สังคมและการเมือง : 03751112 Social and Politics : ระบบการเมืองของไทย สังคมและการเมือง : 03751112 Social and Politics : ระบบการเมืองของไทย : วัฒนธรรมทางการเมือง : การพัฒนการเมือง 10 : 9/10 พ.ย. 61
ระบบการเมืองของไทย
1. บริบทของโครงสร้างทางการเมืองของไทย 1) โครงสร้างของระบบการเมืองของไทย “ระบบการเมืองของไทย เป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รูปแบบควบอำนาจหรือระบบรัฐสภา”
2) พัฒนาการของระบอบประชาธิปไตยของไทย ประเทศไทยมีพัฒนาการของระบอบประชาธิปไตย ที่สำคัญดังนี้ (1) เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยโดย คณะราษฎร เมื่อ พ.ศ.2475 (2) โครงสร้างของระบอบประชาธิปไตยของไทยตั้งแต่ต้น จนถึงปัจจุบันเป็นระบบรัฐสภามาโดยตลอด (3) ประเทศไทยประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาทั้งสิ้น 20 ฉบับ
2) พัฒนาการของระบอบประชาธิปไตยของไทย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 20 ซึ่งจัดร่างโดยคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ในระหว่าง พ.ศ. 2557–2560 ภายหลังการรัฐประหารในประเทศโดย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 โดยรัฐธรรมนูญฉบับนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร ทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560 ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมพระราชวังดุสิตกรุงเทพมหานครและมี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระราชโองการ
(4). ระบบพรรคการเมืองของไทยในอดีตเป็นระบบ (4) ระบบพรรคการเมืองของไทยในอดีตเป็นระบบ หลายพรรค (Multi-Party System) โดยไม่มีพรรคใด ได้เสียงข้างมากเพียงพรรคเดียว จึงต้องจัดตั้ง รัฐบาลผสมมาโดยตลอด จนกระทั่งการประกาศใช้ รัฐธรรมนูญ ปี 2500 ทำให้ระบบพรรคการเมืองของ ไทยกำลังก้าวเข้าสู่ระบบสองพรรคใหญ่
(5). ตั้งแต่รัฐธรรมนูญ ปี 2540 เป็นต้นมา รัฐธรรมนูญ (5) ตั้งแต่รัฐธรรมนูญ ปี 2540 เป็นต้นมา รัฐธรรมนูญ ได้กำหนดให้มีองค์กรอิสระ ทำหน้าที่สำคัญหลาย องค์กร ได้แก่ ก. คณะกรรมการการเลือกตั้ง ข. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ค. ผู้ตรวจการแผ่นดิน ง. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ ได้แก่ องค์กรอัยการ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
3) โครงสร้างของสภานิติบัญญัติ สภานิติบัญญัติประกอบด้วย 2 สภา คือ (1) สภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิก 500 คน มาจาก การเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ 125 คน และมา จากเขตเลือกตั้ง 375 คน (2) วุฒิสภา ประกอบด้วยสมาชิก 150 คน มาจาก การเลือกตั้งโดยตรงจังหวัดละ 1 คน รวม 77 คน ที่เหลืออีก 73 คน มาจากการสรรหา
4) โครงสร้างของสถาบันบริหาร สถาบันบริหารมีโครงสร้างหลัก ดังนี้ (1) นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (2) มีคณะรัฐมนตรี 35 คน (ไม่รวมนายกรัฐมนตรี) รัฐมนตรีจะเป็น ส.ส.หรือไม่เป็น ส.ส.ก็ได้ (3) สถาบันบริหารมีกระทรวงที่รับผิดชอบทั้งหมด 20 กระทรวง (4) นายกรัฐมนตรีทำทั้งหน้าที่นายกรัฐมนตรีและ ทำหน้าที่ ส.ส.ในสภาไปพร้อมๆ กัน
5) ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันนิติบัญญัติและ สถาบันบริหาร 5) ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันนิติบัญญัติและ สถาบันบริหาร ทั้งสองสถาบันมีความสัมพันธ์กัน ดังนี้ (1) นายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งของเสียงข้างมาก ในสภาผู้แทนราษฎร (2) นายกรัฐมนตรีมีอำนาจในการยุบสภาผู้แทนราษฎร (3) สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจในการยื่นกระทู้และญัตติ อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล (4) วุฒิสภามีอำนาจในการถอดถอนรัฐมนตรี
ปัญหาของระบบการเมืองไทย 1) ปัญหาที่สำคัญเกี่ยวกับการเลือกตั้ง (1) ปัญหาการซื้อสิทธิ์ขายเสียง และการเลือกตั้งไม่สุจริต (2) ปัญหาการแจกใบแดงใบเหลือง ทำให้สิ้นเปลืองเวลา และงบประมาณในการเลือกตั้ง แต่ไม่สามารถป้องกัน การทุจริตในการเลือกตั้งได้ (3) ปัญหาการยุบพรรคอันเนื่องมาจากการทุจริตการ เลือกตั้ง (4) ประชาชนขาดความกระตือรือร้นในการส่งเสริมการ เลือกตั้งที่สุจริต เที่ยงธรรม และโปร่งใส
2) ปัญหาเกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเมือง (1) การขัดแย้งทางการเมืองระหว่างพรรคใหญ่และ ระหว่างกลุ่มสีทางการเมือง (2) ปัญหาพื้นที่ฐานการเมืองของสองพรรคใหญ่ อาจ ส่งผลกระทบต่อความเป็นเอกภาพของประเทศ (3) ความเหลื่อมล้ำทางชนชั้นอาจนำไปสู่การขยายความ แตกแยกระหว่างชนชั้นในสังคม (4) ความขัดแย้งและความอ่อนแอภายในประเทศอาจทำ ให้คู่ขัดแย้งระหว่างประเทศได้เปรียบ
3) ปัญหาอันเนื่องมาจากนโยบายประชานิยมที่สำคัญ (1) ก่อให้เกิดภาระงบประมาณปีละจำนวนมากที่ผลผลิต อาจไม่คุ้มค่า ซึ่งจะส่งผลต่อการจัดทำงบประมาณแบบ ขาดดุลอย่างต่อเนื่อง (2) พรรคการเมืองมุ่งแข่งขันกันด้วยนโยบายประชานิยม ทำให้ขาดแคลนทรัพยากรที่จะผลักดันนโยบายที่ สร้างสรรค์ในระยะยาว (3) ทำให้ประชาชนเสพติดและหวังพึ่งรัฐบาลมากกว่า พึ่งตนเอง
(4). ทำให้เกิดความล่าช้าในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (4) ทำให้เกิดความล่าช้าในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทางเศรษฐกิจและสังคมที่จำเป็น (5) ทำให้เกิดการบิดเบือนต่อทิศทางการพัฒนาประเทศที่ มุ่งการบริโภคมากกว่าการผลิตที่มีประสิทธิภาพ (6) ทำให้ขาดความสนใจต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ เป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาคุณภาพประชากรเพื่อ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (7) ส่งผลกระทบต่อการพัฒนานวตกรรมที่จะสร้าง มูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและบริการของประเทศ
คำถาม ระบบการเมืองของไทยมีโครงสร้างอย่างไร ? พัฒนาการของระบอบประชาธิปไตยของไทยเป็น อย่างไร ? สภานิติบัญญัติมีโครงสร้างอย่างไร ? สถาบันบริหารมีโครงสร้างอย่างไร ? สถาบันนิติบัญญัติและสถาบันบริหารมีความสัมพันธ์ กันอย่างไร ?
และการมีส่วนร่วมทางการเมือง การพัฒนาทางการเมือง วัฒนธรรมทางการเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมือง
กรอบความคิดการพัฒนาทางการเมือง (Political Development) “การพัฒนาทางการเมือง” กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมาย ที่พึงประสงค์ทั้งระบบและอุดมการณ์ทางการเมือง โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนอย่างกว้างขวางและทั่วถึง
ความสำคัญของการพัฒนาทางการเมืองต่อการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคม “การพัฒนาทางการเมืองเป็นปัจจัย กำหนดที่สำคัญทั้งการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม”
การพัฒนาทางการเมืองมีองค์ประกอบที่สำคัญ (1) หลักความเสมอภาคทางการเมือง (Political Equality) (2) หลักความสามารถทางการเมือง (Political Capacity) (3) หลักการแบ่งแยกโครงสร้างตามความเชี่ยวชาญเฉพาะ (Differentiation and Specialization) (4) การมีวัฒนธรรมทางการเมืองที่มีเหตุมีผล (Secularization of Political culture) (5) หลักความเป็นอิสระของระบบย่อย (Subsystem Autonomy)
แนวทางการพัฒนาทางการเมืองที่สำคัญ (1) การพัฒนาการเมืองให้เป็นรากฐานของการพัฒนา ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม (2) การพัฒนาการเมืองให้เป็นประชาธิปไตย (3) การพัฒนาให้มีวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีเหตุมีผล (4) การพัฒนาให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่าง กว้างขวาง (5) การพัฒนาให้เป็นสังคมอุตสาหกรรม
กรอบความคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมทางการเมือง 1) ความหมายของวัฒนธรรม (Culture) “วัฒนธรรม หมายถึง แบบแผนพฤติกรรมการดำรงชีวิตของกลุ่มชนที่เป็นผลมาจากกระบวนการอบรมหล่อหลอมกล่อมเกลา (Socialization Process) ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทำให้เกิดความรู้ (Knowledge) ความเชื่อ (Belief) ค่านิยม (Values) และทัศนคติ (Attitude) ของกลุ่มชนจนเป็นแบบแผน (Pattern) โดยจะดำรงอยู่เป็นอัตลักษณ์ของกลุ่มชนอย่างต่อเนื่องยาวนาน”
2) คุณสมบัติของวัฒนธรรม วัฒนธรรมมีคุณสมบัติ 3 ประการ คือ (1) เป็นสิ่งที่เรียนรู้ได้ (2) เป็นสิ่งที่ได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม มากกว่าทาง สายเลือด (3) เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้เป็นพลวัตร (Dynamic)
3) คุณลักษณะสำคัญของความเชื่อ ค่านิยม และทัศนคติ ความเชื่อมีคุณสมบัติที่สำคัญ อาทิ (1) เป็นความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นอยู่ว่าถูกหรือผิด (2) เป็นความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นอยู่ว่าดีหรือเลว (3) เป็นความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นอยู่ว่าเป็นสิ่งที่พึง ประสงค์หรือไม่พึงประสงค์
ค่านิยม มีคุณสมบัติที่สำคัญ อาทิ 3) คุณลักษณะสำคัญของความเชื่อ ค่านิยม และทัศนคติ (ต่อ) ค่านิยม มีคุณสมบัติที่สำคัญ อาทิ (1) ความนิยมเป็นความเชื่ออย่างหนึ่งที่แสดงออก โดยการกระทำ (2) ค่านิยมมีลักษณะยืนยงถาวรมากกว่าสมัยนิยม (3) ค่านิยมเปลี่ยนแปลงได้ตามบริบทของสิ่งแวดล้อม และกาลเวลา
ทัศนคติ มีคุณสมบัติที่สำคัญ อาทิ 3) คุณลักษณะสำคัญของความเชื่อ ค่านิยม และทัศนคติ (ต่อ) ทัศนคติ มีคุณสมบัติที่สำคัญ อาทิ (1) ทัศนคติเป็นความเชื่ออย่างหนึ่งที่แสดงออกโดย ความรู้สึก (2) ทัศนคติเป็นการตอบสนองสิ่งต่างๆ ด้วยความรู้สึกชอบ ไม่ชอบ เกลียด ไม่เกลียด เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย เป็นต้น (3) ทัศนคติเปลี่ยนแปลงได้ตามบริบทของสิ่งแวดล้อม และ กาลเวลา
4) ความหมายของวัฒนธรรมทางการเมือง “วัฒนธรรมทางการเมือง หมายถึง แบบแผนพฤติกรรมทางการเมืองของบุคคลและกลุ่มบุคคลที่เป็นผลมาจากกระบวนการอบรมหล่อหลอมกล่อมเกลาทางการเมือง (Political Socialization Process) ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทำให้เกิดความรู้ ความเชื่อ ค่านิยม และทัศนคติทางการเมือง จนเป็นแบบแผน (Pattern) โดยจะดำรงอยู่เป็นอัตลักษณ์ของบุคคลและกลุ่มบุคคลอย่างต่อเนื่องยาวนาน”
5) ตามความหมายของ Gabrial Almond วัฒนธรรมทางการเมืองเกิดจากความโน้มเอียงทางการเมือง 3 ประการ (1) ความโน้มเอียงเกี่ยวกับการรับรู้ (Cognitive Orientation) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจทางการเมือง (2) ความโน้มเอียงเกี่ยวกับความรู้สึกทางการเมือง (Affective Orientation) เป็นความรู้สึกที่เห็นด้วยหรือไม่ เห็นด้วยกับระบบการเมืองนั้น (3) ความโน้มเอียงเกี่ยวกับการประเมินค่า (Evaluative Orientation) เป็นการตัดสินใจประพฤติปฏิบัติ ตามที่ตนเห็นว่าดี
6) Gabrial Almond และ Sydney Verba ได้ทำการศึกษาวิจัยร่วมกัน และพบว่าในสังคมต่างๆนั้น วัฒนธรรมทางการเมืองแบ่งได้เป็น 3 ประเภท (1) วัฒนธรรมทางการเมืองแบบคับแคบ (The Parochial Political Culture) (2) วัฒนธรรมทางการเมืองแบบไพร่ฟ้า (The Subject Political Culture) (3) วัฒนธรรมการเมืองแบบมีส่วนร่วม (The Participant Political Culture)
7) วัฒนธรรมทางการเมืองแบบอำนาจนิยม (Authoritative Political Culture) และ วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย (Democratic Political Culture)
วัฒนธรรมทางการเมืองแบบอำนาจนิยม มี คุณลักษณะที่สำคัญ ได้แก่ (1) นิยมอำนาจเด็ดขาด (2) มอบความรับผิดชอบทุกอย่างไว้ที่ผู้นำ นิยมตัวบุคคลมากกว่าเหตุผล (3) นับถือระบบอาวุโส ระบบเจ้าขุนมูลนาย ไม่ยอมรับความเสมอภาคของผู้อื่น (4) กิจกรรมของบ้านเมืองเป็นเรื่องของรัฐบาล ประชาชนไม่เกี่ยว
วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย มีคุณลักษณะที่สำคัญ ได้แก่ (1) เป็นผู้ที่มีความศรัทธาเชื่อมั่นในระบอบ ประชาธิปไตย (2) เป็นบุคคลที่มีใจกว้าง ยอมรับในความคิดเห็น ที่ แตกต่างของผู้อื่น (3) เป็นบุคคลที่มีความไว้วางใจและยอมรับใน ความสามารถผู้อื่น
(4) เป็นผู้ที่เห็นคุณค่าของการมีส่วนร่วมทางการ เมือง (5) เป็นผู้ที่สนใจและติดตามกิจกรรมทางการเมือง การปกครองอย่างต่อเนื่อง (6) เป็นผู้ที่กล้าหาญในการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมี เหตุผลและสร้างสรรค์ (7) เป็นผู้ที่เคารพกฎกติกาและกฎหมายของสังคม
บริบทเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง ความหมายของการมีส่วนร่วมทางการเมือง 1) “การมีส่วนร่วมทางการเมือง (Political Participation) หมายถึง การที่ประชาชนเข้าไปมีบทบาทในทางการเมืองทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ทั้งในทางสนับสนุนหรือคัดค้านการดำเนินนโยบายของรัฐบาล หรือการดำเนินงานของกลุ่มการเมืองต่างๆ โดยมีเป้าหมายทางการเมืองอย่างหนึ่งอย่างใดโดยเฉพาะ อาทิ เป้าหมายทางอุดมการณ์ทางการเมือง เป็นต้น”
ความสำคัญของการมีส่วนร่วมทางการเมืองต่อระบอบประชาธิปไตย 2) (1) การมีส่วนร่วมทางการเมืองเป็นการแสดงออกถึงการ เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ทั้งการมีส่วนร่วมในการ เลือกตัวแทนและการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและ ถอดถอนนักการเมือง (2) ความก้าวหน้าของระบอบประชาธิปไตย ส่วนหนึ่งวัด จากระดับความตื่นตัวในการเข้ามีส่วนร่วมทางการ เมืองของประชาชนที่เกิดจากความรู้ความเข้าใจและ ความตระหนักในฐานะที่ตนเป็นเจ้าของอำนาจ อธิปไตย
ลักษณะการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่สำคัญ 3) (1) การมีส่วนร่วมในกระบวนการเลือกตั้งทางการเมืองทั้ง ระดับชาติและระดับท้องถิ่น (2) การมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและถอดถอน นักการเมืองที่ประพฤติมิชอบ (3) การมีส่วนร่วมในการทำประชาพิจารณ์และการลง ประชามติ
(4). การมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ทั้ง (4) การมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ทั้ง โดยการเสนอความคิด การเสวนา การอภิปราย การเขียนบทความและการเผยแพร่ด้วยวิธีอื่นๆ (5) การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยการชุมนุมทางการเมือง ทั้งเพื่อการสนับสนุนหรือคัดค้านการดำเนินนโยบายของ รัฐบาลหรือกลุ่มการเมืองต่างๆ
คำถาม การพัฒนาทางการเมืองคืออะไร การพัฒนาทางการเมืองมีความสำคัญอย่างไรกับการ พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ? การพัฒนาทางการเมืองมีองค์ประกอบที่สำคัญ อะไรบ้าง ? แนวทางการพัฒนาทางการเมืองที่สำคัญมีอะไรบ้าง ? วัฒนธรรม (Culture) คืออะไร ? วัฒนธรรมมีคุณสมบัติอย่างไร ? ความเชื่อ ค่านิยม และทัศนคติ มีคุณลักษณะอย่างไร ?
คำถาม (ต่อ) วัฒนธรรมทางการเมือง คืออะไร ? ตามความหมายของ Gabrial Almond วัฒนธรรมทาง การเมืองเกิดจากความโน้มเอียงทางการเมือง 3 ประการ ได้แก่อะไรบ้าง ? Gabrial Almond และ Sydney Verba ได้ทำการศึกษา วิจัยร่วมกัน และพบว่าในสังคมต่างๆนั้น วัฒนธรรมทาง การเมืองแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คืออะไรบ้าง ?
คำถาม (ต่อ) วัฒนธรรมทางการเมืองแบบอำนาจนิยม (Authoritative Political Culture) และวัฒนธรรมทาง การเมืองแบบประชาธิปไตย (Democratic Political Culture) แตกต่างกันอย่างไร ? การมีส่วนร่วมทางการเมืองคืออะไร ? การมีส่วนร่วมทางการเมืองมีความสำคัญต่อระบอบ ประชาธิปไตยอย่างไร ? ลักษณะการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่สำคัญมีอะไรบ้าง ?