Factors influencing selection of marine merchant in coastal transport ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการคัดเลือกผู้ประกอบการขนส่งทางน้ำ ประเภทเรือชายฝั่ง วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ประวัติผู้วิจัย อาจารย์ธนะสาร พานิชยากรณ์ ปริญญาตรี วิทยาศาสตร์บัณฑิต Computer Science มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาโท วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต การจัดการการขนส่ง และโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา กำลังศึกษาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต Ph.D. Candidate การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มหาวิทยาลัยศรีปทุม ตำแหน่ง หัวหน้าสาขาธุรกิจพาณิชยนาวี วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ความสำคัญของปัญหา ในระยะเริ่มแรก การขนส่งชายฝั่ง ยังไม่ดีเท่าที่ควร แต่หลังจากที่ราคาค่าน้ำมันเริ่มแพงขึ้นถึงลิตรละ 30 บาท ส่งผลให้ลูกค้าเริ่มตัดสินใจเลือกใช้การขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ทางน้ำเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ใช้บริการเริ่มมองเห็นประโยชน์จากการใช้บริการดังกล่าว ในอนาคตจากภาวะที่ราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น และจากภาวะการจราจรที่แออัด หรือการขนส่งทางรถไฟที่ยังไม่มีความพร้อมเท่าที่ควร เชื่อว่าการขนส่งทางเรือจะเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่ผู้ประกอบการทั้งหลายจะหันมาให้ความสำคัญ สิ่งที่ต้องทำเพื่อให้ลูกค้ามาใช้บริการคือ ต้องทำให้ลูกค้าเห็นว่าเมื่อเปลี่ยนรูปแบบมาใช้การขนส่งทางเรือแล้วลูกค้าจะได้อะไร? ซึ่งถึงแม้ว่าลูกค้าจะไม่สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ แต่สิ่งที่ได้รับคือทำให้การขนส่งสินค้ามีความสะดวกมากยิ่งขึ้น “การขนส่งทางเรือยังไม่สามารถแข่งขันกับการขนส่งโดยรถบรรทุกได้ เนื่องจากการขนส่งทางเรือมีต้นทุนแฝงจากการขนส่ง ทำให้ต้นทุนการขนส่งโดยรวมเท่ากับการขนส่งรถบรรทุก เพราะฉะนั้นเมื่อการขนส่งทางเรือแข่งการขนส่งทางรถบรรทุกไม่ได้ จึงไม่มีใครใช้เรือขนส่ง เพราะทุกคนไม่ได้มองว่าจะประหยัดน้ำมันเพื่อประเทศชาติ แต่ทุกคนมองว่าจะทำอย่างไรให้ต้นทุนประกอบการถูกลง ทำให้ธุรกิจขนส่งเรือชายฝั่งตลอดระยะเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร สิ่งที่ผู้ประกอบการขนส่งทางน้ำร้องขอมาเป็นระยะเวลาหลายปี คือต้องการเห็นภาพการพัฒนาของภาครัฐที่เด่นชัด เป็นรูปธรรม และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง หากรัฐบาลยังเพิกเฉยไม่ให้ความสำคัญอย่างจริงจัง เชื่อว่าการพัฒนาของวงการขนส่งทางน้ำ และรวมถึงการพัฒนาของวงการโลจิสติกส์ไทยก็จะยังไม่เกิดอย่างแน่นอน
นิยามศัพท์เฉพาะ การค้าชายฝั่ง (Coasting Trade) หมายถึง การค้าทางทะเลจากที่แห่งหนึ่งไปยังที่อีกแห่งหนึ่งในราชอาณาจักร รวมถึงการขนส่งคนโดยสารหรือสิ่งของ หรือการลากจูง เพื่อหากำไรจากเมืองท่าหรือถิ่นที่แห่งหนึ่งภายในน่านน้ำประเทศไทย แต่ไม่รวมถึงการทำการประมง ซึ่งจับสัตว์น้ำอย่างเดียว หากทำการรับซื้อสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำจากภาคหนึ่งเพื่อนำเข้ามาขายยังอีกภาคหนึ่งนั้น ไม่ว่าจะกระทำเป็นการค้าแล้ว ย่อมถือว่าขณะนั้นเรือลำนั้นได้ทำการค้าชายฝั่ง เรือที่จะทำการค้าชายฝั่งและผู้ที่จะทำการค้าชายฝั่งได้นั้น ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยพระราชบัญญัติเรือไทย พ.ศ. 2481 ท่าเรือชายฝั่ง (Coasting Port) ในประเทศไทย หมายถึง ท่าเรือตามแม่น้ำเจ้าพระยา หรือแม่น้ำต่าง ๆ รวมทั้งบริเวณชายฝั่งทะเลของประเทศไทยที่ทำการบรรทุกและขนถ่ายสินค้า รวมถึงผู้โดยสารด้วย และเป็นการให้บริการเฉพาะสินค้าภายในประเทศ หรือคนโดยสารในประเทศไทยเท่านั้น การปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของการขนส่ง จะถูกควบคุมดูแลด้วย พ.ร.บ. การเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 โดยกรมเจ้าท่า (Marine Department) เป็นหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมและบริหารงานเกี่ยวกับทางน้ำ ซึ่งได้แก่การเดินเรือ การลำเลียง การขนส่งทางน้ำ การนำร่อง การจดทะเบียนเรือ การใช้พาหนะทางน้ำ การปรับปรุงดูแลรักษาร่องน้ำ หรือการใช้เส้นทางน้ำโดยทั่วไป ให้สามารถใช้เป็นเส้นทางลำเลียงขนส่ง หรือใช้สัญจรไปมาร่วมกันเป็นทางสาธารณะ ตลอดจนอำนวยความสะดวกในการเดินเรือและการขนส่งทางน้ำตามเส้นทางต่าง ๆ
วัตถุประสงค์ของการวิจัย วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการเลือกผู้ประกอบการขนส่งทางน้ำ ประเภทเรือชายฝั่ง เพื่อศึกษากระบวนการในการคัดเลือกผู้ประกอบการขนส่งทางน้ำประเภทเรือชายฝั่ง
กรอบแนวคิดในการวิจัย กลุ่มปัจจัยที่เกี่ยวข้องในงานวิจัย แบบจำลองการคัดเลือกผู้ประกอบการฯ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคัดเลือกผู้ประกอบการฯ หาลำดับความสำคัญของปัจจัย
ขอบเขตในการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้คือ ผู้ใช้บริการการขนส่งสินค้าทางน้ำ ด้วยการใช้บริการเรือชายฝั่ง ในการขนส่งสินค้าหรือวัตถุดิบ ในลักษณะสินค้าเทกอง (Bulk cargo) หรือสินค้าบรรจุตู้คอนเทนเนอร์ (Container cargo) ซึ่งไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอน ใช้วิธีการคำนวณหาจากกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรสำหรับกรณีที่ไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอน (กัลยา วาณิชยบัญชา. 2545: 26) และกำหนดค่าความผิดพลาดไว้ไม่เกินร้อยละ 5 ที่ความเชื่อมั่น 95% ขอบเขตของพื้นที่ศึกษาในการวิจัยครั้งนี้ เขตจังหวัดกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล
ระเบียบวิธีวิจัย ทบทวนวรรณกรรมเพื่อหาว่าในงานวิจัยที่ผ่านมา มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย อะไรบ้าง? นำปัจจัยที่เกี่ยวข้องมาออกแบบสอบถามครั้งที่ 1 แจกแบบสอบถาม, เก็บรวบรวม วิเคราะห์แบบสอบถามครั้งที่ 1 โดยใช้เทคนิค Factor Analysis เพื่อทำการค่าลำดับความสำคัญของแต่ละตัวแปร และจัดกลุ่มของตัวแปรให้น้อยลง ใช้เทคนิค Conjoint Analysis ในการออกแบบสอบถามครั้งที่ 2 แจกแบบสอบถาม,เก็บรวบรวม นำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามครั้งที่ 2 มาสร้างแบบจำลองในการเลือกรูปแบบผู้ประกอบการขนส่งทางน้ำ ประเภทเรือชายฝั่ง
เครื่องมือในการวิจัย 2 3 4 1 Factor Analysis Conjoint Analysis Questionair Logit Model
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากงานวิจัย 1. ทราบถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคัดเลือกผู้ประกอบการขนส่งทางน้ำ ในกรณีที่ต้องใช้การขนส่ง ประเภทเรือชายฝั่ง 2. ทราบถึงกระบวนการในการคัดเลือกผู้ประกอบการขนส่งทางน้ำประเภทเรือชายฝั่ง 3. ผู้ประกอบการขนส่งทางน้ำประเภทเรือชายฝั่ง สามารถนำปัจจัยที่ได้จากการศึกษาไปใช้เป็นตัวชี้วัดผลงาน (Key Performance Indicator : KPI) เพื่อใช้วัดและประเมินประสิทธิภาพ การให้บริการของตน ต่อไป 4. ได้แบบจำลองในการคัดเลือกผู้ประกอบการขนส่งประเภทเรือชายฝั่ง
Thank you Q & A