การปรับยุทธศาสตร์ (Reprofiling) มหาวิทยาลัยกลุ่มใหม่

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
กระบวนการศึกษาและพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัย
Advertisements

MIS: Pichai Takkabutr EAU การเติบโตของ ICT ส่งผลกระทบต่อ Organizational SECTORS 3 Sectors World Economy :- Real Sectors :- Hard Goods VS. Upstream.
การจัดการศึกษาสู่สากล
My Profile. Samart Kittiruangwittaya สามารถ กิตติเรืองวิทยา ( มาร์ค )
การอภิปราย หัวข้อ “การนำนโยบายสู่การปฏิบัติและเตรียม ความพร้อมรับมืออุบัติเหตุทางถนน” นายเชษฐา โมสิกรัตน์ ผอ.กองนโยบายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย.
พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ. งบประมาณในการพัฒนามหาวิทยาลัยมีจำกัด การผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาที่ไม่เป็นไปตามความ ต้องการของประเทศ ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ.
เปิดประชุมเวลา น. รายชื่อผู้เข้าประชุม.
Skills Development and Lifelong Learning: Thailand in 2010s Tipsuda Sumethsenee Office of the Education Council Thailand’s Ministry of Education.
แนวทางการดำเนินงาน โครงการสนับสนุนค่าใช้จ่าย ในการจัดการศึกษา ตั้งแต่ระดับอนุบาล จนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2560.
ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำแผนยุทธศาสตร์
การบรรยายพิเศษ สหกิจศึกษานานาชาติ International Cooperative Education โดย ดร.สุเมธ แย้มนุ่น อุปนายกสมาคมสหกิจศึกษาไทย โครงการเตรียมความพร้อมสู่สหกิจศึกษานานาชาติ
ที่ปรึกษาการบริหารโครงการ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
Hospital Presentation นพ.ชัยวัฒน์ พงศ์ทวีบุญ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล
การอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี (DVE : Dual Vocational Education)
ทิศทางการพัฒนา พฤติกรรมสุขภาพ 4.0
ยุทธศาสตร์ชาติกับการพัฒนา มจธ.
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ประเทศไทย 4.0 Thailand 4.0 อุตสาหกรรม 4.0
การพัฒนา ระบบบริหารกองทัพเรือ ภายใต้กรอบการจัดการภาครัฐแนวใหม่
ระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทนใหม่
การพัฒนาการบริหารจัดการภาครัฐPMQA สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน
ทิศทางการดำเนินงาน ปีงบประมาณ 2560
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตามพระบรมราโชบาย
การป้องกันควบคุมโรคเขตเมืองแห่งชาติ
Health Promotion & Environmental Health
โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า
การเพิ่มขีดสมรรถนะของ สำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด (OSM)
การประชุมผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา
การปฏิรูประบบราชการไทย กับการพัฒนาตนและระบบงาน
งบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
รศ.ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์
Thailand Standards TMC.WFME.BME. Standards (2017)
ทิศทางการดำเนินงาน ของกรมการข้าว ปี 2561
การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมทางการตลาด Marketing Environmental Analysis
หลักการและแนวทาง การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาและการบริหารราชการ ของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค.
รร.มุกดารา เขาหลัก พังงา
ประเทศไทย 4.0 โมเดลการขับเคลื่อนสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ของ
“พัฒนาฝีมือแรงงาน ประจำปี พ.ศ ”
แนวทางขับเคลื่อนการดำเนินงาน 4 ศูนย์เรียนรู้
กับการก้าวสู่ยุคประเทศไทย 4.0
การมีส่วนร่วมของชุมชนและประชาชน: แนวคิด และประสบการณ์วิจัย
เดินหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สู่ทศวรรษที่ 8
เครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1
แนวทาง การจัดทำงบประมาณ ปี พ.ศ. 2562
การสัมมนา สถานการณ์ แนวทางและ แผนปฏิบัติการ ปีงบประมาณ 2557
แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 11 พ. ศ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ข้อกำหนดการศึกษา (TERM OF REFERENCE)
คลินิกไร้พุงคุณภาพ (DPAC Quality)
Line Manager is Leader.
รายงานสรุปผลการพัฒนา
การบริหารงานและการดำรงชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
บริการ/ทีม: ศูนย์คอมพิวเตอร์ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม
แผนยุทธศาสตร์ ๑๐ ปี มน. พ.ศ.๒๕๖๐ – ๒๕๖๙ เตรียมพัฒนานิสิตสู่ประชาคมโลก
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง
การจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด
ทิศทางการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
การบริหารค่าจ้างเงินเดือนและค่าตอบแทนเชิงกลยุทธ์
แนวคิดหลัก 1. Systematic 2. Sustainable 3. Measurable
การขับเคลื่อนงานส่งเสริมการเกษตร ใน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ปี 2561
แผนพัฒนาบริการสุขภาพ พิษณุโลก อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ สุโขทัย ตาก
ประชากร นำเสนอโดย ผศ.ดร.สมาน แก้วไวยุทธ.
วิสัยทัศน์ (Vision) โรงพยาบาลชลบุรี มุ่งสู่ความเป็นเลิศทางการแพทย์ และสถาบันวิชาการชั้นนำระดับชาติ
ดร. สุทธศรี วงษ์สมาน รองเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
Efficiency & Competitiveness Support Factor & Strategy Driver
ประเด็นการขับเคลื่อนองค์การไปสู่ระบบราชการ 4.0
Output ที่ต้องการ (คาดหวัง) ระบบงาน หรือ มาตรฐานการดำเนินงานที่ควรมี
ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2
11/17/2010.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การปรับยุทธศาสตร์ (Reprofiling) มหาวิทยาลัยกลุ่มใหม่ โดย นางสาววัฒนาพร สุขพรต ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและ แผนการอุดมศึกษา วันที่ 7 ธ.ค. 2559 โรงแรมอวานี ขอนแก่น โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์

หัวข้อการบรรยาย 1.หลักการและเหตุผล 2.แนวคิดการ Reprofile สถาบันอุดมศึกษา 2.1 เหตุผล ความจำเป็นในการ Reprofile สถาบันอุดมศึกษา 2.2 เป้าหมายการ Reprofile สถาบันอุดมศึกษา 2.3 สิ่งสำคัญที่สถาบันอุดมศึกษาต้อง คำนึงถึง 3.กรอบการดำเนินงานของสำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา 4.(ร่าง) กรอบนโยบายการปรับยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยกลุ่มใหม่ (Policy Guideline)

1. หลักการและเหตุผล บริบทโลกและบริบทประเทศเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เป็นโอกาสและ ความท้าทายของอุดมศึกษาที่จะต้องเร่งปฏิรูปอุดมศึกษาให้ เป็นหัวรถจักรในการพัฒนาประเทศ ซึ่งส่งผลต่อการบริหาร จัดการอุดมศึกษาให้ต้องปรับตัวทั้งในระยะสั้นและ ระยะยาว ข้อจำกัดด้านทรัพยากรและงบประมาณ การปฏิรูป อุดมศึกษาจำเป็นต้อง ปรับยุทธศาสตร์ (Reprofiling) กลุ่มมหาวิทยาลัย คำนึงถึงศักยภาพ ความเป็นเลิศของสถาบัน ให้ สามารถผลิตบัณฑิต องค์ความรู้และงานวิจัย ตลอดจน สร้างสรรค์ผลงานและนวัตกรรม เพื่อรองรับความท้าทายใน อนาคต เป้าหมายเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการ แข่งขันของประเทศ สนองตอบ ความต้องการของท้องถิ่น ประเทศ และบูรณาการความ ร่วมมือกับการศึกษาทุกระดับ รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐและ เอกชน

บริบทของสังคมไทยที่เปลี่ยนแปลงไป สังคมสูงวัย ความจำเป็นของการพัฒนา แรงงาน โครงการลงทุนขนาดใหญ่ของ รัฐบาล อุตสาหกรรมเป้าหมายและเขต เศรษฐกิจพิเศษ เศรษฐกิจดิจิตอล แนวคิดและทิศทางปฏิรูปประเทศ ของ สปช.

สังคมสูง วัย Aging population 20% ภายใน 10 ปี และ 30% ภายใน 20 ปี ที่มา : ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร การเสวนา 4 สภา มทร. ครั้งที่ 6 ประจำปี 2558

ความจำเป็นในการ พัฒนาแรงงาน ห้าแสนล้านบาทต่อปีกับเด็ก 11 ล้านคน หนึ่งแสนล้านบาทต่อปีกับอุดมศึกษา 2 ล้านคน ไม่กี่หมื่นล้านบาทกับแรงงานการศึกษาต่ำ 35-40 ล้านคน ลงทุนน้อยกับคนสูงวัย 10-20 ล้านคน ที่ยังสามารถทำงานต่อ ได้อีกหลายปี ประเทศลงทุน โจทย์ใหม่ของอุดมศึกษา ความร่วมมือกับภาคเอกชนและภาคสังคม ทำงานระดับพื้นที่ จังหวัด กลุ่มจังหวัด (area-based approach) วิสัยทัศน์การพัฒนาเศรษฐกิจแต่ละพื้นที่ ที่มา : ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร การเสวนา 4 สภา มทร. ครั้งที่ 6 ประจำปี 2558

โครงการลงทุนขนาด ใหญ่ของรัฐบาล ระบบบริหารน้ำ ระบบจัดการขยะ รถไฟความเร็วสูง / รถไฟรางคู่ โครงข่ายถนนระหว่าง ประเทศ ฯลฯ

อุตสาหกรรมเป้าหมายและ เขตเศรษฐกิจพิเศษ อุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ 10 อุตสาหกรรม 1) 5 อุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ (First S-curve) ประกอบด้วย 1.1 ยานยนต์สมัยใหม่ 1.2 อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 1.3 การท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยว เชิงสุขภาพ 1.4 การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ 1.5 การแปรรูปอาหาร 2) 5 อุตสาหกรรมอนาคต (New S-curve) ประกอบด้วย 2.1 หุ่นยนต์ 2.2 การบินและโลจิสติกส์ 2.3 เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ 2.4 ดิจิตอล 2.5 การแพทย์ครบวงจร เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 13 กลุ่มกิจการ ประกอบด้วย 1) อุตสาหกรรมเกษตร ประมงและกิจการที่เกี่ยวข้อง 2) เซรามิกส์ 3) อุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องหนัง 4) อุตสาหกรรมผลิตเครื่องเรือน 5) อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ 6) การผลิตเครื่องมือแพทย์ 7) อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องจักรและชิ้นส่วน 8) อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 9) การผลิตพลาสติก 10) การผลิตยา 11) กิจการโลจิสติกส์ 12) นิคมหรือเขตอุตสาหกรรม 13) กิจการเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว ที่มา : เอกสารประกอบการประชุมทางวิชาการ ทปอ. ประจำปี 2558 เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 2558

เศรษฐกิจ ดิจิตอล เครือข่าย ICT – High Speed Internet ทั่ว ประเทศภายใน 3 ปี โอกาสใหม่ของอุดมศึกษาในการส่งความรู้ พัฒนาหลักสูตรการเรียน การสอนออนไลน์ ถึงกลุ่มเป้าหมายผ่านระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ทันสมัยโดยเฉพาะคนวัยทำงานและผู้สูงวัย ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายใหม่ ที่มา : ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร การเสวนา 4 สภา มทร. ครั้งที่ 6 ประจำปี 2558

แนวคิดและทิศทางปฏิรูป ประเทศของ สปช. การกระจายอำนาจลงสู่ฐานพื้นที่จังหวัด / กลุ่มจังหวัด ท้องถิ่น กลไกปฏิรูประดับชาติเพื่อกระบวนการปฏิรูป ที่ต่อเนื่องนับสิบปี บทบาทใหม่ของอุดมศึกษา การเป็นที่พึ่งทางวิชาการ ระบบข้อมูล ของกลไกการจัดการระดับพื้นที่ การเตรียมความพร้อมให้ท้องถิ่นวิสัยทัศน์การพัฒนาเศรษฐกิจแต่ละพื้นที่ ความเข้มแข็งด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีนวัตกรรม (Talent Mobility, STEM Education, การเพิ่มการลงทุนวิจัย ฯลฯ) ที่มา : ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร การเสวนา 4 สภา มทร. ครั้งที่ 6 ประจำปี 2558

บริบทของ สังคมไทยที่เปลี่ยนแปลงไป

อุดมศึกษาต้องตอบโจทย์สำคัญของประเทศ คน / คุณภาพชีวิต / ความรู้ / ยุติธรรม โครงสร้างพื้นฐาน / ผลิตภาพ / วิจัยและพัฒนา กฎ ระเบียบ ปรับสมดุล และพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ หยุดพ้นจากประเทศรายได้ปานกลาง เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม ลดความเหลื่อมล้ำ ถือเป็นภารกิจหลัก การสร้างความสามารถในการแข่งขัน Growth & Competitiveness มั่งคั่ง การสร้างการเติบโต บนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Growth) การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และเท่าเทียมกัน ทางสังคม (Inclusive Growth) มั่นคง ยั่งยืน ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

2. แนวคิดการ Reprofile สถาบันอุดมศึกษา 1. ไทยมีการลงทุนด้านการศึกษาเป็นจำนวนมาก แต่ไม่ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศทั้งปัจจุบันและ อนาคต ส่งผลให้เกิดปัญหาการผลิตและพัฒนากำลังคนอย่างต่อเนื่อง 2. นโยบายด้านการอุดมศึกษาของ รมว.ศธ. (พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ) 2.1 กำหนดบทบาทการผลิตนักศึกษาให้ชัดเจนตามความถนัดและ ความเป็นเลิศของแต่ละสถาบัน เพื่อลดความซ้ำซ้อน 2.2 กำหนดผลลัพธ์ (Outcome) ของสถาบันอุดมศึกษา เช่น เป็น ศูนย์วิจัยที่มีคุณภาพ มีการวิจัยและ พัฒนาจนเกิดเป็นนวัตกรรมจากทรัพยากรใน ท้องถิ่น เพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออกของประเทศ 2.3 จัดให้สถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้แก่ สถานศึกษาในท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาคุณภาพ การศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น Reprofiling จึงเป็นนโยบายสำคัญที่จะให้มหาวิทยาลัย ปรับเปลี่ยนบทบาทของตน รองรับโจทย์ การพัฒนากำลังคนเพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศและหลุดพ้น จากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง ได้ภายใน 15-20 ปีข้างหน้า

2. แนวคิดการ Reprofile สถาบันอุดมศึกษา

2. แนวคิดการ Reprofile สถาบันอุดมศึกษา สิ่งสำคัญที่สถาบันอุดมศึกษาต้องคำนึงถึง 1. ศึกษาวิเคราะห์ศักยภาพของตน เพื่อกำหนดความ ถนัด แนวโน้มที่ต้องการจะเป็น ในอนาคต ปรับ Vision, Mission กำหนดเป้าหมายที่ ชัดเจนตอบสนองทิศทางการพัฒนาประเทศ 2. ค้นหาและกำหนด sector ด้านเศรษฐกิจ/ อุตสาหกรรมที่ชัดเจน และมีศักยภาพสามารถตอบสนอง sector นั้นได้ 3. กำหนด area ที่สถาบันมีส่วนร่วมในการพัฒนา ร่วมกันกับกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา ในพื้นที่ หรือแยกกันพัฒนาตามความถนัดของแต่ละสถาบัน 4. พิจารณา Profile Information ซึ่งประกอบด้วย University profile, Customer profile, Partner profile และ Asset profile เพื่อให้เห็นภาพรวมของศักยภาพที่มีอยู่

2. แนวคิดการ Reprofile สถาบันอุดมศึกษา 5. สร้างความเข้าใจในหลักการ วิธีการแปลง นโยบายไปสู่การปฏิบัติ และ การดำเนินการต้องมีความชัดเจน 6. กำหนดวิธีการที่จะตอบสนองต่อความ เปลี่ยนแปลงในอนาคต โดยคงไว้ซึ่งพันธกิจเดิม 4 ด้าน 7. กลไกการบริหารจัดการและระบบธรรมาภิบาล (good governance) ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับ บริบทใหม่ของตนเอง 8. ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา (strong leadership) 9. มีกระบวนการสร้างการยอมรับ มีเป้าหมาย ร่วมกัน ซึ่งจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างระบบ อุดมศึกษาที่มีความยั่งยืน

3. กรอบการดำเนินงานของสำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา 1. คณะกรรมการการอุดมศึกษาได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ ปรับยุทธศาสตร์ (Reprofiling) มหาวิทยาลัยกลุ่มใหม่ เป็น อนุกรรมการเฉพาะกิจ ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2558 อำนาจหน้าที่ :- ศึกษา วิเคราะห์ ทบทวนและปรับ ภารกิจ เพื่อปรับยุทธศาสตร์ (Reprofiling) จัดทำข้อเสนอแนะ เชิงยุทธศาสตร์และกลไกในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยกลุ่มใหม่ ให้ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของบริบททางสังคมและ ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ องค์ประกอบ จำนวนทั้งสิ้น 21 ท่าน อนุกรรมการและที่ปรึกษา :- จำนวน 3 ท่าน ได้แก่ ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร รศ.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ และเลขาธิการ กกอ. ประธานอนุกรรมการ :- รศ.พินิติ รตะนานุกูล รองประธานอนุกรรมการ :- จำนวน 2 ท่าน ได้แก่ ศ.วิชัย ริ้วตระกูล และรองเลขาธิการ กกอ. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ :- จำนวน 11 ท่าน โดยมีประธานคณะกรรมการอธิการบดี มทร. และ ประธาน ทปอ.มรภ. ร่วมด้วย ฝ่ายเลขานุการ :- จำนวน 4 ท่าน

3. กรอบการดำเนินงานของสำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา 2. คณะอนุกรรมการปรับยุทธศาสตร์ฯ เห็นชอบในหลักการ การ Reprofile สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งให้ ดำเนินการปรับยุทธศาสตร์ของตนเอง โดย เบื้องต้นให้ดำเนินการในสถาบันอุดมศึกษากลุ่ม ใหม่ 54 แห่งก่อน ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่ง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต มหาวิทยาลัย กาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยนครพนม มหาวิทยาลัย นราธิวาสราชนครินทร์ สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย

3. กรอบการดำเนินงานของสำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา 3. คณะอนุกรรมการกรอบแผนอุดมศึกษา ระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560 - 2574) เห็นว่านโยบาย Reprofile เป็นกลไกสำคัญใน การขับเคลื่อนแผนอุดมศึกษาระยะยาว ให้รองรับ กับบริบทใหม่ของโลก ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยบรรจุเป็นประเด็น ยุทธศาสตร์ในแผนอุดมศึกษาระยะยาว 4. สกอ. มีบทบาทสนับสนุนการ Reprofile สถาบันอุดมศึกษา โดยการปรับปรุงกฎเกณฑ์ ต่างๆ เช่น เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร เกณฑ์ การประกันคุณภาพ เกณฑ์การขอตำแหน่งทาง วิชาการให้มีความหลากหลายมากขึ้น เพื่อสร้าง แรงจูงใจและเอื้อให้สถาบันอุดมศึกษาดำเนินการ ตามปรัชญาและพันธกิจของตน

3. กรอบการดำเนินงานของสำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา หลักการและเหตุผล เป้าหมายหลัก ขั้นตอน การดำเนินการ ประเด็นนโยบาย ที่สำคัญ กลไกการสนับสนุน จากรัฐบาล กำหนดส่งแผน การปรับยุทธศาสตร์ของสถาบัน 1 6 2 Policy Guideline 5 3 4

(ร่าง)กรอบนโยบายการปรับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยกลุ่มใหม่ (Policy Guideline) หลักการและเหตุผล 1. บริบทโลกและบริบทของประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว 2. ต้องปฏิรูปอุดมศึกษาให้เป็นหัวรถจักรในการพัฒนาประเทศ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องปรับยุทธศาสตร์ (Reprofiling) มหาวิทยาลัย โดยคำนึงถึงศักยภาพและความเชี่ยวชาญของสถาบันให้ผลิตและพัฒนากำลังคนที่มีคุณภาพ มีสมรรถนะสูง สร้างสรรค์ผลงานและนวัตกรรมเพื่อรองรับโอกาสและความท้าทายในอนาคต ยกระดับขีดความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศ ให้หลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง ตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นและประเทศทั้งในเชิงภารกิจและเชิงพื้นที่ บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ภาคการศึกษาทุกระดับ ภาคสังคม ท้องถิ่น รวมทั้งสร้างเครือข่ายพันธมิตรในระดับภูมิภาคอาเซียนและระดับโลก

(ร่าง)กรอบนโยบายการปรับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยกลุ่มใหม่ (Policy Guideline) เป้าหมายหลัก : มุ่งหวังให้สถาบันอุดมศึกษา 2.1 ปรับเปลี่ยนบทบาทของตนตามศักยภาพและความเชี่ยวชาญ ที่สะท้อนอัตลักษณ์ ภายใต้ พันธกิจหลักเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงและทิศทางการพัฒนาประเทศในอนาคต บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ภาคการศึกษาทุกระดับ ภาคสังคมและท้องถิ่น รวมทั้งสร้างเครือข่ายพันธมิตรในระดับภูมิภาคอาเซียนและระดับโลก 2.2 ปรับหลักสูตรการจัดการศึกษาและการฝึกอบรม เพื่อพัฒนาคนทุกช่วงชีวิต โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายใหม่ในวัยแรงงานและผู้สูงอายุ ผลิตและพัฒนากำลังคนที่มีคุณภาพและสมรรถนะสูง ตลอดจนเป็นที่พึ่งทางวิชาการแก่สังคม 2.3 ปรับระบบบริหารจัดการภายในสถาบันอุดมศึกษา ให้มีธรรมาภิบาล มีประสิทธิภาพ สร้างการมีส่วนร่วม และมีความรับผิดชอบต่อสังคม

(ร่าง)กรอบนโยบายการปรับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยกลุ่มใหม่ (Policy Guideline) ขั้นตอนการดำเนินการ 1. วิเคราะห์ศักยภาพของสถาบัน เพื่อให้ทราบสถานะหรือตำแหน่งของสถาบัน 1.1 พิจารณาปัจจัยแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก 1.2 วิเคราะห์ข้อมูลสถาบันที่สำคัญ 4 ส่วน ได้แก่ University profile, Customer profile , Partner profile และ Assets profile 2. วิเคราะห์และกำหนด sector (ด้านเศรษฐกิจ/สังคม) ที่สถาบันมีศักยภาพตอบสนอง ต่อการพัฒนาประเทศ 3. ทบทวนและปรับวิสัยทัศน์หรือพันธกิจเพื่อกำหนดเป้าหมายการดำเนินการที่ชัดเจน ในระยะ 5 ปีและระยะยาว 15 ปี 4. การพิจารณาแผนการปรับยุทธศาสตร์ของสถาบันและการจัดเตรียมทรัพยากร 5. การกำกับ ติดตามและประเมินผล

(ร่าง)กรอบนโยบายการปรับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยกลุ่มใหม่ (Policy Guideline) ประเด็นนโยบายที่สำคัญ 1. ด้านขนาดที่เหมาะสมของสถาบัน (right size) 2. ด้านการจัดการเรียนการสอน 3. ด้านทรัพยากรและความร่วมมือ 4. ด้านการบริหารจัดการ 5. ด้านการกำกับ ติดตามและประเมินผล กลไกการสนับสนุนจากรัฐบาล 1.การสนับสนุนที่เป็นตัวเงิน 2.การสนับสนุนที่ไม่เป็นตัวเงิน 1. ด้านขนาดที่เหมาะสมของสถาบัน (right size) 2. ด้านการจัดการเรียนการสอน 3. ด้านทรัพยากรและความร่วมมือ 4. ด้านการบริหารจัดการ 5. ด้านการกำกับ ติดตามและประเมินผล

(ร่าง)กรอบนโยบายการปรับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยกลุ่มใหม่ (Policy Guideline) ได้มีการนำเสนอ (ร่าง) กรอบนโยบายฯดังกล่าวต่อที่ประชุม กกอ.ในการประชุมครั้งที่ 7/2559 เมื่อวันที่ 13 ก.ค 2559 ซึ่งที่ประชุมพิจารณาแล้วมีความเห็น ดังนี้ 1.(ร่าง) กรอบนโยบายฯ แสดงให้เห็นทิศทางแต่ยังไม่เห็นเป้าหมายที่ต้องการ การปรับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยให้ประสบผลสำเร็จ ต้องดำเนินการตามขั้นตอนให้ครบถ้วน ซึ่งในขณะนี้ มหาวิทยาลัย ได้ดำเนินการใน 2 ขั้นตอนแรกแล้ว คือ 1) การวิเคราะห์ศักยภาพสถาบัน และ 2) การกำหนดประเด็นในการปรับยุทธศาสตร์ แต่ในขั้นตอนที่ 3 “ทบทวนและปรับวิสัยทัศน์ หรือพันธกิจเพื่อกำหนดเป้าหมายการดำเนินการที่ชัดเจนต้อง ดำเนินการให้เป็นรูปธรรม ที่ประชุมจึงเห็นสมควรให้มีการวิเคราะห์ลักษณะที่เหมาะสมกับศักยภาพและอัตลักษณ์ของสถาบันอุดมศึกษาว่า ควรเป็นอย่างไร ต้องทบทวนเพื่อปรับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์ของสถาบันให้ชัดเจนอย่างไร 2.ควรมีเป้าหมายในการยกระดับคุณภาพมาตรฐานของบัณฑิตและการผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับศักยภาพของสถาบันอุดมศึกษา เพื่อแก้ปัญหาที่มีผลกระทบต่อคุณภาพของระบบอุดมศึกษา

(ร่าง)กรอบนโยบายการปรับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยกลุ่มใหม่ (Policy Guideline)   3. ให้มีการวิเคราะห์และเสนอแนะการปรับโครงสร้างและอัตรากำลังที่เหมาะสมกับสถาบันอุดมศึกษา แต่ละแห่ง รวมทั้งการแบ่งส่วนราชการ วิทยาเขต คณะ หน่วยงานภายในของสถาบันอุดมศึกษา ต้องพิจารณาถึงศักยภาพ ความเหมาะสม ความพร้อมของสถาบัน และมาตรฐานตามกฎหมายด้วย มติ กกอ. มีดังนี้ 1. รับทราบความก้าวหน้าการดำเนินการตามนโยบายการปรับยุทธศาสตร์ (Reprofiling) 2. มอบให้คณะอนุกรรมการปรับยุทธศาสตร์ (Reprofiling) มหาวิทยาลัยกลุ่มใหม่ ศึกษา วิเคราะห์ ข้อเสนอของมหาวิทยาลัย พร้อมข้อเสนอแนะและแนวทางการดำเนินการที่เป็นรูปธรรม ดังนี้ 2.1 ศึกษาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของวิสัยทัศน์ พันธกิจและยุทธศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย แต่ละแห่งเสนอมาว่า เหมาะสมกับศักยภาพของแต่ละสถาบัน และตอบสนองต่อการพัฒนา ประเทศอย่างไร 2.2 เสนอแนะโครงสร้างและอัตรากำลังที่เหมาะสมกับมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง คณะกรรมการการอุดมศึกษาได้รับรองรายงานการประชุมดังกล่าว ในการประชุมครั้งที่ 8/2559 เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2559 เรียบร้อยแล้ว

สถาบันอุดมศึกษากลุ่มใหม่ 7 แห่ง ได้แก่ 1. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต 2.มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ 3.มหาวิทยาลัยนครพนม 4.มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 5.สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน 6.มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 7.มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย สกอ. จัดการประชุมหารือเพื่อมอบนโยบาย Reprofiling สถาบันอุดมศึกษากลุ่มใหม่ 7 แห่ง ไปเมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2559 ไห้แก่อธิการบดีและกรรมการสภาสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งที่ประชุมเห็นด้วยกับหลักการการ Reprofile และจะนำไปเสนอต่อสภาสถาบันอุดมศึกษาของแต่ละแห่งต่อไป

ผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อมอบนโยบายปฏิรูปการศึกษาแก่ผู้บริหารระดับสูงของสถาบันอุดมศึกษา สกอ.ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ดังกล่าว ไปเมื่อวันที่ 15 ก.ย. 2559 โดยมี พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มาเป็นประธานการประชุม และร่วมชี้แจงนโยบายการปฏิรูปการศึกษารวมทั้งนโยบายการดำเนินงานอุดมศึกษา ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย นายกสภามหาวิทยาลัย อธิการบดี รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยรัฐและเอกชน จำนวน 155 แห่ง คณะกรรมการการอุดมศึกษาและคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ จำนวนทั้งสิ้น 480 คน ที่ประชุมฯ ดังกล่าวมีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการดำเนินงานปรับยุทธศาสตร์ (Reprofiling) ดังนี้ 1. มหาวิทยาลัยต้องปรับตัวให้เป็นมหาวิทยาลัย 4.0 2. การปรับต้องคำนึงถึงศักยภาพและความเชี่ยวชาญของสถาบัน 3. ต้องมีฐานข้อมูล real demand ทั้งในด้านสาขาวิชาและปริมาณที่สอดคล้องกับ ความต้องการในอนาคต มหาวิทยาลัยสามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้

ผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อมอบนโยบายปฏิรูปการศึกษาแก่ผู้บริหารระดับสูงของสถาบันอุดมศึกษา 4. ควรเน้นการสร้างคนที่มีคุณภาพ มีศักยภาพสูง มีทักษะด้าน soft skill โดยเฉพาะทักษะ ในศตวรรษที่ 21 มากกว่าการเน้นทักษะด้าน hard skill มีคุณธรรม จริยธรรม รวมถึง มีความสามารถในการปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในอนาคต 5. ประเด็นสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จของการปรับยุทธศาสตร์สถาบันอุดมศึกษา ได้แก่ 5.1 กรอบเวลาในการดำเนินการจะต้องชัดเจน 5.2 ทรัพยากรสนับสนุนการดำเนินการ 5.3 ภาวะผู้นำ และการยึดหลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการของสภามหาวิทยาลัย และผู้บริหารระดับสูง 6. นอกจากการจัดการศึกษาแบบ Over Specialization แล้ว อาจมีรูปแบบการจัดการศึกษา อีกลักษณะหนึ่งคือ แบบ System Based ก็ได้ นั่นคือ การผลิตกำลังคนที่สามารถสร้างความร่วมมือและบริหารระบบโดยใช้ปัญหาของพื้นที่หรือปัญหาของประเทศเป็นฐาน เพื่อแก้ไขปัญหาและ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งจะนำไปสู่การก้าวข้ามกับดักประเทศรายได้ปานกลาง ทั้งนี้เพื่อรองรับปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

การดำเนินการในขั้นตอนต่อไป ทบทวน ปรับวิสัยทัศน์หรือพันธกิจเพื่อกำหนดเป้าหมายการดำเนินการที่ชัดเจน โดยสภามหาวิทยาลัย และผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาต้องมีภาวะผู้นำ (strong leadership) สามารถให้ความรู้ สร้างความเข้าใจแก่บุคลากรในหน่วยงานของตนเองได้ มีกระบวนการสร้างการยอมรับและมีการกำหนดเป้าหมายร่วมกันทั่วทั้งองค์กร จัดทำข้อเสนอโครงการขอรับการสนับสนุนจากรัฐ พร้อมทั้งเหตุผล ข้อมูล วิธีดำเนินการ ที่จะสนับสนุนข้อเสนอของมหาวิทยาลัย รวมทั้งการปรับลดภารกิจหรือหลักสูตรที่ไม่ใช่จุดเน้น และสิ่งที่ต้องการได้รับการสนับสนุนจากรัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การพิจารณาโครงการและจัดเตรียมทรัพยากร การติดตามประเมินผล

ขอบคุณค่ะ http://www.mua.go.th/users/bpp/