่งน้ำธรรมชาติ

25 มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำวิธีกล
individual basin check dam check dam check dam มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำวิธีกล

26 16) สิ่งก่อสร้างชะลอความเร็วของน้ำในทางระบายน้ำ (drop structure) เป็นสิ่งก่อสร้างเป็นช่วงๆ ในทางระบายน้ำที่ก่อสร้างขึ้นใหม่ หรือ ปรับปรุงจากร่องน้ำธรรมชาติ เพื่อใช้ในการชะลอความเร็วของน้ำไม่ให้ กัดเซาะทำความเสียหายแก่ทางระบายน้ำ 17) บ่อดักตะกอน (sediment trap or sand trap) เป็นบ่อขนาดเล็ก ที่สร้าง ขึ้นเพื่อดักตะกอนที่ไหลมาตามทางระบายน้ำก่อนลงสู่บ่อน้ำประจำไร่นา 18) บ่อน้ำในไร่นา (farm pond) เป็นพื้นที่ที่สร้างขึ้นโดยการขุด หรือทำ คันดินล้อมรอบสำหรับเก็บกักน้ำไว้ใช้ในพื้นที่การเกษตร หรือถมดิน ขวางกั้นทางเดินน้ำหรือร่องน้ำ

27 มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำวิธีกล
waterway drop structure sediment trap farm pond มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำวิธีกล

28 19) ระบบการให้น้ำพืชแบบประหยัด เป็นการให้น้ำแก่พืชในปริมาณที่พืช ต้องการครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง เป็นระบบการให้น้ำที่มีประสิทธิภาพ สูงด้วยอัตราการให้น้ำที่ต่ำและเป็นการให้น้ำแก่พืชเฉพาะจุด 20) การไถพรวนดินล่าง (sub soiling) เป็นการทำให้ดินชั้นล่างแตกแยก โดยไม่ยกดินชั้นล่างขึ้นมาบนผิวหน้าดิน โดยใช้เครื่องจักรกลไถพรวน ดินชั้นล่าง ปกติจะลึกไม่น้อยกว่า 35 ซม. หรือบางที่อาจลึกกว่า 60 ซม. 21) การปลูกพืชโดยไม่ไถพรวน (no-tillage) เป็นการปลูกพืชโดยไม่มีการ ไถพรวนดิน 22) การไถพรวนน้อยครั้ง (minimum tillage) เป็นการไถพรวนดินที่มี จำนวนครั้งของการไถน้อยที่สุดในการเตรียมดินสำหรับการปลูกพืช

29 มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำวิธีกล
drip irrigation sub soiling no-tillage minimum tillage มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำวิธีกล

30 2. มาตรการทางพืช (vegetative measures) เป็นการใช้พืชพวกตระกูลถั่ว บำรุงดิน หญ้าเลี้ยงสัตว์ หรือ หญ้าธรรมชาติปลูกเป็นแถบขวางความลาดเทของพื้นที่เพื่อดักตะกอนดินและน้ำ และช่วยปรับปรุงบำรุงดิน 1) การปลูกพืชคลุมดิน (cover cropping) เป็นการปลูกหญ้าหรือพืชตระกูล ถั่วคลุมดิน ซึ่งเมื่อปลูกแล้วจะปกคลุมผิวหน้าดินช่วยควบคุมการกร่อน ของดินและปรับปรุงบำรุงดิน 2) การคลุมดิน (mulching ) เป็นการใช้วัสดุต่างๆ คลุมดินเพื่ออนุรักษ์ดิน และน้ำ เช่น เศษซากพืช ฟางข้าว หรือวัสดุอื่นๆ 3) การปลูกพืชปุ๋ยสด (green manure cropping) เป็นการปลูกพืชตระกูลถั่ว เพื่อไถกลบคลุกเคล้ากับดิน

31 มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำวิธีพืช
cover cropping mulching green manure cropping มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำวิธีพืช

32 4) การปลูกพืชสลับเป็นแถบ (strip cropping) เป็นการปลูกพืชที่มีระยะปลูก ถี่และห่างเป็นแถบสลับกันขวางความลาดเทของพื้นที่ตามแนวระดับ หรือไม่เป็นไปตามแนวระดับก็ได้ 5) การปลูกพืชหมุนเวียน (crop rotation) เป็นการปลูกพืชสองชนิดหรือ มากกว่าหมุนเวียนกันลงบนพื้นที่เดียวกัน โดยจัดชนิดของพืชและเวลา ปลูกให้เหมาะสม 6) การปลูกพืชแซม (intercropping) เป็นการปลูกพืชตั้งแต่ 2 ชนิด ขึ้นไป บนพื้นที่ในเวลาเดียวกัน โดยทำการปลูกพืชที่สองแซมลงในระหว่างแถว ของพืชแรกหรือพืชหลัก

33 มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำวิธีพืช
strip cropping crop rotation intercropping มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำวิธีพืช

34 7) การปลูกพืชเหลื่อมฤดู (relay cropping) เป็นการปลูกพืชต่อเนื่องคาบ เกี่ยวกัน โดยการปลูกพืชที่สองระหว่างแถวของพืชแรก ในขณะที่พืชแรก ให้ผลผลิตแต่ยังไม่แก่เต็มที่ 8) การปลูกพืชระหว่างแถบไม้พุ่มบำรุงดิน (alley cropping) เป็นการปลูก พืชระหว่างแถบไม้พุ่มบำรุงดินซึ่งปลูกตามแนวระดับ 9) คันซากพืช (contour trash line) เป็นการนำซากพืชที่เกิดจากการบุกเบิก พื้นที่หรือที่เหลือหลังการเก็บเกี่ยวแล้วมาวางสุมให้สูงประมาณ 50 ซม เป็นคันตามแนวระดับไว้เป็นระยะๆ ห่างกัน ประมาณ เมตร หรือตามแนวคันดินกั้นน้ำ

35 10) ไม้บังลม (windbreak) เป็นแถบต้นไม้หรือหญ้าสูงที่ปลูกเป็นระยะๆ โดยมีระยะห่างของแถบที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการสูญเสียดิน สูญเสียน้ำ และผลเสียหายที่จะเกิดแก่พืชอันเนื่องมาจากแรงลม

36 มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำวิธีพืช
relay cropping alley cropping contour trash line windbreak มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำวิธีพืช

37 สมการสูญเสียดินสากล สมการสูญเสียดินสากล (Universal Soil Loss Equation : USLE) เป็นวิธีการที่ใช้ในการคาดคะเนการสูญเสียดิน เป็นวิธีการที่นิยมมาก เพราะสามารถประเมินการสูญเสียดินที่มีศักย์ที่เกิดขึ้น เริ่มคิดค้นและพัฒนา โดย Wischmeir and Smith ปี ค.ศ ต่อมาในปี พ.ศ กรมพัฒนาที่ดิน ได้นำมาปรับใช้ในประเทศไทย

38 สมการที่ใช้ในการประเมินการสูญเสียดินสากล
A = R K L S C P A = ปริมาณการสูญเสียดินต่อหน่วยพื้นที่ R = ปัจจัยเกี่ยวกับฝนและน้ำไหลบ่าบนพื้นดิน K = ความยากง่ายของการเกิดการพังทลายดิน L = ความยาวของความลาดเท S = ปัจจัยความลาดชัน C = ปัจจัยการจัดการพืช P = ปัจจัยการปฏิบัติควบคุมการพังทลายดิน

39 A เป็นค่าการสูญเสียดินต่อหน่วยของพื้นที่ ซึ่งได้จากการคำนวณโดยการคูณค่าปัจจัยต่างๆ 6 ปัจจัย
R เป็นค่าที่รวมทั้งปัจจัยของน้ำฝนและน้ำไหลบ่า (rainfall and runoff erosivity factor) ตามปกติค่า R จะเป็นค่าแสดงความหมายถึงค่าเฉลี่ยรายปีต่อหน่วยดัชนีการชะล้างพังทลาย (erosion index units) K เป็นค่าปัจจัยความคงทนต่อการพังทลายของดิน (soil erodibility factor) เป็นค่าเฉพาะแต่ละชั้นของดิน (soil horizon) ค่า K เป็นค่าที่แสดงความหมายถึงการสูญเสียดินต่อหน่วยของพื้นที่ต่อหน่วยแปลงทดลอง R

40 L เป็นค่าของปัจจัยความยาวลาดเท (slope length factor) เป็นคำที่ไม่มีขนาดหรือหน่วย (เป็นคำที่ไม่ได้ใช้ความยาวของความลาดเทที่แท้จริง) S ปัจจัยความลาดชันของความลาดเท (slope steepness factor) เป็นคำที่ไม่มีขนาดหรือหน่วย (เป็นคำที่ไม่ได้ใช้ความชันของความลาดเทที่แท้จริง) C เป็นค่าปัจจัยการจัดการพืช (crop management factor) เป็นคำที่ไม่มีขนาดหรือหน่วย แต่แสดงความหมายถึงอัตราส่วนการสูญเสียดินระหว่างพื้นที่ที่มีการปลูกพืชชนิดใดชนิดหนึ่งปกคลุมอยู่ P เป็นค่าปัจจัยการปฏิบัติการป้องกันการชะล้างพังทลาย (conservation practice) เป็นคำที่ไม่มีขนาดหรือหน่วย และแสดงถึงอัตราส่วนระหว่างการสูญเสียดินจากพื้นที่ที่มีการอนุรักษ์แบบต่างๆ

41 การชะล้างพังทลายดินในประเทศไทย
การจัดทำข้อมูลและแผนที่การชะล้างพังทลายดินในประเทศไทย ระดับประเทศและระดับภาค ใช้วิธีการศึกษาคำนวณปริมาณการสูญเสียดินจากสมการการสูญเสียดินสากล โดยมีการวิเคราะห์แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนดังนี้ 1. พื้นที่ราบ หมายถึง ที่ราบลำน้ำ ที่ลาดเชิงเขา และเนินเขา ความลาดชันน้อยกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ จำแนกเป็นกลุ่มชุดดินที่ 1 – 61 ตามแผนที่ชุดดิน มาตราส่วน 1: 50,000 ของกรมพัฒนาที่ดิน

42 2. พื้นที่สูง หมายถึง ภูเขาและที่ลาดหุบเขา ความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ จำแนกเป็นกลุ่มชุดดินที่ 62 ตามแผนที่ชุดดิน มาตราส่วน 1: 50,000 ของกรมพัฒนาที่ดิน ประเทศไทย มีเนื้อที่ทั้งหมด ล้านไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่มีการสูญเสียดินอยู่ระหว่าง 0 – 50 ตันต่อไร่ต่อปี โดยปริมาณการชะล้างพังทลายดินแบ่งออกเป็นภาคต่างๆ จากค่ามากไปหาค่าน้อยดังนี้ ภาคใต้ พื้นที่ส่วนใหญ่มีการสูญเสียดินระหว่าง ตันต่อไร่ต่อปี ภาคเหนือ พื้นที่ส่วนใหญ่มีการสูญเสียดินระหว่าง 0 – 38 ตันต่อไร่ต่อปี ภาคกลาง พื้นที่ส่วนใหญ่มีการสูญเสียดินระหว่าง 0 – 17 ตันต่อไร่ต่อปี

43 ภาคตะวันออก พื้นที่ส่วนใหญ่มีการสูญเสียดินระหว่าง 0 – 16 ตันต่อไร่ต่อปี
ภาคตะวันตก มีการสูญเสียดินระหว่าง 0 – 10 ตันต่อไร่ต่อปี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีการสูญเสียดินระหว่าง 0 – 4 ตันต่อไร่ต่อปี

44 ปริมาณการชะล้างพังทลายดินในประเทศไทย (พื้นที่ราบ)
ระดับของการชะล้างพังทลายดิน ปริมาณพื้นที่ ไร่ % ชั้น 1 การชะล้างพังทลายของดินน้อยมาก 169,794,437 54.17 ชั้น 2 การชะล้างพังทลายของดินน้อย 42,878,012 14.92 ชั้น 3 การชะล้างพังทลายของดินปานกลาง 9,797,689 3.78 ชั้น 4 การชะล้างพังทลายของดินรุนแรง 692,935 0.18 ชั้น 5 การชะล้างพังทลายของดินรุนแรงมาก 2,282,913 0.54 รวมพื้นที่ 225,445,986 73.59

45 ปริมาณการชะล้างพังทลายดินในประเทศไทย (พื้นที่สูง)
ระดับของการชะล้างพังทลายดิน ปริมาณพื้นที่ ไร่ % ชั้น 1H การชะล้างพังทลายของดินน้อยมาก 41,739,376 12.07 ชั้น 2H การชะล้างพังทลายของดินน้อย 25,880,330 6.81 ชั้น 3H การชะล้างพังทลายของดินปานกลาง 14,290,486 4.16 ชั้น 4H การชะล้างพังทลายของดินรุนแรง 2,678,879 0.61 ชั้น 5H การชะล้างพังทลายของดินรุนแรงมาก 10,653,858 2.76 รวมพื้นที่ 95,242,929 26.41

46 การชะล้างพังทลายดินในภาคใต้
ภาคใต้มีพื้นที่ทั้งหมด 44,196,964 ไร่ หรือ เปอร์เซ็นของพื้นที่ทั้งประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ 14 จังหวัด ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่มีการสูญเสียดินอยู่ระหว่าง 0 – 50 ตันต่อไร่ต่อปี การสูญเสียดินสูงสุดเกิดขึ้นในพื้นที่ลาดชันสูงที่เป็นป่าเสื่อโทรมและมีฝนตกมาก 3,000 – 4,000 มิลลิเมตรต่อปี

47 ปริมาณการชะล้างพังทลายดินในภาคใต้ (พื้นที่ราบ)
ระดับของการชะล้างพังทลายดิน ปริมาณพื้นที่ ไร่ % ชั้น 1 การชะล้างพังทลายของดินน้อยมาก 20,180,334 45.67 ชั้น 2 การชะล้างพังทลายของดินน้อย 6,258,290 14.16 ชั้น 3 การชะล้างพังทลายของดินปานกลาง 1,113,763 2.52 ชั้น 4 การชะล้างพังทลายของดินรุนแรง 114,912 0.26 ชั้น 5 การชะล้างพังทลายของดินรุนแรงมาก 198,886 0.45 รวมพื้นที่ 27,866,185 63.06

48 ปริมาณการชะล้างพังทลายดินในภาคใต้ (พื้นที่สูง)
ระดับของการชะล้างพังทลายดิน ปริมาณพื้นที่ ไร่ % ชั้น 1H การชะล้างพังทลายของดินน้อยมาก 13,175,115 29.81 ชั้น 2H การชะล้างพังทลายของดินน้อย 13,259 0.03 ชั้น 3H การชะล้างพังทลายของดินปานกลาง 75,135 0.17 ชั้น 4H การชะล้างพังทลายของดินรุนแรง 331,477 0.75 ชั้น 5H การชะล้างพังทลายของดินรุนแรงมาก 2,735,792 6.18 รวมพื้นที่ 16,330,778 36.94

49 การชะล้างพังทลายดินในภาคเหนือ
ภาคเหนือมีพื้นที่ทั้งหมด 107,008,141 ไร่ หรือ เปอร์เซ็นของพื้นที่ทั้งประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ 17 จังหวัด ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่มีการสูญเสียดินอยู่ระหว่าง 0 – 38 ตันต่อไร่ต่อปี การสูญเสียดินสูงสุดเกิดขึ้นในพื้นที่ลาดชันสูงที่มีการปลูกพืชไร่

50 ปริมาณการชะล้างพังทลายดินในภาคเหนือ (พื้นที่ราบ)
ระดับของการชะล้างพังทลายดิน ปริมาณพื้นที่ ไร่ % ชั้น 1 การชะล้างพังทลายของดินน้อยมาก 36,018,940 33.66 ชั้น 2 การชะล้างพังทลายของดินน้อย 11,139,547 10.41 ชั้น 3 การชะล้างพังทลายของดินปานกลาง 2,964,126 2.77 ชั้น 4 การชะล้างพังทลายของดินรุนแรง 374,528 0.35 ชั้น 5 การชะล้างพังทลายของดินรุนแรงมาก 1,519,516 1.42 รวมพื้นที่ 52,016,657 48.61

51 ปริมาณการชะล้างพังทลายดินในภาคเหนือ (พื้นที่สูง)
ระดับของการชะล้างพังทลายดิน ปริมาณพื้นที่ ไร่ % ชั้น 1H การชะล้างพังทลายของดินน้อยมาก 16,532,758 15.45 ชั้น 2H การชะล้างพังทลายของดินน้อย 19,389,875 18.12 ชั้น 3H การชะล้างพังทลายของดินปานกลาง 9,780,544 9.14 ชั้น 4H การชะล้างพังทลายของดินรุนแรง 2,129,462 1.99 ชั้น 5H การชะล้างพังทลายของดินรุนแรงมาก 7,158,845 6.69 รวมพื้นที่ 54,991,484 51.39

52 การชะล้างพังทลายดินในภาคกลาง
ภาคกลางมีพื้นที่ทั้งหมด 11,713,521 ไร่ หรือ 3.65 เปอร์เซ็นของพื้นที่ทั้งประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ 9 จังหวัด ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่มีการสูญเสียดินอยู่ระหว่าง 0 – 17 ตันต่อไร่ต่อปี การสูญเสียดินสูงสุดเกิดขึ้นในพื้นที่ลาดชันสูงที่มีการปลูกพืชไร่หรือสภาพเป็นป้าเสื่อมโทรมและมีฝนตกมาก

53 ปริมาณการชะล้างพังทลายดินในภาคกลาง (พื้นที่ราบ)
ระดับของการชะล้างพังทลายดิน ปริมาณพื้นที่ ไร่ % ชั้น 1 การชะล้างพังทลายของดินน้อยมาก 8,942,102 76.34 ชั้น 2 การชะล้างพังทลายของดินน้อย 1,634,036 13.95 ชั้น 3 การชะล้างพังทลายของดินปานกลาง 223,728 1.91 ชั้น 4 การชะล้างพังทลายของดินรุนแรง 2,343 0.02 ชั้น 5 การชะล้างพังทลายของดินรุนแรงมาก 28,112 0.24 รวมพื้นที่ 10,830,321 92.46

54 ปริมาณการชะล้างพังทลายดินในภาคกลาง (พื้นที่สูง)
ระดับของการชะล้างพังทลายดิน ปริมาณพื้นที่ ไร่ % ชั้น 1H การชะล้างพังทลายของดินน้อยมาก 156,961 1.34 ชั้น 2H การชะล้างพังทลายของดินน้อย 119,478 1.02 ชั้น 3H การชะล้างพังทลายของดินปานกลาง 371,319 3.17 ชั้น 4H การชะล้างพังทลายของดินรุนแรง 70,281 0.60 ชั้น 5H การชะล้างพังทลายของดินรุนแรงมาก 165,161 1.41 รวมพื้นที่ 883,200 7.54

55 การชะล้างพังทลายดินในภาคตะวันออก
ภาคตะวันออกมีพื้นที่ทั้งหมด 23,441,534 ไร่ หรือ 7.31 เปอร์เซ็นของพื้นที่ทั้งประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ 9 จังหวัด ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่มีการสูญเสียดินอยู่ระหว่าง 0 – 16 ตันต่อไร่ต่อปี การสูญเสียดินสูงสุดเกิดขึ้นในพื้นที่ลาดชันสูงที่มีการปลูกพืชไร่และมีฝนตกมาก

56 ปริมาณการชะล้างพังทลายดินในภาคตะวันออก (พื้นที่ราบ)
ระดับของการชะล้างพังทลายดิน ปริมาณพื้นที่ ไร่ % ชั้น 1 การชะล้างพังทลายของดินน้อยมาก 12,334,312 52.65 ชั้น 2 การชะล้างพังทลายของดินน้อย 4,950,852 21.12 ชั้น 3 การชะล้างพังทลายของดินปานกลาง 2,384,004 10.17 ชั้น 4 การชะล้างพังทลายของดินรุนแรง 56,260 0.24 ชั้น 5 การชะล้างพังทลายของดินรุนแรงมาก 142,993 0.61 รวมพื้นที่ 19,868,421 84.79

57 ปริมาณการชะล้างพังทลายดินในภาคตะวันออก (พื้นที่สูง)
ระดับของการชะล้างพังทลายดิน ปริมาณพื้นที่ ไร่ % ชั้น 1H การชะล้างพังทลายของดินน้อยมาก 2,602,010 11.10 ชั้น 2H การชะล้างพังทลายของดินน้อย 232,071 0.99 ชั้น 3H การชะล้างพังทลายของดินปานกลาง 391,474 1.67 ชั้น 4H การชะล้างพังทลายของดินรุนแรง 25,786 0.11 ชั้น 5H การชะล้างพังทลายของดินรุนแรงมาก 311,772 1.34 รวมพื้นที่ 3,563,113 15.21

58 การชะล้างพังทลายดินในภาคตะวันตก
ภาคตะวันตกมีพื้นที่ทั้งหมด 28,804,847 ไร่ หรือ 8.98 เปอร์เซ็นของพื้นที่ทั้งประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ 8 จังหวัด ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่มีการสูญเสียดินอยู่ระหว่าง 0 – 10 ตันต่อไร่ต่อปี การสูญเสียดินสูงสุดเกิดขึ้นในพื้นที่ลาดชันสูงที่มีการปลูกพืชไร่

59 ปริมาณการชะล้างพังทลายดินในภาคตะวันตก (พื้นที่ราบ)
ระดับของการชะล้างพังทลายดิน ปริมาณพื้นที่ ไร่ % ชั้น 1 การชะล้างพังทลายของดินน้อยมาก 11,585,309 40.22 ชั้น 2 การชะล้างพังทลายของดินน้อย 4,732,636 16.43 ชั้น 3 การชะล้างพังทลายของดินปานกลาง 927,516 3.22 ชั้น 4 การชะล้างพังทลายของดินรุนแรง 28,805 0.10 ชั้น 5 การชะล้างพังทลายของดินรุนแรงมาก 66,251 0.23 รวมพื้นที่ 17,340,517 60.20

60 ปริมาณการชะล้างพังทลายดินในภาคตะวันตก (พื้นที่สูง)
ระดับของการชะล้างพังทลายดิน ปริมาณพื้นที่ ไร่ % ชั้น 1H การชะล้างพังทลายของดินน้อยมาก 2,338,954 8.12 ชั้น 2H การชะล้างพังทลายของดินน้อย 5,893,472 20.46 ชั้น 3H การชะล้างพังทลายของดินปานกลาง 2,912,170 10.11 ชั้น 4H การชะล้างพังทลายของดินรุนแรง 37,446 0.13 ชั้น 5H การชะล้างพังทลายของดินรุนแรงมาก 282,288 0.98 รวมพื้นที่ 11,464,330 39.80

61 การชะล้างพังทลายดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ทั้งหมด 105,533,909 ไร่ หรือ เปอร์เซ็นของพื้นที่ทั้งประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ 19 จังหวัด ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่มีการสูญเสียดินอยู่ระหว่าง 0 – 4 ตันต่อไร่ต่อปี เนื่องจากพื้นที่ลาดชันสูงมีอยู่น้อยเพียง 7.8 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งภาค และสภาพการใช้ที่ดินเป็นป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณ

62 ปริมาณการชะล้างพังทลายดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (พื้นที่ราบ)
ระดับของการชะล้างพังทลายดิน ปริมาณพื้นที่ ไร่ % ชั้น 1 การชะล้างพังทลายของดินน้อยมาก 80,733,440 76.5 ชั้น 2 การชะล้างพังทลายของดินน้อย 14,162,651 13.42 ชั้น 3 การชะล้างพังทลายของดินปานกลาง 2,184,552 2.07 ชั้น 4 การชะล้างพังทลายของดินรุนแรง 116,087 0.11 ชั้น 5 การชะล้างพังทลายของดินรุนแรงมาก 327,155 0.31 รวมพื้นที่ 97,523,885 92.41

63 ปริมาณการชะล้างพังทลายดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (พื้นที่สูง)
ระดับของการชะล้างพังทลายดิน ปริมาณพื้นที่ ไร่ % ชั้น 1H การชะล้างพังทลายของดินน้อยมาก 6,933,578 6.57 ชั้น 2H การชะล้างพังทลายของดินน้อย 232,175 0.22 ชั้น 3H การชะล้างพังทลายของดินปานกลาง 759,844 0.72 ชั้น 4H การชะล้างพังทลายของดินรุนแรง 84,427 0.08 ชั้น 5H การชะล้างพังทลายของดินรุนแรงมาก - รวมพื้นที่ 8,010,024 7.59

64 จบการสอนครับ .. ดอยอินทนนท์


ดาวน์โหลด ppt (Introduction to Soil Science)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google