สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยเพื่อการศึกษา การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ ดร.สุทิติ ขัตติยะ ผู้อำนวยการ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยเพื่อการศึกษา กรมประชาสัมพันธ์
☆ หลักการเขียนทั่วไป ☆ การเขียนข่าว ☆ การเขียนความเรียง หัวข้อการบรรยาย ☆ หลักการเขียนทั่วไป ☆ การเขียนข่าว ☆ การเขียนความเรียง ☆ การเขียนเรียงความ ☆ การเขียนบทความ
การเขียน คือ การแสดงความรู้สึก ความคิด และความรู้ ซึ่งอยู่ในใจของผู้เขียนออกมาให้ผู้อื่นได้รับรู้ โดยอาศัยสื่อของความเข้าใจ คือ ถ้อยคำ หรือ เรียกสั้น ๆว่า คำ เป็นสัญลักษณ์ของภาษาเขียน
ภาษาเขียนมีวิวัฒนาการตามลำดับ มาจาก ภาษารูปภาพ (Pictograph) และภาษาความคิด (Ideograph )
องค์ประกอบของการเขียน ระดับของภาษา สำนวนโวหาร วัตถุประสงค์ของการเขียน
แฮคเกอร์และเรนชอว์ (Hacker & Renshaw . 1979) แบ่งระดับของภาษาเป็น 3 ระดับ ๑. ภาษาปาก (Vulgar Language) ๒. ภาษาไม่เป็นทางการ (Informal Language) ๓. ภาษาที่เป็นทางการ (Formal Language)
ภาษาทั้งสามระดับนี้สามารถนำมาใช้ในการสื่อสารทั้งการพูดและการเขียนแต่การนำมาใช้ก็ควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ ๑. เนื้อเรื่องที่จะนำเสนอ ๒. กลุ่มเป้าหมาย ๓. โอกาส เวลาและสถานที่
สำนวนโวหาร หมายถึง การใช้ภาษาที่มีลักษณะพิเศษ หมายถึง การใช้ภาษาที่มีลักษณะพิเศษ กว่าภาษาธรรมดาเป็นการใช้ภาษาพูด หรือภาษาเขียนที่สละสลวยและคมคาย การใช้สำนวนโวหารจะช่วยปรุงแต่งรสให้ภาษามีความไพเราะและกลมกลืนมากยิ่งขึ้น
สำนวนโวหารประเภทต่าง ๆ ที่ใช้ในภาษาไทย นักวิชาการได้จัดแบ่งเป็น ๕ ประเภท ดังนี้ ๑) บรรยายโวหาร ๒) พรรณนาโวหาร ๓) เทศนาโวหาร ๔) สาธกโวหาร ๕) อุปมาโวหาร
วัตถุประสงค์ของการเขียน มี ๗ ประการ ดังต่อไปนี้ ๑) เพื่อเล่าเรื่อง ๒) เพื่ออธิบาย ๓) เพื่อการจูงใจ ๔) เพื่อปลุกใจ ๕) เพื่อการแสดงความคิดเห็น ๖) เพื่อสร้างจินตนาการ ๗) เพื่อการเสียดสี
การเขียนที่ดี ก็คือ การเขียนเป็น การเขียนที่ดี ก็คือ การเขียนเป็น การเขียนเป็น มีผลมาจาก การฟัง การพูด และการอ่าน เพื่อก่อให้เกิด ความคิด และ ความคิด เป็นหัวใจสำคัญของการเขียน ทั้งนี้ ความรอบรู้เป็นเครื่องประดับและการหมั่นฝึกปฏิบัติเขียนจะเป็นแนวทางของการพัฒนาการเขียน
การพิจารณางานเขียนที่ดี องค์ประกอบ ๔ ประการ คือ ๑) เขียนด้วยความรับผิดชอบ ๒) เขียนอย่างประณีต ๓) เลือกรูปแบบของการเขียนได้อย่างเหมาะสม กับเนื้อหา ๔) เลือกเนื้อหา ถ้อยคำและภาษาได้เหมาะสมกับ กาลเทศะและบุคคลที่อ่าน
สรุป การเขียนหนังสือให้ประทับใจผู้อ่าน ก็คือ การเขียนที่ทำให้ผู้อ่านอ่านแล้วเข้าใจ และมีความรู้ตามที่ผู้เขียนมีความประสงค์ จะถ่ายทอดเจตนารมณ์ของตนแก่ผู้อ่าน โดยไม่สับสนและวกวน
โดยทั่วไปงานเขียนแบ่งได้เป็น ๕ ประเภท คือ โดยทั่วไปงานเขียนแบ่งได้เป็น ๕ ประเภท คือ ๑. ข่าว ๒. เรียงความ ๓. บทความทั่วไป บทความทางวิชาการ และตำรา ๔. สารคดี ๕. บันเทิงคดี ได้แก่ นวนิยาย และเรื่องสั้น
การเขียนเผยแพร่ทางสื่อมวลชน รูปแบบการนำเสนอข่าวสารที่นิยมนำเสนอทางสื่อมวลชนแบ่งได้เป็น ๓ ลักษณะใหญ่ ได้แก่ ๑. ข่าว ๒. บทความหรือสารคดี ๓. บันเทิงคดี เช่น เรื่องสั้น นวนิยายและละคร
การเขียนเผยแพร่ทางสื่อมวลชน แบ่งเป็น ☆การเขียนทางวารสารศาสตร์ ☆การเขียนทางวิทยุกระจายเสียง ☆การเขียนทางวิทยุโทรทัศน์ การเขียนเผยแพร่ทางสื่อมวลชนมีแนวทางการเขียนในแต่ลักษณะแตกต่างกันตามประเภทของสื่อมวลชน
รูปแบบของการนำเสนอ ข้อมูลข่าวสารทางสื่อมวลชน ข่าวแจก หรือ ข่าวสำเร็จ ข่าวแสวง บทความทั่วไป บทความเชิงวิชาการ สารคดีสั้น สารคดีขยายความ บทความ / สารคดี บันเทิงคดี เรื่องสั้น นวนิยาย ละคร
ข่าว การเขียนข่าว เป็นการนำเสนอเรื่องราวที่เกิดขึ้นและเป็นที่สนใจสำหรับคนทั่วไป ข่าวต้องเป็นข้อเท็จจริงหรือข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้เท่านั้น สีสันของข่าวอยู่ที่การเขียนข่าวให้มีข้อความน่าอ่าน
การเขียนข่าวหนังสือพิมพ์ ประกอบด้วย ๓ ส่วน คือ พาดหัวข่าว ( Headline ) 5 W 1 H ความนำ ( Lead ) ความขยาย ( Details )
การเขียนข่าว วิทยุกระจายเสียงและข่าววิทยุโทรทัศน์ ประกอบด้วย ๓ ส่วน คือ ส่วนประเด็นสำคัญ (Climax) 5 W 1 H ส่วนรายละเอียด (Details) ส่วนรายละเอียดปลีกย่อย (Specific details)
การเขียนความเรียง “ความเรียง” ไม่ใช่ “เรียงความ” ภาษาอังกฤษว่า “Essay” การเขียนความเรียง เป็นการเขียนหนังสือขนาดสั้น โดยเป็นการแสดงความคิด ความรู้สึก ความรู้ ความฝัน จินตนาการ หรือประสบการณ์ของผู้เขียน ให้ผู้อื่นได้ทราบเป็นร้อยแก้ว ประมาณ ๕-๗ บรรทัด
การเขียนเรียงความ ลักษณะสำคัญ ๓ ประการ คือ ☼ เอกภาพ (unity) ลักษณะสำคัญ ๓ ประการ คือ ☼ เอกภาพ (unity) ☼ สัมพันธภาพ (coherence) ☼ สารัตถภาพ (emphasis สัดส่วนการเขียนเรียงความ ๓ ส่วน คือ ส่วนนำเรื่อง (introduction) ส่วนเนื้อเรื่อง (body) ส่วนสรุปเรื่อง (conclusion)
๑) ส่วนนำเรื่องด้วย การบอกเล่า ๒) ส่วนนำเรื่องด้วย คำถาม ส่วนนำเรื่อง ๖ แบบ ๑) ส่วนนำเรื่องด้วย การบอกเล่า ๒) ส่วนนำเรื่องด้วย คำถาม ๓) ส่วนนำด้วย การพรรณนา ๔) ส่วนนำด้วย การยกคำพูด ๕) ส่วนนำด้วย คำประพันธ์ที่มีชื่อเสียง ๖) ส่วนนำด้วย การเสนอแนวคิดขัดแย้ง
ประกอบด้วย ย่อหน้าหลายย่อหน้า (paragraphs) ส่วนเนื้อเรื่อง ๕ แบบ ประกอบด้วย ย่อหน้าหลายย่อหน้า (paragraphs) (ในหนึ่งย่อหน้า ประกอบด้วย ประโยคใจความสำคัญ ประโยคสนับสนุน และประโยคสรุปความหรือประโยคส่งความไปย่อหน้าถัดไป )
ลักษณะเนื้อหาของส่วนเนื้อเรื่อง มี ๕ ลักษณะ ดังนี้ ๑) เนื้อหาเชิงให้ความรู้ ๒) เนื้อหาเชิงประวัติหรือเนื้อหา เชิงเล่าเรื่อง ๓) เนื้อหาเชิงแสดงความคิดเห็น ๔) เนื้อหาเชิงความรู้สึก ๕) เนื้อหาเชิงคติสอนใจ
๑) ส่วนปิดท้ายเรื่องแบบ สรุปสาระ ๒) ส่วนปิดท้ายเรื่องแบบ ฝากแนวคิด เป็นการกล่าวคำอำลาก่อนจบ ทำได้ ๔ แบบ ดังนี้ ๑) ส่วนปิดท้ายเรื่องแบบ สรุปสาระ ๒) ส่วนปิดท้ายเรื่องแบบ ฝากแนวคิด ๓) ส่วนปิดท้ายเรื่องแบบ ฝากคำถาม ๔) ส่วนปิดท้ายเรื่องแบบ ฝากคำคม
การเขียนได้ครบทั้ง ๓ ส่วน นับได้ว่าเป็น การเขียนที่มีความสมบูรณ์ แต่คุณภาพของงานนั้นจะเป็นอย่างไรต้องพิจารณาจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น ความสัมพันธ์ของถ้อยคำ ประโยคที่ใช้ ข้อความในแต่ละย่อหน้า และเนื้อหาของแต่ละย่อหน้า ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น
บทความ (article) : ข้อเขียนที่เขียนขึ้นจากความคิดของ ผู้เขียน เพื่อเสนอ ความรู้ ความรู้สึก และ ความคิดเห็น อาจเป็นเรื่องที่สังคมกำลัง ให้ความสนใจ หรือ ผู้เขียนนำเสนอขึ้นมาเพื่อ ให้ผู้คนในสังคมสนใจ
การแบ่งประเภทของบทความ ยังไม่สามารถกำหนดแน่ชัดลงไปได้ว่ามีกี่ประเภท เพราะว่า ๑. ความก้าวหน้าทางวิทยาการที่มี การเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ๒. ผู้อ่านมีความรู้และความสนใจเฉพาะด้าน ทำให้ผู้เขียนบทความพยายามค้นคิดรูปแบบ ของการเขียนบทความและแหวกรูปแบบเดิม เพื่อสร้างความสนใจแก่ผู้อ่าน
โดยทั่วไป การเขียนบทความทางสื่อสิ่งพิมพ์ แบ่งตามความมุ่งหมายและวิธีการเขียนเป็น ๒ ประเภทใหญ่ ๆ คือ ๑. บทความเชิงสาระ (Formal Fiction) ๒. บทความเชิงปกิณกะ (Informal Fiction)
เจือ สตะเวทิน แบ่งประเภทของบทความเป็น ๑๐ ประเภท เจือ สตะเวทิน แบ่งประเภทของบทความเป็น ๑๐ ประเภท ๑) บทความรายงาน ๒) บทความบรรยาย ๓) บทความอธิบาย ๔) บทความปกิณกะ ๕) บทความสัมภาษณ์ ๖) บทความเสนอบุคลิก ลักษณะบุคคล ๗) บทความแสดงความ คิดใหม่ ๘) บทความเชิงโต้แย้ง ๙) บทความในวันครบรอบปี ๑๐) บทความทั่วไป
การเขียนบทความ ประกอบด้วย ๔ ส่วน ชื่อเรื่อง (Title) ประกอบด้วย ๔ ส่วน ชื่อเรื่อง (Title) ส่วนนำเรื่อง (Introduction) ส่วนเนื้อเรื่อง (Body) บทลงท้าย (Conclusion)
หลักสำคัญในการเขียนบทความ ๑. มีคุณค่าหรือประโยชน์ต่อสังคม ๒. มีความรอบรู้และแม่นยำในข้อมูลข่าวสาร ๓. รู้จักกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นผู้รับสาร ๔. ใช้ภาษาและสำนวนที่ถูกต้องและเหมาะสม กับผู้อ่านและสื่อ ๕. มีกลวิธีในการนำเสนอ
ข้อควรจำ การเขียน เป็นงานที่มีความเกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ทางสื่อต่างๆ เช่น สิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และสื่อสารสนเทศ ถ้าผู้เขียนต้องการให้งานเขียนของตน มีคุณภาพและเป็นงานเขียนที่เหมาะสมกับสื่อต่าง ๆ เหล่านั้น ดังนั้น จำเป็นต้องเริ่มต้นที่การถ่ายทอดความรู้ ความคิด และความรู้สึกของตนออกมาเป็นข้อความเสียก่อน แล้วจึงปรับเปลี่ยนรูปแบบของถ้อยคำและข้อความให้สอดคล้องกับองค์ประกอบของการเขียนที่เหมาะสมกับสื่อนั้นๆ
บทสรุป การเขียน คือ การแสดงความรู้ความคิดและความรู้สึกซึ่งอยู่ในใจของผู้เขียน ออกมาให้ผู้อื่นได้รับรู้ โดยอาศัยถ้อยคำเป็นสื่อของความเข้าใจ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า คำ เป็นสัญลักษณ์ของภาษาเขียน
เรียบเรียงและบรรยายโดย THE END. ดร.สุทิติ ขัตติยะ ขอบคุณครับ