ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การจัดทำแผนพัฒนา ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ความหมายของแผน แผนเป็นผลผลิตของการวางแผน การวางแผนเป็นกระบวนการตัดสินใจไว้ล่วงหน้าในการเลือกทางเลือก โดยทั่วไปจะเป็นการตอบคำถามต่อไปนี้ จะทำอะไร (What) ทำไมจึงต้องทำ (Why) ใครบ้างเป็นผู้ทำ (Who) กระทำเมื่อใด (When) จะกระทำที่ใดบ้าง (Where) จะกระทำกันอย่างไร (How)
แนวคิดในการวางแผนพัฒนาท้องถิ่น แนวคิดเชิงกระบวนการแก้ปัญหา ปัญหา คืออะไร ปัญหา มีสาเหตุมาจากอะไร จุดมุ่งหมาย หรือวัตถุประสงค์ ในการแก้ปัญหาคืออะไร วิธีการ หรือแนวทางแก้ปัญหาคืออะไร
แนวคิดในการวางแผนพัฒนาท้องถิ่น แนวคิดสร้างสรรค์ - สัญชาตญาณ - เรียนรู้จากประสบการณ์ - องค์กรแห่งการเรียนรู้ - ข้อเท็จจริง - เรียนรู้จากผู้อื่น - การวิจัย - การวิเคราะห์สถานการณ์
แนวคิดในการวางแผนพัฒนาท้องถิ่น แนวคิดเชิงการตัดสินใจ เป้าหมาย แนวทาง/โครงการ/กิจกรรม วิธีการทำงาน 4 Ms ผลลัพธ์ ผลผลิต กระบวนการ ทรัพยากร
ผลจากการทำงาน ผลกระทบ ผลลัพธ์ ผลผลิต ผลสัมฤทธิ์ RB impact outcome output
Change
แผน(plan) กระบวนการวางแผน ปัญหา หาสาเหตุ หาข้อมูล วิเคราะห์ทางเลือก (SWOT) เลือกทางเลือก วิสัยทัศน์ พันธกิจ จุดมุ่งหมาย ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย ยุทธศาสตร์การพัฒนา และ แนวทางการพัฒนา ขออนุมัติ นำไปสู่ปฏิบัติ ประเมินผล แผน(plan)
ความสำคัญของการวางแผน เป็นแนวทางการปฏิบัติงานที่สำคัญ กำหนดทิศทางขององค์กร ช่วยให้ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานมองไปในอนาคต และเห็นโอกาส ที่จะกระทำให้สำเร็จตามความมุ่งหมาย เป็นการตัดสินใจที่มีเหตุผล เพราะใช้ข้อมูลประกอบการพิจารณา เป็นพาหนะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบ เป็นตัวนำในการพัฒนา
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะใช้แผนพัฒนาเป็นเครื่องมือ ในการบริหารงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะใช้แผนพัฒนาเป็นเครื่องมือ ในการบริหารงาน เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้
เงื่อนไขทางกฎหมาย พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. พ.ศ. 2542 มาตรา 5 ให้นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของตนและมีอำนาจออกกฎกระทรวงและระเบียบเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
เงื่อนไขทางกฎหมาย พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. พ.ศ. 2542 มาตรา 16 ให้เทศบาล เมืองพัทยา และอบต.มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ดังนี้ (1) จัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง (2) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น (ทั้งหมด 31 ข้อ)
เงื่อนไขทางกฎหมาย พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. พ.ศ. 2542 มาตรา 17 ภายใต้บังคับมาตรา 16 ให้ อบจ.มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ดังนี้ (1) จัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง และประสานการจัดทำ แผนพัฒนาจังหวัดตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด (2) การสนับสนุน อปท.อื่นในการพัฒนาท้องถิ่น (3) การประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ของ อปท.อื่น (8) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น (ทั้งหมด 29 ข้อ)
เงื่อนไขทางกฎหมาย แผนกระจายอำนาจให้แก่ อปท. พ.ศ. 2543 ข้อ 6.1.5 การถ่ายโอนภารกิจให้แก่ อปท. กำหนดไว้ 6 ด้าน โดยพิจารณาจากอำนาจหน้าที่ของ อปท. และองค์ประกอบอื่นๆ 1. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน 2. ด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต 3. ด้านการจัดระเบียบชุมชน/สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย 4. ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน พณิชยกรรม และการท่องเที่ยว 5. ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม 6. ด้านศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
พ. ร. บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ. ศ พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2550 มาตรา 10 ให้เพิ่มข้อความต่อไปนี้ “มาตรา 53/1 ให้จังหวัดจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นในจังหวัด” “เมื่อประกาศใช้แผนพัฒนาจังหวัดแล้ว การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของ อปท. และการดำเนินกิจการของส่วนราชการและหน่วยงานอื่นของรัฐทั้งปวงที่กระทำในพื้นที่จังหวัดต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัดดังกล่าว”
พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน(ฉบับที่ 7) พ.ศ.2550 มาตรา 7วรรค 1 “เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานแบบบูรณาการในจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัด ให้จังหวัดหรือกลุ่มจังหวัดยื่นคำขอจัดตั้งงบประมาณได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดใน พรฎ. ในกรณีนี้ให้ถือว่าจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัดเป็นส่วนราชการตาม กม. ว่าด้วยวิธีการงบประมาณ”
เงื่อนไขทางกฎหมาย แผนกระจายอำนาจให้แก่ อปท. พ.ศ. 2543 ข้อ 6.6.4 การปรับปรุงระบบการวางแผน ฯลฯ (2) อปท.ต้องมีอิสระในการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นของตนเองในระยะยาว เพื่อให้ทราบทิศทางและความต้องการค่าใช้จ่ายในอนาคต และต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด รวมทั้งสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศโดยรวม
เงื่อนไขทางกฎหมาย แผนกระจายอำนาจให้แก่ อปท. พ.ศ. 2543 ข้อ 6.6.4 การปรับปรุงระบบการวางแผน ฯลฯ (3) การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ให้ประชาชนและภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ การติดตามประเมินผล การพัฒนาท้องถิ่น เพื่อให้กระบวนการวางแผนของท้องถิ่นสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่
เงื่อนไขทางกฎหมาย แผนกระจายอำนาจให้แก่ อปท. พ.ศ. 2543 ข้อ 6.6.4 การปรับปรุงระบบการวางแผน ฯลฯ (4) เพื่อให้การวางแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระยะยาวถูกนำไปปฏิบัติได้จริงแผนพัฒนาระยะยาวดังกล่าว จำเป็นต้องจัดทำแผนงบประมาณระยะ 3 ปี ที่ยึดผลสำเร็จของงานเป้าหมายของการทำงาน และมีลักษณะการจัดทำที่มีความต่อเนื่องในลักษณะที่เป็นแผนก้าวหน้าเพื่อสร้างความมั่นใจในการจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนานั้น ในทุกๆ ระยะ 3 ปี
สรุปสาระสำคัญ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วย การจัดทำแผนพัฒนาองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548
1. เป็นการกำหนดเฉพาะการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ของตนเอง ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548 * มีผลบังคับใช้เมื่อ 18 ตุลาคม 2548 1. เป็นการกำหนดเฉพาะการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ของตนเอง 2. แผนพัฒนาท้องถิ่นมี 2 ประเภท (1) แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (2) แผนพัฒนาสามปี
4. การจัดทำแผนพัฒนาต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548 * มีผลบังคับใช้เมื่อ 18 ตุลาคม 2548 3. องค์กรจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นมี 2 องค์กร (1) คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น (2) คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น 4. การจัดทำแผนพัฒนาต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์ทุกระดับ มีการบูรณาการ คำนึงถึง ความเร่งด่วน และสถานะทางการคลังของท้องถิ่น
การบูรณาการ เป็นการผสมผสานการพัฒนาในพื้นที่โดยกระบวนการประสานความร่วมมือของภาคีการพัฒนาที่เกี่ยวข้องในด้านแผนงาน แผนเงิน บุคลากร และการปฏิบัติตามแผนร่วมกันในพื้นที่เป้าหมายหรือกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดตามภารกิจหน้าที่ความรับผิดชอบของภาคีการพัฒนา เพื่อนำไปสู่ผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายการพัฒนาที่วางไว้
6. ใช้แผนพัฒนาสามปีเป็นกรอบในการจัดทำงบประมาณ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548 * มีผลบังคับใช้เมื่อ 18 ตุลาคม 2548 5. การอนุมัติและประกาศใช้แผนพัฒนาท้องถิ่นเป็น อำนาจของผู้บริหารท้องถิ่น 6. ใช้แผนพัฒนาสามปีเป็นกรอบในการจัดทำงบประมาณ 7. กำหนดให้มีแผนการดำเนินการ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือควบคุมการปฏิบัติงาน
การวางแผนพัฒนาท้องถิ่น ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548 8. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น 9. กำหนดให้มีคณะกรรมการติดตามและประเมินผล แผนพัฒนาท้องถิ่น โดยใช้หลักประเมินตนเอง
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๘ -------- โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำและประสาน แผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๖ ให้เป็นปัจจุบัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ มาตรา ๑๖ และมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติกำหนดแผน และขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
1.ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2548” ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม 2548 และ ยกเลิกระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำและประสานแผนพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2546
2.เป็นการกำหนดแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง ในระเบียบนี้ “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” หมายความว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนตำบล และองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง ยกเว้นกรุงเทพมหานคร “สภาท้องถิ่น” หมายความว่า สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด สภาเทศบาล สภาเมืองพัทยา สภาองค์การบริหารส่วนตำบล สภาองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง
“ผู้บริหารท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง “สมาชิกสภาท้องถิ่น” หมายความว่า สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด สมาชิกสภาเทศบาล สมาชิกสภาเมืองพัทยา สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล และสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง