ทรงศักดิ์ พิมพ์เบ้า พัฒนาการอำเภอประโคนชัย 16 กุมภาพันธ์ 2560 นโยบาย Thailand 4.0 ทรงศักดิ์ พิมพ์เบ้า พัฒนาการอำเภอประโคนชัย 16 กุมภาพันธ์ 2560
1. ความก้าวหน้าของประเทศไทย แบ่งตามห้วงเวลา 1.1 Thailand 1.0 คือยุคของเกษตรกรรม คนไทยปลูกข้าว พืชสวน พืชไร่ เลี้ยงหมู เป็ด ไก่ นำผลผลิตไปขาย สร้างรายได้และยังชีพ 1.2 Thailand 2.0 คือยุคอุตสาหกรรมเบา ในยุคนี้ใช้เครื่องมือเข้ามาช่วย ผลิตเสื้อผ้า กระเป๋า เครื่องดื่ม เครื่องเขียน เครื่องประดับ เป็นต้น ประเทศเริ่มมีศักยภาพมากขึ้น 1.3 Thailand 3.0 (ยุคปัจจุบัน) เป็นยุคอุตสาหกรรมหนัก เราผลิต และขายส่งออก- เหล็กกล้า รถยนต์ ก๊าซธรรมชาติ ปูนซีเมนต์ เป็นต้น โดยใช้เทคโนโลยีจาก ต่างประเทศ เพื่อเน้นการส่งออก 1.4 Thailand 4.0 เป็นยุคโมเดลเศรษฐกิจที่ต้องปรับเปลี่ยนจากแบบ “ทำมาก ได้น้อย” มาเป็น “ทำน้อย ได้มาก” โดยจะต้องเปลี่ยนจากการผลิตสินค้า “โภคภัณฑ์” ไปสู่สินค้าเชิง “นวัตกรรม”
2. เหตุผลที่ต้องปรับเปลี่ยน 2.1 ในช่วงแรก Thailand 3.0 เติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่ปัจจุบัน กลับเติบโตเพียงแค่ 3-4% ต่อปีเท่านั้น ประเทศไทยจึงตกอยู่ช่วงรายได้ปานกลาง มาเป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว ในขณะที่ทั่วโลกมีการแข่งขันที่สูงขึ้น จึงต้องเปลี่ยน สู่ยุค Thailand 4.0 เพื่อให้ประเทศไทยให้กลายเป็นกลุ่มประเทศที่มีรายได้สูง 2.2 ในปัจจุบันประเทศไทยยังติดอยู่ในโมเดลเศรษฐกิจแบบ “ทำมาก ได้น้อย” จึงต้องการปรับเปลี่ยนเป็น “ทำน้อย ได้มาก” ก็จะต้องเปลี่ยนจากการ ผลิตสินค้า “โภคภัณฑ์” ไปสู่สินค้าเชิง “นวัตกรรม” 2.3 เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรม ไปสู่ การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
3. ความหมายของ Thailand 4.0 4. จุดเน้นของ Thailand 4.0 คือ โมเดลขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่เปลี่ยนประเทศเศรษฐกิจแบบเดิมไปสู่ เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวตกรรม ที่เน้นเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และ ภาคบริการ ภายใต้วิสัยทัศน์ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” 4. จุดเน้นของ Thailand 4.0 เดิม เน้นอุตสาหกรรม ทำมากแต่ได้น้อย ใหม่ เน้นเทคโนโลยี ทำน้อยแต่ได้มาก
5. แนวทางการพัฒนา Thailand 4.0 ดำเนินการขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างน้อยใน 3 มิติสำคัญ คือ 1. เปลี่ยนจากการผลิตสินค้า “โภคภัณฑ์” ไปสู่สินค้าเชิง “นวัตกรรม” 2. เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อน ด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม 3. เปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้า ไปสู่การเน้นภาคบริการมากขึ้น
6. กิจกรรมหลักที่ต้องปรับเปลี่ยน 6. กิจกรรมหลักที่ต้องปรับเปลี่ยน “ประเทศไทย 4.0” เป็นการเปลี่ยนผ่านทั้งระบบใน 4 องค์ประกอบสำคัญ คือ 1. เปลี่ยนจากการเกษตรแบบดั้งเดิม (Traditional Farming) ในปัจจุบัน ไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ ที่เน้นการบริหารจัดการและเทคโนโลยี (Smart Farming) โดยเกษตรกรต้องร่ำรวยขึ้น และเป็นเกษตรกรแบบเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur) 2.เปลี่ยนจาก Traditional SMEs หรือ SMEs ที่มีอยู่ที่รัฐต้องให้ความช่วยเหลือ อยู่ตลอดเวลา ไปสู่การเป็น Smart Enterprises และ Startups ที่มีศักยภาพสูง 3. เปลี่ยนจาก Traditional Services ซึ่งมีการสร้างมูลค่าค่อนข้างต่ำไปสู่ High Value Services 4. เปลี่ยนจากแรงงานทักษะต่ำไปสู่แรงงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และทักษะสูงขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม
7. ความได้เปรียบของประเทศไทย(ที่จะนำมาเป็นจุดขาย) เรียกว่า “ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ” ของประเทศที่มีอยู่ 2 ด้าน คือ “ความหลากหลายเชิงชีวภาพ” และ “ความหลากหลายเชิงวัฒนธรรม” ให้เป็น “ความได้เปรียบในเชิงแข่งขัน”
8. เป้าหมายการพัฒนา โดยการเติมเต็มด้วยวิทยาการ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม เทคโนโลยี และการวิจัยและพัฒนา แล้วต่อยอด ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบทั้ง 5 กลุ่ม เทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป้าหมาย เป็นแพลทฟอร์มในการสร้าง “New Startups” ต่างๆดังนี้ กลุ่มที่ 1 เทคโนโลยีการเกษตร (Agritech) เทคโนโลยีอาหาร (Foodtech) กลุ่มที่ 2 เทคโนโลยีสุขภาพ (Healthtech) เทคโนโลยีการแพทย์ (Meditech) สปา กลุ่มที่ 3 เทคโนโลยีหุ่นยนต์ (Robotech) กลุ่มที่ 4 เทคโนโลยีด้านการเงิน (Fintech) อุปกรณ์เชื่อมต่อออนไลน์โดยไม่ต้อง ใช้คน (IoT) เทคโนโลยีการศึกษา (Edtech) อี–มาร์เก็ตเพลส (E–Marketplace) อี–คอมเมิร์ซ (E–Commerce) กลุ่มที่ 5 เทคโนโลยีการออกแบบ (Designtech) ธุรกิจไลฟ์สไตล์ (Lifestyle Business) เทคโนโลยีการท่องเที่ยว (Traveltech) การเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ (Service Enhancing)
9. กลไกการขับเคลื่อน ถักทอเชื่อมโยงเทคโนโลยีหลักที่ต้นน้ำ เพื่อสร้าง- ถักทอเชื่อมโยงเทคโนโลยีหลักที่ต้นน้ำ เพื่อสร้าง- ความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมเป้าหมายที่อยู่ กลางน้ำ และ Startups ต่างๆที่อยู่ ปลายน้ำ โดยใช้พลัง “ประชารัฐ” ในการ ขับเคลื่อน ผู้มีส่วนร่วมหลัก ประกอบด้วยภาคเอกชน ภาคการเงิน การธนาคาร มหาวิทยาลัย และสถาบันวิจัยต่างๆ โดยเน้น- ตามความถนัดและจุดเด่นของแต่ละองค์กร และมีภาครัฐ เป็นตัวสนับสนุน (ราชการ/วิชาการ/เอกชน/ประชาสังคม/ประชาชน)
สรุป มี 3 ประเด็นที่สำคัญ ได้แก่ กระบวนทัศน์ในการพัฒนาประเทศ ภายใต้ “ประเทศไทย 4.0” มี 3 ประเด็นที่สำคัญ ได้แก่ 1. เป็นจุดเริ่มต้นของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในการขับเคลื่อนไปสู่ การเป็นประเทศที่มั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน อย่างเป็นรูปธรรม 2. เป็น “Reform in Action” ที่มีการผลักดันการปฏิรูปโครงสร้าง- เศรษฐกิจ การปฏิรูปการวิจัยและการพัฒนา และการปฏิรูปการศึกษาไปพร้อมๆ กัน 3. เป็นการผนึกกำลังของทุกภาคส่วนภายใต้แนวคิด “ประชารัฐ” โดยเป็นประชารัฐที่ผนึกกำลังกับเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ การวิจัยพัฒนา และบุคลากรระดับโลก ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของการ “รู้จักเติม รู้จักพอ และรู้จักปัน”
ไปต่อเรื่อง “สานพลังประชารัฐ”