บัตรยิ้ม สร้างเสริมกำลังใจ พนิตพร ใจศิริ ศราวุธ เพิ่มพูนคุณารักษ์ โรงพยาบาลพระอาจารย์แบน ธนากโร
บริบทโรงพยาบาลพระอาจารย์แบน ธนากโร ปัจจุบันมีผู้ป่วยเบาหวานที่อยู่ในการดูแลทั้งหมด 437 ราย ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี ( 80-130 mg% ) ปี 2549 – 2551 ดังนี้ 47.81% , 51.73% และ 44.41% และพบภาวะแทรกซ้อนทางไตรายใหม่ในผู้ป่วยเบาหวาน ปี 2549-2551 เท่ากับ 4.57% , 5.92% และ 5.04%
ที่มาของการคิดค้นนวัตกรรม จากการสัมภาษณ์พบว่าผู้ป่วยเบาหวานไม่เห็นความสำคัญในการดูแลตนเอง ไม่ตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยสาเหตุมาจากมีความเคยชินกับการปฏิบัติตัวแบบเดิมๆ ขาดความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ไม่ตั้งใจในการดูแลสุขภาพ รักษาโรคด้วยตนเอง จากการขาดแรงจูงใจ และไม่มีคนคอยดูแลหรือคอยกระตุ้น จึงมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานสูง
วัตถุประสงค์และเป้าหมาย - เพื่อให้ผู้ป่วยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและเล็งเห็นความสำคัญในการดูแลตนเอง เป้าหมาย - ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี ( 80-130 mg% ) เพิ่มขึ้น - ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เพิ่มขึ้นจากโรคเบาหวาน
ตัวชี้วัดผลลัพธ์ของนวัตกรรม เครื่องมือตัวชี้วัด - ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานมีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับ 80 - 130 mg% มากกว่าร้อยละ 50 - ผู้ป่วยเบาหวานในคลินิกเบาหวานสุขกายมีสมุดประจำตัวและได้รับการติดบัตรยิ้ม ครบถ้วน ถูกต้อง และมีความเข้าใจความหมายของสีบัตรยิ้มที่สัมพันธ์กับระดับน้ำตาลในเลือดที่ตนเองได้รับถูกต้อง 100 % - การเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตรายใหม่ในผู้ป่วยเบาหวาน น้อยกว่า ร้อยละ 5
ประโยชน์จากนวัตกรรม ประโยชน์จากนวัตกรรม - สามารถสื่อสารให้ผู้ป่วยเบาหวานเข้าใจ และรับทราบผลระดับน้ำตาลในเลือดของตนเองว่าอยู่ในระดับใด โดยดูจากสีบัตรยิ้ม ซึ่งเข้าใจง่ายกว่าการทราบผลเป็นตัวเลข - เกิดการกระตุ้นการเสริมพลังของผู้ป่วยเบาหวานให้เกิดการดูแล ใส่ใจตนเอง ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม
การนำนวัตกรรมมาปฏิบัติใช้จัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพ ให้ความรู้ผู้ป่วยเบาหวานเกี่ยวกับโรคเบาหวาน อาหาร การออกกำลังกาย การป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน โดยทีมสหสาขาวิชาชีพทุกวันในคลินิกบริการ ติดบัตรยิ้มในสมุดประจำตัวผู้ป่วยเบาหวานตามระดับน้ำตาลในเลือดที่ตรวจพบ 80 mg% - 130 mg% บัตรยิ้มสีเขียว 131 mg% - 180 mg% บัตรยิ้มสีเหลือง 181 mg% ขึ้นไป บัตรสีแดง
การนำนวัตกรรมมาปฏิบัติใช้จัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพ อธิบายความหมายของบัตรยิ้มและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นของการได้รับบัตรยิ้มในแต่ละสีแก่ผู้ป่วยเบาหวานทั้งรายบุคคลและรายกลุ่มทุกขั้นตอนบริการและทุกครั้งที่ผู้ป่วยมารับบริการ โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ สุ่มสอบถามความเข้าใจความหมายของบัตรยิ้ม กับระดับน้ำตาลในเลือดที่ผู้ป่วยเบาหวานได้รับทุกครั้งที่มารับบริการ ให้คำชมเชยและรางวัลแก่ผู้ป่วยที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ดี ติดต่อกัน 3 เดือน
รางวัลสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน กระเป๋าผ้าเติมยาเติมใจ ( Positive Empowerment)
ผลลัพธ์ของการนำกระเป๋าผ้ามาใช้ มูลค่าการประหยัดค่าใช้จ่ายด้านยาของโรงพยาบาล
ผลลัพธ์ของการนำกระเป๋าผ้ามาใช้ 5 อันดับมูลค่าสูงสุดของยาที่ผู้ป่วยนำมาคืน
ผลลัพธ์ของการนำกระเป๋าผ้ามาเป็นรางวัล ผู้ป่วยมีความภาคภูมิใจที่ตนเองสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ดี และได้รับคำชมเชยจากทีมผู้ให้การดูแล ผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มพอใช้และกลุ่มไม่ดี มีความกระตือรือร้นในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มมากขึ้น กระเป๋าผ้าที่นำมาเป็นรางวัล นอกจากจะเป็นการกระตุ้นในเชิงบวกแล้ว กระเป๋าผ้ายังสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านยาของโรงพยาบาลลงได้ เท่ากับยิงปืนนัดเดียวได้นก 2-3 ตัว
ผลลัพธ์จากนวัตกรรม ผู้ป่วยเบาหวานมีระดับน้ำตาลในเลือดที่อยู่ในเกณฑ์ดี (80 mg% - 130 mg% ) เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 60 ผู้ป่วยเบาหวานในคลินิกมีสมุดประจำตัวและได้รับการติดบัตรยิ้ม ซึ่งสัมพันธ์กับระดับน้ำตาลในเลือดที่ตรวจพบถูกต้อง ร้อยละ 100 การเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตรายใหม่ในผู้ป่วยเบาหวาน (กำลังรวบรวมข้อมูล)
การพัฒนาต่อยอด กำหนดเป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน ใช้เป็นแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงต่อไป นิเทศ ติดตามกระบวน ขั้นตอน กิจกรรมการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในคลินิกเบาหวานในคลินิกบริการและเครือข่ายสุขภาพ ติดตาม ดูแล ผู้ป่วยเบาหวานที่มีปัญหาที่บ้าน
บทเรียนที่ได้รับ การหยุดอยู่กับที่ ไม่พัฒนาสิ่งใหม่ๆให้กับองค์กร ไม่เพียงทำให้องค์กรล้าหลัง แต่จะส่งผลกระทบโดยรวมต่อระบบสาธารณสุขของประเทศ การมองเห็นปัญหาจากสิ่งที่มีอยู่เดิม จะช่วยให้เรามองเห็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาสิ่งเหล่านั้นให้ดีขึ้นกว่าเดิม ตลอดจนริเริ่มงานใหม่ๆให้กับองค์กร
นวัตกรรม บัตรหน้ายิ้ม กลุ่มผู้ป่วยที่คุมน้ำตาล ในเกณฑ์ ดี กลุ่มผู้ป่วยที่คุมน้ำตาล ในเกณฑ์ พอใช้ กลุ่มผู้ป่วยที่คุมน้ำตาล ในเกณฑ์ ไม่ดี
การนำบัตรยิ้มมาใช้กับผู้ป่วย
การนำบัตรยิ้มมาใช้กับผู้ป่วย
การนำบัตรยิ้มมาใช้กับผู้ป่วย
ขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจ