งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ฟิสิกส์ (Physics) By Aueanuch Peankhuntod.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ฟิสิกส์ (Physics) By Aueanuch Peankhuntod."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ฟิสิกส์ (Physics) By Aueanuch Peankhuntod

2 การประเมินผลรายวิชาฟิสิกส์พื้นฐาน (ว 31101)
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 อัตราส่วนคะแนน ( 70 : 30 ) งานที่ได้รับมอบหมาย % สอบย่อย % สอบกลางภาค % สอบปลายภาค % รวม %

3 Physics บทนำ การเคลื่อนที่แบบต่างๆ สนามของแรง คลื่น
1 บทนำ 2 การเคลื่อนที่แบบต่างๆ 3 สนามของแรง 4 คลื่น 5 กัมมันตภาพรังสีและพลังงานนิวเคลียร์

4 บทนำ Introduction ปริมาณทางฟิสิกส์และหน่วย การทดลองในวิชาฟิสิกส์
ปริมาณสเกลาร์และปริมาณเวกเตอร์

5 วิทยาศาสตร์ (Science)
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ (biological science) คือ การศึกษาเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต เช่น พืช และสัตว์ วิทยาศาสตร์ (Science) วิทยาศาสตร์กายภาพ (physical science) คือ การศึกษาเกี่ยวกับสิ่งไม่มีชีวิต เช่น ฟิสิกส์ เคมี ธรณีวิทยา และดาราศาสตร์ เป็นต้น

6 ทำไมจึงต้องศึกษาฟิสิกส์ ???

7 ฟิสิกส์ (Physics) มาจากภาษากรีก แปลว่าธรรมชาติ เป็นแขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์กายภาพ ศึกษาเกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ สิ่งไม่มีชีวิต คุณสมบัติและอัตรกิริยาของสสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับขนาด เวลา อุณหภูมิ พลังงานและการแผ่รังสี

8 ปริมาณทางฟิสิกส์และหน่วย
ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาด้านฟิสิกส์ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data) เป็นข้อมูลที่ได้จากการสังเกตตามขอบเขตการรับรู้ เช่น รส, รูป, กลิ่น และสี เป็นต้น 2. ข้อมูลเชิงกายภาพ (Quantitative Data) เป็นข้อมูลที่ได้จากการวัดปริมาณต่างๆ ของระบบที่เรากำลังศึกษาโดยใช้เครื่องมือวัดและวิธีวัดที่ถูกต้อง ทำให้ได้ข้อมูลออกมาเป็นเชิงตัวเลข เช่น ระยะทาง, เวลา, มวล และอุณหภูมิ เป็นต้น

9 ข้อมูลเชิงคุณภาพ ( Qualitative data )
กลิ่น รูปทรง รส สี

10 ข้อมูลเชิงปริมาณ ( Quantitative data )
ระยะทาง มวล เทอร์มอมิเตอร์ บารอมิเตอร์, มาตรความดันบรรยากาศ

11 การวัด และ ความละเอียดในการวัด
ในการวัดปริมาณแต่ละครั้ง ต้องเลือกใช้เครื่องมือซึ่งมีความละเอียดให้เหมาะสมกับสิ่งที่จะวัด ไม้บรรทัด ความละเอียดสเกล = 1 mm ความละเอียดการอ่าน = 0.1 mm (เหมาะกับการวัดความกว้างของหนังสือ เป็นต้น)

12 การวัด และ ความละเอียดในการวัด
เวอร์เนีย ความละเอียดการอ่าน = 0.1 mm (เหมือนไม้บรรทัด แต่เวอร์เนียจะแม่นยำกว่าไม้บรรทัด) ไมโครมิเตอร์ ความละเอียดการอ่าน = 0.01 mm (เหมาะกับการวัดความหนาของแผ่น CD เป็นต้น)

13 ตัวอย่าง 1 . จากรูป ควรบันทึกความยาวของดินสอเป็นเท่าใด
1. 5 ซม ซม. ซม 4. ถูกทุกข้อ ตอบ ข้อ 3 2. (มช 42) นายแดงวัดเส้นผ่านศูนย์กลางของเหรียญอันหนึ่งได้เท่ากับ เซนติเมตร นักเรียนคิดว่านายแดงใช้เครื่องมือชนิดไหนวัดเหรียญอันนี้ 1. ไมโครมิเตอร์ 2. เวอร์เนียร์ 3. ตลับเมตร 4. ไม้บรรทัด ตอบ ข้อ 1

14 เลขนัยสำคัญ เลขนัยสำคัญ คือ เลขที่ได้จากการอ่านค่าการวัดจากเครื่องมือวัดแบบสเกลโดยตรง รวมกับตัวเลขที่ได้จากการประมาณอีก 1 ตัว ตามหลักการบันทึกตัวเลขที่เหมาะสม เช่น เซนติเมตร 145.3 เป็นตัวเลขที่ได้จากการวัด 0.05 เป็นตัวเลขที่ได้จากการคาดคะเน

15 หลักในการนับจำนวนตัวของเลขนัยสำคัญ

16 การบวก และลบ เลขนัยสำคัญ
วิธีการ “ให้บวกลบตามปกติ แต่ผลลัพธ์ที่ได้ต้องมีจำนวนทศนิยม เท่ากับจำนวนทศนิยมของตัวตั้งที่มีจำนวนทศนิยมน้อยที่สุด” เช่น – = ตอบ 5.3 การคูณ และ หาร เลขนัยสำคัญ วิธีการ “ให้คูณ หรือ หารตามปกติ แต่ผลลัพธ์ที่ได้ต้องมีจำนวนตัวเลขนัยสำคัญเท่ากับจำนวนเลขนัยสำคัญของตัวตั้งที่มีจำนวนเลขนัยสำคัญน้อยที่สุด” เช่น x 2.0 = ตอบ 6.5

17 วิธีการปัดเศษเลขคู่ มีหลักการดังนี้
วิธีการปัดเศษเลขคู่ มีหลักการดังนี้ 1) ตัวเลขถัดไปถ้ามากกว่า 5 ให้ปัดขึ้น 2) ตัวเลขถัดไปถ้าน้อยกว่า 5 ให้ปัดลง 3) ตัวเลขถัดไปถ้าเท่ากับ 5 ให้พิจารณาตัวเลขต่อไป ถ้าตัวเลขถัดไปไม่ใช่ 0 ทั้งหมด ให้ปัดขึ้น ถ้าตัวเลขถัดไปเป็น 0 ทั้งหมด (หรือไม่มีแล้ว) ให้ดูตัวเลขที่อยู่ก่อนหน้า 5 หากเป็นเลขคี่ให้ปัดขึ้น หรือหากเป็นเลขคู่ให้ปัดลง

18 ตัวอย่าง 3.016 ปัดเศษในทศนิยมตำแหน่งที่สองจะได้ 3.02 (เพราะตัวเลขถัดไปคือ 6 มากกว่า 5) 3.013 ปัดเศษในทศนิยมตำแหน่งที่สองจะได้ 3.01 (เพราะตัวเลขถัดไปคือ 3 น้อยกว่า 5) 3.015 ปัดเศษในทศนิยมตำแหน่งที่สองจะได้ 3.02 (เพราะตัวเลขถัดไปคือ 5 และตัวเลขก่อนหน้านั้นคือ 1 เป็นเลขคี่) 3.045 ปัดเศษในทศนิยมตำแหน่งที่สองจะได้ 3.04 (เพราะตัวเลขถัดไปคือ 5 และตัวเลขก่อนหน้านั้นคือ 4 เป็นเลขคู่) ปัดเศษในทศนิยมตำแหน่งที่สองจะได้ 3.05 (เพราะตัวเลขถัดไปคือ 5 และตัวเลขถัดไปไม่ใช่ 0 ทั้งหมด)

19 5. จงหาผลลัพธ์ของคำถามต่อไปนี้ตามหลักเลขนัยสำคัญ 4.36 + 2.1 – 0.002
4. (มช 34) นักเรียนคนหนึ่งบันทึกตัวเลขจากการทดลองเป็น กิโลกรัม , 8.20 x 10–2 เมตร , 25.5 เซนติเมตร และ 8.00 วินาที จำนวนเหล่านี้มีเลขนัยสำคัญกี่ตัว 1 ตัว ข. 2 ตัว ค. 3 ตัว ง. 4 ตัว 5. จงหาผลลัพธ์ของคำถามต่อไปนี้ตามหลักเลขนัยสำคัญ – 0.002 ก. 6 ข ค ง 6. (มช 44) ขนมชิ้นหนึ่งมีมวล 2.00 กิโลกรัม ถูกแบ่งออกเป็นสี่ส่วนเท่ากันพอดี แต่ละส่วนจะมีมวลกี่กิโลกรัม ก ข ค ง ตอบ ข้อ 3 ตอบ ข้อ 2 ตอบ ข้อ 3

20 ปริมาณทางฟิสิกส์ (Physical Quantity) และหน่วย (Unit)
องค์การระหว่างชาติเพื่อการมาตรฐาน (ISO หรือ International Organization for Standardization) ได้กำหนดระบบหน่วยมาตรฐาน คือ ระบบเอสไอ (SI : Systeme International of Unites) ให้ทุกประเทศใช้กันทั่วโลกแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ หน่วยฐาน (Base Unit) หน่วยอนุพันธ์ (Derived Unit) และหน่วยเสริม (Supplementary Units)

21 ปริมาณทางฟิสิกส์ หน่วยฐาน (Base Unit) คือ ปริมาณขั้นต้นที่จำเป็นต่อการอธิบายปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์มี 7 ปริมาณ ดังตาราง ปริมาณ ชื่อหน่วย สัญลักษณ์ มวล (Mass) กิโลกรัม (kilogram) kg ความยาว (Length) เมตร (meter) m เวลา (Time) วินาที (second) s จำนวนสาร โมล (mole) mol อุณหภูมิเชิงอุณหพลศาสตร์ เคลวิน (kelvin) K กระแสไฟฟ้า (Electric Current) แอมแปร์ (ampare) A ความเข้มของการส่องสว่าง แคนเดลา (candela) cd

22 ปริมาณทางฟิสิกส์ หน่วยอนุพันธ์ (Derived Unit) คือ ปริมาณที่เกิดขึ้นจากการนำหน่วยฐานมารวมกัน แสดงตัวอย่างดังตาราง ปริมาณ ชื่อหน่วย สัญลักษณ์ มาจากหน่วยพื้นฐาน ความเร็ว (Velocity) เมตรต่อวินาที m/s ความเร่ง (Acceleration) เมตรต่อวินาที2 m /s2 แรง (Force) นิวตัน (newton) N kg m/s2 งาน (Work) จูล (joule) J kg m2/s2 กำลัง (Power) วัตต์ (watt) W kg m2/s3 (J/s) ความดัน (Pressure) พาสคัล (pascal) Pa kg /ms (N/m2)

23 ปริมาณทางฟิสิกส์ หน่วยเสริม (Supplementary Units)
1. เรเดียน (Radian ; rad) คือ มุมที่จุดศูนย์กลางของมุมที่รองรับ ความยาวของส่วนโค้งที่มีความยาวเท่ากับรัศมี เป็นหน่วยวัดมุมในระนาบ 2. สเตอเรเดียน (Steradian ; sr) คือ มุมที่จุดศูนย์กลางของทรงกลมที่รองรับพื้นที่ผิวโค้ง ที่มีพื้นที่เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีความยาวด้านเท่ากับรัศมี เป็นหน่วยวัดมุมตัน

24 คำอุปสรรคในระบบ SI คำอุปสรรค คือ คำที่ใช้แทนตัวพหุคูณที่อยู่หน้าหน่วยฐานหรือหน่วยอนุพันธ์ที่มีค่ามากเกินไปหรือน้อยเกินไป คำอุปสรรค ตัวพหุคูณ สัญลักษณ์ เอกซะ (exa) 1018 E เพตะ (peta) 1015 P เทอรา (tera) 1012 T จิกะ (giga) 109 G เมกกะ (mega) 106 M กิโล (kilo) 103 k เฮกโต (hecto) 102 H เดคา (deka) 101 Da คำอุปสรรค ตัวพหุคูณ สัญลักษณ์ เดซิ (deci) 10-1 d เซนติ (centi) 10-2 c มิลลิ (milli) 10-3 m ไมโคร (micro) 10-6 นาโน (nano) 10-9 n พิโค (pico) 10-12 p เฟมโต (femto) 10-15 f อัลโต (atto) 10-18 a

25 การเปลี่ยนเลขทศนิยมเป็นเลขยกกำลังฐานสิบ
1000 ระดับขนาดเป็น 103 100 ระดับขนาดเป็น 102 ระดับขนาดเป็น 101 ระดับขนาดเป็น 10-1 0.01 ระดับขนาดเป็น 10-2 ระดับขนาดเป็น 10-3

26 เลขยกกำลังและ การเขียนตามหลักวิทยาศาสตร์

27 การเปลี่ยนหน่วย 1. เปลี่ยนตัวเลขของหน่วยให้อยู่ในรูปเลขดัชนีฐานสิบ (เลขยกกำลัง) 2. เปลี่ยนคำอุปสรรคคูณหน้าหน่วยหลักหรือหน่วยอนุพันธ์เป็นตัวพหุคูณนำมาคูณกับข้อ 1 3. ต้องการเปลี่ยนหน่วยใดให้เอาหน่วยนั้นมาหาร 4. หาคำตอบโดยการย้ายขึ้นไปคูณ เครื่องหมายเปลี่ยนเป็นตรงข้าม

28 2. เรือลำหนึ่งแล่นด้วยความเร็ว 72 กิโลเมตร/ชั่วโมง มีค่ากี่เมตร/วินาที
สูตรลัด = อุปสรรคตอนแรก อุปสรรคที่จะเปลี่ยน ตัวอย่าง 1. วัตถุมวล กรัม มีค่ากี่กิโลกรัม, กี่ไมโครกรัม, กี่มิลลิกรัม จงหาคำตอบ 2. เรือลำหนึ่งแล่นด้วยความเร็ว 72 กิโลเมตร/ชั่วโมง มีค่ากี่เมตร/วินาที 3. พื้นที่ 1 ตารางเมตร มีค่ากี่ตารางเซนติเมตร


ดาวน์โหลด ppt ฟิสิกส์ (Physics) By Aueanuch Peankhuntod.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google