เรื่องวิวัฒนาการนาฏศิลป์ไทย ชื่อผู้จัดทำ นางพันทิพา สิงหัษฐิต โรงเรียนสตรีนครสวรรค์ อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์
สาระสำคัญ นาฏศิลป์ เป็นศิลปะแห่งการฟ้อนรำ โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ นาฏศิลป์ เป็นศิลปะแห่งการฟ้อนรำ โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ ท่ารำ เครื่องแต่งกาย ดนตรี และการขับร้อง ซึ่งมีอยู่ทุกชาติ ทุกภาษา ซึ่งมีลักษณะการแสดงที่แตกต่างกันไปตามสภาพสังคมขนบธรรมเนียม ค่านิยมของเผ่าพันธุ์ และอิทธิพลจากนานาประเทศ จึงมีการปรับปรุงและพัฒนานาฏศิลป์ให้มีแบบแผน วิจิตรงดงาม และมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง โดยอาศัยองค์ประกอบต่างๆ ทั้งฉาก การแต่งกาย ดนตรี อุปกรณ์การแสดง แสง สี และเสียง
ข สารบัญ สาระสำคัญ ก หัวข้อ 1 นาฏศิลป์สมัยสุโขทัย 1 หัวข้อ 2 นาฏศิลป์สมัยอยุธยา 2 หัวข้อ 3 นาฏศิลป์สมัยธนบุรี 3 หัวข้อ 4 นาฏศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์ 4 หัวข้อ 5 สมัยรัชกาลที่ 1 5 หัวข้อ 6 สมัยรัชกาลที่ 2 6 หัวข้อ 7 สมัยรัชกาลที่ 3 7 หัวข้อ 8 สมัยรัชกาลที่ 4 8 หัวข้อ 9 สมัยรัชกาลที่ 5 9 หัวข้อ 10 สมัยรัชกาลที่ 6 10 หัวข้อ 11 สมัยรัชกาลที่ 7 11 หัวข้อ 12 สมัยรัชกาลที่ 8 12 หัวข้อ 13 สมัยรัชกาลที่ 9 13 หนังสืออ้างอิง 14 ประวัติผู้จัดทำ 15
วิวัฒนาการนาฏศิลป์ไทย 1 วิวัฒนาการนาฏศิลป์ไทย นาฏศิลป์ไทยสมัยสุโขทัย เป็นการแสดงประเภทระบำ รำ ฟ้อน ที่มีวิวัฒนาการมาจากการละเล่นของชาวบ้านเพื่อพักผ่อนหย่อนใจหลังจากเสร็จงาน หรือแสดงในงานบุญ งานรื่นเริงประจำปี ปรากฏในหนังสือไตรภูมิพระร่วงของพระมหาธรรมราชาลิไทว่า “บ้างเต้น บ้างรำ บ้างฟ้อน ระบำบันลือ” แสดงให้เห็นแบบแผนของนาฏศิลป์ไทยคือ ระบำ รำ เต้น
วิวัฒนาการนาฏศิลป์ไทย 2 วิวัฒนาการนาฏศิลป์ไทย นาฏศิลป์สมัยอยุธยา มีการพัฒนารูปแบบของละครรำ ซึ่งเป็นต้นแบบของละครรำแบบอื่นๆ ในเวลาต่อมา คือ ละครโนราชาตรี ละครนอก และละครใน ในรัชสมัย พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศนิยมแสดงละครในเรื่อง อิเหนา ซึ่งเจ้าพินทวดี ได้สืบทอดท่ารำต่อมาจนถึงสมัยธนบุรี
วิวัฒนาการนาฏศิลป์ไทย 3 วิวัฒนาการนาฏศิลป์ไทย นาฏศิลป์ไทยสมัยธนบุรี มีละครรำของหลวงที่มีผู้หญิงและผู้ชายแสดง และมีละครผู้หญิงของเจ้านครศรีธรรมราชส่วนนาฏศิลป์ที่เป็นการแสดงเพื่อสมโภชพระแก้วมรกต มีทั้งโขน ละครรำ ระบำ และมหรสพต่างๆ
วิวัฒนาการนาฏศิลป์ไทย 4 วิวัฒนาการนาฏศิลป์ไทย นาฏศิลป์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่1 – รัชกาลที่ 4) ระบำและรำมีความ สำคัญต่อราชพิธีต่างๆในรูปแบบของพิธีกรรม โดยถือปฏิบัติเป็นกฎมณเฑียรบาล ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 5 ไทยเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับต่างประเทศทำให้เกิดการผสมผสานทางการแสดงขึ้น มีการนำฉาก แสง สี เสียงมาใช้
วิวัฒนาการนาฏศิลป์ไทย 5 วิวัฒนาการนาฏศิลป์ไทย สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1) รัชกาลที่ 1 โปรดรวบรวมตำราฟ้อนรำ และเขียนภาพท่ารำแม่บทบันทึกไว้เป็นหลักฐาน มีการพัฒนาโขนเป็นรูปแบบละครใน มีการปรับปรุงระบำสี่บท ซึ่งเป็นระบำมาตฐานตั้งแต่สุโขทัย สมัยนี้ได้เกิดนาฏศิลป์หลายชุด เช่น ระบำเมขลา-รามสูร, ระบำย่องหงิด, รำโคม, แม่บทนางนารายณ์ ฯลฯ
วิวัฒนาการนาฏศิลป์ไทย 6 วิวัฒนาการนาฏศิลป์ไทย สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) เป็นยุคของนาฏศิลป์ไทย เนื่องจากพระมหากษัตริย์ทรงโปรดละครรำ ท่ารำงดงามประณีตแบบราชสำนัก มีการฝึกหัดทั้งโขน ละครใน ละครนอก โดยได้ฝึกผู้หญิงให้แสดงละครนอกของหลวง และมีการปรับปรุง เครื่องแต่งกายยืนเครื่องแบบละครใน
วิวัฒนาการนาฏศิลป์ไทย 7 วิวัฒนาการนาฏศิลป์ไทย สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) โปรดให้ยกเลิกละครหลวง ทำให้นาฏศิลป์ไทยเป็นที่นิยมแพร่หลาย ในหมู่ประชาชน และเกิดการแสดงของเอกชนขึ้นหลายคณะ ศิลปินที่มีความสามารถได้สืบทอดการแสดงนาฏศิลป์ไทยที่เป็นแบบแผนสืบต่อมา
วิวัฒนาการนาฏศิลป์ไทย 8 วิวัฒนาการนาฏศิลป์ไทย สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) โปรดให้มีละครรำผู้หญิงในราชสำนักตามเดิมและในเอกชนมีการแสดงละครผู้หญิงและผู้ชาย อีกทั้งโปรดเกล้าให้จัดเก็บอากรมหรสพ ในสมัยนี้มีบรมครูทางนาฏศิลป์ ได้ชำระพิธีโขนละคร ทูลเกล้าถวายตราไว้เป็นฉบับหลวง มีการดัดแปลงการรำเบิกโรงชุดประเลงมาเป็นรำดอกไม้เงินทอง
วิวัฒนาการนาฏศิลป์ไทย 9 วิวัฒนาการนาฏศิลป์ไทย สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) สมัยนี้มีทั้งอนุรักษ์และพัฒนานาฏศิลป์ไทยให้ทันสมัย เช่น พัฒนาละครในเป็นละครดึกดำบรรพ์ พัฒนาละครนอกเป็นละครพันทางและละครเสภา และกำหนดให้มีระบำแทรกอยู่ในละครเรื่องต่างๆ เช่น ระบำเทพบันเทิงในเรื่องอิเหนา ระบำไก่ในเรื่องพระลอ ระบำนางกอยในเรื่องเงาะป่า เป็นต้น
วิวัฒนาการนาฏศิลป์ไทย 10 วิวัฒนาการนาฏศิลป์ไทย สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) สมัยนี้การนาฎศิลป์เจริญรุ่งเรืองมาก โปรดตั้งกรมมหรสพขึ้นทำนุบำรุงศิลปะโขน ละคร ดนตรีปี่พาทย์ และโปรดตั้งโรงเรียนฝึกหัดนาฎศิลป์ในกรมมหรสพ มีการฝึกหัดเป็นระเบียบแบบแผน ตลอดจนปรับปรุงวิธีแสดงโขนเป็นละครดึกดำบรรพ์เรื่องรามเกียรติ์ เกิดโขนบรรดาศักดิ์ที่มหาดเล็กแสดงคู่กับโขนเชลยศักดิ์ที่เอกชนแสดง
วิวัฒนาการนาฏศิลป์ไทย 11 วิวัฒนาการนาฏศิลป์ไทย สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) เป็นสมัยที่เศรษฐกิจตกต่ำมากเนื่องจากภาวะสงครามโลกครั้งที่ 2 โปรดยุบกรมมหรสพ และจำนวนข้าราชการ จัดตั้งกรมศิลปากรขึ้นแทนกรมมหรสพ หลวงวิจิตรวาทการ อธิบดีกรมศิลปากร ได้ก่อตั้งโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ต่อมาคือวิทยาลัยนาฏศิลป เพื่อสืบทอดศิลปะด้านนาฏศิลป์และการละคร
วิวัฒนาการนาฏศิลป์ไทย 12 วิวัฒนาการนาฏศิลป์ไทย สมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดล รัชกาลที่ (8) สมัยนี้พันตรีหลวงวิจิตรวาทการ ได้ให้กำเนิดละครหลวงวิจิตรซึ่งเป็นละคร ปลุกใจให้รักชาติ และสร้างแรงจูงใจให้คนไทยหันมาสนใจนาฏศิลป์ไทย ส่งเสริม ทำนุบำรุง เผยแพร่นาฏศิลป์ไทยให้เป็นที่ยกย่องนานาอารยประเทศ ทำให้ศิลปะโขน ละคร ระบำ รำ ฟ้อน ยังคงสืบทอดเป็นแนวทางในการอนุรักษ์และพัฒนาสืบต่อมา
หัวข้อหลัก สมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) 13 หัวข้อหลัก สมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) นาฎศิลป์และการละคร อยู่ในความรับผิดชอบของรัฐบาล คือ กระทรวงวัฒนธรรม มีการส่งเสริมให้ผู้เชี่ยวชาญนาฎศิลป์ไทยคิดประดิษฐ์ท่ารำ ชุดใหม่ๆ และการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ
เอกสารอ้างอิง หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ โรงเรียนสตรีนครสวรรค์ 14 เอกสารอ้างอิง หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ โรงเรียนสตรีนครสวรรค์ หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานนาฏศิลป์ โดย สุมนมาลย์ นิ่มเนติพันธ์ และ สุมนรตี นิ่มเนติพันธ์ เว็บไซต์ musicthai.patakorn.com/%3Fp%3D768 www.lks.ac.th/thaidance/content.htm student.swu.ac.th/hm471010417/ar...ture.htm
ผู้จัดทำ ชื่อ-สกุล นางพันทิพา สิงหัษฐิต ตำแหน่ง ครู คศ.3 ชำนาญการพิเศษ 15 ผู้จัดทำ ชื่อ-สกุล นางพันทิพา สิงหัษฐิต ตำแหน่ง ครู คศ.3 ชำนาญการพิเศษ หน่วยงาน โรงเรียนสตรีนครสวรรค์ โทรศัพท์ 056-221207 ต่อ 141 e-Mail PHUNTHIPHA@HOTMAIL.COM