การเปลี่ยนแปลงคาบการแปรแสง ของระบบดาวคู่ XY Leonis จากภาพถ่ายด้วยกล้องดิจิตอล DSLR น.ส.เสาวลักษณ์ ปัญญามี ภาควิชาฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Outline ที่มาและความสำคัญ วัตถุประสงค์ เครื่องมือในการดำเนินการ ขั้นตอนการดำเนินงานวิจัย สรุปผล
…ที่มาและความสำคัญ… นักดาราศาสตร์พบว่า ดาวฤกษ์ส่วนใหญ่เป็นระบบดาวคู่ ระบบดาวคู่จะประกอบด้วย สมาชิกที่เป็นดาวฤกษ์ 2 ดวงอยู่ภายใต้สนามความโน้มถ่วงซึ่งกันและกัน ดังนั้นดาวฤกษ์ทั้งสองดวงในระบบดาวคู่จึงโคจรรอบกัน http://www.zmescience.com/space/binary-star-system-nterstellar-07012013/ http://www.binaryresearchinstitute.o...n/theory.shtml
ในงานนี้ได้ทำการศึกษาและทดลองใช้ กล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 เซนติเมตรร่วมกับกล้องดิจิตอล DSLR เป็นอุปกรณ์ในการถ่ายภาพ เพื่อนำภาพที่ได้มาศึกษาการเปลี่ยนแปลงคาบการแปรแสงของระบบดาวคู่ XY Leonis เป็นอุปกรณ์ที่หาง่ายและราคาไม่แพงมากนัก และหากได้ผลการเปลี่ยนแปลงคาบการแปรแสงของระบบดาวคู่ XY Leonis ก็จะทำให้เป็นประโยชน์ในการศึกษาต่อไป
…วัตถุประสงค์ของการวิจัย… เพื่อหาการเปลี่ยนแปลงคาบการแปรแสงของระบบดาวคู่ XY Leonis โดยใช้กล้องโทรทรรศน์ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 เซนติเมตร ร่วมกับกล้องดิจิตอล DSLR
…เครื่องมือในการดำเนินการ… กล้องโทรทรรศน์ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 เซนติเมตร กล้องดิจิตอล DSLR
โปรแกรม Heliocentric Julian โปรแกรม Registax 6 โปรแกรม IRLIS โปรแกรม Heliocentric Julian
...ขั้นตอนการดำเนินงานวิจัย… 1.เลือกดาวที่จะทำการสังเกตการณ์และวางแผนเก็บข้อมูลดาว 2.แยกฟิลเตอร์โดยใช้โปรแกรม Register 6 3.เปลี่ยนไฟล์ภาพให้เป็นนามสกุล .fit 4.นำภาพข้อมูลมาวิเคราะห์หาค่า photometry โดยใช้โปรแกรม IRIS 5.นำค่า JD ที่ได้จากโปรแกรม IRIS มาแปลงค่าเป็น HJD โดยใช้ไฟล์โปรแกรม Heliocentric Julian Excel สำเร็จรูป และหาค่า Flux
...ขั้นตอนการดำเนินงานวิจัย…(ต่อ) 6.ทำการสร้างกราฟระหว่าง Flux กับ HJD 7.ทำการหาตำแหน่งของค่าเวลาที่น้อยที่สุด 8.ทำการสร้างกราฟระหว่าง O-C กับ Epoch 9.หาค่าอัตราการเปลี่ยนแปลงคาบวงจรในหน่วยวินาทีต่อปี 10.ทำการวิเคราะห์กราฟ Residual กับ O-C ว่ามีการเปลี่ยนแปลงคาบการโคจรอย่างไร
…สรุปผล… จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตการณ์ของระบบดาวคู่ XY Leonis โดยกล้องโทรทรรศน์ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 เซนติเมตร ร่วมกับกล้องดิจิตอล DSLRพบว่ามีคาบการโคจรประมาณ 0.2841026 วัน รวมทั้งค่าเวลาที่แสงน้อยที่สุดที่คำนวณได้เท่ากับ 2457094.17948 และพบว่าคาบการโคจรของระบบดาวคู่ XY Leonis มีการเพิ่มขึ้นในช่วงอัตรา 0.00108 วินาทีต่อปี ซึ่งหมายถึงระยะห่างระหว่างดาวทั้งสองมีค่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็นผลมาจากการถ่ายเทมวล ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงประเภทของ ดาวคู่ จากระบบดาวคู่แบบติดกันไปเป็นระบบดาวคู่แบบกึ่งแตะกัน และกลับมาเป็นระบบดาวคู่แบบติดกันอีก สลับกันไปเรื่อยๆ เป็นไปตามทฤษฎี Thermal Relaxation Oscillation (TRO)
…อ้างอิง… เสาวลักษณ์ ปัญญามี.(2558). การเปลี่ยนแปลงคาบการแปรแสงของระบบดาวคู่ XY Leonis จากภาพถ่ายด้วยกล้องดิจิตอล DSLR. ภาควิชาฟิสิกส์ และวิทยาศาสตร์ทั่วไปคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย ราชภัฎเชียงใหม่.
ขอบคุณค่ะ นางสาว นิตยา จำปารัตน์ รหัสนักศึกษา 56141265 หมู่เรียน ฟส.ด 56.ค5.1 สาขาฟิสิกส์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่