FAD4502 วิชาฝึกประสบการวิชาชีพ นักออกแบบเครื่องแต่งกาย
ข้อแนะนำการฝึกงาน
นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ต้องลงทะเบียนวิชาเตรียมฝึก ประสบการณ์วิชาชีพนักออกแบบเครื่องแต่งกายจำนวน 2(180) หน่วยกิต กิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมของผู้เรียนก่อนการ ฝึกประสบการณ์จริงพัฒนาให้มีความรู้ทักษะเจต คติแรงจูงใจ และคุณสมบัติที่เหมาะสมกับวิชาชีพ การออกแบบเครื่องแต่งกายโดยการกระทำใน สถานการณ์ซึ่งเกี่ยวข้องกับงานในวิชาชีพการ ออกแบบเครื่องแต่งกาย
นักศึกษาฝึกงานทุกคนเป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยฯ ดังนั้น ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยฯ ขึ้นอยู่กับการกระทำของ นักศึกษา ขอให้ปฏิบัติตามระเบียบวินัยและกฎ ข้อบังคับของ หน่วยงานที่ นักศึกษาฝึกงาน เสมือนหนึ่งว่านักศึกษาเป็นบุคลากรคนหนึ่งของ หน่วยงานนั้นๆ นักศึกษาไปฝึกงานเพื่อเรียนรู้ชีวิตในการทำงาน ซึ่งจะเป็นอาชีพของนักศึกษาในอนาคต จึงควรศึกษาทั้งด้านเทคโนโลยี กฎระเบียบ และการบริหารงานในสถานที่ฝึกงาน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการเตรียมตัวทั้งด้านความรู้ และด้านวินัยให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะไปประกอบอาชีพ เมื่อสำเร็จการศึกษา
นักศึกษาต้องมีความซื่อสัตย์ สุจริต รู้จักเสียสละ เอื้อเฟื้อช่วยเหลือผู้อื่น ต้องเคารพ เชื่อฟัง และปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ควบคุมงาน และให้ความเคารพในประสบการณ์ของบุคคล ปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง ไม่ประมาทจนเป็นเหตุให้เกิดอันตราย ทั้งตนเอง และแก่ทรัพย์สินใด ๆ ทั้งนี้หากเกิดความเสียหายนักศึกษาจะต้องทำการชดใช้ค่าเสียหาย ให้เป็นไปตามหน่วยงานนั้นจะเห็นสมควร
นักศึกษาจะต้องมีบุคลิกภาพและการวางตัวที่เหมาะสม นักศึกษาต้องแต่งกายเครื่องแบบนักศึกษา หรือชุดทำงาน สถานที่ฝึกงานหรือที่หน่วยงานนั้นๆ กำหนดไว้ นักศึกษาต้องตรงต่อเวลา เข้าทำงานและเลิกงานตามเวลา ของสถานที่ฝึกงาน ควรใช้เวลาฝึกงานให้เป็นประโยชน์ ที่สุด เพราะเป็นช่วงเวลาที่จะได้ตักตวงความรู้และ ประสบการณ์ ที่ไม่สามารถหาได้ในห้องเรียน
นักศึกษาต้องปฏิบัติตามกฎ-ระเบียบข้อบังคับของสถานที่ ฝึกงาน ในเรื่องการลากิจ ลาป่วย และไม่ลางานโดยไม่ จำเป็น กรณีนักศึกษาชายที่จะต้องไปคัดเลือกเข้ารับ ราชการทหาร ต้องแจ้งสำนักงานกิจการนักศึกษา และ สถานที่ฝึกงานทราบล่วงหน้า นักศึกษาจะต้องมีความอดทน และพยายามปรับตัวให้เข้า กับสภาพการปฏิบัติงานจริง จะต้องไม่รังเกียจที่จะทำงาน ประเภทใช้แรงงานบ้างเป็นบางครั้งเมื่อได้รับมอบหมาย และพยายามปรับตัว ให้เข้ากับผู้ร่วมงาน ในการสอบถาม หรือการแสดงความคิดเห็น ควรกระทำอย่างสุภาพและมี เหตุผล
นักศึกษาอาจจะได้รับความรู้ หรือประสบการณ์ที่ไม่ตรง ตามสาขาวิชาที่ตนเรียนมา ในกรณีที่ ได้รับมอบหมาย ให้ปฏิบัติงานไม่ตรงกับความรู้ความสามารถ นักศึกษา จะต้องขวนขวายศึกษา หาความรู้เพิ่มเติม ควรอ่านตำรา คู่มือ หรือสอบถามอาจารย์ผู้สอนจนสามารถทำงานที่ได้รับ มอบหมายนั้นได้ หากเป็นการเหลือวิสัยที่จะหาความรู้ได้ ทันในระยะเวลาจำกัดจำเป็นต้อง รายงานให้ผู้ควบคุมงาน ทราบ
นักศึกษาควรจะแสดงความขอบคุณ และอำลาผู้ควบคุม งาน ผู้รับผิดชอบการฝึกงาน หรือหัวหน้างาน เมื่อสิ้นสุด การฝึกงาน และขอให้ตระหนักไว้เสมอว่าถ้านักศึกษาสร้าง ชื่อเสียง แสดงความรู้ความสามารถและความประทับใจใน การฝึกงานไว้ดี จะมีผลต่อการเข้าทำงานของนักศึกษาและ เพื่อนร่วมมหาวิทยาลัยฯ มหาวิทยาลัยฯ ได้ทำประกันอุบัติให้กับนักศึกษาฝึกงาน ทุกคนแล้ว หากมีปัญหาเกิดขึ้นให้ติดต่อกองพัฒนานักศึกษา
ขั้นตอนการฝึกงาน ส่งใบประเมินและรายงานผลการฝึกงาน กรอกแบบฟอร์มส่งตัว ที่ฝ่ายวิชาการคณะฯ 1-30 ตุลาคม รับจม.ส่งตัวไปมอบให้หน่วยงาน หน่วยงานที่ฝึกงาน 3-5 วันทำการ รับหนังสือตอบรับให้เข้าฝึกงาน 40 วัน 400 ชม. ฝึกงาน อาจารย์นิเทศไปประเมิน ระหว่างการฝึกงาน รายงานผลการฝึกงาน ส่งใบประเมินและรายงานผลการฝึกงาน
จดหมายรายงานตัว จะประกอบด้วย 1. จดหมายส่งตัว จะมีรายชื่อนักศึกษาทุกคนที่ไปฝึกงานหน่วยงานนั้น 2. สมุดบันทึกการฝึกงาน (คนละ 1 ชุด ) จะมีสมุดบันทึกการฝึกงานและการประเมินผลและหนังสือส่งตัวถึงหัวหน้างานที่ดูแลนักศึกษาจะเป็นผู้ประเมินผล
ตัวอย่างใบตอบรับนักศึกษาเข้ารับการฝึกประสบการณ์
ตัวอย่างสมุดบันทึกการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
ตัวอย่างสมุดบันทึกการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ หน้าประเมินผล
ข้อแนะนำการรายงานตัว จดที่อยู่+เบอร์โทรศัพท์+ชื่อผู้ประสานงานของบริษัท โทรสอบถามวัน เวลา สถานที่รายงานตัวกับบริษัท นัดหมายวันเวลา สถานที่รายงานตัวกับเพื่อน (ต่างภาค)
ข้อแนะนำการรายงานตัว (ต่อ) เตรียมหลักฐานต่างๆ ที่บริษัทกำหนด ศึกษาเส้นทางไปบริษัทล่วงหน้า รับจดหมายส่งตัวที่ฝ่ายวิชาการคณะฯ และสมุดบันทึกที่อาจารย์ที่ปรึกษา
ระหว่างการฝึกงาน นักศึกษาต้องเขียนบันทึกรายงานการ ฝึกงานประจำสัปดาห์ ให้ผู้ควบคุมงานลงนามรับรอง ทุกสัปดาห์ และนำข้อมูลไปแนบในเล่มรายงานด้วย
การประเมินผลการฝึกงาน ส่งสมุดบันทึกการปฏิบัติงานและรายงานสรุปผลการปฏิบัติงาน 1 ส่งสมุดบันทึกการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ทำรายงาน ส่งอาจารย์ที่ปรึกษา คนละ 1 เล่ม ทำการนำเสนอผลการฝึกงานในโครงการฝึกประสบการณ์วิชาชีพการออกแบบเครื่องแต่งกาย ส่งแบบประเมินผลการฝึกงานจากหน่วยงาน 2 นักศึกษาต้องได้รับการประเมินผลการฝึกงานจากหน่วยงานที่นักศึกษาฝึกงาน เมื่อการฝึกงานสิ้นสุดลงตามแบบฟอร์มซึ่งอยู่ในเล่มสมุดบันทึกการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ทำการนำเสนอผลการฝึกงาน 3 นักศึกษาต้องทำการนำเสนอผลการฝึกงานในโครงการฝึกประสบการณ์วิชาชีพการออกแบบเครื่องแต่งกาย
นักศึกษามีปัญหาในการฝึกงานสามารถติดต่ออาจารย์ที่ปรึกษาโดยตรง