นางสาวอาทิตยา ทรัพย์สิน และนายศรัณย์ ธรรมทักษิณ การเสริมสร้างความสุขคนทำงาน ของหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล Promoting Employee Happiness in the Work Place of Mahidol University Library and Knowledge Center นางสาวอาทิตยา ทรัพย์สิน และนายศรัณย์ ธรรมทักษิณ
เครื่องมือ HAPPINOMETER Happy Body (สุขภาพดี) Happy Relax (ผ่อนคลายดี) Happy Heart (น้ำใจดี) Happy Soul (จิตวิญญาณดี) Happy Family (ครอบครัวดี) Happy Society (สังคมดี) Happy Brain (ใฝ่รู้ดี) Happy Money (สุขภาพเงินดี) Happy Work-life (การงานดี) พัฒนาโดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล (ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต และคณะ., 2555, น. 30)
เครื่องมือ HAPPINOMETER ประกอบด้วยข้อคำถาม 81 ข้อ ข้อมูลทั่วไปขององค์กรและคนทำงาน 18 ข้อคำถาม ข้อคำถามประเมินความสุขคนทำงาน 9 มิติ 62 ข้อคำถาม คำถามระดับความสุขในปัจจุบัน 1 ข้อคำถาม
เกณฑ์ระดับคะแนนความสุข คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 0.00 – 24.99 Very Unhappy = ไม่มีความสุขเลย คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 25.00 – 49.99 Unhappy = ไม่มีความสุข คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 50.00 – 74.99 Happy = มีความสุข คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 75.00 – 100.0 Very Happy = มีความสุขมาก
ผลคะแนน Happinometer ในการสำรวจความสุข คนทํางานในองค์กร (ระดับประเทศ) คะแนนความสุขคนทำงานในองค์กรระดับประเทศ ประจำปี 2561 มีค่าคะแนนเฉลี่ย 58.62 คะแนน จัดอยูในระดับ “HAPPY” หรือ “ระดับมีความสุข” (ช่วงคะแนน 50.00-74.99 คะแนน)
ปัญหา หอสมุดและคลังความรู้ฯ มีการจัดตั้งคณะทำงานเสริมสร้างความสุขของส่วนงานตั้งแต่ ปี 2557 และมีการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง เป็นเวลา 4 ปี ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ 1. บุคลากรไม่ให้ความร่วมมือในการตอบแบบสำรวจ ทำให้ผู้ตอบแบบสำรวจน้อย ผลคะแนนคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง 2. คะแนนบางมิติยังต่ำเกินไป **ใส่ตาราง 2559-2560**
วัตถุประสงค์ของงานวิจัย ส่งเสริมให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการตอบแบบสอบถามมากขึ้น เพื่อผลคะแนนที่ไม่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง จัดกิจกรรมเสริมสร้างความสุขและคุณภาพชีวิตให้แก่บุคลากรของหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อผลคะแนนความสุขHAPPINOMETER เฉลี่ยปี 2561 สูงขึ้นกว่าปี 2560
ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงานวิจัย ผู้บริหารหอสมุดและคลังความรู้ฯ กำหนดนโยบาย แต่งตั้งคณะทำงานเสริมสร้างความสุขคนทำงานและเสริมสร้างสุขภาวะองค์กรแบบยั่งยืนของหอสมุดและคลังความรู้ฯ ผู้นำกิจกรรมจะมีความรู้ ความสามารถและความเชี่ยวชาญในแต่ละมิติ แสวงหาและคัดเลือกผู้นำกิจกรรม จัดกิจกรรมเสริมสร้างความสุข 6 มิติ ภายใน 6 เดือน (มกราคม-มิถุนายน พ.ศ. 2561) (Happy Relax, Happy Soul, Happy Heart, Happy Body, Happy Money และHappy Society ) ขั้นตอนการจัดกิจกรรม ขั้นตอนสรุปผลแต่ละกิจกรรม ขั้นตอนการรวบรวมแบบสำรวจ HAPPINOMETER ประจำปี 2561 จากบุคลากร ผลคะแนน HAPPINOMETER จากทางมหาวิทยาลัย
คำขวัญ Happy Libraries We Mahidol
ขั้นตอนการจัดกิจกรรม ระยะเวลา 6 เดือน (มกราคม-มิถุนายน พ.ศ. 2561) ขั้นตอนการจัดกิจกรรม ระยะเวลา 6 เดือน (มกราคม-มิถุนายน พ.ศ. 2561)
มิติที่ 1 Happy Relax (ผ่อนคลายดี) ขั้นตอนการจัดกิจกรรม มิติที่ 1 Happy Relax (ผ่อนคลายดี) - จัดกิจกรรมเพื่อให้บุคลากรรู้สึกผ่อนคลายจากการทำงาน - จัดกิจกรรมทั้งสิ้น 3 กิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 “Happy Relax : ฝึกทักษะทฤษฎีดนตรีสากล และวิธีการใช้เสียงเบื้องต้น” - จัดสอนทั้งสิ้น 6 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง
กิจกรรมที่ 2 “ดนตรีสบาย สไตล์หอสมุด” - เพื่อให้บุคลากรที่ได้รับการฝึกในการเล่นเครื่องดนตรีชนิดต่าง ๆ และการขับร้องแสดงดนตรีสากลให้กับบุคลากร นักศึกษา ผู้ใช้บริการห้องสมุด และบุคคลทั่วไป ลานหน้าหอสมุดและคลังความรู้ฯ - จัดแสดงทั้งสิ้น 8 ครั้ง ทุกวันศุกร์ เวลา 12.00 – 13.00 น.
กิจกรรมที่ 3 “Happy Relax : ดนตรีไทย...ออเจ้าใดว่าเชย” - เชิญวงดนตรีไทยเดิมจากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดลมาบรรเลงสด ให้กับบุคลากรหอสมุดและคลังความรู้ฯ และบุคคลทั่วไป เพื่อผ่อนคลาย และตอบโจทย์ให้กับบุคลากรบางกลุ่มที่ชื่นชอบดนตรีย้อนยุค หรือกระแสละครดังในช่วงดังกล่าว
มิติที่ 2 Happy Soul (จิตวิญญาณดี) - จัดกิจกรรมเพื่อทำนุบำรุงศาสนา รักษาประเพณี และวัฒนธรรม - จัดกิจกรรม ทั้งสิ้น 3 กิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 “ทัศนาจรเติมบุญ...ตามรอยพุทธศาสนา” นำบุคลากรไปทัศนศึกษาอุทยานประวัติศาสตร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อให้บุคลากรได้มีโอกาสไหว้พระ ทำบุญ
กิจกรรมที่ 2 “รวมใจเข้าวัดทำบุญ กิจกรรมที่ 2 “รวมใจเข้าวัดทำบุญ...น้อมถวายเป็นพุทธบูชาวันวิสาขบูชา ๒๕๖๑” ณ วัดเนกขัมมาราม จังหวัดปทุมธานี นำบุคลากรไปสักการะหลวงพ่อขาว พร้อมเวียนเทียนรอบมณฑป และทัศนศึกษาวัดเจดีย์หอย เนื่องในวันวิสาขบูชา
กิจกรรมที่ 3 “จุลศักราช ๑๓๘๐ แล้วหนอ...ออเจ้า” จัดกิจกรรมวันสงกรานต์ ณ อาคารหอสมุดและคลังความรู้ฯ เพื่อให้บุคลากรได้มีโอกาสทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระพุทธรูป รดน้ำขอพรจากผู้ใหญ่ รักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย
มิติที่ 3 Happy Heart (น้ำใจดี) - เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมจิตอาสา - จัดกิจกรรม “Happy Heart : ให้สมุดด้วยใจศิลปะ”
กิจกรรม “Happy Heart : ให้สมุดด้วยใจศิลปะ” 1) ขอรับบริจาคกระดาษที่ใช้แล้ว 1 หน้า จากหน่วยงานต่าง ๆ 2) สอนวิธีการประดิษฐ์สมุดทำมือ
กิจกรรม “Happy Heart : ให้สมุดด้วยใจศิลปะ” 3) เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะมาสอนทักษะการออกแบบและวาดภาพบนปกสมุดทำมือ 4) นำสมุดทำมือ 130 เล่มพร้อมทั้งอุปกรณ์เครื่องเขียน ไปมอบให้แก่ “โครงการจิตอาสาสมุดเพื่อน้องเปเปอร์เรนเจอร์” ณ บ้านจิตอาสา มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อนำไปบริจาคให้แก่เด็กนักเรียนที่ขาดแคลนอุปกรณ์การเรียนในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ www.paperranger.org
มิติที่ 4 Happy Body (สุขภาพดี) - จัดกิจกรรมเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการออกกำลังกายและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่บุคลากร ในการกระตุ้นให้บุคลากรมีความสนใจและเห็นประโยชน์ที่จะออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ - จัดกิจกรรม ทั้งสิ้น 2 กิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 “Happy Body ชีวิตดี๊ดี เริ่มต้นที่การออกกำลังกาย” เพื่อสร้างแรงบันดาลใจแก่บุคลากรโดยเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา จากวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล และพิธีกรรายการ Healthy Fine Day ทางช่อง Mahidol Channel มาบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพ พร้อมสาธิตเทคนิคพื้นฐานในการออกกำลังกายที่ถูกวิธี
กิจกรรมที่ 2 “Happy Body ออกกำลังกายหลังเลิกงาน” - จัดกิจกรรมเพื่อสร้างสุขภาพที่ดีแก่บุคลากรอย่างต่อเนื่องและหลายหลายตามความสนใจของกลุ่มบุคลากร เช่น ปั่นจักรยานแรลลี่, เต้นแอโรบิก, Zumba Dance, เดินวิ่ง, Jogging เบา ๆ และโยคะ เป็นต้น - จัดกิจกรรมทั้งสิ้น 10 ครั้ง เวลา 15.30-16.30 น.
มิติ 5 Happy Money (สุขภาพเงินดี) - เพื่อให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในการบริหารเงินอย่างมีประสิทธิภาพ - จัดกิจกรรมทั้งสิ้น 2 กิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้แก่บุคลากร - เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการวางแผนการใช้เงิน สวัสดิการ สิทธิประโยชน์ และการออม (จัดกิจกรรมทั้งสิ้น 2 ครั้ง) หัวข้อ “การให้ความรู้เกี่ยวกับสวัสดิการและสิทธิประโยชน์เกื้อกูลสำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล (ข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย และลูกจ้าง)” โดยนักทรัพยากรบุคคล กองทรัพยากรบุคคล หัวข้อ “How to be เศรษฐีพอเพียง” โดย ดร.อัจฉรา โยมสินธุ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและเศรษฐกิจพอเพียง
กิจกรรมที่ 2 Health...Food Good…Product @Library mini market เพื่อให้บุคลากรนำสินค้า ขนม อาหารหรือเสื้อผ้ามือสอง มาจำหน่าย เพื่อหารายได้เสริม โดยวางจำหน่ายบริเวณด้านหน้าอาคารหอสมุดและคลังความรู้ฯ โดยจัดกิจกรรมทั้งสิ้น 5 ครั้ง ทุกวันที่ 1 และ16 ของเดือน ในช่วงเวลา 8.00-9.00 น.และ12.00-13.00 น.
มิติที่ 6 Happy Society (สังคมดี) - จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ของบุคลากรให้เป็นสังคมแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และส่งต่อความสุขสู่ชุมชน/สังคมภายนอกได้ - จัดกิจกรรมทั้งสิ้น 3 กิจกรรม ภายใต้โครงการ “จิตอาสาเพื่อพลังแผ่นดิน ร่วมสร้างรอยยิ้ม จากงาน D.I.Y. BY Mahidol Library”
กิจกรรมที่ 1 Happy Society : ส่งความสุขผ่านผ้า ตุ๊กตามือบีบออกกำลังกาย สำหรับผู้สูงอายุ ผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาตหรือโรคที่มีภาวะสมองผิดปกติที่มีอาการมือเกร็ง มอบให้โรงพยาบาลในอำเภอพุทธมณฑล/สามพราน
กิจกรรมที่ 2 Happy Society : ส่งความสุขผ่านสมุดคัดเขียนเรียน ก-ฮ สำหรับเด็กเล็ก สำหรับเด็กเล็กมอบให้มูลนิธิเด็ก พุทธมณฑลสาย 4
กิจกรรมที่ 3 Happy Society : ส่งความสุขผ่านสบู่ทำมือ มอบให้มูลนิธิหลวงตาน้อยเพื่อคนพิการ เด็กกำพร้า และผู้ด้อยโอกาส
ขั้นตอนสรุปผลแต่ละกิจกรรม
ผลประเมินความพึงพอใจของบุคลากรที่มีต่อกิจกรรม การประเมินผลกิจกรรมโดยวัดจากความพึงพอใจบุคลากรที่เข้าร่วมเฉลี่ยมากกว่า ระดับ 4.00 จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมเฉลี่ยร้อยละ 73.81 ของบุคลากรหอสมุดและคลังความรู้ฯ (ค่าเป้าหมายไม่น้อยกว่า 3.5 ทุกมิติ)
ขั้นตอนการรวบรวมแบบสำรวจ Happinometer ประจำปี 2561 จากบุคลากร
ในการสำรวจปีที่ผ่านมาจะเป็นการสำรวจผ่านระบบออนไลน์ ผู้ตอบแบบสำรวจมีจำนวนน้อย ดังนั้น จึงดำเนินการสอบถามสาเหตุ พบว่าบุคลากรไม่ทราบข่าวเนื่องจากทางมหาวิทยาลัยส่งมาทางอีเมล ต่อมาได้มีการประชาสัมพันธ์แต่ยังไม่ได้รับความร่วมมือมากพอ ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหา คณะทำงานฯ จึงดำเนินการประชาสัมพันธ์โดยการทำสำเนาแบบสำรวจแจกจ่ายให้แก่บุคลากรและดำเนินการเก็บรวบรวมด้วยตนเอง ผลคือมีผู้ตอบแบบแบบสำรวจเพิ่มขึ้น ปี 2559 ผู้ตอบแบบแบบสำรวจ 58 คน ปี 2560 ผู้ตอบแบบแบบสำรวจ 94 คน ปี 2561 ผู้ตอบแบบแบบสำรวจ 103 คน
ผลจากการที่บุคลากรตอบแบบสำรวจเพิ่มขึ้น หอสมุดและคลังความรู้ฯ ได้รับรางวัลลำดับที่ 2 (ระดับส่วนงานขนาดกลาง) ในการร่วมตอบแบบสำรวจความผูกพัน ความพึงพอใจ และความสุขของบุคลากร มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2561
ผลคะแนน HAPPINOMETER จากทางมหาวิทยาลัย
หอสมุดฯ ได้รับผลคะแนนจากทางมหาวิทยาลัย ที่ ศธ 0517/ว6291 เรื่อง ขอส่งผลการสำรวจความผูกพัน ความพึงพอใจ และความสุขของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี พ.ศ. 2561 ลงวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2561
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะ งานวิจัยนี้จัดกิจกรรม 6 มิติ ในระยะเวลา 6 เดือน ถึงแม้ว่าบางกิจกรรมจะสามารถครอบคลุมได้หลายมิติก็ตาม โครงการต่อไปจะดำเนินการจัดกิจกรรมให้ครบทั้ง 9 มิติ และดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี เพื่อความสุขที่ยั่งยืนของบุคลากรในองค์กร HAPPINOMETER เป็นเครื่องมือที่ได้มาตรฐานระดับประเทศและเหมาะสำหรับประยุกต์ใช้กับทุกองค์กรรวมทั้งห้องสมุด/หอสมุดมหาวิทยาลัย
ขอขอบคุณค่ะ