ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา มาตรา ๒๐๙-๒๘๗/๒, ๓๖๗-๓๙๘

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ระบบบัตรประจำตัวประชาชน โครงการขยายการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนแบบใหม่
Advertisements

ขั้นตอนการสมัคร สู่ระบบไร้เอกสาร.
ชุดที่ 2 Hardware.
Unity card S&V Communication Service Network Co., Ltd. Tel:
Warehouse and Material Handling
Assignment 2010/ คลังสินค้าและการขนถ่ายวัสดุ
บทที่ 1 รู้จักกับภาษาจาวา
SECURITY DOOR USING RFID Present by นาย ณัฐพงศ์ จรูญเรือง KMUTNB นาย มหาณพ ภัทรภากร PSU.
ระบบการส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ ปี 2558 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการผลิตโดยเกษตรกร และ / หรือองค์กรเกษตรกรในพื้นที่และกิจกรรม.
ผลผลิตที่ 1 สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการตรวจสอบบัญชี
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต คัดเลือกโรงเรียนนำร่องรุ่นที่ 1 จำนวน ร้อยละ 10 ของโรงเรียนในสังกัด (43 โรงเรียน ) จำนวน 4 โรงเรียน -
ฝ่ายอำนวยการ งานธุรการและงาน สารบรรณ งานการเงินและบัญชี งานพัสดุ งานการเจ้าหน้าที่ งานสวัสดิการ งานนโยบายและที่รับ มอบหมาย ยิ้มงาม ถามไถ่ เต็มใจบริการ.
สพป. พช.3 ป.3. นักเรียนชั้น ป.3 สังกัด สพฐ. / ตำรวจ ตระเวน ชายแดน ด้านภาษา (Literacy) ด้านคำนวณ (Numeracy) ด้านเหตุผล (Reasoning Abilities) กลุ่มเป้า.
นวัตกรรมและเทคโนโลยี สารสนเทศทางการศึกษา “ กระดานอัจฉริยะ ”
เทคโนโลยีสารสนเทศ อาจารย์ศิริพร ศักดิ์บุญญารัตน์
ผ้าห่มไม่หายแค่ใส่ตัวเลข ปัญหาและการปรับปรุงแก้ไข
ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์
ระบบการชำระเงินของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ Electronic Payment System
อุปกรณ์เก็บบันทึกข้อมูล (Storage Devices)
รหัสบ่งชี้โดยใช้ความถี่ของคลื่นวิทยุ
HOMEWORK # นายวิทยา ศรีอุดร SEC A.
ระบบการชำระเงินในอีคอมเมิร์ซ (Electronic Commerce Payment System)
ความผิดอื่นๆเกี่ยวกับเงินตราปลอม เงินตราแปลง
แนวทางการออกแบบนามบัตร
ด้านสุขาภิบาลอาหารและน้ำ
ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
ขั้นตอนการเติมเงิน TOT3G ด้วยบัตรหรือโค้ด TOT Prepaid
อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ บทที่ 1 : การรักษาความปลอดภัยข้อมูล Part3 สธ412 ความมั่นคงของระบบสารสนเทศ อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ
กรณีตัวอย่าง : ส้มโอแปลงใหญ่ประชารัฐ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
แนวทางการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ. ศ
การพัฒนาศูนย์พึ่งได้ (OSCC)
กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ไปราชการชั่วคราว
กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ ตัวชี้วัดปศุสัตว์อำเภอ รอบที่ 1/61
Buddy Happy Brain (Smart Kids) ศูนย์อนามัยที่ ๓
นโยบาย กรมส่งเสริมการเกษตร ประจำปี ๒๕๕๙
ยินดีต้อนรับ ผู้มาเยี่ยมเยียนทุกท่าน
ภารกิจในการจัดการด้านความมั่นคงชายแดน ส่วนกิจการชายแดนและผู้อพยพ
แนวทางการพัฒนาระบบข้อมูลกรมอนามัย ปีงบประมาณ 2561
โครงการชลประทานมุกดาหาร สำนักงานชลประทานที่ 7
ลูกรัก เก่ง ฉลาด ด้วย 3 ดี
รายละเอียดการแข่งขันทักษะวิชาชีพครั้งที่ 31
แนวทางการดำเนินงานเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพองค์กรเกษตรกร ปี 2559
สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 3
ลงพื้นที่ตรวจราชการจังหวัดสุโขทัย รอบที่ ๒/๒๕๖๑
แผนการผลิตรายบุคคล Individual Farm Production Plan (IFPP)
Thailand 4.0 บทที่ 3 ซอฟต์แวร์ (Software).
สำนักงานสหกรณ์จังหวัดนครนายก
โครงการชลประทานมุกดาหาร Work Smart Award 2017 สำนักงานชลประทานที่ 7
สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองสมุทรสงคราม
เทคโนโลยีสารสนเทศ อาจารย์ศิริพร ศักดิ์บุญญารัตน์
มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพ การใช้จ่ายงบประมาณ ปี 2558
โครงการบัตร SMART CARD อสม.
การขยายพันธุ์พืช.
บทที่ 6 การเขียนผังงาน (Flowchart)
เรื่องเดิม 2. การประกาศเขตส่งเสริมเพื่อกิจการอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 14 พฤษภาคม 2562
Work Smart Award 2017 โครงการชลประทานมุกดาหาร
ประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่การยกเลิกสำเนาบัตรประชาชน และการบันทึกข้อมูลอัตโนมัติ ผ่าน Digital form โดยเครื่องอ่านบัตรประจำตัวประชาชน แบบอเนกประสงค์
กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด
แผนพัฒนาการเกษตรตำบลแสลงพันปีงบประมาณ ๒๕๖๐ พื้นที่เพาะปลูกพืช เศรษฐกิจ
วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน College of Logistics and Supply Chain
กลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์
การทำงานพัฒนาสังคม : ทิศทางการทำงานในกระแสการเปลี่ยนแปลง
แผนพัฒนาการเกษตรตำบลคำพราน ปีงบประมาณ 2560 พื้นที่เพาะปลูกพืช เศรษฐกิจ
แปลงใหญ่ทั่วไป (ข้าว) ตำบลสองห้อง อำเภอบ้านแพรก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
แปลงใหญ่ทั่วไป ข้าว ตำบลหันสัง อ.บางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
* 07/16/96 Next *.
ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่น้ำ เลิศล้ำกานต์กวี คนดีศรีอยุธยา
ระบบจับบัตรคิวออนไลน์ Smart Hospital 4.0 โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา มาตรา ๒๐๙-๒๘๗/๒, ๓๖๗-๓๙๘ ครั้งที่ ๑๐-๑๑ วันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๖๑ ดร.ศุภกิจ แย้มประชา

ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร มาตรา ๒๖๗ ผู้ใดแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารมหาชนหรือเอกสารราชการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

องค์ประกอบภายนอกคือ (๑) ผู้ใด (๒) แจ้งให้พนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารมหาชน หรือเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน (๓) โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน องค์ประกอบภายใน เจตนา

ข้อพิจารณา ๑) ต้องเป็นการแจ้งแก่เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ ๒) เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จะจดข้อความเองหรือใช้คนอื่นจดข้อความแทนก็ได้ ๓) เอกสารที่แจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความเท็จลงนั้นต้องเป็นเอกสารมหาชนหรือเอกสารราชการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน ๔) ต้องกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ๕) ต้องกระทำโดยมีเจตนา

๑)ต้องเป็นการแจ้งแก่เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ คำว่า เจ้าพนักงาน หมายความถึง บุคคลผู้ปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมาย รวมทั้งกรณีมีกฎหมายบัญญัติให้เป็นเจ้าหนักงาน เช่น พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ กำหนดให้เจ้าอาวาสเป็นเจ้าพนักงาน ดังนั้น หากเจ้าอาวาสเรียกเอกเงินสินบนในการให้เช่าที่ดินของวัด เจ้าอาวาสก็มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานรับสินบนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา๑๔๙ ได้ (คำพิพากษาฎีกาที่๒๐๐๓-๒๐๐๕/๒๕๐๐) แต่เจ้าพนักงานตามมาตรานี้ต้องมีหน้าที่ในการรับแจ้งข้อความด้วย ผู้ใหญ่บ้านที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่จดบัญชีสัตว์พาหนะ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๐๕๐/๒๕๐๕) เจ้าพนักงานผู้รับผิดชอบจัดทำบัตรประจำตัวประชาชน (คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๐๔๘/๒๕๔๗)

พนักงานสอบสวน (คำพิพากษาฎีกาที่ ๙๕๐/๒๕๓๗) เจ้าพนักงานที่ดิน (คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๑๑๕/๒๕๔๗) ผู้ว่าราชการจังหวัดมีหน้าที่สอบสวนคุณสมบัติในการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๗๕๒/๒๕๑๙) นายอำเภอหรือปลัดอำเภอ ผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอหรือผู้รักษาการแทน เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนและปลัดอำเภอซึ่งทำการแทนนายอำเภอดังกล่าวนั้น เป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามที่ได้รับมอบหมายจากนายอำเภอ ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาถือได้ว่ามีฐานะเป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ด้วย (คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๑๐/๒๕๓๐)

นายทะเบียนสำนักทะเบียนเขตพระนครเป็นเจ้าพนักงานมีอำนาจหน้าที่จดทะเบียนสมรส (คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๐๕๒/๒๕๓๐) นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดสมุทรปราการ มีหน้าที่รับจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๔๓๐/๒๕๓๗)

ฎีกาที่น่าสนใจ คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๐๕๑/๒๕๐๕ จำเลยเป็นผู้ใหญ่บ้าน ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่จดบัญชีสัตว์พาหนะ ทำบัญชีลูกคอกสัตว์พาหนะเท็จตามคำขอร้องของลูกบ้าน แม้จะไม่ได้รับสินจ้างรางวัล แต่ทำให้ลูกบ้านได้รับประโยชน์นำไปใช้อ้างต่อตำรวจที่ยึดโคนั้น นับว่าเป็นการแสวงหาประโยชน์สำหรับผู้อื่นแล้วจึงถือได้ว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่ทุจริต มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา๑๕๗,๑๖๒(๑) ลูกบ้านต้องการหลักฐานไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ จึงขอให้ผู้ใหญ่บ้านจดข้อความอันเป็นเท็จลงไปในบัญชีสัตว์พาหนะนั้น ย่อมมีความผิดฐานแจ้งเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๖๗ แต่ไม่ผิดฐานสนับสนุนในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ เพราะการทุจริตต่อหน้าที่เป็นผิดเฉพาะของเจ้าพนักงาน การแจ้งเท็จหาได้เป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการทุจริตต่อหน้าที่ขึ้นอีกชั้นหนึ่งไม่

ข้อสังเกต ๑. จำเลยผู้ใหญ่บ้านผู้จดข้อความเท็จตามคำขอร้องของราษฎรลูกบ้านผู้แจ้งโดยรู้ว่าเป็นเท็จมีความผิดตามมาตรา ๑๕๗,๑๖๒(๑) ๒. ราษฎรลูกบ้านผู้แจ้งให้ผู้ใหญ่บ้านจดข้อความอันเป็นเท็จลงในบัญชีสัตว์พาหนะผิดตามมาตรา ๒๖๗ แต่ไม่ผิดฐานสนับสนุนเจ้าพนักงานในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ (มาตรา ๑๖๒ (๑), ๖๘) โดยศาลฎีกาให้เหตุผลว่า เพราะการทุจริตต่อหน้าที่เป็นความผิดเฉพาะของเจ้าพนักงาน การแจ้งเท็จหาได้เป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการทุจริตต่อหน้าที่ขึ้นอีกชั้นหนึ่งไม่

ฎีกาที่น่าสนใจ คำพิพากษาฎีกาที่ ๙๕๐/๒๕๓๗ การที่จำเลยไปแจ้งความต่อ ส. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานว่าน.ส.๓ ก. ของจำเลยและเก็บไว้ที่บ้านสูญหายไป ขอให้ ส.ลงบันทึกรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเพื่อขอคัดสำเนารายงานดังกล่าวไปขอออก น.ส.๓ ก. ส. หลงเชื่อจึงสั่งการให้ ม. เขียนสมุดรายงานประจำวันบันทึกข้อความตามที่จำเลยแจ้ง ทั้ง ๆ ที่จำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าข้อความที่แจ้งเป็นเท็จ เป็นความผิดฐานแจ้งให้พนักงานสอบสวนซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความเป็นเท็จลงในเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน จำเลยนำสำเนาน.ส.๓ ก มาแก้ไขโดยการเพิ่มเติม ตัดทอนข้อความและแก้รูปแผนที่ที่ดินให้ผิดไปจากความจริง แล้วจำเลยได้ถ่ายภาพสำเนา น.ส.๓ ก. ที่มีการแก้ไขแล้ว ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าใจว่าเอกสารต่าง ๆ ที่จำเลยทำขึ้นนั้น เป็นภาพถ่ายสำเนาน.ส.๓ ก. ที่เจ้าพนักงานได้รับรองในหน้าที่ จึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารราชการ ได้ความจากคำเบิกความของ ก. และ ณ. พยานโจทก์ว่าจำเลยนำเอกสารที่จำเลยทำปลอมขึ้นไปแสดงต่อบุคคลทั้งสองเพื่อให้ดำเนินการออกโฉนดที่ดินให้แก่จำเลย จึงเป็นความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอม

ฎีกาที่น่าสนใจ คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๕๐๒/๒๕๕๐ จำเลยเพียงแต่ลงชื่อรับรองตัวบุคคลโดยที่มิได้ร่วมกับพวกแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิด เป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด

ข้อสังเกต คดีนี้นายบุญเส็งกับชายคนหนึ่งร่วมกันแจ้งแต่นางคมคามเจ้าหน้าที่ปกครอง๔ สำนักงานทะเบียนอำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธรว่า ชายดังกล่าวซื่อนายนิคมเป็นบุตรของนายบุญเส็งขอทำบัตรประชาชนใหม่เนื่องจากบัตรเดิมสูญหาย นางคมคายจึงพากบุคคลทั้งสองไปพบนายธนาคมปลัดอำเภอเลิงนกทา เพื่อทำการสอบสวน นายธนาคม สอบสวนแล้วแจ้งให้นายบุญเส็งไปหาบุคคลมารับรองตัวชายดังกล่าว นายบุญเส็งจึงไปตามจำเลยมาลงชื่อรับรองในบันทึกคำให้การรับรองบุคคลด้านหลังคำขอมีบัตรใหม่ต่อมาความปรากฏว่านายนิคมถึงแก่ความตายไปแล้วก่อนเกิดเหตุ มีปัญหาว่าจำเลยร่วมกับพวกกระทำความผิดตามมาตรา ๑๗๗,๒๖๗ หรือไม่ ศาลฎีกาเห็นว่า จำเลยเพียงแต่ลงชื่อรับรองตัวบุคคลโดยที่มิได้ร่วมกับพวกแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ การกระทำของจำเลยจึงเป็นเพียงผู้สนับสนุนการกระทำความผิด เพราะเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๗๗,๒๖๗ ประกอบมาตรา ๘๖ แต่ถ้าไม่ใช่เรื่องแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้

ฎีกาที่น่าสนใจ คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๖๑/๒๕๐๘ การเบิกความเท็จในการพิจารณาคดีอาญา ไม่ใช่เรื่องแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความแต่เป็นเรื่องเบิกความซึ่งศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจจดข้อความตอนใดหรือไม่จดก็ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความการจดจึงเป็นเรื่องของศาล ไม่ใช่เรื่องของพยานที่จะแจ้งให้ศาลจดข้อความอันเป็นเท็จ ซึ่งเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๖๗

ฎีกาที่น่าสนใจ คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๔/๒๕๐๖ จำเลยเบิกความเท็จ และนำสืบแสดงหลักฐานเท็จต่อศาลในคดีแพ่ง ว่าก่อนตายผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ โดยจำเลยรู้ดีอยู่แล้วว่าผู้ตายได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้โจทก์และจำเลย ศาลหลงเชื่อจึงสั่งตั้งให้จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย แล้วจำเลยได้นำสำเนาคำสั่งศาลนั้นไปแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดิน เจ้าพนักงานที่ดินก็บันทึกข้อความคำสั่งศาลไว้ว่าเป็นมรดกไม่มีพินัยกรรมและโอนโฉนดใส่ชื่อจำเลยในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกดังนี้จะถือว่าจำเลยแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสาร ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๒๖๗ ไม่ได้

๒) เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จะจดข้อความเองหรือใช้คนอื่นจดข้อความแทนก็ได้ คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๙๑๘/๒๕๓๕ ห.เป็นนายทะเบียนมีหน้าที่รับแจ้งการย้ายและได้ลงชื่อเป็นผู้รับแจ้งข้อความตามที่ปรากฏในเอกสารใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ท.ร. ๑๗ ซึ่งเป็นข้อความเท็จตามที่จำเลยมาแจ้งแล้ว การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิด การที่ ห. จะใช้ให้บุคคลใดเป็นผู้เขียนหรือจดข้อความลงในใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ท.ร. ๑๗ แทน ห. หาใช่เป็นสาระสำคัญอันจะทำให้การกระทำของจำเลยขาดองค์ประกอบไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา ๒๖๗ แต่อย่างใดไม่

ข้อสังเกต ๑. คดีนี้จำเลยไปแจ้งความต่อนายเหรียญกำนันตำบลสระเยาว์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ให้จดข้อความลงในใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ท.ร. ๑๗ ว่า นางอุ่น เจ้าบ้านมอบให้จำเลยแจ้งย้าย ด.ช.บุญลอด และ ด.ช.ผางออกจากบ้านเลขที่๐๘๔ ไปอยู่บ้านเลขที่๖๗๖/๑๐๘ ความจริงแล้ว นางอุ่นเจ้าบ้านมิได้มอบหมายให้จำเลยกระทำการดังกล่าว นายเหรียญรับแจ้งไว้ โดยใช้ให้จำเลยจดข้อความอันเป็นเท็จดังกล่าวลงไปในใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ท.ร. ๑๗ โดยนายเหรียญลงชื่อในฐานะนายทะเบียนผู้รับแจ้งการย้าย ศาลฎีกาเห็นว่า เมื่อนายเหรียญเป็นนายทะเบียนมีหน้าที่รับแจ้งการย้ายและได้ลงชื่อเป็นผู้รับแจ้งข้อความตามที่ปรากฏในเอกสารใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ท.ร. ๑๗ ซึ่งเป็นข้อความเท็จตามที่จำเลยมาแจ้งแล้ว การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิด ส่วนการที่นายเหรียญจะให้บุคคลใดเป็นผู้เขียนหรือจดข้อความในใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ท.ร. ๑๗ แทนนายเหรียญหาใช่เป็นสาระสำคัญอันจะทำให้การกระทำของจำเลย ขาดองค์ประกอบไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา ๒๖๗ แต่อย่างใดไม่ ๒. การกระทำของจำเลยยังเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหายจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา ๑๓๗ ด้วย

๓.เอกสารที่แจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความเท็จลงนั้นต้องเป็นเอกสารมหาชนหรือเอกสารราชการ ๑. เอกสารมหาชนไม่มีบทนิยามในประมวลกฎหมายอาญา แต่ศาลฎีกาเคยวางหลักไว้ว่า ต้องเป็นเอกสารที่พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้จัดทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ประชาชน ให้ประชาชนตรวจดูและอ้างอิงเป็นพยานหลักฐานได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๕๙/๒๕๓๘) บันทึกข้อตกลงต่อท้ายทะเบียนหย่าซึ่งระบุว่าจำเลยที่ ๑ ในฐานะภริยายกที่พิพาทให้แก่ ม. ซึ่งเป็นสามีเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๕๓๒ และเป็นเอกสารที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้จัดทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ประชาชน ให้ประชาชนได้ตรวจดูและอ้างอิงเป็นพยานหลักฐานได้ จึงเป็นเอกสารมหาชน (คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๕๙/๒๕๓๘) ใบสำคัญการสมรส (คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๓๕/๒๕๓๘)

สูติบัตร (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๒๘/๒๕๓๐) สำเนาทะเบียนบ้านและทะเบียนนักเรียน (คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๕๖๗/๒๕๔๐) สำเนาโฉนดที่ดินซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินรับรองความถูกต้อง (คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๖๖๖-๓๖๗๐/๒๕๓๓) โฉนดที่ดิน (คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๒๘๑/๒๕๓๖) หนังสือรับรองซึ่งออกโดยนายทะเบียนสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท (คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๘๐๙/๒๕๓๖)

๒. เอกสารราชการ ดูประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑ (๘) และที่ได้อธิบายไว้ในมาตรา ๒๖๕ ๓. เอกสารดังกล่าวนี้ต้องมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน เช่น โฉนดที่ดิน ทะเบียนบ้าน ถ้าไม่เป็นเอกสารที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานตามความหมายของมาตรานี้ก็ไม่เป็นความผิด

ฎีกาที่น่าสนใจ คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๒๗๔/๒๕๑๓ การที่โจทก์หรือจำเลยในคดีแพ่งแถลงให้ศาลจดข้อความอันเป็นเท็จลงในสำนวนคดีแพ่งโดยมิได้มีวัตถุประสงค์จะใช้ข้อความนั้นเป็นพยานหลักฐาน ก็หาเป็นความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๖๗ ไม่ คดีนี้เป็นเรื่องที่จำเลยแถลงต่อศาลในการดำเนินคดีเพื่อให้ศาลจับกุมโจทก์ซึ่งเป็นบริวารจำเลยที่ ๔ มาปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลเท่านั้น ที่ศาลจดถ้อยคำแถลงไว้ในรายงานพิจารณานั้น หาใช่เป็นเอกสารที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานตามความหมายแห่งมาตรานี้ไม่เป็นแต่เพียงคำกล่าวอ้างซึ่งโจทก็มีสิทธิที่จะคัดค้านได้ การกระทำของจำเลยตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา ๒๖๗

๔. ต้องกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ข้อนี้เป็นพฤติการณ์ประกอบการกระทำ เพียงแต่น่าจะเกิดความเสียหายก็เป็นความผิดสำเร็จ แต่ถ้าไม่น่าจะเกิดความเสียหายก็ไม่เป็นความผิดเลย เพราะขาดองค์ประกอบความผิด แม้ขั้นพยายามก็ไม่ผิด

กรณีถือว่าน่าจะเกิดความเสียหาย คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๐๕๖/๒๕๑๔ การที่จำเลยระบุชื่อคนอื่นๆ ว่าเป็นทายาทต่อเจ้าพนักงานที่ดิน แต่ไม่ได้ระบุชื่อโจทก์ว่าเป็นทายาท ทั้งๆ ที่จำเลยทราบว่าโจทก์เป็นทายาทและจำเลยได้รับรองบัญชีเครือญาติซึ่งจำเลยได้แจ้งไว้ (โดยที่ไม่มีชื่อโจทก์เป็นทายาท) ทั้งแจ้งว่าเจ้ามรดกไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ซึ่งความจริงมีพินัยกรรมเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานที่ดินประกาศโฆษณาไปตามที่จำเลยแจ้งนั้น แล้วลงชื่อบุคคลที่จำเลยแจ้งเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินมรดก แม้ที่ดินดังกล่าวนั้นตามพินัยกรรมจะมิได้ตกแก่ทายาทอื่นๆ นอกจากผู้ที่จำเลยระบุชื่อก็ตาม แต่ก็ไม่ตรงกับความเป็นจริง ถือได้ว่าอยู่ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๖๗

คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๘๐๗/๒๕๓๑ บริษัทจำเลยที่๑ โดยจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ซึ่งเป็นกรรมการมอบอำนาจให้ ส, ไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ขออายัดที่ดินหลายโฉนดของโจทก์โดยอ้างว่าโจทก์เป็นลูกหนี้จำเลย ทั้งๆ ที่ศาลฎีกาพิพากษาแล้วว่าโจทก์มิได้เป็นลูกหนี้จำเลย จึงเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตเพื่อให้เจ้าพนักงานที่ดินผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความเท็จลงในเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน แม้ต่อมากรมที่ดินจะเห็นว่าจำเลยมิได้มีส่วนได้เสียจึงไม่รับอายัดก็เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์และประชาชนแล้ว จำเลยทั้งสามมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๓๗, ๒๖๗, ๘๓

กรณีไม่น่าจะเกิดความเสียหาย คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๖๙๖/๒๕๒๑ มารดาคลอดบุตรโดยมิได้สมรสกับบิดามารดาแจ้งต่อนายทะเบียนท้องถิ่นว่าเกิดเด็กหญิงรัตติยา ลิขิตสุวรรณกุล บิดาไปแจ้งต่อนายทะเบียนอีกเขตหนึ่งว่าเกิดเกิดเด็กหญิงรัตติยา แซ่อึ้ง ดังนี้ กลับเป็นคุณแก่มารดาและเด็ก ไม่ทำให้มารดาเสียหาย ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๖๗

คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๒๓๗/๒๕๔๔ ขณะที่จำเลยจดทะเบียนสมรสกับ ส คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๒๓๗/๒๕๔๔ ขณะที่จำเลยจดทะเบียนสมรสกับ ส. ในวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๓๑ จำเลยไม่มีคู่สมรสเพราะจำเลยจดทะเบียนหย่ากับ ค. แล้ว ตั้งแต่วันที่๔ กรกฎาคม ๒๕๑๕ จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขการสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๕๒ การที่จำเลยไม่มีคู่สมรสอยู่ในขณะที่จดทะเบียนสมรส แม้จำเลยจะแจ้งว่าจำเลยเคยสมรสแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสก็มีผลอย่างเดียวกันว่า จำเลยไม่มีคู่สมรสในขณะทีจำเลยจดทะเบียนสมรสกับ ส. นั้นเอง การที่นายทะเบียนจดทะเบียนสมรสให้จำเลยกับ ส. โดยเชื่อว่าจำเลยไม่เคยสมรสมาก่อนจึงไม่อาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหายและไม่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๓๗ และมาตรา ๒๖๗

๕) ต้องกระทำโดยมีเจตนา คือต้องรู้ว่าข้อความที่แจ้งให้จดนั้นเป็นเท็จ ถ้าไม่รู้ก็ขาดเจตนาไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้

ข้อสอบสมัยที่ ๖๘ ข้อ ๔ นายเก่งสมุห์บัญชีธนาคารเอบีซี จำกัด (มหาชน) ได้ลงลายมือชื่อของนายกล้าในใบรับฝากเงิน แล้วใช้ใบรับฝากเงินดังกล่าวนำเงินเข้าฝากในบัญชีของนายกล้าที่ธนาคารเอบีซี จำกัด (มหาชน) โดยนายกล้าไม่ได้รู้เห็นด้วย เป็นผลให้เงินในบัญชีของนายกล้าเพิ่มมากขึ้น หลังเลิกงานนายเก่งนำแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ปลอมไปปิดทับแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ที่แท้จริงที่ด้านหน้าและด้านท้ายรถยนต์ของตนซึ่งจอดอยู่บนถนนสาธารณะหน้าธนาคารดังกล่าว เพื่อใช้รถยนต์เดินทางไปต่างจังหวัด ป้องกันมิให้ผู้ที่พบเห็นทราบหมายเลขทะเบียนรถยนต์ที่แท้จริงหากเกิดอุบัติเหตุในระหว่างการเดินทาง แต่ร้อยตำรวจเอกโชคซึ่งออกตรวจท้องที่เห็นการกระทำของนายเก่งจึงเข้าจับกุม โดยนายเก่งยังไม่ได้ขับรถยนต์เคลื่อนที่ออกไป ให้วินิจฉัยว่า นายเก่งมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาฐานใดหรือไม่

ธงคำตอบ การที่นายเก่งปลอมใบรับฝากเงินอันเป็นเอกสารสิทธิ โดยนายเก่งลงลายมือชื่อปลอมลายมือชื่อของนายกล้า แล้วใช้เอกสารสิทธิดังกล่าวนำเงินเข้าฝากในบัญชีของนายกล้าที่ธนาคารเอบีซี จำกัด (มหาชน) เป็นผลให้เงินของนายกล้าเจ้าของบัญชีเพิ่มมากขึ้น แม้จะไม่มีความเสียหายต่อทรัพย์สิน แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงหลักฐานจำนวนเงินของเจ้าของบัญชีในระบบบัญชีของธนาคารดังกล่าวให้แตกต่างไปจากความเป็นจริง อันจะเป็นผลให้เจ้าของบัญชีและธนาคารดังกล่าวอาจเสียชื่อเสียงไม่ได้รับความเชื่อมั่นไว้วางใจในสังคมและในการประกอบกิจการธุรกิจ อันเป็นประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแล้ว นายเก่งจึงมีความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๖๕ และมาตรา ๒๖๘ วรรคแรก ประกอบมาตรา ๒๖๕ ให้ลงโทษฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมตามมาตรา ๒๖๘ วรรคแรก ประกอบมาตรา ๒๖๕ แต่กระทงเดียวตามมาตรา ๒๖๘ วรรคสอง (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ ๖๖๕๔/๒๕๕๐)

ส่วนการที่นายเก่งนำแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ปลอมไปปิดทับแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ที่แท้จริงที่ด้านหน้าและด้านท้ายรถยนต์ของตนเพื่อใช้รถยนต์เดินทางไปต่างจังหวัด ป้องกันมิให้ผู้ที่พบเห็นทราบหมายเลยทะเบียนรถยนต์ที่แท้จริงหากเกิดอุบัติเหตุในระหว่างการเดินทาง เป็นการใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ปลอมอย่างเป็นเอกสารราชการที่แท้จริงเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าเป็นรถยนต์ตามแผ่นป้ายทะเบียนที่มีการทำปลอมขึ้น ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน และที่เกิดเหตุซึ่งร้อยตำรวจเอกโชคพบการกระทำผิดขอนายเก่งเป็นสถานที่เปิดเผยในทางเดินสาธารณะ แม้นายเก่งยังไม่ได้ขับรถยนต์เคลื่อนที่ออกไปจากจุดเกิดเหตุที่มีการลงมือกระทำความผิด ก็เป็นความผิดสำเร็จฐานใช้เอกสารราชการปลอม นายเก่งจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๒๖๘ วรรคแรก ประกอบมาตรา ๒๖๕ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๕๔๔๖/๒๕๕๕)

ข้อสอบสมัยที่ ๖๙ ข้อ ๔ บริษัทรัตนา จำกัด มีนายณรงค์ นายชัย นายรุ่ง และนายเรือง เป็นผู้ถือหุ้น บริษัทรัตนา จำกัด โดยนายณรงค์ กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน มอบอำนาจให้นายพงศ์ ทนายความไปยื่นคำขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิย้ายที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ของบริษัทรัตนา จำกัด ต่อนายสุธี นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร โดยแนบเอกสารมีข้อความว่า นายณรงค์ได้บอกกล่าวนัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ ๒/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๕๙ โดยลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์และส่งมอบหนังสือนัดประชุมให้ผู้ถือหุ้นแล้ว มีกรรมการและผู้ถือหุ้นเข้าประชุม ๔ คน นับจำนวนได้ ๕๒๐,๐๐๐ หุ้น นายณรงค์เป็นประธานที่ประชุม บริษัทมีมติพิเศษในการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ ๒/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๕ เมษายนต์ ๒๕๕๙ ให้แก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิย้ายที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ของบริษัทเดิมซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงเทพ ไปอยู่ที่จังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นความเท็จ โดยนายพงศ์ไม่ทราบว่าเป็นความเท็จ และนายพงศ์ ทนายความได้ลงลายมือชื่อของนายณรงค์ รับรองสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของนายณรงค์ว่าถูกต้องแล้วนำไปยื่นต่อนายสุธี นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครดังกล่าวด้วย เป็นเหตุให้นายสุธีหลงเชื่อและรับดำเนินการจดเบียนให้ตามคำขอ ให้วินิจฉัยว่า นายณรงค์และนายพงศ์มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาฐานใดหรือไม่

ธงคำตอบ การที่นายณรงค์กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทรัตนา จำกัด มอบอำนาจให้นายพงศ์ทนายความไปยื่นคำขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิย้ายที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ของบริษัทรัตนา จำกัด ต่อนายสุธี นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร โดยแนบเอกสารมีข้อความว่า นายณรงค์ได้บอกกล่าวนัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ ๒/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๕๙ โดยลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์และส่งมอบหนังสือนัดประชุมให้ผู้ถือหุ้นแล้ว และที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ ๒/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๙ มีมติพิเศษให้แก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิย้ายที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ของบริษัทจากเดิมซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานครไปอยู่ที่จังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นความเท็จ การกระทำของนายณรงค์จึงเป็นความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานและแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนตาม ป.อ. มาตรา ๑๓๗ ประกอบมาตรา ๒๖๗ (เทียบฎีกาที่ ๙๕๕๖/๒๕๕๘)

แม้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนเป็นเอกสารราชการ แต่นายพงศ์เพียงปลอมลายมือชื่อของนายณรงค์ รับรองสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนที่แท้จริงของนายณรงค์ โดยไม่มีการเติมหรือตัดทอนข้อความหรือแก้ไขสำเนาบัตรประชำตัวประชาชนให้แตกต่างไปจากสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนแต่อย่างใด สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนยังเป็นเอกสารที่แท้จริง การที่นายพงศ์ปลอมลายมือชื่อนายณรงค์ลงในสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนจึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร ตาม ป.อ. ๒๖๔ วรรคแรก แต่ไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารราชการ ตาม ม.๒๖๕ การนำเอกสารดังกล่าวไปยื่นต่อนายสุธี จึงเป็นความผิดฐานใช้เอกสารปลอมตามมาตรา ๒๖๘ วรรคแรก ประกอบมาตรา ๒๖๔ วรรคแรก (เทียบฎีกาที่ ๑๒๑๓๗/๒๕๕๘)

ข้อสอบสมัยที่ ๗๐ ข้อ ๔ นายดำกับนางแดงจดทะเบียนสมรสกัน มีบุตรด้วยกัน ๑ คน ระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยา นายดำกับนางแดงซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๑ พร้อมสิ่งปลูกสร้างร่วมกันและได้จำนองไว้แก่ธนาคาร โดยต้องผ่อนชำระหนี้แก่ธนาคาร ต่อมานายดำกับนางแดงจดทะเบียนหย่าด้วยความยินยอม นายดำยินยอมให้นางแดงขายแล้วนำเงินส่วนที่เหลือจากการชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองไปซื้อหรือวางเงินดาวน์บ้านหลังใหม่ และเงินที่เหลือให้ฝากธนาคารเป็นทุนการศึกษาของบุตร ต่อมานางแดงนำแบบพิมพ์หนังสือมอบอำนาจที่นายดำลงลายมือชื่อโดยยังไม่ได้กรอกข้อความ ตั้งแต่ก่อนจดทะเบียนหย่ามากรอกข้อความว่า นายดำมอบอำนาจให้นางแดงไถ่ถอนจำนองและขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง หลังจากไถ่ถอนจำนอง นางแดงได้ขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง แต่ไม่นำเงินไปซื้อหรือวางเงินดาวน์บ้านหลังใหม่ ทั้งไม่นำเงินไปฝากธนาคารเพื่อเป็นทุนการศึกษาของบุตร ให้วินิจฉัยว่า นางแดงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาฐานใดหรือไม่

ธงคำตอบ นางแดงนำแบบพิมพ์หนังสือมอบอาจที่นายดำเพียงแต่ลงลายมือชื่อไว้ตั้งแต่ก่อนที่นายดำกับนางแดงจะหย่ากันไปกรอกข้อความว่า นายดำมอบอำนาจให้นางแดงไถ่ถอนจำนองและขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง แม้การกรอกข้อความดังกล่าวจะกระทำขึ้นภายหลังจากที่นายดำกับนางแดงทำบันทึกข้อตกลงในการหย่าแล้ว โดยไม่ได้รับความยินยอมจากนายดำ แต่กิจการตามที่ระบุไว้ในหนังสือมอบอำนาจก็ตรงตามที่นายดำกับนางแดงได้แสดงเจตนาไว้ ประกอบกับการที่นางแดงนำหนังสือมอบอำนาจไปใช้จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองและขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างก็ตรงตามที่นายดำกบนายแดงทำบันทึกข้อตกลงว่าให้นางแดงนำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไปขายได้ การที่นางแดงกรอกข้อความลงในแบบพิมพ์หนังสือมอบอำนาจที่นายดำลงลายมือขื่อไว้ จึงมิได้เป็นการกระทำเพื่อนำเอาหนังสือมอบอำนาจนั้นไปใช้ในกิจการอื่นนอกเหนือไปจากข้อตกลงในการหย่า อันอาจเกิดความเสียหายแก่นายดำหรือผู้หนึ่งผู้ใดหรือประชาชนแต่ประการใด ดังนั้น นางแดงจึงไม่มีความผิดฐานปลอมเอกสารและฐานใช้เอกสารปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา๒๖๔ วรรคสอง และมาตรา ๒๖๘ วรรคแรก

ส่วนการที่นางแดงขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไปแล้ว ไม่นำเงินที่เหลือจากการชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างหรือวางเงินดาวน์บ้านหลังใหม่ ทั้งไม่นำเงินที่เหลือไปฝากธนาคารเพื่อเป็นทุนการศึกษาของบุตรก็เป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่ง อันเป็นเรื่องที่นางแดงมีหน้าที่ต้องกระทำภายหลังจากการขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างได้ ไม่เกี่ยวกับการไถ่ถอนจำนองและขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยการใช้แบบพิมพ์หนังสือมอบอำนาจที่นายดำลงลายมือชื่อแล้วนางแดงนำไปกรอกข้อความแต่อย่างใด (เทียบฎีกาที่ ๒๓๑๗/๒๕๔๓)

ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร มาตรา ๒๖๘ ผู้ใดใช้หรืออ้างเอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตาม มาตรา ๒๖๔ มาตรา ๒๖๕ มาตรา ๒๖๖ หรือมาตรา ๒๖๗ ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆ  ถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคแรกเป็นผู้ปลอมเอกสารนั้น หรือเป็นผู้แจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความนั้นเองให้ลงโทษตามมาตรานี้แต่กระทงเดียว 

วรรคแรก องค์ประกอบภายนอก คือ (๑) ผู้ใด (๒) ใช้หรืออ้างเอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิด ตามมาตรา ๒๖๔ มาตรา ๒๖๕ มาตรา ๒๖๖ หรือมาตรา ๒๖๗ (๓) ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน องค์ประกอบภายใน เจตนา

ข้อพิจารณา ๒. การอ้างเอกสารปลอม ๑. การใช้ในมาตรานี้ หมายถึงการใช้อย่างเอกสาร ๒. การอ้างเอกสารปลอม ๓. ต้องเป็นการใช้หรืออ้างเอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตามมาตรา ๒๖๔ มาตรา ๒๖๕ มาตรา ๒๖๖ หรือมาตรา ๒๖๗ ๔. การใช้หรืออ้างเอกสารดังกล่าวต้องกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ๕. องค์ประกอบสุดท้ายคือเจตนา

๑. การใช้อย่างเอกสาร การใช้ในมาตรานี้ หมายถึงการใช้อย่างเอกสาร โดยอ้างหรือแสดงข้อความในเอกสารนั้น ไม่ใช่เอาเอกสารไปใช้อย่างอื่น เช่น ห่อผลไม้ ซึ่งไม่เกี่ยวกับการอ้างหรือแสดงข้อความในเอกสารนั้น เช่นนำพินัยกรรมปลอมไปแสดงต่อพนักงานที่ดินอำเภอเพื่อขอรับมรดก (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๔๐๗/๒๕๑๐)

ฎีกาที่น่าสนใจ คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๐๑๘/๒๕๔๒ ผู้ถือบัตรเครดิตของธนาคาร ก.ไม่เคยนำบัตรเครดิตของธนาคาร ก. ไปสั่งซื้ออาหารหรือใช้บริการของจำเลย และไม่เคยลงลายมือชื่อในใบบันทึกรายการขายสินค้าที่ร้านของจำเลย การที่จำเลยนำใบบันทึกรายกรขายสินค้าดังกล่าวที่เป็นเอกสิทธิปลอมไปใช้เบิกเงินจากธนาคาร ก. จนได้รับเงินจากธนาคาร ก. แล้ว จึงเป็นความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมและฉ้อโกงธนาคาร ก.

ฎีกาที่น่าสนใจ คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๔๒๒/๒๕๕๔ จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นพนักงานของโจทก์ร่วมทราบดีว่าใบรับรองเงินฝากเป็นเอกสารสิทธิปลอม ได้จัดส่งเอกสารสิทธิปลอมดังกล่าวไปต่างประเทศโดยผ่านแผนกไปรษณียภัณฑ์ในธุรกิจของโจทก์ร่วมด้วยการปิดผนึกซองเขียนชุดใบนำส่งเอกสารของธนาคารโจทก์ร่วมและใบนำส่งไปรษณีย์มอบให้กับพนักงานโจทก์ผู้มีหน้าที่จัดส่งเอกสารตามวิธีการจัดส่งเอกสารในธุรกิจโจทก์ร่วมครบถ้วนแล้วอันเป็นการลงมือใช้หรืออ้างเอกสารที่เกิดจากการกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิแม้เอกสารสิทธิปลอมจะปิดผนึกอยู่ในซองและพนักงานผู้จัดส่งเอกสารของโจทก์ร่วมตรวจเห็นพิรุธจนพบว่าเอกสารที่จัดส่งเป็นเอกสารสิทธิปลอมก่อนที่เอกสารจะส่งถึงผู้รับในต่างประเทศ ก็เป็นการใช้หรืออ้างเอกสารสิทธิปลอมเป็นความผิดสำเร็จโดยไม่ต้องรอผลของการใช้หรืออ้างว่าผู้รับหรือผู้ถูกอ้างจะได้รับเอกสารสิทธิปลอมที่จัดส่งไป เพราะเมื่อจำเลยที่ ๑ ได้ใช้หรืออ้างเอกสาร การกระทำของจำเลยที่ ๑ ก็ถือได้ว่ากระทำไปในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วม ผู้อื่นหรือประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๖๘ วรรคแรก ประกอบมาตรา ๒๖๕ แล้ว จำเลยที่ ๑ จึงมีความผิดฐานร่วมกันใช้เอกสารสิทธิปลอม

ฎีกาที่น่าสนใจ คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๕๔๔๖/๒๕๕๕ จำเลยที่ ๑ ได้นำแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ปลอมปิดทับแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ที่แท้จริงที่ด้านหน้าและด้านท้ายของรถเพื่อใช้รถยนต์เดินทางไปที่เมืองพัทยา ป้องกันมิให้ผู้ที่พบเห็นทราบหมายหมายเลขทะเบียนรถยนต์ที่แท้จริงหากเกิดอุบัติเหตุในระหว่างการเดินทาง จึงเป็นการใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ปลอมอย่างเป็นเอกสารราชการที่แท้จริงเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าเป็นรถยนต์ตามแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ที่มีการทำปลอมขึ้น และที่เกิดเหตุซึ่งเจ้าพนักงานตำรวจพบการกระทำความผิดของจำเลยที่ ๑ เป็นสถานที่เปิดเผยในทางเดินรถสาธารณะแม้จำเลยที่ ๑ ยังมิได้ใช้รถยนต์เดินทางเคลื่อนที่จากจุดเกิดเหตุที่มีการลงมือกระทำความผิดก็เป็นความผิดสำเร็จฐานใช้เอกสารราชการปลอม จำเลยที่ ๑ จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๖๘ วรรคสอง ประกอบมาตรา ๒๖๕

๒. การอ้างเอกสารปลอม ข้อนี้ ท่านศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ อธิบายว่า การอ้างตามมาตรานี้หมายถึงการอาศัยเอกสารนั้นแสดงข้อเท็จจริงบางประการ ไม่จำเป็นต้องอ้างเป็นพยานต่อศาล การอ้างต่างกับการใช้ในข้อที่ไม่จำต้องนำเอกสารนั้นออกแสดง การอ้างเอกสารต่อผู้ใดอาจทำโดยให้ผู้นั้นเรียกหรือตรวจดูเอกสารนั้นออกแสดง เช่นขอให้ศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเอกสารปลอมมาจากที่หนึ่งที่ใด

ฎีกาที่น่าสนใจ คำพิพากษาฎีกาที่ ๘๒๕/๒๕๐๖ จำเลยชำระหนี้ให้แก่เจ้าหน้าเพียง๑๐,๐๐๐ บาท แล้วจำเลยแก้ไขจำนวนเงินในใบรับเงินที่เจ้าหนี้เซ็นชื่อเป็นผู้รับเงิน โดยแก้ ๑๐,๐๐๐ บาท เป็น ๗๐,๐๐๐ บาทต่อมาจำเลยคัดสำเนาใบรับเงินที่ปลอมนั้นมาแสดงต่อศาลทำให้เจ้าหนี้ได้รับความเสียหาย เพราะถ้าศาลหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงแล้วเจ้าหนี้จะต้องขาดเงินที่ควรได้รับชำระหนี้ไป ๖๐,๐๐๐ บาท การปลอมของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา ๒๖๔ แล้ว และเอกสารนี้เป็นใบรับเงินชำระหนี้แสดงว่าสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ในจำนวนเงินนี้ระงับไปแล้ว จำเลยจึงมีความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิตามมาตรา๒๖๕ และการที่จำเลยคัดสำเนาเอกสารที่ปลอมแสดงต่อศาลเป็นการอ้างถึงเอกสารที่ปลอม จึงเป็นความผิดตามมาตรา ๒๖๘ ด้วย ต้องลงโทษจำเลยตามมาตรา ๒๖๘ ตามอัตราโทษในมาตรา ๒๖๕

ฎีกาที่น่าสนใจ คำพิพากษาฎีกาที่ ๙๐๐๙/๒๕๕๓ จำเลยรับราชการอยู่ที่แผนกทะเบียนยานพาหนะมีหน้าที่รับค่าภาษีและต่ออายุทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ประจำปีไม่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการรับทำใบอนุญาตขับรถ จำเลยเป็นผู้ปลอมใบอนุญาตขับรถอันเป็นเอกสารราชการ การที่จำเลยนำใบอนุญาตขับรถปลอมไปใส่ไว้ในตะกร้าวางไว้บนเคาน์เตอร์หน้าที่ทำการแผนกทะเบียนยานพาหนะ โดยเจ้าของใบอนุญาตขับรถจะไปตรวจดูที่ตะกร้าดังกล่าวหากเห็นใบอนุญาตขับรถของตนก็สามารถหยิบเอาไปได้หรือผู้ใดจะไปรับแทนก็ได้ไม่มีการทำหลักฐานการรับไว้ จำเลยยังมิได้อ้างและใช้เอกสารดังกล่าวแก่ผู้ใด จำเลยไม่มีความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอม

๓. ต้องเป็นการใช้หรืออ้างเอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตามมาตรา ๒๖๔ มาตรา ๒๖๕ มาตรา ๒๖๖ หรือมาตรา ๒๖๗ ต้องเป็นการใช้หรืออ้างเอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตามมาตรา ๒๖๔ มาตรา ๒๖๕ มาตรา ๒๖๖ หรือมาตรา ๒๖๗ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๒๔๖/๒๕๔๘) ไม่ว่าจำเลยจะเป็นผู้ปลอมเอกสารนั้นหรือไม่ก็ตาม

ข้อสังเกต ถ้าเอกสารไม่ได้เกิดจากการกระทำความผิดตามมาตรา ๒๖๔ มาตรา ๒๖๕ มาตรา ๒๖๖ หรือมาตรา ๒๖๗ แม้จะใช้หรืออ้างก็ไม่ผิดมาตรานี้ เช่น เมื่อเช็คพิพาทไม่ใช่เอกสารปลอม การที่จำเลยนำไปเบิกเงินจากธนาคารจึงไม่เป็นความผิดฐานใช้เอกสารปลอม (คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๘๗๐/๒๕๒๖) จำเลยเอาป้ายทะเบียนรถยนต์คันหนึ่งมาติดใช้กับรถยนต์อีกคันหนึ่ง เมื่อป้ายทะเบียนรถยนต์ดังกล่าวเป็นเอกสารแท้จริงที่ราชการทำขึ้น ไม่ใช่เอกสารปลอม จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานปลอมเอกสารราชการ และการที่จำเลยนำป้ายทะเบียนนั้นมาใช้ก็ไม่ผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอม (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๑๔๑/๒๕๒๓)

๔. น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน การใช้หรืออ้างเอกสารดังกล่าวต้องกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ข้อนี้เป็นพฤติการณ์ประกอบการกระทำทำนองเดียวกับในมาตรา ๒๖๔

ฎีกาที่น่าสนใจ คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๖๕๔/๒๕๐๓ (ประชุมใหญ่) จำเลยนำประกาศนียบัตรปลอมของกลางออกแสดงต่อสายตาของตำรวจดูเป็นตัวอย่างเพื่อให้ผู้ติดต่อขอซื้อเชื่อถือจะได้ตกลงซื้อ เช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นการนำเอกสารปลอมมาใช้ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นและประชาชนแล้ว จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๒๖๘ คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๔๐๗/๒๕๑๐ นำพินัยกรรมปลอมไปแสดงต่อพนักงานที่ดินอำเภอเพื่อขอรับมรดกและอำเภอได้ประกาศการขอรับมรดกแล้ว แม้ต่อมาจะได้ขอถอนคำขอรับมรดกนั้นเสีย การนำพินัยกรรมปลอมไปแสดงเช่นนั้นก็เป็นการกระทำอันเป็นเหตุที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นแล้ว จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๖๘

๕.เจตนา องค์ประกอบสุดท้ายคือเจตนา ต้องรู้ว่าเป็นเอกสารปลอมตามมาตรา ๒๖๔, ๒๖๕, ๒๖๖ หรือเอกสารเท็จตามมาตรา ๒๖๗ ด้วยจึงจะมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอม คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๔๖๔/๒๕๔๑ ผู้กระทำจะมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมต่อเมื่อได้รู้ข้อเท็จจริงว่าเอกสารนั้นปลอม เมื่อปรากฏว่าจำเลยมิได้รู้ว่าเอกสารดังกล่าวปลอม การที่จำเลยใช้เอกสารนั้นย่อมขาดเจตนาในการกระทำผิด จึงไม่เป็นความผิดฐานใช้เอกสารปลอม คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๑๖๐/๒๕๔๐ มีคนร้ายลักเอารถยนต์คันของกลางของผู้เสียหายไป ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจยึดรถยนต์ดังกล่าวได้จากจำเลย รถที่ยึดได้มีการติดแผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีประจำปี และแผ่นป้ายทะเบียนรถซึ่งเป็นของปลอม รถยนต์ที่จำเลยขับได้ติดเอกสารปลอมทั้งหมดไว้ที่รถในลักษณะเปิดเผยเพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจหรือผู้อื่นที่พบเห็นเข้าใจว่าเอกสารปลอมเหล่านั้นเป็นเอกสารที่แท้จริงและเข้าใจว่ารถยนต์ที่จำเลยขับเป็นรถยนต์ที่จำเลยมีไว้ในครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยจำเลยก็รู้อยู่แล้วว่าเป็นรถที่ถูกคนร้ายลักมาและจำเลยจะนำรถยนต์ของกลางไปขาย ถือได้ว่าเป็นการใช้เอกสารปลอมโดยเจตนา จำเลยจึงมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม

มาตรา ๒๖๘ วรรคสอง ถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคแรกเป็นผู้ปลอมเอกสารนั้น หรือเป็นผู้แจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความนั้นเอง ให้ลงโทษตามมาตรานี้แต่กระทงเดียว

ข้อพิจารณา ๑. บทบัญญัติมาตรา ๒๖๘ วรรคสอง ที่ว่า ถ้าผู้กระทำความผิดฐานใช้หรืออ้างเอกสารปลอม เป็นผู้ปลอมเอกสารนั้น ให้ลงโทษตามมาตรนี้แต่กระทงเดียวนั้นหมายความว่า ความผิดฐานปลอมเอกสารแต่ละกระทง ถ้าผู้ใช้เอกสารปลอมเป็นผู้ปลอมเอกสารนั้น ก็ให้ลงโทษฐานเป็นผู้ใช้เพียงกระทงเดียวเฉพาะแต่ละกระทงที่ปลอม คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๙๒๘/๒๕๒๙) คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๖๔๒/๒๕๔๑ จำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารแผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภายจากรถเอง และใช้เอกสารปลอมนี้ติดบริเวณหน้ารถยนต์ของจำเลย เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารตาม ป.อ. มาตรา ๒๖๔ วรรคแรก และฐานใช้เอกสารปลอมตามมาตรา ๒๖๘ วรรคแรก ประกอบมาตรา ๒๖๔ วรรคแรก การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดรวม ๒ กระทง แต่มาตรา ๒๖๘ วรรคสอง บัญญัติว่า ถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคแรกเป็นผู้ปลอมเอกสารนั้นเองให้ลงโทษตามมาตรานี้แต่กระทงเดียว จึงต้องลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมแต่กระทงเดียวตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว

ข้อพิจารณา ๒. การปรับบทกฎหมายกรณีตามมาตรา ๒๖๘ วรรคสอง เช่น จำเลยกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอม ศาลจะพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๖๕,๒๖๘ วรรคแรก ให้ลงโทษตามมาตรา ๒๖๘ วรรคแรก ประกอบมาตรา ๒๖๕ ตามมาตรา ๒๖๘ วรรคสอง (คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๒๖๒/๒๕๓๗) ส่วนความผิดฐานใช้เอกสารปลอมตามมาตรา ๒๖๘ วรรคแรก นั้น ตามแนวคำพิพากษาฎีกาจะต้องระบุถึงมาตราที่เกี่ยวข้องด้วยว่าเอกสารที่ใช้หรืออ้างนั้นเป็นเอกสารปลอมประเภทใด เช่น เอกสารที่จำเลยนำมาใช้เป็นเอกสารสิทธิปลอม ศาลจะพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๖๘ วรรคแรกประกอบมาตรา ๒๖๕

ข้อพิจารณา ๓. การใช้และอ้างเอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตามประมวลรัษฎากรไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา ๒๖๘ คำพิพากษาฎีกาที่ ๙๖๙๗/๒๕๔๔ แม้ ป.อ. มาตรา ๒๖๘ บัญญัติว่า ผู้ใดใช้เอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตามมาตรา ๒๖๕ และเป็นผู้ปลอมเอกสารนั้นให้ลงโทษตามมาตรา ๒๖๘ แต่เพียงกระทงเดียวก็ตาม แต่จำเลยใช้เอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตาม ป.รัษฎากร มาตรา ๘๖/๑๓, ๙๐/๔(๓) ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษต่างหากจาก ป.อ. จึงไม่เข้าข้อยกเว้นให้รับโทษฐานใช้เอกสารปลอมกระทงเดียวตาม ป.อ.มาตรา ๒๖๘ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

เอกสารเท็จ มาตรา ๒๖๙ ผู้ใดในการประกอบการงานในวิชาแพทย์ กฎหมาย บัญชีหรือวิชาชีพอื่นใด ทำคำรับรองเป็นเอกสารอันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ใดโดยทุจริตใช้หรืออ้างคำรับรองอันเกิดจากการกระทำความผิดตามวรรคแรก ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน

ข้อพิจารณา ๑. เอกสารเท็จมีบทบัญญัติกำหนดความผิดไว้บางมาตราเท่านั้น เช่นมาตรา ๑๖๒, ๒๖๗ และมาตรา ๒๖๙ ๒. ในวรรคแรกกฎหมายเอาผิดเฉพาะแก่ผู้ประกอบวิชาชีพที่ต้องใช้ความรู้พิเศษ เช่น แพทย์ กฎหมาย บัญชี หรือวิชาชีพอื่นใด ที่ทำคำรับรองเอกสารอันเป็นเท็จ เช่น แพทย์ออกหนังสือตรวจโรคเป็นเท็จ คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๖๓๕/๒๕๔๖ ผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา๒๖๙ จะต้องเป็นผู้ประกอบการงานวิชาชีพดังที่ระบุไว้เท่านั้น เมื่อจำเลยที่ ๑ เป็นเจ้าของที่ดินและเป็นผู้กู้เงินจากธนาคาร ไม่ได้ประกอบวิชาชีพการประเมินราคาทรัพย์และไม่ได้ทำคำรับรองในแบบสรุปผลการประเมินราคาหลักประกันที่ดินอาคาร ส่วนจำเลยที่ ๓ เป็นเพียงผู้ทำรายงานการตรวจสอบที่ดินเสนอต่อ ผ.โดย ผ. เป็นผู้ลงลายมือชื่อรับรองในฐานะผู้ประเมิน จำเลยที่ ๓ ไม่ได้เป็นผู้ทำคำรับรองในเอกสารดังกล่าวอันเป็นเท็จ จำเลยที่ ๑ และที่ ๓ จึงไม่มีความผิดตามมาตรา ๒๖๙

ข้อพิจารณา ๓.ผู้กระทำไม่จำต้องรู้ว่าการทำคำรับรองอันเป็นเท็จนั้นน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนหรือไม่ เพียงแต่มีเจตนาคือรู้ว่าข้อความที่ตนทำคำรับรองนั้นเป็นเท็จ ผู้กระทำก็มีความผิดแล้ว ๔. ส่วนวรรคสอง กฎหมายเอาผิดแก่ผู้ที่ใช้หรืออ้างคำรับรองอันเกิดจากการกระทำความผิดตามวรรคแรก

ความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ปัจจุบันการใช้เอกสาร วัตถุอื่นใดหรือข้อมูล ที่จัดทำขึ้นในลักษณะบัตรอิเล็กทรอนิกส์ เช่น บัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตรสมาร์ทการ์ด หรือบัตรอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน เพื่อใช้ประโยชน์ในการชำระค่าสินค้า ค่าบริการ หรือหนี้อื่น หรือเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใดกำลังมีปริมาณเพิ่มขึ้นและนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ผลที่ตามมาในขณะนี้ปรากฏว่าได้มีการกระทำความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์มีการปลอมแปลงและลักลอบนำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นมาใช้ สิ่งเหลานี้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและผู้บริโภคในวงกว้าง จึงจำเป็นที่รัฐต้องออกพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๑๗) พ.ศ. ๒๕๔๗ เพื่อกำหนดความผิดอาญาสำหรับการกระทำความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์

โดยเพิ่มบทนิยามของบัตรอิเล็กทรอนิกส์ในประมวลกฎหมายอาญาเป็นมาตรา ๑ (๑๔) เพิ่มการบังคับใช้ความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์นี้แก่การกระทำความผิดนอกราชอาณาจักรเป็นอนุ (๒/๑) ของมาตรา ๘ กล่าวคือ กำหนดให้ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๖๙/๑ ถึงมาตรา ๒๖๙/๗ ซึ่งได้กระทำนอกราชอาณาจักร และผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้น หรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าวและรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหาย และผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักรกับเพิ่มภาคความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์ในความผิดเกี่ยวกับการปลอมและการแปลงของลักษณะ ๗ เป็นหมวด ๔ ความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์ มาตรา ๒๖๙/๑ ถึงมาตรา ๒๖๙/๗ โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๔๗ เป็นต้นไป

ความหมาย บัตรอิเล็กทรอนิกส์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑ (๑๔) หมายความว่า (ก) เอกสารหรือวัตถุอื่นใดไม่ว่าจะมีรูปลักษณะใดที่ผู้ออกให้ได้ออกให้แก่ผู้มีสิทธิใช้ซึ่งจะระบุชื่อหรือไม่ก็ตาม โดยบันทึกข้อมูลหรือรหัสไว้ด้วยการประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอนไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือวิธีอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน ซึ่งรวมถึงการประยุกต์ใช้วิธีการทางแสงหรือวิธีการทางแม่เหล็กให้ปรากฏความหมายด้วยตัวอักษร ตัวเลขรหัส หมายเลขบัตร หรือสัญลักษณ์อื่นใด ทั้งที่สามารถมองเห็นและมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า

(ข) ข้อมูล รหัส หมายเลขบัญชี หมายเลขชุดทางอิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องมือทางตัวเลขใดๆ ที่ผู้ออกได้ออกให้แก่ผู้มีสิทธิใช้ โดยมิได้มีการออกเอกสารหรือวัตถุอื่นใดให้ แต่มีวิธีการใช้ในทำนองเดียวกับ (ก) หรือ (ค) สิ่งอื่นใดที่ใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของ

ข้อพิจารณา กฎหมายใหม่บัญญัติบทนิยามคำว่า บัตรอิเล็กทรอนิกส์ไว้อย่างกว้างๆ เพื่อให้ครอบคลุมและรองรับกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ในอนาคต โดยมีความหมาย ๓ ประการ คือ (ก) เอกสารหรือวัตถุอื่นใดไม่ว่าจะมีรูปลักษณะใดที่ผู้ออกได้ออกให้แก่ผู้มีสิทธิใช้ซึ่งจะระบุชื่อหรือไม่ก็ตาม โดยบันทึกข้อมูลหรือรหัสไว้ด้วยการประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอนไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือวิธีอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน ซึ่งรวมถึงการประยุกต์ใช้วิธีการทางแสงหรือวิธีการทางแม่เหล็กให้ปรากฏความหมายด้วยตัวอักษร ตัวเลข รหัส หมายเลขบัตร หรือสัญลักษณ์อื่นใด ทั้งที่สามารถมองเห็นและมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า

ข้อสังเกต ๑. เอกสาร ในที่นี้หมายความถึง เอกสารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑ (๗) ที่มีการบันทึกข้อมูลหรือรหัสไว้ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ มักจะอยู่ในรูปบัตรแบบแถบแม่เหล็ก (magnetic card) ซึ่งบันทึกข้อมูลสั้นๆ เช่น บัตรเครดิต บัตรเอทีเอ็ม บัตรเปิดประตูห้องในโรงแรม หรือบัตรสมาร์ทการ์ด (smart card) ซึ่งใช้แถบแม่เหล็กที่ฝังซิบ (chip) หรือหน่วยบันทึกความจำได้มากกว่า เช่น บัตรประจำตัวประชาชน เป็นต้น ๒. วัตถุอื่นใด หมายถึง วัตถุอื่นซึ่งไม่เข้าข่ายเอกสารตามมาตรา ๑ (๗) ที่บันทึกข้อมูลหรือรหัสไว้ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น เหรียญโดยสารของรถไฟฟ้ามหานคร ลักษณะคล้ายเหรียญ ๑๐ บาท ทำด้วยพลาสติกภายในฝังไมโครชิป

ข้อสังเกต ข. ข้อมูล รหัส หมายเลขบัญชี หมายเลขชุดทางอิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องมือทางตัวเลขใดๆ ที่ผู้ออกได้ออกให้แก่ผู้มีสิทธิใช้ โดยมิได้มีการออกเอกสารหรือวัตถุอื่นใดให้ แต่มีวิธีการใช้ในทำนองเดียวกับ (ก) ข้อมูล รหัส หมายเลขบัญชี หมายเลขชุด ฯลฯ ที่ผู้ออกได้ออกให้แก่ผู้มีสิทธิใช้นั้น ต้องมิได้มีการออกเอกสารหรือวัตถุอื่นใดให้ แต่มีวิธีใช้ในทำนองเดียวกับข้อ (ก) เช่นการใช้จ่ายผ่านทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งธนาคารออกหมายเลขบัญชีโดยไม่ออกบัตรให้แก่ผู้มีสิทธิใช้มีลักษณะคล้ายกับหมายเลขบัตรเครดิตที่ไม่มีการออกบัตรเครดิตให้ หรือการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งธนาคารจะให้หมายเลขบัญชีแก่บริษัทห้างร้านที่ต้องการทำธุรกรรมผ่านทางธนาคาร หรือรหัสเลขหมายของโทรศัพท์ เหล่านี้เป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรา ๑ (๑๔) (ข)

ข้อพิจารณา ค. สิ่งอื่นใดที่ใช้ประกอบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของ ข้อนี้ท่านอาจารย์เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์ ยกตัวอย่างในตำรากฎหมายอาญาภาคความผิดเล่ม ๒ ว่า ลายนิ้วมือ ลายมือ ลายเท้า อวัยวะในนัยน์ตา คลื่นเสียง สิ่งเหล่านี้ก็เป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ใช้นิ้วมือหรือฝ่ามือไปสัมผัสกับเครื่องประตูห้องก็จะเปิดออกเพราะแสดงว่าบุคคลนั้นเป็นบุคคลจริงที่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปในห้องนั้น เป็นต้น

เกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์เคยมีข้อสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา ถามว่า (๑) นายกนกพ่วงสัญญาณโทรศัพท์จากตู้โทรศัพท์สาธารณะแห่งหนึ่งของบริษัทโทรศัพท์ไทย จำกัด ผู้เสียหาย ใช้พูดติดต่อไปหาเพื่อนที่ต่างจังหวัด คิดค่าโทรศัพท์เป็นเงิน ๙๙๙ บาท นายขจรนำเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ของตนไปแก้ไขปรับคลื่นสัญญาณและรหัสเลขหมายของโทรศัพท์ผู้อื่นมาใช้พูดติดต่อไปหาเพื่อนที่ต่างจังหวัดผ่านสถานีและชุมสายโทรศัพท์ระบบเซลลูลาร์ของบริษัทโทรศัพท์ไทย จำกัด ผู้เสียหายคิดเป็นเงิน ๙๙๙ บาท ให้วินิจฉัยว่า การกระทำของนายกนกและนายขจรเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาฐานใดหรือไม่

ธงคำตอบ (๑) สัญญาณโทรศัพท์เป็นกระแสไฟฟ้าที่แปลงมาจากเสียงพูดซึ่งเคลื่อนที่ไปตามสายลวดตัวนำจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง การที่นายกนกพ่วงสัญญาณโทรศัพท์จากตู้โทรศัพท์สาธารณะแห่งหนึ่งของบริษัทโทรศัพท์ไทย จำกัด ผู้เสียหายใช้พูดติดต่อไปหาเพื่อนที่ต่างจังหวัดเพื่อประโยชน์ของนายกนกโดยไม่ยอมเสียค่าโทรศัพท์อันเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยทุจริต นายกนกจึงมีความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๓๔ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๘๘๐/๒๕๔๒(ประชุมใหญ่), ๒๒๘๖/๒๕๔๕ และ ๖๓๘๔/๒๕๔๗)

ธงคำตอบ (๒)การกระทำของนายขจรที่นำเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งปรับคลื่นสัญญาณและรหัสเลขหมายของโทรศัพท์ผู้อื่นมาใช้พูดติดต่อไปหาเพื่อนที่ต่างจังหวัด ผ่านสถานีและชุมสายโทรศัพท์ระบบเซลลูลาร์ของบริษัทโทรศัพท์ไทย จำกัด ผู้เสียหาย เป็นเพียงการแย่งใช้คลื่นสัญญาณโทรศัพท์โดยไม่มีสิทธิ มิใช่เป็นการเอาไปซึ่งทรัพย์สินของผู้อื่นโดยทุจริต การกระทำของนายขจรจึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๓๔ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๓๕๔/๒๕๓๙ และ ๘๑๗๗/๒๕๔๓) แต่รหัสเลขหมายของโทรศัพท์เป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑ (๑๔) (ข) ดังนั้นการที่นายขจรนำเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ของตนไปแก้ไขปรับคลื่นสัญญาณและรหัสหมายเลขของโทรศัพท์ผู้อื่นมาใช้พูดติดต่อ จึงเป็นการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ในประการที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน นายขจรจึงมีความผิดฐานใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นโดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๒๖๙/๕

ความผิดเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์ มาตรา ๒๖๙/๑ ผู้ใดทำบัตรอิเล็กทรอนิกส์ปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด เติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใดๆ ในบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่แท้จริง โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ถ้าได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่แท้จริง หรือเพื่อให้ประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใด ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอมบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปีและปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท

องค์ประกอบภายนอก คือ (๑) ผู้ใด (๒) (ก) ทำบัตรอิเล็กทรอนิกส์ปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด (ข) เติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใดๆ ในบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่แท้จริง (๓) โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน

องค์ประกอบภายใน (๑) เจตนา (๒) เจตนาพิเศษ ถ้าได้กระทำ (ก) เพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่แท้จริงหรือ (ข) เพื่อใช้ประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใด

ข้อพิจารณา ๑) บทบัญญัติเรื่องปลอมบัตรอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรา๒๖๘/๑ นี้ มีองค์ประกอบคล้ายกับเรื่องปลอมเอกสารตามมาตรา๒๖๔ การปลอมบัตรอิเล็กทรอนิกส์จึงอาจเป็นการปลอมเอกสารด้วยหรือไม่ก็ได้ ๒) องค์ประกอบความผิดในส่วนของการกระทำมี ๒ กรณี ๓) ต้องกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ๔) ต้องกระทำโดยมีเจตนาและเจตนาพิเศษเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่แท้จริงหรือเพื่อใช้ประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใดด้วย

องค์ประกอบความผิดในส่วนของการกระทำ (ก) ทำบัตรอิเล็กทรอนิกส์ปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด ๑. การปลอมบัตรอิเล็กทรอนิกส์อาจทำเลียนแบบบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่แท้จริง โดยมีขนาด รูปร่างและข้อความเหมือนกับบัตรที่ผู้ออกได้ออกให้แก่ผู้มีสิทธิใช้อันเป็นการทำบัตรอิเล็กทรอนิกส์ปลอมขึ้นทั้งฉบับ หรืออาจปลอมโดยนำข้อมูลที่แท้จริงของบัตรเครดิตมาพิมพ์ข้อมูลลงบนแถบแม่เหล็กบันทึกข้อมูลของบัตรโดยเครื่องมือที่เรียกว่า Embossing machine ประกอบด้วย หมายเลขบัญชีของผู้ถือบัตร หมายเลขบัตร วันหมดอายุ ชุดตัวเลขที่ธนาคารซึ่งออกบัตรเครดิตได้เข้ารหัสไว้ และผู้กระทำผิดจะลงลายมือชื่อในบัตรเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าเป็นบัตรเครดิตที่แท้จริงที่ธนาคารออกให้ แล้วนำไปใช้ซื้อสินค้าและบริการ เป็นต้น

การปลอมบัตรเครดิตเป็นการปลอมเอกสารตามประมวลอาญามาตรา ๒๖๔ วรรคแรก และเมื่อบัตรเครดิตนั้นเป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อสิทธิจึงเป็นเอกสารสิทธิตามมาตรา ๑(๙) จึงมีความผิดตามมาตรา ๒๖๕ ดังที่ศาลฎีกาวินิจฉัยไว้ในคำพิพากษาฎีกาที่ ๕๕๙๘/๒๕๔๐ ว่า จำเลยปลอมบัตรเครดิตธนาคารแล้วใช้บัตรเครดิตดังกล่าวรูปกับเครื่องรูดบัตรเครดิตซึ่งธนาคารให้ไว้แก่จำเลย และปลอมสลิปของบุคคลหลายคนเพื่อแสดงดว่าผู้เป็นเจ้าของบัตรได้ซื้อหรือใช้บริการด้วยบัตรเครดิตเป็นการปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอม นอกจากนี้การปลอมบัตรเครดิตยังเป็นการปลอมบัตรอิเล็กทรอนิกส์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๖๙/๑ ด้วย เพราะบัตรเครดิตเป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา๑ (๑๔) (ก) ๒. การปลอมบัตรอิเล็กทรอนิกส์ไม่จำเป็นต้องมีบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่แท้จริงอยู่ก่อน และไม่ต้องทำให้เหมือนจริงก็ได้ ทำนองเดียวกับการปลอมเอกสาร

(ข) เติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใดๆ ในบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่แท้จริง ข้อสังเกต ๑. ต้องเป็นการเติม ตัดทอนข้อความหรือแก้ไขด้วยประการใดๆ ในบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่แท้จริงเท่านั้น และ ๒. ต้องเป็นการทำโดยไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้

น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ข้อนี้เป็นพฤติการณ์ประกอบการกระทำ เนื่องจากเป็นองค์ประกอบภายนอกซึ่งมิใช่ข้อเท็จจริง ผู้กระทำจึงไม่จำต้องรู้ว่าการกระทำของตนนั้นน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนหรือไม่ ถ้าวิญญูชนเห็นว่าน่าจะเกิดความเสียหาย ผู้กระทำก็มีความผิดตามมาตรานี้ แต่ถ้าวิญญูชนเห็นว่าไม่น่าจะเกิดความเสียหายผู้กระทำก็ไม่มีความผิด เพราะขาดองค์ประกอบความผิด แม้ขั้นพยายามก็ไม่ผิด

มีเจตนาและเจตนาพิเศษ ต้องกระทำโดยมีเจตนาและเจตนาพิเศษเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่แท้จริงหรือเพื่อใช้ประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใดด้วย

มาตรา ๒๖๙/๒ ผู้ใดทำเครื่องมือหรือวัตถุสำหรับปลอมหรือแปลง หรือสำหรับให้ได้ข้อมูลในการปลอมหรือแปลงสิ่งใดๆ ซึ่งระบุไว้ใน มาตรา ๒๖๙/๑ หรือมีเครื่องมือหรือวัตถุเช่นว่านั้น เพื่อใช้หรือให้ได้ข้อมูลในการปลอมหรือแปลง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท

ข้อพิจารณา ๑. มาตรานี้ทำนองเดียวกับบทบัญญัติในมาตรา ๒๔๖ เรื่องทำเครื่องมือหรือวัตถุสำหรับการปลอมหรือแปลงเงินตราฯ และในมาตรา ๒๖๑ เรื่องทำเครื่องมือหรือวัตถุสำหรับปลอมหรือแปลงแสตมป์ฯ ซึ่งความผิดในส่วนของการกระทำตามมาตรานี้มี ๒ กรณีคือ ก. การทำเครื่องมือ หรือวัตถุสำหรับปลอมหรือแปลง หรือสำหรับให้ได้ข้อมูลในการปลอมหรือแปลงสิ่งใดๆ ซึ่งระบุไว้ในมาตรา ๒๖๙/๑ ข. การมีเครื่องมือ หรือวัตถุสำหรับการปลอมหรือแปลง หรือสำหรับให้ได้ข้อมูลในการปลอมหรือแปลงสิ่งใดๆ ซึ่งระบุไว้ในมาตรา ๒๖๙/๑ คำว่า เครื่องมือหรือวัตถุสำหรับปลอม หรือแปลงสิ่งใดๆ ซึ่งระบุไว้ในมาตรา ๒๖๙/๑ หมายถึงเครื่องมือสำหรับปลอมบัตรอิเล็กทรอนิกส์นั่นเอง

๒. การทำหรือมีเครื่องมือสำหรับให้ได้ข้อมูลในการปลอมหรือแปลง เช่น เครื่องเก็บข้อมูลในบัตรอิเล็กทรอนิกส์ หรือเครื่อง skimmer ใช้สำหรับดูดข้อมูลในบัตรอิเล็กทรอนิกส์ แล้วเก็บไว้ในเครื่องมือนี้ เพื่อใช้ในการปลอมบัตรอิเล็กทรอนิกส์ต่อไป การทำหรือมีเครื่องมือดังกล่าวถือว่าผิดมาตรานี้ ๓. ความผิดฐานทำเครื่องมือสำหรับปลอมหรือแปลง ผู้กระทำต้องมีเจตนาตามมาตรา ๕๙ คือ รู้ว่าเครื่องมือหรือวัตถุดังกล่าวสามารถปลอมหรือแปลงหรือให้ได้ข้อมูลในการปลอมหรือแปลงสิ่งใดๆ ซึ่งระบุไว้ในมาตรา ๒๖๙/๑ และผู้กระทำต้องการที่จะทำเครื่องมือหรือวัตถุดังกล่าว

ส่วนความผิดฐานมีเครื่องมือหรือวัตถุสำหรับปลอมหรือแปลง หรือสำหรับให้ได้ข้อมูลในการปลอมหรือแปลงสิ่งใดๆ ซึ่งระบุไว้ในมาตรา ๒๖๙/๑ นั้น ผู้กระทำต้องรู้ว่าเครื่องมือหรือวัตถุดังกล่าวสามารถปลอมหรือแปลงบัตรอิเล็กทรอนิกส์ได้ และต้องมีเจตนาพิเศษคือเพื่อใช้หรือให้ได้ข้อมูลในการปลอมหรือแปลงด้วย

มาตรา ๒๖๙/๓  ผู้ใดนำเข้าในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งสิ่งใดๆ ตามมาตรา ๒๖๙/๑  หรือมาตรา ๒๖๙/๒ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสองแสนบาท

ข้อพิจารณา ในส่วนของการกระทำคือ การนำเข้าในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งบัตรอิเล็กทรอนิกส์ปลอมหรือแปลงตามมาตรา ๒๖๙/๑ หรือเครื่องมือหรือวัตถุสำหรับปลอมหรือแปลง หรือสำหรับให้ได้ข้อมูลในการปลอมหรือแปลงตามมาตรา ๒๖๙/๒ และผู้กระทำต้องมีเจตนาที่จะนำสิ่งดังกล่าวเข้าในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรด้วยจึงจะเป็นความผิดตามมาตรานี้

มาตรา ๒๖๙/๔ ผู้ใดใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ซึ่งสิ่งใดๆ ตาม มาตรา ๒๖๙/๑ อันได้มาโดยรู้ว่าเป็นของที่ทำปลอมหรือแปลงขึ้น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ใดจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสิ่งใดๆ ที่ทำปลอมหรือแปลงขึ้นตาม มาตรา ๒๖๙/๑ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคแรกหรือวรรคสองเป็นผู้ปลอมซึ่งบัตรอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรา ๒๖๙/๑  ให้ลงโทษตามมาตรานี้แต่กระทงเดียว

ข้อพิจารณา วรรคแรก ๑. วรรคแรก เป็นเรื่องความผิดฐานใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ซึ่งบัตรอิเล็กทรอนิกส์ปลอม ตามมาตรา ๒๖๙/๑ ท่านอาจารย์เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์ เห็นว่า กรณีตามมาตรา ๒๖๘/๑ นั้น เฉพาะการปลอมเท่านั้น การแปลงก็คือการปลอมวิธีหนึ่งนั้นเอง ถ้อยคำในเรื่องแปลงจึงเป็นการบัญญัติเกินมา และการใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ซึ่งบัตรอิเล็กทรอนิกส์ปลอมตามวรรคแรกจะผิดก็ต่อเมื่อได้มาโดยรู้ว่าเป็นของปลอมเท่านั้น หากขณะได้มาไม่รู้แต่ต่อมารู้แล้วยังนำออกใช้หรือมีไว้ใช้ก็ไม่ผิดมาตรา ๒๖๙/๔ วรรคแรกนี้ จะถือว่าผิดมาตรา ๒๖๙/๕ ก็คงไม่ได้ เพราะมาตรา ๒๖๙/๕ เป็นเรื่องใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นโดยมิชอบซึ่งบัตรที่ใช้นั้นเป็นบัตรที่แท้จริงไม่ใช่เรื่องการใช้บัตรปลอม

ฎีกาที่น่าสนใจ คำพิพากษาฎีกาที่ ๙๒๗๖/๒๕๕๓ จำเลยรู้อยู่แล้วว่า บัตรเครดิตที่จำเลยใช้ซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นบัตรเครดิตปลอม เมื่อจำเลยนำบัตรเครดิตดังกล่าวไปใช้จึงเป็นความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอม ทั้งการที่จำเลยปกปิดชื่อจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งต่อพนักงานผู้ขายโดยจำเลยเซ็นชื่อที่ปรากฏในบัตรว่าเป็นชื่อจำเลยซึ่งไม่ใช่ความจริง เมื่อผู้ขายรู้ว่าบัตรเครดิตดังกล่าวเป็นบัตรเครดิตปลอม จึงไม่ส่งมอบโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้แก่จำเลย จำเลยย่อมมีความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมและพยายามฉ้อโกงด้วย

ข้อพิจารณา วรรคสอง ๒.วรรคสอง เป็นเรื่องความผิดฐานจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่าย ซึ่งบัตรอิเล็กทรอนิกส์ปลอม ตามมาตรา ๒๖๙/๑ ในข้อนี้ ผู้กระทำต้องรู้ว่าเป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกทำปลอมหรือแปลง และต้องการจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายบัตรอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว

ข้อพิจารณา วรรคสาม ๓. ส่วนวรรคสาม ทำนองเดียวกับบทบัญญัติในมาตรา ๒๖๘ วรรคสอง คือ ถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคแรก หรือวรรคสองเป็นผู้ปลอมบัตรอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรา ๒๖๙/๑ ให้ลงโทษตามมาตรานี้แต่กระทงเดียว

มาตรา ๒๖๙/๕ ผู้ใดใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ในประการที่น่า จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ องค์ประกอบภายนอก คือ (๑) ผู้ใด (๒) ใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นโดยมิชอบ (๓) ในประการที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน องค์ประกอบภายใน เจตนา

ข้อพิจารณา ๑. มาตรานี้เป็นกรณีที่ใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่แท้จริงของผู้อื่นโดยมิชอบ กล่าวคือต้องเป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่แท้จริง และบัตรดังกล่าวต้องเป็นของผู้อื่นแล้วนำไปใช้โดยมิชอบ ต่างกับมาตรา ๒๖๙/๔ ซึ่งเป็นกรณีใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ปลอม ๒. คดีที่เกิดขึ้นในศาลมักจะเป็นกรณีจำเลยลักบัตรเอทีเอ็มของผู้อื่น แล้วนำบัตรนั้นไปลักเงินของผู้เสียหายโดยผ่านเครื่องถอนเงิน เป็นการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นโดยมิชอบ และอาจมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาฐานอื่นด้วย

ฎีกาที่น่าสนใจ คำพิพากษาฎีกาที่ ๙/๒๕๔๓ การที่จำเลยลักเอาบัตรเอ.ที.เอ็ม.ไปจากผู้เสียหายแล้วนำบัตรเอ.ที.เอ็มดังกล่าวไปลักเอาเงินของผู้เสียหาย โดยผ่านเครื่องฝากถอนเงินนั้น ทรัพย์ที่จำเลยลักเป็นทรัพย์คนละประเภทและเป็นความผิดสำเร็จในตัวต่างกรรมต่างวาระ การลักเอาบัตรเอ.ที.เอ็ม. ไป กับการลักเงินจึงเป็นความผิดหลายกรรม การที่จำเลยลักเอาบัตรเอ.ที.เอ็ม. ของผู้เสียหายไปนั้นเป็นความผิดทั้งฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๘๘ ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักกว่าความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา ๓๓๔ ต้องลงโทษจำเลยตามมาตรา ๑๘๘ บัตรเอ.ที.เอ็ม. ของผู้เสียหาย ๒ ใบ เป็นบัตรต่างธนาคารกัน และเงินฝากของผู้เสียหายที่ถูกลักไปก็เป็นเงินฝากในบัญชีต่างธนาคารกันด้วย เจตนาในการกระทำผิดของจำเลยจึงแยกจากกันได้ตามความมุ่งหมายในการใช้บัตรแต่ละใบการกระทำของจำเลยที่ใช้บัตรเอ.ที.เอ็ม. ๒ ใบ ของผู้เสียหายแล้วลักเอาเงินฝากของผู้เสียหายต่างบัญชีกันแม้จะทำต่อเนื่องกันก็เป็นความผิดสองกรรม

ปัจจุบันการลักบัตรเอทีเอ็มเพื่อจะนำไปกดเงินจากเครื่องฝากถอนเงินจำผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา ๓๓๔ (หรือมาตรา ๓๓๕ แล้วแต่กรณี) กับผิดฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่นตามมาตรา ๑๘๘ และผิดฐานมีไว้เพื่อนำออกใช้ซึ่งบัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นโดยมิชอบตามมาตรา ๒๖๙/๖ อีกบทหนึ่ง และถ้ารู้ว่าบัตรเอทีเอ็มนั้นใช้เบิกถอนเงินสด ก็เข้าเหตุฉกรรจ์ตามมาตรา ๒๖๙/๗ ด้วย คือ ผิดมาตรา ๓๓๔, ๑๘๘, และ ๒๖๙/๖ ประกอบมาตรา ๒๖๙/๗ เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษบทหนักคือมาตรา ๑๘๘ ถ้ากำลังจะเสียบบัตรนั้นลงในเครื่องฝากถอนเงินเพื่อจะนำเงินไปใช้ แต่ถูกจับเสียก่อน กรณีนี้จะผิดฐานพยายามใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นโดยมิชอบตามมาตรา ๒๖๙/๕ ประกอบมาตรา ๒๖๙/๗ ประกอบมาตรา ๘๐ และฐานพยายามลักเงินตามมาตรา ๓๓๔ ประกอบมาตรา ๘๐

แต่ถ้าเสียบบัตรและกดถอนเงินจากเครื่องฝากถอนเงินได้ไปจะผิดฐานลักเงินตามมาตรา ๓๓๔ และผิดฐานใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นโดยมิชอบตามมาตรา ๒๖๙/๕ ประกอบมาตรา ๒๖๙/๗ อีกบทหนึ่งด้วย เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษบทหนักคือ มาตรา ๒๖๙/๕ เป็นมาตรา ๒๖๙/๗ อีกกระทงหนึ่ง (คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๕๑๒/๒๕๕๐ และ ๔๖๔/๒๕๕๑) น่าสังเกตว่า การนำบัตรนั้นไปกดลักเงินจากเครื่องฝากถอนเงินได้ดังกล่าวเป็นความผิดฐานใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นโดยมิชอบตามมาตรา ๒๖๙/๕ ประกอบมาตรา ๒๖๙/๗ ดังนั้น ในกรณีนี้จะไม่ผิดฐานมีไว้เพื่อออกใช้ตามมาตรา ๒๖๙/๖ ประกอบมาตรา ๒๖๙/๗ อีก โดยถือว่าการมีไว้เพื่อนำออกใช้เกลื่อนกลืนไปกับการใช้แล้วจึงไม่ต้องปรับบทลงโทษตามมาตรา ๒๖๙/๖ ประกอบมาตรา ๒๖๙/๗ การลักบัตรเอทีเอ็ม ๒ ใบ แม้ต่างธนาคารกัน ถ้าลักในคราวเดียวกันก็เป็นความผิดกรรมเดียว แต่หากนำบัตรเอทีเอ็มทั้ง ๒ ใบ ดังกล่าวไปใช้เบิกเงินสด การกระทำความผิดของจำเลยจะเป็นสองกรรมตามนัยคำพิพากษาฎีกาดังกล่าว

ฎีกาที่น่าสนใจ คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๕๑๒/๒๕๕๐ โจทก์ฟ้องจำเลยแยกเป็น ๒ ข้อ คือ ข้อ ๑.๑ และข้อ ๑.๒ การกระทำตามที่บรรยายฟ้องมาแต่ละข้อเป็นความผิดสำเร็จในตัวเอง โดยโจทก์บรรยายฟ้องข้อ ๑.๑ ว่า จำเลยได้ลักทรัพย์และเอาไปเสียซึ่งบัตรอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคาร ก. ที่ออกให้แก่ผู้เสียหายไปโดยทุจริต ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย ธนาคาร ก. ผู้อื่นและประชาชน ความผิดดังกล่าวย่อมสำเร็จเมื่อจำเลยลักเอาบัตรดังกล่าวไป และโจทก์ได้บรรยายฟ้องข้อ ๑.๒ ว่าภายหลังการกระทำความผิดตามฟ้องข้อ ๑.๑ แล้ว จำเลยได้นำบัตรอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวไปใช้ลักทรัพย์เบิกถอนโอนเงินออกจากบัญชีเงินฝากของผู้เสียหายโดยทุจริต ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย ธนาคาร ก. ผู้อื่นและประชาชน ดังนี้ การกระทำของจำเลยในข้อ ๑.๒ จึงเป็นคนละวาระกันกับการกระทำความผิดตามฟ้องข้อ ๑.๑ ทั้งทรัพย์ที่ได้จากการกระทำความผิดก็แตกต่างกัน กล่าวคือ ทรัพย์ที่ได้จากการกระทำความผิดตามฟ้องข้อ ๑.๒ คือเงินจำนวน ๙๒,๖๔๐ บาท เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง จึงถือได้ว่าจำเลยกระทำความผิดโดยมีเจตนาต่างกัน การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดหลายกรรม หาใช่กรรมเดียวดังที่จำเลยฎีกาไม่

หมายเหตุ คดีนี้ศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๘๘ และมาตรา ๓๓๔ กระทงหนึ่ง ลงโทษตามมาตรา ๑๘๘ ซึ่งเป็นบทหนักและจำเลยมีความผิดตามมาตรา ๓๓๔ กับมาตรา ๒๖๙/๕ ประกอบมาตรา ๒๖๙/๗ อีกกระทงหนึ่ง ลงโทษตามมาตรา ๒๖๙/๕ ประกอบมาตรา ๒๖๙/๗ ซึ่งเป็นบทหนัก

ฎีกาที่น่าสนใจ คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๖๔/๒๕๕๑ จำเลยลักบัตรอิเล็กทรอนิกส์ไปจากผู้เสียหายแล้วนำไปลักเงินของผู้เสียหายโดยผ่านเครื่องฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติ ทรัพย์ที่จำเลยลักเป็นทรัพย์คนละประเภทและเป็นความผิดสำเร็จในตัวต่างกรรมต่างวาระ และอาศัยเจตนาแตกต่างแยกจากกันได้ ดังนั้น การลักบัตรอิเล็กทรอนิกส์ไปจากผู้เสียหายกับลักเงินของผู้เสียหายโดยใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์เบิกถอนเงินผ่านเครื่องฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติในแต่ละครั้งจึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน

คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๘๒๐/๒๕๕๒ การที่จำเลยเอาไปเสียซึ่งเอกสารบัตรเครดิตวีซ่าการ์ดของบริษัท บ. อันเป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ และเอกสารตาม ป.อ. มาตรา ๑(๗) ซึ่งออกให้แก่ น. ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ น. และบริษัท บ. แล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามบทบัญญัติมาตรา ๑๘๘ การที่จำเลยเอาไปเสียซึ่งบัตรเครดิตวีซ่าการ์ดของบริษัท บ. ซึ่งออกให้แก่ น. แล้วใช้บัตรเครดิตวีซ่าการ์ดดังกล่าวชำระค่าสินค้าแทนการชำระด้วยเงินสดอันเป็นความผิดฐานใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นชำระค่าสินค้า ค่าบริการหรือหนี้อื่นแทนการชำระด้วยเงินสดโดยมิชอบตาม ป.อ. มาตรา ๒๖๙/๕ และ มาตรา ๒๖๙/๗ รวม ๓ ครั้ง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ฟ้องจำเลยแยกออกเป็นข้อๆ และการกระทำตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมาในแต่ละข้อต่างเป็นความผิดสำเร็จในตัวเองต่างกรรมต่างวาระ ทั้งทรัพย์ที่จำเลยได้จากการกระทำผิดก็เป็นทรัพย์คนละประเภทแตกต่างกัน เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องถือได้ว่าจำเลยกระทำความผิดโดยมีเจตนาต่างกัน การกระทำของจำเลยฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารบัตรเครดิตกับฐานใช้บัตรเครดิตจึงเป็นความผิดหลายกรรมตาม ป.อ. มาตรา ๙๑ และเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ตามฟ้องและคำให้การรับสารภาพของจำเลยว่าจำเลยนำบัตรเครดิตวีซ่าการ์ดดังกล่าวไปใช้ชำระค่าสินค้าโทรศัพท์เคลื่อนที่ กล้องวีดีโอและกล้องถ่ายรูปดิจิทัลแทนการชำระด้วยเงินสดจำนวน ๓ คราว การกระทำของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็นความผิด ๓ กรรมต่างกัน

มาตรา ๒๖๙/๖  ผู้ใดมีไว้เพื่อนำออกใช้ซึ่งบัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นโดยมิชอบตามมาตรา ๒๖๙/๕ ในประการที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ข้อพิจารณา ๑. ในส่วนของการกระทำตามมาตรานี้คือการมีไว้เพื่อการนำออกใช้ซึ่งบัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ซึ่งเป็นขั้นตอนก่อนการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นโดยมิชอบตามมาตรา ๒๖๙/๕ ๒. ต้องมีเจตนาตามมาตรา ๕๙ คือรู้ว่าเป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นและมีเจตนาพิเศษคือเพื่อนำออกใช้ด้วยจึงจะเป็นความผิด

ข้อพิจารณา ๓. ในข้อนี้ท่านอาจารย์เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์ ยกตัวอย่างการมีไว้เพื่อนำออกใช้โดยมิชอบ เช่น นายแดงสะสมรหัสเอทีเอ็มของบุคคลต่างๆ ไว้เป็นจำนวนมาก หากพิสูจน์ได้ว่ามีไว้เพื่อนำออกใช้โดยมิชอบเช่น กำลังจะไปขโมยบัตรเอทีเอ็มของบุคคลต่างๆ เหล่านั้น แล้วนำมากดถอนเงินจากเครื่อง การสะสมดังกล่าวก็เป็นความผิดตามมาตรา ๒๖๙/๖ นี้ ซึ่งหากไม่มีบทบัญญัติมาตรานี้ การสะสมของนายแดงดังกล่าวยังไม่เป็นความผิด เพราะเป็นเพียงการตระเตรียมไปกระทำความผิดเท่านั้น

ข้อสอบอัยการ ธนาคารกรุงสยามได้ออกบัตรเครดิตที่มีแถบแม่เหล็กบันทึกข้อมูลให้นายเก่งเพื่อใช้เป็นบัตรที่สามารถซื้อสินค้าโดยใช้เครื่องรูดบัตรอัตโนมัติบันทึกรายการซื้อสินค้าโดยไม่ต้องจ่ายเงินสด หรือใช้เบิกเงินสดจากเครื่องถอนเงินอัตโนมัติหรือจากธนาคารได้ต่อมา นายกาจพี่ชายของนายเก่งต้องการมีบัตรเครดิตใช้ โดยต้องการให้นายเก่งรับผิดชอบค่าใช้จ่ายจึงไปแจ้งต่อพนักงานธนาคารกรุงสยามว่าตนเองคือนายเก่ง ทำบัตรเครดิตดังกล่าวหายไปเกรงว่าผู้อื่นจะนำไปใช้จึงขอยกเลิกการใช้บัตรเครดิตฉบับเดิม และขอให้ธนาคารออกบัตรเครดิตฉบับใหม่แทน พนักงานธนาคารกรุงสยามหลงเชื่อจึงดำเนินการยกเลิกบัตรเครดิตฉบับเดิมและออกบัตรเครดิตฉบับใหม่ในชื่อของนายเก่งให้แก่นายกาจไปเป็นเหตุให้นายเก่งไม่สามารถใช้บัตรเครดิตฉบับเดิมได้ตามปกติ ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่านายกาจและพนักงานธนาคารกรุงสยามจะมีความผิดฐานใดหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ บัตรเครดิตเป็นเอกสารที่ผู้ออกได้ออกให้ผู้มีสิทธิใช้ ถือเป็นหลักฐานแห่งการก่อให้เกิดสิทธิจึงเป็นเอกสารสิทธิ การที่นายกาจแจ้งต่อพนักงานธนาคารกรุงสยามว่าตนเองคือนายเก่ง และขอยกเลิกการใช้บัตรเครดิตฉบับเดิมและให้ธนาคารออกบัตรเครดิตฉบับใหม่ให้แทน เมื่อพนักงานของธนาคารกรุงสยามหลงเชื่อ และได้ยกเลิกบัตรเครดิตฉบับเดิม และออกบัตรเครดิตฉบับใหม่ในชื่อของนายเก่งให้นายกาจไป จึงเป็นการหลอกลวงผู้อื่น โดยทุจริตด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จโดยการแสดงตนเป็นคนอื่นทำให้ผู้ถูกหลอกลวง ถอนซึ่งเอกสารสิทธิและทำขึ้นซึ่งเอกสารสิทธิ การกระทำของนายกาจจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นคนอื่น ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๓๔๒(๑)

บัตรเครดิตดังกล่าวมีการบันทึกข้อมูลโดยใช้วิธีการทางแม่เหล็ก ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ในการชำระค่าสินค้าแทนการชำระด้วยเงินสดหรือใช้เบิกถอนเงินสดได้จึงเป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่ธนาคารเจตนาออกให้นายเก่งผู้มีสิทธิใช้ เมื่อนายกาจได้ครอบครองบัตรอิเล็กทรอนิกส์ของนายเก่งโดยมิชอบ โดยมีเจตนาเพื่อนำออกใช้ อันจะทำให้เกิดความเสียหายแก่นายเก่ง นายกาจจึงมีความผิดฐานมีไว้เพื่อออกใช้ซึ่งบัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๖๙/๖ และ ๒๖๙/๗

เมื่อพนักงานธนาคารกรุงสยามยกเลิกการใช้บัตรเครดิตฉบับเดิม เป็นเหตุให้นายเก่งใช้บัตรเครดิตฉบับเดิมไม่ได้ ย่อมทำให้บัตรเครดิตดังกล่าวไร้ประโยชน์ เกิดความเสียหายแก่นายเก่ง แต่พนักงานธนาคารกรุงสยามผู้ยกเลิกบัตรเครดิตไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดจึงขาดเจตนา ส่วนนายกาจหลอกใช้พนักงานธนาคารเป็นเครื่องมือในการกระทำผิด นายกาจจึงมิใช่ผู้ใช้แต่ถือเป็นตัวการในการกระทำความผิดฐานทำให้เอกสารผู้อื่นไร้ประโยชน์ ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๘๘ และฐานทำให้เสียทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๕๘ ส่วนพนักงานของธนาคารกรุงสยามขาดเจตนาในการกระทำความผิด จึงไม่มีความผิด

มาตรา ๒๖๙/๗ ถ้าการกระทำดังกล่าวในหมวดนี้ เป็นการกระทำเกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ออกได้ออกให้แก่ผู้มีสิทธิใช้ เพื่อใช้ประโยชน์ในการชำระค่าสินค้า ค่าบริการหรือหนี้อื่นแทนการชำระด้วยเงินสด หรือใช้เบิกถอนเงินสด ผู้กระทำต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆ กึ่งหนึ่ง" 

ข้อพิจารณา มาตรานี้เป็นเหตุฉกรรจ์ของมาตรา ๒๖๙/๑ จึงมาตรา ๒๖๙/๖ ที่ทำให้ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้นกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าวกึ่งหนึ่ง ผู้กระทำจึงต้องรู้ข้อเท็จจริงที่ทำให้รับโทษหนักขึ้น ตามมาตรา ๖๒ วรรคท้าย เช่น รู้ว่าใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นโดยมิชอบ เป็นบัตรที่ผู้ออกได้ออกให้แก่ผู้มีสิทธิใช้ เพื่อใช้ประโยชน์ในการชำระค่าสินค้าแทนการชำระด้วยเงินสด แต่ถ้าไม่รู้ข้อเท็จจริงดังกล่าว ผู้กระทำก็ไม่ต้องรับโทษหนักขึ้นอีกกึ่งหนึ่งตามมาตรานี้

ความผิดเกี่ยวกับหนังสือเดินทาง ปัจจุบันการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติได้ทวีความรุนแรงและมีรูปแบบที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น และได้มีการใช้หนังสือเดินทางเป็นเครื่องมือในการกระทำดังกล่าว ซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงภายในประเทศและต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สมควรขยายขอบเขตของการกระทำความผิดเกี่ยวกับหนังสือเดินทางให้กว้างขึ้นและสมควรกำหนดอัตราโทษให้เหมาะสมกับความผิด จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๑๘) พ.ศ. ๒๕๕๐ เพื่อกำหนดความผิดเกี่ยวกับหนังสือเดินทาง โดยเพิ่มบทนิยามคำว่า "หนังสือเดินทาง" ในประมวลกฎหมายอาญาเป็นมาตรา ๑(๑๕) เพิ่มภาคความผิดเกี่ยวกับหนังสือเดินทางในความผิดเกี่ยวกับการปลอมและแปลงของลักษณะ ๗ เป็นหมวด ๕ ความผิดเกี่ยวกับหนังสือเดินทาง มาตรา ๒๖๙/๑๕ และเพิ่มการบังคับใช้ความผิดเกี่ยวกับหนังสือเดินทางนี้แก่การกระทำความผิดนอกราชอาณาจักรเป็นอนุ (๒/๒) ของมาตรา ๘ กล่าวคือ กำหนดให้ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับหนังสือเดินทางนอกราชอาณาจักรต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๐ เป็นต้นไป

ความหมาย คำว่า "หนังสือเดินทาง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑ (๑๕) หมายความว่า "เอกสารสำคัญประจำตัวไม่ว่าจะมีรูปลักษณะใดที่รัฐบาลไทย รัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศออกให้แก่บุคคลใด เพื่อใช้แสดงตนในการเดินทางระหว่างประเทศ และให้หมายความรวมถึงเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางและแบบหนังสือเดินทางที่ยังไม่ได้กรอกข้อความเกี่ยวกับผู้ถือหนังสือเดินทางด้วย

ข้อพิจารณา เดิมหนังสือเดินทางประเทศไทยถือว่าเป็นเอกสารราชการของกระทรวงการต่างประเทศที่เป็นหลักฐานบ่งบอกตัวตนและแหล่งที่มา (สัญชาติ) ของผู้ถือ (เจ้าของ) หนังสือเดินทาง การปลอมหนังสือเดินทางดังกล่าวเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๖๕ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๒๗๗/๒๕๓๗) แต่ถ้าเป็นการปลอมหนังสือเดินทางของต่างประเทศ เช่นการปลอมหนังสือเดินทางของประเทศอังกฤษไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารราชการตามมาตรา ๒๖๕ เพราะคำว่า เอกสาราชการ ตามมาตรา๑ (๘) หรือมาตรา ๒๖๕ หมายถึงเอกสารราชการของไทย การปลอมหนังสือเดินทางของประเทศอังกฤษจึงมีความผิดเพียงปลอมเอกสารทั่วไปตามมาตรา ๒๖๔ เท่านั้น (คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๔๖๖/๒๕๓๓) ดังนั้น เพื่อให้การปลอมหนังสือเดินทางของต่างประเทศเป็นความผิดที่มีอัตราโทษหนักขึ้นเพราะมีการปลอมหนังสือเดินของต่างประเทศกันมากกฎหมายใหม่จึงต้องกำหนดนิยามหนังสือเดินทางให้ครอบคลุมถึงหนังสือเดินทางของต่างประเทศด้วย

นอกจากนี้หนังสือเดินทางยังหมายถึงเอกสารที่ใช้แทนหนังสือเดินทาง เช่นเอกสารผ่านแดนหรือบัตรผ่านแดน (border pass) รวมทั้ง แบบหนังสือเดินทางที่ยังไม่ได้กรอกข้อความเกี่ยวกับผู้ถือหนังสือเดินทางด้วย เช่น หนังสือเดินทางเปล่าที่ยังไม่ได้กรอกข้อมูลส่วนบุคคลไม่มีรูปถ่ายของผู้ถือหนังสือเดินทาง ในปัจจุบันหากมีการปลอมหนังสือเดินทางของต่างประเทศ หรือปลอมเอกสารที่ใช้แทนหนังสือเดินทางหรือแบบหนังสือเดินทางที่ยังไม่ได้กรอกข้อความเกี่ยวเกี่ยวกับผู้ถือหนังสือเดินทาง ผู้กระทำจะมีความผิดฐานปลอมหนังสือเดินทางตามมาตรา ๒๖๙/๘ ซึ่งมีอัตราโทษหนักกว่าการปลอมเอกสารทั่วไปตามมาตรา ๒๖๔ และการปลอมเอกสารราชการตามมาตรา ๒๖๕

ความผิดฐานปลอมหนังสือเดินทาง มาตรา ๒๖๙/๘ ผู้ใดทำหนังสือเดินทางปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด เติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใด ๆ ในหนังสือเดินทางที่แท้จริง หรือประทับตราปลอมหรือลงลายมือชื่อปลอมในหนังสือเดินทาง โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ถ้าได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นหนังสือเดินทางที่แท้จริง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอมหนังสือเดินทาง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท

(๒) (ก) ทำหนังสือเดินทางปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด องค์ประกอบภายนอก คือ (๑) ผู้ใด (๒) (ก) ทำหนังสือเดินทางปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด (ข) เติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใดๆ ในหนังสือเดินทาง ที่แท้จริง (ค) ประทับตราปลอมหรือลงลายมือชื่อปลอมในหนังสือเดินทาง (๓) โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน องค์ประกอบภายใน (๑) เจตนา (๒) เจตนาพิเศษ เพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นหนังสือเดินทางที่แท้จริง

ข้อพิจารณา ๑) บทบัญญัติเรื่องทำหนังสือเดินทางปลอมตามมาตรา ๒๖๙/๘ นี้ มีองค์ประกอบคล้ายกับเรื่องปลอมเอกสารตามมาตรา ๒๖๔ การปลอมหนังสือเดินทางจึงอาจเป็นการปลอมเอกสารด้วยหรือไม่ก็ได้ ๒) องค์ประกอบความผิดในส่วนของการกระทำ มี ๓ กรณีคือ (ก) ทำหนังสือเดินทางปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด การทำปลอมหนังสือเดินทางก็ทำนองเดียวกับการทำเอกสารปลอมตามมาตรา ๒๖๔ จึงไม่จำเป็นต้องมีหนังสือเดินทางที่แท้จริงอยู่ก่อน และไม่ต้องทำให้เหมือนของจริงก็เป็นการปลอมหนังสือเดินทางได้ (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ ๑๖๕๐/๒๔๙๓ ,๑๘๙๕/๒๕๔๖ และ ๔๔๙๕/๒๕๔๘)

(ข) เติมหรือตัดทอนข้อความหรือแก้ไขด้วยประการใดๆ ในหนังสือเดินทางที่แท้จริง ข้อนี้ทำนองเดียวกับการปลอมเอกสารตามมาตรา๒๔๖ หรือปลอมบัตรอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรา ๒๖๙/๑ กล่าวคือ ๑) ต้องเป็นการเติมหรือตัดทอนข้อความหรือแก้ไขด้วยประการใดๆ ในหนังสือเดินทางที่แท้จริงเท่านั้น และ ๒) ต้องเป็นการทำโดยไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ เช่น จำเลยเอาหนังสือเดินทาง ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศออกให้แก่ ส. มาแก้ไขโดยแกะเอกภาพถ่ายของ ส. ที่ปิดอยู่ในปกหน้าด้านในออก แล้วเอาภาพถ่ายของจำเลยปิดลงไปแทนย่อมทำให้ความหมายที่แท้จริงของหนังสือเดินทางเปลี่ยนแปลงไปว่าจำเลยคือ ส. และเป็นหนังสือเดินทางที่กระทรวงการต่างประเทศออกให้แก่จำเลยโดยตรงกลายเป็นหนังสือเดินทางของจำเลยเอง ดังนี้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการปลอมหนังสือเดินทาง (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ ๑๒๗๗/๒๕๓๗)

(ค)ประทับตราปลอมหรือลงลายมือชื่อปลอมในหนังสือเดินทาง ตัวอย่าง เช่น ปลอมตราของกระทรวงการต่างประเทศ หรือปลอมลายมือชื่อของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในหนังสือเดินทาง

๓) การปลอมหนังสือเดินทางต้องกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ทำนองเดียวกับมาตรา ๒๖๔ ๔) ต้องเป็นการกระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นหนังสือเดินทางที่แท้จริง ข้อนี้ทำนองเดียวกับมาตรา ๒๖๔ คือนอกจากเป็นการกระทำโดยเจตนาแล้วยังต้องมีเจตนาพิเศษในการกระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นหนังสือเดินทางที่แท้จริงด้วย โดยมิได้เจาะจงผู้ที่ถูกกระทำให้หลงเชื่อไว้โดยเฉพาะว่าต้องเป็นผู้ใด

ความผิดฐานใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งหนังสือเดินทางปลอม มาตรา ๒๖๙/๙ ผู้ใดใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ซึ่งหนังสือเดินทางปลอมตามมาตรา ๒๖๙/๘ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท ผู้ใดจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งหนังสือเดินทางปลอมตาม ๒๖๙/๘ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสี่แสนบาท การมีหนังสือเดินทางปลอมตาม  ๒๖๙/๘ จำนวนตั้งแต่สองฉบับขึ้นไป ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ามีไว้เพื่อจำหน่าย ถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองเป็นผู้ปลอมซึ่งหนังสือเดินทางตาม ๒๖๙/๘ ให้ลงโทษตามมาตรานี้แต่กระทงเดียว

ข้อพิจารณา ๑. มาตรานี้กำหนดความผิดฐานใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่าย ซึ่งหนังสือเดินทางปลอมตามมาตรา ๒๖๙/๘ โดยกำหนดให้การมีหนังสือเดินทางปลอมตามมาตรา ๒๖๙/๘ จำนวนตั้งแต่สองฉบับขึ้นไป ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ามีไว้เพื่อจำหน่าย และกำหนดให้ผู้กระทำความผิดฐานใช้หรือมีไว้เพื่อใช้หรือจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งหนังสือเดินทางปลอม ถ้าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ปลอมหนังสือเดินทางตามมาตรา ๒๖๙/๘ ด้วย ต้องรับโทษตามมาตรา ๒๖๙/๘ แต่กระทงเดียวตามวรรคท้าย

๒. การมีไว้เพื่อใช้ซึ่งหนังสือเดินทางปลอมก็ผิดตามมาตรานี้แล้ว แตกต่างจากการมีไว้เพื่อใช้เอกสารปลอมประเภทอื่นยังไม่เป็นความผิดเพราะจะผิดต่อเมื่อมีการใช้ตามมาตรา ๒๖๘ วรรคแรกเท่านั้น ๓. ผู้กระทำความผิดอาจทำหนังสือเดินทางปลอมเองแล้วนำมาใช้ก็ได้ กรณีนี้กฎหมายให้ลงโทษแต่กระทงเดียวตามมาตรา ๒๖๙/๙ วรรคสี่

ความผิดฐานนำเข้าในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งหนังสือเดินทางปลอม มาตรา ๒๖๙/๑๐ ผู้ใดนำเข้าในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งหนังสือเดินทางปลอมตาม มาตรา ๒๖๙/๘ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งได้กระทำไปเพื่อจำหน่าย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสี่แสนบาท

ข้อพิจารณา น่าสังเกตว่าความผิดฐานนำเข้าในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งหนังสือเดินทางปลอมมีลักษณะเป็นการกระทำในระหว่างประเทศ ทำนองเดียวกับองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ กฎหมายจึงกำหนดอัตราโทษไว้สูงถ้ามีเจตนาเพื่อการค้าหรือจำหน่าย

ความผิดฐานใช้หนังสือเดินทางของผู้อื่นโดยมิชอบ มาตรา ๒๖๙/๑๑ ผู้ใดใช้หนังสือเดินทางของผู้อื่นโดยมิชอบ ในประการที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท ผู้ใดจัดหาหนังสือเดินทางให้ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน

ข้อพิจารณา ๑. มาตรานี้กำหนดความผิดฐานใช้หนังสือเดินทางของผู้อื่นโดยมิชอบ ในประการที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนและในกรณีผู้จัดหาหนังสือเดินทางให้ผู้กระทำความผิดดังกล่าวก็ต้องได้รับโทษเช่นเดียวกับผู้ใช้หนังสือเดินทางของผู้อื่นด้วย ๒. หนังสือเดินทางในที่นี้หมายถึงหนังสือเดินทางที่แท้จริงซึ่งเป็นของผู้อื่น

ความผิดเกี่ยวกับดวงตรา รอยตรา หรือแผ่นปะตรวจลงตราสำหรับใช้ในการเดินทาง (วีซ่า) ๑. ความผิดฐานปลอมดวงตรา รอยตรา หรือแผ่นปะตรวจลงตราฯ มาตรา ๒๖๙/๑๒ ผู้ใดทำปลอมขึ้นซึ่งดวงตรา รอยตรา หรือแผ่นปะตรวจลงตราอันใช้ในการ ตรวจลงตราสำหรับการเดินทางระหว่างประเทศ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท

ข้อพิจารณา ๑) มาตรานี้กำหนดความผิดให้ครอบคลุมถึงการปลอมเอกสารเกี่ยวกับหนังสือเดินทางคือปลอมวีซ่า ๒) ดวงตราคือสิ่งที่ทำขึ้นจากวัตถุมีรูปรอยสำหรับประทับให้ปรากฏรอยตรา รอยตรา คือรอยที่ปรากฏขึ้นจากการถูกดวงตราประทับนั้นเอง ส่วนแผ่นปะตรวจลงตราในที่นี้เป็นวีซ่าที่ใช้แผ่นสติกเกอร์ปะลงในหน้าหนังสือเดินทาง (ไม่ใช่วีซ่าแบบที่ใช้ดวงตราประทับ)

๓) การปลอมดวงตรา หรือรอยตรา มีความผิดตามมาตรา ๒๕๑ ด้วย แต่มาตรา ๒๕๑ จำกัดเฉพาะดวงตราหรือรอยตราของทบวงการเมือง ขององค์การสาธารณะหรือของเจ้าพนักงาน ซึ่งหมายถึงทบวงการเมืองและเจ้าพนักงานของรัฐบาลไทยเท่านั้น ส่วนมาตรา ๒๖๙/๑๒ นี้ไม่จำกัดว่าจะเป็นของประเทศใด การปลอมวีซ่าไม่ว่าจะเป็นของประเทศใดจึงเป็นความผิดทั้งสิ้น

๒. ความผิดฐานใช้ดวงตรา รอยตราหรือแผ่นปะตรวจลงตราปลอม มาตรา ๒๖๙/๑๓ ผู้ใดใช้ดวงตรา รอยตรา หรือแผ่นปะตรวจลงตราที่ทำปลอมขึ้นตาม มาตรา ๒๖๙/๑๒ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีและปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท ถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นผู้ปลอมซึ่งดวงตรา รอยตรา หรือแผ่นปะตรวจลงตราตาม มาตรา ๒๖๙/๑๒ ให้ลงโทษตามมาตรานี้แต่กระทงเดียว

ข้อพิจารณา มาตรานี้กำหนดความผิดฐานใช้ดวงตรา รอยตราหรือแผ่นปะตรวจลงตราที่ทำปลอมขึ้นตามมาตรา ๒๖๙/๑๒ และกำหนดให้ผู้กระทำความผิดดังกล่าวซึ่งเป็นผู้ปลอมดวงตรา รอยตราหรือแผ่นปะตรวจลงตรา ต้องรับโทษตามมาตรา ๒๖๙/๑๓ แต่กระทงเดียว

๓. ความผิดฐานนำเข้าในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งดวงตรารอยตรา หรือแผ่นปะตรวจลงตราอันเป็นของปลอม มาตรา ๒๖๙/๑๔ ผู้ใดนำเข้าในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งดวงตรา รอยตรา หรือแผ่นปะตรวจลงตราซึ่งระบุไว้ใน มาตรา ๒๖๙/๑๒  อันเป็นของปลอม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท

ข้อพิจารณา มาตรานี้กำหนดความผิดฐานนำเข้าในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ซึ่งดวงตรา รอยตราหรือแผ่นปะตรวจลงตราอันเป็นของปลอม

๔. ความผิดฐานใช้ดวงตรา รอยตรา หรือแผ่นปะตรวจลงตราอันแท้จริงที่ใช้ในการตรวจลงตราสำหรับการเดินทางระหว่างประเทศโดยมิชอบ มาตรา ๒๖๙/๑๕ ผู้ใดใช้ดวงตรา รอยตรา หรือแผ่นปะตรวจลงตราอันแท้จริงที่ใช้ในการ ตรวจลงตราสำหรับการเดินทางระหว่างประเทศโดยมิชอบในประการที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหาย แก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่บัญญัติไว้ใน มาตรา ๒๖๙/๑๓

ข้อพิจารณา มาตรานี้กำหนดความผิดฐานใช้ดวงตรา รอยตรา หรือแผ่นปะตรวจลงตราอันแท้จริงที่ใช้ในการตรวจลงตราสำหรับการเดินทางระหว่างประเทศโดยมิชอบในประการที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน