บทที่1หลักการ ทฤษฎี และวิวัฒนาการทางการบริหาร โดย ดร.เตือนใจ ดลประสิทธิ์
เนื้อหา ประกอบด้วย แนวคิด หลักการ และทฤษฎี วิวัฒนาการทางการบริหาร เนื้อหา ประกอบด้วย แนวคิด หลักการ และทฤษฎี วิวัฒนาการทางการบริหาร การบริหาร กระบวนการบริหาร ผู้บริหาร
วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ความเป็นมาของวิวัฒนาการทางการบริหารได้ถูกต้องและครอบคลุม เพื่อให้ผู้เรียนอธิบายความหมายและความสำคัญของการบริหารได้อย่างถูกต้อง เพื่อให้ผู้เรียนอภิปรายลักษณะ ทฤษฎี หลักการ และกระบวนการบริหารได้ เพื่อให้ผู้เรียนวิเคราะห์ปัญหาทางการบริหารและระบุแนวทางการแก้ปัญหาได้
วิธีการสอน การสอนแบบบรรยาย การสอนแบบอภิปราย การสอนแบบระดมสมอง การศึกษาด้วยตนเอง
กิจกรรมการเรียนการสอน ผู้เรียนศึกษาตำรา เอกสารคำสอน สื่อออนไลน์ในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องล่วงหน้า ผู้เรียนรับฟังคำบรรยายสรุปเกี่ยวกับเนื้อหาที่ศึกษาโดยเน้นประเด็นสำคัญๆเพื่อจุดประกายความคิดที่เกี่ยวข้องกับกระบวนทัศน์การบริหาร ผู้เรียนร่วมอภิปราย แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการบริหารในประเด็นต่างๆทั้งแบบกลุ่ม หรือการโต้ตอบผ่านสื่อออนไลน์ ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการทางบริหารในกรณีศึกษา ตามความสนใจ รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์และเสนอแนวทางการปฏิบัติ โดยจัดทำเป็นรายงานสรุป ประกอบการนำเสนองาน
สื่อการเรียนการสอน สื่อออนไลน์ ตำรา เอกสารคำสอนประจำวิชา วารสารวิชาการ รายงานการวิจัย ฐานข้อมูลและเว็ปไซต์ที่เกี่ยวกับการบริหาร
การวัดผลและประเมินผล การสังเกตการณ์ตอบคำถาม การมีส่วนร่วมในการอภิปราย และการแสดงความคิดเห็น การพิจารณาจากผลงานที่เป็นรายงานการศึกษาค้นคว้า การนำเสนองาน
แนวคิด หลักการ และทฤษฎี ความสำคัญของการบริหาร การบริหารเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ กล่าวคือความรู้หรือทฤษฎีที่ใช้ในการบริหารคือศาสตร์ (Science) ส่วนความสามารถในการบริหารจัดการและการดำเนินงานถือเป็นศิลป์ (Art) ในการบริหารจัดการต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ การบริหารถือว่าเป็นศาสตร์อย่างหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างมากในยุคปัจจุบันที่ผู้บริหารหรือบุคคลอื่นๆต้องนำมาใช้ในการบริหารจัดการ ตลอดจนการดำเนินชีวิตของบุคคลให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น เป็นศาสตร์หรือความรู้ที่บุคคลทุกระดับนำมาเป็นเครื่องสนับสนุนส่งเสริมให้การปฏิบัติงานบรรลุวัตถุประสงค์ มีคุณภาพดียิ่งขึ้น การบริหารงานจะประสบความสำเร็จผู้บริหารจะต้องรู้จักใช้ศาสตร์และศิลป์ทางการบริหารจัดการที่ผสมผสานกันอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ ซึ่งไม่มีคำตอบตายตัว ทั้งนี้ต้องอาศัยพื้นฐานของประสบการณ์ สัญชาตญาณ ดุลยพินิจส่วนตัว และทักษะด้านต่างๆของผู้บริหารแต่ละคน การบริหารเป็นวิชาชีพชั้นสูง (Professional) เนื่องจาก 1)เป็นองค์ความรู้ที่มีระบบ (Systematic Body of Knowledge) มีองค์ความรู้เฉพาะศาสตร์ มีหลักการ ทฤษฎี แบบแผนการปฏิบัติ และการค้นคว้าวิจัยในศาสตร์ให้พัฒนาอยู่เสมอ 2) มีจรรยาบรรณวิชาชีพ (Code of Conduct/Professional Ethics) 3) มีมาตรฐานการปฏิบัติงาน (Operation Standard) และ 4) มีองค์กรวิชาชีพ (Professional Association) มีองค์กรที่ทำหน้าที่ส่งเสริม พัฒนา รับรอง ออกใบอนุญาต ตรวจสอบติดตามการปฏิบัติในวิชาชีพ ให้เกียรติ ยกย่อง ให้รางวัล ซึ่งได้แก่คุรุสภา
ทฤษฎีทางบริหารการศึกษา เสน่ห์ จุ้ยโต (2548) ทฤษฎี หมายถึง กรอบแนวคิด หลักการ ข้อสมมุติ ข้อทฤษฎีที่อธิบายปรากฏการณ์หรือตัวแปรที่สอดคล้องสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบ สามารถอธิบายได้ ทดลองได้ และพิสูจน์ให้เห็นจริงได้ ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ (2545) ทฤษฎี หมายถึง การจัดกลุ่มอย่างมีระบบของความคิดและหลักเกณฑ์ ซึ่งกำหนดโครงร่างการทำงาน หรือการนำความรู้มารวมกันเป็นความรู้ที่สำคัญในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ความหมายของทฤษฎี (ต่อ) สมิหรา จิตตลดากร (2546) ทฤษฎี หมายถึง อรรถาธิบายที่ใช้ได้ทั่วๆไป (Generalized Explanation) สำหรับแสดงความสัมพันธ์ลักษณะหนึ่งของปรากฏการณ์ชุดหนึ่ง หรือข้อความที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์เชิงเหตุผลของข้อเท็จจริงชุดหนึ่งที่ผ่านการทดสอบมาแล้ว และเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในหมู่นักวิชาการสาขาวิชาการนั้นๆ
ความหมายของทฤษฎี (ต่อ) Concept + Concept + Concept Assumption Proposition Proposition Hypothesis Hypothesis Model Hypothesis Paradigm Theory
ความหมายของทฤษฎี (ต่อ) เฟรด เอ็น เคอร์ ลิงเกอร์ ( Fred N. Kerlinger, 1986: 9) ได้ให้ คำนิยามทฤษฎี ว่าเป็นกลุ่มของ โครงสร้าง (Constructs) คำนิยาม (Definitions) และข้อเสนอที่ต้องการพิสูจน์ (Propositions) ที่เสนอความ คิดเห็นของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องสัมพันธ์กัน พร้อมกันนั้นก็ระบุความสัมพันธ์ ของตัวแปรต่างๆ เพื่อที่จะอธิบายและคาดการณ์ปรากฏการณ์นั้นๆ
ความหมายของทฤษฎี (ต่อ) สรุปได้ว่า ทฤษฎี หมายถึง เป็นการรวมกลุ่มอย่างมีระบบและสัมพันธ์กันของหลักการต่างๆซึ่งกำหนดโครงร่างการทำงาน หรือการนำความรู้มารวมกันเป็นความรู้ที่สำคัญในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
วิวัฒนาการทางการบริหาร เสน่ห์ จุ้ยโต (2548) ได้จัดประเภทของทฤษฎีการบริหารออกเป็น 4 ประเภท ทฤษฎีฐานคติ (Assumptive Theory) ทฤษฎีปทัสถาน (Normative Theory) ทฤษฎีประจักษ์วาท (Empirical Theory) ทฤษฎีอุปกรณ์ (Instrumental Theory)
วิวัฒนาการทางการบริหาร (ต่อ) แบ่งออกได้ เป็น 4 ยุค ได้แก่ ยุคการบริหารแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management Era) ยุคมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations Era ) ยุคการบริหารเชิงพฤติกรรมศาสตร์ ( Behavioral Science Management Era) ยุคการ บริหารเชิงระบบ (Systematic Approach Management Era)
วิวัฒนาการทางการบริหาร (ต่อ) ยุคการบริหารแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management Era)ได้แก่ Adam Smith แนวคิดเพื่อพัฒนาระบบบริหารเริ่มมาตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1879 โดย Smith นักเศรษฐศาสตร์ ได้ชี้ว่า การแบ่งงานกันทำตามความชำนาญทำให้ เพิ่มผลผลิตได้นั้นเพราะเหตุผล 3 ประการ คือ เพิ่มทักษะการทำงาน แบ่งงานกันทำเป็นส่วนๆ ทำให้ ย่นระยะเวลาการส่งทอดงาน เครื่องจักรช่วยทุ่นแรง ทำให้สามารถทำงานได้มากขึ้้น
วิวัฒนาการทางการบริหาร (ต่อ) Frederick W Taylor Taylor ได้ ชื่อว่าเป็นบิดาของการบริหารแบบวิทยาศาสตร์ สรุปแนวคิดที่สำคัญในการบริหารแบบวิทยาศาสตร์ ไว้ 4 ประการ คือ การปรับปรุงระบบการผลิตด้วยการหาวิธี ที่ดีที่สุด (One best way) การคัดเลือกและจัดบุคคลเข้าทำงานอย่างเป็นระบบ (Put the right man to the right job) และมีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง การจูงใจด้านการเงิน โดยให้ ค่าตอบแทนเป็นสัดส่วนกับผลผลิตของแต่ ละบุคคล (Equal Work, Equal pay) การเน้นความชำนาญเฉพาะอย่างและแบ่งงานกันทำระหว่างฝ่ายบริหาร และฝ่ายปฏิบัติการ (Specification and Division of Work)
วิวัฒนาการทางการบริหาร (ต่อ) Frank และ Lilian Gilbreth Gilbreth มี ความสนใจในเรื่องที่ เกี่ยวกับพื้นที่ หรือบริเวณที่ ปฏิบัติงานและการวางตำแหน่งเครื่องมือต่างๆ ได้ เสนอการวิเคราะห์ การปฏิบัติ งานเชิงพื้นฐาน ออกเป็น 17 องค์ ประกอบคือ 1)แสวงหา (search) 2) ค้นหา (find) 3) เลือก (select) 4) จับฉวย (grasp) 5) จัดตำแหน่ง( position) 6) ประกอบ (assemble) 7) ใช้ (use) 8) ถอด (disassemble) 9) ตรวจสอบ ( inspect) 10) ขนส่ง(transport) 11) กำหนดล่วงหน้า ( reposition) 12) ปล่อย (release) 13) ทำให้ว่าง (empty) 14)รอคอย (wait) 15) ความล่าช้าที่หลีกเลี่ยงได้ และไม่ได้ ( avoidable and unavoidable relays) 16)หยุดพัก (rest) 17) วางแผน (plan)
วิวัฒนาการทางการบริหาร (ต่อ) Henry L. Gantt Gantt เป็นที่ รู้จักมากที่สุด จากงานการพัฒนาเส้นกราฟ สำหรับการวางแผนการ บริหารงานการควบคุมการผลิต แผนภูมิ ของ Gantt ( Gantt chart) ถูกนำมาใช้ ครั้งแรกใน สงครามโลกครั้งที่ 1 องค์ประกอบสำคัญในแนวคิดของเขาก็ คือ การกำหนดการโดยอาศัยเวลา แทนการใช้ ปริมาณงาน จากผลงานของเขานี้เอง Gantt จึงได้รับเหรียญบริหารยอดเยี่ยมจาก รัฐบาล ประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้ นำแผนภูมิของ Gantt ไปใช้ แม้ กระทั่งประเทศสาธารณรัฐรัสเซีย ในสมัยนั้น นักวางแผนของรัฐบาลกลางก็ ใช้ แผนภูมิของ Gantt ในการควบคุมแผนงาน 5 ปี อีกด้วย
วิวัฒนาการทางการบริหาร (ต่อ) Harring Emerson Emerson เป็นที่ รู้จักดีกับผลงาน “ หลักประสิทธิ ภาพ 12 ประการ” 1) มี วัตถุประสงค์ขององค์การที่ ชัดเจน 2) ใช้สามัญสำนึกในการค้นหาปัญหาและความรู้ ที่จะต้องใช้ 3) สร้างบุคลากรที่ มีความสามารถ 4) มีกฎระเบียบเฉพาะสำหรับองค์การ 5) มีความยุติธรรมกับผู้ร่วมงานทุกคน 6) มี ระเบียบ และรายงานที่เชื่อถือได้ ถูกต้อง ทันต่อเหตุการณ์ 7) มี ระบบการติดต่อสื่อสารที่ รวดเร็วฉับไว 8) มี มาตรฐานและกำหนดการที่แน่นอน 9) มี สภาพแวดล้อมที่ ได้ มาตรฐาน 10) มี การดำเนินงานที่ เป็นมาตรฐาน 11) มี ข้อแนะนำการปฏิบัติงานเขียนไว้ เป็นลายลักษณ์ อักษร 12) มีแผนการจ่ายค่าตอบแทนที่ มี ประสิทธิภาพ
วิวัฒนาการทางการบริหาร (ต่อ) Henri Fayol Fayol ไ ด้พิมพ์หนังสือชื่อ ทฤษฎี การบริหารงานของรัฐ ( The Theory of the Administration of the state) ซึ่งมีองค์ ประกอบของการบริ หารสำคัญ 5 ประการ ( POCCC) 1) การวางแผน(Planning) หมายถึง การคาดการณ์ และกำหนดวิธี การพิจารณา ถึงอนาคต โดยการวางแผนเกี่ยวกับสิ่งที่ จะกระทำ 2) การจัดองค์ การ (Organizing) หมายถึง การกำหนดโครงสร้าง จัดหาอุปกรณ์ และบุคลากรที่ จะต้องใช้ ในการดำเนินงาน 3) การสั่งการ ( Commanding) หมายถึง การรักษาไว้ ซึ่งกิจกรรมต่างๆ ของบุคลากร 4) การประสานงาน (Coordinating) หมายถึง การทำให้ รวมกันอยู่และเกิดความ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของกิจกรรมและความพยายามต่าง ๆ 5) การควบคุม (Controlling) หมายถึง การทำให้ แน่ใจว่าทุกอย่างดำเนินไปตาม หลักเกณฑ์ หรือคำสั่ง
วิวัฒนาการทางการบริหาร (ต่อ) Luther Gulick และ Lyndall Urwick Gulickและ Urwickได้ ขยายความคิดของกระบวนการบริหารออกเป็น 7 ขั้น โดยทั่วไปใช้ อักษรย่อ คือ POSDCORB ได้แก่ Planning การวางแผน Organizing การจัดองค์การ Staffing การจัดการบุคลากร Directing การกำกับงาน Coordinating การประสานงาน Reporting การรายงาน Budgeting การงบประมาณ
วิวัฒนาการทางการบริหาร (ต่อ) ยุคมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations Era) แนวความคิดของนักบริหารเชิงมนุษยสัมพันธ์ เห็นว่า การบริหารแบบวิทยาศาสตร์ เป็นส่วนหนึ่ง ของการบริหาร แต่ไม่ใช่ หัวใจของ การบริหารทั้งหมด ความสำคัญของการทำงานขึ้นอยู่กับคนที่ ปฏิบัติงานด้วย เพราะคนมี ชีวิตจิตใจมี ความคิดต้องการการยอมรับ ต้องการกำลังใจในการทำงาน
วิวัฒนาการทางการบริหาร (ต่อ) Mary Parker Follett นักสังคมสงเคราะห์ ที่ จุดประกายแนวคิดทางการบริหารเชิงมนุษย์ สัมพันธ์ คือ Follett โดย Follett ได้ ประยุกต์ ความรู้ พื้นฐานด้านจิตวิทยาและสังคมสงเคราะห์ ของเธอเพื่อทำความเข้าใจกับแนวความคิดเกี่ยวกับอำนาจ ( Authority) และการจูงใจ ( Motivation) ในโรงงาน อุตสาหกรรม
วิวัฒนาการทางการบริหาร (ต่อ) สรุปเป็นขั้นตอนดังต่อไปนี้ ขั้นที่ 1 ย้ายคนงานหญิง 5 คน จากขั้นที่ ประกอบเครื่องรวม แยกไปอยู่ห้องประกอบ เดี่ยวคนละห้อง ขั้นที่ 2 เปลี่ยนระบบการจ่ายค่าตอบแทนพิเศษ โดยคิดจากผลงานของ 5 คน แทนที่ จะเป็นผลงานรวมของกลุ่มทั้ง 100 คน ขั้นที่ 3 ให้ พัก 2 ช่วงๆ ละ 5 นาที ในภาคเช้าและบ่าย ขั้นที่ 4 ต่อมาได้ เพิ่มเวลาพักเป็นช่วงละ 10 นาที ขั้นที่ 5 ต่อมาช่วงเวลาพักเป็นเวลา 5 นาที แต่เพิ่มการพักเป็น 6 ช่วง ขั้นที่ 6 ภายหลังลดจำนวนช่วงการพักเป็นภาคละ 2 ช่วง แต่ในภาคเช้าจัดกาแฟ หรือซุปพร้อมกับแซนวิชให้ ส่วนภาคบ่ายก็ มี อาหารว่างให้ เช่นกัน ขั้นที่ 7 ต่อมาการพักในภาคเช้าขยายเป็น 15 นาที โดยมี อาหารว่างจัดให้ เหมือนเดิม ขั้นที่ 8 มี การเปลี่ยนแปลงวันเวลาการทำงาน เช่น ลดชั่วโมงการทำงาน หรือยกเลิก การทำงานในวันเสาร์ ขั้นที่ 9 เปลี่ยนแปลงระบบแสงสว่าง การระบายอากาศ และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ
วิวัฒนาการทางการบริหาร (ต่อ) Rensis Likert Likert ได้ศึกษาถึงระบบการบริหาร 4 แบบ ( Four Management Systems) ซึ่ง ประกอบด้วย ระบบ1: แบบเผด็จการ (Exploitive-Authoritative) ระบบ 2: แบบเผด็จการแบบมีศิลป์ (Benevolent-Authoritative) ระบบ 3: แบบให้ คำปรึกษา (Consultative) ระบบ 4: แบบการมีส่วนร่วมของกลุ่ม ( Group Participative)
วิวัฒนาการทางการบริหาร (ต่อ) ยุคการบริหารเชิงพฤติกรรมศาสตร์ (Behavieral Science Management Era) Max weber Webber อธิบายการบริหารงานองค์ การในรูปแบบอุดมคติว่า องค์ ประกอบของการบริหาร ระบบราชการ จะต้องมีลักษณะสำคัญ ดังนี้ องค์การกำหนดสายการบังคับบัญชาชัดเจน องค์การกำหนดตำแหน่งและอำนาจหน้าที่ ของแต่ละคนอย่างชัดเจน มี กฎ มีระเบียบ ข้อบังคับในการปฏิบัติงาน มี การงานกันตามความชำนาญเฉพาะด้าน มี ระบบการจูงใจในการทำงาน โดยการกำหนดอัตราเงินเดือนตามตำแหน่งและระยะเวลาในการทำงาน มี ระบบความสัมพันธ์ ภายในองค์การอย่างเป็นทางการ ไม่มีการติดต่อกันส่วนตัว หรือข้ามสายงานการบังคับบัญชา ใช้ ระบบคุณธรรมในการบริหารงาน มีเหตุผลในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาโดย อาศัยกรอบกฎเกณฑ์ ที่วางไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
วิวัฒนาการทางการบริหาร (ต่อ) Abraham Maslow นักจิตวิทยา ชื่อ Maslow ได้ นำเสนอเกี่ยวกับระดับขั้นความต้องการ ( Need Hierarchy) ของมนุษย์ ซึ่งใช้ สำหรับอธิบายกระบวนการจูงใจ Maslow ระบุขั้นความต้องการของมนุษย์ ไว้ 5 ระดับ โดยมี พื้นฐานว่ามนุษย์ มีความต้องการจากระดับไประดับสูงเหมือนขั้นบันได คือ ความต้องการทางร่างกาย (Physiological) ความต้องการความปลอดภัย (Security) ความต้องการทางสังคม (Social) ความต้องการทางจิตใจ (Psychological) และ ความต้องการบรรลุถึงศักยภาพของตน (Self-actualization)
วิวัฒนาการทางการบริหาร (ต่อ) Douglas McGregor แนวคิดของ McGregor ที่ รู้ จักกันทั่วไปว่า ทฤษฎี X และทฤษฎี Y เป็นทฤษฎีการบริหารเชิง พฤติกรรมศาสตร์ ซึ่งแบ่งคนออกเป็น 2 ประเภท คือ ทฤษฎี X มีสมมติฐานว่า คนเกียจคร้าน ไม่ชอบทำงาน ไม่มีความรับผิดชอบต้องการเพียง ความมั่นคงของตำแหน่งงาน การกำกับคนประเภทนี้ต้องใช้ การบังคับขู่เข็ญทำให้กลัว ทฤษฎี Y มี สมมติฐานว่า โดยธรรมชาติคนชอบทำงาน มีวินัยในการควบคุมตนเองมี ความ รับผิดชอบต้องการทำงานให้ สำเร็จตามศักยภาพของตน และสรุปว่าการบริหารงานสมัยก่อนบริหารแบบทฤษฎี X คือ มองคนในแง่ลบ สำหรับ ทฤษฎี Y ซึ่ง มองคนในแง่บวกนั้น เป็นพื้นฐานของการพัฒนาระบบการบริหารจัดการสมัยใหม่ ตลอดทั้งการควบคุมและภาวะผู้นำ
วิวัฒนาการทางการบริหาร (ต่อ) Frederick Herzberg Herzberg ก็นับว่าเป็นนักพฤติกรรมศาสตร์ อีกผู้หนึ่งที่ ชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่าง ปัจจัย ที่ทำให้คนพอใจและไม่พอใจในการทำงาน ซึ่งรู้จักกันในนามทฤษฎี การจูงใจสองปัจจัย (Two-Factor of Motivation Theory) โดยแบ่งเป็น ปัจจัยพื้นฐานหรือค้ำจุน (Hygiene Factors) และปัจจัยจูงใจ (Motivators Factors)
วิวัฒนาการทางการบริหาร (ต่อ) โดยสรุป การบริหารเชิงพฤติกรรมศาสตร์ 1. องค์การเป็นระบบสังคม (Social System) และระบบเทคนิคทางเศรษฐกิจ (Technical Economic System) ระบบนี้กำหนดบทบาทหน้าที่ ของบุคคลซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ ตามแบบขององค์การ 2. บุคคลในองค์การไม่ได้ ต้องการแรงจูงใจทางเศรษฐกิจเพียงพออย่างเดียว แต่ต้องการ แรงจูงใจทั้งทางจิตวิทยาและสังคมวิทยา พฤติกรรมของคนอาจเป็นผลจากอารมณ์ ความรู้สึก และทัศนคติ 3. ลักษณะการทำงานของกลุ่มแบบไม่เป็นทางการเป็นเรื่องสำคัญที่ ควรเอาใจใส่ กลุ่มมี บทบาทที่สำคัญในการกำหนดทัศนคติและการทำงาน 4. ผู้บริหารยังคงเน้นเรื่องอำนาจตามตำแหน่ง แต่นำเอามนุษยสัมพันธ์ การใช้อำนาจ แบบประชาธิปไตยมาประกอบการบริหารด้วย 5. ความพอใจในผลงานทำให้ เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพของงาน 6. พัฒนาระบบการติดต่อสื่อสารระหว่างระดับต่าง ๆ ในหน่วยงาน 7. ผู้ บริหารมี ทักษะทางสังคมและความชำนาญทางเทคนิค 8. ผู้บริหารคำนึงถึงความต้องการทางสังคมวิทยา จิตวิทยาให้ ปฏิบัติ งานมี ส่วนร่วมในการตัดสินใจ
วิวัฒนาการทางการบริหาร (ต่อ) ยุคการบริหารเชิงระบบ (Systematic Approach Management Era) Harold Koontz ได้ แบ่งระบบออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 1. ระบบปิด (Closed-loop System) ลักษณะของระบบปิด แสดงความสัมพันธ์แบบ ทางเดียวระหว่างเหตุผล จะเน้นและสนใจเฉพาะภายในระบบเท่านั้น ในระบบปิดถือว่าองค์การ ย่อมไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมภายนอก 2. ระบบเปิด (Opened-loop System) ลักษณะของระบบเปิด แสดงความสัมพันธ์ แบบ สองทาง มีข้อมูลย้อนกลับเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาด ระบบเปิดย่อมถือว่าองค์การมิได้อยู่โดดเดี่ยวโดย ลำพัง แต่องค์การมี อิทธิพลต่อสภาพแวดล้อมภายนอก และในขณะเดียวกันก็ ได้รับอิทธิพลจาก สภาพแวดล้อมภายนอกด้วย
วิวัฒนาการทางการบริหาร (ต่อ) ระบบการบริหาร ประกอบด้วยส่วนที่ สำคัญ 3 ส่วน คือ ปัจจัยนำเข้ า (input) กระบวนการ (process) ผลผลิต (output)
วิวัฒนาการทางการบริหาร (ต่อ) ปัจจัยนำเข้ า (Input) หรือทรัพยากรการบริหาร เป็นทรัพยากรที่ จัดเตรียมไว้ สำหรับการดำเนินงาน ได้แก่ คนหรือทรัพยากรมนุษย์ เงิน/งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ เทคนิค วิธีการบริหาร และเวลา กระบวนการหรือกระบวนการบริหาร (Process of Management) เป็นการ บริหารจัดการให้ งานดำเนินไปได้ จนบรรลุ วัตถุประสงค์ กระบวนการบริ หาร (process of Management) ประกอบด้วย การวางแผน (Planning) การจัดองค์การ (Organizing) การนำ(Leading) และการควบคุม (Controlling) การใช้ ทรัพยากรเพื่อให้ การปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมาย ผลผลิต (Output) เป็นผลผลิตหรือบริการที่ให้ แก่ประชาชน ซึ่งสามารถนำมา เป็นข้อมูลในการประเมินผลการดำเนินงานได้ โดยเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่ได้ กำหนดไว้
การบริหาร นพพงษ์ บุญจิตราดุล (2534: 3) กล่าวว่าการบริหารหมายถึงกิจกรรมต่างๆที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมมือกันดำเนินการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายที่บุคคลร่วมกันกำหนด โดยใช้กระบวนการอย่างมีระเบียบ และใช้ทรัพยากรตลอดจนเทคนิคต่างๆอย่างเหมาะสม ธงชัย สันติวงษ์ (2535: 13) ให้ความหมายว่า การบริหารหมายถึง ภาระหน้าที่ของผู้นำของกลุ่ม ซึ่งจะต้องจัดการให้ทรัพยากรทั้งที่เป็นตัวคน และวัตถุสามารถประสานเข้าด้วยกัน เพื่อร่วมกันทำงานเป็นองค์การที่มีคุณภาพได้ และขณะเดียวกันก็จะต้องจัดการนำองค์การให้สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายนอกได้อย่างดีที่สุดด้วย
การบริหาร (ต่อ) บุญทัน ดอกไธสง (2530) กล่าวว่า ถ้าพิจารณาจากความหมายแล้ว คำทั้งสองจะพบความแตกต่างกันเล็กน้อย ดังนี้ Administration เป็นการบริหารงานในองค์การขนาดใหญ่ เช่นระบบราชการ ซึ่งมีการบริหารที่เป็นไปตามตัวบทกฎหมาย การบริหารในลักษณะนี้จึงอาจขาดความคล่องตัว เพราะการตัดสินใจใดๆจะต้องอาศัยการอนุมัติจากผู้บริหารระดับสูง ระบบงานจึงเป็นไปอย่างอืดอาด และชักช้า Management เป็นการบริหารงานในลักษณะของธุรกิจที่มีความรวดเร็ว มีการตัดสินใจที่สามารถปรับตัวได้ตามสถานการณ์ โดยเน้นผลกำไรเป็นเป้าหมายสูงสุด การบริหารงานในลักษณะ Management จึงต้องมีผู้นำที่มีความสามารถสูง
การบริหาร (ต่อ) กูรุก (Guruge. 1970) ผู้เชี่ยวชาญทางการศึกษาของยูเนสโก สรุปความหมายของการบริหารไว้ว่า การบริหารเป็นกระบวนการที่เกี่ยวกับการวินิจฉัย ตัดสินในการวางแผนประกอบกับการใช้ข้อมูลต่างๆมาควบคุมการปฏิบัติงาน เพื่อความก้าวหน้าของงานให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ และผู้บริหารจะต้องมีเทคนิคในการบริหารโดยใช้เครื่องมือ วิธีการและวิธีปฏิบัติต่างๆในการนิเทศ แนะแนว และจูงใจบุคลากรให้ปฏิบัติงานให้ได้ผลดี เฮอร์ซีและบลังชาร์ด (Hersey and Blanchard, 1988) กล่าวไว้ การบริหารภายในองค์การมักใช้คำว่า การจัดการ (Management) มากกว่าการใช้คำว่า การบริหาร (Administration) การบริหารในเชิงธุรกิจ มีความหมายถึงกระบวนการทำงานโดยอาศัยคน กลุ่ม และทรัพยากรต่างๆภายในองค์การเป็นเครื่องมือ เพื่อให้เป้าหมายขององค์การดำเนินไปสู่ความสำเร็จ
การบริหาร (ต่อ) จากความหมายที่กล่าวมาข้างต้นสรุปได้ว่า การบริหารคือ การปฏิบัติกิจกรรมของบุคคลคนตั้งแต่สองคนขึ้นไป ร่วมมือกันใช้เทคนิค กระบวนการ และทรัพยากรต่างๆที่มีอยู่ เพื่อให้การดำเนินการขององค์การบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ การบริหาร (Administration) ใช้กับการบริหารระดับสูงที่เน้นการกำหนดนโยบายและการกำหนดแผนของผู้บริหารระดับสูง นิยมใช้ในการบริหารภาครัฐหรือหน่วยงานราชการ ไม่หวังผลกำไร การจัดการ (Management) เน้นการปฏิบัติการตามนโยบาย นิยมใช้ในการจัดการธุรกิจหรือเอกชน
4.กระบวนการบริหาร ประกอบด้วย 1. การวางแผน (Planning) เป็นขั้นตอนในการกำหนดวัตถุประสงค์และพิจารณาถึงวิธีการที่ควรปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้น ประกอบด้วย การดำเนินการตรวจสอบตัวเอง เพื่อกำหนดสถานภาพในปัจจุบันขององค์การ การสำรวจสภาพแวดล้อม การกำหนดวัตถุประสงค์ การพยากรณ์สถานการณ์ในอนาคต การกำหนดแนวทางปฏิบัติงานและความจำเป็นในการใช้ทรัพยากร การประเมินแนวทางปฏิบัติงานที่วางไว้ การทบทวนและปรับแผนเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลง และผลลัพธ์ของการควบคุมไม่เป็นไปตามที่กำหนด การติดต่อสื่อสารในกระบวนการของการวางแผนเป็นไปอย่างทั่วถึง
4.กระบวนการบริหาร (ต่อ) 2. การจัดองค์การ (Organizing) เป็นขั้นตอนในการจัดบุคคลและทรัพยากรที่ใช้ในการทำงาน เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการทำงานนั้น การจัดองค์การประกอบด้วย การระบุและอธิบายงานที่จะถูกนำไปดำเนินการ การกระจายงานออกเป็นหน้าที่ (Duties) การรวมหน้าที่ต่างๆ เข้าเป็นตำแหน่งงาน (Positions) การอธิบายถึงสิ่งที่จำเป็นหรือความต้องการของตำแหน่งงาน การรวมตำแหน่งงานต่างๆ เป็นหน่วยงานที่มีความสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสม และสามารถบริหารจัดการได้ การมอบหมายงาน ความรับผิดชอบ และอำนาจหน้าที่ การทบทวนและปรับโครงสร้างขององค์การ เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลง และผลลัพธ์ของการควบคุมไม่เป็นไปตามที่กำหนด การติดต่อสื่อสารในกระบวนการของการจัดองค์การเป็นไปอย่างทั่วถึง การกำหนดความจำเป็นของทรัพยากรมนุษย์ การสรรหาผู้ปฏิบัติงานอย่างมีศักยภาพ การคัดเลือกจากบุคคลที่สรรหามา การฝึกอบรมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต่างๆ การทบทวนและปรับคุณภาพและปริมาณของทรัพยากรมนุษย์ เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลง และผลลัพธ์ของการควบคุมไม่เป็นไปตามที่กำหนด การติดต่อสื่อสารในกระบวนการของการจัดคนเข้าทำงานเป็นไปอย่างทั่วถึง
4.กระบวนการบริหาร (ต่อ) 3. การนำ (Leading) เป็นขั้นตอนในการกระตุ้นให้เกิดความกระตือรือร้น และชักนำความพยายามของบุคลากรให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการใช้ความพยายามของผู้บริหารที่จะกระตุ้นให้บุคลากรมีศักยภาพในการทำงานสูง ดังนั้น การนำ (Leading) จะช่วยให้งานบรรลุความสำเร็จ เสริมสร้างขวัญและจูงใจผู้ใต้บังคับบัญชา ประกอบด้วย การติดต่อสื่อสารและอธิบายวัตถุประสงค์ให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาให้ทราบ การมอบหมายมาตรฐานของการปฏิบัติงานต่างๆ การให้คำแนะนำและคำปรึกษาแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ให้สอดคล้องกับมาตรฐานของการปฏิบัติงาน การให้รางวัลแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาบนพื้นฐานของการปฏิบัติงาน การยกย่องสรรเสริญและการตำหนิติเตียนอย่างยุติธรรมและถูกต้องเหมาะสม การจัดหาสภาพแวดล้อมมากระตุ้นการจูงใจ โดยการติดต่อสื่อสาร เพื่อสำรวจความต้องการและสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง ทบทวนและปรับวิธีการของภาวะความเป็นผู้นำ เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลง และผลลัพธ์ของการควบคุมไม่เป็นไปตามที่กำหนด การติดต่อสื่อสารโดยทั่วทุกแห่งในกระบวนการของภาวะความเป็นผู้นำ
4.กระบวนการบริหาร (ต่อ) 4. การควบคุม (Controlling) เป็นการติดตามผลการทำงาน และแก้ไขปรับปรุงในสิ่งที่จำเป็น หรือเป็นขั้นตอนของการวัดผลการทำงาน และดำเนินการแก้ไขเพื่อให้บรรลุผลที่ต้องการ การควบคุมประกอบด้วย การกำหนดมาตรฐาน การเปรียบเทียบและการติดตามผลการปฏิบัติงานกับมาตรฐาน การแก้ไขความบกพร่องเปลี่ยนแปลง และผลลัพธ์ของการควบคุมไม่เป็นไปตามที่กำหนด การทบทวนและปรับวิธีการควบคุม เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลง และผลลัพธ์ของการควบคุมไม่เป็นไปตามที่กำหนด การติดต่อสื่อสารในกระบวนการของการควบคุมเป็นไปอย่างทั่วถึง
5.ผู้บริหาร 5.1 ความหมาย อุทัย หิรัญโต (2531) ผู้บริหาร หมายถึง บุคคลที่มีตำแหน่งเป็นผู้บังคับบัญชา ตลอดจนรับผิดชอบต่อผลงานของผู้ใต้บังคับบัญชา หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือบุคคลที่ทำหน้าที่เป็นหัวหน้า ควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติงานตามกฎระเบียบของการบริหารงาน หรือผู้ที่มีความรอบรู้ในงานด้านบริหารจัดการคน งาน เงิน และกฎระเบียบ ทองทิพภา วิริยะพันธุ์ (2550) ผู้บริหาร หมายถึง ผู้ที่มีบทบาทหน้าที่ในการบริหารองค์กร หรือในการนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ ซึ่งได้แก่ การบริหารองค์กรให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ดังนั้น ผู้บริหารจึงถือว่าเป็นบุคคลที่มีส่วนร่วมหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารองค์กรที่สำคัญยิ่ง หากองค์กรมีผู้บริหารที่มีความรู้ความสามารถ มีศักยภาพในการบริหารงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ประหยัดและโปร่งใส องค์กรนั้นย่อมประสบความสำเร็จได้ไม่ยากนัก
5.ผู้บริหาร (ต่อ) 5.1 ความหมาย ผู้บริหาร หมายถึงผู้ที่มีหน้าที่ใน 3 ส่วน ดังต่อไปนี้ คือ 1.Direction - ผู้บริหาร คือผู้ที่มีหน้าที่ในการสร้างวิสัยทัศน์ แนวทางเดินที่ชัดเจน และนำเสนอให้ทีมงานอยากที่จะเดินตามไปด้วยกัน 2.Motivation - ผู้บริหาร คือผู้มีหน้าที่ในการสร้างแรงจูงใจ และกระตุ้นการทำงานของทีมงาน 3.Organization - ผู้บริหาร คือผู้มีหน้าที่ในการบริหารจัดการ หรือวางกลยุทธ์ ทั้งด้านงาน และด้านคน พร้อมทั้งควบคุมการเดินทางของทั้งสองส่วนให้ไปด้วยกันสู่ความสำเร็จได้(http://www.thaitrainingzone.cyeom/HrdNewsDetail.asp?id=288
5.ผู้บริหาร (ต่อ) 5.1 ความหมาย หวน พินธุพันธ์ (2549) ผู้บริหาร หมายถึง ผู้ที่ทำให้หน่วยงานได้รับความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยตนเองไม่ได้เป็นผู้ปฏิบัติงานนั้นโดยตรง แต่อาศัยความร่วมมือให้ผู้อื่นเป็นผู้ปฏิบัติแทน
5.ผู้บริหาร (ต่อ) เพอร์สเลย์กับสนอร์ทแลนด์ (Pursley and Snortland,1980) ได้เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างผู้บริหารกับผู้นำ ผู้บริหาร (Manager) ผู้นำ (Leader) 1. ผู้บริหารได้รับการแต่งตั้งและมีอำนาจอย่างเป็นทางการในหน่วยงานของตน 1.ผู้นำอาจได้รับการเลือกตั้ง หรือแต่งตั้ง หรือได้รับการยอมรับเฉพาะภายในกลุ่มของตนเท่านั้น 2. ผู้บริหารมีตำแหน่งอย่างเป็นทางการ 2.ผู้นำอาจมีหรือไม่มีตำแหน่งอย่างเป็นทางการก็ได้ 3. ผู้บริหารสามารถออกคำสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามกฎ ระเบียบได้ 3.ผู้นำสามารถจูงใจให้สมาชิกกลุ่มทำงานที่นอกเหนือจากหน้าที่ได้ 4. ผู้บริหารทุกคนสามารถเป็นผู้นำได้ 4.ผู้นำบางคนไม่สามารถเป็นผู้บริหาร 5. ผู้บริหารมีหน้าที่จัดองค์การ วางแผน และประเมินผลการปฏิบัติงาน 5.ผู้นำบางคนไม่สามารถทำงานที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของผู้บริหารได้
5.2ลำดับขั้นของการบริหาร (The management hierarchy) เสน่ห์ จุ้ยโต (2548) ได้กล่าวถึงผู้บริหารที่จะบริหารองค์การสู่ความเป็นเลิศ ว่าต้องคำนึงถึง 3 เรื่องใหญ่ๆ ได้แก่ ฐานะ (status) ผู้บริหารจะต้องรู้ตัวเองก่อนว่าเป็นผู้บริหารระดับใด โดยทั่วไปผู้บริหารองค์การมี 3 ระดับ คือ 1.1 ผู้บริหารระดับต้น คือผู้บริหารที่มีฐานะต้องทำหรือใช้ทักษะเชิงเทคนิคมากที่สุด (technical skill) เมื่อลูกน้องมีปัญหาจำเป็นต้องทำให้ดู สอนแนะ (coaching)และควบคุม (controlling) ให้ลูกน้องทำงานแล้วเสร็จทันตามกำหนดเวลา 1.2 ผู้บริหารระดับกลาง คือผู้บริหารที่มีฐานะต้องพูดหรือทักษะด้านมนุษย์มากที่สุด (human skill)เพื่อการเชื่อมต่อ ประสาน แปลงนโยบายและวิสัยทัศน์สู่ผู้บริหารระดับต้นเพื่อนำมาปฏิบัติให้สำเร็จ 1.3 ผู้บริหารระดับสูง คือผู้บริหารที่มีฐานะต้องคิดหรือทักษะความคิดรวบยอดมากที่สุด (conceptual skill) มุ่งเน้นการคิดริเริ่มสร้างสรรค์และสร้างวิสัยทัศน์ (vision) และกลยุทธ์ (strategy) ให้กับองค์การ
5.2 ลำดับขั้นของการบริหาร (ต่อ) 5.2 ลำดับขั้นของการบริหาร (ต่อ) บทบาท (role) ผู้บริหารมีบทบาทที่สำคัญ 3 ประการคือ บทบาทในด้านปฏิสัมพันธ์ (Interpersonal role) ประกอบด้วย 1) ผู้เป็นสัญลักษณ์ (figurehead) 2) ผู้นำ (Leader) 3) ผู้ประสาน (Liaison) บทบาทในด้านข้อมูลข่าวสาร (Informational role) ประกอบด้วย 1) ผู้กำกับตรวจงาน (Monitor) 2) ผู้เผยแพร่การกระจายข้อมูลข่าวสาร (Disseminator) 3) ผู้ประกาศข่าวหรือโฆษก (Spokesperson) บทบาทในด้านการตัดสินใจ (Decisional role) ประกอบด้วย 1) ผู้ประกอบการ (Entrepreneur) 2) ผู้จัดการความขัดแย้ง (Disturbance Handler) 3) ผู้จัดการทรัพยากร (Resource allocator) 4) ผู้เจรจาต่อรอง (Negotiator)
5.2 ลำดับขั้นของการบริหาร (ต่อ) 5.2 ลำดับขั้นของการบริหาร (ต่อ) หน้าที่ (function) ผู้บริหารต้องปฏิบัติหน้าที่ สำคัญ 4 ประการ คือ การวางแผน (Planning) ผู้บริหารต้องกำหนดวิสัยทัศน์ (vision) และกลยุทธ์ (strategy) เพื่อให้การบริหารสู่ความสำเร็จ การจัดองค์การ (Organizing) ผู้บริหารต้องกำหนดโครงสร้าง (structure) องค์การให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าหรือผู้รับบริการ การนำ (Leading) ผู้บริหารต้องปรับเปลี่ยนไปเป็นผู้นำ (Leader) และมีภาวะผู้นำที่ดี ซึ่งต้องอาศัยการยอมรับในอำนาจ (power) มากกว่าการใช้อำนาจหน้าที่ (authority) การควบคุม (Controlling) ผู้บริหารต้องปรับเปลี่ยนเป็นผู้กำกับตรวจสอบและติดตามผลการทำงานให้สำเร็จทันตามกำหนดเวลา
5.2 ลำดับขั้นของการบริหาร (ต่อ) 5.2 ลำดับขั้นของการบริหาร (ต่อ) แผนภาพที่ 3 แสดงประเภทและการใช้ทักษะต่างๆของผู้บริหาร
ทบทวนความรู้ จากความสำคัญที่กล่าวว่า “การบริหารเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์” นักศึกษามีความคิดเห็นต่อข้อความนี้อย่างไร ให้นักศึกษาอธิบายความเหมือนหรือความต่างของคำว่า “การบริหาร” และ “การจัดการ” จงอธิบายแนวคิด ทฤษฎีการบริหารที่สนใจ มา 2 ทฤษฎี จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างระดับการบริหารและทักษะการบริหาร ถ้าได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จะบริหารงานในองค์การให้ประสบความสำเร็จ โดยนำหลักการ ทฤษฎีทางการบริหารมาใช้อย่างไร อาชีพทางการบริหาร “เป็นวิชาชีพชั้นสูง” จงแสดงความคิดเห็นต่อข้อความดังกล่าว ผู้บริหารจะใช้กระบวนการบริหารอย่างไรให้งานมีคุณภาพ ท่านจะใช้ทฤษฎีระบบเข้ามาช่วยในการบริหารงานอย่างไร ผู้บริหารกับผู้นำ มีความเหมือนหรือความต่างกันอย่างไร จงยกตัวอย่างองค์การของรัฐหรือเอกชน ที่บริหารงานอย่างโดดเด่น ประสบความสำเร็จในปัจจุบัน มา 1 องค์การ พร้อมอธิบายทฤษฎีการบริหารที่องค์การนั้นๆใช้บริหารงาน