การประเมินผลการปฏิบัติงาน การจัดการศูนย์สารสนเทศ หน่วยที่ 12 การประเมินผลการปฏิบัติงาน อาจารย์ ดร. นฤมล รักษาสุข
12. การประเมินผลการปฏิบัติงาน 12.1 ความหมายและความสำคัญของการประเมินผล การปฏิบัติงาน 12.2 ประเภทของการประเมินผลการปฏิบัติงาน 12.3 ขั้นตอนการประเมินผลการปฏิบัติงาน
12.1 ความหมายและความสำคัญของการประเมินผลการปฏิบัติงาน ความหมาย “กระบวนการของการกำหนดและเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับบริการหรือกิจกรรม การกำหนดเกณฑ์ที่จะวัดความสำเร็จ และการตัดสินคุณค่าและการบรรลุวัตถุประสงค์ เป้าหมาย หรือมาตรฐานของการดำเนินงานที่ตั้งไว้”
ความสำคัญของการประเมินผลการปฏิบัติงาน (1) ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถติดตามการ ดำเนินงานว่าเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้หรือไม่ มีความก้าวหน้าในระดับใด มีปัญหาในการปฏิบัติอย่างไร และจะปรับปรุงการทำงานหรือกระบวนได้อย่างไร
ความสำคัญของการประเมินผลการปฏิบัติงาน (ต่อ) (2) ช่วยให้ผู้ควบคุมการปฏิบัติงานสามารถปรับเปลี่ยนแผนงานหรือ เพิ่มกลยุทธ์ เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ มีประสิทธิภาพและประหยัดทรัพยากรมากยิ่งขึ้น
ความสำคัญของการประเมินผลการปฏิบัติงาน (ต่อ) (3) ช่วยให้ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจสามารถตัดสินใจได้ว่า กิจกรรมหรือบริการบางประเภทของศูนย์สารสนเทศสมควรดำเนินการต่อไปหรือหยุดดำเนินการ หากดำเนินการต่อไป ควรปรับเปลี่ยนวัตถุประสงค์ให้มีความเหมาะสมและสามารถปฏิบัติได้มากยิ่งขึ้นหรือปรับกระบวนการ เทคนิคหรืองบประมาณหรือไม่ อย่างไร
ความสำคัญของการประเมินผลการปฏิบัติงาน (ต่อ) (4) ช่วยให้ศูนย์สารสนเทศสามารถส่งเสริม หรือปรับปรุงการดำเนินงานและบริการให้เกิดประโยชน์ มีความเหมาะสมหรือสนองความต้องการของผู้ใช้มากยิ่งขึ้น
ความสำคัญของการประเมินผลการปฏิบัติงาน (ต่อ) (5) ช่วยให้ศูนย์สารสนเทศมีข้อมูลในการขอความสนับสนุนในการดำเนินการ ซึ่งโดยปกติผู้สนับสนุนมักให้ความสนใจกับผลประโยชน์ที่จะได้รับจากกิจกรรมหรือโครงการนั้น ๆ
12.2 ประเภทของการประเมินผลการปฏิบัติงาน 12.2 ประเภทของการประเมินผลการปฏิบัติงาน (1) การประเมินจำแนกตามระยะเวลา (2) การประเมินจำแนกตามชนิดของข้อมูล (3) การประเมินจำแนกตามการวัด
(1) การประเมินจำแนกตามระยะเวลา การประเมินก่อนการดำเนินงาน - การประเมินความต้องการ (Need Assessment) ตย. การศึกษาความต้องการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ - การศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) ตย. การศึกษาความเป็นไปได้ในการเปิดบริการ 7/24
(1) การประเมินจำแนกตามระยะเวลา (ต่อ) ข. การประเมินระหว่างการดำเนินงาน - การติดตามกำกับงาน (Monitoring) ตย. การรายงานความพร้อมของระบบห้องสมุดอัตโนมัติทุกวัน การรายงานปัญหาเรื่องแสงสว่างทุกวัน - การประเมินความก้าวหน้าของกิจกรรมหรือโครงการ (Formative Evaluation) ตย. การรายงานผลการปฏิบัติงานรายสัปดาห์ การให้จัดทำรายงานผลการใช้งบประมาณรายไตรมาส
(1) การประเมินจำแนกตามระยะเวลา (ต่อ) ค. การประเมินหลังการดำเนินงาน - การประเมินแบบสรุปรวบยอด (Summative Evaluation) - การติดตามผล (Follow – up Study) ตย. การติดตามผลการดำเนินโครงการ ศบส. เคาะประตูบ้าน การติดตามผลการดำเนินโครงการ NARINET
(2) การประเมินจำแนกตามชนิดของข้อมูล ก. การประเมินเชิงปริมาณ - จำนวนผู้ใช้ต่อวัน - จำนวนหนังสือที่ให้บริการยืม-คืน ต่อเดือน - จำนวนครั้งที่ให้บริการช่วยการค้นคว้าต่อไตรมาส - จำนวนหนังสือที่วิเคราะห์หมวดหมู่และทำรายการต่อวัน - จำนวนบทความที่ทำดรรชนีต่อวัน
(2) การประเมินจำแนกตามชนิดของข้อมูล (ต่อ) ข. การประเมินเชิงคุณภาพ - ความพึงพอใจของผู้ใช้ต่อการใช้บริการยืมระหว่าง ห้องสมุด - ปัญหาในการใช้ OPAC ของนักศึกษาสาขาวิชาการผลิตพืช - ความต้องการใช้สารสนเทศของคณาจารย์สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
(3) การประเมินจำแนกตามการวัด ก. วัดความครอบคลุมของการดำเนินงาน (Extensiveness) เช่น จำนวน หรือประเภทของกิจกรรมที่จัดบริการ ข. วัดประสิทธิผลของการดำเนินงาน (Level of Success) ค. วัดประสิทธิภาพของการดำเนินงาน (Efficiency)
(3) การประเมินจำแนกตามการวัด (ต่อ) ง. วัดต้นทุน - ประสิทธิผลของการดำเนินงาน (Cost-effectiveness) จ. วัดต้นทุน - ผลตอบแทนของการดำเนินงาน (Cost-benefit)
12.3 ขั้นตอนการประเมินผลการปฏิบัติงาน (1) ขั้นเตรียมการ (2) ขั้นออกแบบและกำหนดวิธีการประเมิน (3) ขั้นดำเนินการ (4) ขั้นตัดสินผลประเมิน (5) ขั้นนำผลประเมินไปใช้
(1) ขั้นเตรียมการ กำหนดประเด็นปัญหา (จะประเมินในงาน กิจกรรม หรือบริการอะไรบ้าง กำหนดวัตถุประสงค์ กำหนดทรัพยากรที่ใช้ (งบประมาณ บุคลากร เวลา)
(2) ขั้นออกแบบและกำหนดวิธีการประเมิน กำหนดเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล (แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบรายงานการปฏิบัติงาน) กำหนดวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล (ร้อยละ ค่าเฉลี่ย วิเคราะห์เนื้อหา)
(3) ขั้นดำเนินการ เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล (ตาราง กราฟ แผนภูมิ)
(4) ขั้นตัดสินผลประเมิน เปรียบเทียบกับเกณฑ์ สรุปเปรียบเทียบ (สูงกว่าหรือต่ำกว่าเกณฑ์)
(5) ขั้นนำผลประเมินไปใช้ เป็นการนำทางเลือกหรือข้อเสนอแนะจากผลที่ได้รับมากำหนดกลยุทธ์ใหม่ ปรับปรุงกระบวนการและวิธีการทำงานใหม่ ปรับแผนการดำเนินงานใหม่