การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ แบบฐานสมรรถนะ

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
กองก่อสร้างโครงการย่อย กองก่อสร้างโครงการกลาง กองก่อสร้างโครงการใหญ่
Advertisements

ผู้เสนอ นางประภัสสร แก้วประสาน สังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี
บทที่ 3 การบริหารพนักงานขาย
การประเมินผลโครงการ บทที่ 9 ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ yalada.
การจัดทำแผนปฏิทินการจัดการความรู้ และแผนในการติดตามประเมินผลการจัดการความรู้ E:\ประกันคุณภาพ\ppt\ดูงาน\12-PPT_เสนอ_ครุศาสตร์_จุฬา_19_11_50.ppt.
มาตรฐานคุณภาพการสอน ของ คณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครู (The National Board for Professional Teaching Standards) วิกฤติอาชีพครู พัฒนาวิชาชีพครู
ผู้วิจัย : นางสาวสุรีรัตน์ ขันคำ
การออกแบบหน่วยการเรียนรู้แบบย้อนกลับ (Backward Design)
ชื่อเรื่อง : ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ ในรายวิชาการบัญชีบริหาร ด้วยวิธีการเรียนรู้แบบกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์ STAD ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้สถานการณ์จำลองการวางแผนงบประมาณในธุรกิจการผลิตเฟอร์นิเจอร์
มาตรฐานครูสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทย
การประเมินผลโครงการ คปสอ.คลองใหญ่.
Collaborative problem solving
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการใช้โปรแกรมนำเสนอข้อมูล เรื่องการเชื่อมโยง ภาพนิ่ง ด้วยโปรแกรม Powerpoint2007 โดยใช้ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI ของนักเรียนระดับชั้น.
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ วิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเฉลิมราชประชาอุทิศ.
รายงานการ ดำเนินงาน ศูนย์แนะแนวต้นแบบประจำสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา รายงานการ ดำเนินงาน ศูนย์แนะแนวต้นแบบประจำสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา.
ปรานอม ประทีปทวี 25/09/591 หน้าที่ของครูผู้นิเทศ สพม.5.
โดย... นายวินิจ รักชาติ อดีตผู้อำนวยการ สำนักงาน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม จังหวัด กาญจนบุรี
ระเบียบคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติว่าด้วยวิธีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของวัสดุนิวเคลียร์และสถานประกอบการทางนิวเคลียร์พ.ศ วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา.
บทที่ 3 องค์ประกอบของการสัมมนา
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
การสร้างแผนปฏิบัติการระดับตำบลหรือท้องถิ่น
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
กลุ่มคำและประโยค ภาษาไทย ม. ๓
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
กรณีศึกษา : นักเรียน ระดับ ปวช.2 สาขาวิชาการบัญชี
วิธีการกรอกแบบเสนอโครงการในไฟล์ Power point นี้
เทคนิคการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การประเมินผลการปฏิบัติงาน
ณ ห้องประชุม พธ.ทร.(๒) วันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๘ เวลา ๐๙๓๐
วาระที่ 3.4 แนวทางการปฏิบัติงานโครงการตามนโยบาย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
การประเมินวิทยฐานะ (ว 21/2560)
ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ ผู้สอน : คุณครูภาคภูมิ คล้ายทอง
เปิดบ้าน ชื่อโรงเรียน วันที่.
ผลงานทางวิชาการ ความหมาย ลักษณะ ประเภท
หมวดศึกษาทั่วไป ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ผู้สอน : อ.สำราญ ผลดี
การวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
วิชา ภาษาไทย รหัสวิชา ท ๓๓๑๐๒ สาระการเรียนรู้ พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๑ หน่วยกิต Dr. Bualak Petchngam.
การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการศึกษาด้านการสอบด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer-based Assessment) การรู้เรื่องการอ่าน ด้านคณิตศาสตร์และด้านวิทยาศาสตร์
โดย นางสาวนิรมล บุรกรณ์
YRC LANNA LOCAL WISHDOM
บทที่ 4 หลักทฤษฎีและปฏิบัติการธุรกิจ ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ
การนำเสนอผลงานการวิจัย
สัมมนาเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน
การวัดและประเมินผลด้านพุทธิพิสัย (ตามลำดับขั้นการเรียนรู้ของ Benjamin Bloom) รศ. บรรพต พรประเสริฐ.
การวิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัด
ความหมาย ความสำคัญ และจุดมุ่งหมายของการศึกษา
ประวัติวิทยากร ปริญญาเอก ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต ดร.วัชรศักดิ์ สงค์ปาน
วัสดุและเทคนิค ทางการออกแบบ อ.สุวิธธ์ สาดสังข์ ( Material and
จุดมุ่งหมายทางการศึกษา และ จุดประสงค์การเรียนรู้
การวัดพฤติกรรมทางด้านทักษะพิสัย
การวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
การวิจัยทางการท่องเที่ยว
การวิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัด
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การกำหนดประเด็นปัญหา
โครงการยกระดับคุณภาพผู้เรียน ในการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (NT/O-NET)
นายเกียรติศักดิ์ คนธสิงห์ วิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ
งานวิจัยในชั้นเรียน ผู้วิจัย นางสาวนนทกานต์ ลีอุดมวงษ์ .
การสอนควบคู่กับการเรียน
สถานการณ์เด็กไทยในปัจจุบัน
รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา Self – Assessment Report
วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่
การสร้างแบบทดสอบ อาจารย์ ปรีชา เครือวรรณ อาจารย์ สมพงษ์ พันธุรัตน์
การประเมินผลโครงการ บทที่ 9 ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ yalada.
การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน การเขียนโปรแกรมแบบทางเลือก
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
การวิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัด
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
การใช้ระบบสารสนเทศในการวิเคราะห์ข่าว
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ แบบฐานสมรรถนะ ไพฑูรย์ นันตะสุคนธ์ หัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 1

“ครู”หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพ ซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้าน บุคลากรวิชาชีพ ซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้าน การเรียนการสอน และการส่งเสริมการเรียนรู้ ของผู้เรียน ด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษา ทั้งของรัฐและเอกชน 05/04/62 N. PAITOON

ต้องรู้อะไร ? ก่อนทำแผนการจัดการเรียนรู้ 1. รู้เนื้อหาวิชาที่จะสอนอย่างชัดเจน - หลักสูตร (จุดประสงค์รายวิชา, เนื้อหา, เวลา) - ความสัมพันธ์กับรายวิชาอื่น - ประสบการณ์เดิมของผู้สอนและผู้เรียน - เอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชา 05/04/62 N. PAITOON

2. รู้กระบวนการเรียนรู้ของคน - วิธีสอน - สื่อและอุปกรณ์การสอน 3. เครื่องมือ / อุปกรณ์ / สิ่งอำนวยความสะดวกอื่น - สื่อและเครื่องมือต่าง ๆ - เอกสารประกอบการค้นคว้า / อ้างอิง 05/04/62 N. PAITOON

ลักษณะของแผนการจัดการเรียนรู้ 1. แผนการสอนอย่างหยาบ หรือ การจัดทำโครงการสอน 2. แผนการสอนย่อย จัดเป็นแบบ Micro Plan นิยมยึดถือ เนื้อหาวิชามากกว่าคาบการสอน โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น หน่วย ๆ เรียกว่า แผนการจัดการเรียนรู้แบบหน่วย มีความละเอียด ครู - อาจารย์อื่นสอนแทนได้ มีเอกสารสอนในแผนนั้นอย่างครบถ้วน 05/04/62 N. PAITOON

แผนการจัดการเรียนรู้ หมายถึง แผนการจัดการเรียนรู้ หมายถึง รายละเอียดของกิจกรรมต่าง ๆ ที่ครูผู้สอนกำหนดขึ้นอย่างเป็นระบบและเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ล่วงหน้า เพื่อนำไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้บรรลุผลตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ 05/04/62 N. PAITOON

ส่วนประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ 1. ส่วนประกอบตอนต้น ประกอบด้วย ปก คำนำ สารบัญ ลักษะรายวิชา สมรรถนะรายวิชา การวิเคราะห์หลักสูตรและกำหนดการสอน 2. ส่วนที่เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย ชื่อเรื่อง สาระสำคัญ สมรรถนะประจำหน่วยการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและแหล่งการเรียนรู้ หลักฐานการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล 3. ส่วนประกอบตอนท้าย ประกอบด้วย สื่อใบช่วยสอน แบบฝึก แบบทดสอบ เครื่องมือประเมิน และบันทึกหลังการเรียนรู้ 05/04/62 N. PAITOON

การวิเคราะห์หลักสูตร เป็นการแยกแยะหลักสูตรให้เห็นองค์ประกอบย่อย โดยมุ่งหวังให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาวิชาและพฤติกรรม ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางของแต่ละรายวิชา รวมถึงการกำหนดสัดส่วนน้ำหนักความสำคัญของเนื้อหา และพฤติกรรมพึงประสงค์ การวิเคราะห์หลักสูตรลักษณะนี้จะออกมาในรูปของตารางที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาและพฤติกรรมที่จะวัด เรียกว่า ตารางวิเคราะห์หลักสูตร หรือตารางกำหนดรายละเอียดของวิชา (Table of Specifications) 05/04/62 N. PAITOON

ขั้นตอนการวิเคราะห์หลักสูตร 1) การวิเคราะห์จุดประสงค์ เป็นการแปลจุดประสงค์รายวิชา เป็นพฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดแก่ผู้เรียนเมื่อเรียนวิชานั้น ๆ จบลงแล้ว 2) การวิเคราะห์เนื้อหา เป็นการนำเอาเนื้อหาวิชาจากหลักสูตร มาแบ่งออกเป็นหน่วยย่อย ๆ ในลักษณะหน่วยการเรียน 3) การสร้างตารางวิเคราะห์หลักสูตร เป็นตารางการหาสัดส่วน ความสำคัญ และแสดงความสัมพันธ์ของพฤติกรรมกับเนื้อหา 05/04/62 N. PAITOON

ลักษณะรายวิชา จุดประสงค์รายวิชา.... มาตรฐานรายวิชา...... รหัส......................ชื่อวิชา................................................................................... หน่วยกิต (ชั่วโมง)............ เวลาเรียนต่อภาค............... ชั่วโมง จุดประสงค์รายวิชา.... มาตรฐานรายวิชา...... คำอธิบายรายวิชา...... 05/04/62 N. PAITOON

1) การวิเคราะห์จุดประสงค์ 1) การวิเคราะห์จุดประสงค์ เป็นการแปลจุดประสงค์รายวิชา ออกเป็นพฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดแก่ผู้เรียน เมื่อเรียนจบรายวิชานั้น ๆ แล้ว แต่ละวิชาอาจมีจุดประสงค์แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับธรรมชาติของแต่ละวิชา พฤติกรรม + เงื่อนไขหรือสถานการณ์หรือเนื้อหาวิชา 1 2 - เพื่อให้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับส่วนต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ 05/04/62 N. PAITOON

จุดประสงค์ของการศึกษา Benjamin S. Bloom ได้จำแนกจุดประสงค์ ดังนี้ 1. Cognitive Domain พุทธิพิสัย 2. Psychomotor Domain ทักษะพิสัย 3. Affective Domain จิตพิสัย 05/04/62 N. PAITOON

ขอบเขตของจุดประสงค์ 1. พุทธิพิสัย มีลำดับขั้นการเรียนรู้ การประเมินค่า 1. พุทธิพิสัย มีลำดับขั้นการเรียนรู้ การประเมินค่า การสังเคราะห์ การวิเคราะห์ การนำไปใช้ ความเข้าใจ ความรู้ ความจำ

ตัวอย่างคำกริยา พุทธิพิสัย ระดับ ความรู้ ความเข้าใจ การนำไปใช้ วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่า จุดประสงค์ทั่วไป รู้ศัพท์ รู้ข้อเท็จจริง รู้กฏเกณฑ์ รู้ลำดับขั้น รู้ความสำคัญ รู้วิธีการ เข้าใจข้อเท็จจริง ตีความหามาย คาดการณ์ที่เกิดขึ้น แก้ปัญหา คำนวณ ตรวจสอบ ประมาณการ พิจารณา เลือก ประเมิน จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม บรรยาย ชี้แจ้ง เขียน บอก เลือก ชี้บ่ง จัด จำแนก ระบุ ค้นหา วิธีปฏิบัติ เรียบเรียง แปลง แปล เปลี่ยน อธิบาย ขยายความ เขียนใหม่ สรุป เลือก เปลี่ยนวิธีการ คำนวณ ปรับปรุง ใช้ เขียนแผนงาน แก้ปัญหา ผลิต แต่ง จำแนก ชี้บ่ง เปรียบเทียบ จัดประเภท ระบุ หาความสัมพันธ์ เขียนแผนผัง วางแผน กำหนดขอบข่าย ประเมิน พิจารณา ตัดสิน เปรียบเทียบกับมาตรฐาน เปรียบเทียบกับเกณฑ์ 05/04/62 N. PAITOON

สูง ด้านความรู้ ต่ำ ด้านความสามารถ / ทักษะทางปัญญา 6 การประเมินค่า 6 การประเมินค่า 5 การสังเคราะห์ 4 การวิเคราะห์ 3 การนำไปใช้ 2 ความเข้าใจ 1 ความรู้ความจำ ด้านความสามารถ / ทักษะทางปัญญา ด้านความรู้ ต่ำ 05/04/62 N. PAITOON

ขอบเขตของจุดประสงค์ 2. ทักษะพิสัย มีลำดับขั้นการเรียนรู้ 2. ทักษะพิสัย มีลำดับขั้นการเรียนรู้ ทักษะการทำจนเคยชิน ทักษะการกระทำอย่างต่อเนื่อง ทักษะที่มีความถูกต้องตามแบบ ทักษะการทำตามแบบ ทักษะการเลียนแบบ

ขอบเขตของจุดประสงค์ 3. จิตพิสัย มีลำดับขั้นการเรียนรู้ 3. จิตพิสัย มีลำดับขั้นการเรียนรู้ การสร้างลักษณะนิสัย การจัดระบบ การสร้างคุณค่า การตอบสนอง การเรียนรู้

แบบฝึกการวิเคราะห์จุดประสงค์ 1.................. 2.................. 3.................. 4.................. 5.................. 6.................. พุทธิพิสัย ทักษะพิสัย.....................มีทุกวิชา จิตพิสัย..........................มีทุกวิชา 05/04/62 N. PAITOON

2) การวิเคราะห์เนื้อหา 2) การวิเคราะห์เนื้อหา เป็นการนำเอาคำอธิบายรายวิชาจากหลักสูตรมาแบ่งเป็นเรื่องย่อย ๆ หรือหน่วยย่อย ๆ ตามสมควร การแบ่งเนื้อหาวิชานี้พยายามแบ่งให้แต่ละตอนไล่เลี่ยกัน อาจจะมีการสลับหัวข้อเสียใหม่บ้างก็ได้เพื่อให้มีความต่อเนื่องกัน หรือเห็นว่าเนื้อหาตอนใดควรต่อเติมก็ย่อมทำได้ ข้อสำคัญก็คือไม่ควรมีการตัดทอนเนื้อหาของหลักสูตรให้น้อยลง แล้วจึงนำมาจัดเรียงตามลำดับ 05/04/62 N. PAITOON

วิชา การใช้โปรแกรมฐานข้อมูล ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับความหมายและประโยชน์ของ ฐานข้อมูล การเลือกใช้โปรมแกรมฐานข้อมูลที่เหมาะสมกับ ลักษณะงาน การจัดเก็บข้อมูลด้วยตารางข้อมูล การป้อนและ แก้ไขตารางข้อมูล การค้นหาข้อมูล การสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างแฟ้มข้อมูล การสร้างแบบฟอร์มในการกรอกข้อมูล การสร้าง รายงาน การเขียนโปรแกรมฐานข้อมูลเบื้องต้น 05/04/62 N. PAITOON

3) การสร้างตารางวิเคราะห์หลักสูตร จุดสำคัญของการสร้างตารางวิเคราะห์หลักสูตร คือการหาสัดส่วนความสำคัญของเนื้อหาวิชา ในแต่ละพฤติกรรมที่สัมพันธ์กันตามหลักสูตรต้องการ นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ต่อการกำหนดคาบสอนของแต่ละเนื้อหาวิชา และการวัดผลการศึกษาด้วย โดยมีขั้นตอนดังนี้ 05/04/62 N. PAITOON

ขั้นตอนการสร้างตารางวิเคราะห์หลักสูตร 1. วิเคราะห์จุดประสงค์และเนื้อหาวิชาในหลักสูตร โดยพิจารณาพฤติกรรมและเนื้อหาให้เป็นที่เข้าใจ 2. กรอกรายการเนื้อหาวิชาที่จัดเป็นหัวข้อใหญ่ ๆ ลงตารางวิเคราะห์หลักสูตรเป็นหน่วยการเรียน 05/04/62 N. PAITOON

3. กำหนดน้ำหนักคะแนนความสำคัญของแต่ละหน่วยการเรียน โดยยึดเกณฑ์น้ำหนักช่องละ 10 คะแนน ดังนี้ สำคัญที่สุด 9 - 10 คะแนน สำคัญมาก 7 - 8 คะแนน ปานกลาง 4 - 6 คะแนน สำคัญน้อย 2 - 3 คะแนน น้อยมากหรือไม่สำคัญเลย 0 – 1 คะแนน 05/04/62 N. PAITOON

4. นำตารางมาหาผลรวมในแต่ละช่องทางด้านขวามือ เพื่อให้ทราบลำดับความสำคัญของเนื้อหา 5. รวมน้ำหนักลงด้านล่าง (พฤติกรรม) แล้วจัดลำดับ ความสำคัญของพฤติกรรมที่ต้องการปลูกฝัง 6. ปรับตารางเฉลี่ยให้เป็น 100 หน่วย 05/04/62 N. PAITOON

18 220 40 100 40100 = 18.18 40 24 36 12 48 20 220 100 05/04/62 N. PAITOON

4 10 8 8 5 9 40 24 36 12 48 20 220 100 18 40 9 18 9  18 = 4.05 05/04/62 N. PAITOON

12 ชั่วโมง 3(4) = 174 = 68 หน่วยกิต ชั่วโมง สัปดาห์ 40 24 36 12 48 20 220 100 18 100 18 68 1868 = 12.24 = 12 68 05/04/62 N. PAITOON

ตารางวิเคราะห์หลักสูตร หน่วยเรียน ความรู้ความจำ (10) ความเข้าใจ (10) นำไปใช้ (10) วิ เคราะห์ (10) สัง เคราะห์ ประ เมินค่า (10) ทักษะ(10) จิตพิสัย รวม ลำดับที่ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ การนำเสนอข้อมูล หลักการออกแบบ โปรแกรมและการเลือกใช้ โปรแกรมการนำเสนอข้อมูล 4 4 4 - 3 4 6 7 20 - 3 4 6 7 20 12 20 22 24 5 4 2 1 3 6 7 5 6 6+1 2 6 6 6+1 2 1 6 6 6+2 2 1 1 3 5 7+1 2 2 2 24 27 34 29 8 4 3 100 3 2 1 4 05 เม.ย. 62 พนมพร แฉล้มเขตต์ 28

ตารางวิเคราะห์ข้อสอบ หน่วยเรียน ความรู้ความจำ (10) ความเข้าใจ (10) นำไปใช้ (10) วิ เคราะห์ (10) สัง เคราะห์ ประ เมินค่า (10) รวม ลำดับ ที่ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ การนำเสนอข้อมูล หลักการออกแบบ โปรแกรมและการเลือกใช้ โปรแกรมการนำเสนอข้อมูล 12 20 22 24 5 4 2 1 3 4 4 4 5 6 7 2 6 6 7 2 1 6 6 8 2 1 1 3 5 8 2 2 2 24 27 34 8 4 3 100

กำหนดหน่วยการเรียนเป็นสมรรถนะ 05/04/62 N. PAITOON

แปลงหน่วยเรียนให้เป็นสมรรถนะ รายวิชาตามหลักสูตร แปลงหน่วยเรียนให้เป็นสมรรถนะ ที่ สมรรถนะ เวลา รหัส__ วิชา____ หน่วยกิต ____ 1 กริยา + กรรม + เงื่อนไข x จุดประสงค์รายวิชา 2 ________________ 3 4 5 มาตรฐานรายวิชา คำอธิบายรายวิชา รวม

สมรรถนะ ( Competence ) ในบริบทของมาตรฐานอาชีพ มาตรฐานวิชาชีพ และมาตรฐานการศึกษาวิชาชีพซึ่งใช้กับคนนั้น จะใช้ ศัพท์ของคำ Competence ว่า “สมรรถนะ” คือ ความสามารถในการปฏิบัติงาน โดยใช้ความรู้ ทักษะ และเจตคติ ที่บูรณาการกันอย่างแนบแน่นเพื่อให้เกิด ประสิทธิผลและประสิทธิภาพ 05/04/62 N. PAITOON

สมรรถนะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด สมรรถนะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด 1. สมรรถนะการปฏิบัติงาน ( Practical Competence ) เป็นทักษะการเคลื่อนไหวของร่างกายเป็นหลัก เช่น การผลิต การประกอบ การซ่อม การสร้าง การบริหาร ฯลฯ 2. สมรรถนะทางปัญญา ( Cognitive Competence ) เป็นสมรรถนะของการคิด โดยใช้ทักษะทางปัญญา หรือ ทักษะการคิด เช่น การแก้ปัญหา การใช้เหตุผล การ ถ่ายทอดและการเรียนรู้ 05/04/62 N. PAITOON

การเขียนข้อความแสดงสมรรถนะ ข้อความที่เขียนจะต้องอยู่ในรูป กริยา – กรรม – เงื่อนไข ซึ่งถือเป็นหลักสำคัญการเขียน เช่น “ใช้ ภาษาอังกฤษ ในการทักทายและแนะนำตัว ” “จัดแสดง สินค้า ตามหลักการโฆษณา” “บันทึกรายการ ในสมุดรายวัน ตามหลักบัญชีชั้นต้น” “ตกแต่ง ชิ้นงาน และจัดส่งมอบตามกำหนดเวลา” “ถอด ประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ ตามคู่มือ” “คำนวณ หาค่าร้อยละ ตามหลักวิธีการ” “คำนวณ หาค่าต่าง ๆ ในงานเชื่อมโลหะและงานทางกล”

การเขียนข้อความแสดงสมรรถนะ “ถอดเปลี่ยน เพลาขับ ของเครื่องยนต์ขับเคลื่อนสี่ล้อ” “เชื่อม ชิ้นงานโลหะ แบบต่อชนท่าข้ามศีรษะ” “บัดกรี ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ บนแผ่นวงจรพิมพ์” “แสดง ความรู้ เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมฐานข้อมูล” “ใช้ หลักอุปสงค์อุปทาน เพื่อการตัดสินใจ” “ซ่อม มอเตอร์ไฟฟ้า ตามหลักวิธีการ” “ตรวจสอบ เกลียว ด้วยเกจวัดเกลียว” “เลือกใช้ เครื่องมือและวัสดุ ในการทำเกลียวในแบบทะลุ” “ประกอบ ทดสอบ วงจรและอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ เบื้องต้น” “กำหนด มาตรฐานคุณภาพและผลผลิต ในองค์กร”

แปลงหน่วยเรียนให้เป็นสมรรถนะ รายวิชาตามหลักสูตร แปลงหน่วยเรียนให้เป็นสมรรถนะ ที่ สมรรถนะ เวลา รหัส_ วิชา_____ หน่วยกิต ____ 1 กริยา + กรรม + เงื่อนไข x จุดประสงค์รายวิชา 2 ________________ 3 4 5 มาตรฐานรายวิชา คำอธิบายรายวิชา รวม

การใช้โปรแกรมฐานข้อมูล ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับความหมายและประโยชน์ของ ฐานข้อมูล การเลือกใช้โปรมแกรมฐานข้อมูลที่เหมาะสมกับ ลักษณะงาน การจัดเก็บข้อมูลด้วยตารางข้อมูล การป้อนและ แก้ไขตารางข้อมูล การค้นหาข้อมูล การสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างแฟ้มข้อมูล การสร้างแบบฟอร์มในการกรอกข้อมูล การสร้าง รายงาน การเขียนโปรแกรมฐานข้อมูลเบื้องต้น 05/04/62 N. PAITOON

กำหนดการสอน เป็นลักษณะการแบ่งหน่วยการเรียนหนึ่ง ๆ ออกเป็นหัวข้อเรื่องใหญ่ ๆ ที่จะสอนตามความเหมาะสม และตามลำดับการเรียนรู้ของเนื้อหา 05/04/62 N. PAITOON

กำหนดการสอน สมรรถนะนี้มีขั้นตอน ชื่อหน่วย / รายการสอน สมรรถนะ / เกณฑ์การปฏิบัติงาน สัปดาห์ที่ ชั่วโมงที่ หน่วยที่ 1 …………… สมรรถนะ : …………………… …… ….. ……………. 2.1 ……….. 2.2 ……….. ……………. 1. …………………… ……………. 2. …………………… สมรรถนะนี้มีขั้นตอน การปฏิบัติงานอย่างไร 05/04/62 N. PAITOON

หน่วยที่..................... ชื่อหน่วย.............................................. 1. หัวข้อใหญ่ 1.1 หัวข้อรอง 1.1.1 หัวข้อย่อย 1.1.2........................................................ 1.2.................................................................. 1.3.................................................................. 2. หัวข้อใหญ่ 2.1.................................................................. 05/04/62 N. PAITOON

โครงสร้างการเรียนรู้ ความหมาย 1 ความสำคัญ ประโยชน์ 2 ทฤษฎี หลักการ 3 วิธีการ ขั้นตอน 4 กระบวนการทำงาน 5 การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ 6 กิจนิสัย คุณธรรม 7

กำหนดการสอน สมรรถนะนี้มีขั้นตอน ชื่อหน่วย / รายการสอน สมรรถนะ / เกณฑ์การปฏิบัติงาน สัปดาห์ที่ ชั่วโมงที่ หน่วยที่ 1 …………… สมรรถนะ : …………………… …… ….. ……………. 2.1 ……….. 2.2 ……….. ……………. 1. …………………… ……………. 2. …………………… สมรรถนะนี้มีขั้นตอน การปฏิบัติงานอย่างไร 05/04/62 N. PAITOON

เกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) การกำหนดเกณฑ์การปฏิบัติงาน เป็นการอธิบายสิ่งที่ผู้เรียนต้องแสดงออก หรือพฤติกรรมที่แสดงออกหรือทักษะการปฏิบัติ อันจะนำไปสู่สมรรถนะที่กำหนดไว้ ควรครอบคลุมทั้งกระบวนการปฏิบัติ (Process) และผลงาน (Product) ที่สะท้อนถึงความสามารถที่จริงของผู้เรียน ที่สามารถวัดได้สังเกตได้ และสามารถนำไปเป็นข้อมูลประกอบการสร้างเครื่องมือในการวัดประเมินผลการเรียนรู้

ข้อเสนอแนะในการเขียนเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) นิยมเขียนในลักษณะที่ว่า จะต้องทำอะไรบ้าง (ซึ่งเป็น กระบวนการทำงาน) แล้วจึงถามต่อไปว่าจะต้องทำดีอย่างไร โดยเสนอแนะหลักการเขียนไว้ ดังนี้ 1. เขียนรายการว่าต้องทำอะไรบ้าง 2. ย้อนกลับไปถามในแต่ละรายการว่า ต้องมีผลลัพธ์ดีอย่างไร 3. กำจัดรายการที่ทำซ้ำ หรือไม่ใช่สิ่งสำคัญออก เหลือไว้เฉพาะที่สำคัญ 4. ต้องมั่นใจว่ารายละเอียดของเกณฑ์ เป็นมาตรฐานยอมรับ (Accepted Standard) ของการทำงาน

ข้อสรุปสำหรับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) 1. เขียนในรูป ผลลัพธ์ + ข้อกำหนดของการประเมิน (Outcome + Evaluative Statement) 2. กำหนดด้านสำคัญที่สุดของการปฏิบัติงาน 3. กำหนดระดับของหน่วยย่อยต้องปฏิบัติได้ 4. กล่าวถึงสิ่งต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นและการจัดการงานของสถานที่ทำงาน คำที่มักใช้ผิดในข้อความของเกณฑ์การปฏิบัติงาน : - คำที่ไม่ยอมให้เขียนแสดงไว้ในเกณฑ์การปฏิบัติงาน เช่น รู้, เข้าใจ, ตระหนักถึง, หรือมีความซาบซึ้ง - คำที่ไม่สื่อความหมาย เช่น ถูกต้อง, เหมาะสม เนื่องจากไม่ใช่การกำหนดเกณฑ์

ตัวอย่าง ชื่อหน่วย / รายการสอน สมรรถนะ/เกณฑ์การปฏิบัติงาน ชื่อหน่วย / รายการสอน สมรรถนะ/เกณฑ์การปฏิบัติงาน หน่วยที่ 3 การทำชิ้นงาน สมรรถนะ ทำชิ้นงานตามหลักวิธีการ รายการสอน เกณฑ์การปฎิบัติงาน 1. หลักการรวบรวมข้อมูล..... 1. หลักการรวบรวมข้อมูล....ได้รับการประเมินตามหลักการ 2. การวางแผนการใช้เครื่องมือ 2. – แผนการใช้เครื่องมือได้เขียนไว้อย่างชัดเจน - เครื่องมือได้จัดเตรียมไว้พร้อมใช้งาน 3. การทำชิ้นงาน 3. - วัสดุได้รับการจัดเตรียมตามข้อกำหนด - การจัดทำชิ้นงานได้ดำเนินการตามขั้นตอน 4. การตรวจสอบชิ้นงาน 4. - ชื้นงานผ่านการตกแต่งอยู่ในสภาพพร้อมใช้ - ชิ้นงานผ่านการทำความสะอาดปราศจาก.. - ชิ้นงานได้รับการตรวจสอบพร้อมส่งมอบ - บริเวณพื้นที่ปฏิบัติงานได้ผ่านการทำความ สะอาดหลังเสร็จสิ้นการปฏิบัติงาน

มาวางแผนเพื่อกำหนดรูปแบบ วิธีการนำไปใช้ นำเกณฑ์การปฏิบัติงานไปสร้างแบบประเมินการปฏิบัติงาน เกณฑ์การปฎิบัติงาน 1. ประเมินผลหลักการรวบรวมข้อมูล....ตามหลักการ 2. – แผนการใช้เครื่องมือได้เขียนไว้อย่างชัดเจน - เครื่องมือได้จัดเตรียมไว้พร้อมใช้งาน 3. - วัสดุได้รับการจัดเตรียมตามข้อกำหนด - การจัดทำชิ้นงานได้ดำเนินการตามขั้นตอน 4. - ชื้นงานผ่านการตกแต่งอยู่ในสภาพพร้อมใช้ - ชิ้นงานผ่านการทำความสะอาดปราศจาก.. - ชิ้นงานได้รับการตรวจสอบพร้อมส่งมอบ - บริเวณพื้นที่ปฏิบัติงานได้ผ่านการทำความ สะอาดหลังเสร็จสิ้นการปฏิบัติงาน นำเกณฑ์ข้างต้น มาวางแผนเพื่อกำหนดรูปแบบ วิธีการนำไปใช้ และเงื่อนไขในการประเมิน ตามสภาพจริง

กำหนดชื่อเรื่อง การเขียนชื่อเรื่องก็คือการนำหัวข้อเรื่องที่จะสอนมากำหนดเป็นชื่อเรื่องในหน่วยการเรียนนั้น ๆ เช่น ชื่อเรื่อง การจัดทำงบการเงิน หัวข้อเรื่องที่จะสอนในหน่วยการเรียนนี้ คือ 1. การจัดทำงบกำไรขาดทุน 2. การจัดทำงบดุล 05/04/62 N. PAITOON

1. สาระสำคัญ หมายถึง ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเนื้อหา หลักการวิธีการที่ต้องการให้ผู้เรียนได้รับ หลังจากเรียนเรื่องนั้น ๆ แล้ว ทั้งในด้านความรู้ทักษะ และ เจตคติโดยพิจารณาจากจุดประสงค์การเรียนรู้ และสาระการเรียนรู้ แล้วเขียนเป็นข้อสรุปเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้เรียนจะได้รับ 05/04/62 N. PAITOON

2. สมรรถนะประจำหน่วยการเรียนรู้ เป็นความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ ความเข้าใจ ทักษะปฏิบัติ และทักษะด้านความคิดในการปฏิบัติงานในหน่วยการเรียนรู้นั้น ๆ ให้มีประสิทธิผล ซึ่งจะเขียนในรูป กริยา - กรรม - เงื่อนไขหรือสถานการณ์ 05/04/62 N. PAITOON

3. จุดประสงค์การเรียนรู้ จุดประสงค์ทั่วไป หมายถึง ความคาดหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน หลังจากผ่านการเรียน การฝึก และอบรมแล้ว เป็นข้อความที่เขียนอย่างกว้าง ๆ จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม หมายถึง พฤติกรรมการแสดงออกของผู้เรียน ภายใต้เงื่อนไขหรือเนื้อหาหรือสถานการณ์ ที่สามารถวัดและสังเกตได้ 05/04/62 N. PAITOON

การเขียนจุดประสงค์การเรียนรู้ การเขียนจุดประสงค์การเรียนรู้ประจำหน่วย 1. จุดประสงค์ทั่วไป พฤติกรรม + เงื่อนไขหรือสถานการณ์หรือเนื้อหาวิชา 1 2 2. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม พฤติกรรม + เงื่อนไขหรือสถานการณ์ + เกณฑ์ 1 2 3 05/04/62 N. PAITOON

ตัวอย่างคำกริยา พุทธิพิสัย ระดับ ความรู้ ความเข้าใจ การนำไปใช้ วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่า จุดประสงค์ทั่วไป รู้ศัพท์ รู้ข้อเท็จจริง รู้กฏเกณฑ์ รู้ลำดับขั้น รู้ความสำคัญ รู้วิธีการ เข้าใจข้อเท็จจริง ตีความหามาย คาดการณ์ที่เกิดขึ้น แก้ปัญหา คำนวณ ตรวจสอบ ประมาณการ พิจารณา เลือก ประเมิน จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม บรรยาย ชี้แจ้ง เขียน บอก เลือก ชี้บ่ง จัด จำแนก ระบุ ค้นหา วิธีปฏิบัติ เรียบเรียง แปลง แปล เปลี่ยน อธิบาย ขยายความ เขียนใหม่ สรุป เลือก เปลี่ยนวิธีการ คำนวณ ปรับปรุง ใช้ เขียนแผนงาน แก้ปัญหา ผลิต แต่ง จำแนก ชี้บ่ง เปรียบเทียบ จัดประเภท ระบุ หาความสัมพันธ์ เขียนแผนผัง วางแผน กำหนดขอบข่าย ประเมิน พิจารณา ตัดสิน เปรียบเทียบกับมาตรฐาน เปรียบเทียบกับเกณฑ์ 05/04/62 N. PAITOON

ตัวอย่างคำกริยา ทักษะพิสัย ระดับ จุดประสงค์ทั่วไป จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ไม่แบ่งระดับ ใช้เครื่องมือ ใช้อุปกรณ์ สร้าง ทำ ปฏิบัติงาน ประดิษฐ์ ประกอบ สร้าง แต่ง ทุบ ถอด ก่อ ต่อ เติม ทำ ตอน เจาะ ตัวอย่างคำกริยา จิตพิสัย ระดับ จุดประสงค์ทั่วไป จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ไม่แบ่งระดับ เห็นคุณค่า เห็นความสำคัญ รับผิดชอบ ทัศนคติ กิจนิสัย สนใจ ให้ความร่วมมือ เห็นด้วย ยอมรับ ปฏิบัติตาม สนับสนุน 05/04/62 N. PAITOON

จุดประสงค์ทั่วไป แสดงการเรียนรู้รวม ๆ ไม่แจกแจงพฤติกรรมย่อย นิยมเขียนน้อยข้อ ใช้คำกริยากว้าง ๆ ตัวอย่าง : เพื่อให้รู้และเข้าใจเกี่ยวกับ … เพื่อให้มีทักษะเกี่ยวกับ... เพื่อให้มีความรับผิดชอบต่อ.. 05/04/62 N. PAITOON

จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ระบุชัดเจนว่าต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมอะไรที่สามารถวัด/สังเกตได้ 1. บอกความหมายของงบการเงินได้ 2. อธิบายประโยชน์ของงบการเงินได้ 3. จำแนกความแตกต่างของงบการเงินได้ 4. บอกคำศัพท์ได้ถูกต้องอย่างน้อย 8 ใน 10 คำ 5. ทำงบการเงินเสร็จภายใน 50 นาที 6. ปฏิบัติงานได้ตามกำหนดเวลา เขียนให้ครอบคลุมทั้งพุทธิพิสัย ทักษะพิสัย จิตพิสัย เขียนให้ครบ 3 องค์ประกอบ ได้แก่ พฤติกรรม เงื่อนไข และเกณฑ์ จำนวนข้อที่เขียนเหมาะสมกับเวลาสอน 05/04/62 N. PAITOON

4. สาระการเรียนรู้ เป็นการเขียนเนื้อหาสาระที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เพื่อให้บรรลุตามจุดประสงค์ที่กำหนด ครูอาจจะเขียนเนื้อหารายละเอียดทั้งหมด ตามหัวข้อที่กำหนดในแผนการจัดการเรียนรู้ หากรายละเอียดของเนื้อหามีมากอาจเขียนเฉพาะหัวข้อเรื่องนั้น ๆ ไว้ ส่วนรายละเอียดของเนื้อหาอาจแยกไว้ต่างหากในรูปของเอกสารใบความรู้ 05/04/62 N. PAITOON

หน่วยที่..................... ชื่อหน่วย.............................................. 1. หัวข้อใหญ่ 1.1 หัวข้อรอง 1.1.1 หัวข้อย่อย 1.1.2................................................... 1.2............................................................ 1.3............................................................ 2. หัวข้อใหญ่ 2.1............................................................ 05/04/62 N. PAITOON

4. สาระการเรียนรู้ 1. หัวข้อใหญ่ 1.1 หัวข้อรอง 1.1.1 หัวข้อย่อย 1.1.2.......................................... 1.2........................................................... 1.3........................................................... 2. หัวข้อใหญ่ 2.1.......................................................... 05/04/62 N. PAITOON

6. สื่อและแหล่งการเรียนรู้ หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ วิธีการและแหล่งวิทยาการ ที่ผู้สอนใช้เป็นสื่อกลางส่งถ่ายความรู้ และทักษะ ตลอดจนเจตคติไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 05/04/62 N. PAITOON

ใบช่วยสอน เป็นหน้าที่ของครูที่จะพัฒนาใบช่วยสอนใช้เอง การนำใบช่วยสอนจากที่อื่นมาใช้ อาจไม่เหมาะสมกับ ความต้องการของผู้เรียนที่เป็นอยู่ นอกจากนั้นการพัฒนา ใบช่วยสอนขึ้นใช้เอง จะช่วยให้ครูเข้าใจขั้นตอนที่สำคัญ จุดอ่อนจุดเน้นของเรื่อง และสามารถพัฒนาพฤติกรรม ความรู้ความสามารถของผู้เรียนได้ กระบวนการในการ ใช้ใบช่วยสอนเป็นเรื่องที่ครูต้องตระหนักว่าขั้นไหนควร ใช้อย่างไร ทั้งยังเข้าใจบทบาทของตัวเองได้ดียิ่งขึ้น 05/04/62 N. PAITOON

ประเมินการปฏิบัติงาน เหตุผลความจำเป็น การสอนงาน ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ ใบงาน ใบปฎิบัติงาน ใบความรู้ ใบมอบหมายงาน ประเมินความรู้ ประเมินการปฏิบัติงาน

ใบความรู้ 1. เนื้อหาต้องสัมพันธ์กับจุดประสงค์การเรียนรู้ 2. ภาษาที่ใช้ง่าย อ่านแล้วเข้าใจ 3. มีเหตุผลอ้างอิงตามความจำเป็น 4. จัดเนื้อหาสาระตามลำดับหัวข้อการสอน 5. ใช้รูปภาพประกอบการบรรยายให้มากเท่าที่ทำได้ 6. คำบรรยายหรือเนื้อหาต้องมีความสมบูรณ์ 7. เนื้อหาทุกตอน อ่านแล้วต้องเข้าใจทันที 05/04/62 N. PAITOON

ใบความรู้ (INFORMATION SHEET) เป็นใบช่วยสอนที่ระบุเนื้อหาตามจุดประสงค์ที่จะสอน พร้อมด้วยคำถามทบทวน ส่วนประกอบ ส่วนหัว : รหัสวิชา ชื่อวิชา หน่วยกิต ระดับชั้น ส่วนเนื้อหา : จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม เนื้อหาสาระ (อาจมีภาพประกอบ) คำถาม หนังสืออ้างอิง 05/04/62 N. PAITOON

ใบงาน หรือ ใบสั่งงาน หมายถึง เอกสารที่ใช้เป็นคำสั่ง เป็นคำแนะนำผู้เรียนให้สามารถปฏิบัติงานได้ตามที่กำหนด วัตถุประสงค์ในการสร้างใบงานเพื่อสอนเรื่องการทำงานของเครื่องมืออุปกรณ์อย่างหนึ่งอย่างใดโดยเฉพาะ และหรือเพื่อการพัฒนาความรู้ในลักษณะของการสร้างความรู้ในรูปของความคิดรวบยอดและหลักการให้เกิดขึ้นในสมองตามกระบวนการของผู้เรียน เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาร่วมกับการเรียนภาคทฤษฎี โดยมีขอบเขต ดังนี้ 65

- เพื่อต้องการประเมินผลการสอนของครูผู้สอน - เพื่อให้เกิดแรงจูงใจและความมั่นใจในการเรียนของผู้เรียน - เพื่อใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ด้วยวิธีการ มอบหมายงานให้ผู้เรียนไปค้นคว้าหาความรู้ทางด้าน ทฤษฎีและเป็นแบบฝึกหัด เพื่อให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ จากการค้นคว้า แล้วสรุปหรือตอบคำถามหรือแก้ปัญหา จากงานที่ได้รับ - เพื่อใช้ในการตรวจปรับการเรียนของผู้เรียนและครูผู้สอน 66

ใบงาน (JOB SHEET) ส่วนประกอบ เป็นใบช่วยสอนที่ผู้สอนใช้ถ่ายทอดความรู้ และทักษะในการ ปฏิบัติงานให้ผู้เรียนได้ศึกษาและปฏิบัติตามลำดับขั้นตอน จนเกิดความรู้ ทักษะ และกิจนิสัย สอดคล้องตรงตาม จุดประสงค์ของหลักสูตร ส่วนประกอบ - ชื่อเรื่อง - จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม - เครื่องมือและอุปกรณ์ - วัสดุ - ลำดับขั้นการปฏิบัติงาน - ภาพประกอบ (ถ้ามี) - ข้อเสนอแนะ/ควรระวัง 05/04/62 N. PAITOON

ใบงาน (JOB SHEET) ส่วนประกอบ เป็นใบช่วยสอนที่ผู้สอนใช้ตรวจสอบความรู้ และทักษะของ ผู้เรียน โดยอาจให้ผู้เรียนได้ศึกษาและฝึกปฏิบัติจนเกิดความรู้ ทักษะ และกิจนิสัย ตรงตามจุดประสงค์ของหลักสูตร ส่วนประกอบ - ชื่อเรื่อง - จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม - แบบฝึกหัด หรือ - กิจกรรมตรวจสอบความเข้าใจ - เวลา..........นาที - ขั้นการปฏิบัติ (คำสั่ง) - ข้อเสนอแนะ

ใบงาน (JOB SHEET) ส่วนประกอบ เป็นใบช่วยสอนที่ผู้สอนใช้ถ่ายทอดความรู้ และทักษะโดย ให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองและปฏิบัติตามจนเกิด ความรู้ ทักษะและกิจนิสัย ตรงตามจุดประสงค์ของหลักสูตร ส่วนประกอบ - ชื่อเรื่อง - จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม - หัวข้อเรื่องศึกษาค้นคว้า - ระยะเวลาส่งงาน - ลำดับขั้นการปฏิบัติ - เอกสาร/รายงาน (ถ้ามี) - ข้อเสนอแนะ/ควรระวัง

หมายถึง วัสดุสิ่งพิมพ์ที่ครูผู้สอนใช้มอบงานเพื่อวัดและประเมินผลในการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนพึงได้รับ ว่ามีคุณภาพบรรลุตามเป้าหมายหรือตามจุดประสงค์การเรียนรู้หรือไม่เพียงไร ใบมอบหมายงานนี้สามารถทำในรูปของการทดสอบภาคทฤษฎีระหว่างเรียน หรือท้ายหน่วยเรียนที่เป็นข้อสอบวัดความรู้ทักษะ และหรือภาคปฏิบัติในรูปของภาระงาน การผลิต และการจัดทำชิ้นงาน 70

ใบมอบหมายงาน (ASSIGNMENT SHEET) เป็นใบช่วยสอนที่ระบุชื่องาน และรายละเอียดของงาน ที่ต้องการให้ผู้เรียนปฏิบัติ โดยนำความรู้ ทักษะที่ได้ ศึกษาไปแล้วมาประยุกต์ใช้ ส่วนประกอบ - ชื่องาน (แบบทดสอบ,ภาระงาน,ชิ้นงาน) - จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม - แนวทางการปฏิบัติงาน - กำหนดเวลาส่งงาน - แหล่งข้อมูลค้นคว้าเพิ่มเติม - การวัดประเมินผล

7. หลักฐานการเรียนรู้ 1. เป็นการนำจุดประสงค์การเรียนรู้และเนื้อหาสาระ มากำหนด เป็นหลักฐาน การแสดงออกของผู้เรียนทั้งในเรื่องของความรู้ ทักษะ กระบวนการ ผลงาน รวมทั้งกิจนิสัยในการทำงาน โดยออกแบบการประเมินผลการเรียนรู้ให้ครบทุก Concept 2. จัดกลุ่มหลักฐานการแสดงออกของผู้เรียนให้เป็นไปตามลำดับ เพื่อไม่ให้เกิดการทับซ้อน และเหมาะสมกับการนำไปจัดการ เรียนรู้ 05/04/62 N. PAITOON

ชนิดและลักษณะของหลักฐาน 1. หลักฐานความรู้ เช่น แบบทดสอบ งานที่มอบหมาย แบบฝึกหัด เอกสารและหรือรายงานทางวิชาการอื่น ๆ 2. หลักฐานการปฏิบัติงาน เช่น ชิ้นงาน ภาระงาน และ พฤติกรรมที่แสดงถึงการบรรลุผลสำเร็จ รวมทั้งเกณฑ์ที่จะ ประเมิน 3. การจัดประเมินผลทั้งข้อ 1 และ 2 ต้องเป็นการจัดประเมินผล ตามสภาพจริงตลอดเวลาของการจัดการเรียนรู้ 05/04/62 N. PAITOON

5. กิจกรรมการเรียนรู้ หมายถึง การจัดประสบการณ์หรือกิจกรรมต่างๆ ที่ผู้สอนได้จัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ และหรือปฏิบัติเพื่อให้สามารถบรรลุผลตามจุดประสงค์การเรียนรู้ ที่กำหนดไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้ 05/04/62 N. PAITOON

กระบวนการสอน CIPPA Model  ขั้นนำ  ขั้นกิจกรรม - สร้างความรู้ด้วยตนเอง Construct - มีปฏิสัมพันธ์ช่วยกันเรียนรู้ Interaction - มีส่วนร่วมในการสร้างความรู้ด้วยตนเอง Participation - ได้เรียนรู้กระบวนการ Process ควบคู่กับผลงาน Product - นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ Application  ขั้นวิเคราะห์  ขั้นสรุปและประเมินผล 05/04/62 N. PAITOON

กระบวนการสอน MIAP Model ขั้นสนใจปัญหา - นำเข้าสู่บทเรียนโดยใช้สถานการณ์ คำถาม (Motivation) สื่อและอุปกรณ์ประกอบ ขั้นให้เนื้อหา - บรรยาย สาธิต และมอบหมายงาน(Information) - ให้ความรู้เรื่อง............................................. - ให้เรียนรู้จากสื่อและแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ขั้นพยายาม - ให้ผู้เรียนทดสอบความสามารถ ด้วยการ (Application) พยายามทำ ฝึกหัด แบบฝึกหัด ขั้นสำเร็จผล - ตรวจสอบผลงานในการเรียนรู้ (Progress) 05/04/62 N. PAITOON

8. การวัดประเมินผล เป็นกระบวนการตัดสินคุณค่าของวัตถุ เหตุการณ์หรือบุคคล โดยวิเคราะห์จากข้อมูลที่กำหนด ทั้งนี้โดยอาศัยเครื่องมือหลาย ๆ ประเภท เช่น แบบทดสอบ แบบสังเกต แบบสอบถาม แบบประเมินผลงานและแบบประเมินอื่นๆ ตามขอบข่ายภาระงาน ซึ่งสามารถเลือกใช้ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของการสอบวัดนั้นๆ โดยขึ้นอยู่กับธรรมชาติของงาน ที่กำหนดเป็นตัวแทนความรู้ ทักษะ และเจตคติ 05/04/62 N. PAITOON 77

การประเมินตามสภาพจริง การประเมินอย่างเป็นทางการ เป็นการประเมินด้วยข้อสอบที่สร้างขึ้น และได้มีการทดลองใช้จนเป็นที่เชื่อถือ สำหรับใช้ประเมินองค์ความรู้ของผู้เรียน

การประเมินอย่างไม่เป็นทางการ เป็นการประเมินที่เน้นตามสภาพความ เป็นจริงของผู้เรียนในขณะปฏิบัติงานจะเน้นการประเมิน 3 ด้านคือ บุคลิกภาพ (Performance) กระบวนการ (Process) ผลผลิต (Products)

เครื่องมือวัดแยกตามประเภทที่ใช้ ภาคความรู้(ทฤษฎี) เครื่องมือที่ใช้ คือแบบทดสอบ แบบสัมภาษณ์ ภาคทักษะ(ปฏิบัติ) เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสังเกต แบบตรวจสอบรายการ แบบประเมินการปฏิบัติ แบบจัดอันดับ

ตัวอย่าง การเขียนคำกริยา แสดงการกระทำในการเขียน หน่วยสมรรถนะ ตัวอย่าง การเขียนคำกริยา เรื่องที่ 4 เร่งสร้างกำลังคนที่มีความเป็นเลิศในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและองค์ความรู้ใหม่ที่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ โดยมุ่งผลิตและพัฒนากำลังคนที่มีคุณภาพในทุกสาขา โดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พัฒนานักวิจัย และสร้างปัจจัยสนับสนุนการพัฒนาวิทยาการทุกแขนง (1) ผลิตและพัฒนากำลังคนให้มีคุณภาพ บนฐานการพึ่งตนเองทางวิทยาการสมัยใหม่ 1) เร่งผลิตนักวิจัยในสาขาที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและสังคมไทย เพื่อเป็นแกนนำในการพัฒนาประเทศ โดย ผลักดันให้การค้นหาเด็กที่มีอัจฉริยภาพด้านต่าง ๆ มุ่งผลิตนักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และด้านสังคมให้สามารถบริหารจัดการความรู้ไปใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนา 2) พัฒนานักวิจัยที่มีอยู่ให้มีศักยภาพ มีความคิดสร้างสรรค์และความเชี่ยวชาญสูงขึ้น สามารถสร้างนวัตกรรมที่นำมาใช้ประโยชน์ต่อสังคมโดยรวมและเชิงพาณิชย์ (2) สร้างปัจจัยสนับสนุนการพัฒนาวิทยาการทุกสาขาให้เป็นระบบ เน้นการมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง กำหนดมาตรการจูงใจ และกระจายแหล่งเรียนรู้ให้กว้างขวางในทุกภูมิภาค 1) ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ในทุกสาขาอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีที่สร้างมูลค่าเพิ่มผ่านการลงทุนจากต่างประเทศ 2) กำหนดมาตรการจูงใจที่มุ่งสนับสนุนให้นักวิจัยสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ยกเว้นภาษี มีกลไกจัดสรรผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม พัฒนากระบวนการถ่ายทอดความรู้ และยกย่องนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยและพัฒนาด้านต่าง ๆ ที่มีผลงานดีเด่น 3) กระจายและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทุกสาขาวิชา พัฒนาและยกระดับศูนย์ความเป็นเลิศด้านต่าง ๆ สร้างเครือข่ายองค์กรที่เกี่ยวข้องในทุกภูมิภาค โดยเฉพาะด้าน ว&ท ไปสู่ภูมิภาคและชุมชน สามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ และพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น 23 81

ตัวอย่างคำกริยา งานการจัดการและควบคุมดูแล ตัวอย่างคำกริยา งานการจัดการและควบคุมดูแล หน่วยสมรรถนะ สมรรถนะย่อย เปรียบเทียบ หาค่า กำหนดค่า ประเมิน กำหนด ประสาน ระบุ ควบคุม ดำเนินการ ติดต่อ ร่างงานร่างข้อความ เขียน ประมาณค่า แปลความ ตรวจติดตาม กำกับดูแล เข้าร่วม ปฏิบัติงาน ดูแลรักษา จัดเตรียม ทำกำหนดการ แสดง ให้คำปรึกษา ประเมิน กำหนด ควบคุม ดำเนินการ ติดต่อ ประสาน วินิจฉัย ร่างงาน จัดตั้ง ทำประมาณการ ระบุ เข้าร่วม แปลความ ตีความ จัดการ บำรุงรักษา ตรวจติดตาม กำกับดูแล ปฏิบัติงาน วางแผน จัดเตรียม ควบคุมดูแล ทำกำหนดการ 05/04/62 N. PAITOON

ตัวอย่างคำกริยา งานจัดการระบบสารสนเทศ ตัวอย่างคำกริยา งานจัดการระบบสารสนเทศ หน่วยสมรรถนะ สมรรถนะย่อย คำนวณ ตรวจเช็ก ตรวจสอบ วัด ดำเนินการ นับ รวบรวม จัดหา หาสาเหตุ กำหนด พิสูจน์ รับรอง ทบทวน ทำให้ใช้ได้ ทวนสอบ วิเคราะห์ ตรวจสอบ คำนวณ ตรวจเช็ก รวบรวม เรียบเรียง วินิจฉัย ทำบัญชีรายการ กำหนด หา จัดหา สังเกตการณ์ พิสูจน์ รับรอง ทบทวน ทำให้ใช้การได้ ทวนสอบ ให้คำปรึกษา 05/04/62 N. PAITOON

ตัวอย่างคำกริยา งานพิจารณาตัดสินใจ ตัวอย่างคำกริยา งานพิจารณาตัดสินใจ หน่วยสมรรถนะ สมรรถนะย่อย เปรียบเทียบ ดำเนินการ ตัดสิน หาค่า กำหนดค่า ประมาณค่า เทียบส่วน เทียบคุณค่า ทดสอบ อนุมัติ รับรอง เปรียบเทียบ ตัดสิน หาค่า กำหนดค่า ประมาณค่า ประเมินค่า พิจารณาตัดสิน เทียบส่วน เทียบคุณค่า ทดสอบ 05/04/62 N. PAITOON

ตัวอย่างคำกริยา งานผลิตและการควบคุม ตัวอย่างคำกริยา งานผลิตและการควบคุม หน่วยสมรรถนะ สมรรถนะย่อย ใช้ จัด จัดเรียง ติด เขียนแบบ ถอดประกอบ ถอดแยก จ่าย จำหน่าย ตัดต่อ ตรวจแก้ไข จัดแฟ้ม ประกอบ ปรับฟิต เจียระไน ชี้แจง สอน บรรจุ ทำ ดำเนินการ รับรองยืนยัน ถอด ย้าย ใส่ ใส่แทน เปลี่ยน ทำกำหนดการ เลือก บัดกรี จัดตั้ง ปรับแต่ง คัดแยก ส่งมอบ คัดลอก พิมพ์ เชื่อม เขียน ใช้ จัด จัดเรียง ติด ประกอบ ออกแบบ เขียนแบบ พัฒนา ถอดประกอบ ถอดแยก จำหน่าย จ่าย ตัดต่อ ตรวจแก้ไข ปรับฟิต ซ่อม ติดตั้ง เจียระไน ชี้แจง สอน ใส่ บรรจุ ทำ ผลิต สร้าง ถอด ย้าย บำรุงรักษา เปลี่ยน เลือก ปรับตั้ง คัดแยก พิมพ์ เชื่อม เขียน คัดลอก 05/04/62 N. PAITOON

ตัวอย่าง แผนการจัดการเรียนรู้ ตัวอย่าง แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ 5 เรื่อง สมบัติและปรากฏการณ์ ของของเหลว เวลา 3 ชั่วโมง 05/04/62 N. PAITOON

เนื้อหา 1. ความหนาแน่นและความถ่วงจำเพาะ 2. ความดัน 3. แรงดัน 4. ความหนืด 5. แรงตึงผิว 05/04/62 N. PAITOON

สาระสำคัญ ของเหลวแต่ละชนิดมีความหนาแน่นและความถ่วงจำเพาะไม่เท่ากัน การที่ของเหลวมีคุณสมบัติดังกล่าวทำให้เกิดปรากฏการณ์ต่าง ๆ ของของเหลว ขึ้น ได้แก่ ความดัน แรงดัน ความหนืด แรงตึงผิว ซึ่งมนุษย์เราสามารถนำมาใช้และหรือประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันและในงานอาชีพได้อย่างมากมาย 05/04/62 N. PAITOON

สมรรถนะประจำหน่วยการเรียนรู้ ออกแบบการทดลองเพื่ออธิบายถึงสมบัติและปรากฏการณ์ของของเหลวตามหลักการและกระบวนการ 05/04/62 N. PAITOON

จุดประสงค์ทั่วไป 1. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสมบัติและปรากฏการณ์ของของเหลว 2. เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานทดลองและออกแบบการทดลองเพื่ออธิบายถึงสมบัติและปรากฏการณ์ของของเหลว โดยใช้หลักการและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 3. เพื่อให้มีความรับผิดชอบและคำนึงถึงความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน 05/04/62 N. PAITOON

จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม 1. อธิบายถึงสมบัติและปรากฏการณ์ของของเหลวได้ 2. วิเคราะห์สาเหตุของปรากฏการณ์ต่าง ๆ ของของเหลวที่เกิดขึ้นได้ 3. ปฏิบัติกรทดลองได้อย่างถูกต้องตามหลักการและขั้นตอนกระบวนการด้วยความละเอียดรอบคอบ และคำนึงถึงความปลอดภัย 4. ออกแบบการทดลองเพื่ออธิบายถึงสมบัติและปรากฏการณ์ของของเหลวได้ 5. ปฏิบัติงานได้เสร็จทันตามกำหนดเวลา 05/04/62 N. PAITOON

สาระการเรียนรู้ 1. สมบัติของของเหลว 1.1 ความหนาแน่น 1.2 ความถ่วงจำเพาะ 2. ปรากฏการณ์ของของเหลว 2.1 ความดัน 2.2 แรงดัน 2.3 ความหนืด 2.4 แรงตึงผิว 05/04/62 N. PAITOON

กิจกรรมการเรียนรู้ 1. นำเข้าสู่บทเรียนโดยการตั้งคำถามจากการสาธิตของ ครูเกี่ยวกับสมบัติและปรากฏการต่าง ๆ ของของเหลว 2 เรื่อง คือ 1.1 ทำไมบีบปลายสายยางแล้ว จึงทำให้น้ำพุ่งได้ไกลขึ้น 1.2 ถ้าเทน้ำลงในแก้วที่ใส่น้ำมันพืช คนแล้วตั้งทิ้งไว้ ของเหลวที่ได้จะมีลักษณะอย่างไร เพราะอะไร 2. ผู้เรียนร่วมกันอภิปรายและวิเคราะห์เพื่อตอบคำถาม เกี่ยวกับผลที่เกิดขึ้นจากการสาธิต พร้อมทั้งให้เหตุผลประกอบตาม ความรู้และประสบการณ์เดิมของผู้เรียน 05/04/62 N. PAITOON

3. ผู้สอนแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้และกระบวนการ จัดการเรียนรู้ประจำหน่วย 4. แบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็น 5 กลุ่ม ๆ ละ 5-6 คน ตามความ สมัครใจ ให้แต่ละกลุ่มศึกษาสมบัติและปรากฏการณ์ของของเหลว จากใบความรู้ที่ 5.1 และร่วมกันปฏิบัติทดลองตามขั้นตอนใน ใบงานที่ 5.1 พร้อมทั้งบันทึกผลการเรียนรู้ที่ได้ โดยให้เวลาทั้งสิ้น 30 นาที 05/04/62 N. PAITOON

5. ผู้เรียนแต่ละกลุ่มเลือกออกแบบการทดลองเพื่ออธิบาย เกี่ยวกับสมบัติและปรากฏการณ์ ในหัวข้อต่อไปนี้ กลุ่มละ 1 เรื่อง คือ - ความหนาแน่นและความถ่วงจำเพาะ - ความดัน - แรงดัน - ความหนืด - แรงตึงผิว โดยกำหนดกติกาว่า หากเลือกหัวข้อเดียวกันต้องออกแบบ การทดลองไม่ให้ซ้ำกัน ให้ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่หาได้ในท้องถิ่น และให้ แล้วเสร็จภายในเวลา 30 นาที 05/04/62 N. PAITOON

6. กลุ่มหรือผู้แทนกลุ่มออกมาสาธิตการทดลองประกอบ การบรรยายหน้าชั้นเรียน กำหนดเวลากลุ่มและ 10 นาที โดยให้ กลุ่มที่ชมการสาธิตเป็นผู้ให้คะแนนกลุ่มที่แสดงการสาธิต ตาม แบบและเกณฑ์การประเมินที่กำหนด 7. ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสรุปสาระความรู้ที่ได้จาก การเรียนรู้ประกอบการใช้แผ่นใส 05/04/62 N. PAITOON

8. ผู้สอนตั้งประเด็นคำถามให้แต่ละกลุ่มช่วยกันคิดว่า “มนุษย์เรานำคุณสมบัติและปรากฏการณ์ของของเหลวมาใช้หรือประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและในงานอาชีพได้อย่างไร และในเรื่องใดบ้าง” ให้ยกตัวอย่างกลุ่มละ 3 เรื่อง โดยเขียนคำตอบลงในกระดาษแล้วนำไปติดที่บอร์ด เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน กำหนดเวลา 15 นาที 9. ประเมินผลการเรียนรู้โดยใช้แบบทดสอบ 05/04/62 N. PAITOON

สื่อและแหล่งการเรียนรู้ 1. สื่อของจริง : อุปกรณ์ประกอบการสาธิต 2. ใบความรู้ที่ 5.1 เรื่อง สมบัติและปรากฏการณ์ของของเหลว 3. ใบงานที่ 5.1 เรื่อง สมบัติและปรากฏการณ์ของของเหลว 4. แผ่นใสประกอบการบรรยาย เรื่อง สมบัติและปรากฏการณ์ของของเหลว 05/04/62 N. PAITOON

หลักฐานการเรียนรู้ 1. หลักฐานความรู้ 1.1 แบบทดสอบ 1.2 บันทึกผลการเรียนรู้จากการปฏิบัติงานทดลอง 2. หลักฐานการปฏิบัติงาน 2.1 ผลงานการออกแบบการทดลอง 2.2 แฟ้มสะสมผลงาน 05/04/62 N. PAITOON

การวัดและประเมินผล 1. เครื่องมือ 1.1 แบบประเมินพฤติกรรมผู้เรียน 1.2 แบบทดสอบ 1.3 แบบประเมินการออกแบบและสาธิตการทดลอง 2. เกณฑ์การประเมิน 2.1 การประเมินพฤติกรรมผู้เรียน........................... 2.2 การประเมินความรู้............................................ 2.3 การประเมินการออกแบบและสาธิตการทดลอง 05/04/62 N. PAITOON

สวัสดี