ฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ทรงอยู่ในฐานะประมุขของประเทศ ทรงเป็นกลางทางการเมือง ทรงดำรงตนในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ทรงเป็นตัวแทนของปวงชนชาวไทย ทรงเป็นศูนย์รวมความสามัคคีของคนในชาติ
อิทธิพลของระบอบการเมืองการปกครองที่มีผลต่อการดำเนินชีวิต ประชาชนทุกคนตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของระบอบการเมืองการปกครองไม่ว่าจะเป็นระบอบเผด็จการ หรือระบอบประชาธิปไตย ย่อมส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน อาจดีขึ้นหรือเลวร้ายลง ขึ้นอยู่กับการนำมาใช้ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมและสังคมของประเทศนั้นๆ อิทธิพลของระบอบการเมืองการปกครอง ทำให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย ประชาชนเกิดตระหนักในสิทธิและหน้าที่ของตนเองต่อการปกครอง ทำให้ประชาชนตื่นตัวทางการเมือง มีส่วนร่วมสนับสนุนกิจกรรมทางการเมือง ทำให้เกิดการแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล ทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ทำให้คนในท้องถิ่นร่วมมือกันปกป้องผลประโยชน์ของท้องถิ่นตน
สถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน ปัญหาทางการเมือง ความคิดเห็นทางการเมืองของคนไทยแตกต่างกัน ความอ่อนแอของฝ่ายบริหาร พรรคการเมืองมีจำนวนมากเกินไป เกิดปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นในวงกว้าง นักการเมืองบางคนอาศัยอำนาจทางการเมืองเพื่อหาผลประโยชน์ให้กับตนเอง
การเป็นสมาชิกองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศ องค์การสหประชาชาติ (UN) วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง รักษาสันติภาพ ความมั่นคง และพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยอยู่บนพื้นฐานของหลักสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียมกันของมนุษย์ ส่งเสริมประชาธิปไตย สิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค บนพื้นฐานของหลักความยุติธรรมและ กฎหมายระหว่างประเทศ อนุรักษ์และบูรณะสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และสถาปัตยกรรม สมาคมประชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เขตการค้าเสรีอาเซียน ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก องค์กรการค้าโลก
วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง ส่งเสริมเสถียรภาพ สันติภาพ และความมั่นคงภายในภูมิภาค เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศนอกภูมิภาค เพื่อเร่งรัดความเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรมของภูมิภาค ส่งเสริมความร่วมมือในทางวิชาการ ทั้งการฝึกอบรม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการวิจัย องค์กรการค้าโลก
วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง ส่งเสริมการค้าในอาเซียนให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น ลดภาษีและอุปสรรคข้อกีดขวางทางการค้า เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ เพิ่มขีดความสามารถในการต่อรองทางการค้าโลก เป็นเป็นเวทีแสดงความคิดเห็นหากถูก เอารัดเอาเปรียบทางการค้าจากประเทศอื่น สมาคมประชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เขตการค้าเสรีอาเซียน ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก องค์กรการค้าโลก
วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก (APEC) วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง ส่งเสริมและพัฒนาระบบการค้า เพื่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคและของโลก เป็นเวทีสำหรับให้สมาชิกปรึกษาหารือ แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกันทางด้านเศรษฐกิจ ส่งเสริมให้การค้าและการลงทุนเป็นไปอย่าเสรี ลดอุปสรรคและอำนวยความสะดวกทางการค้าและบริการระหว่างประเทศสมาชิก องค์กรการค้าโลก
วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง องค์การการค้าโลก (WTO) วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง ส่งเสริมให้การค้าระหว่างประเทศเป็นไปโดยเสรีมากขึ้น ส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรมไม่เลือกปฏิบัติ กำกับดูแลการดำเนินงานของประเทศสมาชิกให้เป็นไปตามข้อตกลงขององค์การการค้าโลก ยุติข้อพิพาทที่อาจมีขึ้นระหว่างประเทศสมาชิก เป็นเวทีเจรจาการค้าของประเทศสมาชิก ติดตามและตรวจสอบนโยบายทางการค้าของประเทศสมาชิกอย่างสม่ำเสมอ
๖ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จุดประสงค์การเรียนรู้ เสนอแนวทางและมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐได้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มีหลักสำคัญเพื่อสิ่งใด? ๖ หน่วยการเรียนรู้ที่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 9
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๖ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญว่าด้วยรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล พรรคการเมือง หน่วยการเรียนรู้ที่ ๖ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย การเลือกตั้ง บทบาทหน้าที่ของรัฐบาล การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐโดยองค์กรอิสระ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕o รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ร่างขึ้นโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ได้รับการเลือกตั้งจากสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ ซึ่งมาจากผู้แทนทุกวิชาชีพ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ผ่านความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ โครงสร้างของรัฐธรรมนูญแห่ง ประกอบไปด้วย ๑๕ หมวด ๑ บทเฉพาะกาล ๓๐๙ มาตรา
ความสำคัญของรัฐธรรมนูญ ยืนยันความเป็นเอกราช รับรองความเป็นเอกรัฐ ยืนยันว่าประเทศไทยมีการปกครองแบบระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ให้ความคุ้มครองประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน
หลักการสำคัญที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างเต็มที่ เพื่อเพิ่มสิทธิของประชาชนให้กว้างขวางมากขึ้น ลดการผูกขาดอำนาจรัฐและการใช้อำนาจรัฐอย่างไม่เป็นธรรม ลดการผูกขาดอำนาจรัฐและการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม เพื่อลดการแทรกแซงการทำงานของข้าราชการและหน่วยงานภาครัฐ เพื่อการทำงานที่อิสระ ปราศจากการครอบงำจากการเมือง ทำให้การเมืองมีความโปร่งใส มีคุณธรรม จริยธรรม เพื่อลดปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น ทำให้ระบบตรวจสอบมีความเข้มแข็งและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้องค์อิสระที่จัดตั้งตามรัฐธรรมนูญได้ทำงานอย่างเป็นอิสระ ไม่ถูกแทรกแซงจากภาคการเมือง
แนวทางการปฏิบัติตนตามรัฐธรรมนูญ เข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการทางประชาธิปไตยทุกระดับ ทั้งระดับท้องถิ่น และระดับชาติ เช่น ไปใช้สิทธิเลือกตั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์เกี่ยวกับประชาธิปไตย เป็นต้น ติดตามตรวจสอบการใช้อำนาจของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและผู้บริหารทุกระดับอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกัน มิให้ใช้อำนาจรัฐเพื่อประโยชน์ส่วนตัวหรือไปในทางทุจริต สนับสนุนนักการเมืองและพรรคการเมืองที่ดี โดยการไปออกเสียงเลือกตั้งนักการเมืองและพรรคการเมืองที่ดีเข้าไปบริหารประเทศ
บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญว่าด้วยรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ๕๐๐ คน มาจากการเลือกตั้ง ๓๗๕ คน แบบบัญชีรายชื่อ ๑๒๕ คน วุฒิสภา ๑๕๐ คน เลือกตั้ง จังหวัดละ ๑ คน มาจากการสรรหา ๗๓ คน รัฐสภา ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา เป็นรองประธานรัฐสภา
บทบัญญัติสำคัญเกี่ยวกับรัฐสภา ทำหน้าที่พิจาณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือร่างพระราชบัญญัติที่จะตราเป็นกฎหมาย ในการประชุมสภาต้องมีผู้เข้าร่วมมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด โดยเปิดสมัยประชุม ปีละ ๒ ครั้ง ครั้งละ ๑๒๐ วัน การประชุมสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต้องมีสมาชิกไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมด พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการยุบสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดยการประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกา ตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี ๑ คน แต่งตั้งจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรัฐมนตรี ไม่เกิน ๓๕ คน มาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่ก็ได้ คุณสมบัติของรัฐมนตรี มีสัญชาติไทยโดยการเกิด มีอายุไม่ต่ำกว่า ๓๕ ปีบริบูรณ์ สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ไม่เคยต้องคำพิพากษาให้ต้องจำคุก โดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึง ๕ ปี ในวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ ไม่มีลักษณะต้องห้าม เช่น ติดยาเสพติด เป็นบุคคลล้มละลาย เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ เพราะทุจริตต่อหน้าที่ เป็นต้น
บทบัญญัติเกี่ยวกับคณะรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งรัฐมนตรีที่ทูลเกล้าเสนอ ก่อนเข้ารับหน้าที่นายกฯและรัฐมนตรีต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ รัฐมนตรีต้องดำเนินตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและนโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา และต้องรับผิดชอบต่อสภาผู้แทนราษฎรในหน้าที่ของตนรวมทั้งต้องรับผิดชอบร่วมกันต่อรัฐสภาในนโยบายทั่วไปของคณะรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรี ที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว เช่น เมื่อตาย ลาออก สภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่ไว้วางใจ เป็นรายบุคคล
ศาล ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหาร องค์กรสาธารณะซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดี โดยดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท ได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหาร
บทบาทหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาวินิจฉัยร่าง พ.ร.บ.หรือร่าง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือรัฐสภา แล้วแต่กรณี ให้ความเห็นชอบแล้ว แต่ยังมิได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ พิจารณาวินิจฉัยบทบัญญัติที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดี ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ พิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรต่างๆตามรัฐธรรมนูญ
บทบาทหน้าที่ของศาลยุติธรรม พิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น แบ่งออกเป็น ๓ ชั้น ได้แก่ ศาลฎีกา พิจารณาพิพากษาคดี ที่ รัฐธรรมนูญ หรือ กฎหมาย บัญญัติให้เสนอต่อศาลฎีกา ได้โดยตรง และ คดีที่ อุทธรณ์ หรือ ฎีกาคำพิพากษา หรือ คำสั่งของ ศาลชั้นต้น หรือ ศาลอุทธรณ์ ตามที่กฎหมายบัญญัติ ศาลอุทธรณ์ พิจารณาและพิพากษาคดี ที่คู่ความได้ยื่นอุทธรณ์ คำพิพากษาของศาลชั้นต้น ซึ่งไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้น พิจารณารับฟ้องในชั้นเริ่มต้นคดีทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา
บทบาทหน้าที่ของศาลปกครอง พิจารณาพิพากษาคดีปกครอง ซึ่งเป็นคดีพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน พิจารณาข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานต่างๆ ของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันเพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและเพื่อสร้างบรรทัดฐานที่ถูกต้องในการปฏิบัติราชการ
บทบาทหน้าที่ของศาลทหาร มีอำนาจ พิจารณาพิพากษาลงโทษผู้กระทำความผิดอาญาซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ในขณะกระทำผิด
บทบัญญัติเกี่ยวกับศาล ผู้พิพากษาและตุลาการมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาคดีให้เป็นไปโดยถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย การบัญญัติกฎหมายให้มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลหรือวิธีพิจารณาคดีเพื่อใช้แก่คดีใดคดีหนึ่งโดยเฉพาะจะกระทำมิได้ ในคดีอาญาผู้ต้องหาหรือจำเลยมีสิทธิได้รับการสอบสวนหรือพิจารณาคดีให้เป็นไปโดยถูกต้องรวดเร็ว และเป็นธรรม ก่อนที่ผู้พิพากษาและตุลาการจะเข้ารับหน้าที่จะต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์
พรรคการเมือง พรรคการเมือง คือ องค์กรทางการเมืองที่รวมบุคคลที่มีความคิด อุดมการณ์เดียวกัน ทางด้านการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ แบบเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน เพื่อนำแนวความคิดเหล่านั้นมากำหนดเป็นนโยบายของรัฐบาล โดยวิถีประชาธิปไตย โดยการส่งบุคคลเข้ารับเลือกตั้ง เพื่อให้ได้เสียงข้างมากในรัฐสภาและจัดตั้งรัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศตามแนวความคิดหรือนโยบายที่สอดคล้องกับอุดมการณ์ของพรรค
บทบาทหน้าที่ของพรรคการเมือง วางนโยบายในการแก้ไขปัญหาของประเทศ และแถลงนโยบายแก่ประชาชน พิจารณาคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรค ทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติ ดำเนินการหาเสียงเลือกตั้งโดยการเข้าถึงประชาชน เพื่อให้ได้รับการสนับสนุน นำนโยบายของพรรคที่ได้แถลงต่อประชาชนไปปฏิบัติอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติ ให้การศึกษาและอบรมความรู้ด้านการเมืองกับประชาชนทั่วไป และสมาชิกของพรรค
การเลือกตั้ง การเลือกตั้ง เป็นกระบวนการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองและ การปกครองในระบอบประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ได้กำหนดให้การไปใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นทั้งสิทธิ และหน้าที่ ดังนั้นคนไทยที่มีสิทธิเลือกตั้งจะต้องไปใช้สิทธิ หากไม่ไป เลือกตั้งโดยไม่แจ้งเหตุอันควรจะทำให้เสียสิทธิตามที่กฎหมาย บัญญัติ
ความสำคัญของการเลือกตั้ง ประชาชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการปกครองตนเองตามหลักการประชาธิปไตย เป็นวิธีการที่ใช้เปลี่ยนอำนาจทางการเมืองการปกครองอย่างสันติวิธี ป้องกันการเกิดปฏิวัติรัฐประหาร เมื่อรัฐบาลไม่สามารถบริหารประเทศหรือ แก้ปัญหาต่างๆได้ ก็จะคืนอำนาจให้กับประชาชนด้วยการยุบสภาผู้แทนราษฎร เพื่อจัดการเลือกตั้งใหม่ ทำให้เกิดการหมุนเวียนเปลี่ยนอำนาจ เพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลอื่นหรือกลุ่มอื่นได้เข้ามาบริหารประเทศ ป้องกันการผูกขาดอำนาจทางการเมือง สร้างความถูกต้องและความชอบธรรมในการใช้ อำนาจทางการเมืองให้กับบุคคลที่จะมาทำหน้าที่เป็นรัฐบาล
หลักเกณฑ์การเลือกตั้ง หลักอิสระแห่งการเลือกตั้ง ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพที่จะเลือกใครหรือพรรคการเมืองใดก็ได้ที่ตนชอบ หลักการเลือกตั้งตามกำหนดเวลา การเลือกตั้งจะต้องกำหนดเวลาที่แน่ชัด เช่น กำหนดให้มีการเลือกตั้งทุก 4 ปี หลักการเลือกตั้งอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม การเลือกตั้งที่ไม่มีการคดโกง ใช้อิทธิพลหรืออำนาจในการบังคับ ซื้อคะแนนเสียง เพื่อตนเองและคณะ หลักการใช้สิทธิในการเลือกตั้งอย่างเสมอภาค การเลือกตั้งที่ให้สิทธิแก่ประชาชนโดยไม่มีการกีดกันหรือจำกัดบุคคลใดเป็นพิเศษ ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน หลักการออกเสียงโดยทั่วไป การเลือกตั้งที่เปิดโอกาสให้มีการออกเสียงอย่างทั่วถึงแก่ประชาชนทุกหมู่เหล่า หลักการลงคะแนนลับ การเลือกตั้งที่ผู้ออกเสียงไม่จำเป็นต้องบอกผู้อื่นว่าตนเลือกใคร
อุปสรรคในการเลือกตั้ง การใช้อิทธิพลจากทางราชการ เพื่อให้เกิดประโยชน์ฝ่ายตน เช่น ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องปลอมแปลงหลักฐานการเลือกตั้ง เพิ่มชื่อผู้อื่นในทะเบียนบ้าน การทำลายคู่แข่งขัน เช่น หาเสียงให้ร้ายคู่แข่ง โดยการให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ ทำลายป้ายหาเสียง ปองร้ายหัวคะแนน การใช้เงินเพื่อซื้อคะแนนเสียง โดยการใช้วิธีการต่างๆ เช่น แจกเงิน ให้สิ่งของ สัญญาว่าจะให้ผลตอบแทนต่างๆ ประชาชนบางส่วนยังไม่เข้าใจความสำคัญของการเลือกตั้ง จึงไม่ได้ตระหนักในสิทธิและหน้าที่ของตน ไม่ได้เลือกนักการเมืองจากผลงานและความมีคุณธรรม หน่วยงานภาครัฐไม่สามารถให้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้งได้อย่างทั่วถึง ทำให้ประชาชนขาดความรู้ที่แท้จริง นำไปสู่การซื้อคะแนนเสียงหรือการไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
การสร้างสำนึกการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน เยาวชน ประชาชนทั่วไป หน่วยงานรัฐ ปลูกฝังให้เยาวชนตระหนักในสิทธิ หน้าที่ของตนเองและมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างถูกต้อง จะต้องศึกษาความรู้เกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย เพื่อจะได้เข้าใจในสิทธิ หน้าที่ของตน ให้ความรู้เกี่ยวการมีส่วนร่วมของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย เพื่อให้ประชาชนเห็นถึงความสำคัญของการเลือกตั้ง กระตุ้นเตือนให้เห็นถึงข้อเสียของการไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง
บทบาทหน้าที่ของรัฐบาล รัฐบาล คือ คณะบุคคลมีหน้าที่ในการบริหารประเทศ และบังคับใช้กฎหมายต่างๆ กำหนดนโยบายที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน และก่อให้เกิดการพัฒนาประเทศ เกิดความยุติธรรมในสังคม รักษาความมั่นคงของชาติ รวมทั้งความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
ประสิทธิภาพในการบริหารงานของรัฐบาล ความสามารถในการตอบสนองตรงความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ความสามารถรับผิดชอบร่วมกันเมื่อเกิดความผิดพลาดในการบริหารงาน ความสามารถในการติดตามและควบคุมการทำงานของกระทรวง กรมต่างๆ จากการนำนโยบายที่ได้มอบหมายไปปฏิบัติ ความสามารถในการประสานงานให้กระทรวงต่างๆ ทำงานร่วมกัน เพื่อให้บรรลุจุด หมายอย่างเดียวกันด้วย
ความรับผิดชอบของรัฐบาลต่อประชาชน รัฐบาลต้องแถลงผลงานต่อสภาผู้แทนราษฎร ผ่านสื่อต่างๆ ให้ประชาชนรับรู้ และบริหารประเทศตามนโยบายที่แถลงไว้ จัดให้มีหน่วยงาน หรือองค์กรอิสระ ทำหน้าที่ในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล และประชาชนสามารถตรวจสอบการปฏิบัติงานของรัฐบาลได้ โดยผ่านทางสภาผู้แทนราษฎร ให้เสรีภาพแก่ประชาชนในการแสดงออกทางการเมือง หากพบว่ารัฐบาลไม่ปฏิบัติตามนโยบายที่แถลงไว้ หรือบริหารงานไม่โปร่งใส เช่น การวิพากษ์วิจารณ์ทางการเมือง เดินขบวนประท้วงอย่างสงบและปราศจากอาวุธภายใต้รัฐธรรมนูญ
การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐโดยองค์กรอิสระ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ควบคุมและดำเนินการจัดให้มีการเลือกตั้งและการออกเสียงประชามติ ให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ดำเนินการแบ่งเขตเลือกตั้งสำหรับการเลือกตั้งที่ใช้วิธีการแบ่งเขตเลือกตั้ง และจัดให้มีบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง สืบสวนสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาหรือข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการเลือกตั้ง สั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือออกเสียงประชามติใหม่ในหน่วยเลือกตั้งที่มีการทุจริต เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง และดำเนินคดีอาญากับผู้สมัคร หัวคะแนน และผู้เกี่ยวข้อง (ให้ใบเหลือง หรือ ใบแดง) ประกาศผลการเลือกตั้งหรือการออกเสียงประชามติ
ผู้ตรวจการแผ่นดิน พิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงในกรณี เช่น การไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือปฏิบัตินอกเหนืออำนาจหน้าที่ของข้าราชการ ตรวจสอบการละเลยการปฏิบัติหน้าที่หรือการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายขององค์กร ตามรัฐธรรมนูญและองค์กรในกระบวนการยุติธรรม ดำเนินการเกี่ยวกับจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครอง ในกรณี เช่น บทบัญญัติแห่งกฎหมายมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตรวจสอบความถูกต้องและความมีอยู่จริงของทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐ ไต่สวนและวินิจฉัยความร่ำรวยผิดปกติของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในการกระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกำหนดตำแหน่งและชั้นหรือระดับของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่จะต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริตและเสริมสร้างทัศนคติและค่านิยมเกี่ยวกับความซื่อสัตย์สุจริต
คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน กำหนดหลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดินที่เป็นกลาง ให้คำแนะนำแก่ผ่ายบริหารในการแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการควบคุมเงินของรัฐ พิจารณาคำร้องขอของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือคณะรัฐมนตรีที่ขอให้ตรวจสอบ เสนอข้อสังเกตและความเห็นต่อคณะกรรมาธิการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี
7 กฎหมายในชีวิตประจำวัน กฎหมายมีข้อดีอย่างไรบ้าง? หน่วยการเรียนรู้ที่ วิเคราะห์และปฏิบัติตนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเอง ครอบครัวชุมชน ประเทศชาติ และสังคมโลกได้ จุดประสงค์การเรียนรู้ กฎหมายมีข้อดีอย่างไรบ้าง? 7 หน่วยการเรียนรู้ที่ กฎหมายในชีวิตประจำวัน 43
ความหมาย ความสำคัญ และลักษณะของกฎหมาย กฎหมาย หมายถึง ข้อบังคับของรัฐ อันเป็นส่วนหนึ่งของการจัดระเบียบสังคม เพื่อใช้ควบคุมความประพฤติ ของพลเมือง หากผู้ใดฝ่าฝืนจะต้องได้รับโทษอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้ดำเนินการบังคับ กฎหมายพัฒนาขึ้นมาจากศีลธรรม ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ศาสนา และกฎเกณฑ์ข้อบังคับ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อธำรงความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของสมาชิกในสังคม ทำให้การอยู่ร่วมกันในสังคมนั้นเป็นไปโดยราบรื่น
ความสำคัญของกฎหมาย ใช้ควบคุมหรือจัดระเบียบทางสังคม เพื่อให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างเรียบร้อย ไม่กระทบกระทั่งหรือเอาเปรียบกันจนเกิดเป็นความขัดแย้ง ช่วยพัฒนาสังคมให้เจริญก้าวหน้า เป็นสังคมที่มีความเป็นปึกแผ่นและมีแต่สันติสุข ช่วยคุ้มครองสิทธิประโยชน์ต่างๆ ของประชาชน ด้วยการรับรองสิทธิและเสรีภาพของคนในสังคม
ลักษณะของกฎหมาย ต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับ ต้องออกโดยรัฏฐาธิปัตย์หรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐหรือองค์กรนั้น ต้องมีสภาพบังคับและใช้บังคับได้ทั่วไป ต้องมีผลใช้บังคับตลอดไปจนกว่าจะมีการแก้ไขหรือยกเลิก
กฎหมายที่จัดทำโดยองค์กรพิเศษ ประเภทของกฎหมาย กฎหมายที่จัดตามองค์กรจัดทำกฎหมาย กฎหมายที่จัดทำโดยองค์กรพิเศษ กฎหมายประเภทนี้ ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ จัดทำขึ้นโดยองค์กรพิเศษที่ได้รับมอบหมายให้จัดทำรัฐธรรมนูญ เช่น สภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นต้น รัฐธรรมนูญกำหนดว่า อำนาจสูงสุดทางการปกครองมาจากประชาชนชาวไทย โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขพร้อมทั้งได้วางหลักประกันเกี่ยวกับสิทธิและ เสรีภาพของประชาชนไว้ กฎหมายอื่นที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญจะบังคับใช้มิได้
กฎหมายที่จัดทำโดยองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ กฎหมายประเภทนี้ ได้แก่ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติ เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ในพระราชบัญญัติแต่ละฉบับจะแบ่งข้อความออกเป็นมาตรา ซึ่งประกอบด้วยข้อกำหนดความประพฤติต่างๆ และกำหนดโทษ หรือผลร้ายที่เกิดจากการฝ่าฝืน พระราชบัญญัติมีผลบังคับเป็นกฎหมายได้โดยประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา ซึ่งเป็นหนังสือประกาศกฎหมายและเรื่อง สำคัญของทางราชการ
กฎหมายที่จัดทำโดยองค์กรฝ่ายบริหาร กฎหมายประเภทนี้ ได้แก่ พระราชกำหนด และ พระราชกฤษฎีกา พระราชกำหนด เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี ในกรณีเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ รัฐมนตรีต้องนำพระราชกำหนดเสนอต่อรัฐสภา ถ้ารัฐมนตรีไม่อนุมัติก็ให้พระราชกำหนดนั้นตกไป และให้บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีอยู่ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิก มีผลบังคับใช้ต่อไป พระราชกฤษฎีกา เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี เพื่อกำหนดการต่างๆ ตามที่รัฐธรรมนูญหรือพระราชบัญญัติให้อำนาจไว้ หรือวางระเบียบการต่างๆ ทางบริหาร โดยไม่ขัดต่อกฎหมายอื่น พระราชกฤษฎีกามีฐานะที่ต่ำกว่าพระราชกำหนด และต้องออกโดยอาศัยอำนาจที่รัฐธรรมนูญมอบให้ และไม่ต้องนำเสนอให้รัฐสภาพิจารณาอนุมัติ
กฎหมายที่จัดทำโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กฎหมายประเภทนี้ ได้แก่ ข้อบัญญัติและข้อบังคับขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น เป็นกฎหมายที่จัดทำขึ้นโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด และองค์การบริหารส่วนตำบล เกี่ยวกับเรื่องที่พระราชบัญญัติให้อำนาจไว้ เป็นกฎหมายที่มีฐานะต่ำกว่าพระราชบัญญัติ และมีผลบังคับใช้เฉพาะในเขตท้องที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆ
กฎหมายที่จัดตามลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณี กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายซึ่งกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน พลเมืองกับพลเมือง หรือพลเมืองกับรัฐ โดยรัฐยอมอยู่ในฐานะ เท่าเทียมกับพลเมือง ใช้เป็นเครื่องมือพิจารณาหรือตัดสินเมื่อเกิดความขัดแย้งกันของคู่กรณี เพื่อหาข้อยุติ กฎหมายเอกชนที่ควรรู้จัก ได้แก่ กฎหมายแพ่งและกฎหมายพาณิชย์
กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับพลเมืองของรัฐ โดยรัฐอยู่ในฐานะเหนือกว่าพลเมือง ใช้เป็นเครื่องมือในการปกครองและควบคุมดูแลพลเมืองให้อยู่ภายใต้กรอบของกฎหมายมหาชน กฎหมายมหาชนที่ควรรู้จัก ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และ พระธรรมนูญศาลยุติธรรม
กฎหมายระหว่างประเทศ เป็นกฎหมายหรือข้อตกลงซึ่งกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐในฐานะ ที่เท่าเทียมกัน มิใช่กฎหมายของรัฐใดรัฐหนึ่ง แต่เกิดจากการตกลงระหว่างรัฐ ให้ใช้ได้ หรือรัฐต่างๆ ยอมรับมาปฏิบัติร่วมกัน ใช้ในการแก้ปัญหาร่วมกันระหว่างรัฐหรือภาคีสมาชิกทั้งในยามปกติ และในยามที่มีข้อขัดแย้ง เพื่อหาแนวทางยุติความขัดแย้งมิให้ลุกลาม กฎหมายระหว่างประเทศตามหลักสากลมี ๓ ลักษณะ ได้แก่ กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล และกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
กฎหมายที่จัดตามบทบาทของกฎหมาย กฎหมายสารบัญญัติ เป็นกฎหมายซึ่งบัญญัติหรือกำหนดในเรื่องสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบต่างๆ ซึ่งถือเป็นสาระสำคัญหรือหัวใจของกฎหมาย มีลักษณะเป็นเนื้อหาของกฎหมาย เช่น กฎหมายแพ่ง ซึ่งบัญญัติว่า บุคคลมีสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบระหว่างกันอย่างไรบ้าง เป็นต้น
กฎหมายวิธีสบัญญัติ เป็นกฎหมายซึ่งใช้ประกอบกับกฎหมายสารบัญญัติ โดยบัญญัติวิธีดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายสารบัญญัติอีกขั้นหนึ่ง มีลักษณะกำหนดขั้นตอนของกระบวนวิธีการใช้กฎหมายหรือกระบวนวิธีพิจารณาคดี เช่น กฎหมายอาญา บัญญัติว่า เมื่อบุคคลกระทำความผิดแล้วจะต้องได้รับโทษ โดยวิธีการจับกุม สอบสวน ฟ้องร้องผู้กระทำผิดต่อศาล และพิจารณาว่าเขามีความผิดจริงหรือไม่ ตลอดจนพิพากษาให้เขาได้รับโทษหากมีความผิดจริง เป็นต้น
กฎหมายแพ่ง เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับเอกชนหรือคนแต่ละคน ทั้งเมื่ออยู่ตามลำพังและเมื่อติดต่อกับผู้อื่นเนื้อหาของกฎหมายแพ่งซึ่งรวบรวมไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีบทบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องของบุคคล ครอบครัว ทรัพย์สิน นิติกรรมและสัญญา ซึ่งเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของทุกคน
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับตนเอง กฎหมายเรื่องบุคคล กฎหมายเรื่องบุคคลที่สำคัญ ได้แก่ การกำหนดตัวบุคคล กฎหมายมีวิธีการกำหนดตัวบุคคลเพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าใครเป็นใคร และมีบทบาททางกฎหมายในสังคมได้เพียงใด ซึ่งสิ่งที่นำมาใช้กำหนดตัวบุคคล ได้แก่ ชื่อบุคคล ภูมิลำเนา สถานะ และความสามารถ หลักฐานแสดงตัวบุคคล พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๔ กำหนดให้บุคคลสัญชาติไทยที่มีอายุตั้งแต่ ๗ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ไม่เกิด ๗๐ ปีบริบูรณ์ ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อเป็นเอกสารสำคัญในการใช้พิสูจน์ตัวบุคคล ภูมิลำเนา และสถานะบางอย่างของบุคคล บัตรประจำตัวประชาชนเป็นหลักฐานแสดงตัว บุคคลที่สำคัญ ควรนำติดตัวไว้เสมอ เมื่อเดินทางออกนอกบ้านเพื่อทำกิจธุระต่างๆ
กฎหมายกำหนดให้ข้าวเป็นสังหาริมทรัพย์ชนิดหนึ่ง กฎหมายเรื่องทรัพย์สิน เป็นกฎหมายที่กำหนดว่าสิ่งใดเป็นวัตถุหรือทรัพย์สิน (ทั้งที่มีรูปร่างและไม่มีรูปร่าง) ซึ่งบุคคลสามารถยึดถือเป็นของตนเองได้ กำหนดวิธีได้มา ตลอดจนรับรองสิทธิต่างๆในสิ่งนั้น กฎหมายได้แบ่งทรัพย์สินและประโยชน์เกี่ยวกับทรัพย์สินออกเป็นหลายประเภท แต่ที่สำคัญ ได้แก่ อสังหาริมทรัพย์ และสังหาริมทรัพย์ โดยให้ความสำคัญกับอสังหาริมทรัพย์มากกว่า กฎหมายบัญญัติให้ผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ย่อมมีสิทธิครอบครอง ใช้สอย จ่ายโอน ทำลาย และมีสิทธิได้ดอกผลจากทรัพย์สินนั้น บุคคลมีสิทธิในทรัพย์สินได้โดยเหตุผล สำคัญ ๒ ประการ คือ ได้มาตามบัญญัติ ของกฎหมาย และ ได้มาโดยผลของ นิติกรรมและสัญญา กฎหมายกำหนดให้ข้าวเป็นสังหาริมทรัพย์ชนิดหนึ่ง
กฎหมายเรื่องละเมิด เป็นกฎหมายกำหนดหน้าที่ให้บุคคลเคารพสิทธิเสรีภาพต่างๆ ของผู้อื่นโดยทั่วไป ด้วยการไม่ก่อความเสียหายแก่สิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น ไม่ว่าโดยจงใจหรือโดยประมาทเลินเล่อก็ตาม หากบุคคลกระทำผิดกฎหมายจะต้องรับผิดชอบโดยการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน การละเมิดบางกรณีอาจเป็นความผิดทางอาญาด้วย เช่น การทำให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหายโดยเจตนา ผู้เสียหายมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้ และอาจฟ้องให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษ ทางอาญาด้วย
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับครอบครัวและมรดก กฎหมายครอบครัว การหมั้น เป็นการทำสัญญาระหว่างชายกับหญิงว่าต่อไปจะสมรสกัน โดยฝ่ายชายได้มอบของหมั้นไว้ให้แก่ฝ่ายหญิงเพื่อเป็นประกัน ซึ่งกฎหมายได้กำหนดเงื่อนไขไว้ ดังนี้ การหมั้นจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุ ๑๗ ปีบริบูรณ์ แต่ถ้าชายหรือหญิงยังเป็นผู้เยาว์จะต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้ปกครองเสียก่อน เมื่อสมรสแล้วของหมั้นจะตกเป็นของฝ่ายหญิง แต่หากไม่มีการสมรสเนื่องจากความผิดของฝ่ายหญิง ฝ่ายหญิงต้องคืนของหมั้นให้แก่ฝ่ายชาย การผิดสัญญาหมั้น ฝ่ายที่เสียหายสามารถเรียกค่าทดแทนได้ แต่จะให้ศาลบังคับให้มีการสมรสไม่ได้