งานเชื่อมและโลหะแผ่น

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
บทที่ 5 การดำรงชีวิตของพืช
Advertisements

ชุมชนของเรา ชุมชนอบอุ่น MANAGEMENT BY P.PROPERTY MANAGEMENT.CO,LTD
การผลิตบ่อพัก ทำเอง ใช้เอง หจก. มภัสกาญ คอนสตรัคชั่น
การควบคุมคลัตช์ ด้วยกลไก
การวิเคราะห์และปรับปรุงสภาพการทำงานตามหลักการยศาสตร์
การแต่งกายประดับ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
1. การผสมใดต่อไปนี้ที่แยกออก จากกันได้ด้วยการระเหยแห้ง 1. เกลือป่นกับ น้ำ 2. น้ำมันพืชกับ น้ำ 3. ข้าวเปลือก กับแกลบ 4. ผงตะไบ เหล็กกับทราย.
ท่าเรือแหลมฉบังก่อสร้างศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยฯ หนังสือขอส่งงวด งาน.
แผนการตรวจรับรอง สถานที่ทำงานน่าอยู่ น่า ทำงาน โดยศูนย์อนามัยที่ 8 อุดรธานี วันเวลาหน่วยงานทีมประเมิน 11 กค.59 เช้า - รพท. นภ. บ่าย สสอ. เมือง ศูนย์อนามัย.
ระเบียบคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติว่าด้วยวิธีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของวัสดุนิวเคลียร์และสถานประกอบการทางนิวเคลียร์พ.ศ วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา.
๕ เรื่องเด่นในร่างรัฐธรรมนูญ
หลักเกณฑ์วิธีที่ดีในการผลิตอาหาร
ชุมชนปลอดภัย.
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
เคมีอุตสาหกรรม 1. อุตสาหกรรมขั้นพื้นฐาน: อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
นางสาวศิวพร แพทย์ขิม เอกสุขศึกษา กศ. บ. คณะพลศึกษา.
ดิน สมบัติ ของดิน ลักษณะ ของดิน ประโยชน์ ของดิน ฐานความช่วยเหลือด้านความคิดรวบยอด สถานการณ์ปัญหาที่ 2.
อุปกรณ์การติดตั้งงานระบบไฟฟ้า (Installation Equipment)
แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์
การผลิตงานจากโลหะผง คุณลักษณะของโลหะผงที่สำคัญ กรรมวิธีผลิตโลหะผง
ระดับความเสี่ยง (QQR)
แนวทางการออกแบบโปสเตอร์
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
การบัญชีต้นทุนช่วง (Process Costing).
ความหมายของเลเซอร์ เลเซอร์ คือการแผ่รังสีของแสงโดยการกระตุ้นด้วยการขยายสัญญาณแสง คำว่า Laser ย่อมาจาก Light Amplification by Stimulated Emission of Radiation.
น้ำและมหาสมุทร.
ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง ระบบดับเพลิง และการตั้งกระป๋องน้ำมัน ถังน้ำมัน และถังเก็บน้ำมันขนาดเล็ก ไว้ในอาคารเก็บน้ำมันโดยเฉพาะที่มีระบบดับเพลิง พ.ศ.
นางสาวอิศกฤตา โลหพรหม ผู้นำเสนอ นางสาวปาริชาด สุริยะวงศ์
Presentation การจัดการข้อร้องเรียนในธุรกิจบริการ Customer Complaint Management for Service.
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
ข้อกำหนด/มาตรฐาน ด้านสุขาภิบาลอาหาร
รายวิชา งานไฟฟ้าเบื้องต้นสำหรับครูอุตสาหกรรมศิลป์
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 28 สิงหาคม 2561
เรื่อง ศึกษาตัวกลางที่เหมาะสมกับการชุบแข็งของเหล็กกล้าคาร์บอน
งานเชื่อมโลหะโดยเครื่องเชื่อมไฟฟ้า
บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ
ณ ห้องประชุม พธ.ทร.(๒) วันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๘ เวลา ๐๙๓๐
การศึกษาการเคลื่อนที่เชิงอนุภาค
เรื่อง อันตรายของเสียง
กำหนดกรอบระยะเวลาการขึ้นทะเบียนปี2556/57 1. ข้าว
กลุ่มเกษตรกร.
บทที่ 4 การดูแลให้ได้รับการพักผ่อนและความปลอดภัย การจัดการสิ่งแวดล้อม การทำเตียง อ.กรวรรณ สุวรรณสาร.
ความรู้เบื้องต้นระบบระบายอากาศ
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 4 มกราคม 2562
ระบบทำความเย็น.
SMS News Distribute Service
YRC LANNA LOCAL WISHDOM
การทดลองหาค่าความแน่นของดินที่มีเม็ดผ่านตะแกรงขนาด 19.0 มม. 1 เติมทรายลงในขวดซึ่งประกอบเข้ากับกรวยเรียบร้อย แล้วให้มีปริมาณเพียงพอสำหรับการใช้งาน.
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
กฎกระทรวง ความปลอดภัยทางรังสี พ.ศ.2561
กฎกระทรวงสถานีบริการก๊าซปิโตรเลียมเหลว พ.ศ.....
บรรยายครั้งที่ 8 - กราฟฟิกวิศวกรรม 1
บทที่ 3 โรงเรือนและอุปกรณ์โคเนื้อ
การวิจัยทางการท่องเที่ยว
ศาสนาเชน Jainism.
1 Pattern formation during mixing and segregation of flowing granular materials. รูปแบบการก่อตัวของการผสมและการแยกกันของวัสดุเม็ด Guy Metcalfe a,., Mark.
ชัยพฤกษ์รัตนาธิเบศร์ - วงแหวน
กรณีศึกษา : เทคโนโลยีชีวภาพกับสิ่งแวดล้อม
การถ่ายโอนพลังงานความร้อน
โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีถนนรีไซเคิลเพื่อลดขยะพลาสติกใน 4 ภูมิภาค
ทายสิอะไรเอ่ย ? กลม เขียวเปรี้ยว เฉลย ทายสิอะไรเอ่ย ? ขาว มันจืด เฉลย.
แนวทางการดำเนินงานประเมินความเสี่ยงบุคลากรในโรงพยาบาล
หน้าที่ของ - ไนโตรเจน (เอ็น) - ฟอสฟอรัส (พี) - โพแทสเซียม (เค)
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
วัฏจักรของน้ำ + พายุหมุนเขตร้อน
ใบสำเนางานนำเสนอ:

งานเชื่อมและโลหะแผ่น 2100-1005 หน่วยเรียนที่ 1

การทำให้โลหะติดกัน กระทำได้กี่วิธี อะไรบ้าง 4 วิธี. 1. เชื่อม 2 การทำให้โลหะติดกัน กระทำได้กี่วิธี อะไรบ้าง 4 วิธี 1.เชื่อม 2.ย้ำหมุด 3.ตะเข็บ 4.บัดกรี

การต่อโลหะหรือการทำให้โลหะติดกันโดยการเชื่อม แบ่งออกเป็นกี่ชนิด ได้แก่อะไรบ้าง 2 ชนิด ได้แก่ การเชื่อมไฟฟ้าและการเชื่อมโดยการใช้แก๊ส ต้องแน่ใจว่าการเชื่อมมีความปลอดภัยก่อนการเชื่อม OVERLAY

ความปลอดภัยตามหลักอาชีวอนามัย ความปลอดภัยตามหลักอาชีวอนามัยหมายถึง ความปลอดภัยตามหลักอาชีวอนามัย ความปลอดภัยตามหลักอาชีวอนามัยหมายถึง ความปลอดภัยในการทำงานโดยคำนึงถึงสุขภาพอนามัยของผู้ปฏิบัติงานโดยให้ปลอดภัยจากมลพิษต่าง ๆ มลพิษสิ่งแวดล้อมด้านชีวภาพ ได้แก่ - การติดเชื้อโรค - การเกิดระคายเคือง - ภูมิแพ้ - ผื่นคัน

มลพิษสิ่งแวดล้อมด้านกายภาพ ได้แก่ มลพิษสิ่งแวดล้อมด้านกายภาพ ได้แก่ อันตรายจากเสียงดัง อันตรายจากแสง การระบายอากาศ มลพิษสิ่งแวดล้อมด้าน เคมี ได้แก่ ไอระเหยของแก๊ส ไอระเหยของลวดเชื่อม

มลพิษสิ่งแวดล้อมด้าน การยศาสตร์ ได้แก่ เกิดจากเครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ที่ชำรุดไม่พร้อมใช้งานหรืออริยาบทในการทำงานที่อาจต้องทำเป็นเวลานาน

เครื่องหมาย-สัญลักษณ์ ที่เกี่ยวกับความปลอดภัย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ที่เกี่ยวกับความปลอดภัย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1.เครื่องหมายที่เป็นสัญลักษณ์ เช่น เครื่องหมายห้าม เครื่องหมายบังคับ 2.เครื่องหมายที่เป็นข้อความ เช่น………… ตัวอย่างเครื่องหมาย ตัวอย่างเครื่องหมาย

ตัวอย่างเครื่องหมายความปลอดภัย

ความปลอดภัยในการเชื่อมแก๊ส 1.พื้นที่เชื่อมแก๊สต้องมีอากาศถ่ายเทสะดวกแสงสว่างเพียงพอไม่มีวัสดุไวไฟ 2.ติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงที่หยิบง่ายและมีอุปกรณ์-ยาในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น 3.ทำเส้นแสดงขอบเขตพื้นที่อันตราย ป้ายเตือนให้ชัดเจน 4.ห้ามใช้น้ำมัน จาระบีในระบบข้อต่อ

5.ไม่ควรกลิ้งถังแก๊สในแนวนอนควรกลิ้งโดยเอียงท่อแล้วหมุนท่อหรือใช้รถเข็น 6.การตรวจสอบรอยรั่วควรใช้น้ำสบู่หรือน้ำผงซักฟอกเท่านั้น 7.ติดตั้งถังแก๊สให้มั่นคงแข็งแรง 8.ห้ามจุดเปลวไฟจากโลหะที่ร้อนไม่ขีดหรือจุดจากผู้ปฎิบัติงานคนอื่น ควรใช้ที่จุดเปลวไฟเท่านั้น 9.ปฏิบัติตามกฎโรงงานอย่างเคร่งครัด

กฎโรงงาน มีดังต่อไปนี้ 1.การปฏิบัติงานต้องได้รับอนุญาตจากครูผู้ควบคุมทุกครั้ง 2.สวมใส่ชุดปฏิบัติงานทุกครั้งที่ปฏิบัติงาน 3.ขณะปฏิบัติงานห้ามหยอกล้อเล่นกัน 4.ห้ามรับประทานอาหารในโรงงาน 5.ใส่แว่นตานิรภัยทุกครั้งเพื่อป้องกันอันตราย 6.สวมแว่นตาหรือหน้ากากทุกครั้งเมื่อปฏิบัติการเชื่อม 7.ใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียงทุกครั้งที่ปฏิบัติงานเสียงดัง เช่น ตัดด้วยไฟเบอร์ 8.หากเกิดอุบัติเหตุรีบแจ้งครูผู้ควบคุมทันที 9.ใช้เครื่องมือให้ถูกประเภท 10.หลังปฏิบัติงานต้องเก็บกวาดทำความสะอาดเครื่องจักรและพื้นที่ปฏิบัติงาน

1.2 เครื่องมือและอุปกรณ์ในการเชื่อมแก๊ส

1.2.1.1ภาพท่อบรรจุแก๊สออกซิเจน คุณลักษณะ - เป็นท่อไม่มีตะเข็บหนาไม่น้อยกว่า 9 มม. - ทนความดันน้ำได้ 3360 PSI โดยไม่ได้รับความ เสียหาย - ลักษณะเกลียวเป็นเกลียวขวา (ข้อต่อ) - ความดันเมื่อบรรจุแก๊สเต็มถัง 2200 PSI - ขนาดของท่อปริมาตร 6 ลูกบาศก์เมตร - เป็นท่อความดันสูงทำด้วยเหล็กกล้าคาร์บอนสูง

1.2.2 มาตรวัดความดัน ประกอบด้วยเกจวัด 2 เกจ คือ 1.เกจวัดความดันสูง สำหรับวัดความดันภายในท่อบรรจุแก๊ส 2.เกจวัดความดันต่ำ สำหรับวัดปรับความดันที่ใช้งาน

1.2.3 ทอร์ชเชื่อม มีหน้าที่เป็นที่จับสำหรับเชื่อมและเป็นห้องผสมแก๊สให้ได้อัตรา ส่วนผสมที่เหมาะกับการใช้งาน

1.2.4 หัวทิพ เป็นอุปกรณ์ที่ประกอบส่วนปลายทอร์ชเชื่อมมีหน้าที่ให้แก๊สที่ปรับส่วนผสมแล้วไหลผ่านเพื่อเกิดเป็นเปลวไฟสำหรับเชื่อมถอดเปลี่ยนได้ตามความหนาของโลหะ

1.2.5 เข็มแยงหัวทิพ ใช้ทำความสะอาดหัวทิพ โดยการแยงเข้าไปทำความสะอาดเข็มแยงซึ่งมีลักษณะคล้ายตะไบกลมเล็ก ๆ มีหลายขนาดให้เลือกใช้ตามความโตของหัวทิพ

1.2.6 ที่จุดเปลวไฟ 1.2.7 แว่นตาเชื่อมแก๊ส เลนซ์เป็นอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากแสงขณะเชื่อม เลนซ์ที่เหมาะกับการเชื่อมแก๊สควรใช้เบอร์ 4 – 6

1.2.8สายยางและข้อต่อ สายยางเป็นอุปกรณ์ส่งแก๊สจากท่อบรรจุไปยังทอร์ชเชื่อม ประกอบด้วยชั้นยาง 3 ชั้น มีเส้นใยในลอนแทรกกั้นอยู่ทุกชั้น ข้อต่อเป็นอุปกรณ์ที่ติดส่วนปลายสายยางเพื่อประกอบเข้าอุปกรณ์อื่น ข้อต่อสายออกซิเจนเกลียวขวามีอักษร “OX”ติดอยู่ ข้อต่อสายอะเซตทิลีนเกลียวซ้ายมีอักษร “AC” พร้อมทำรอยบาก

1.3 การประกอบและติดตั้ง ขั้นที่ 1 ประกอบมาตรวัดกับท่อบรรจุแก๊สโดยเปิดวาล์วเพื่อไล่สิ่งสกปรกออกไปเสียก่อนจึงติดตั้งมาตรวัด ขั้นที่ 2 ประกอบสายเชื่อมกับหัวทอร์ช สังเกต สายสีเขียวต่อกับท่ออกซิเจนต่อกับทอร์ชเชื่อม(เกลียวขวา) สายสีแดงต่อกับท่ออะเซตทิลีนและปลายด้านหนึ่งต่อกับทอร์ชเชื่อม (เกลียวซ้าย) ข้อต่อจะมีรอยบาก ขั้นที่ 3 เปิดวาล์วท่อบรรจุแก๊สโดยการหมุนมาตรวัดความดันทวนเข็มนาฬิกา -ท่อออกซิเจนหมุนมาตรวัดเปิดหมด -ท่ออะเซตทิลีนหมุนเปิดเพียง ¼-1/2 รอบเท่านั้น ขั้นที่ 4 ปรับมาตรวัดความดัน ใช้งานโดยหมุนตามเข็มนาฬิกาแก๊ส-ออกซิเจนความดันอยู่ระหว่าง 25-35 PSI และอะเซตทิลีนอยู่ระหว่าง 6-10 PSI

งานเชื่อมและโลหะแผ่น 2100-1005 หน่วยเรียนที่ 2

การเชื่อมโลหะด้วยแก๊ส เชื้อเพลิงที่ใช้ในการเชื่อมชนิดใดให้ความร้อนมากที่สุด ก.ออกซิเจนผสมอะเซทิลีน ข.ออกซิเจนผสมบิวเทน ตอบ ก.เป็นแก๊สที่ผสมระหว่าง แก๊สออกซิเจนผสมกับแก๊สอะเซต ทิลีนที่ให้ความร้อนถึง 3400 C เรื่องที่จะเรียนวันนี้ การเชื่อมด้วยแก๊สออกซิอะเซตทิลีน

ความหมายของการเชื่อมแก๊ส การเชื่อมแก๊ส หมายถึง การทำให้โลหะหลอมละลายติดกันโดยอาศัยความร้อนที่เกิดจากการเผาไหม้ของแก๊สเชื้อเพลิง และ ออกซิเจน เป็นเปลวไฟหลอมให้โลหะติดกัน โดยอาจเติมโลหะหรือไม่เติมก็ได้

ชนิดเปลวไฟในการเชื่อม มี 3 เปลว คือ ชนิดเปลวไฟในการเชื่อม มี 3 เปลว คือ 1.เปลวคาร์บูไรซิ่ง มีปริมาณแก๊ส อะเซตทิลีน มากกว่าแก๊สออกซิเจน อัตรา 2:1 ให้ความร้อนประมาณ 3000 C

2.เปลวนิวตรัล มีรูปมีปริมาณแก๊สอะเซตทิลีนและแก๊สออกซิเจนในอัตราเท่ากัน

3.เปลวออกซิไดซิ่ง มีรูปมีปริมาณแก๊สอะเซตทิลีนน้อยกว่าแก๊สออกซิเจนในอัตรา 2:1ให้ความร้อนประมาณ 3400 C

3. ลวดเชื่อมแก๊ส แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1.ประเภทลวดเชื่อมเหล็ก จะใช้ในการเชื่อมโลหะที่เป็นเหล็กแผ่นหรือท่อ ถ้าเป็นเหล็กหล่อสีเทาจะใช้ลวดเชื่อมเหล็กหล่อและใช้ฟลั๊กซ์ช่วย 2.ลวดเชื่อมไม่เหล็ก ได้แก่ ลวดเชื่อมทองเหลือง ลวดเชื่อมอลูมิเนียม ลวดเชื่อมเงิน 4.ฟลั๊กซ์ เป็นตัวช่วยป้องกันไม่ให้ออกซิเจนในอากาศรวมตัวกับแนวเชื่อม ทำให้แนวเชื่อมมีคุณภาพสูงและการเชื่อมง่ายขึ้น

รูปนี้ไม่เกี่ยวกับงานเชื่อมแก๊ส

ให้นักเรียนเขียนชื่อจังหวัดให้ได้มากที่สุด ภายในเวลา 1 นาที

งานเชื่อมและโลหะแผ่น 2100-1005 หน่วยเรียนที่ 3

แก๊ส O2 ที่ใช้ในการเชื่อมได้มาจากไหน? มีวิธีการเตรียมการนำมาใช้อย่างไร? ตอบ แก๊ส O2 ได้จากบรรยากาศนำมาใช้โดยผ่านกระบวนการซึ่งวันนี้เราจะเรียนกันถึงเรื่อง “การผลิตแก๊สออกซิเจนและการผลิตอะเซตทิลีน”

การผลิตแก๊สออกซิเจน -สัญลักษณ์ทางเคมี O2 -คุณสมบัติทั่วไป ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรสมีอยู่ในบรรยากาศประมาณ 21% ของปริมาตรอากาศช่วยในการเผาไหม้และช่วยในการหายใจของมนุษย์ -การใช้งาน ในอุตสาหกรรมหลอมโลหะหลอมแก้ว ใช้ร่วมกับแก๊สเชื้อเพลิงในการเชื่อม-ตัดโลหะออกซิเจนที่มีความบริสุทธิ์สูงใช้ในวงการแพทย์รวมถึงช่วยหายใจใต้น้ำในเหมือง

การผลิตแก๊ส O2 ทำได้ 2 วิธี คือ 1.การผลิตจากน้ำ เป็นกรรมวิธีที่แยก O2 ด้วยไฟฟ้าหรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “กรรมวิธีแยกน้ำด้วยไฟฟ้า (Electrolysis Process) แต่ไม่เป็นที่นิยมใช้กันไม่คุ้มกับการลงทุน 2.ผลิตจากอากาศ ปกติบรรยากาศหรืออากาศรอบตัวประกอบด้วยไนโตรเจน 78%ออกซิเจน21% นอกนั้นเป็นแก๊สอื่น ๆ วิธีการผลิตออกซิเจนจากอากาศวิธีนี้โดยการนำอากาศเหล่านี้ไปอัดภายใต้ความดัน

กระบวนการผลิต อากาศจะถูกอัดภายใต้ความดันสูง จนกลายเป็นของเหลวในอุณหภูมิที่ต่ำมาก ณ อุณหภูมิที่ –195.7 C ไนโตรเจนเหลวจะระเหยกลายเป็นแก๊สซึ่งจะถูกจัดเก็บก่อน จากนั้นเพิ่มอุณหภูมิให้สูงขึ้น ความดันจะต่ำลงจนถึง –182.9 C ออกซิเจนเหลวจะระเหยกลายเป็นแก๊สจะถูกจัดเก็บ

การผลิตแก๊สอะเซตทิลีน -สัญลักษณ์ทางเคมี C2H2 -คุณสมบัติทั่วไป เป็นแก๊สที่ไวไฟมาก ไม่มีสี มีกลิ่นฉุน น้ำหนักเบากว่าอากาศสามารถละลายใน อะซิโตนได้ในอัตรา 300:1 โดยปริมาตรที่ 175 PSI (หมายความว่าสารละลายอะซิโตน 1 ส่วนเก็บแก๊สได้ 300 ส่วนในสภาพสารละลาย)ด้วยเหตุผลนี้ท่อบรรจุแก๊สจะมีวัสดุซึมซับที่สามารถจับสารละลายอะซิโตนไว้ภายในได้ -การนำไปใช้ เป็นแก๊สเชื้อเพลิงที่ใช้ในการเชื่อมด้วยแก๊สออกซิอะเซตทิลีนใช้ในการตัดโลหะ และชุบแข็งผิวโลหะ

กระบวนการผลิตแก๊สอะเซตทิลีนผลิตได้ 2 วิธีคือ การทำปฏิกิริยาระหว่างแคลเซียมคาร์ไบด์กับน้ำ และกระบวนการแตกตัวทางเคมี 1.การผลิตโดยการทำปฏิกิริยาระหว่างแคลเซี่ยมคาร์ไบด์กับน้ำ ซึ่งแยกเป็น 2 วิธีคือ - ปล่อยแคลเซียมคาร์ไบด์ลงในน้ำ - ปล่อยน้ำลงบนแคลเซียมคาร์ไบด์

การผลิตแก๊สอะเซตทิลีนแบบปล่อยแคลเซียมคาร์ไบด์ลงในน้ำ ก้อนแคลเซี่ยมคาร์ไบด์จะถูกบรรจุในถังบรรจุ และถูกปล่อยให้ตกน้ำในถังผลิต น้ำและก้อนแคลเซี่ยมคาร์ไบด์ จะทำปฏิกิริยาเกิดแก๊สอะเซตทิลีนออกไปตามท่อผ่านถังป้องกันไฟย้อนกลับโดยก่อนจะออกสู่ระบบแมนนิโพลด์เพื่อใช้งานจะต้องผ่านน้ำในถังป้องกันไฟย้อนกลับก่อน

2.การผลิตอะเซตทิลีนโดยอาศัยผลผลิตที่ได้จากกระบวนการแตกตัว ทางเคมีจากโรงงานปิโตรเคมีเป็นวิธีการผลิตที่มีความบริสุทธิ์สูงกว่าแบบการทำปฏิกิริยาระหว่างแคลเซียมคาร์ไบด์กับน้ำ มีความปลอดภัยมากกว่าอีกด้วยจึงเป็นที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน

ระบบจ่ายแก๊สแบบหลายจุดใช้งาน (Manifold) ระบบจ่ายแก๊สลักษณะนี้เหมาะสำหรับจ่ายแก๊สไปยังจุดใช้งานหลายจุดในเวลาเดียวกันโดยใช้ท่อบรรจุแก๊สหลายๆท่อในแถวเดียวกัน อาจใช้งานข้างหนึ่งอีกข้างหนึ่งสำรองก็ได้โดยมีมาสเตอร์วาล์วควบคุมและมาตรวัดแสดงความดัน

ความแตกต่างระบบจ่ายหลายจุดแบบ O2 และ C2H2 ระบบจ่ายของแก๊สออกซิเจนจะไม่มีระบบป้องกันไฟย้อนกลับและความดัน แต่ระบบจ่ายของแก๊สอะเซตทิลีนจะมีอุปกรณ์ป้องกันไฟและความดันย้อนกลับ

อุปกรณ์ป้องกันไฟย้อนกลับแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ แบบน้ำและวาล์วกันกลับ หากมีการย้อนกลับจากจุดใช้งาน A มาตามท่อเปลวไฟก็จะดับเพราะท่อจมอยู่ในน้ำก่อนจะเข้าสู่ถังจ่าย B

งานเชื่อมและโลหะแผ่น 2100-1005 หน่วยเรียนที่ 4

ลักษณะการเชื่อมแก๊สมี 2 ลักษณะ คือ ลักษณะการเชื่อมแก๊สมี 2 ลักษณะ คือ 1.การเชื่อมแบบ Backhand 2.การเชื่อมแบบ Forehand

1.การเชื่อม Backhand เป็นการเชื่อมชิ้นงานที่มีความหนาตั้งแต่ 3 มม.ขึ้นไปทิศทางการเชื่อมจะเชื่อมจากขอบซ้ายของชิ้นงานไปทางขวา(ผู้เชื่อมถือหัวทิพด้วยมือขวา)

2.การเชื่อม Forehand เป็นการเชื่อมที่เหมาะสมสำหรับการเชื่อมงานบาง โดยมีทิศทางเดียวกัน(เชื่อมจากขวาไปซ้ายสำหรับผู้ถนัดขวาถือหัวเชื่อมด้วยมือขวา)

ลักษณะรอยต่อมี 5 แบบคือ 1.ต่อมุม 2.ต่อขอบ 3.ต่อชน 4.ต่อเกย 5.ต่อตัวที

ลักษณะแนวเชื่อมมี 2 ลักษณะ คือ 1.แนวเชื่อมแบบร่อง (Groove Weld) จะบากหน้างานเมื่องานหนาเกิน 3 มม.

ลักษณะแนวเชื่อมมี 2 ลักษณะ คือ 2.แนวเชื่อมแบบสามเหลี่ยม(Fillet Weld) จะเกิดกับลักษณะรอยต่อแบบตัวที ต่อเกย

ลักษณะท่าเชื่อม มี 4 ท่า คือ 1.ท่าราบ (Flat Position) 2.ท่าขนานนอน(Horizontal Position) 3.ท่าตั้ง(Vertical Position) 4.ท่าเหนือศรีษะ(Overhead Position)

1.การเชื่อมท่าราบเป็นการเชื่อมท่าที่ง่ายที่สุดโดยงานจะวางราบกับพื้น

2.การเชื่อมท่าขนานนอนชิ้นงานตั้งแนวดิ่งรอยเชื่อมขนานกับพื้นต้องใช้เทคนิคการควบคุมน้ำโลหะ

3.การเชื่อมท่าตั้ง ชิ้นงานตั้งแนวดิ่ง รอยต่อตั้งฉากกับระนาบพื้น

4.การเชื่อมท่าเหนือศรีษะชิ้นงานอยู่แนวระนาบแต่อยู่สูงขึ้นไปเหนือศรีษะ

END