การส่งเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ (Workplace Health Promotion)

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
การพยากรณ์โรคความดันโลหิตสูง
Advertisements

INTREGRATION H A & H P H.
แนวทาง การดำเนินงาน องค์กรหัวใจดี แนวทาง แพทย์หญิงจุรีพร คงประเสริฐ 24 ธ.ค
แนวทางการตรวจ ราชการ นพ. ธีรพล โตพันธานนท์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุข
อาจารย์จงกลนี วิทยารุ่งเรืองศรี ผู้ทรงคุณวุฒิ สสส. ผู้จัดการโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส สถาบันสร้างเสริมวิถีบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ.
4.2.2 ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากรในหน่วยงาน น้ำหนัก : ร้อยละ 2 ผู้รับผิดชอบ : กรง. สกก.
(P7S10P1G2) การประชุมถ่ายทอดนโยบายและตัวชี้วัดด้านสาธารณสุข
การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ
ชุมชนกับการลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
นโยบายการดำเนินงาน ปี 2561
รองอธิบดีกรมควบคุมโรค นายแพทย์อัษฎางค์ รวยอาจิณ
โครงการสนับสนุนและพัฒนาเครือข่ายระบบสุขภาพอำเภอ (District Health System) เขตเมืองและเขตชนบท ใน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ดร.นพ.วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย เลขาธิการ.
การบริการงานอาชีวเวช ภายนอกโรงพยาบาล
สรุปผลการตรวจราชการครั้งที่ 2 คณะ 2 ปีงบประมาณ 2560
แผนงานสนับสนุนระบบบริการโรคเรื้อรังฯ
ประเด็นนำเสนอ(DM/HT,Stroke,CPOD)
ครั้งที่ 8/2560 สรุปผลการประชุม คณะอนุกรรมการด้านบริการ
โครงการพัฒนาทีมจัดการระบบ การจัดการโรคเรื้อรัง ในระดับจังหวัดปี 2554
แผนการดำเนินงาน Highlight ปี 2559
แผนงาน ที่ 3 การป้องกันควบคุมโรคและลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ
ความท้าทายในการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อ
ทิศทางการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
โครงการ มหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต
การส่งเสริมสุขภาพกายและโภชนาการ
ระเบียบวาระที่ 3 : เรื่องเพื่อพิจารณา
Health Promotion & Environmental Health
Cluster วัยทำงาน Cluster วัยผู้สูงอายุ
แผนบูรณาการ การพัฒนาศักยภาพคนตามช่วงวัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561
แผนงานควบคุมโรคไม่ติดต่อและปัจจัย เสี่ยง
บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสุขภาพ
รพ.สต.ติดดาว (5 ดาว 5 ดี) สู่ประชาชนสุขภาพดี
กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศทางการพยาบาล กองการพยาบาลสาธารณสุข
แนวคิดการพัฒนาเกณฑ์ ปี 2561
การประชุมชี้แจงการดำเนินงานป้องกัน ควบคุมโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บ
แผนพัฒนาเศษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12
แผนงานส่งเสริม พนักงานสัมพันธ์
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดราชบุรี
ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี
กลุ่มวัยทำงาน เขตสุขภาพที่ 5 28 ตุลาคม 2558
รูปธรรมการขับเคลื่อน “รพ.สต.ติดดาว” จ.นครราชสีมา
กลุ่มงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ สุขภาพจิต และยาเสพติด
ผลิตภัณฑ์กรมอนามัย (10 Product Champion)
(ร่าง) กรอบยุทธศาสตร์ 20 ปี กรมควบคุมโรค
ความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์และการถ่ายระดับตัวชี้วัด สู่เป้าหมายการลดโรค
กรมควบคุมโรค 59 นพ.อำนวย กาจีนะ รก.อธิบดีกรมควบคุมโรค 15 ต.ค. 58.
ประชุมร่วมแลกเปลี่ยนถ่ายทอดนโยบายทิศทางการทำงานงาน NCDs
การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข)
การบูรณาการ สมรรถนะที่ ก.พ. กำหนด สมรรถนะ M.O.P.H.
สิ่งที่พูดถึง การดำเนินงานกลุ่มวัยทำงาน DM HT DPAC องค์กรไร้พุง
ภาพรวมของ CLT/PCT (CLT/PCT Profile)
การบริหารและขับเคลื่อน
นพ.ทวีทรัพย์ ศิรประภาศิริ สำนักงานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
แผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี(ด้านสาธารณสุข) และการตรวจราชการประจำปี ๒๕๖๐
ทิศทาง นโยบาย และเป้าหมายการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ กรมควบคุมโรค ปีงบประมาณ พ.ศ นายแพทย์ภาณุมาศ ญาณเวทย์สกุล รองอธิบดีกรมควบคุมโรค.
ชี้แจงตัวชี้วัด/โครงการNCD ปี 2561
นโยบายเร่งด่วน ของ ผบ.ตร.
บทที่ 2 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสุขภาพ
สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
โครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ
การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน School- Based Management
ภาพรวมของ CLT/PCT (CLT/PCT Profile)
แนวทางการดำเนินงานงานป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อ และการบาดเจ็บปีงบประมาณ 2552 โดย นายแพทย์ภานุวัฒน์ ปานเกตุ ผู้อำนวยการสำนักโรคไม่ติดต่อ 16 กันยายน 2551.
แพทย์หญิงประนอม คำเที่ยง
คปสจ.เดือนสิงหาคม สิงหาคม 59.
“ทิศทางความร่วมมือในการลดการประสบอันตรายและโรคจากการทำงาน”
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านบัวงาม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
การส่งเสริมสุขภาพกาย
เป็นปัญหาสาธารณสุข อันดับ ๓ ของจังหวัด
บทที่ 9 ความสัมพันธ์ระหว่างงานโภชนาการ กับการสาธารณสุข
ภาพรวมของ CLT/PCT สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) พฤษภาคม 2561.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การส่งเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ (Workplace Health Promotion) นพ. สมเกียรติ ศิริรัตนพฤกษ์ กรมควบคุมโรค

Workplace health promotion คืออะไร? คือ การร่วมมือร่วมใจระหว่างนายจ้าง ลูกจ้างและสังคม ในการที่จะปรับปรุงและพัฒนาสุขภาพของบุคคลในที่ทำงาน “…the combined efforts of employers, employees and society to improve the health and well-being of people at work.” The European Network for Workplace Health Promotion

องค์ประกอบของ WHP

ตัวอย่างกิจกรรมของ WHP

ความนิยมในกิจกรรม WHP ในสหรัฐอเมริกา % Smoking control 35.6 Health risk assessment 29.5 Back care 28.6 Stress management 26.6 Exercise 22.1 Off-the job accident prevention 19.8 Nutrition 16.8 Blood pressure control 16.5 Weight control 14.7

ประโยชน์ที่ได้รับจาก WHP สำหรับองค์กรหรือนายจ้าง สามารถบริหารจัดการในเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยได้ดีขึ้น ได้ภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร เพิ่มขวัญและกำลังใจแก่พนักงาน ลดการลาออกหรือเปลี่ยนงานของพนักงาน ลดการลาของพนักงาน เพิ่มผลผลิต ลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ลดโอกาสในการฟ้องร้องทางกฎหมาย ประโยชน์ดังกล่าวจะเพิ่มมากขึ้น ในกลุ่มแรงงานค่าแรงต่ำและทำงานที่มีความเสี่ยงสูง

ประโยชน์ที่ได้รับจาก WHP สำหรับพนักงาน มีสภาพการทำงานที่ดีต่อสุขภาพและความปลอดภัย เพิ่มความมั่นใจในตนเอง ลดความเครียด สร้างความเป็นผู้มีน้ำใจ เพิ่มความพึงพอใจในงาน เพิ่มทักษะในการดูแลสุขภาพตนเอง สุขภาพดีขึ้น เพิ่มความใส่ใจในสุขภาพ ประโยชน์ดังกล่าวจะเพิ่มมากขึ้น ในกลุ่มแรงงานค่าแรงต่ำและทำงานที่มีความเสี่ยงสูง

ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ การลงทุนในโครงการ WHP จะมีผลตอบแทนทางบวกสูง จากข้อมูลทางวิชาการพิสูจน์ว่า “ทุก US$ 1 ที่ลงทุนไป จะได้ผลตอบแทนในภาพรวมหลังช่วงเวลา 3 ปี เท่ากับ US$ 1.40-4.70”

ร้อยละผลประโยชน์ที่ได้จาก WHP กิจกรรม สุขภาพดีขึ้น ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มผลผลิต เพิ่มขวัญและกำลังใจ โภชนาการ 59.6 5.8 25.5 20.7 ควบคุม BP 57.5 13.6 31.8 15.0 ออกกำลังกาย 53.5 4.7 26.0 37.4 ลดน้ำหนัก 53.2 6.4 29.6 34.4 จัดการความเสี่ยงทางสุขภาพ 47.1 14.3 24.2 14.2 ควบคุมบุหรี่ 40.9 7.9 16.4 9.0 จัดการความเครียด 20.2 4.2 46.5 30.0 ป้องกันปวดหลัง 26.3 40.7 24.3 - ป้องกันอุบัติเหตุนอกงาน 19.8 24.9 23.2

องค์ประกอบของกระบวนการส่งเสริมสุขภาพ Organization health promotion Individual health promotion Environmental modification

ขั้นตอนของกิจกรรม ค้นหากิจกรรมที่จำเป็นและความสนใจ อาศัยการมีส่วนร่วม จัดหาบุคลากรหรือฝึกอบรมให้เป็น Health promotion coordinator สื่อสารและสร้างความรับรู้ในองค์กร กำหนดเป็นนโยบายและให้การสนับสนุนจากนายจ้าง แนะนำโครงการเข้าสู่กลุ่มพนักงาน

ขั้นตอนของกิจกรรม (ต่อ) 7. จัดดำเนินการประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพ 8. จัดวางโปรแกรมหรือกิจกรรมให้สอดคล้องกับพนักงาน 9. ผลักดันและสนับสนุนโครงการให้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ 10. สร้างวิสัยทัศน์ของการใส่ใจในการดูแลสุขภาพในองค์กร 11. พัฒนาเป็นองค์กรสุขภาพดี (Healthy workplace)

กรณีศึกษา WHP

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในสถานประกอบการเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD) โรคนี้เกี่ยวพันกับภาวะน้ำหนักเกิน ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และไขมันในเลือดผิดปกติ ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรค คือพฤติกรรมและวิถีชีวิตที่ไม่เหมาะสม เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ขาดการออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการ พฤติกรรมเสี่ยงดังกล่าว นอกจากจะก่อให้เกิดโรค CVD แล้ว ยังมีผลกระทบต่อการทำงานด้วย เช่น สมรรถภาพในการทำงานลดลง ลาป่วยบ่อย และมีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน เป็นต้น

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในสถานประกอบการเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD) นอกจากการรักษาทางยาแล้ว การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มผู้ป่วยหรือผู้ที่มีความเสี่ยงถือว่ามีความสำคัญมาก มีผลการศึกษาวิจัยแสดงให้เห็นว่า การดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในสถานประกอบการโดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง สามารถลดความเสี่ยงและการเกิดโรคได้เป็นผลสำเร็จ จากการศึกษาวิจัยในการปรับพฤติกรรมเกี่ยวกับการออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ โดยพบว่ามาตรการที่สำคัญ 3 อย่าง คือ การให้คำปรึกษารายบุคคล การให้ความรู้แบบกลุ่ม และการมีพี่เลี้ยงในการออกกำลังกาย นอกจากนี้มาตรการเสริมอื่นๆ ที่ช่วย คือ การออกคำแนะนำเป็นลายลักษณ์อักษร การกำหนดรายการอาหาร การจัดทำอุปกรณ์ส่วนบุคคลเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การปรับสภาพแวดล้อม และการให้เงินเป็นแรงจูงใจ

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในสถานประกอบการเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD) จากการทบทวนการศึกษาวิจัยพบว่า ปัจจัยเสี่ยงที่คาดหวัง คือ น้ำหนักตัว ความดันโลหิต ไขมันในเลือด ระดับน้ำตาลในเลือด พบว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ออกแบบมา จะมีผลต่อ body fat มากที่สุด (ซึ่งถือว่าเป็นตัวชี้วัดที่ดีกว่าน้ำหนักตัว เพราะชั้นไขมันจะหายไปและถูกแทนที่ด้วยกล้ามเนื้อ) การศึกษาต่างบ่งชี้ว่า กลุ่มเสี่ยงจะได้ประโยชน์สูงสุดต่อมาตรการดังกล่าว มาตรการการให้คำปรึกษาส่วนบุคคลและการให้ความรู้แบบเป็นกลุ่ม จะได้ผลดีกว่าการมีพี่เลี้ยงในการออกกำลังกาย ผลการศึกษาพบว่า น้ำหนักตัวที่ลดลงไปทุก 1 กก.จะช่วยลดความเสี่ยงจากเบาหวาน 16%

ตัวอย่างการศึกษาวิจัย การศึกษาโดย Atlantis และคณะ ในปี 2006 ปัจจัยที่เน้น: การออกกำลังกายและโภชนาการ ผลที่ต้องการวัด: น้ำหนักตัว BMI และเส้นรอบเอว วิธีการ กลุ่มทดลอง: มีพี่เลี้ยงในการออกกำลังกายแบบ aerobic ระดับปานกลางถึงสูง ครั้งละ 20 นาที อย่างน้อย 3 ครั้งต่ออาทิตย์ และฝึกยกน้ำหนักครั้งละ 30 นาที อย่างน้อย 3 ครั้งต่ออาทิตย์ ในเวลา 24 อาทิตย์ รวมทั้งการจัดสัมมนาแลกเปลี่ยนความรู้ในด้านอาหารและการออกกำลังกาย และการให้คำปรึกษาส่วนบุคคลครั้งละ 1 ชม. ต่อเดือน เป็นเวลา 6 เดือน นอกจากนี้มีการให้รางวัลเป็นแรงจูงใจด้วย ผลการศึกษา หลังจากผ่านไป 24 สัปดาห์ พบว่าสามารถลดรอบเอวลงเฉลี่ยถึง 4.3 ซม. (กลุ่มควบคุม 1.1 ซม.) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

6 ปัจจัยที่จะทำให้โครงการประสบความสำเร็จ องค์กรมีส่วนร่วมรับผิดชอบในโครงการ (Organizational commitment) ให้แรงจูงใจแก่พนักงานในการเข้าร่วมโครงการ มีการตรวจคัดกรองทางสุขภาพและจำแนกคนเข้าโปรแกรมอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้มาตรการที่มีความถูกต้องตามหลักวิชาการ ดำเนินกิจกรรมอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ มีการประเมินโครงการอย่างต่อเนื่อง

ลักษณะของโครงการที่มีความยั่งยืน เชื่อมต่อโครงการกับวัตถุประสงค์ของธุรกิจหรือกิจการ สนับสนุนการบริหารจัดการโครงการโดยเจ้าของหรือผู้บริหารระดับสูง มีการวางแผนโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ มีส่วนร่วมของพนักงานในขั้นตอนการพัฒนาโครงการและวางแผน กิจกรรมของโปรแกรมมีความหลากหลาย เน้นในกลุ่มพนักงานที่มีความเสี่ยงสูง ให้แรงจูงใจแก่พนักงาน ง่ายต่อการเข้าร่วมในกิจกรรม มีการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ที่ดี มีการประเมินโครงการอย่างสม่ำเสมอ

ข้อเสนอแนะในการดำเนินโครงการจากหน่วยงานภาครัฐ สื่อสารและให้ความรู้แก่นายจ้างถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับจากโครงการ จัดตั้งและพัฒนากองทุนเพื่อการศึกษาวิจัยและสนับสนุนการดำเนินโครงการ พัฒนาเครื่องมือและบุคลากรเพื่อสนับสนุนสถานประกอบการในการดำเนินการ สร้างองค์กรต้นแบบในหน่วยบริการสาธารณสุขและหน่วยงานภาครัฐอื่นๆเพื่อเป็นตัวอย่าง ประกาศเกียรติคุณและให้รางวัลแก่สถานประกอบการที่ดำเนินการดี

ข้อเสนอแนะในการดำเนินโครงการจากหน่วยงานภาครัฐ (ต่อ) ตั้งและพัฒนาศูนย์ขับเคลื่อนนโยบายและสนับสนุนการดำเนินงาน ตั้งทีมงานวิชาการระหว่างบุคลากรภาครัฐและสถานประกอบการเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตั้งหน่วยบริการส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้บริการแก่สถานประกอบการขนาดเล็ก จัดตั้งหน่วยงานเพื่อรับรองคุณภาพและประเมินผล

Healthy Workplace

นโยบาย Healthy Workplace เกิดขึ้นโดยการสนับสนุนจาก WHO และ ILO นโยบายนี้ขยายมาจากโครงการส่งเสริมสุขภาพในบริบทต่างๆ (Healthy settings) เช่น โครงการ Healthy Cities, Healthy Schools, Healthy Hospitals, ฯลฯ วัตถุประสงค์หลัก คือ การมุ่งที่จะส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค รวมทั้งการดูแลสุขภาพของผู้ที่ทำงานแบบครบวงจร โดยผสมผสานมิติในด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การส่งเสริมสุขภาพทั่วไป อนามัยสิ่งแวดล้อม จิตวิทยาองค์กรและสังคม เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ที่ทำงาน ครอบครัว และชุมชน

Healthy Workplace คืออะไร? คือ สถานที่ซึ่งผู้คนที่เข้ามาทำงานร่วมกันได้มีจุดมุ่งหมายและมีความพยายามในการที่จะผลักดันให้ตนเองและเพื่อนร่วมงานได้บรรลุถึงการมีสุขภาวะ ทั้งในแง่ของสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีทั้งทางกายภาพและทางจิตวิทยาสังคม มีความปลอดภัย และมีบรรยากาศที่เอื้อต่อการปกป้องคุ้มครองและส่งเสริมสุขภาพต่อสมาชิกในองค์กรและชุมชนที่อยู่โดยรอบ

ประโยชน์ของการเป็น Healthy workplace 1. ประโยชน์ต่อพนักงาน ทำให้มีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีและปลอดภัย ทำให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น มีความมั่นใจในงานที่ทำและเพิ่มความพึงพอใจในงาน เพิ่มผลผลิตของงานที่ทำ มีความรู้และทัศนคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว

ประโยชน์ของการเป็น Healthy workplace 2. ประโยชน์ต่อหน่วยงานหรือสถานประกอบการ ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล พนักงานไม่หยุดหรือลาป่วยบ่อย ได้ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นและการทำงานของพนักงานมีประสิทธิภาพ ไม่เกิดการสูญเสียผลผลิตและทรัพย์สินจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น มีชื่อเสียงและได้รับความยอมรับจากพนักงานและสังคม

หลักการสำคัญของ Healthy Workplace การผสมผสานการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม การมีส่วนร่วมและสร้างความเข้มแข็งของพนักงาน พนักงานทุกคนมีความเท่าเทียมในการเข้าถึงของโครงการฯ มีการดำเนินงานร่วมกันของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง มีความยั่งยืนของการดำเนินงาน

ขั้นตอนในการผลักดันและพัฒนาโครงการ Healthy Workplace ในระดับองค์กรหรือสถานประกอบการ 1. มีการประกาศและสนับสนุนทางนโยบายจากผู้บริหาร 2. การจัดตั้งคณะทำงาน 3. สำรวจความต้องการในประเด็นและกิจกรรมต่างๆของพนักงาน 4. จัดลำดับความสำคัญของความต้องการจากที่สำรวจ 5. พัฒนาแผนการดำเนินการ 6. ดำเนินการตามแผน 7. ประเมินผล 8. ทบทวนและปรับปรุงการดำเนินงาน

ประสบการณ์ในประเทศไทย

การดำเนินงาน Healthy Workplaces ในประเทศไทย ในส่วนของกรมอนามัยใช้ชื่อ “โครงการสถานที่ทำงานน่าอยู่ น่าทำงาน” โดยเริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2543 โครงการใช้กรอบแนวความคิดเดียวกับของ WHO แต่มีการกำหนดกิจกรรมมาตรฐานออกเป็นหมวดหมู่ คือ “สะอาด ปลอดภัย ไร้มลพิษ มีชีวิตชีวา” ต่อมาเปลี่ยนเป็น “สะอาด ปลอดภัย สิ่งแวดล้อมดี มีชีวิตชีวา” เป้าหมายคือ สถานที่ทำงานทุกประเภท สถานประกอบการที่ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐาน จะได้เกียรติบัตรเป็นใบรับรองทอง เงิน และทองแดง

โครงการ “สถานประกอบการ ปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข”

สถานประกอบการ ปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข รูปแบบการดำเนินงาน คือ Community Based Interventions (CBI) และยึดกรอบแนวทาง Healthy Workplace ของ WHO 2008 เกณฑ์การพัฒนา สถานประกอบการ ปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข (ส่วนหนึ่งดัดแปลงมาจากHealthy Workplace ของ กรมอนามัย ) 27/07/55

ส่วนประกอบของเกณฑ์การพัฒนาฯ ปลอดโรค (โรคไม่ติดต่อ เช่น Dm,HT stroke, CVD,CA ปัจจัยเสี่ยง เช่น บุหรี่ สุรา และปัจจัยเสี่ยงต่ออุบัติเหตุจราจร) กายใจเป็นสุข (ขวัญและกำลังใจ,กิจกรรมนันทนาการ,คุณค่าของพนักงาน) ปลอดภัย (สารเคมีสภาพแวดล้อม ควันบุหรี่, หมอกควัน) * กรอบแนวคิด Healthy Workplace ของ WHO 2008 เพื่อสนับสนุน/ส่งเสริมเกี่ยวกับ สภาพแวดล้อมการทำงานทางกายภาพ สภาพแวดล้อมการทำงานด้านจิตสังคมรวมถึงวัฒนธรรมองค์กร แหล่งข้อมูลสุขภาพส่วนบุคคล/บริการด้านสุขภาพ การมีส่วนร่วมระหว่างองค์กรและชุมชน การสนับสนุนขององค์กรและการมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติงาน (นโยบายองค์กร/การติดต่อสื่อสาร/การตรวจติดตาม ทบทวน และประเมินผล/การมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติงาน) 27/07/55

กิจกรรมการดำเนินงาน : ยึดแนวทาง Healthy Workplace @ กรม คร. (สำนัก Env.-Occ. + สำนัก NCD) - พัฒนาเกณฑ์ประเมิน สปก.โดยบูรณาการกับเกณฑ์ Healthy Workplace - สนับสนุนความรู้ “โรคกระดูกและกล้ามเนื้อ”, คู่มือการดูแลสุขภาพสำหรับประชาชน, สื่อรณรงค์แผ่นพับ , โปสเตอร์ @ สคร. ร่วมกับ สสจ. - คัดเลือก/เชิญชวนสถานประกอบกิจการ(สปก.) เข้าร่วมโครงการ - ชี้แจง สปก.เป้าหมาย - ตรวจประเมิน / ติดตามการดำเนินงานของ สปก. - คัดเลือกและจัดลำดับ สปก.ที่ผ่านการประเมิน @ สสจ.ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่เป้าหมาย - รณรงค์/ให้ความรู้ สื่อสารสร้างความตระหนัก : แรงงานไทยปลอดภัย ห่างไกล โรคกระดูกและกล้ามเนื้อ 36

เป้าหมาย 4 ปี : แรงงานไทยใน สปก. > ประสบอันตราย และเกิดโรคลดลง เป้าหมายหลัก : 1. ร้อยละ 5 ของจำนวนสปก.ทั้งหมดในแต่ละจังหวัดสามารถเข้าถึง/ได้รับข้อมูลการดำเนินงานของโครงการฯ 2. ร้อยละ 5 ของ สปก. ที่เข้าร่วมโครงการฯ มีการดูแลสุขภาพผู้ประกอบอาชีพผ่านเกณฑ์ของโครงการฯ ที่กำหนด กลุ่มเป้าหมาย : แรงงานไทยในสถานประกอบการ กลุ่มที่ 1 สปก.ที่ทำได้ดีแล้ว พัฒนาเป็นแม่ข่าย/พี่เลี้ยง กลุ่มที่ 2 สปก.ทั่วไป กลุ่มที่ 3 วิสาหกิจชุมชน พื้นที่ 76 จังหวัด (ยกเว้นกรุงเทพฯ) จังหวัดเป้าหมายหลัก ภาคกลาง : ภาคเหนือ : ภาคอีสาน : ภาคใต้

มามีสุขภาพที่ดีในที่ทำงานกัน!