งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การหาคุณภาพเครื่องมือวิจัย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การหาคุณภาพเครื่องมือวิจัย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การหาคุณภาพเครื่องมือวิจัย
โดย ดร.เตือนใจ ดลประสิทธิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา รัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์

2 การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ
ความตรง คุณภาพ เครื่องมือ ความยาก ความเที่ยง อำนาจจำแนก

3 ความหมาย ความตรง (Validity)
ความถูกต้องแม่นยำหรือความสามารถของเครื่องมือ ในการวัดสิ่งที่ต้องการจะวัดหรือวัดได้ตรงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย

4 ค่าความเที่ยง (Reliability)
ความหมาย ความคงเส้นคงวาหรือความคงที่ของคะแนนสอบที่วัดจากเครื่องมือชุดเดียวกัน คนกลุ่มเดียวกัน ในเวลาที่ต่างกัน นั่นคือ เครื่องมือนั้นใช้วัดกี่ครั้งก็จะได้ผลเหมือนเดิม

5 ความยากง่ายของข้อสอบ (p)
ความหมาย สัดส่วนของคนที่ตอบข้อสอบข้อนั้น ได้ถูกต้องจากผู้สอบทั้งหมด มีค่าระหว่าง 0.00 – 1.00 สูตร p =

6 สูตรคำนวณ ค่าความยากง่าย
P = R/N หรือ P = 100R/N (คิดเป็นร้อยละ) เมื่อ P คือ ดัชนีความยากง่ายหรือระดับความยากง่าย R คือ จำนวนผู้ตอบข้อสอบถูกในข้อนั้น N คือจำนวนผู้สอบทั้งหมด

7 สูตร ในกรณีที่มีการแบ่งกระดาษคำตอบเป็นกลุ่มสูง-กลุ่มต่ำ
P =PH +PL / NH +NL หรือ P = 100(PH +PL)/N (คิดเป็นร้อยละ) เมื่อ P คือ ดัชนีความยากง่ายหรือระดับความยากง่าย PH คือ จำนวนผู้ตอบถูกในกลุ่มที่ได้คะแนนสูง PL คือ จำนวนผู้ตอบถูกในกลุ่มที่ได้คะแนนต่ำ NH คือ จำนวนผู้สอบที่อยู่ในกลุ่มได้คะแนนสูง NL คือ จำนวนผู้สอบที่อยู่ในกลุ่มได้คะแนนต่ำ

8 ค่าร้อยละที่คำนวณได้มีความหมาย ดังนี้
ดัชนีความยาก ความหมายของระดับความยาก คุณภาพของคำถาม ร้อยละ สัดส่วน 80-100 ง่ายมาก ไม่ดีต้องตัดทิ้งหรือปรับปรุงใหม่ 60-79 ง่าย พอใช้ได้ 40-59 ปานกลาง ดีมาก 20-39 ยาก 0-19 ยากมาก

9 ตัวอย่าง มีข้อสอบ 3 ข้อมีผู้เข้าสอบทั้งหมด 40 คน กลุ่มคนเก่งหมายถึง คนที่สอบได้ที่ 1 ถึงที่ 10 (25% แรกของ 40 คน)กลุ่มคนไม่เก่งหมายถึง คนที่สอบได้ที่ 31 ถึง 40 (25% หลังของ 40 คน) โดยคนเก่ง 10 คนแรกและคนไม่เก่ง 10 คนสุดท้าย ต่างทำข้อสอบถูกรายข้อ ดังนี้

10 ตัวอย่าง (ต่อ) ข้อที่ 1 กลุ่มคนคะแนนสูงตอบถูก 9 คน กลุ่มคนคะแนนต่ำตอบถูก 1 คน ดังนั้น ค่า PH = 9 และ ค่า PL = 1 ข้อที่ 2 กลุ่มคนคะแนนสูงตอบถูก 2 คน กลุ่มคนคะแนนต่ำตอบถูก 8 คน ดังนั้น ค่า PH = 2 และ ค่า PL = 8 ข้อที่ 3 กลุ่มคนคะแนนสูงตอบถูก 5 คน กลุ่มคนคะแนนต่ำตอบถูก 5 คน ดังนั้น ค่า PH = 5 และ ค่า PL = 5

11 แทนค่าสูตร PH +PL/ NH +NL
ตัวอย่าง (ต่อ) ข้อที่ แทนค่าสูตร PH +PL/ NH +NL ค่าความยากง่าย 1 (9+1)/20 0.5 2 (2+8)/20 3 (5+5)/20 ผลของคะแนน 3 ข้อนี้ ค่าความยากง่ายเท่ากับ 0.5 ข้อสอบทั้ง 3 ข้อมีความยากง่ายในระดับปานกลาง

12 เกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาค่า p

13 อำนาจจำแนกของข้อสอบ (r)
ความหมาย ความสามารถของข้อสอบในการจำแนกนักศึกษากลุ่มเก่งออกจากนักศึกษา กลุ่มอ่อน มีค่าอยู่ระหว่าง -1 ถึง +1 เกณฑ์ r > 0.20

14 สูตรหาอำนาจจำแนก r = PH - PL / N1 เมื่อ r คือ ดัชนีอำนาจจำแนก PH คือ จำนวนผู้ตอบถูกในกลุ่มที่ได้คะแนนสูง PL คือ จำนวนผู้ตอบถูกในกลุ่มที่ได้คะแนนต่ำ N1 คือ จำนวนคนในกลุ่มคนเก่งหรือกลุ่มคนไม่เก่ง กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งซึ่งมีค่าเท่ากันอยู่แล้ว

15 เกณฑ์การพิจารณาค่าอำนาจจำแนก
ความหมาย ตั้งแต่ 0.40 ขึ้นไป ดีมาก ดีพอสมควร พอใช้ได้ แต่ควรปรับปรุง ตั้งแต่ 0.19 ลงไป ไม่ดี ต้องตัดทิ้งหรือ ปรับปรุงใหม่

16 ตัวอย่างการวิเคราะห์ค่าอำนาจจำแนก
โจทย์ มีข้อสอบ 3 ข้อมีผู้เข้าสอบทั้งหมด 40 คน กลุ่มคนเก่งหมายถึง คนที่สอบได้ที่ 1 ถึงที่ 10 (25% แรกของ 40 คน)กลุ่มคนไม่เก่งหมายถึง คนที่สอบได้ที่ 31 ถึง 40 (25% หลังของ 40 คน) โดยคนเก่ง 10 คนแรกและคนไม่เก่ง 10 คนสุดท้าย ต่างทำข้อสอบถูกรายข้อ ดังนี้ ข้อที่ 1 กลุ่มคนคะแนนสูงตอบถูก 9 คน กลุ่มคนคะแนนต่ำตอบถูก 1 คน ดังนั้น ค่า PH = 9 และ ค่า PL = 1 ข้อที่ 2 กลุ่มคนคะแนนสูงตอบถูก 2 คน กลุ่มคนคะแนนต่ำตอบถูก 8 คน ดังนั้น ค่า PH = 2 และ ค่า PL = 8 ข้อที่ 3 กลุ่มคนคะแนนสูงตอบถูก 5 คน กลุ่มคนคะแนนต่ำตอบถูก 5 คน ดังนั้น ค่า PH = 5 และ ค่า PL = 5

17 เป็นข้อสอบที่ดี จำแนกคนเก่งกับคนไม่เก่งได้ดี
ตัวอย่าง(ต่อ) ข้อที่ แทนค่าสูตรPH - PL / N1 ค่าอำนาจจำแนก ความหมาย 1 (9-1)/10 0.8 เป็นข้อสอบที่ดี จำแนกคนเก่งกับคนไม่เก่งได้ดี 2 (2-8)/10 -0.6 เป็นข้อสอบที่ไม่ดี มีลักษณะจำแนกกลับ คือ คนไม่เก่งตอบผิดคนไม่เก่งตอบถูก ดังนั้นต้องปรับปรุงหรือตัดออก 3 (5-5)/10 0.0 เป็นข้อสอบที่จำแนกคนเก่งกับคนไม่เก่งไม่ได้ เป็นข้อสอบที่ไม่ดี ดังนั้นต้องปรับปรุง

18 การหาคุณภาพเครื่องมือวิจัย
แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์

19 คุณภาพแบบทดสอบด้านความตรงตามเนื้อหา
ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือว่าสร้างไว้ครอบคลุมเนื้อหาตรงตามสมรรถนะหรือพฤติกรรมที่ต้องการ ให้ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่ต้องการวัดเป็นผู้ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือจากตารางวิเคราะห์หลักสูตรหรือตารางวิเคราะห์เนื้อหาที่ใช้เป็นกรอบอ้างอิง

20 ความตรงตามเนื้อหา เป็นความสอดคล้องกันระหว่างเนื้อหาของ
เครื่องมือกับวัตถุประสงค์ของการวัด ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้พิจารณาความสอดคล้อง จากนั้นจึงนำค่าที่หาได้มาหาค่า IOC ค่า IOC  .05 จึงจะจัดว่ามีความตรงตามเนื้อหา

21 วิธีการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา
1. ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาจากเกณฑ์การประเมิน แน่ใจว่า ข้อสอบวัดได้ตรงตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมหรือระดับพฤติกรรมได้ 1 คะแนน แน่ใจว่า ข้อสอบวัดได้ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมหรือระดับพฤติกรรมได้ -1 คะแนน ไม่แน่ใจว่า ข้อสอบวัดได้ตรงตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมหรือระดับพฤติกรรมได้ 0 คะแนน

22 วิธีการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา
2. หาค่าความสอดคล้อง (IOC) ระหว่างผู้เชี่ยวชาญ สูตรคำนวณ IOC = เมื่อ IOC แทน ดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับคุณลักษณะที่ต้องการวัด R แทน ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ถ้าแน่ใจว่าข้อคำถามวัดตรงกับคุณลักษณะที่ต้องการวัดให้ค่าเป็น+1 ถ้าไม่แน่ใจว่าข้อคำถามวัดตรงกับคุณลักษณะที่ต้องการวัดให้ค่าเป็น 0 ถ้าแน่ใจว่าข้อคำถามวัดไม่ตรงกับคุณลักษณะที่ต้องการวัดให้ค่าเป็น-1 N แทน จำนวนผู้เชี่ยวชาญ

23 ตัวอย่างสรุปผลการคำนวณค่าดัชนีความสอดคล้อง
ข้อที่ ผู้เชี่ยวชาญ ∑R C คนที่ 1 คนที่ 2 คนที่ 3 คนที่ 4 คนที่ 5 1 -1 +1 -.20 2 3 0.6 0.4 4 5 IOC ข้อที่ 1, 3 ต้องปรับแก้เนื่องจากค่า IOC ไม่ถึง .50

24 คุณภาพข้อสอบรายข้อ 1. ค่าความยาก

25 ตัวอย่างการวิเคราะห์ค่าความยาก
กลุ่ม จำนวนคนที่ตอบถูก ข้อ 1 ข้อ 2 ข้อ 8 ข้อ 9 ข้อ 10 กลุ่มสูง 1 11 7 12 10 กลุ่มต่ำ 2 8 4 ค่าความยาก 0.10 0.63 0.37 0.67 0.40 จำนวนผู้สอบในกลุ่มสูงเท่ากับ 15 คน กลุ่มต่ำเท่ากับ 15 คน ข้อที่ 1 ควรปรับเพราะเป็นข้อสอบที่ยากเกินไป

26 คุณภาพข้อสอบรายข้อ 2. ค่าอำนาจจำแนก

27 ตัวอย่างการวิเคราะห์ค่าอำนาจจำแนก
กลุ่ม จำนวนคนที่ตอบถูก ข้อ 1 ข้อ 2 ข้อ 8 ข้อ 9 ข้อ 10 กลุ่มสูง 1 11 7 12 10 กลุ่มต่ำ 2 8 4 ค่าอำนาจจำแนก -0.07 0.20 0.26 0.53 ข้อที่ 1 ควรปรับเพราะไม่มีอำนาจจำแนก

28 คุณภาพแบบทดสอบด้านความเที่ยง
1. วิธีของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน

29 ตัวอย่างการหาความเที่ยงตามสูตร KR-20
รายการ ข้อ 1 ข้อ 2 ข้อ3 ข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 8 ข้อ 9 ข้อ 10 รวม จำนวนผู้ที่ตอบข้อสอบถูก 2 9 16 11 13 4 จำนวนผู้ที่ตอบข้อสอบผิด 18 7 0.10 0.45 0.80 0.55 0.65 .20 0.90 0.20 0.35 0.09 0.25 0.16 0.23 2.03

30 การตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบถาม
คุณภาพด้านความตรงเชิงเนื้อหา คุณภาพรายข้อโดยการหาค่าอำนาจจำแนก โดยใช้สหสัมพันธ์เพียร์สัน (เฉพาะแบบสอบถามวัดความเห็น ความพึงพอใจ) คุณภาพด้านความเที่ยงด้วยวิธีแอลฟาครอนบัคที่เป็นมาตรประมาณค่ามากกว่า 2 ระดับ

31 การตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา ของแบบสอบถาม
ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาความตรงเชิงเนื้อหาจากโครงสร้างแบบสอบถาม นิยาม และองค์ประกอบของเนื้อหาตามกรอบแนวคิด (ไม่มีเนื้อหาแน่ชัด) โดยให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาจากเกณฑ์การประเมินว่าข้อคำถามหรือข้อความวัดได้ตรงตามนิยามมากน้อยเพียงใด แบบสอบถาม

32 ตัวอย่างการหาความตรงตามเนื้อหา
จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้ว่าสามารถวัด ความประหยัดและออมได้หรือไม่ แล้วให้คะแนนตามเกณฑ์ต่อไปนี้ 1 เมื่อข้อความนั้น สามารถวัดความประหยัดและออมได้ -1 เมื่อข้อความนั้น ไม่สามารถวัดความประหยัดและออมได้ 0 เมื่อไม่แน่ใจว่าข้อความนั้น วัดความประหยัดและออม ได้หรือไม่

33 ผลการพิจารณา ข้อคำถาม
ตารางวิเคราะห์ค่า IOC ผลการพิจารณา ข้อคำถาม ตรง (1) ไม่ตรง (-1) ไม่แน่ใจ (0) 1.ใช้จ่ายส่วนตัวตามสถานภาพของตน 2.ซื้อสิ่งของเครื่องใช้เท่าที่จำเป็น 3.ออมทรัพย์เพื่ออนาคตในรูปแบบต่างๆ

34 ผลการพิจารณา ตารางวิเคราะห์ค่า IOC ข้อ 1 ผู้เชี่ยวชาญ คะแนน คนที่ ตรง
(1) ไม่ตรง (-1) ไม่แน่ใจ (0) 1 2 3 4 5 -1 IOC 3/5= 0.6

35 คุณภาพแบบสอบถามด้านความเที่ยง
วิธีของแอลฟา ครอนบัค ใช้สำหรับเครื่องมือที่มีการให้คะแนนหลายค่า เช่น แบบสอบถามที่เป็น มาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีสูตรดังนี้  =

36 ตัวอย่างการคำนวณค่าความเที่ยง ตามวิธีแอลฟา ของครอนบัค
คนที่ ข้อที่ คะแนน 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 รวม 40 46 38 39 36 50 47 49 45 ผลรวม 41 43 44 436 ค่าเฉลี่ย 4.20 4.30 4.40 4.50 4.00 4.60 43.60 ความแปรปรวน 0.400 0.900 0.489 0.456 0.500 1.112 0.945 0.267 1.123 0.250

37 การตรวจสอบคุณภาพรายข้อ
ค่าอำนาจจำแนกโดยใช้สหสัมพันธ์เพียร์สัน

38 ตัวอย่างการวิเคราะห์ค่าอำนาจจำแนกโดยใช้ สหสัมพันธ์เพียร์สัน
นักเรียนคนที่ คะแนนข้อที่ 10 (x) คะแนนรวมข้อที่ 1-9 (y) x2 y2 xy 1 4 40 16 1,600 160 2 34 1,156 136 3 5 38 25 1,444 190 41 1,681 205 39 1,521 156 6 35 1,225 70 7 42 1,764 210 8 43 1,849 215 9 195 10 รวม 44 393 202 15,525 1,747

39 การตรวจสอบคุณภาพของ แบบสังเกตและแบบสัมภาษณ์
คุณภาพด้านความตรงเชิงเนื้อหา (ตรวจสอบตามนิยาม) คุณภาพด้านความเที่ยงระหว่างผู้สังเกตหรือระหว่าง ผู้สัมภาษณ์

40 คุณภาพเครื่องมือด้านความเที่ยง
3. การหาค่าความเที่ยงระหว่างผู้สังเกตหรือผู้สัมภาษณ์

41 ตัวอย่างการหาค่าความเที่ยงระหว่างผู้สังเกต
ตัวอย่าง จากการสังเกตพฤติกรรมการทำงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 10 คน จากอาจารย์ผู้สังเกต 2 คน ปรากฎผลดังตาราง นักเรียนคนที่ ผู้สังเกตคนที่ 1 ผู้สังเกตคนที่ 2 1 5 7 2 6 3 4 8 9 10 ความเที่ยง = .40

42 สรุปคุณภาพของแบบทดสอบ
ค่าความยากรายข้อ (p) อยู่ระหว่าง ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (r) มีค่าตั้งแต่ 0.2 เป็นต้นไป ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) โดยผู้เชี่ยวชาญ แต่ละข้อ มีค่าตั้งแต่ 0.5 เป็นต้นไป (ความตรงเชิงเนื้อหา) ความเที่ยงแบบทดสอบทั้งฉบับควรมีค่าตั้งแต่ 0.7 ขึ้นไป

43 สรุปคุณภาพของ แบบสอบถาม แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์
ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) โดยผู้เชี่ยวชาญ แต่ละข้อ มีค่าตั้งแต่ 0.5 เป็นต้นไป ความเที่ยงควรมีค่าตั้งแต่ 0.7 ขึ้นไป สำหรับแบบสอบถามความคิดเห็น ความพึงพอใจ ที่เป็นมาตรประมาณค่าหลายค่า สามารถวิเคราะห์อำนาจจำแนก โดยพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนในข้อนั้นกับคะแนนรวม ที่หักคะแนนในข้อดังกล่าวออกไป แต่ละข้อไม่ควรต่ำกว่า 0.2

44 เพิ่มเติม การหาคุณภาพของเครื่องมือวิจัย นอกจากหาความตรง ความเที่ยง ความยากง่ายและค่าอำนาจจำแนกแล้ว คุณภาพของเครื่องมือวิจัยยังรวมไปถึง ความเป็นปรนัยและความมีประสิทธิภาพด้วย ความเป็นปรนัย (Objectivity)หมายถึงการที่เครื่องมือหรือแบบสอบมีข้อคำถามมีความชัดเจน ถูกต้อง และเข้าใจตรงกันทั้งผู้ถามและผู้ตอบ โดยปกติ จะประกอบด้วย ความชัดเจนในความหมายของคำตอบ ทุกคนที่อ่านข้อคำถามในแบบทดสอบนั้นจะต้องเข้าใจตรงกัน

45 ความเป็นปรนัย (ต่อ) ตรวจให้คะแนนได้ตรงกัน หมายความว่าข้อเฉลยของแบบทดสอบต้องตรงกัน ไม่ว่าจะให้ใครตรวจข้อสอบก็ตาม แปลความหมายของคะแนนได้ตรงกัน เช่น ตอบถูกได้ 1 คะแนน ตอบผิดได้ 0 คะแนน

46 ความมีประสิทธิภาพ (Efficiency)
หมายถึง แบบทดสอบที่ทำให้ได้ข้อมูลถูกต้อง เชื่อถือได้ โดยลงทุนเวลา แรงงาน และเงินน้อยที่สุด เพื่อการสร้าง การทำ และการตรวจแบบทดสอบ

47 การอ้างอิง ชไมพร กาญจนกิจสกุล.ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. –ตาก:โพรเจ็คท์ ไฟฟ์ – โฟว์, 2555. รัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์ สำนักทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช


ดาวน์โหลด ppt การหาคุณภาพเครื่องมือวิจัย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google