เครื่องใช้ไฟฟ้า
เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นเครื่องอำนวยความสะดวกสบาย สามารถเปลี่ยนรูปพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานรูปอื่นๆ ตามความต้องการได้ เช่น เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานแสง พลังงานความร้อน พลังงานกล พลังงานเสียง ซึ่งผู้ใช้ต้องมีความรู้จึงจะเลือกใช้ไฟฟ้าได้อย่างมีคุณค่า ประหยัด และปลอดภัย
เครื่องไฟฟ้าที่ให้แสงสว่าง อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานแสงสว่าง คือ หลอดไฟฟ้า หลอดไฟฟ้าที่ใช้ในบ้านแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้ 1. หลอดไฟธรรมดาหรือหลอดไฟชนิดไส้ โดยนักวิทยาศาสตร์ ทอมัส แอลวา เอดิสัน เป็นผู้ประดิษฐ์หลอดไฟฟ้าใช้เป็นครั้งแรก ด้วยการใช้คาร์บอนเป็นไส้หลอด และได้พัฒนาปรับปรุงมาจนถึงปัจจุบันที่ใช้วัตถุชนิดอื่นทำเป็นไส้หลอด หลอดไฟธรรมดามีส่วนประกอบ ดังนี้ 1.1 หลอดแก้ว ทนความร้อนได้ดี ไม่แตกง่าย ภายในเป็นสุญญากาศ บรรจุแก๊สไนโตรเจน แก๊สอาร์กอนเล็กน้อยช่วยป้องกันการระเหิดและไส้หลอดระเบิด
1.2 ไส้หลอด ทำด้วยโลหะทังสเตน มีความต้านทานไฟฟ้าสูง จุดหลอมเหลวสูง หาง่าย ราคาถูก เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านไส้หลอดจะเกิดความร้อนสูงจนเปล่งแสงสว่างออกมาได้ ที่ฉลากหรือบนแผ่นป้ายจะมีข้อมูลระบุลักษณะเฉพาะของหลอดไฟ เช่น กำลังไฟฟ้า ให้สังเกตจำนวนวัตต์ (W) ที่หลอด
2. หลอดเรืองแสงหรือหลอดฟลูออเรสเซนต์ เป็นหลอดไฟที่มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนรูปพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานแสงได้สูงกว่าหลอดไฟธรรมดาให้ความสว่างมากกว่าหลอดไฟธรรมดาประมาณ 5 เท่า มีอายุการใช้งานมากว่ากว่าหลอดไฟธรรมดาถึง 8 เท่า และช่วยประหยัดพลังงานได้มากกว่าเมื่อเทียบกับหลอดชนิดไส้ที่กำลังไฟฟ้าเท่ากัน ส่วนประกอบของหลอดฟลูออเรสเซนต์มีดังนี้ 2.1 ตัวหลอดและขั้วหลอด ตัวหลอดทำด้วยแก้วทนความร้อน ภายในเป็นสุญญากาศ บรรจุไอปรอทและแก๊สอาร์กอนเล็กน้อย มีขั้ว 2 ขั้ว ที่ขั้วไฟฟ้าทั้งสองมีไส้หลอดที่ทำจากทังสเตน ผิวด้านในของหลอดฉาบไว้ด้วยสารเรืองแสง (fluorescent coating) เป็นสารเคมีที่เปล่งแสงได้เมื่อกระทบกับรังสีอัลตราไวโอเลต
สารเคมีที่ฉาบไว้ข้างหลอดต่างชนิดกันให้สีของแสงแตกต่างกัน เช่น ถ้าฉาบด้วยแมกนีเซียม ทังสเตน เรืองแสง ให้สีทองแกมฟ้า ถ้าฉาบด้วยซิงค์ซิลิเกตให้แสงสีเขียว 2.2 สตาร์ตเตอร์ ทำหน้าที่เป็นสวิตช์ตัดไฟอัตโนมัติ อาศัยหลักการขยายตัวของโลหะคู่เมื่อได้รับความร้อน เมื่อเปิดสวิตช์ กระแสไฟฟ้าจะไหลจากแผ่นโลหะคู่ผ่านแก๊สอาร์กอนในครอบแก้วไปยังโลหะตัวนำที่ปลายอีกข้างหนึ่ง ขณะที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านแก๊สอาร์กอนจะทำให้เกิดประกายไฟขึ้นมา และทำให้แผ่นโลหะคู่ร้อนขึ้นแล้วงอมาแตะกับอีกขั้วหนึ่งได้ ทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านแผ่นโลหะทั้งสองไปสู่ขั้วหลอดโดยไม่ผ่านแก๊สอาร์กอน จนกระทั่งหลอดไฟติดสว่าง ความร้อนบนแผ่นโลหะจะลดลง ทำให้แผ่นโลหะทั้งสองแยกออกจากกัน
2.3 แบลลัสต์ มีลักษณะโครงสร้างคล้ายหม้อแปลงไฟฟ้า คือมีขดลวดพันอยู่บนแกนเหล็ก ทำหน้าที่เหนี่ยวนำให้เกิดความต่างศักย์สูงที่ขั้วหลอด จนทำให้อิเล็กตรอนอิสระที่อยู่ในหลอดเคลื่อนที่ไปขนไอปรอทที่บรรจุในหลอด แล้วเกิดรังสีอัลตราไวโอเลต ทำให้สารเรืองแสงที่เคลือบอยู่บนหลอดเกิดการเรืองแสงขึ้น
การต่อวงจรไฟฟ้าของหลอดฟลูออเรสเซนต์ ส่วนประกอบของหลอดฟลูออเรสเซนต์
การทำงานของหลอดฟลูออเรสเซนต์
การทำงานของหลอดฟลูออเรสเซนต์ คือเมื่อกดสวิตซ์เพื่อเปิดไฟหรือปิดวงจรไฟฟ้า สตาร์ตเตอร์จะต่อวงจรไฟฟ้าอย่างรวดเร็ว ทำให้แบลลัสต์มีความต่างศักย์สูง ขณะเดียวกันขั้วไฟฟ้ามีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านไส้หลอดทั้งสองโดยไม่ผ่านสตาร์ตเตอร์ สตาร์ตเตอร์ตัดวงจรไฟฟ้าทำให้ไส้หลอดทั้งสองดับ แต่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านไส้หลอดได้ ทำให้อิเล็กตรอนพุ่งออกมาชนกับอะตอมของไอปรอท เกิดเป็นรังสีอัลตราไวโอเลตไปกระทบกับสารเรืองแสงที่ฉาบไว้ข้างหลอด สารเรืองแสงจะดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเลตแล้วปล่อยแสงสว่างออกมา
แผนผังการทำงานของหลอดฟลูออเรสเซนต์ ประสิทธิภาพของหลอดฟลูออเรสเซนต์ พลังงานไฟฟ้า ไอปรอท รังสีอัตราไวโอเลต สารเรืองแสง พลังงานแสงสว่าง ประสิทธิภาพของหลอดฟลูออเรสเซนต์ 1. ให้แสงสว่างมากกว่าหลอดไฟธรรมดาประมาณ 5 เท่า 2. มีอายุการใช้งานนานกว่าหลอดไฟธรรมดาประมาณ 8 เท่า 3. ให้แสงกระจายได้ทั่วถึง ไม่รวมเป็นจุด 4. มีหลายสีขึ้นอยู่กับสารเรืองแสงที่ฉาบไว้ 5. ไม่ร้อนมากเท่ากับหลอดไฟธรรมดา
รูปแบบของหลอดฟลูออเรสเซนต์ ปัจจุบันมีการพัฒนาหลอดฟลูออเรสเซนต์แบบใหม่อีก 2 แบบ คือ 1. หลอดฟลูออเรสเซนต์ที่มีประสิทธิภาพสูงหรือที่เรียกว่าหลอดผอม ซึ่งประหยัดพลังงานได้มากกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์ธรรมดา รูปแสดงหลอดฟลูออเรสเซนต์
2. หลอดคอมแพ็คฟลูออเรสเซนต์(CFL) หรือหลอดตะเกียบ มีราคาค่อนข้างแพง แต่คุ้มค่าในระยะยาว อีกทั้งประหยัดพลังงานได้มากกว่า และอายุการใช้งานก็มากกว่าด้วย รูปแสดงหลอดคอมแพ็คฟลูออเรสเซนต์
โดยทั่วไฟ หลอดคอมแพ็คฟลูออเรสเซนต์ มี 2 แบบ คือ แบบขั้วเกลียวและขั้วเสียบ 2.1 หลอด SL แบบขั้วเกลียว มีแบลลัสต์ในตัว มีขนาด 9, 13, 18 และ 25 วัตต์ ประหยัดไฟร้อยละ 75 เมื่อเทียบกับหลอดชนิดไส้ เหมาะกับสถานที่ที่เปิดไฟนานๆ หรือบริเวณที่เปลี่ยนหลอดยาก เช่น โคมไฟหัวเสา 2.2 หลอดตะเกียบ 4 แท่ง ขั้วเกลียว ขนาด 9,11,15 และ 20 วัตต์ มีแบลลัสต์อิเล็กทรอนิกส์ในตัว เปิดติดทันที ไม่กระพริบ ประหยัดไฟได้ร้อยละ 80 เมื่อเทียบกับหลอดชนิดไส้
2.3 หลอดตะเกียบตัวยู 3 ขด ขนาดกะทัดรัด 20 และ 23 วัตต์ กำจัดปัญหาหลอดยาวเกินโคมไฟ ประหยัดไฟได้ร้อยละ 80 ของหลอดชนิดไส้ 2.4 หลอดตะเกียบขั้วเสียบ แบลลัสต์ภายนอกขนาด 7, 9 และ 11 วัตต์ ประหยัดไฟร้อยละ 80 ของหลอดชนิดไส้ 2.5 หลอดตะเกียบ 4 แท่งขั้วเสียบ แบลลัสต์ภายนอก ขนาด 8, 10, 13, 18 และ 26 วัตต์ ประหยัดไฟร้อยละ 80 ของหลอดชนิดไส้
เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อน เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นความร้อน มีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ 1. ขดลวดความร้อน เช่น ลวดนิโครม เป็นลวดโลหะผสมระหว่างนิกเกิลกับโครเมียม เพื่อให้มีสมบัติด้านต้านทานไฟฟ้าสูง จุดหลอมเหลวสูง และเกิดความร้อนสูง 2. สวิตซ์ความร้อน หรือ ตัวควบคุมอุณหภูมิ (thermostat) ประกอบด้วยแผ่นโลหะคู่จึงโค้งงอเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ทำให้แยกออกจากจุดสัมผัส กระแสไฟฟ้าจึงไหลผ่านไม่ได้ เมื่อแผ่นโลหะเย็นลงจะเบนกลับมาตำแหน่งเดิม และสัมผัสกับจุดสัมผัสใหม่อีก
เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้พลังงานกล เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้พลังงานกลประกอบด้วยมอเตอร์และเครื่องควบคุมความเร็ว การทำให้เครื่องหมุนช้าหรือเร็วนั้นทำได้โดยการเพิ่มหรือลดความต้านทานภายในเครื่อง ซึ่งมีผลต่อปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านเครื่อง และทำให้ความเร็วเปลี่ยนไปได้
ตัวอย่างเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้พลังงานกล มอเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล ทำงานตรงกันข้ามกับไดนาโม
หลักการทำงานของมอเตอร์ 1. เมื่อให้กระแสไฟฟ้าผ่านขดลวดสี่เหลี่ยมที่อยู่ระหว่างแม่เหล็กที่หันขั้วต่างกันเข้าหากัน ขดลวดจะหมุนได้ 2. มอเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ประกอบด้วยมอเตอร์ทุกชนิด มอเตอร์ประกอบด้วยขดลวดในสนามแม่เหล็ก เมื่อให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านในขดลวดจะเกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้าเหนี่ยวนำขึ้นโดยรอบขดลวด ซึ่งจะผลักกับสนามแม่เหล็กถาวร ทำให้ขดลวดหมุนได้ เมื่อนำมอเตอร์ไปต่อกับเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น พัดลม ทำให้ใบพัดหรืออุปกรณ์ของเครื่องเกิดการเคลื่อนที่หรือหมุนได้ ซึ่งใช้ได้กับไฟฟ้ากระแสสลับหรือไฟฟ้ากระแสตรง
มอเตอร์เหนี่ยวนำ อาจเรียกว่า มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ เป็นมอเตอร์ที่ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เมื่อกระแสไฟฟ้าสลับเข้าสู่ขดลวดแม่เหล็กจะเกิดสนามแม่เหล็กชนิดสลับขึ้น เหนี่ยวนำให้เกิดกระแสไฟฟ้าในแท่งโลหะแกนหมุน กระแสไฟฟ้านี้มีผลให้เกิดสนามแม่เหล็กซึ่งจะผลักขั้วแม่เหล็กที่อยู่รอบ ๆ ทำให้แกนหมุนได้ มอเตอร์ชนิดนี้เป็นมอเตอร์ที่ไม่ต้องใช้แปรงให้ยุ่งยาก เป็นที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ในปัจจุบันที่มีข่าวในหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับอันตรายที่เกิดจากการใช้มอเตอร์มากมาย เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นการใช้งานประเภทบดหรือปั่น เช่น เครื่องบดหมู เครื่องบดน้ำพริก ซึ่งผู้ใช้ต้องใช้ให้ถูกวิธี และมีความระมัดระวังในการใช้งาน
ตัวอย่างเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้พลังงานกล
อุปกรณ์ที่สำคัญในเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานเสียงคือ 1. ไมโครโพน เป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลังงานเสียงเป็นสัญญาณไฟฟ้า 2. ลำโพง เป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าเป็นพลังงานเสียง เครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิดสามารถเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นเสียงและภาพได้พร้อมกัน เช่น โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์
เครื่องรับวิทยุ เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานเสียงโดยรับคลื่นวิทยุจากสถานีส่ง ภายในเครื่องรับจะมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขยายสัญญาณที่อยู่ในรูปของสัญญาณไฟฟ้าให้แรงขึ้นจนเพียงพอที่จะทำให้ลำโพงสั่นสะเทือนเป็นเสียง
เครื่องบันทึกเสียง เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานเสียงโดยใช้ไมโครโฟนเปลี่ยนเสียงพูดหรือเสียงร้องเป็นสัญญาณไฟฟ้า แล้วบันทึกสัญญาณไฟฟ้าลงแถบบันทึกเสียงในรูปของสัญญาณแม่เหล็ก เมื่อนำแถบบันทึกเสียงที่บันทึกมาเล่น สัญญาณแม่เหล็กจะถูกเปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้า แล้วขยายให้แรงขึ้นจนพอที่จะทำให้ลำโพงสั่นสะเทือนเป็นเสียงอีกครั้งหนึ่ง
เครื่องขยายเสียง เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานเสียงโดยใช้ไมโครโฟนเปลี่ยนเสียงพูดเป็นสัญญาณไฟฟ้า แล้วใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขยายสัญญาณเสียงที่อยู่ในรูปสัญญาณไฟฟ้าให้แรงขึ้นจนทำให้ลำโพงสั่นสะเทือนเป็นเสียง
เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานเสียงนั้น ในขั้นแรกต้องขยายสัญญาณไฟฟ้าให้มีพลังงานเพิ่มขึ้น จนสามารถทำให้เสียงออกทางลำโพงได้ ส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิด เช่น กระดิ่งไฟฟ้าหรือกริ่งไฟฟ้าจะใช้สนามแม่เหล็กดูดแผ่นโลหะให้สั่นและกระทบกันเกิดเป็นเสียงขึ้น โดยไม่ต้องขยายสัญญาณเสียง เครื่องใช้ไฟฟ้าสามารถเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานรูปอื่นได้หลายรูปแบบ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต่างชนิดกันในเวลาที่เท่ากัน ในการเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดต่างๆ สามารถทราบค่ากำลังไฟฟ้าได้จากตัวเลขที่กำกับไว้ที่เครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิด เช่น หลอดไฟฟ้ามีตัวเลขกำกับไว้ว่า 220 v 100 w มีความหมายดังนี้
ข้อความคำนึงในการเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า การสูญเสียพลังงานไฟฟ้า ควรเลือกใช้เครื่องใช้ ไฟฟ้าในบ้านที่มีกำลังไฟฟ้าเหมาะสมกับ การใช้งานจริง ข้อความคำนึงในการเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า ความปลอดภัย ควรเลือกใช้ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ผ่านการรับรอง คุณภาพจากสำนักงานมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่มี เครื่องหมาย มอก. ราคายุติธรรม เหมาะสม กับคุณภาพในการใช้งาน การบำรุงรักษา เป็นเครื่องใช้ ไฟฟ้าที่หาอะไหล่ทดแทนได้ ง่าย และสะดวกต่อการซ่อมบำรุง การใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน การติดตั้งไม่ยุ่งยาก
เทคนิคการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน
เทคนิคการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน
เทคนิคการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน
ความปลอดภัยในการใช้ไฟฟ้า อย่าปิด-เปิดสวิตซ์เครื่องใช้ไฟฟ้าขณะมือเปียก อย่าเดินสายไฟฟ้าลอด ใต้พรม ควรต่อสายเครื่องใช้ไฟฟ้า ลงดิน ความปลอดภัยในการใช้ไฟฟ้า อย่าแก้ปัญหาเรื่องไฟฟ้าเอง โดยไม่มีความรู้เกี่ยวกับไฟฟ้า อย่าใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า เปียกน้ำ ควรเปลี่ยนสายไฟฟ้าที่เก่าและใช้งานมานาน ติดตั้งเสาอากาศทีวีห่างจากสายไฟฟ้าไม่น้อยกว่า 3 เมตร อย่าดึงปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้า ขณะเครื่องใช้ไฟฟ้าทำงาน
การคำนวณเรื่องกำลังไฟฟ้า กำลังไฟฟ้า หมายถึง พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ใน 1 หน่วยเวลา ให้ P แทนกำลังไฟฟ้า มีหน่วยเป็นวัตต์ (W) หรือจูลต่อวินาที (J/s) W แทนพลังงานไฟฟ้า มีหน่วยเป็นจูล (J) T แทนเวลา มีหน่วยเป็นวินาที (s) แทนค่าตามคำนิยามจะได้
กำลังไฟฟ้า 1 วัตต์ จึงหมายถึง การใช้ไฟฟ้า 1 จูล ในเวลา 1 วินาที กำลังไฟฟ้าแปรผันตามปริมาณกระแสไฟฟ้า ให้ V แทนค่าความต่างศักย์ มีหน่วยเป็นโวลต์ (V) I แทนกระแสไฟฟ้า มีหน่วยเป็นแอมแปร์ (A) R แทนความต้านทาน มีหน่วยเป็นโอห์ม (Ω) จะได้ หรือ P = VI P = I2R
ตัวอย่าง กระแสไฟฟ้าไหลผ่านเข้าตู้เย็น 1 ตัวอย่าง กระแสไฟฟ้าไหลผ่านเข้าตู้เย็น 1.5 แอมแปร์ เมื่อตู้เย็นต่อเข้ากับความต่างศักย์ 220 โวลต์ ตู้เย็นใช้กำลังไฟฟ้าเท่าไร วิธีคิด จากสูตร P = VI เมื่อ I = 1.5 A V = 220 V, P = ? แทนค่า P = 220 x 1.5 = 330 W ตู้เย็นใช้กำลังไฟฟ้า 330 วัตต์
บ้านหลังหนึ่งใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าดังนี้ เตาไฟฟ้าขนาด 750 วัตต์ 1 เตา ตู้เย็นขนาด 150 วัตต์ 1 ตู้ หม้อหุงข้าว 1,000 วัตต์ 1 ใบ บ้านหลังนี้ใช้กระแสไฟฟ้ากี่แอมแปร์ จากสูตร P = VI หรือ กระแสไฟฟ้าที่ผ่านเตาไฟฟ้า = กระแสไฟฟ้าที่ผ่านตู้เย็น = กระแสไฟฟ้าที่ผ่านหม้อถุงข้าว = รวมกระแสไฟฟ้าที่ใช้ทั้งหมด = 3.41+0.68+4.55 = 8.64 A ดังนั้น บ้านหลังนี้ใช้กระแสไฟฟ้า 8.64 แอมแปร์ I =
ตัวอย่าง หลอดไฟหลอดหนึ่ง มีตัวเลขกำกับไว้ว่า 80 W 220 V จงหา ข. หลอดไฟฟ้านี้ใช้กับกระแสไฟฟ้ากี่แอมแปร์ ค. หลอดไฟฟ้านี้มีความต้านทานกี่โอห์ม วิธีคิด ก. 80 W 220 V หมายความว่า หลอดไฟฟ้าหลอดนี้มีกำลังไฟฟ้า 80 วัตต์ ใช้กับไฟฟ้ากระแสสลับมีแรงเคลื่อนไฟฟ้า 220 โวลต์ ซึ่งเป็นค่าความต่างศักย์ไฟฟ้า
ข. จากสูตร P = VI หรือ I = เมื่อ P = 80 W และ V = 220 V แทนค่า I = = 0.36 A หลอดไฟฟ้านี้ใช้กับกระแสไฟฟ้า 0.36 แอมแปร์
ข. จากสูตร P = หรือ R = เมื่อ V = 220 V และ P = 80 W แทนค่า R = = 605 Ω หลอดไฟฟ้านี้มีความต้านทาน 605 โอห์ม
ตัวอย่าง หลอดไฟฟ้าหลอดหนึ่งมีความต้านทาน 100 โอห์ม เมื่อนำมาต่อกับความต่างศักย์ 110 โวลต์ หลอดไฟฟ้านี้ใช้กำลังไฟฟ้าเท่าไร วิธีคิด จากสูตร P = เมื่อ V = 110 V และ R = 100 Ω แทนค่า R = = 121 W หลอดไฟฟ้านี้ใช้กำลังไฟฟ้า 121 วัตต์
การคำนวณหาค่าความต่างศักย์ไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า และค่ากำลังไฟฟ้า V I P (วัตต์) (โวลต์) (แอมแปร์) P = VI หน่วยเป็นวัตต์ (W) V = หน่วยเป็นโวลต์ (V) I = หน่วยเป็นแอมแปร์ (A)