กลุ่มงานบริหารลูกจ้างและพนักงานราชการ กลุ่มบริหารงานบุคคล สป.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
สำนักมาตรฐานด้านการบัญชีภาครัฐ
Advertisements

แนวทางการบริหารงบประมาณ
การจัดสรรตำแหน่งและการ คัดเลือก เพื่อบรรจุลูกจ้างชั่วคราวเข้า รับราชการ.
โดย... กอง บริหารงาน บุคคล วันพุธที่ 12 พฤษภาคม พ. ศ ณ ห้อง ประชุมสภาชั้น 4 อาคารทีปวิชญ์
นักทรัพยากรบุคคล ชำนาญการพิเศษ
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ
การพัฒนาหลักเกณฑ์การจ่าย Pay per performance : P4P
นางพจนีย์ ขจร ปรีดานนท์ โยธาธิการและผังเมือง จังหวัด นายทวีศักดิ์ สุริยะสิงห์ หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ โยธาธิการ ( ว่าง ) หัวหน้าฝ่ายบริหารงาน ทั่วไป นายปรีชา.
ประชุมจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาบริการกลุ่มวัยรุ่น ปี 2558 วันที่ 15 มิถุนายน 2558 ณ ห้องประชุมสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ จำกัด.
การประเมินผลโครงการ คปสอ.คลองใหญ่.
การต่อเวลาราชการ 65 ปี สังกัดมหาวิทยาลัยขอนแก่น งานบริหารงานบุคคล กองการ เจ้าหน้าที่ สำนักงานอธิการบดี
การจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบ พัสดุ ประกาศคณะรักษาความรักษา ความสงบแห่งชาติ การซื้อและ การจัดจ้างด้วยระบบ อิเล็กทรอนิกส์ (e – GP) และการบริหาร งบประมาณ ขององค์กรปกครองส่วน.
การปฐมนิเทศ ข้าราชการใหม่ “ หลักสูตรการเป็น ข้าราชการที่ดี ” เขตสุขภาพที่ 2 ประจำปีงบประมาณ พ. ศ ประจำปีงบประมาณ พ. ศ CHRO ณ 26 พค
1 ตัวชี้วัดที่ 10 ระดับความสำเร็จของการพัฒนา สมรรถนะของบุคลากร ตัวชี้วัดที่ 12 ระดับความสำเร็จของการพัฒนา ปรับปรุงวัฒนธรรมองค์การ หน่วยงานกำกับ : กองการเจ้าหน้าที่
ขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ
เกณฑ์การประเมินเพื่อ เลื่อนระดับสูงขึ้น
แนวปฏิบัติทางบัญชีสิ้นปีงบประมาณ
วิชากฎหมายอาคาร รหัสวิชา ท-ป-น (2-0-2) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปวช.2556 ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม สาขาวิชาช่างก่อสร้าง สาขาวิชาช่างโยธา.
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
วาระที่ สรุปผลการปฏิบัติงาน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2559
การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน (Quality of Work Life)
มาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพ
แบบฟอร์มที่ 2 ลักษณะสำคัญขององค์การ
เรื่อง ความพึงพอใจต่อการให้บริการห้องสมุด
One Point Lesson (OPL).....บทเรียนประเด็นเดียว
โดย นายทรงเกียรติ ตาตะยานนท์ ผู้อำนวยการส่วนจัดการงบประมาณ
กรณีศึกษา : นักเรียน ระดับ ปวช.2 สาขาวิชาการบัญชี
กรอบอัตรากำลังของบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2)
ข่าวประชาสัมพันธ์สำนักงานเกษตรจังหวัดสุโขทัย
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การปฏิบัติราชการของส่วนราชการระดับหน่วยงานภายใน ประจำปีงบประมาณ พ. ศ
วาระที่ 3.4 แนวทางการปฏิบัติงานโครงการตามนโยบาย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
แนวทางปฏิบัติ กรมป่าไม้
กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ งานบริหารและธุรการ คณะบริหารธุรกิจ
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์.
แนวทางใหม่ในการบริหารงานบุคคล ลูกจ้างประจำเงินรายได้
ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตทำงาน และการอนุญาตให้ทำงานตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.
ขั้นตอน วิธีการ ดำเนินการ การนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ ภายใต้ MOU นำเข้า MOU 4 Nov 16.
แนวทางการบริหารการจัดเก็บ ข้อมูลเพื่อการพัฒนาชุมชน ปี 2561
งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร & งานข้อมูลข่าวสาร
กำหนดกรอบระยะเวลาการขึ้นทะเบียนปี2556/57 1. ข้าว
กลุ่มเกษตรกร.
KMA หมวด 6 การจัดการกระบวนการ.
การให้เงินช่วยเหลือหรืออุดหนุน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน
พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณและการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ มีนาคม 2560.
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
วาระที่ ผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเตรียมความพร้อมบุคลากร สำนักแผนงานและโครงการพิเศษเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน ของหน่วยงานในพื้นที่
ณ ห้องประชุมกำธร สุวรรณกิจ
ชั้น G ปารีส ศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 โคราช
ปี 2560 ปฏิทินการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส
ความคืบหน้าการจ้างลูกจ้างชั่วคราว เป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข (พกส.)
พรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน(ฉบับที่ 2 ) พ.ศ ให้ใช้
แนวปฏิบัติ การจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ
แบบฟอร์มที่ 2 ลักษณะสำคัญขององค์การ
จังหวัดสมุทรปราการ.
สวัสดิการและสิทธิประโยชน์เกื้อกูลลูกจ้างชั่วคราว พ.ศ. 2545
การบรรจุแต่งตั้งและอัตราเงินเดือน
การประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบ ภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.
กรมมีผลการปฏิบัติงานที่ดี เกษตรกรได้รับประโยชน์
ขั้นตอนการประเมินลูกจ้างชั่วคราวเงินบำรุง
การจัดการความรู้ สำนักชลประทานที่ 15
การจัดการความรู้ด้านงานสนับสนุน
การจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้าง
การจัดการภาครัฐ และภาคเอกชน Public and private management
การสรรหาข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา
บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

กลุ่มงานบริหารลูกจ้างและพนักงานราชการ กลุ่มบริหารงานบุคคล สป. ระบบพนักงานราชการ พรพรรณ สุนาพันธ์ อารมย์ บุญรอต กลุ่มงานบริหารลูกจ้างและพนักงานราชการ กลุ่มบริหารงานบุคคล สป.

“พนักงานราชการ” หมายถึง บุคคลซึ่งได้รับการจ้างตามสัญญาจ้างโดยได้รับค่าตอบแทนจากเงินงบประมาณของส่วนราชการ เพื่อเป็นพนักงานของรัฐในการปฏิบัติงานให้กับส่วนราชการ 2

ได้รับอนุมัติกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการ พนักงานราชการได้มาอย่างไร ได้รับอนุมัติกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการ จากคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการทุก ๆ 4 ปี * มาจากตำแหน่งลูกจ้างประจำว่างลงระหว่างปี โดยหักตำแหน่งจ้างเหมาบริการ 5 ตำแหน่ง คือ พนักงานทั่วไป คนสวน พนักงานสถานที่ พนักงานรักษาความปลอดภัย พนักงานขับรถยนต์ * ของบประมาณประจำปี และอัตราตั้งใหม่ * ได้รับอนุมัติงบประมาณประจำปี * จัดสรรให้ส่วนราชการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 3 3

รวมได้รับการจัดสรรและจัดจ้างจำนวน 2,546 อัตรา = 606 อัตรา = 652 อัตรา = - อัตรา = 1,288 อัตรา 2553 = - อัตรา รวมได้รับการจัดสรรและจัดจ้างจำนวน 2,546 อัตรา 4

จำนวนพนักงานราชการในสังกัด สป. ณ วันที่ 10 สิงหาคม 2553 ส่วนราชการ จำนวน (อัตรา) ส่วนกลาง 25 ราชการบริหารส่วนกลาง ที่ตั้งอยู่ในภูมิภาค 10 ส่วนภูมิภาค 2,511 รวมทั้งสิ้น 2,546 5 5

สป. จะได้รับจัดสรรอัตราตั้งใหม่ จำนวน 1,000 กว่าอัตรา ในปีงบประมาณ 2554 สป. จะได้รับจัดสรรอัตราตั้งใหม่ จำนวน 1,000 กว่าอัตรา ขณะนี้อยู่ระหว่างรอ พรบ. งบประมาณประจำปี 2554 ประกาศใช้ 6 6

ลาออกในระหว่างสัญญาจ้าง กระบวนการดำเนินงาน จัดสรร พนักงานราชการ สรรหา พนักงานราชการ สิ้นสุดสัญญาจ้าง/ ลาออกในระหว่างสัญญาจ้าง พนักงานราชการ เครื่องราช อิสริยาภรณ์ จ้าง/ทำสัญญา พนักงานราชการ สวัสดิการ และสิทธิประโยชน์ ประเมินผล การปฏิบัติงาน ต่อสัญญาจ้าง เลิกจ้าง เลื่อนค่าตอบแทน ประจำปี 7 7

จัดสรรพนักงานราชการ

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จัดสรรตำแหน่งพนักงานราชการ ให้ส่วนราชการดำเนินการดังนี้ 9

ขั้นตอนการดำเนินงาน แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการจัดสรรตำแหน่งและอัตราพนักงานราชการ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาจัดสรรและกำหนดตำแหน่งให้หน่วยงานในสังกัด พร้อมกำหนดระยะเวลาการจ้าง วางแผนการดำเนินการสรรหาและเลือกสรร และระยะเวลาการจ้างพร้อมรายงาน ตำแหน่งพนักงานราชการที่ส่วนราชการจะจัดจ้างให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขรับทราบ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขตอบรับทราบและให้ส่วนราชการดำเนินการต่อไป

การจัดสรรและการกำหนดตำแหน่ง ปัญหาที่พบ แนวทางปฏิบัติ การกำหนดตำแหน่ง หน่วยงานจะให้ความสำคัญกับตัวบุคคลเป็นหลัก โดยไม่ได้วิเคราะห์ความจำเป็นของภารกิจอย่างแท้จริง โดยเฉพาะภารกิจที่มีความจำเป็นและเป็นประโยชน์กับหน่วยงาน - หน่วยงานต้องยึดหลักความจำเป็น ความขาดแคลน และประโยชน์ที่หน่วยงานได้รับเป็นสำคัญ และ - เป็นไปตามโครงสร้างตำแหน่งข้าราชการของส่วนราชการ ตามหนังสือสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ สธ 0201.032/ว 76 ลงวันที่ 29 มิถุนายน 2547 ขณะนี้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขอยู่ระหว่างการดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างเพื่อนำเสนอ อกพ. กระทรวง 11

กฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์ ที่เกี่ยวข้อง สรรหาพนักงานราชการ กฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์ ที่เกี่ยวข้อง * ประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการสรรหาและเลือกสรรพนักงานราชการและแบบสัญญาจ้างของพนักงานราชการ พ.ศ. 2552 * คู่มือการดำเนินการสรรหาและเลือกสรรพนักงานราชการ สามารถ Download ได้ที่เว็ปไซต์ ก.พ. http://www.ocsc.go.th ที่ระบบพนักงานราชการ (เอกสารเผยแพร่) 12

กฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์ ที่เกี่ยวข้อง (ต่อ) * หนังสือสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ สธ 0201.034/ว 272 ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2552 ขอให้ส่วนราชการจัดส่งประกาศรับสมัครพนักงานราชการในแบบไฟล์ pdf. เพื่อให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขลงเว็ปไซต์ สำนักงาน ก.พ. และ สป. * หนังสือสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ สธ 0201.034/ว 44 ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2553 การจัดทำประกาศรับสมัครพนักงานราชการ * ตัวอย่างประกาศรับสมัครพนักงานราชการ 13

ประกาศรับสมัครพนักงานราชการ ปัญหาที่พบ แนวทางปฏิบัติ รูปแบบประกาศรับสมัคร ใช้รูปแบบประกาศรับสมัครพนักงานราชการ ไม่ถูกต้องตามที่กำหนด - สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กำหนดให้ใช้ตามคู่มือการดำเนินการสรรหาและเลือกสรรพนักงานราชการ ของสำนักงาน ก.พ.

ประกาศรับสมัครพนักงานราชการ (ต่อ) ปัญหาที่พบ แนวทางปฏิบัติ ระยะเวลาการจ้างงาน มีการกำหนดข้อความเพิ่มเติมจากรูปแบบที่กำหนดไว้ เช่น “ไม่เกินวันที่ 30 กันยายน 2555 และอาจต่อสัญญาจ้างไม่เกิน 4 ปี” - กำหนดเป็น “ปี เดือน” หรือ - กำหนดเป็น “วันที่ 10 สิงหาคม 2553– 30 กันยายน 25......” หรือ - กำหนดเป็น “วันที่เริ่มจ้าง - วันที่ 30 กันยายน 25....” (ในกรณีที่ไม่สามารถกำหนดวันเดือนปีที่เริ่มจ้างได้) วันสิ้นสุดสัญญาจ้างต้องเป็นไปตามระยะเวลาของกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการที่ได้รับอนุมัติจาก คพร. เช่น รอบนี้คือ 1 ตุลาคม 2551 – 30 กันยายน 2555)

ประกาศรับสมัครพนักงานราชการ (ต่อ) ปัญหาที่พบ แนวทางปฏิบัติ คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง - กำหนดตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งเหมือนของข้าราชการ กล่าวคือ บางตำแหน่งไม่ได้ระบุคุณวุฒิไว้ จะใช้คำว่า “ส่วนราชการเจ้าสังกัดเห็นว่าเหมาะสม” - สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้ใช้คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งพนักงานราชการ ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งพนักงานราชการ ตามหนังสือสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ สธ 0201.034/ว 199 ลงวันที่ 16 กันยายน 2552 (ใช้เฉพาะพนักงานราชการและลูกจ้างชั่วคราวเท่านั้น) 16

ประกาศรับสมัครพนักงานราชการ (ต่อ) ปัญหาที่พบ แนวทางปฏิบัติ โดยเข้าใจคำว่า “ส่วนราชการเจ้าสังกัด” หมายถึง หน่วยงานที่เปิดรับสมัคร สามารถกำหนดคุณวุฒิตามที่ต้องการได้ จึงทำให้คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งไม่เป็นไปตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งพนักงานราชการที่ สป. กำหนด - ส่วนราชการเจ้าสังกัด ในที่นี้ หมายถึง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เท่านั้น - หน่วยงานที่รับสมัครพนักงานราชการต้องใช้คุณวุฒิตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งพนักงานราชการของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งใน Spec จะกำหนดชัดเจนว่าเป็น “ สป. ” 17

ประกาศรับสมัครพนักงานราชการ (ต่อ) รับสมัครตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการ ปัญหาที่พบ แนวทางปฏิบัติ การกำหนดคุณวุฒิในการรับสมัคร - ตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการ มีการกำหนดคุณวุฒิไว้ทุกระดับ ได้แก่ ปวช. ปวท. หรือ ปวส. หรือวุฒิที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ หรือ ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ มีการกำหนดคุณวุฒิไว้ทุกระดับเช่นกัน ได้แก่ ปริญญาตรี โท และเอกไว้ หรือคุณวุฒิที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ - หน่วยงานต้องวิเคราะห์ภารกิจ ว่าตำแหน่งที่จะจ้างต้องการใช้คุณวุฒิอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับงานที่จะจ้าง ตัวอย่างเช่น รับสมัครตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการ คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งกำหนดคุณวุฒิไว้หลายระดับ ได้แก่ ปวช. ปวท. หรือ ปวส. หรือวุฒิที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ซึ่งการได้รับค่าตอบแทนไม่เท่ากัน ส่วนราชการจึงต้องวิเคราะห์ภารกิจของตำแหน่งงานนั้นให้ชัดเจนว่าประสงค์จะใช้ผู้มีคุณวุฒิใดมาปฏิบัติงาน กล่าวคือลักษณะงานเป็นอย่างไร ปริมาณงาน คุณภาพงาน ที่ส่วนราชการมอบหมายให้ปฏิบัติมีความยากง่ายเพียงใด 18

ประกาศรับสมัครพนักงานราชการ (ต่อ) ปัญหาที่พบ แนวทางปฏิบัติ การเลือกสาขาวิชาที่ใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง - หน่วยงานสามารถเลือกสาขาวิชาที่ต้องการสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง หรือจะกำหนดทุกสาขาวิชาได้ตามที่กำหนดไว้ในคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้น ๆ ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของหน่วยงานว่าต้องการบุคคลที่มีความรู้ความสามารถด้านใด เพื่อให้เหมาะสมกับภาระงานด้านนั้น ๆ

ประกาศรับสมัครพนักงานราชการ (ต่อ) ปัญหาที่พบ แนวทางปฏิบัติ การประเมินความรู้ ความสามารถ ทักษะและสมรรถนะ ประเมินความรู้โดยวิธีสอบสัมภาษณ์เพียงอย่างเดียว - การสรรหาและเลือกสรรพนักงานราชการ ต้องผ่านการประเมินความรู้ความสามารถ ทักษะและสมรรถนะ ด้วยวิธีการประเมินอย่างน้อย 2 วิธี ตามความเหมาะสมกับลักษณะงาน

ประกาศรับสมัครพนักงานราชการ (ต่อ) ตัวอย่างการประเมิน วิธีที่ ประเมินครั้งที่ 1 โดยวิธี ประเมินครั้งที่ 2 1 ความรู้ความสามารถทั่วไปและความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง สอบข้อเขียน ความรู้ความเหมาะสมกับตำแหน่ง สอบสัมภาษณ์ 2 ความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง 3 ทดสอบตัวอย่างงาน ปฏิบัติ หน่วยงานที่รับสมัครสามารถเลือกวิธีใดวิธีหนึ่งตามความเหมาะสมกับตำแหน่งและลักษณะงานที่รับสมัครได้

ประกาศรับสมัครพนักงานราชการ (ต่อ) ปัญหาที่พบ แนวทางปฏิบัติ การเผยแพร่ข่าวการรับสมัคร ไม่ส่งประกาศรับสมัครให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อลงเว็ปไซต์ สำนักงาน ก.พ. และ สป. ตามที่กำหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการสรรหาและเลือกสรรพนักงานราชการและแบบสัญญาจ้างของพนักงานราชการ พ.ศ. 2552 - การประกาศรับสมัครพนักงานราชการทุกครั้ง หน่วยงานต้องจัดส่งประกาศรับสมัครไปให้ สป. ตามที่แจ้งเวียนให้ส่วนราชการถือปฏิบัติ โดยหนังสือ ที่ สธ 0201.034/ว 272 ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2553 ในแบบไฟล์ pdf เพื่อให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขลงเว็ปไซต์ของสำนักงาน ก.พ. และในส่วนของ สป. ต่อไป 22

การตรวจสอบคุณวุฒิ ปัญหาที่พบ แนวทางปฏิบัติ ไม่ตรวจคุณวุฒิ หรือตรวจสอบแต่ไม่ถูกต้อง คุณวุฒิไม่ตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่รับสมัคร หรือไม่เป็นไปตามประกาศรับสมัครของจังหวัด - เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบต้องตรวจคุณวุฒิผู้สมัครทุกรายด้วยความระมัดระวัง รอบคอบ มิให้เกิดความผิดพลาด เพราะจะเป็นเหตุให้ต้องยกเลิกการจ้าง กรณีขาดคุณสมบัติ เฉพาะสำหรับตำแหน่ง อันส่งผลถึงการร้องเรียน หรือมีผลกระทบต่อโอกาสของผู้ผ่านการสรรหา เข้ามาในระบบได้ - กรณีไม่แน่ใจในคุณวุฒิดังกล่าว สามารถสอบถามไปที่กลุ่มงานบริหารลูกจ้างและพนักงานราชการ

การตรวจสอบคุณวุฒิ (ต่อ) ปัญหาที่พบ แนวทางปฏิบัติ ตัวอย่างที่ 1 ตำแหน่งนักวิชาการเงินและบัญชี กำหนดในประกาศว่า “ได้รับวุฒิปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ในสาขาวิชาบัญชี” แต่หน่วยงานรับสมัครจากผู้ที่สำเร็จการศึกษาบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป - ตามประกาศรับสมัครนี้ ผู้สมัครต้องสำเร็จการศึกษาจากสาขาวิชาบัญชี หรือวุฒิอื่นที่ ก.พ. รับรองเป็น สาขาวิชา “บัญชี” เท่านั้น กรณีตัวอย่างนี้ หากผู้สมัครสำเร็จการศึกษาบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป จึงไม่สามารถใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้

การตรวจสอบคุณวุฒิ (ต่อ) ปัญหาที่พบ แนวทางปฏิบัติ ตัวอย่างที่ 2 ตำแหน่งนักวิชาการคอมพิวเตอร์ “ได้รับวุฒิปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ทางคอมพิวเตอร์” - ตำแหน่งที่เปิดรับสมัครนี้ ผู้สมัครจะต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษา ทางคอมพิวเตอร์ เท่านั้น - คุณวุฒิที่ ก.พ. รับรองเป็นทางคอมพิวเตอร์ คือหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมซอฟแวร์ หรือ - วุฒิอย่างอื่นที่ ก.พ. รับรองเป็น “ทางคอมพิวเตอร์” - หากผู้สมัครสำเร็จการศึกษาหลักสูตรอื่นที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ แต่ใช้ชื่อหลักสูตรอื่น เช่น คอมพิวเตอร์ธุรกิจ คอมพิวเตอร์ศึกษา ให้นับจำนวนหน่วยกิตที่เรียนเกี่ยวกับวิชาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่เรียนในหลักสูตรไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต กรณีเป็นหลักสูตรต่อเนื่อง ให้นับหน่วยกิตที่เรียนในหลักสูตรปริญญาตรีไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต และนำหลักสูตรต่อเนื่องรวมกันทั้งสองหลักสูตรต้องไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต 25

การตรวจสอบคุณวุฒิ (ต่อ) ปัญหาที่พบ แนวทางปฏิบัติ ไม่ทราบว่าคุณวุฒิดังกล่าวก.พ. รับรองเป็นทางใด หรือ หลักสูตรดังกล่าว ก.พ. รับรองแล้วหรือไม่ การรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรวิชาชีพ สำนักงาน ก.พ. มีหนังสือแจ้งให้ส่วนราชการต่าง ๆ ทราบ โดยหนังสือ ที่ นร 1004.3/ว 3 ลงวันที่ 10 เมษายน 2546 และที่ นร 1004.3/ว 6 ลงวันที่ 26 มิถุนายน 2550 สามารถตรวจสอบการรับรองคุณวุฒิในเว็ปไซต์ สำนักงาน ก.พ. http://www.ocsc.go.th

การตรวจสอบคุณวุฒิ (ต่อ) ปัญหาที่พบ แนวทางปฏิบัติ เอกสารหลักฐานการสมัครพนักงานราชการไม่ครบถ้วน โดยเฉพาะสายงานที่เป็น กลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ เช่น ตำแหน่งนักรังสีการแพทย์ spec กำหนดต้องได้รับปริญญาตรี รังสีเทคนิคและต้องได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสาขารังสีเทคนิคด้วย - หน่วยงานที่รับสมัครต้องระบุในหลักฐานที่ต้องยื่นพร้อมใบสมัครในประกาศรับสมัครด้วย ดังนั้นผู้สมัครต้องยื่นหลักฐานต่าง ๆ ในวันที่มาสมัครให้ครบถ้วน กล่าวคือ นอกจากมีวุฒิปริญญาตรีรังสีเทคนิคแล้วต้องมีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสาขารังสีเทคนิค ประกอบด้วย - ผู้รับสมัครต้องตรวจเอกสารหลักฐานให้ครบถ้วนก่อนดำเนินการรับสมัคร

การจัดจ้างพนักงานราชการ * จัดทำสัญญาจ้างพนักงานราชการ จัดทำ 2 ฉบับ โดยเก็บไว้ที่ส่วนราชการต้นสังกัด และให้พนักงานราชการ 1 ฉบับ * จัดทำคำสั่งให้พนักงานราชการไปปฏิบัติงาน * จัดทำคำสั่งให้ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว 28

จัดจ้างพนักงานราชการ * จัดทำทะเบียนประวัติพนักงานราชการ (ก.พ. 7) จัดทำ 2 ฉบับ โดยเก็บไว้ที่ส่วนราชการ ต้นสังกัด และจัดส่ง สป. 1 ฉบับ * ส่งตรวจสอบประวัติที่สถานีตำรวจตามภูมิลำเนา * ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนที่สำนักงานประกันสังคม 29

ทะเบียนประวัติพนักงานราชการ ปัญหาที่พบ แนวทางปฏิบัติ * การบันทึกประวัติการศึกษา - ระบุประวัติการศึกษาไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน - การบันทึกทะเบียนประวัติการศึกษา ใช้หลักการบันทึกเช่นเดียวกับการจัดทำทะเบียนประวัติของข้าราชการ ตามข้อ 10 ใน ก.พ. 7 คือ ต้องบันทึกประวัติการศึกษาตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาตอนต้นไปจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย และสุดท้ายคือวุฒิการศึกษาที่ได้รับการจัดจ้างในปัจจุบัน และใบประกอบวิชาชีพ (ถ้ามี) รวมทั้งเดือน ปี ที่เริ่มศึกษา และสำเร็จการศึกษาในแต่ละหลักสูตรข้างต้น

ทะเบียนประวัติพนักงานราชการ ปัญหาที่พบ แนวทางปฏิบัติ - ไม่บันทึกประวัติการดำรงตำแหน่ง (ด้านหลัง) โดยเว้นว่างไว้หรือบันทึกไม่ครบถ้วน เช่น ไม่ระบุวันจ้าง หรือชื่อตำแหน่งไม่ตรงตามคำสั่ง หรือไม่ระบุหน่วยงานตามคำสั่ง - บันทึกรายละเอียดให้ครบถ้วนตามตัวอย่างการบันทึกทะเบียนประวัติของพนักงานราชการ

เงินสมทบประกันสังคม ปัญหาที่พบ แนวทางปฏิบัติ * การนำส่งเงินประกันสังคม * การนำส่งเงินประกันสังคม - หน่วยงานนำส่งเงินสมทบประกันสังคมในส่วนของนายจ้าง และในส่วนของผู้ประกันตน ร้อยละ 5 จากเงินรายได้ต่อไปนี้ ค่าตอบแทนหรือเงินเดือน เงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว เงินค่าตอบแทนสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของพนักงานราชการ (ค.ต.ส.)

การจ้างพนักงานราชการ ปัญหาที่พบ แนวทางปฏิบัติ * เอกสารหลักฐานการจ้างพนักงานราชการส่งให้ไม่ครบถ้วน ส่วนราชการต้องจัดส่งเอกสารหลักฐานประกอบการจ้างพนักงานราชการ ดังต่อไปนี้ * สำเนาปริญญา และสำเนา Transcript หากเป็นคุณวุฒิจากการศึกษาต่อเนื่องต้องแนบคุณวุฒิต่อเนื่องด้วย เช่น ศึกษาระดับปริญญาต่อเนื่องจากหลักสูตร ปวส. * สำเนาใบประกอบโรคศิลปะ (กรณีจ้างในกลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ) ต้องตรวจสอบว่าใบอนุญาตดังกล่าวยังไม่หมดอายุ เช่น ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ เป็นต้น

การจ้างพนักงานราชการ (ต่อ) ปัญหาที่พบ แนวทางปฏิบัติ * สำเนาทะเบียนบ้าน * สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน * ใบรับรองแพทย์ เอกสารหลักฐานประกอบการจ้าง 2 ชุด ใบรับรองแพทย์ 1 ชุด เพื่อ 1. เก็บไว้ในชุดประวัติพนักงานราชการของส่วนราชการต้นสังกัด จำนวน 1 ชุด 2. จัดส่งให้ สป. 1 ชุด (ยกเว้นใบรับรองแพทย์) พร้อมกับทะเบียนประวัติพนักงานราชการ คำสั่งให้พนักงานราชการไปปฏิบัติงา คำสั่งเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว 34

การเลื่อนค่าตอบแทนพนักงานราชการ ปัญหาที่พบ แนวทางปฏิบัติ * หน่วยงานยังไม่ต่อสัญญาจ้าง แต่มีคำสั่งเลื่อนค่าตอบแทนประจำปีและค่าตอบแทนพิเศษไปก่อน * หน่วยงานต้องตรวจสอบสัญญาจ้างของพนักงานราชการก่อนการเลื่อนค่าตอบแทนประจำปี * หากพบว่าสิ้นสุดสัญญาจ้าง ให้ดำเนินการดังนี้ - ดำเนินการต่อสัญญาจ้างพนักงานราชการให้เรียบร้อยพร้อม - จัดทำคำสั่งให้พนักงานราชการไปปฏิบัติงาน * จัดทำคำสั่งเลื่อนค่าตอบแทนและค่าตอบแทนพิเศษประจำปีตามผลการประเมินฯ * จัดทำคำสั่งเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว (ถ้ามี) 35

การเลื่อนค่าตอบแทนพนักงานราชการ (ต่อ) ปัญหาที่พบ แนวทางปฏิบัติ * การคำนวณโควตาเลื่อนค่าตอบแทนพิเศษ กรณีดีเด่น ร้อยละ 15 ไม่แยกตามกลุ่มงานพนักงานราชการ การคำนวณโควตาเลื่อนค่าตอบแทนพิเศษ กรณีดีเด่น ของพนักงานราชการ ต้องแยกตามกลุ่มงานของพนักงานราชการ ตัวอย่างเช่น กลุ่มงาน จำนวน (คน) ร้อยละ 15 ดีเด่นเท่ากับ (คน) บริการ 6 0.90 1 บริหารทั่วไป 9 1.35 วิชาชีพเฉพาะ 13 1.95 2 36 36

การเลื่อนค่าตอบแทนพนักงานราชการ (ต่อ) ปัญหาที่พบ แนวทางปฏิบัติ * คำนวณเงินค่าตอบแทนพิเศษ (ดีเด่น) ไม่ถูกต้อง นำเงินหลังเลื่อนมาคำนวณเงินค่าตอบแทนพิเศษ - เงินค่าตอบแทนพิเศษ ต้องคำนวณจากเงินค่าตอบแทนก่อนการเลื่อนค่าตอบแทน เช่น เงินค่าตอบแทนพิเศษ กลุ่มงานบริหารทั่วไป ก่อนเลื่อน หลังเลื่อน ค่าตอบแทนพิเศษ 9,530 10,010 290 คูณ 3% = 285.9 37 37

การเลื่อนค่าตอบแทนพนักงานราชการ (ต่อ) ปัญหาที่พบ แนวทางปฏิบัติ * คำนวณเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวไม่ถูกต้อง กรณีได้รับค่าตอบแทนพิเศษ (ดีเด่น) ไม่ได้นำมารวมกับเงินค่าตอบแทนหลังเลื่อนก่อนนำไปหักกับเงินเพิ่มการครองชีพที่ได้รับทั้งสิ้น กรณีที่ได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษ (ดีเด่น) เงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวจะคำนวณได้จาก เงินค่าตอบแทนหลังเลื่อน + เงินค่าตอบแทนพิเศษนำไปหักจากเงินที่ได้รับไม่เกิน 11,700 บาท หรือ 8,200 บาท แล้วแต่กรณี เช่น กลุ่มงานบริหารทั่วไป อัตราค่าตอบแทนและค่าตอบแทนพิเศษ เงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว 10,300 (10,010 + 290) 1,400 38 38

เงินค่าตอบแทนสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของพนักงานราชการ (ค.ต.ส.) เงิน ค.ต.ส. เป็นค่าตอบแทนสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของพนักงานราชการ ซึ่งในที่นี้หมายถึง พนักงานราชการที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งที่คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการกำหนให้เป็นตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ตามประกาศของคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่องค่าตอบแทนสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของพนักงานราชการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2552 39

เงินค่าตอบแทนสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของพนักงานราชการ (ค. ต. ส เงินค่าตอบแทนสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของพนักงานราชการ (ค.ต.ส.) (ต่อ) ตามประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการในข้อ 4 (3) ได้กำหนดให้พนักงานราชการผู้ดำรงตำแหน่งเภสัชกร พยาบาลวิชาชีพ นักเทคนิคการแพทย์ นักรังสีการแพทย์ นักกายภาพบำบัด นักแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมายหรือนักวิชาการศึกษาพิเศษที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมาย นักกิจกรรมบำบัดหรือนักอาชีวบำบัดที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านกิจกรรมบำบัด นักจิตวิทยาคลินิกหรือจิตวิทยาที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านจิตวิทยาคลินิก และนักเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก เป็นผู้อยู่ในเกณฑ์ได้รับเงิน ค.ต.ส. ทั้งนี้ ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป และได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพหรือใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น โดยใช้ใบอนุญาตดังกล่าวปฏิบัติงานให้บริการด้านสุขภาพ และได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ตามบัญชีกำหนดหลักเกณฑ์ 40 40

เงินค่าตอบแทนสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของพนักงานราชการ (ค. ต. ส เงินค่าตอบแทนสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของพนักงานราชการ (ค.ต.ส.) (ต่อ) สำหรับอัตราค่าตอบแทนและรายละเอียดในการปฏิบัติหน้าที่ของแต่ละตำแหน่ง สามารถศึกษาได้จากบัญชีกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราค่าตอบแทน สำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของพนักงานราชการแนบท้ายตามประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่องค่าตอบแทนสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของพนักงานราชการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2552 ซึ่งสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขแจ้งให้ทุกส่วนราชการในสังกัดทราบและถือปฏิบัติ ตามหนังสือที่ สธ 0205.02.4/ว 17 ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2553 โดยสามารถ Download จากเว็ปไซต์ http://neo.moph.go.th/pay/ 41 41

เงินค่าตอบแทนสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของพนักงานราชการ (ค. ต. ส เงินค่าตอบแทนสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของพนักงานราชการ (ค.ต.ส.) (ต่อ) วิธีปฏิบัติ 1. การเบิกจ่ายเงิน ค.ต.ส. ให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง ค่าตอบแทนสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของพนักงานราชการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2552 และตามบัญชีกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราค่าตอบแทนสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของพนักงานราชการ 2. วิธีการเบิกจ่ายให้ดำเนินการเช่นเดียวกับข้าราชการ ซึ่งได้รับค่าตอบแทนกำลังคนด้านสาธารณสุข ค่า พ.ต.ส. ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดแนวทางและวิธีปฏิบัติไว้ก่อนหน้านี้ 42 42

เงินค่าตอบแทนสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของพนักงานราชการ (ค. ต. ส เงินค่าตอบแทนสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของพนักงานราชการ (ค.ต.ส.) (ต่อ) วิธีปฏิบัติ 3. ให้เบิกจ่ายจากเงินงบประมาณ ซึ่งสำหรับหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขให้เบิกจ่ายจากเงินงบประมาณที่โอนจัดสรรให้หน่วยงานต่าง ๆ ไปแล้ว (เงิน พ.ต.ส.) และให้จัดทำรายงานสรุปผลการเบิกจ่ายเป็นรายเดือนตามแบบฟอร์มที่กำหนด ส่งให้สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ (สนย.) ภายในวันที่ 10 ของทุกเดือน เพื่อประกอบการพิจารณาจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมให้ต่อไป 43 43

เงินค่าตอบแทนสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของพนักงานราชการ (ค. ต. ส เงินค่าตอบแทนสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของพนักงานราชการ (ค.ต.ส.) (ต่อ) วิธีปฏิบัติ เงินค่าตอบแทนสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของพนักงานราชการ (ค.ต.ส.) หน่วยงานจะต้องหักเงิน 5% ในส่วนของพนักงานราชการ และสมทบเงินประกันสังคมส่วนของนายจ้าง 5% เพื่อจัดส่งเข้ากองทุนประกันสังคมตามที่กฎหมายกำหนด 44 44

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ฉบับที่ 33 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. 2536 45 45

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ต่อ) ข้อ 22 ข้าราชการ ลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่องค์การมหาชน พนักงานองค์การของรัฐ หรือพนักงานหน่วยงานของรัฐที่มีลักษณะเดียวกัน พนักงานหน่วยธุรการขององค์กรอิสระตามกฎหมาย และบุคคลหรือพนักงานอื่นที่ต้องพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่เพราะเกษียณอายุในปีใด หากเป็นผู้มีคุณสมบัติที่จะได้รับการพิจารณาเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อยู่ก่อนการพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ ให้มีสิทธิได้รับการพิจารณาเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในปีที่พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่นั้นด้วย 46 46

บัญชี 32 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ต่อ) บัญชี 32 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่พนักงานราชการ 47

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ต่อ) พนักงานราชการ/กลุ่มงาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ที่ขอพระราชทาน เงื่อนไขและระยะเวลา การเลื่อนชั้นตรา หมายเหตุ เริ่มต้นขอ เลื่อนได้ถึง กลุ่มงานบริการ กลุ่มงานเทคนิค บ.ม. จ.ช. 1. เริ่มขอพระราชทาน บ.ม. 2. ได้ บ.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ บ.ช. 3. ได้ บ.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ จ.ม. 4. ได้ จ.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ จ.ช. ต้องปฏิบัติงานติดต่อกันมาเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ นับตั้งแต่วันเริ่มจ้างจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทานไม่น้อยกว่า 60 วัน 48 48

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ต่อ) พนักงานราชการ/กลุ่มงาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ที่ขอพระราชทาน เงื่อนไขและระยะเวลา การเลื่อนชั้นตรา หมายเหตุ เริ่มต้นขอ เลื่อนได้ถึง กลุ่มงานบริหารทั่วไป บ.ช. ต.ม. 1. เริ่มขอพระราชทาน บ.ช. 2. ได้ บ.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ จ.ม. 3. ได้ จ.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ จ.ช. 4. ได้ จ.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ต.ม. ต้องปฏิบัติงานติดต่อกันมาเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ นับตั้งแต่วันเริ่มจ้างจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนม- พรรษาของปีที่จะขอพระราชทานไม่น้อยกว่า 60 วัน 49

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ต่อ) พนักงานราชการ/กลุ่มงาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ที่ขอพระราชทาน เงื่อนไขและระยะเวลา การเลื่อนชั้นตรา หมายเหตุ เริ่มต้นขอ เลื่อนได้ถึง กลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะ จ.ม. ต.ช. 1. เริ่มขอพระราชทาน จ.ม. 2. ได้ จ.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ จ.ช. 3. ได้ จ.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ต.ม. 4. ได้ ต.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ต.ช. ต้องปฏิบัติงานติดต่อกันมาเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ นับตั้งแต่วันเริ่มจ้างจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนม- พรรษาของปีที่จะขอพระราชทานไม่น้อยกว่า 60 วัน 50

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ต่อ) พนักงานราชการ/กลุ่มงาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ที่ขอพระราชทาน เงื่อนไขและระยะเวลา การเลื่อนชั้นตรา หมายเหตุ เริ่มต้นขอ เลื่อนได้ถึง กลุ่มงานเชี่ยวชาญเฉพาะ จ.ช. ท.ม. 1. เริ่มขอพระราชทาน จ.ช. 2. ได้ จ.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ต.ม. 3. ได้ ต.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ต.ช. 4. ได้ ต.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ท.ม. ต้องปฏิบัติงานติดต่อกันมาเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ นับตั้งแต่วันเริ่มจ้างจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนม- พรรษาของปีที่จะขอพระราชทานไม่น้อยกว่า 60 วัน 51

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ต่อ) พนักงานราชการ/กลุ่มงาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ที่ขอพระราชทาน เงื่อนไขและระยะเวลา การเลื่อนชั้นตรา หมายเหตุ เริ่มต้นขอ เลื่อนได้ถึง กลุ่มงานเชี่ยวชาญพิเศษ ระดับทั่วไป ต.ม. ท.ช. 1. เริ่มขอพระราชทาน ต.ม. 2. ได้ ต.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ต.ช. 3. ได้ ต.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ท.ม. 4. ได้ ท.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ ขอ ท.ช. ต้องปฏิบัติงานติดต่อกันมาเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ นับตั้งแต่วันเริ่มจ้างจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนม- พรรษาของปีที่จะขอพระราชทานไม่น้อยกว่า 60 วัน 52

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ต่อ) พนักงานราชการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จะมีคุณสมบัติครบตามประกาศฯ ในปีงบประมาณ 2554 ได้รับการจ้างงานตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2549 เป็นต้นไป 53

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้มีคำสั่งมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน เกี่ยวกับการบริหารพนักงานราชการ 54 54

การสื่อสารและประชาสัมพันธ์ กลุ่มบริหารงานบุคคลใช้วิธีสื่อสารและประชาสัมพันธ์ โดยทาง... * หนังสือเวียน * Internet * โทรศัพท์ * Fax * Email 55

สามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับพนักงานราชการ ได้ในเว็ปไซต์กลุ่มบริหารงานบุคคล http://203.157.19.94/person/indexhome.htm หรือ สอบถามโดยตรงได้ที่กลุ่มบริหารงานลูกจ้างและพนักงานราชการ โทร. 0 2590 1349, 1350 Fax 0 2590 1424 Email : arrom100@hotmail.com 56

Q&A