CIT3506 การตลาดบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้สอน อาจารย์ศรีนวล ฟองมณี Download File :http://srinuan.cru.in.th This template can be used as a starter file for presenting training materials in a group setting. Sections Right-click on a slide to add sections. Sections can help to organize your slides or facilitate collaboration between multiple authors. Notes Use the Notes section for delivery notes or to provide additional details for the audience. View these notes in Presentation View during your presentation. Keep in mind the font size (important for accessibility, visibility, videotaping, and online production) Coordinated colors Pay particular attention to the graphs, charts, and text boxes. Consider that attendees will print in black and white or grayscale. Run a test print to make sure your colors work when printed in pure black and white and grayscale. Graphics, tables, and graphs Keep it simple: If possible, use consistent, non-distracting styles and colors. Label all graphs and tables.
คำอธิบายรายวิชา ศึกษาหลักการเดิมของการดำเนินธุรกิจ ธุรกิจผ่านเว็บ การวิวัฒนาการของภาคเศรษฐกิจ การตลาดโลก การตลาดแบบเดิม และการวิเคราะห์จุดเปลี่ยนของตลาด Give a brief overview of the presentation. Describe the major focus of the presentation and why it is important. Introduce each of the major topics. To provide a road map for the audience, you can repeat this Overview slide throughout the presentation, highlighting the particular topic you will discuss next.
Internet Marketing Or Online Marketing e-Marketing
เนื้อหารายวิชา ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการตลาดบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ขั้นตอนการดำเนินการการตลาดบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต กลยุทธ์การตลาดออนไลน์ สื่อโฆษณาออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ การวัดผลและประเมินผลการตลาดออนไลน์ การตลาดด้วย Search Engine การตลาดด้วยจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail Marketing) สอบกลางภาค 30 คะแนน กรณีศึกษา การสร้างระบบการตลาดบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป ศึกษาการสร้างระบบงาน Product Catalog ศึกษาการสร้าง Search Engine ศึกษาการสร้างระบบงานสั่งซื้อสินค้าและการติดตามการสั่งซื้อ การวางแผนการตลาด (Marketing Campaign) ศึกษาระบบบริหารคงคลัง (Stock Management) พัฒนาระบบงานตามที่ได้รับมอบหมาย 20 คะแนน สอบปลายภาค 30 คะแนน Give a brief overview of the presentation. Describe the major focus of the presentation and why it is important. Introduce each of the major topics. To provide a road map for the audience, you can repeat this Overview slide throughout the presentation, highlighting the particular topic you will discuss next.
เกณฑ์การตัดเกรด (อิงเกณฑ์) A 80-100 B+ 75-79 B 70-74 C+ 60-69 C 50-59 D+ 45-49 D 40-44 F 0-39
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการตลาดบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ความหมายของการตลาดบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 1 ลักษณะของการตลาดบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 2 ความแตกต่างระหว่างการตลาดแบบดั้งเดิมกับการตลาดบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 3 ความแตกต่างระหว่าง e-Marketing, e-Business และ e-Commerce 4 ประโยชน์ของ e-Marketing 5 This is another option for an Overview slide.
อินเตอร์เน็ต ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันมีมากมายโดยเฉพาะนำมาประยุกต์ ใช้กับภาคธุรกิจ นอกเหนือจากเป็นเครื่องมือสื่อสารอื่น ๆ ทางการตลาด ในการสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการ (Integrated Marketing Communication) ยังช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจหลายด้านเช่น เปรียบเสมือนสำนักงานออนไลน์เปิดขายตลอด 24 ชม. ช่วยให้เปิดการค้าสู่ตลาดโลกได้อย่างสะดวก รวดเร็ว สามารถเปิดเว็บไซต์เพื่อขายสินค้าของตนเอง เป็นต้น
ประโยชน์ของการใช้อินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนสำนักงานออนไลน์ที่สามารถเปิดขายสินค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง อินเทอร์เน็ตช่วยให้นำสินค้าเปิดสู่ตลาดโลกได้โดยง่าย อินเทอร์เน็ตช่วยให้เข้าถึงลูกค้าได้อย่างสะดวกรวดเร็วอาจทำโดยผ่านการตลาดทางตรง เช่นการใช้ e-Mail นำเสนอสินค้าบริการไปยังกลุ่มเป้าหมาย อินเทอร์เน็ตช่วยสามารถสร้างเครือข่ายธุรกิจ นอกจากการเปิดเว็บไซต์เพื่อขายสินค้า แต่ยังสามารถช่วยทางด้านการค้าได้จากการฝากขายสินค้าผ่านเว็บไซต์อื่นๆ อินเทอร์เน็ตช่วยให้แบ่งแยกหมวดหมู่ได้ตรงตามกลุ่มเป้าหมาย อินเทอร์เน็ตช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
การตลาดบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หมายถึง “การดำเนินกิจกรรมทางการตลาดโดยใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ที่ทันสมัย สะดวกต่อการใช้งาน เข้ามาเป็นสื่อกลาง ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ หรือแท็บแลตที่ถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันด้วยอินเตอร์เน็ต มาผสมผสานกับวิธีทางการตลาด การดำเนินกิจกรรมทางการตลาดอย่างลงตัวกับกลุ่มลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมาย เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายขององค์กรอย่างแท้จริง
ลักษณะของการตลาดบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายในลักษณะเฉพาะเจาะจง (Niche Market) การสื่อสารแบบ 2 ทาง (2 Way Communication) รูปแบบการตลาดแบบตัวต่อตัว (One to One Marketing หรือ Personalize Marketing) ที่ลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายสามารถกำหนดรูปแบบสินค้าและบริการได้ตามความต้องการของตนเอง มีการกระจายไปยังกลุ่มผู้บริโภค (Dispersion of Consumer) กิจกรรมที่นักการตลาดสามารถสื่อสารไปยังทั่วทุกมุมโลก ตลอด 24 ชั่วโมง (24 Business Hours) สามารถติดต่อสื่อสาร โต้ตอบ ปฏิสัมพันธ์ได้อย่างรวดเร็ว (Quick Response) มีต้นทุนต่ำ แต่ได้ประสิทธิผล สามารถวัดผลได้ทันที (Low Cost and Efficiency) มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมการตลาดแบบดั้งเดิม (Relate to Traditional Marketing) มีการตัดสินใจในการซื้อจากข้อมูลข่าวสารที่ได้รับ (Purchase by Information)
E-Marketing ผสมแนวความคิดทางการตลาด และทางเทคนิค รวมไว้ด้วยกันทั้งด้าน การออกแบบ (Design), การพัฒนา (Development), การโฆษณาและการขาย (Advertising and Sales) ตัวอย่างกิจกรรมได้แก่ Search Engine Marketing, E-mail Marketing, Viral Marketing ฯลฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ธุรกิจและลูกค้า เนื่องจากระบบทางอิเล็กทรอนิกส์สามารถสนับสนุนการร้องขอข้อมูลของลูกค้า การจัดเก็บประวัติ และพฤติกรรมของลูกค้า รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าได้ ส่งผลต่อ การเพิ่มและรักษาฐานลูกค้า (Customer Acquisition and Retention) อำนวยประโยชน์ในการประกอบธุรกิจได้ครบถ้วน
การตลาดแบบดั้งเดิม (Traditional Marketing) มีรูปแบบแตกต่างจาก E-Marketing อย่างชัดเจน โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายไม่เน้นทำกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ใช้วิธี การแบ่งส่วนตลาด (Marketing Segmentation) โดยใช้เกณฑ์สภาพประชากรศาสตร์ หรือสภาพภูมิศาสตร์ และสามารถครอบคลุมได้บางพื้นที่
ความแตกต่างระหว่างการตลาดแบบดั้งเดิมกับการตลาดแบบ e-Marketing ปัจจัยทางการตลาด (Marketing Factors) การตลาดแบบดั้งเดิม (Traditional Marketing) การตลาดแบบ e-Marketing ลูกค้า มีความหลากหลายอาจอยู่ในรูปแบบมวลรวม (Mass) หรือแบบเฉพาะกลุ่ม (Niche) เป็นลักษณะแบบเฉพาะกลุ่ม (Niche) ส่วนใหญ่มีความรู้ค่อนข้างดีและอาศัยอยู่ในเมือง การวิจัยทางการตลาด มักทำการวิจัยในลักษณะเป็นกลุ่ม มักทำการวิจัยกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง การแบ่งส่วนทางการตลาด ใช้เกณฑ์สภาพภูมิศาสตร์ (Geographic)และประชากรศาสตร์ (Demographic) เป็นหลัก ใช้เกณฑ์พฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral) เป็นหลัก ประเภทของสินค้า แบ่งได้หลายวิธีแต่ที่นิยมได้แก่การแบ่งตามพฤติกรรมการซื้อ คือแบ่งตามสินค้าอุปโภค,บริโภค,สินค้าอุตสาหกรรม,สินค้าบริการ แบ่งตามวิธีการขนส่ง ได้แก่สินค้าที่จับต้องได้,สินค้าที่จับต้องไม่ได้,สินค้าบริการ สินค้าและบริการ ทำการพัฒนาออกแบบสินค้าบริการ (Development) มาแล้วทดสอบการยอมรับจากผู้บริโภค สามารถผลิตได้ตามความต้องการของลูกค้าแต่ละราย (Customization) มีความยืดหยุ่นสูง
ความแตกต่างระหว่างการตลาดแบบดั้งเดิมกับการตลาดแบบ e-Marketing ปัจจัยทางการตลาด (Marketing Factors) การตลาดแบบดั้งเดิม (Traditional Marketing) การตลาดแบบ e-Marketing ราคา ราคาถูกกำหนดโดยบริษัท ราคาขึ้นอยู่กับสินค้าและบริการที่ลูกค้าทำการเลือก ดังนั้นลูกค้าจึงเป็นผู้กำหนดราคา การจัดการขาย ลูกค้าพิจารณาข้อมูลจากการนำเสนอโดยพนักงานขาย หรือจากสื่อโฆษณาอื่นๆ การแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย โดยผู้ซื้อจะเป็นคนเลือกข้อมูลตามความต้องการของตน ช่องทางการขาย การจัดจำหน่ายผ่านตัวกลางหรือผ่านพนักงานขาย (Middle Man, Agents, Broker) การจัดจำหน่ายตรงไปยังผู้ซื้อ หรือการจัดจำหน่ายผ่านตัวแทน (Direct Sale or Agent) ขอบเขตการขายสินค้า ครอบคลุมได้เป็นบางพื้นที่ (Zoning or Area) สามารถขายสินค้าได้ทุกที่ทั่วโลก (All Over the World) การสื่อสารทางการตลาด ใช้ทั้งกลยุทธ์แบบ Push Strategy และกลยุทธ์แบบ Pull Strategy เป็นการโฆษณาไปยังคนกลางและโดยตรงแก่ผู้บริโภค ใช้กลยุทธ์แบบ Pull Strategy คือเป็นการโฆษณาโดยตรงไปยังผู้บริโภค
ความแตกต่างกันระหว่าง e-Marketing, e-Business และ e-Commerce e-Business หรือ Electronic Business ความหมายถึงการทำกิจกรรมในทุกๆขั้นตอนของกระบวนการธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือเรียกว่า ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งทำการค้าการซื้อการขาย การติดต่อประสานงาน งานธุรการต่างๆที่เกิดขึ้นภายในสำนักงานและการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ e-Business เป็นกระบวนการทางธุรกิจที่อาศัยระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์มาใช้ในการดำเนินงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางธุรกิจ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม (Added Value) ตลอดกิจกรรมทางธุรกิจ (Value Chain) และลดขั้นตอนของการที่ต้องอาศัยแรงงานคน (Manual Process) มาใช้แรงงานจากเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (Computerized Process) แทน ลักษณะการนำ E-Business มาประยุกต์ใช้กับธุรกิจได้แก่ • การเชื่อมต่อระหว่างกัน ภายในองค์กร (Intranet) • การเชื่อมต่อระหว่างกัน กับภายนอกองค์กร (Extranet) • การเชื่อมต่อระหว่างกัน กับลูกค้าทั่วโลก (Internet)
ความแตกต่างกันระหว่าง e-Marketing, e-Business และ e-Commerce เน้นที่การ “ขาย” เป็นหลักตัวอย่างเช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นทางโทรศัพท์, ทางโทรทัศน์, ทางวิทยุ, หรือแม้แต่ทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยทำการลดบทบาทของความสำคัญขององค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้าเป็นต้น จึงลดข้อจำกัดของระยะทางและเวลาในการทำธุรกรรมลงได้ ดังนั้นคำว่า e-Commerce จึงถือเป็นส่วนหนึ่งของคำว่า e-Business โดยคำว่า e-Business จะเป็นคำที่มีความหมายที่กว้างกว่าคำว่า e-Commerce
กระบวนการซื้อขายใน E-Commerce Delivery Bank Payment Information Seller Buyer Purchase Order
ความแตกต่างกันระหว่าง e-Marketing, e-Business และ e-Commerce โดยสรุป e-Business หรือ ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึงการทำธุรกิจด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ส่วน e-Commerce หรือ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึงทำการค้า-ขายสินค้าและบริการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งที่อยู่ใน e-Business ซึ่ง e-Commerce จะเน้นกิจกรรมการค้า-ขายสินค้าเป็นหลัก ส่วน e-Marketing หรือการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึงการทำการตลาดผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งถือว่าเป็นกิจกรรมหนึ่งของ e-Business ที่เน้นกิจกรรมทางการตลาด เช่นทำอย่างไรให้สินค้าตนเองจำหน่ายได้ ทำอย่างไรให้สินค้าตนเองเป็นที่รู้จักในกลุ่มของลูกค้า
ประโยชน์ของ E-Marketing นักการตลาดชื่อ Smith and Chaffey (Smith, P.R. and Chaffey, D. 2001 eMarketing eXcellence: at the heart of eBusiness. Butterworth Heinemann, Oxford, UK) ได้กล่าวถึงประโยชน์จากการนำเอาเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมาช่วยสนับสนุนการทำการตลาดและก่อให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมาย โดยมองว่า E-Marketing เป็นกระบวนการในการจัดการทางการตลาด โดยมีการเน้นย้ำถึงการให้ความสำคัญแก่ลูกค้าเป็นหลัก ในขณะที่แสดงถึงการเชื่อมโยงการทำงานทางธุรกิจในอันที่จะช่วยสร้างความสำเร็จในผลกำไรให้กับธุรกิจ ซึ่งสามารถแบ่งกระบวนการในการจัดการทางการตลาดได้ดังนี้
กระบวนการในการจัดการทางการตลาด 1. การจำแนกแยกแยะ (Identifying) สามารถจำแนกแยกแยะได้ว่าลูกค้าเป็นใคร มีความต้องการอย่างไร อยู่ที่ไหน และมีพฤติกรรมในการเลือกซื้อสินค้าอย่างไร โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย 2. การทำนายความคาดหวังของลูกค้า (Anticipating) ความสามารถของอินเทอร์เน็ตนั้นช่วยเพิ่มช่องทางให้ลูกค้าให้เข้าถึงข้อมูล และซื้อสินค้าได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยการเข้าใจถึงความต้องการของลูกค้าถือเป็นหัวใจสำคัญในการทำ E-Marketing ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ สายการบินต้นทุนต่ำ easyJet (http://www.easyjet.com) มีส่วนสนับสนุนทำให้มีรายได้จากการผ่านออนไลน์กว่า 90% 3. การตอบสนองความพอใจของลูกค้า (Satisfying) ถือเป็นความสำเร็จในการทำ E-Marketing เพื่อสร้างความพอใจให้ลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์ การเพิ่มขึ้นของลูกค้านั้นอาจจะมาจากการใช้งานง่าย สนับสนุนการให้บริการแก่ลูกค้า เป็นต้น
ประโยชน์ที่ได้รับจากการนำเอากลยุทธ์การตลาดออนไลน์มาใช้ Smith and Chaffey กล่าวถึง 5Ss’ ประโยชน์ที่ได้รับจากการนำเอากลยุทธ์การตลาดออนไลน์มาใช้ได้แก่ การขาย (Sell) ช่วยทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นจากการทำการตลาดออนไลน์ ซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ทำให้ลูกค้ารู้จักและเกิดความทรงจำ (Acquisition and Retention tools) ในสินค้าบริการเพิ่มมากขึ้น ซึ่งนำไปสู่การขายที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย การบริการ (Serve) การสร้างประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นให้แก่ลูกค้า จากการใช้บริการผ่านออนไลน์ไม่ว่าจะเป็นการให้สิทธิพิเศษต่างๆ เป็นต้น การพูดคุย (Speak) การสร้างความใกล้ชิดกับลูกค้ามากยิ่งขึ้น สามารถสร้างแบบสนทนาการโต้ตอบกันได้ระหว่างกันได้ (Dialogue) ทำให้ลูกค้าสามารถเข้ามาสอบถาม ตลอดจนสามารถสำรวจความคิดเห็น ความต้องการของลูกค้า ลูกค้ามีความสนใจในเรื่องใดเป็นพิเศษ ประหยัด (Save) การสร้างความประหยัดเพิ่มขึ้นจากงบประมาณการพิมพ์กระดาษ โดยสามารถใช้วิธีการส่งจดหมายข่าว E-Newsletter ไปยังลูกค้าแทนการส่งจดหมายแบบดั้งเดิม การประกาศ (Sizzle) การประกาศสัญลักษณ์ ตราสินค้าผ่านออนไลน์ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างสินค้าให้เป็นที่รู้จัก คุ้นเคยมากยิ่งขึ้น การทำ E-Marketing ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ธุรกิจหลาย ประการ ทั้งในแง่ของกลุ่มผู้ประกอบการ เจ้าของสินค้า และกลุ่มลูกค้า ทำให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างรวดเร็ว และด้วยต้นทุนที่ต่ำ
สรุปหลักการของ E-Marketing การตลาดยุค E เน้นการใช้ Mass Customization มากกว่า Mass Marketing เพราะลูกค้าทุกคนมีสิทธิ์เลือกเว็บไซต์ต่าง ๆ ทั่วโลกเพื่อหาสินค้าที่ตนเองต้องการ ฉะนั้นจึงต้องเน้นระบบที่สนองตอบความต้องการของลูกค้าแต่ละคนเป็นหลัก ทั้งนี้ต้องสร้าง ระบบโปรแกรมอัตโนมัติขึ้นมาตอบสนองความต้องการ โดยให้แต่ละคนสามารถเลือก ทางเลือกที่สนองความต้องการได้ด้วยตนเอง การแบ่งส่วนตลาดต้องเป็นแบบ Micro Segmentation หรือ One-to-One Segmentation หมายถึง หนึ่งส่วนตลาดคือ ลูกค้าหนึ่งคน เพราะตลาดบนเว็บถือว่าลูกค้า เป็นใหญ่ เนื่องจากมีสิทธิ์ที่เลือกซื้อสินค้าใครก็ได้ ยกเว้นแต่เราเป็นเพียงรายเดียวที่มีอยู่ในตลาด ฉะนั้นการพิจารณาข้อมูลความต้องการ หรือพฤติกรรมของลูกค้าทุกคน โดยอาศัยระบบฐานข้อมูลที่ตรวจจับพฤติกรรมของลูกค้าแต่ละราย ได้ถือเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สำคัญมาก หรือในแง่ของการจัดการจะเรียกว่า CRM หรือ Customer Relationship Management เพราะจะทำให้เจ้าของทราบว่า ใครคือลูกค้าประจำของร้าน
สรุปหลักการของ E-Marketing การวางตำแหน่งสินค้า (Positioning) ต้องเป็นไปตามความต้องการแต่ละบุคคล การวางตำแหน่งสินค้าเพื่อให้ลูกค้ารับรู้นั้น ต้องวางตามความต้องการของแต่ละบุคคล และหากความต้องการนั้นเปลี่ยนไป ระบบก็ต้องเคลื่อนตำแหน่งของการวางนั้นไปสนองตอบต่อความต้องการใหม่ด้วย ทำให้เป็นเว็บที่ลูกค้าจำได้ การสร้างความจดจำโดยการจดชื่อโดเมนที่ทำให้จดจำง่าย หรือมีความหมายที่สอดคล้องกับเนื้อหาของเว็บไซต์ เป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ต้องรู้ ความต้องการลูกค้าล่วงหน้า จำเป็นจะต้องติดตามพฤติกรรมการซื้อของกลุ่มเป้าหมายโดยตลอด ต้องปรับที่ตัวสินค้าและราคาเป็นหลัก สินค้าถือเป็นหัวใจที่สำคัญที่สุด จำเป็นที่ต้องเทียบกับคุณค่าของสินค้า และคู่แข่งเสมอว่า ใครสนองตอบต่อความต้องการได้ดีกว่ากัน ต้องให้ลูกค้าตกแต่งสินค้าตามความต้องการได้โดยอัตโนมัติ (Customization & Personalization) วิธีที่ให้ลูกค้าได้รับคุณค่าหรือสนองความต้องการได้ดีที่สุด ก็คือ การให้ลูกค้าได้เลือกหรือตกแต่งสินค้าเอง รวมทั้งการคำนวณราคาด้วย ฉะนั้นการให้ Options ให้ลูกค้าได้เลือกมากที่สุด จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
ข้อดีสำหรับผู้ประกอบการ ประหยัดค่าใช้จ่าย ลดต้นทุนในการโฆษณาสินค้าเมื่อเทียบกับสื่ออื่น ๆ ลดต้นทุนในการใช้บุคลากรน้อยลง ประหยัดเวลา ช่วยลดขั้นตอนการทำงาน ผลตอบรับรวดเร็ว เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ 225 ประเทศ 104 ภาษา เพิ่มความสามารถในการเก็บข้อมูลและการวัดผลที่แม่นยำ ง่ายต่อการตรวจสอบความคุ้มค่า ตรวจสอบปริมาณเข้าชมของลูกค้าได้ สามารถดึงดูดกลุ่มลูกค้าที่เป็นเป้าหมายได้อย่างเจาะจงและทั่วถึง สามารถขยายขอบเขตการตลาดให้ครอบคลุมทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทำการตลาดได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่มีวันหยุดทำการ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ทำได้อย่างกว้างขวาง เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ต่าง ๆ ได้ตามกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้
ข้อดีสำหรับลูกค้า สามารถเลือกสินค้าและบริการที่ตรงกับความต้องการมากที่สุดจากทุกมุมโลกในเวลาอันรวดเร็ว ทำให้ลูกค้าได้รับสิ่งที่ดีที่สุด ประหยัดเวลาในการเลือกซื้อสินค้า สามารถเข้าถึงข้อมูลสินค้าได้โดยง่าย รวดเร็วและใกล้เคียงกับความเป็นจริง ในการตลาดแบบดั้งเดิมผู้ซื้อจำเป็นที่จะต้องเดินทางไปยังสถานที่ขายสินค้าหลายแห่ง เพื่อเปรียบเทียบสินค้าซึ่งอาจทำได้ไม่ครบ ประหยัดค่าใช้จ่าย ช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่าย ที่เกิดขึ้นจากการติดต่อสื่อสารกับผู้ขาย นอกจากนั้นการติดต่อสื่อสารยังสามารถทำได้ตลอดเวลา
ข้อเสียของการตลาดออนไลน์ การแข่งขันสูง การที่จะทำให้กลุ่มเป้าหมายรู้จักร้านค้าจะต้องทำการโฆษณาอย่างมาก การทำให้ร้านมีความน่าเชื่อจากผู้บริโภคต้องอาศัยเวลาค่อนข้างนาน และต้องอาศัยการรีวิวจากลูกค้าเพื่อที่ทำให้เกิดความเชื่อใจ เนื่องจากการขายของในอินเตอร์เน็ต ลูกค้าไม่เห็นสินค้าจริงๆ การโฆษณาออนไลน์ไม่มีความน่าเชื่อถือ ความกังวลในความรู้ด้านเทคโนโลยีซึ่งอาจเป็นอุปสรรคสำหรับผู้ประกอบการที่ไม่มีความรู้ด้านอินเทอร์เน็ต ผู้บริโภคไม่เห็นสินค้าจริง อาศัยรูปภาพ และคำค้น และราคาสินค้าที่แสดงอาจจะราคาแพงกว่าความเป็นจริงตามท้องตลาด
คำถามท้ายบท ในความคิดของท่าน การนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ในทางตลาดเป็นการส่งเสริมองค์ประกอบใดทางการตลาด ท่านคิดว่าธุรกิจใดที่สามารถสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าในการตลาดออนไลน์ จงยกตัวอย่างร้านค้าปลีกที่ทำธุรกิจทั้งการตลาดแบบดั้งเดิมและการตลาดออนไลน์ จำนวน 3 ร้านค้า พร้อมทั้งระบุ URL จงระบุสาเหตุการตัดสินใจซื้อและไม่ซื้อสินค้าของลูกค้าจากร้านค้าออนไลน์ จงระบุความแตกต่างกันระหว่าง e-Marketing ,e-Business และ e-Commerce