กรณีตัวอย่างทางเลือกด้าน CT การควบคุมการใช้กรดซัลฟุริก ในอุตสาหกรรมผลิตน้ำยางข้น
สภาพการทำงานที่พบในระหว่างการตรวจประเมิน ในการตกตะกอนหางน้ำยาง พนักงานจะทำการเทกรด ซัลฟุริกลงในถังเพื่อเร่งให้หางน้ำยางจับตัว โดยอาศัยความเคยชิน และใช้ไม้กวนให้กรดผสมกับหางน้ำยาง แล้วจึงโกยยางที่จับตัวลอยขึ้นมาที่ผิวหน้าออกไป น้ำที่เหลือจึงปล่อยเข้าสู่บ่อดักยาง
ข้อเสนอทางเลือกด้าน CT ควบคุมการใช้กรดในถัง ให้หางน้ำยางจับตัว ให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม โดยจัดทำกราฟของการไตเตรชัน ที่ปริมาณแอมโมเนียต่างๆ กัน และเติมกรดตามที่ต้องใช้จริงในแต่ละครั้ง
การศึกษาความเป็นไปได้ทางเทคนิค เป็นหลักการควบคุมการปฏิบัติงานที่ใช้อยู่ทั่วไป โรงงานมีศักยภาพที่จะทำได้ ไม่มีข้อจำกัดอื่นๆ ในด้านเทคนิค
การศึกษาความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ ค่าใช้จ่ายในการลงทุน 7,000 บาท (เครื่องวัด pH แบบมือถือ และค่าจัดทำกราฟการไตเตรทหางน้ำยาง) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานแต่ละครั้ง 50 บาท (ค่าเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจแอมโมเนีย) ค่าใช้จ่ายที่ประหยัดได้ต่อครั้ง 360 บาท (ค่ากรดที่ประหยัดได้ในการตกตะกอนแต่ละครั้ง) คืนทุนหลังจากทำการตกตะกอนไปแล้ว 23 ครั้ง (คิดจาก 7,000/(360-50) ครั้ง)
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
กรณีตัวอย่างทางเลือกด้าน CT การใช้งานชุดผลิตน้ำอ่อนอย่างถูกวิธี
สภาพการทำงานที่พบในระหว่างการตรวจประเมิน โรงงานทำการล้างเรซิ่นในชุดผลิตน้ำอ่อนโดยใช้เกลือ 100 กิโลกรัม/การล้างหนึ่งครั้ง ใช้เวลาในการล้าง 15 นาที มีระยะเวลาการใช้งานก่อนการล้างครั้งต่อไป 8 ชั่วโมง
ข้อเสนอทางเลือกด้าน CT ใช้เกลือในการล้างที่ความเข้มข้น 10% หรือประมาณ 125 กิโลกรัม/การล้างหนึ่งครั้ง เพิ่มเวลาในการล้างเป็น 30 นาที ได้ระยะเวลาการใช้งานเพิ่มเป็น 24 ชั่วโมง
การศึกษาความเป็นไปได้ทางเทคนิค เป็นหลักการล้างเรซิ่นที่ถูกต้อง ที่ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 30 นาที เป็นการปรับเปลี่ยนการทำงาน โรงงานมีศักยภาพที่จะทำได้ ไม่มีข้อจำกัดอื่นๆ ในด้านเทคนิค หรืออุปกรณ์
การศึกษาความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ ค่าใช้จ่ายในการลงทุน ไม่มี ค่าใช้จ่ายที่ประหยัดได้ 385 บาท/24 ชม. (ค่าเกลือ 175 กก./วัน x 2.2 บาท/กก. ยังไม่รวม ค่าน้ำ ค่าแรง และเวลาที่ประหยัดได้) ระยะเวลาคืนทุน ทันที
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
ตัวอย่าง ของทางเลือกด้าน CT ประเภทต่างๆ
ในการทำความสะอาดพื้นโรงงาน ให้เก็บกวาดเศษวัสดุที่พื้นก่อนใช้น้ำฉีดไล่ ตรวจสอบการรั่วไหลของข้อต่อต่างๆ ทั้งท่อน้ำดิบ น้ำอ่อน น้ำร้อน น้ำเย็น และทำการซ่อมแซมทันที ตรวจสอบการทำงานของลูกลอยต่างๆ อยู่เสมอว่าใช้งานได้ดีอยู่ ใช้หัวฉีดน้ำแรงดันสูง ในที่ที่ใช้ได้
หลีกเลี่ยงการล้างแบบน้ำล้น ควรใช้การล้างแบบสวนทางจะประหยัดที่สุด วางแผนการผลิตให้เกิดการล้างน้อยที่สุด ไม่ควรเปลี่ยนชนิดของผลิตภัณฑ์บ่อยเกินไป ตรวจสอบคุณภาพน้ำที่ใช้ และใช้น้ำให้ถูกประเภท
หุ้มฉนวนท่อน้ำร้อน น้ำเย็น และซ่อมแซมฉนวนเมื่อเสียหาย พิจารณาการนำน้ำคอนเดนเสท กลับมาใช้ใหม่ หลีกเลี่ยงการใช้ไอน้ำโดยตรง โดยใช้การแลกเปลี่ยนความร้อนทางอ้อมในที่ที่เป็นไปได้ น้ำหล่อเย็นเครื่องจักร ควรพิจารณานำกลับมาใช้ซ้ำ
กระบวนการล้างที่มีการใช้ กรดและด่าง ไม่ควรใช้แล้วทิ้ง ควรพิจารณาการนำกลับมาใช้ซ้ำโดยอาศัยการเติม กรดและด่างเพิ่มให้ได้ความเข้มข้นที่ต้องการ สำหรับวัตถุดิบที่มีน้ำหนักเบา ฟุ้งกระจาย ควรมีระบบดักวัตถุดิบเพื่อลดความสูญเสีย พิจารณาติดตั้งมาตรวัดน้ำ ในจุดสำคัญที่สามารถบอกถึงความสูญเสีย และประสิทธิภาพการผลิต หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีที่มีอันตราย หรือก่อให้เกิดปัญหาตามมา
จัดหาคู่มือการทำงาน ให้พร้อมใช้งาน บำรุงรักษาเครื่องจักร ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานอยู่เสมอ หมั่นตรวจสอบสภาพของหม้อไอน้ำอย่างสม่ำเสมอ เมื่อโรงงานมีการผลิตที่ต่ำกว่ากำลังการผลิตมาก ควรพิจารณาวางแผนการผลิตให้สอดคล้อง เพื่อให้มีความสูญเสียน้อยที่สุด
ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสม ปิดไฟเมื่อไม่ใช้ และพิจารณาการให้แสงสว่างเฉพาะจุด กระจายสวิตซ์เปิด-ปิดไฟ ให้กระจายไปตามจุดที่มีการใช้งาน และเปลี่ยนไปใช้หลอดประหยัดไฟเมื่อหลอดเดิมหมดอายุ หมั่นทำความสะอาดหลอดไฟ และแผ่นสะท้อนแสงอยู่เสมอ
สรุป ประโยชน์ของ CT เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุนการผลิต ลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ต้นทาง เกิดภาพพจน์ที่ดี เกิดความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน
สรุป ปัจจัยที่จะทำให้ CT ยั่งยืน การสนับสนุนจากผู้บริหาร การทำงานเป็นทีม ความมุ่งมั่นในการแก้ปัญหา การสื่อสาร การฝึกอบรม แรงจูงใจ
สรุป บทบาทของผู้บริหารในการทำ CT
โทร. 281-2010 โทรสาร 281-7287 e-mail : ctu@diw.go.th ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ… กลุ่มงานเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาด โทร. 281-2010 โทรสาร 281-7287 e-mail : ctu@diw.go.th