นพ.ทวีทรัพย์ ศิรประภาศิริ สำนักงานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ข้อค้นพบและข้อเสนอแนะ จากการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ปี 2558 “โรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บ” นพ.ทวีทรัพย์ ศิรประภาศิริ สำนักงานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค
ความเป็นมา กระทรวงสาธารณสุขได้พัฒนาระบบบริการสุขภาพในรูปแบบเขตบริการสุขภาพ รวม 12 เขต และมีแนวนโยบายให้ปรับระบบการตรวจราชการ กำกับ ติดตามนโยบาย สำคัญของ กระทรวงเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน กรมควบคุมโรคได้มอบหมายให้ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ตรวจราชการกรม ร่วมกับทางสำนักงานป้องกันและควบคุมโรคเขต โดยแบ่งพื้นที่รับผิดชอบการตรวจราชการให้กับผู้ทรงคุณวุฒิ เขตสุขภาพละ 2 ท่าน ระยะเวลาการตรวจราชการ แบ่งเป็น 2 รอบ รอบที่ 1 ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน 2558 รอบที่ 2 ระหว่างเดือนมิถุนายน – สิงหาคม 2558 คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิได้รวบรวมและสรุปข้อค้นพบและข้อเสนอแนะจากการตรวจ ราชการกระทรวงสาธารณสุข ปี 2558
ประชาชนเป็นศูนย์กลาง สนับสนุนและร่วมปฏิบัติงาน มุมมองจากภายนอก พื้นที่เป็นฐาน ประชาชนเป็นศูนย์กลาง สนับสนุนและร่วมปฏิบัติงาน มุ่งสู่เป้าหมายร่วม
คลินิก NCD คุณภาพ เป้าหมายการดำเนินงาน ปี 2557, 2558 และ 2559 ประเมินผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 70 และ ในปี 2559 ประเมินรับรองฯครบร้อยละ 100 เป้าหมายปี 57 จำนวนรพ.ที่ประเมิน จำนวน 380 แห่ง ผ่าน 70 % จำนวน 338 แห่ง เป้าหมายปี 58 จำนวนรพ.ที่ประเมิน จำนวน 329 แห่ง สถานบริการสาธารณสุข (รพศ. รพท. รพช.) ได้ประเมินตนเองตามเกณฑ์คลินิก NCD คุณภาพ รอบที่ 1 แล้ว อยู่ระหว่างรวบรวมการประเมินรับรองฯ ส่วนใหญ่ยังต้องพัฒนาเรื่อง การสนับสนุนการจัดการตนเอง แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มขึ้นการดูแลตนเองในชุมชน
ประเด็น : การควบคุมโรคไม่ติดต่อ (NCD) ข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะ อัตราตายด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจ และอัตราป่วยรายใหม่ยังสูงและคุณภาพบริการ DM/HT ยังไม่ถึงเกณฑ์ และยังไม่มีสัญญานว่าจะบรรลุเป้าหมาย ความก้าวหน้าของ PM และ Case manager ของพื้นที่มีการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น หน่วยบริการและหน่วยบริหารมีความตื่นตัวในการดำเนินงาน แต่ยังไม่ทราบแนวทางการดำเนินงานให้ผลงานมีประสิทธิผลมากขึ้น รวมทั้งการวิเคราะห์และใช้ประโยขน์ข้อมูลยังทำได้น้อย มาตรการคลินิก NCD คุณภาพ ยังไม่เชื่อมโยงและส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพของบริการและการลดโรคได้อย่างเป็นรูปธรรมสำหรับการแก้ปัญหาในพื้นที่ การวิเคราะห์ข้อมูลและความยุ่งยากในการเข้าถึงการประมวลผลระบบฐานข้อมูล 43 แฟ้มของผู้ปฏิบัติงาน การเชื่อมต่อกับ Service plan น้อย มาตรการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม พบว่า 1. กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงยังทำได้น้อย, ขาดการติดตามประเมินผล ขาดความต่อเนื่อง 2. มีการใช้มาตรการ 3 อ. 2 ส. ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จาก อปท. และรพสต. แต่ขาดการนำไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง และครอบคลุม ควรทบทวนมาตรการ “คลินิก NCD คุณภาพ” ให้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพบริการและการลดโรค NCD ได้มีประสิทธิภาพจริง ควรทบทวนเป้าหมายความสำเร็จของการลดโรค ลดตาย และคุณภาพบริการให้สอดคล้องกับกับประสิทธิผลของมาตรการ จังหวัดควรมุ่งเน้นมาตรการที่มีประสิทธิผลทั้ง ด้านการจัดการผู้ป่วยรายกรณี และมาตรการลดพฤติกรรมและปัจจัยเสี่ยงในชุมชนที่ตรงกับปัญหาตนเอง พัฒนาระบบฐานข้อมูล และพัฒนาการเข้าถึงการประมวลผลข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจาก 43 แฟ้ม ให้ง่ายต่อผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ ควรพัฒนาการใช้ประโยชน์ของข้อมูล โดย สำนักโรคไม่ติดต่อ ศนย. NCD และสำนักระบาด ร่วมมือกันในการจัดการชุดข้อมูลระบาดวิทยาโรคไม่ติดต่อที่ควรมีการวิเคราะห์เป็นพื้นฐาน และเพิ่มศักยภาพให้แก่ สคร. สสจ.และ หน่วยบริการสุขภาพในการใช้ประกอบในการวางแผนและติดตามผลคุณภาพบริการ
ประเด็น : การควบคุมการบาดเจ็บ (อุบัติเหตุทางถนน) ข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะ ประเด็นพฤติกรรม (ขับรถเร็วเกินกำหนด ไม่สวมหมวกนิรภัย) ยังคงเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดปัญหาอุบัติเหตุ ความย่อหย่อนของการบังคับใช้กฎหมาย พบว่าประชาชนไม่สนใจ และขาดความตระหนักทั้งด้านการสวมหมวกนิรภัยและการขอใบขับขี่จากกรมการขนส่งทางบก ในระดับจังหวัดเริ่มมีการสอบสวนการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนแบบสหสาขาวิชาชีพ และ นำผลการสอบสวนมาแก้ไขปัญหาแบบสหสาขาในพื้นที่ ทีมสอบสวนอุบัติเหตุแบบสหสาขาระดับอำเภอส่วนใหญ่ยังไมได้รับการพัฒนาศักยภาพ เนื่องจากมีข้อจำกัดในด้านบุคลากรและงบประมาณ ควรเน้นมาตรการการบังคับใช้กฎหมาย และมาตรการด่านชุมชน ควรพิจารณาหามาตรการที่ได้ผลเพิ่มขึ้น เช่น บังคับใช้กฎหมายในผู้ขับขี่ยวดยานพาหนะ การปรับปรุงสิ่งแวดล้อม เป็นต้น พัฒนาศักยภาพการสอบสอบสวนอุบัติเหตุแบบ สหสาขาระดับอำเภอโดยใช้ 0n the job training ควรติดตามและผลักดันโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนระดับอำเภอผ่านระบบ DHS หรืออำเภอควบคุมโรคเข้มแข็ง สร้างทีมอำเภอต้นแบบในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนน
กลุ่มเด็กวัยเรียน : อัตราการเสียชีวิต จากการจมนํ้าของเด็ก (อายุตํ่ากว่า 15 ปี) ไม่เกิน 6.5 ต่อประชากรเด็กแสนคน
ประเด็น : เด็กจมน้ำ ข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะ การสํารวจแหล่งนํ้าที่เสี่ยงและปัจจัยเสี่ยงในแต่ละพื้นที่ยังไม่ชัดเจน จังหวัดได้เริ่มดำเนินการตามแผนงาน/โครงการสร้างภาคีเครือข่ายการดำเนินงานป้องกันเด็กจมน้ำในพื้นที่เสี่ยง แต่มีข้อจำกัด ขาดทีมแกนนำ ขาดงบประมาณ และทรัพยากร ขาดการรวบรวมข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ตามหลักระบาดวิทยาในการกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาของพื้นที่ และขาดการบูรณาการแก้ไขปัญหาร่วมกัน การเลือกมาตรการจัดการปัญหายังไม่ส่งผลถึงกลุ่มเป้าหมายโดยตรง ข้อมูลสภาพปัญหาของพื้นที่ต้องอาศัยความ พร้อมจาก อปท. และคนในพื้นที่เอง ควรนำหลักระบาดวิทยา มาใช้แก้ปัญหาการจมน้ำของเด็กในพื้นที่ มีการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสอบสวนสาเหตุการตายเพื่อให้ อปท. นำไปจัดตั้งทีมผู้ก่อการดี โดยเน้นพื้นที่ที่มีการเสียชีวิตแบบต่อเนื่อง บูรณาการทุกภาคส่วนและสร้างการมีส่วนร่วมในพื้นที่ ผ่าน กลไกการดำเนินงานอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งฯ และ DHS ร่วมกับงานอนามัยโรงเรียน และโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ และโครงการอบรมหลักสูตร “ว่ายน้ำเพื่อชีวิต” ในกลุ่มเด็กนักเรียนสังกัด สพฐ. นำพื้นที่ที่มีผลการดำเนินงานดี มาเป็นแบบอย่างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ประเด็นเชิงระบบ Service plan ประเด็น/เรื่อง ข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะ บทบาทของการส่งเสริมป้องกันกับ Service plan ยังไม่เป็นรูปธรรมชัดเจน PM ส่วนกลางและ สคร. ทำงานแบบเดิมและไม่เข้าใจ Service plan ส่วนใหญ่จัดทำยุทธศาสตร์ในมุมมองตนเอง ไม่เห็นภาพบูรณาการกับงาน Service plan เขตสุขภาพ และภาคสถานพยาบาลไม่ให้ความสำคัญกับงานส่งเสริมป้องกัน และการทำงานร่วมกับ Service plan ผู้บริหารและบุคลากรทุกระดับ รวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิที่รับผิดชอบตรวจราชการควรศึกษาและวิเคราะห์การเชื่อมต่องานกับ Service plan บทบาทของกรมควรจะมีการพัฒนา Service plan ในโรคอื่นๆเพิ่มเติม เช่น โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมในบางพื้นที่ที่เป็นจุดเสี่ยง เป็นต้น
ประเด็นเชิงระบบ (ต่อ) ประเด็น/เรื่อง ข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะ ระบบข้อมูล การวิเคราะห์ และให้ข้อเสนอแนะการตรวจราชการ ข้อมูลที่ได้จากโปรแกรมไม่ตรงกับที่ปฏิบัติจริง บางโรงพยาบาลมีโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเองและยังไม่เชื่อมกับระบบส่วนกลาง ขาดแหล่งข้อมูลกลางที่ช่วยสนับสนุนการนิเทศ/ตรวจราชการ ทีมงานเขตมีความแตกต่างในด้านคุณภาพการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลการตรวจราชการ ทำให้มีข้อมูลหลากหลาย สามารถใช้เพื่อเสนอแนวทางพัฒนาให้แก่หน่วยงานในพื้นที่ได้บางแผนงาน โรคที่มีรายงานการป่วยเป็นอันดับแรกและเป็นปัญหาของพื้นที่ไม่ได้กำหนดเป็นนโยบายในการดำเนินการในพื้นที่ แต่ไปกำหนดโรคที่เป็นตัวชี้วัดแทน การสรุปผลการตรวจราชการและให้ข้อเสนอแนะเป็นแบบกว้างๆทั่วไป ขาดความเจาะจงและใช้ประโยชน์ได้ ควรทบทวนข้อมูลจาก 43 แฟ้มและระบบที่มีอยู่ปัจจุบัน ว่าเพียงพอสำหรับการติดตามวิเคราะห์งานหรือไม่ หากไม่เหมาะสมจะดำเนินการอย่างไรที่ไม่เป็นภาระแก่พื้นที่ ลงทุนพัฒนาฐานข้อมูลและเว็บไซต์ของกรมฯ ที่ใช้เป็นแหล่งอ้างอิง และความรู้เกี่ยวกับแผนงานและความก้าวหน้าของงาน ควรมีการตกลงร่วมกันในทีมตรวจราชการและผู้ทรงคุณวุฒิของแต่ละกรม ในด้านขอบเขตของการวิเคราะห์ข้อมูล และการให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาที่ชัดเจน ทำความเข้าใจในเรื่องข้อมูลสถานการณ์ปัญหาของพื้นที่กับเรื่องนโยบายตัวชี้วัดให้กับบุคลากรทั้งในระดับ สคร.และจังหวัด
ข้อสังเกตจากการร่วมตรวจราชการ เป็นจุดเชื่อมสำคัญของกรมควบคุมโรคกับงานของกรม อื่นๆ กับภาพรวมของกระทรวง และการเชื่อมระหว่าง สคร. กับเขตสุขภาพ และจังหวัด โอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เข้าใจการปฏิบัติงานใน พื้นที่จริง โอกาสในการพัฒนาทีมงาน และเครือข่าย ต่อยอดพัฒนากระบวนการและเนื้อหาจากเดิม แบบต่อเนื่อง ไม่ควรเริ่มต้นใหม่