จรรยาบรรณ ของ ผู้สอบบัญชีสหกรณ์
ระเบียบเกี่ยวกับจรรยาบรรณของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ ระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ ว่าด้วยจรรยาบรรณ ของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ พ.ศ. 2554 ระเบียบกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ว่าด้วยข้อกำหนดการปฏิบัติ ตามจรรยาบรรณของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ พ.ศ. 2554 ระเบียบกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ว่าด้วยวิธีพิจารณาจรรยาบรรณของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ และการอุทธรณ์ พ.ศ. 2554
ระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ ว่าด้วยจรรยาบรรณ ของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ พ.ศ. 2554 ข้อ 4 ให้อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณา และอื่นๆ ที่เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในเรื่อง จรรยาบรรณของผู้สอบบัญชี ข้อ 5 ให้อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ รักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจตีความ วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับ การปฏิบัติตามระเบียบนี้ คำวินิฉัยของอธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ให้เป็นที่สุด
ผู้สอบบัญชีกลุ่มเกษตรกรและสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยด้วย ข้อ 6 ระเบียบนี้ใช้บังคับกับ - ข้าราชการกรมตรวจบัญชีสหรณ์ - ผู้สอบบัญชีภาคเอกชน - ผู้ชำนาญงานสอบบัญชีสหรณ์ ระเบียบนี้ใช้บังคับกับ ผู้สอบบัญชีกลุ่มเกษตรกรและสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยด้วย
ข้อปฎิบัติ ข้อ 7 ผู้สอบบัญชีสหกรณ์ต้องปฏิบัติงานสอบบัญชีตามมาตรฐาน ข้อ 7 ผู้สอบบัญชีสหกรณ์ต้องปฏิบัติงานสอบบัญชีตามมาตรฐาน การสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป และที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด โดยให้ ครอบคลุมทั้งในด้านการเงินการบัญชี การปฏิบัติการ และการบริหาร งานสอบบัญชี รวมทั้ง ต้องปฏิบัติตามจรรยาบรรณของผู้สอบบัญชี.... มาตรา 69 วรรคสอง บัญญัติว่า “การตรวจสอบบัญชีนั้น ให้ปฏิบัติตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไปและตามระเบียบที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด (พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542)
ข้อปฎิบัติ (ต่อ) ข้อ 8 ผู้สอบบัญชีสหกรณ์ต้องตรวจสอบการปฏิบัติงานของสหกรณ์ให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง คำแนะนำ ของนายทะเบียนสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ข้อ 9 ผู้สอบบัญชีสหกรณ์ต้องให้ความร่วมมือกับหน่วยงาน ส่วนราชการที่ทำหน้ากำกับดูแลสหกรณ์ โดยการให้ความช่วยเหลือ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง คำแนะนำ ของนายทะเบียนสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ข้อ 10 กรณีจรรยาบรรณของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ ไม่ได้กำหนดไว้ให้เป็นไปตามจรรยาบรรณของผู้ประกอบ วิชาชีพบัญชี ซึ่งออกตามพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 ข้อ 11 การปฏิบัติ หรืองดเว้นปฎิบัติใด ๆ ที่เป็นการฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบ ข้อ 7 ถึงข้อ 10 รวมถึงการกระทำของ บุคคลอื่นซึ่งบุคคลอื่นซึ่งผู้สอบบัญชีรับรู้หรือผู้สอบบัญชีสหกรณ์ ยินยอมให้อ้างชื่อ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้สอบบัญชีสหกรณ์ หรือบุคคลอื่นโดยมิชอบ ให้ถือว่าผู้สอบบัญชีสหกรณ์ผู้นั้น ประพฤติผิดจรรยาบรรณของผู้สอบบัญชี
โทษการประพฤติผิดจรรยาบรรณ (ข้อ 12) ผู้สอบบัญชีภาครัฐ ดำเนินการทางวินัย (1) ตักเตือนเป็นหนังสือ (2) ภาคทัณฑ์ (3) งดการเสนอชื่อเป็นผู้สอบบัญชี โดยมีกำหนดแต่ไม่เกิน 3 ปี (4) ถอนชื่อออกจากทะเบียน ผู้สอบบัญชีภาคเอกชน ผู้สอบบัญชีภาคเอกชน ผู้ชำนาญงานสอบบัญชีสหกรณ์
ระเบียบกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ว่าด้วยข้อกำหนดการปฏิบัติ ตามจรรยาบรรณของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ พ.ศ. 2554 หมวดที่ 1 ความโปร่งใส ความเป็นอิสระ ความเที่ยงธรรม และความซื่อสัตย์สุจริต หมวดที่ 2 ความรู้ ความสามารถ และมาตรฐานในการปฏิบัติงาน หมวดที่ 3 การรักษาความลับ หมวดที่ 4 ความรับผิดชอบต่อผู้บริการ หมวดที่ 5 ความรับผิดชอบต่อผู้สอบบัญชีสหกรณ์ที่ปฏิบัติหน้าที่ให้ หมวดที่ 6 ความรับผิดชอบต่อผู้ร่วมวิชาชีพ และจรรยบรรณทั่วไป
คณะกรรมการ หมายถึง คณะกรรมการจรรยาบรรณผู้สอบบัญชีสหกรณ์ ระเบียบกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ว่าด้วยวิธีพิจารณาจรรยาบรรณของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ และการอุทธรณ์ พ.ศ. 2554 คำนิยาม ตามข้อ 4 คณะกรรมการ หมายถึง คณะกรรมการจรรยาบรรณผู้สอบบัญชีสหกรณ์ คณะอนุกรรมการ หมายถึง คณะอนุกรรมการจรรยาบรรณผู้สอบบัญชีสหกรณ์
คำนิยาม (ต่อ) ข้อกล่าวหา หมายถึง เรื่องที่กล่าวหาหรือกล่าวโทษผู้สอบบัญชีสหกรณ์ ว่าประพฤติผิดจรรยาบรรณของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ ว่าด้วยจรรยาบรรณของ ผู้สอบบัญชีสหกรณ์ พ.ศ. 2554 ผู้กล่าวหา หมายถึง สมาชิกสหกรณ์ / กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ ชุมนุมสหกรณ์ สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย กลุ่มเกษตรกรตาม กฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง หรือ ผู้ซึ่งพบหรือทราบการประพฤติผิดจรรยาบรรณของผู้สอบบัญชีสหกรณ์
ผู้ถูกกล่าวหา หมายถึง ผู้สอบบัญชีสหกรณ์ ที่ถูกกล่าวหา คำนิยาม (ต่อ) ผู้ถูกกล่าวหา หมายถึง ผู้สอบบัญชีสหกรณ์ ที่ถูกกล่าวหา ว่าประพฤติผิดจรรยาบรรณ ผู้รับข้อกล่าวหา หมายถึง สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 1-10 สำนักมาตรฐานการบัญชี และการสอบบัญชี
ข้อ 5 การพิจารณาจรรยาบรรณของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ ให้พิจารณาจากลักษณะข้อบกพร่องในการปฏิบัติ หรืองดเว้น การปฏิบัติใด ๆ ของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ โดยแบ่งเป็น 4 ระดับ ดังต่อไปนี้ 5.1 ข้อบกพร่องน้อย 5.2 ข้อบกพร่องปานกลาง 5.3 ข้อบกพร่องมาก 5.4 ข้อบกพร่องร้ายแรง ลักษณะข้อบกพร่องให้เป็นไปตามระเบียบที่ คณะกรรมการกำหนด
ประกาศคณะกรรมการจรรยาบรรณของผู้สอบบัญชี เรื่อง ลักษณะข้อบกพร่องที่ใช้พิจารณาจรรยาบรรณของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ ข้อบกพร่อง หมายความว่า พฤติกรรมที่แสดงว่าผู้สอบบัญชีสหกรณ์ปฏิบัติ หรืองดเว้นปฏิบัติใดๆ อันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่เป็นไปตามระเบียบนายทะเบียน สหกรณ์ ว่าด้วย จรรยาบรรณของผู้สอบบัญชี พ.ศ. 2554 ความมีสาระสำคัญ หมายความว่า ระดับความมีสาระสำคัญเชิงปริมาณ ตามเกณฑ์ระดับความมีสาระสำคัญที่กำหนดไว้ในคู่มือการปฏิบัติงานสอบบัญชี เรื่อง การจัดทำแผนการสอบบัญชีโดยรวมและหรือความมีสาระสำคัญเชิงคุณภาพ ตามดุลยพินิจเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ
ประกาศคณะกรรมการจรรยาบรรณของผู้สอบบัญชี เรื่อง ลักษณะข้อบกพร่องที่ใช้พิจารณาจรรยาบรรณของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ (ต่อ) ข้อบกพร่องน้อย ได้แก่ ลักษณะข้อบกพร่องที่ผู้สอบบัญชีสหกรณ์ ไม่มีเจตนาในการกระทำความผิด และไม่ใช่พฤติกรรมที่ก่อให้เกิด ความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ ซึ่งส่งผลให้เกิดความเสียหายหรือ ผลกระทบต่อผู้ที่เกี่ยวข้องและสาธารณชนอย่างมีสาระสำคัญน้อย ข้อบกพร่องปานกลาง ได้แก่ ลักษณะข้อบกพร่องที่ผู้สอบบัญชีสหกรณ์ ไม่มีเจตนาในการกระทำความผิด และไม่ใช่พฤติกรรมที่ก่อให้เกิด ความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ ซึ่งส่งผลให้เกิดความเสียหายหรือ ผลกระทบต่อผู้ที่เกี่ยวข้องและสาธารณชนอย่างมีสาระสำคัญ
ประกาศคณะกรรมการจรรยาบรรณของผู้สอบบัญชี เรื่อง ลักษณะข้อบกพร่องที่ใช้พิจารณาจรรยาบรรณของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ (ต่อ) ข้อบกพร่องมาก ได้แก่ ลักษณะข้อบกพร่องที่ผู้สอบบัญชีสหกรณ์ กระทำโดยรู้สำนึกในการกระทำและในขณะเดียวกันผู้สอบบัญชีประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น หรือมีพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความ เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ ซึ่งส่งผลให้เกิดความเสียหายหรือผลกระทบ ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องและสาธารณชนอย่างมีสาระสำคัญ ข้อบกพร่องร้ายแรง ได้แก่ ลักษณะข้อบกพร่องที่ผู้สอบบัญชีสหกรณ์ กระทำโดยรู้สำนึกในการกระทำและในขณะเดียวกันผู้สอบบัญชีประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น หรือมีพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความ เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ ซึ่งส่งผลให้เกิดความเสียหายหรือผลกระทบ ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องและสาธารณชนอย่างมีสาระสำคัญมาก
ประกาศคณะกรรมการจรรยาบรรณของผู้สอบบัญชี เรื่อง ลักษณะข้อบกพร่องที่ใช้พิจารณาจรรยาบรรณของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ (ต่อ) ข้อ 3 หากมีพฤติกรรมกระทำความผิดซ้ำซ้อนข้อบกพร่องเดิม ภายในเวลา 2 ปี นับแต่วันที่ถูกพิจารณาโทษ ตามลักษณะ ข้อบกพร่องใดลักษณะหนึ่ง ให้จัดข้อบกพร่องเพิ่มขึ้นอีกระดับหนึ่ง ข้อ 4 การพิจารณาลักษณะข้อบกพร่องนอกเหนือจาก ที่ประกาศนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการจรรยาบรรณ ผู้สอบบัญชีสหกรณ์
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ ข้อ 6 ให้คณะกรรมการซึ่งอธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์แต่งตั้ง มีอำนาจหน้าที่พิจารณาจรรยาบรรณ และวินิจฉัยชี้ขาด กรณี ผู้สอบบัญชีสหกรณ์ประพฤติผิดจรรยาบรรณที่เข้าลักษณะข้อบกพร่อง ระดับข้อบกพร่องมากหรือระดับข้อบกพร่องร้ายแรง เว้นแต่ กรณีมีความจำเป็นหรือมีเหตุผลพิเศษ คณะกรรมการอาจพิจารณา ได้เอง โดยไม่ต้องส่งเรื่องให้คณะอนุกรรมการพิจารณา
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ (ต่อ) ข้อ 7 ให้คณะอนุกรรมการซึ่งอธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ แต่งตั้งมีอำนาจหน้าที่พิจารณาจรรยาบรรณ และวินิจฉัยชี้ขาด กรณี ผู้สอบบัญชีสหกรณ์ประพฤติผิดจรรยาบรรณที่เข้าลักษณะข้อบกพร่อง ระดับข้อบกพร่องน้อยหรือระดับข้อบกพร่องปานกลาง ข้อ 8 ผู้มีอำนาจพิจารณาจรรยาบรรณตามข้อ 6 และ ข้อ 7 มีอำนาจหน้าที่สอบสวนและพิจารณาข้อเท็จจริงในเรื่องที่กล่าวหา หรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำหรือชี้แจงข้อเท็จจริง หรือ ทำคำชี้แจงเป็นหนังสือหรือหลักฐานได้
ขั้นตอนและวิธีการพิจารณาจรรยาบรรณ ข้อ 9 ข้อกล่าวหา ต้องเป็นลายลักษณ์อักษร โดยอย่างน้อย ต้องมีข้อมูลประกอบด้วยชื่อตัว ชื่อสกุล ทีอยู่ หมายเลขโทรศัพท์ ที่ติดต่อได้ และข้อมูลที่เกี่ยวกับการประพฤติผิดจรรยาบรรณของ ผู้ถูกกล่าว หา พร้อมทั้งลงลายมื่อชื่อของผู้ถูกกล่าวหาไว้ด้วย ผู้กล่าวหา ต้องยื่นข้อกล่าวหาต่อผู้รับข้อกลาวหา ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่พบหรือทราบการประพฤติผิดจรรยาบรรณ ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันที่มีการประพฤติผิดจรรยาบรรณนั้น ข้อ 10 เมื่อได้รับข้อกล่าวหาตามข้อ 9 ให้ผู้รับข้อกล่าวหาเสนอข้อกล่าวหาต่อคณะอนุกรรมการพิจารณาโดยเร็ว
ขั้นตอนและวิธีการพิจารณาจรรยาบรรณ (ต่อ) ข้อ 11 การพิจารณาของคณะอนุกรรมการ (1) ให้เลขานุการคณะอนุกรรมการ พิจารณา กลั่นกรองข้อกล่าวหาและสรุปความเห็นเสนอต่อคณะอนุกรรมการ โดยเร็ว (2) ให้คณะอนุกรรมการ พิจารณาและวินิจฉัยชี้ขาด โดยเร็ว ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการ ต้องให้ผู้ถูกกล่าวหามาให้ถ้อยคำ หรือนำพยานหลักฐานมาประกอบการพิจารณาภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากคณะอนุกรรมการ
ขั้นตอนและวิธีการพิจารณาจรรยาบรรณ (ต่อ) (3) กรณีคณะอนุกรรมการได้วินิจฉัยชี้ขาดเป็นข้อบกพร่องน้อย หรือปานกลาง ให้จัดทำรายงานสรุปผลการพิจารณาและวินิจฉัยเสนอ ต่อคณะกรรมการเพื่อทราบ โดยสรุปสาระสำคัญของข้อกล่าวหา คำแก้ ข้อกล่าวหา ข้อเท็จจริงจากการสอบสวน ลักษณะข้อบกพร่อง และ คำวินิจฉัยชี้ขาด รวมทั้งการลงโทษ ภายใน 15 วันนับจากวันที่มีคำวินิจฉัย (4) กรณีที่คณะอนุกรรมการวินิจฉัยว่าเป็นข้อบกพร่องมาก หรือร้ายแรง ให้จัดทำรายงานสรุปผลการพิจารณาเสนอต่อคณะกรรมการ เพื่อพิจารณาโดยสรุปสาระสำคัญของข้อกล่าวหา คำแก้ข้อกล่าวหา ข้อเท็จจริงจากการสอบสวนลักษณะข้อบกพร่อง คำวินิจฉัยและความเห็น ในการเสนอการลงโทษ ภายใน 15 วันนับจากวันที่มีคำวินิจฉัย
ขั้นตอนและวิธีการพิจารณาจรรยาบรรณ (ต่อ) ข้อ 12 การพิจารณาของคณะกรรมการ (1) ให้เลขานุการคณะกรรมการสรุปผลการพิจารณาของ คณะอนุกรรมการและเสนอความเห็นต่อประธานคณะกรรมการ เพื่อทราบตามข้อ 11 (3) หรือพิจารณาตามข้อ 11 (4) แล้วแต่กรณีโดยเร็ว (2) ให้คณะกรรมการพิจารณาและวินิจฉัยชี้ขาดตามข้อ 11 (4) ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ทั้งนี้ คณะกรรมการต้องให้ผู้ถูกกล่าวหามาให้ถ้อยคำ หรือนำพยานหลักฐานมาประกอบการพิจารณาภายใน 30 วันนับแต่ วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากคณะกรรมการ (3) ให้คณะกรรมการ เสนอคำวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการ และคณะกรรมการต่ออธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์เพื่อทราบ
คำวินิจฉัยชี้ขาด และการแจ้งผล ข้อ 14 ผู้พิจารณาจรรยาบรรณ มีอำนาจวินิจฉัย ดังต่อไปนี้ 14.1 ข้อกล่าวหาไม่มีมูลว่ามีการประพฤติผิดจรรยาบรรณ ให้คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการ จัดทำหนังสือแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหา ทราบ 14.2 ข้อกล่าวหามีมูลว่ามีการประพฤติผิดจรรยาบรรณ ให้คณะกรรมการหรืออนุกรรมการพิจารณา วินิจฉัยชี้ขาด และพิจารณาโทษ การประพฤติผิดจรรยาบรรณ ตามระดับข้อบกพร่อง ซึ่งระบุไว้ในข้อ 5 ดังนี้ 14.2.1 กรณีผู้สอบบัญชีสหกรณ์เป็นข้าราชการให้ ดำเนินการทางวินัยตามกฎ ระเบียบของทางราชการ
คำวินิจฉัยชี้ขาด และการแจ้งผล (ต่อ) 14.2.2 กรณีผู้สอบบัญชีสหกรณ์เป็นผู้สอบบัญชีภาคเอกชนให้ดำเนินการ ดังนี้ (1) ระดับข้อบกพร่องน้อย ตักเตือนเป็นหนังสือ (2) ระดับข้อบกพร่องปานกลาง ภาคทัณฑ์ (3) ระดับข้อบกพร่องมาก งดการเสนอชื่อเป็นผู้สอบบัญชีสหกรณ์ โดยมีกำหนดเวลาแต่ไม่เกิน 3 ปี (4) ระดับข้อบกพร่องร้ายแรง ถอนชื่อออกจากทะเบียน ผู้สอบบัญชีสหกรณ์ กรณีผู้สอบบัญชีสหกรณ์ถูกพิจารณาโทษตามลักษณะข้อบกพร่องมาก หรือร้ายแรง หากมีงานสอบบัญชีสหกรณ์ค้างอยู่ในความรับผิดชอบหรือได้รับคำสั่ง แต่งตั้งเป็นผู้สอบบัญชีสหกรณ์แล้ว แต่ยังมิได้ดำเนินการตรวจสอบให้ยุติงานสอบบัญชีดังกล่าวในทันที
ตัวอย่างประเด็นพฤติกรรม การประพฤติผิดจรรยาบรรณ ของผู้สอบบัญชีสหกรณ์
งบการเงิน ประเด็นพฤติกรรม ผลเสียหาย ผลกระทบ งบดุลแสดงรายการเงินให้กู้ยืม ระยะสั้น จำนวน 14,513,000.00 บาท และเงินให้กู้ยืมระยะยาว จำนวน 23,287,932.00 บาท แต่ ข้อมูลไม่สัมพันธ์กับงบกำไรขาดทุน ซึ่งไม่ปรากฏรายการผลตอบแทน จากการให้เงินกู้ยืม ทั้ง 2 รายการ ข้างต้น รายการในงบการเงินดังกล่าว แสดงข้อมูล ไม่สัมพันธ์กับงบกำไรขาดทุนจึงไม่อาจเชื่อได้ว่าผลกระทบจากรายการดังกล่าว ส่งผลให้งบการเงินแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงหรือไม่ งบการเงินอาจแสดงข้อมูลขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ และเปิดเผยข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบการเงินไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี งบการเงินของสหกรณ์แสดง รายการเงินกู้ยืมระยะสั้นและส่วน ของหนี้ที่ถึงกำหนดชำระภายใน 1 ปี เป็นเงินกู้ยืมระยะยาว ทำให้การคำนวณอัตราส่วนทุนหมุนเวียนเพื่อรายงานสภาพคล่องของสหกรณ์ไม่ถูกต้อง งบการเงินแสดงรายการไม่เป็นไปตามคู่มือการจัดทำงบการเงินของสหกรณ์ ทำให้การแสดงรายการหนี้สินหมุนเวียนต่ำไปอย่างเป็นสาระสำคัญ
ประเด็นพฤติกรรม ผลเสียหาย ผลกระทบ งบการเงินของสหกรณ์ตั้งค่าเผื่อหนี้ สงสัยจะสูญไม่เพียงพอ เช่น สหกรณ์ มีรายละเอียดลูกหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิด รายได้ จำนวน 49 ราย ต้องตั้งค่าเผื่อ หนี้สงสัยจะสูญเป็นเงิน 17,801,979.11 บาท ในขณะที่กระดาษทำการจัดชั้น คุณภาพลูกหนี้และการเผื่อหนี้สงสัย จะสูญ มียอดลูกหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิด รายได้ จำนวน 17 ราย ตั้งค่าเผื่อหนี้ สงสัยจะสูญ จำนวน 5,252,074.05 บาท ส่งผลให้การตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ต่ำไปจำนวน 12,549,905.06 บาท สหกรณ์ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ลูกหนี้เงินให้กู้ต่ำไป12,549,905.06 บาท ซึ่งไม่เป็นไปตามระเบียบ นทส. ว่าด้วยการจัดชั้นคุณภาพลูกหนี้เงินกู้และการเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ พ.ศ. 2544 ข้อ 14 และจำนวนเงินดังกล่าวขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญต่อการแสดงความเห็นของผู้สอบบัญชี งบการเงินแสดงข้อมูล ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ และเปิดเผยข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี
ประเด็นพฤติกรรม ผลเสียหาย ผลกระทบ งบการเงินปรากฏรายการลูกหนี้ การค้า – สุทธิ แต่ในหมายเหตุ ประกอบงบการเงิน มิได้เปิดเผย จำนวนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ และ จากการตรวจสอบกระดาษทำการ ปรากฏว่า รายการดังกล่าวได้แสดง รวมรายการลูกหนี้เงินกู้ยืม พนักงาน และลูกหนี้อื่น รายการในงบการเงินดังกล่าว แสดงข้อมูลไม่สัมพันธ์กับรายละเอียดประกอบงบการเงิน จึงอาจเชื่อได้ว่า งบการเงินดังกล่าวแสดงข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ ๑๑ เรื่อง หนี้สงสัยจะสูญและ หนี้สูญ (ย่อหน้า ๒๔) งบการเงินแสดงข้อมูลขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ และเปิดเผยข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบการเงินไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี งบการเงินของสหกรณ์แสดง รายการค่าใช้จ่ายต่ำไป จำนวน 1,000,000 บาท รายการค่าใช้จ่ายที่ต่ำไป ส่งผลให้ งบกำไรขาดทุนของสหกรณ์แสดงกำไรสุทธิประจำปีสูงไป และจำนวนเงินดังกล่าวขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญต่อการแสดงความเห็นของผู้สอบบัญชี งบการเงินแสดงข้อมูลขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญและเปิดเผยข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบการเงินไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี
ประเด็นพฤติกรรม ผลเสียหาย ผลกระทบ หมายเหตุประกอบงบการเงินไม่เปิดเผย ข้อมูลกรณีสหกรณ์รับสมาชิกสมทบที่เป็น นิติบุคคลซึ่งไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2542 มาตรา 33 (2) และ (3) และคำสั่ง นายทะเบียนสหกรณ์ที่ 789/2552 ลงวันที่ 16 ธันวาคม 2552 ที่กำหนดให้สมาชิกต้องเป็น บุคคลธรรมดาและบรรลุนิติภาวะโดยสมาชิก แต่ละคนต้องถือหุ้นอย่างน้อย 1 หุ้น ผู้ใช้งบการเงินได้รับข้อมูลประกอบการตัดสินใจไม่ถูกต้อง อาจส่งผลเสียหายต่อสหกรณ์และบุคคลที่เกี่ยวข้องอย่างมีสาระสำคัญ งบการเงินแสดงข้อมูลขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ และเปิดเผยข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบการเงินไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี หมายเหตุประกอบงบการเงิน ไม่เปิดเผย นโยบายการบัญชีที่เลือกใช้เกี่ยวกับการรับรู้รายการ การวัดมูลค่า วิธีการคิด ค่าเสื่อมราคาและอัตรา ค่าเสื่อมราคาที่ใช้สำหรับอสังหาริมทรัพย์เพื่อการ ลงทุน รวมทั้งการรับรู้รายได้ค่าเช่าและการขาย อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนให้ครบถ้วนตาม มาตรฐานรายงานทางการเงิน ผู้ใช้งบการเงินได้รับข้อมูลประกอบการตัดสินใจไม่ครบถ้วน งบการเงินไม่เปิดเผยข้อมูล ที่เป็นสาระ สำคัญให้ผู้ใช้งบการเงิน ใช้ประกอบ การตัดสินใจ
ประเด็นพฤติกรรม ผลเสียหาย ผลกระทบ หมายเหตุประกอบงบการเงิน ไม่เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ อสังหาริมทรัพย์ เพื่อการลงทุน ไม่ครบถ้วน สมบูรณ์ ตาม มาตรฐานการบัญชีและระเบียบ ที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด ผู้ใช้งบการเงินได้รับข้อมูลประกอบการตัดสินใจไม่ครบถ้วน งบการเงินไม่เปิดเผยข้อมูลที่เป็นสาระสำคัญให้ผู้ใช้งบการเงินใช้ประกอบการตัดสินใจ ไม่เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับที่มา ของรายการลูกหนี้หน่วยรอ ดำเนินการ/ที่มาของรายการ ทุนเรือนหุ้นหน่วยสมาชิก รอดำเนินการ/ที่มาของรายการ ลูกหนี้อื่น ผู้สอบบัญชีปฏิบัติไม่เป็นไปตามคู่มือ การจัดทำงบการเงินสหกรณ์ออมทรัพย์ที่กำหนดให้ผู้สอบบัญชีต้องขยายความรายการในงบการเงิน/เปิดเผยข้อมูล ที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของ ผู้ใช้งบการเงินนั้น ซึ่งรายการดังกล่าวหากไม่อธิบาย/ขยายความ จะทำให้ผู้ใช้ งบการเงินไม่สามารถ เข้าใจได้ถึงความหมายและผลกระทบของรายการนั้น งบการเงิน ไม่เปิดเผยข้อมูล ที่เป็นสาระสำคัญ ให้ผู้ใช้งบการเงิน ใช้ประกอบ การตัดสินใจ
ประเด็นพฤติกรรม ผลเสียหาย ผลกระทบ หมายเหตุประกอบงบการเงิน ไม่เปิดเผยข้อมูลที่อาจ มีผลกระทบต่อการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจของสมาชิกและ ผู้ใช้งบการเงินอย่างมีสาระสำคัญ ในกรณีไม่ตั้งค่าเผื่อหนี้ สงสัยจะสูญ/ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่ำกว่าระเบียบ ที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนดอย่างเป็นสาระสำคัญ จ่ายเงินกู้พิเศษให้แก่สมาชิกและสมาชิกสมทบไม่เป็นไป ตามระเบียบของสหกรณ์และระเบียบที่นายทะเบียน สหกรณ์กำหนด ผู้ใช้งบการเงินได้รับข้อมูลประกอบการตัดสินใจไม่ครบถ้วน งบการเงิน ไม่เปิดเผยข้อมูล ที่เป็นสาระสำคัญ ให้ผู้ใช้งบการเงิน ใช้ประกอบ การตัดสินใจ หมายเหตุประกอบงบการเงิน เปิดเผยลูกหนี้ระหว่าง ดำเนินคดีและลูกหนี้ตามคำพิพากษาด้วยยอดคงเหลือ ตามบัญชี ซึ่งไม่เป็นไปตามคำแนะนำนายทะเบียน สหกรณ์ เรื่อง วิธีปฏิบัติทางบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้ พ.ศ. 2547 เป็นผลให้ลูกหนี้ระหว่างดำเนินคดีและ ลูกหนี้ตามคำพิพากษาแสดงด้วยจำนวนเงินที่ต่ำไป รวมจำนวน 4.24 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.07 ของสินทรัพย์ทั้งสิ้น ผู้ใช้งบการเงินได้รับข้อมูลประกอบการตัดสินใจผิดพลาด งบการเงินแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญให้ผู้ใช้งบการเงิน ใช้ประกอบการตัดสินใจ
รายงานผลการตรวจสอบ ประเด็นพฤติกรรม ผลเสียหาย ผลกระทบ บัญชี ไม่ได้รายงานการปฏิบัติ ของสหกรณ์ที่ฝ่าฝืน พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 และกฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง ผู้สอบบัญชีไม่รายงานการปฏิบัติของสหกรณ์ที่ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติสหกรณ์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องแสดงว่าผู้สอบบัญชีรู้ รวมทั้งยินยอมให้สหกรณ์ปฏิบัติไม่ถูกต้องตามระเบียบ และคำแนะนำของนายทะเบียนสหกรณ์ ผู้สอบบัญชีปฏิบัติงานตรวจสอบโดยขาดความระมัดระวังรอบคอบเยี่ยง ผู้ประกอบวิชาชีพ ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง อย่างมีสาระสำคัญ ผู้สอบบัญชีไม่ได้จัดส่ง รายงานการสอบบัญชี งบการเงินและกระดาษ ทำการ ให้นายทะเบียน สหกรณ์ภายในเวลา ที่กำหนด ไม่มีหลักฐานเพื่อสนับสนุนว่าผู้สอบบัญชีได้ปฏิบัติงานตามมาตรฐานการสอบบัญชีและระเบียบที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด และไม่อาจเชื่อได้ว่าผู้สอบบัญชีได้ปฏิบัติงานตรวจสอบบัญชีรวมทั้งการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีดังกล่าว เป็นการกระทำโดยเจตนา และกระทำเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ แห่งวิชาชีพ ไม่อาจเชื่อมั่นในความถูกต้องของข้อมูลในงบการเงินของสหกรณ์ซึ่งอาจไม่ได้จัดทำตามระเบียบที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนดอย่างมีสาระสำคัญ ซึ่งอาจส่งผลเสียหายต่อผู้ใช้ งบการเงินอย่างมีสาระสำคัญ
ประเด็นพฤติกรรม ผลเสียหาย ผลกระทบ จัดทำรายงานการสอบบัญชี หรือกระดาษทำการ หรือบันทึก ผลการปฏิบัติงานในระบบงาน สอบบัญชีสหกรณ์ผิดพลาด คลาดเคลื่อนไม่สัมพันธ์กับ งบการเงินของสหกรณ์ หรือ ไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงของ สหกรณ์ โดยข้อคลาดเคลื่อน ดังกล่าวมีสาระสำคัญ อย่างไร ก็ตามงบการเงินของสหกรณ์ แสดงรายการถูกต้องตามควร ในสาระสำคัญ และยังคงเป็น ประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงิน พฤติกรรมของผู้สอบบัญชี ยังไม่ส่งผลเสียหายแต่อาจเกิดผลกระทบต่อความเชื่อถือในการปฏิบัติงาน ของผู้สอบบัญชีอย่างมีสาระสำคัญ ไม่อาจเชื่อมั่นในความถูกต้องของข้อมูลในงบการเงินของสหกรณ์ และการปฏิบัติงาน ของผู้สอบบัญชีปฏิบัติงาน โดยขาดความระมัดระวังรอบคอบเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพสอบบัญชี
ประเด็นพฤติกรรม ผลเสียหาย ผลกระทบ ไม่ปรากฏหลักฐานการลงลาย มือชื่อผู้สอบบัญชี ในรายงานผลการ ตรวจสอบบัญชีและกระดาษทำการ แต่เป็นบุคคลอื่น ซึ่งไม่ใช่ผู้สอบบัญชี ที่ได้รับแต่งตั้งจากนายทะเบียน สหกรณ์เป็นผู้ลงลายมือชื่อในฐานะ ผู้สอบบัญชี 1. ผู้สอบบัญชีไม่มีหลักฐาน การปฏิบัติงานสอบบัญชีและปฏิบัติไม่เป็นไปตามมาตรฐานการสอบบัญชีและระเบียบ ที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด 2. บุคคลอื่นปฏิบัติงานสอบบัญชีและกระทำการแทน ผู้สอบบัญชีสหกรณ์ ทั้งที่ไม่ได้รับการแต่งตั้งจากนายทะเบียนสหกรณ์ ถือเป็นการกระทำโดยเจตนา และกระทำเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ ไม่อาจเชื่อได้ว่าผู้สอบบัญชีได้ปฏิบัติงานตามมาตรฐานการสอบบัญชีและระเบียบที่ นายทะเบียนสหกรณ์กำหนดหรือไม่
ประเด็นพฤติกรรม ผลเสียหาย ผลกระทบ แสดงความเห็นต่องบการเงิน อย่างไม่มีเงื่อนไขทั้งๆ ที่ผู้สอบบัญชี ได้รายงานผลการตรวจสอบบัญชี ว่าไม่ได้ตรวจสอบความเพียงพอ ของการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ลูกหนี้ตามคำพิพากษา และไม่มี หลักฐานการตรวจสอบสัญญาเงิน ให้กู้สูญหายจำนวน 47 ฉบับ ปฏิบัติงานสอบบัญชีไม่เป็นไปตามมาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 230 เอกสารหลักฐานของงานตรวจสอบ และรหัส 500 หลักฐานการสอบบัญชี เพื่อให้ได้มาซึ่งหลักฐานการสอบบัญชีที่เหมาะสมและเพียงพอ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการแสดงความเห็นต่องบการเงิน ไม่อาจเชื่อมั่นในความถูกต้องของข้อมูลในงบการเงินของสหกรณ์ และข้อมูลในงบการเงินสหกรณ์อาจส่งผลเสียหายต่อผู้ใช้งบการเงินอย่างเป็นอย่างมีสาระสำคัญ
ประเด็นพฤติกรรม ผลเสียหาย ผลกระทบ แสดงความเห็นต่องบการเงินอย่าง ไม่มีเงื่อนไข ทั้งๆ ที่รายการเงินลงทุนระยะยาว ในปี 25XX สหกรณ์มีเงินลงทุนที่ไม่อยู่ใน ความต้องการของตลาด จำนวน 97 ล้านบาท (ปี 25XX จำนวน 88 ล้านบาท) โดยส่วนใหญ่ ไม่ได้ขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการ พัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ ซึ่งผู้สอบบัญชีต้อง เพิ่มวรรคเน้นข้อมูลและเหตุการณ์ต่อท้ายวรรค ความเห็นไว้ในรายงานของผู้สอบบัญชี แต่ผู้สอบบัญชีไม่ปฏิบัติตามคู่มือการจัดทำ รายงานการสอบบัญชีสหกรณ์ ไม่ปฏิบัติตามคู่มือการจัดทำรายงานการสอบบัญชีสหกรณ์ ไม่อาจเชื่อมั่นในความ ถูกต้องของข้อมูลใน งบการเงินของสหกรณ์ ซึ่งอาจส่งผลเสียหาย ต่อผู้ใช้งบการเงินอย่างมีสาระสำคัญ
ประเด็นพฤติกรรม ผลเสียหาย ผลกระทบ แสดงความเห็นต่องบการเงินอย่างไม่มีเงื่อนไข ทั้งๆที่สหกรณ์มีการปฏิบัติทางบัญชีและการเปิดเผย ข้อมูลไม่ถูกต้องตามหลักการบัญชีและระเบียบที่ นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด เช่น คำนวณค่าเสื่อมราคา อาคารและอุปกรณ์ สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ต้องตัดบัญชี และค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชี /ไม่ได้เปิดเผยเหตุการณ์สำคัญ ที่เกิดขึ้นหลังวันที่ในงบการเงินแต่ก่อนวันที่ผู้สอบบัญชี แสดงความเห็นต่องบการเงินและเหตุการณ์ที่อาจ เกิดขึ้นในภายหน้า/มิได้เปิดเผยข้อความและรายการ อันอาจทำให้เกิดการหลงผิดหรือเสียหายแก่สหกรณ์นั้น หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง / มิได้จัดทำตามที่กฎหมายเกี่ยวกับ ภาษีมูลค่าเพิ่ม เอกสารหลักฐานบางส่วนสูญหาย บันทึก บัญชีไม่เป็นไปตามข้อเท็จจริงโดยมีสาระสำคัญมาก ไม่ปฏิบัติตามคู่มือการจัดทำรายงานการสอบบัญชีสหกรณ์ ไม่อาจเชื่อมั่น ในความถูกต้องของข้อมูลใน งบการเงินของสหกรณ์ ซึ่งอาจส่งผลเสียหายต่อผู้ใช้ งบการเงิน อย่างมีสาระสำคัญ
ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ประเด็นพฤติกรรม ผลเสียหาย ผลกระทบ ไม่บันทึกผลการปฏิบัติงานใน ระบบงานสำหรับผู้สอบบัญชีสหกรณ์ (Cad_Ca) ภายในเวลาที่กำหนด ไม่มีหลักฐานเพื่อสนับสนุนว่าผู้สอบบัญชีได้ปฏิบัติงานตามมาตรฐานการสอบบัญชีและระเบียบที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด และไม่ปฏิบัติตามที่หน่วยงานกำกับดูแลกำหนด ถือเป็นการกระทำโดยเจตนา และกระทำเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ ไม่อาจเชื่อมั่นในความถูกต้องของข้อมูลในงบการเงินของสหกรณ์ ซึ่งอาจไม่ได้จัดทำตามระเบียบที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนดอย่างมีสาระสำคัญ ซึ่งอาจส่งผลเสียหายต่อผู้ใช้งบการเงินอย่างมีสาระสำคัญ การวางแผนการสอบบัญชีไม่เป็นไป ตามมาตรฐานกระบวนการสอบบัญชี และ/หรือ เข้าสอบบัญชีระหว่างปี ครั้งแรก ก่อนจัดทำแผนการสอบบัญชี เช่น เข้าตรวจสอบบัญชีระหว่างปีวันที่ 3 พ.ย. 25xx จัดทำแผนการสอบบัญชี โดยรวม วันที่ 11 พ.ย. 25xx ผู้สอบบัญชีปฏิบัติงานเข้าลักษณะเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ เป็นการกระทำความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
การวางแผนงานสอบบัญชี ปฏิบัติไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีและการสอบบัญชี ประเด็นพฤติกรรม ผลเสียหาย ผลกระทบ ผู้สอบบัญชีกำหนดแผนงาน สอบบัญชีโดยประเมินความเสี่ยงฯ และจัดทำแผนการสอบบัญชี โดยรวม หลังจากที่ได้แสดง ความเห็นต่องบการเงิน ผู้สอบบัญชีวางแผนงานสอบบัญชี โดยไม่ได้คำนึงถึงผลการประเมินประสิทธิภาพการควบคุมภายใน ซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 315 การระบุและประเมินความเสี่ยงจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ โดยการทำความเข้าใจกิจการและสภาพแวดล้อมของกิจการ และไม่มีหลักฐานการกำหนดแผนงานสอบบัญชี ไม่อาจเชื่อได้ว่าผู้สอบบัญชีได้มีการวางแผนการตรวจสอบบัญชี และได้ปฏิบัติงานตรวจสอบบัญชีอย่างเหมาะสม ตามผลการประเมินความเสี่ยงรายการที่มีสาระสำคัญต่อ งบการเงินได้อย่างเหมาะสม
ประเด็นพฤติกรรม ผลเสียหาย ผลกระทบ ไม่ปรากฏการจัดทำแผน การสอบบัญชีโดยรวม และ ประเมินความเสี่ยงเป็น ลายลักษณ์อักษรตามหลักเกณฑ์ ที่กำหนด ผู้สอบบัญชีปฏิบัติงานสอบบัญชี โดยไม่ได้คำนึงถึงผลการประเมินประสิทธิภาพการควบคุมภายในของสหกรณ์ ซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 315 การระบุและประเมินความเสี่ยงจากการแสดงข้อมูล ที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ โดยการทำความเข้าใจกิจการและสภาพแวดล้อมของกิจการ และไม่มีหลักฐานประกอบ ไม่อาจเชื่อได้ว่า ผู้สอบบัญชีได้มีการวางแผนการตรวจสอบบัญชี และได้ปฏิบัติงานตรวจสอบบัญชี อย่างเหมาะสม
ประเด็นพฤติกรรม ผลเสียหาย ผลกระทบ มีการจัดทำแผนการสอบบัญชี โดยรวมแต่ไม่ปรากฏการประเมิน ความเสี่ยงรายการในงบการเงิน และไม่นำรายการที่เพิ่มขึ้น ในงบการเงินปีปัจจุบันมาวาง แผนการสอบบัญชีโดยรวม ผู้สอบบัญชีปฏิบัติงานสอบบัญชี โดยไม่ได้คำนึงถึงผลการประเมินประสิทธิภาพการควบคุมภายในของสหกรณ์ ซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 315 การระบุและประเมินความเสี่ยงจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ โดยการทำความเข้าใจกิจการและสภาพแวดล้อมของกิจการ รายการในงบการเงินรายการใดมีสาระสำคัญมาก ปานกลาง หรือน้อย เพื่อกำหนดวิธีการตรวจสอบที่เหมาะสม ไม่อาจเชื่อได้ว่า ผู้สอบบัญชีได้มีการวางแผนการตรวจสอบบัญชี มีการกำหนดลักษณะ ระยะเวลาและขอบเขตการตรวจสอบเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของสหกรณ์ และรายการ ในงบการเงินที่มีสาระสำคัญ
ประเด็นพฤติกรรม ผลเสียหาย ผลกระทบ แผนการสอบบัญชีโดยรวม ไม่ปรากฏชื่อผู้จัดทำผู้สอบทาน และวันที่จัดทำและวันที่สอบทาน ไม่อาจเชื่อได้ว่าแผนการสอบบัญชีโดยรวมได้จัดทำขึ้นก่อนเข้าตรวจสอบบัญชีระหว่างปี และมีการสอบทานการจัดทำแผนการสอบบัญชีโดยรวม เพื่อพิจารณา ถึงความสมบูรณ์และความเพียงพอของข้อมูลหลักฐาน ไม่อาจเชื่อได้ว่าผู้สอบบัญชีได้มีการวางแผนการตรวจสอบบัญชี มีการกำหนดลักษณะระยะ เวลาและขอบเขต การตรวจสอบเหมาะสมกับภาพแวดล้อมของสหกรณ์ และรายการ ในงบการเงินที่มีสาระสำคัญ
ประเด็นพฤติกรรม ผลเสียหาย ผลกระทบ การประเมินความเสี่ยงไม่ครอบคลุม องค์ประกอบงบการเงิน ไม่ครบถ้วนตาม ลักษณะการดำเนินธุรกิจ ข้อมูล ไม่สัมพันธ์กับปีทางบัญชี และกำหนด วิธีการตรวจสอบไม่สอดคล้องกับผลการ ประเมินความเสี่ยง เช่น ข้อ 4 การ ประเมินความเสี่ยงในระดับยอดคงเหลือ ในบัญชีและประเภทรายการช่องรายการ องค์ประกอบงบการเงิน โดยระบุยอด คงเหลือและอัตราร้อยละ ของปีบัญชี 31 ธันวาคม 2555 นำมาวางแผนงาน สอบบัญชี ปีบัญชี 31 ธันวาคม 2557 ผู้สอบบัญชีปฏิบัติงานสอบบัญชี โดยไม่ได้คำนึงถึงผลการประเมินประสิทธิภาพการควบคุมภายในของสหกรณ์ ซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 315 การระบุและประเมินความเสี่ยงจากการแสดงข้อมูล ที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็น สาระสำคัญ โดยใช้ข้อมูลในการประเมินความเสี่ยงไม่ถูกต้อง จึงไม่อาจเชื่อได้ว่าได้กำหนดวิธีการตรวจสอบที่เหมาะสม กับรายการบัญชีนั้น ไม่อาจเชื่อได้ว่าผู้สอบบัญชีได้มี การวางแผนการตรวจสอบบัญชี มีการกำหนดลักษณะระยะเวลาและขอบเขตการตรวจสอบเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของสหกรณ์ และรายการในงบการเงิน ที่มีสาระสำคัญ
ประเด็นพฤติกรรม ผลเสียหาย ผลกระทบ การกำหนดระดับความมี สาระสำคัญในการสอบบัญชีไม่เป็นไป ตามคู่มือการปฏิบัติงานสอบบัญชี สหกรณ์ เรื่อง การจัดทำแผนการ สอบบัญชีโดยรวม การกำหนดระดับความสำคัญผิดพลาด ทำให้ผู้สอบบัญชีกำหนดรายการที่มีผลกระทบ ต่องบดุลผิดพลาด/ ไม่ถูกต้อง ไม่อาจเชื่อได้ว่างบการเงิน ที่ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็น จัดทำโดยถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามระเบียบ นายทะเบียนสหกรณ์หรือไม่ แผนการสอบบัญชีโดยรวม ไม่ได้ ระบุว่าสหกรณ์มีสำนักงานสาขา และ การแบ่งแยกหน้าที่ทางด้านการเงิน ไม่ปรากฏชื่อผู้รับผิดชอบด้านการเงิน ชื่อผู้จัดการฝ่ายการเงิน หรือชื่อของ ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายการเงินของแต่ละ สาขา การกำหนดระดับความสำคัญผิดพลาด ทำให้ผู้สอบบัญชีกำหนดรายการที่มีผลกระทบ ต่องบดุลผิดพลาด/ ไม่ถูกต้อง ไม่อาจเชื่อได้ว่างบการเงิน ที่ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็น จัดทำโดยถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามระเบียบ นายทะเบียนสหกรณ์หรือไม่
ประเด็นพฤติกรรม ผลเสียหาย ผลกระทบ ไม่ปรากฏแนวการสอบบัญชี / ไม่ปรากฏแนวการสอบบัญชีบาง รายการ /ไม่ปรากฏแนวการสอบ บัญชีรายการที่เป็นสาระสำคัญ ในงบดุล /งบกำไรขาดทุน ผู้สอบบัญชีปฏิบัติงานสอบบัญชี โดยไม่ได้วางแผนการปฏิบัติงานตรวจสอบรายการบัญชีนั้น ซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 300 การวางแผนการตรวจสอบ จึงไม่อาจเชื่อได้ว่าได้กำหนดวิธีการตรวจสอบที่เหมาะสมกับรายการบัญชีนั้น ไม่อาจเชื่อได้ว่าผู้สอบบัญชีได้กำหนดวิธีการตรวจสอบรายการแต่ละรายการที่เป็นความสำคัญในงบการเงินได้อย่างเหมาะสม แนวการสอบบัญชี กำหนดการ สุ่มตัวอย่างรายการไม่เหมาะสม เช่น เลือกตัวอย่างเพื่อทำการตรวจสอบ เพียง 1 เดือน /หรือเลือกสุ่มตัวอย่าง ระหว่างปี 1 เดือน ประจำปี 1 เดือน ผู้สอบบัญชีปฏิบัติงานสอบบัญชีโดยไม่ได้คำนึงถึงผลการประเมินการควบคุมภายในของสหกรณ์ ซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 530 การเลือกตัวอย่างในการสอบบัญชี ไม่อาจเชื่อได้ว่าผู้สอบบัญชีได้กำหนดวิธีการตรวจสอบรายการแต่ละรายการที่เป็นความสำคัญใน งบการเงินได้อย่างเหมาะสม
ประเด็นพฤติกรรม ผลเสียหาย ผลกระทบ แนวการสอบบัญชี ไม่ได้ใช้วิธีการตรวจสอบ ตามมาตรฐานการสอบบัญชี และระเบียบ ที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนดให้เหมาะสมแก่ กรณี หรือไม่ได้ใช้วิธีการตรวจสอบอื่นทดแทน เพื่อพิสูจน์ความมีอยู่จริงของรายการที่มี สาระสำคัญมากต่องบการเงิน เช่น ไม่มีการตรวจ นับเงินสด/ไม่ได้ยืนยันยอดเงินฝากและไม่ได้จัดทำ งบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร/ไม่ได้ขอคำยืนยัน ยอดลูกหนี้ เจ้าหนี้ และทุนเรือนหุ้น /ไม่ได้เข้าร่วม สังเกตการณ์ตรวจนับสินค้าคงเหลือ/ไม่ได้ ตรวจสอบหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์และความมี อยู่จริงของเงินลงทุน/ไม่กำหนดวิธีการตรวจสอบ ยอดยกมา /หรือไม่กำหนดปริมาณการตรวจสอบ และวันที่ตรวจสอบ ผู้สอบบัญชีกำหนดวิธีการตรวจสอบต่างๆ ไม่เป็นไปตามมาตรฐานการสอบบัญชีและระเบียบที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด จึงไม่อาจเชื่อได้ว่าได้มีการตรวจสอบรายการดังกล่าว ไม่อาจเชื่อได้ว่า ผู้สอบบัญชีได้กำหนดวิธีการตรวจสอบรายการแต่ละรายการที่เป็นความสำคัญ ในงบการเงินได้อย่างเหมาะสม
ประเด็นพฤติกรรม ผลเสียหาย ผลกระทบ แนวการสอบบัญชี กำหนดวันตรวจนับเงินสด/วันเข้าสังเกตการณ์ตรวจนับสินค้าคงเหลือแต่การปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามที่กำหนดในแนวการสอบบัญชี ผู้สอบบัญชีปฏิบัติงานสอบบัญชีไม่เป็นไปตามที่กำหนดแนวการสอบบัญชี จึงไม่อาจเชื่อได้ว่าได้มีการตรวจสอบรายการดังกล่าว ไม่อาจเชื่อได้ว่าผู้สอบบัญชีได้ปฏิบัติงานตามที่กำหนดไว้
อื่นๆ ประเด็นพฤติกรรม ผลเสียหาย ผลกระทบ เสนอตนเองเข้ารับงานสอบบัญชีสหกรณ์ โดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับงานหรือประสบการณ์ ของตน หรือทีมงานเกินความเป็นจริงเข้า ลักษณะการโอ้อวดว่ามีความสามารถเหนือ ผู้สอบบัญชีรายอื่น ทำให้ผู้สอบบัญชีรายอื่น ไม่ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้สอบบัญชีของ สหกรณ์ และสูญเสียรายได้เป็นจำนวนเงิน มีสาระสำคัญและอาจเกิดผลกระทบต่อความ น่าเชื่อถือในผลงานของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ ผู้สอบบัญชีปฏิบัติงาน เข้าลักษณะเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ เป็นการกระทำความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
ประเด็นพฤติกรรม ผลเสียหาย ผลกระทบ ผู้สอบบัญชีไม่สามารถอธิบาย การปฏิบัติงานได้ โดยอ้างว่าผู้ช่วยฯ เป็นผู้จัดทำกระดาษทำการและเป็น ผู้ดำเนินการส่งเอกสารรายงานหรือ ข้อมูลทั้งหมด ผู้สอบบัญชีปฏิบัติงานเข้าลักษณะเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ เป็นการกระทำความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ ผู้สอบบัญชีหรือผู้ช่วยผู้สอบบัญชี สามารถอธิบายการปฏิบัติงานทุกขั้นตอน ตามมาตรฐานการสอบบัญชีและมาตรฐาน การรายงานทางการเงินแต่ไม่สามารถหา กระดาษทำการหรือเอกสารหลักฐาน การปฏิบัติ เพื่อแสดงให้เห็นว่าได้ปฏิบัติงาน ตามมาตรฐานการสอบบัญชี / มาตรฐาน การบัญชี ผู้สอบบัญชีปฏิบัติงานเข้าลักษณะเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ แห่งวิชาชีพ
ประเด็นพฤติกรรม ผลเสียหาย ผลกระทบ ไม่แจ้งให้สหกรณ์แก้ไขหรือให้ข้อสังเกต ในรายงานผลการตรวจสอบบัญชีกรณี สหกรณ์ปฏิบัติไม่เป็นไปตามระเบียบ นายทะเบียนสหกรณ์ ว่าด้วยการจัดชั้น คุณภาพลูกหนี้เงินกู้และการเผื่อหนี้สงสัย จะสูญ พ.ศ. 2544 โดยผู้สอบบัญชีชี้แจงว่า เป็นการเข้าใจผิดว่าการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัย จะสูญของลูกหนี้จัดชั้นคุณภาพ สหกรณ์ สามารถทยอยตั้งได้ ผู้สอบบัญชีปฏิบัติงานโดยมีความรู้ไม่เพียงพอและขาดความระมัดระวังรอบคอบเป็นเหตุให้เกิดข้อผิดพลาดขึ้น ปฏิบัติงานโดยขาดความระมัดระวังรอบคอบ ผู้สอบบัญชีสหกรณ์ลงลายมือชื่อแสดง ความเห็นต่องบการเงินของสหกรณ์ก่อนวันที่ ในหนังสือรับรองของสหกรณ์และวันที่ คณะกรรมการสหกรณ์ลงลายมือชื่อในงบ การเงิน ผู้สอบบัญชีปฏิบัติไม่เป็นไปตามมาตรฐานการสอบบัญชี ระเบียบที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด และจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ถือเป็นการกระทำ โดยขาดความระมัดระวังรอบคอบเป็นเหตุให้เกิดข้อผิดพลาดขึ้น
ประเด็นพฤติกรรม ผลเสียหาย ผลกระทบ แจ้งข้อความหรือจัดทำพยานหลักฐาน อันเป็นเท็จต่อทางราชการต่อหน่วยงาน กำกับดูแล เช่น แจ้งรายชื่อผู้ช่วยผู้สอบบัญชี อันเป็นเท็จต่อนายทะเบียนสหกรณ์ เพื่อให้ ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้สอบบัญชีสหกรณ์ ผู้สอบบัญชีปฏิบัติไม่เป็นไปตามมาตรฐานการสอบบัญชี ระเบียบที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด และจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ถือเป็นการกระทำโดยเจตนา และกระทำเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ เป็นการกระทำความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ จัดส่งกระดาษทำการชุดสำเนาเสนอ ต่อนายทะเบียนสหกรณ์ ผู้สอบบัญชีปฏิบัติไม่เป็นไปตามระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ (คู่มือการปฏิบัติงานสอบบัญชี) เรื่อง การจัดทำกระดาษทำการ กำหนดให้จัดผู้สอบบัญชีเสนอกระดาษทำการต้นฉบับ ต่อนายทะเบียนสหกรณ์ ผู้สอบบัญชีจัดทำกระดาษทำการไม่น่าเชื่อถือ ว่าได้ปฏิบัติงานตามมาตรฐานการสอบบัญชีและระเบียบที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนดจริง