การจดทะเบียนพาณิชย์ ตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 กองทะเบียนบริษัทมหาชนและธุรกิจพิเศษ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
ไม่เป็นนิติบุคคล
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทะเบียนพาณิชย์ 1. พระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 2. พระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 3. พระราชกฤษฎีกากำหนดกิจการเป็นพาณิชยกิจ พ.ศ. 2546 4. กฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2540) ออกตามความใน พระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 5. ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง ให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจต้อง จดทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2553
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทะเบียนพาณิชย์ (ต่อ) 6. ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ และนายทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2552 7. ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การตั้งสำนักงานทะเบียนพาณิชย์ แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่และนายทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2553 8. ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดแบบพิมพ์ พ.ศ. 2549 9. คำสั่งสำนักงานกลางทะเบียนพาณิชย์ ที่ 1/2553 เรื่องหลักเกณฑ์ และ วิธีการกำหนดเลขทะเบียนพาณิชย์ และเลขคำขอจดทะเบียนพาณิชย์
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทะเบียนพาณิชย์ (ต่อ) 10 . คำสั่งสำนักงานกลางทะเบียนพาณิชย์ ที่ 2/2553 เรื่อง ให้จัดส่งสถิติและข้อมูลการจดทะเบียนพาณิชย์ 11 . คำสั่งสำนักงานกลางทะเบียนพาณิชย์ ที่ 1/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดเลขทะเบียนพาณิย์ และ เลขคำขอจดทะเบียนพาณิชย์จังหวัดบึงกาฬ
ประโยชน์ของการจดทะเบียนพาณิชย์ 1. เพื่อประโยชน์ทางสถิติและทราบหลักฐานของผู้ประกอบพาณิชยกิจ 2. เพื่อประโยชน์ในการควบคุมหรือส่งเสริมด้านการพาณิชย์ และการอุตสาหกรรม รวมทั้งเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศ ให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น 3. ผู้ประกอบพาณิชยกิจสามารถใช้เป็นหลักฐานในทางการค้าได้
พนักงานเจ้าหน้าที่และนายทะเบียนพาณิชย์ พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า บุคคลซึ่งรัฐมนตรีได้แต่งตั้งให้เป็นผู้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ มีอำนาจ ดังนี้ 1. เข้าไปทำการตรวจสอบในสำนักงานของผู้ประกอบพาณิชยกิจในระหว่างเวลาทำงาน 2. ตรวจดู คัดสำเนาและรับรองสำเนาเอกสารเกี่ยวกับการจดทะเบียนพาณิชย์
พนักงานเจ้าหน้าที่และนายทะเบียนพาณิชย์ นายทะเบียนพาณิชย์ หมายความว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งรัฐมนตรีได้แต่งตั้งให้เป็นผู้มีหน้าที่รับจดทะเบียน พาณิชย์ มีอำนาจหน้าที่ รับจดทะเบียนพาณิชย์และออกใบทะเบียนพาณิชย์ ออกคำสั่งเรียกผู้ประกอบพาณิชยกิจมาสอบสวน เข้าไปทำการตรวจสอบในสำนักงานของผู้ประกอบ พาณิชยกิจ ในระหว่างเวลาทำงาน
ประกาศกระทรวงพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ. ศ ประกาศกระทรวงพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2553 ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2553 กำหนดให้ ให้พนักงานเทศบาล/พนักงานส่วนตำบลตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไปซึ่งนายกเทศมนตรี/นายก อบต. มอบหมายให้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่และนายทะเบียนพาณิชย์ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 ภายในเขตอำนาจหน้าที่ของเทศบาล/อบต. แล้วแต่กรณี
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ นายทะเบียนพาณิชย์ บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ นายทะเบียนพาณิชย์ บัตรประจำตัวของพนักงานเทศบาล/พนักงานส่วนตำบล คำสั่งที่เทศบาล/อบต.แต่งตั้งให้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่/นายทะเบียนพาณิชย์ ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การตั้งสำนักงานทะเบียนพาณิชย์ แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่และนายทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2553
สำนักงานทะเบียนพาณิชย์ สำนักงานทะเบียนพาณิชย์ ประกอบด้วย 1. สำนักงานกลางทะเบียนพาณิชย์ 2. สำนักงานทะเบียนพาณิชย์กรุงเทพมหานคร 3. สำนักงานทะเบียนพาณิชย์เมืองพัทยา 4. สำนักงานทะเบียนพาณิชย์เทศบาล/สำนักงานทะเบียน พาณิชย์องค์การบริหารส่วนตำบล
ผู้ประกอบพาณิชยกิจ ผู้ประกอบพาณิชยกิจ หมายความว่า บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลซึ่ง ประกอบพาณิชยกิจเป็นอาชีพปกติ และให้หมายความรวมถึงผู้เป็น หุ้นส่วนที่ไม่จำกัดความรับผิด กรรมการ และผู้จัดการด้วย 1. บุคคลธรรมดาคนเดียว หมายถึง เจ้าของ หรือผู้จัดการในกรณีตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ดำเนินกิจการแทน 2. ห้างหุ้นส่วนที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือคณะบุคคล หมายถึง ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดทุกคน หรือผู้จัดการ ในกรณีตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ดำเนินกิจการแทน
ผู้ประกอบพาณิชยกิจ (ต่อ) 3. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด หมายถึง ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด และให้รวมถึง ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด และรวมถึงหุ้นส่วนผู้จัดการใน ห้างนั้นด้วย 4. บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด หมายถึง บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัดและให้รวมถึงกรรมการด้วย
ผู้ประกอบพาณิชยกิจ (ต่อ) 5. นิติบุคคลต่างประเทศที่มาเปิดสำนักงานสาขาในประเทศไทย และ แต่งตั้งผู้จัดการดำเนินงานในสำนักงานสาขา หมายถึง นิติบุคคลต่างประเทศ กรรมการ หรือผู้จัดการสาขาในประเทศไทย 6. วิสาหกิจชุมชนตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548 หมายถึง วิสาหกิจชุมชนหรือผู้มีอำนาจทำการแทนวิสาหกิจชุมชน 7. นิติบุคคลประเภทอื่น หมายถึง นิติบุคคลประเภทอื่นตามที่มีกฎหมายเฉพาะบัญญัติไว้
สำนักงาน “สำนักงาน” หมายความว่า สถานที่ซึ่งใช้ประกอบพาณิชยกิจเป็นปกติ
กิจการที่เป็นพาณิชยกิจ พ.ร.บ. ทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.2499 มาตรา 6 ให้ถือกิจการดังต่อไปนี้ เป็นพาณิชยกิจ ได้แก่ 1. การซื้อ การขาย การขายทอดตลาด การแลกเปลี่ยน 2. การให้เช่า การให้เช่าซื้อ 3. การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนค้าต่าง 4. การขนส่ง 5. การหัตถกรรม การอุตสาหกรรม 6. การรับจ้างทำของ
กิจการที่เป็นพาณิชยกิจ (ต่อ) 7. การให้กู้ยืมเงิน การรับจำนำ การรับจำนอง 8. การคลังสินค้า 9. การรับแลกเปลี่ยน หรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อหรือขาย ตั๋วเงิน การธนาคาร การเครดิตฟองซิเอร์ การโพยก๊วน 10. การรับประกันภัย 11. กิจการอื่นซึ่งกำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกา กำหนดกิจการเป็นพาณิชยกิจ พ.ศ. 2546 1. การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเทอร์เน็ต 2. การให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ 3. การให้บริการเครื่องเล่นเกมส์ 4. การให้บริการตู้เพลง
พาณิชยกิจที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับของ พ.ร.บ. ทะเบียนพาณิชย์ 1. การค้าเร่ การค้าแผงลอย 2. พาณิชยกิจเพื่อการบำรุงศาสนาหรือเพื่อการกุศล 3. พาณิชยกิจของนิติบุคคลซึ่งได้มีพระราชบัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น 4. พาณิชยกิจของกระทรวง ทบวง กรม 5. พาณิชยกิจของมูลนิธิ สมาคม สหกรณ์ 6. พาณิชยกิจซึ่งรัฐมนตรีได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
พาณิชยกิจซึ่งรัฐมนตรีได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 1. ประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 83 (พ.ศ. 2515) ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2515 กำหนดให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจซึ่งเป็นบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด และห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนไม่อยู่ภายใต้บังคับ ของกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์ 2. ประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 93 (พ.ศ. 2520) ลงวันที่ 28 มีนาคม 2520 กำหนดให้พาณิชยกิจของกลุ่มเกษตรกรซึ่งได้ จดทะเบียนตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 141 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2515 ไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่ง พ.ร.บ.ทะเบียนพาณิชย์ 2499 (ยกเลิกแล้ว ให้ใช้พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยกลุ่มเกษตรกร พ.ศ. 2547)
พาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียน ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง ให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจต้องจดทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2553 ลงวันที่ 10 พ.ย. 2553 ข้อ 4. กำหนดให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจ ดังต่อไปนี้ ยกเว้นผู้ประกอบพาณิชยกิจที่เป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บริษัทมหาชนจำกัดตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด ทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
พาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียน (ต่อ) 1. การทำโรงสีข้าวและการทำโรงเลื่อยที่ใช้เครื่องจักร 2. การขายสินค้าไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม คิดรวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดขายได้เป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือมี สินค้าดังกล่าวไว้เพื่อขายมีค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป 3. การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนค้าต่าง ซึ่งทำการเกี่ยวกับสินค้าไม่ว่า อย่างใดๆ อย่างเดียว หรือหลายอย่างก็ตาม และสินค้านั้นมีค่ารวมทั้งสิ้น ในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป
พาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียน (ต่อ) 4. การประกอบหัตถกรรมหรือการอุตสาหกรรมไม่ว่าอย่างใดๆอย่างเดียว หรือหลายอย่างก็ตามและขายสินค้า ที่ผลิตได้มีค่ารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวัน ใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือในวันหนึ่งวันใดมีสินค้าที่ผลิตได้มีค่า รวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป 5. การขนส่งทางทะเล การขนส่งโดยเรือกลไฟ หรือ เรือยนต์ประจำทาง การขนส่งโดยรถไฟ การขนส่งโดยรถราง การขนส่ง โดยรถยนต์ประจำทาง การขายทอดตลาด การรับซื้อขายที่ดิน การให้กู้ยืมเงิน การรับแลกเปลี่ยน หรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อหรือขายตั๋วเงิน การธนาคาร การโพยก๊วน การทำโรงรับจำนำ การทำโรงแรม
พาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียน (ต่อ) ข้อ 5. กำหนดให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจดังต่อไปนี้ ไม่ว่าจะเป็นบุคคล ธรรมดา หรือ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บริษัทมหาชนจำกัดตามกฎหมาย ว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด ทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักรต้องจดทะเบียน พาณิชย์
พาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียน (ต่อ) 1. การขายหรือให้เช่า แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดิทัศน์ แผ่นวีดิทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดิทัศน์ระบบดิจิทัลเฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง 2. การขายอัญมณี หรือเครื่องประดับซึ่งประดับด้วยอัญมณี
พาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียน (ต่อ) 3. การซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 4. การบริการอินเทอร์เน็ต (จดทะเบียนพาณิชย์ เฉพาะผู้ประกอบพาณิชยกิจที่เป็นนิติบุคคล)
พาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียน (ต่อ) 5. การให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย 6. การบริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีใช้สื่อ อิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 7. การผลิต รับจ้างผลิต แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดิทัศน์ แผ่นวีดิทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดิทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง การให้บริการ เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้อินเทอร์เน็ต
พาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียน (ต่อ) 9. การให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ 10. การให้บริการเครื่องเล่นเกมส์ 11. การให้บริการตู้เพลง 12. โรงงานแปรสภาพแกะสลักและการทำหัตถกรรม จากงาช้าง การค้าปลีกการค้าส่งงาช้าง และผลิตภัณฑ์ จากงาช้าง
แบบพิมพ์ คำขอจดทะเบียนพาณิชย์ (แบบ ทพ.) ใบทะเบียนพาณิชย์ (แบบ พค. 0403) แบบบริการข้อมูลทะเบียนพาณิชย์ คำร้อง หนังสือมอบอำนาจ เอกสารประกอบการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
แบบ ทพ.
ตัวอย่างการกรอกแบบ ทพ.
ตัวอย่างการกรอกแบบ ทพ. (ต่อ)
ตัวอย่างการกรอกแบบ ทพ. (ต่อ)
ตัวอย่างการกรอกแบบ ทพ. (ต่อ)
พค.0403
แบบบริการข้อมูลทะเบียนพาณิชย์
แบบคำร้อง หนังสือมอบอำนาจ
เอกสารประกอบ การจดทะเบียน พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ตัวอย่างการกรอกเอกสารประกอบการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ตัวอย่างการกรอกเอกสารประกอบการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (ต่อ)
อัตราค่าธรรมเนียม 1. จดทะเบียนพาณิชย์ 50 บาท 1. จดทะเบียนพาณิชย์ 50 บาท 2. จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการ ครั้งละ 20 บาท 3. จดทะเบียนเลิกประกอบพาณิชยกิจ 20 บาท 4. ขอให้ออกใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ ฉบับละ 30 บาท 5. ขอตรวจดูเอกสารเกี่ยวกับทะเบียน ครั้งละ 20 บาท 6. ขอให้เจ้าหน้าที่รับรองสำเนาเอกสาร ฉบับละ 30 บาท
กำหนดระยะเวลาการจดทะเบียน ตั้ง เปลี่ยนแปลง เลิก 30 วัน
หน้าที่ของผู้ประกอบพาณิชยกิจ 1. ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ ภายใน 30 วัน นับแต่วันเริ่มประกอบ พาณิชยกิจ หรือวันที่เปลี่ยนแปลงรายการ หรือวันที่เลิกประกอบพาณิชยกิจ ตามแต่กรณี 2. ต้องแสดงใบทะเบียนพาณิชย์ไว้ ณ สำนักงานในที่เปิดเผย 3. ต้องจัดให้มีป้ายชื่อไว้ที่หน้าสำนักงานใหญ่และสาขาให้เขียนเป็น อักษรไทยอ่านได้ง่ายและชัดเจน จะมีอักษรต่างประเทศไว้ด้วยก็ได้
หน้าที่ของผู้ประกอบพาณิชยกิจ 4. ต้องยื่นคำขอใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ สูญหาย หรือชำรุด 5. ต้องไปพบนายทะเบียนพาณิชย์ หรือพนักงาน เจ้าหน้าที่และ ยินยอมให้ถ้อยคำ 6. ต้องอำนวยความสะดวก เมื่อมีการไปตรวจในสำนักงาน
บทกำหนดโทษ 1. ไม่ยื่นคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ ภายใน 30 วัน 1. ไม่ยื่นคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ ภายใน 30 วัน 2. แสดงรายการเท็จ 3. ไม่ไปพบนายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ 4. ไม่อำนวยความสะดวกแก่นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท และปรับอีกไม่เกิน วันละหนึ่งร้อยบาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติตามกฎหมาย
บทกำหนดโทษ 5. ไม่ยื่นคำขอใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ ภายใน 30 วัน 5. ไม่ยื่นคำขอใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ ภายใน 30 วัน 6. ไม่แสดงใบทะเบียนพาณิชย์ไว้ในที่เปิดเผย 7. ไม่จัดให้มีป้ายชื่อไว้ที่หน้าสำนักงานแห่งใหญ่หรือสาขา ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท และปรับอีกไม่เกินวันละ ยี่สิบบาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติตามกฎหมาย
บทกำหนดโทษ 8. ผู้ใดกระทำการฉ้อโกงประชาชน ปนสินค้าโดยเจตนาทุจริตหรือกระทำทุจริตอื่นใดอย่างร้ายแรง จะถูกเพิกถอนใบทะเบียนพาณิชย์ และจะประกอบพาณิชยกิจต่อไปอีกไม่ได้ เว้นแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จะสั่งให้รับจดทะเบียนใหม่ได้ ผู้ที่ถูกสั่งเพิกถอนใบทะเบียนพาณิชย์แล้ว ยังคงฝ่าฝืน ประกอบพาณิชยกิจต่อไป มีความผิดต้องระวางโทษปรับ ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งปรับทั้งจำ
การแจ้งเปลี่ยนชื่อหรือฐานะเทศบาล/อบต. เทศบาล/อบต. จัดทำหนังสือแจ้งขอเปลี่ยนชื่อหรือฐานะถึงผู้อำนวยการกองทะเบียนบริษัทมหาชนและธุรกิจพิเศษ แนบสำเนาประกาศกระทรวงมหาดไทย ส่งไปยัง กองทะเบียนบริษัทมหาชนและธุรกิจพิเศษ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า 563 ถนนนนทบุรี ตำบลบางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000
ตัวอย่างหนังสือแจ้งขอเปลี่ยนชื่อหรือฐานะ
ช่องทางติดต่องานทะเบียนพาณิชย์ โทร. 0 2547 4446-7 สายด่วน 1570 โทรสาร 0 2547- 4939 e-mail address: regis_c@dbd.go.th กระดานถาม-ตอบ www.dbd.go.th ห้องสนทนา http://regcom.dbd.go.th Line ID : 0873395417 Facebook : ทะเบียนพาณิชย์ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดทุกจังหวัด
สอบถามเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของคนต่างประเทศ กองบริหารการประกอบธุรกิจของคนต่างประเทศ โทร. 0 2547-4429