งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ภารกิจในการจัดการด้านความมั่นคงชายแดน ส่วนกิจการชายแดนและผู้อพยพ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ภารกิจในการจัดการด้านความมั่นคงชายแดน ส่วนกิจการชายแดนและผู้อพยพ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ภารกิจในการจัดการด้านความมั่นคงชายแดน ส่วนกิจการชายแดนและผู้อพยพ
สำนักกิจการความมั่นคงภายใน กรมการปกครอง

2 แผนที่แสดงแนวพรมแดน ประเทศไทยกับ ประเทศเพื่อนบ้าน เมียนมา 2,401 กม. ลาว 1,810 กม. กัมพูชา 798 กม. มาเลเซีย 647 กม.

3 ภารกิจในการจัดการด้านความมั่นคงชายแดน
การอำนวยความสะดวกในการสัญจรข้ามแดน 1 การเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับ ประเทศเพื่อนบ้าน 2 การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงชายแดน 3

4 1. การอำนวยความสะดวกในการสัญจรข้ามแดน
การให้บริการการออกหนังสือผ่านแดนแก่ประชาชนเพื่อใช้ในการเดินทางเข้า - ออก ระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านตามความตกลง ว่าด้วยการเดินทางข้ามแดนระหว่างรัฐบาลประเทศไทยกับรัฐบาลประเทศเพื่อนบ้าน จำนวน 4 ประเทศ (เมียนมา ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย) กรมการปกครองได้พัฒนาการให้บริการประชาชนในการออกหนังสือผ่านแดน และหนังสือผ่านแดนชั่วคราวด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E – Border Pass)

5 หนังสือผ่านแดนชั่วคราว
เอกสารที่ใช้ในการเดินทางผ่านแดน 1 หนังสือผ่านแดนชั่วคราว ใช้สำหรับประชาชนไทย ที่มีภูมิลำเนานอกพื้นที่ชายแดน

6 หนังสือผ่านแดน (เล่ม)
2 หนังสือผ่านแดน (เล่ม) สำหรับประชาชนไทย ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ชายแดน 3 หนังสือเดินทาง 4 อื่น ๆ จดหมายอำนวยความสะดวก

7 ความหมายของจุดผ่านแดน
1 จุดผ่านแดนถาวร จุดที่รัฐบาลไทยและรัฐบาลของประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกัน ประกาศเปิดให้มีการสัญจรไป - มา ทั้งบุคคล สิ่งของ และยานพาหนะ โดยทั่วไปแล้วจุดผ่านแดนถาวรจะมีการดำเนินงาน เรื่องพิธีการ ตรวจคนเข้าเมือง และพิธีการศุลกากรตามกฎหมายของทั้งสองประเทศ เพื่อการค้า การท่องเที่ยว และอื่น ๆ

8 2 จุดผ่านแดนชั่วคราว การเปิดเป็นการเฉพาะกิจเพื่อเหตุฉุกเฉินจำเป็นเฉพาะคราวเท่านั้นไม่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ การค้า และในบริเวณนั้น หรือบริเวณใกล้เคียงไม่มีจุดผ่านแดนประเภทอื่น หรือมีแต่ไม่สามารถใช้ หรือเหมาะกับการใช้ด้วยเหตุผลต่าง ๆ เมื่อครบกำหนดเวลา หรือบรรลุวัตถุประสงค์เฉพาะแล้ว จะปิดจุดผ่านแดนชั่วคราวทันที เช่น การส่งผู้อพยพกลับประเทศ การส่งสินค้าช่วยเหลือประชาชนประเทศเพื่อนบ้านขององค์การระหว่างประเทศ เป็นต้น

9 3 จุดผ่อนปรนการค้า จุดที่จังหวัดชายแดนผ่อนปรนให้มีการค้าขายบริเวณชายแดนในพื้นที่ และประเภทสินค้าที่กำหนดไว้เป็นกรณีพิเศษ เช่น สินค้าเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่จำเป็นต่อการอุปโภคและบริโภคของประชาชนทั้งสองประเทศ

10 ช่องทางเข้า - ออก ทางธรรมชาติ
4 ช่องทางเข้า - ออก ทางธรรมชาติ เป็นช่องทางบริเวณชายแดนเพื่อเดินทางเข้า - ออก ของประชาชนที่เดินทางไปมาหาสู่กันลักษณะเยี่ยมญาติ ซึ่งตั้งแต่สมัยโบราณมิได้ประกาศให้เป็นจุดผ่านแดนใด ๆ ใน 3 ประเภทดังกล่าว สามารถที่จะเปลี่ยนเป็นจุดผ่านแดนอย่างใดอย่างหนึ่งได้ เป็นช่องทางที่เคยมีการประกาศให้เป็นจุดผ่านแดนชั่วคราว หรือจุดผ่อนปรนการค้า แต่ได้ประกาศยกเลิก หรือหมดภารกิจ หรือหมดความจำเป็น แต่ยังคงมีการเข้า - ออก ของประชาชน

11 ช่องทางตามกฎหมายศุลกากร
5 ช่องทางตามกฎหมายศุลกากร ช่องทางที่เปิดเพื่อการค้าขายบริเวณชายแดน ตามกฎหมายศุลกากร

12 2. การเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน
ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน ในระดับพื้นที่ของจังหวัดและอำเภอชายแดน เช่น การพบปะหรือการประชุม การแลกเปลี่ยนทางประเพณีและวัฒนธรรม การแข่งขันกีฬา ฯลฯ เพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกันให้ใกล้ชิดและแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และเพื่อเป็นกลไกลในการพูดคุยสร้างความเข้าใจและแก้ไขปัญหาให้ยุติลงในระดับพื้นที่ ไม่ให้ลุกลามบานปลายกลายเป็นปัญหาระหว่างประเทศได้ ตลอดทั้ง เพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงตามแนวชายแดน และการพัฒนาในด้านต่าง ๆ

13 3. การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงชายแดน
3. การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงชายแดน การประสานงานการแก้ไขปัญหาเขตแดน การอนุรักษ์เขตแดน หลักอ้างอิงเขตแดน ดูแลรักษาหลักเขตแดนไม่ให้ถูกทำลายหรือสูญหาย การป้องกันและสกัดกั้น ผู้หลบหนีเข้าเมือง 13

14 3. การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงชายแดน (ต่อ)
3. การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงชายแดน (ต่อ) การควบคุมดูแลความสงบเรียบร้อยในพื้นที่พักพิงฯ กรมการปกครองเป็นหน่วยปฏิบัติที่มีหน้าที่โดยตรงในการควบคุมดูแลผู้หนีภัย การสู้รบ ที่อาศัยอยู่ภายในพื้นที่พักพิงฯ ให้มีความปลอดภัยและ มีความสงบเรียบร้อย ตามนโยบายของรัฐบาล และหน่วยงาน ด้านความมั่นคง การจัดทำทะเบียน การรายงานผลการปฏิบัติงานในพื้นที่พักพิงฯ 9 แห่ง ในพื้นที่ จ.แม่ฮ่องสอน ตาก ราชบุรี และ จ.กาญจนบุรี ผู้หนีภัยแสนกว่าคนเศษ 14 14

15 แนวทางปฏิบัติงานในพื้นที่ชายแดน
การปฏิบัติหน้าที่ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงในพื้นที่ชายแดนโดยยึดผลประโยชน์ของประเทศและประชาชนเป็นที่ตั้ง และไม่แสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น การเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อเป็น กลไกในการพูดคุยและแก้ไขปัญหาร่วมกัน การส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ชายแดนร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน ภายใต้กลไก และกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศที่มีอยู่

16 แนวทางปฏิบัติงานในพื้นที่ชายแดน (ต่อ)
การให้บริการและอำนวยความสะดวกในการออกหนังสือผ่านแดน และ การเดินทางสัญจรข้ามแดนแก่ประชาชน อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้อง โปร่งใส และรวดเร็ว การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยน้อมนำยุทธศาสตร์เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา รัชกาลที่ 9 มาเป็นแนวทาง ในการปฏิบัติงาน การประสานและบูรณาการการปฏิบัติงานร่วมกับส่วนราชการหรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การรายงานสถานการณ์หรือปัญหาที่เกิดขึ้นบริเวณพื้นที่ชายแดน ให้กรมการปกครองทราบ เพื่อพิจารณาดำเนินการได้อย่างทันท่วงที

17 ก. 31 จังหวัด จ.ปัตตานี 128 อำเภอชายแดน ข. 32 จังหวัด 128 อำเภอชายแดน
จังหวัด/อำเภอที่มีพื้นที่ชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน 4 ด้านประเทศ มีกี่จังหวัด/อำเภอ ก. 31 จังหวัด จ.ปัตตานี 128 อำเภอชายแดน ข. 32 จังหวัด 128 อำเภอชายแดน ค. 31 จังหวัด 128 อำเภอชายแดน ง. 30 จังหวัด 128 อำเภอชายแดน จ. 30 จังหวัด จ.ปัตตานี 128 อำเภอชายแดน 1 (จังหวัด/อำเภอชายแดน = 31 จังหวัด จ.ปัตตานี 129 อำเภอ)

18 จังหวัดชายแดนที่มีพื้นที่ติดประเทศเพื่อนบ้าน 2 ประเทศ
ก. จ.หนองคาย ข. จ.มุกดาหาร ค. จ.นครพนม ง. จ.อุบลราชธานี จ. จ.ศรีสะเกษ 2 ประเทศไทยมีพรมแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านเป็นระยะทาง 5,656 กิโลเมตร อยากทราบว่ามีพรมแดนติดต่อกับประเทศใด ยาวที่สุด ก. สหภาพเมียนมา ข. มาเลเซีย ค. ราชอาณาจักรกัมพูชา ง. เวียดนาม จ. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 3

19 ก. มาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
การอำนวยความสะดวกในการสัญจรข้ามแดนโดยการออกหรือ ต่ออายุหนังสือผ่านแดนให้แก่ประชาชนไทยที่เดินทางเข้า - ออก บริเวณพื้นที่ชายแดนปฏิบัติตามระเบียบกฎหมายใด ก. มาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ข. มาตรม 23 แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ค. ความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลประเทศเพื่อนบ้าน ง. ความตกลงระหว่างประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน จ. ถูกทุกข้อ 4

20 ง. การแลกเปลี่ยนทางประเพณีและวัฒนธรรม จ. ถูกทุกข้อ
กิจกรรมใดที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน ก. การแข่งขันกีฬา ข. การประชุมฯ ค. การพบปะ ง. การแลกเปลี่ยนทางประเพณีและวัฒนธรรม จ. ถูกทุกข้อ 6

21 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่การแก้ไขปัญหาพิพาทเขตแดน
ก. ทำบันทึกการประชุมและให้อีกฝ่ายลงนามเพื่อจะได้นำมา อ้างอิงเป็นหลักฐาน ข. ใช้กลไกความร่วมมือระดับท้องถิ่นแก้ไขปัญหาพิพาทใน ระยะแรก ค. รักษาสิทธิประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่ไว้ ง. ชี้แจงเจ้าหน้าที่และประชาชนให้เข้าใจข้อเท็จจริง 7

22 การออกหนังสือผ่านแดน (เล่ม) เป็นเอกสารที่ออกให้กับบุคคลใด
ก. บุคคลที่อาศัยนอกพื้นที่ชายแดน ข. บุคคลสัญชาติไทยที่มีภูมิลำเนาในพื้นที่ชายแดน ค. บุคคลที่อาศัยในพื้นที่และนอกพื้นที่ชายแดน ง. ใช้กับประชาชนของประเทศเพื่อนบ้าน จ. ใช้กับประชาชนของทุกประเทศเพื่อจะเดินทางไปตาม ความตกลง 8 จังหวัดใดที่ไม่มีพื้นที่พักพิงชั่วคราวผู้หนีภัยการสู้รบจากพม่า ก. จ.แม่ฮ่องสอน ข. จ.ตาก ค. จ.กาญจนบุรี ง. จ.ราชบุรี จ. จ.ระนอง 9

23 ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ภารกิจของกรมการปกครองที่เกี่ยวข้องกับ
ผู้หนีภัยการสู้รบจากพม่า ก. การจัดทำทะเบียนผู้หนีภัยการสู้รบจากพม่า ข. การควบคุมดูแลและจัดระเบียบเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย ในพื้นที่พักพิงชั่วคราวฯ ค. การประชาสัมพันธ์และการปฏิบัติการทางจิตวิทยาและการข่าว ง. การอนุญาตให้ผู้หนีภัยการสู้รบเดินทางออกนอกพื้นที่ พักพิงชั่วคราวฯ จ. การคัดเลือกผู้หนีภัยไปประเทศที่ 3 10


ดาวน์โหลด ppt ภารกิจในการจัดการด้านความมั่นคงชายแดน ส่วนกิจการชายแดนและผู้อพยพ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google