สถาบันอนุญาโตตุลาการ 04/04/62 นโยบายและแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานของส่วนราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ สถาบันอนุญาโตตุลาการ
วิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์ สถาบันอนุญาโตตุลาการ ให้บริการด้านอนุญาโตตุลาการในระดับสากลและส่งเสริมระบบอนุญาโตตุลาการให้มีความเข้มแข็ง ๑. ให้บริการด้านอนุญาโตตุลาการที่มีความเป็นอิสระและมีมาตรฐานสากล ๒. สนับสนุน ส่งเสริมระบบอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ ๑. การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้สถาบัน ๒. การให้บริการด้านอนุญาโตตุลาการ ๓. การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบอนุญาโตตุลาการ ๔. การเสริมสร้างความเข้มแข็งและให้บริการด้านการประนอมข้อพิพาท วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์
โรดแมปเพื่อการพัฒนาองค์กร สร้างการรับรู้ โครงการประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ถึงภารกิจหน้าที่ของTHACและTalkDD โครงการเสริมสร้างความรู้ระบบ TalkDD สำหรับผู้ใช้และผู้ให้บริการ โครงการแยกระบบอนุญาโตตุลาการในสัญญาทางปกครองออกจากอนุญาโตตุลาการเชิงพาณิชย์ โครงการจัดการแข่งขันการประนอมข้อพิพาทในประเทศไทย สร้างความเชื่อมั่น โครงการจัดทำรายงานสถานการณ์อนุญาโตตุลาการในไทย โครงการอบรมบุคลากรให้มีองค์ความรู้ในเรื่องอนุญาโตตุลาการ โครงการสร้างความร่วมมือกับทนายความในการประนอมข้อพิพาท โครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้ประนอมและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาท พัฒนาระบบและกระบวนการ โครงการสร้างรูปแบบวิธีระงับข้อพิพาททางเลือกในสัญญาธุรกิจก่อสร้าง โครงการสร้างนวัตกรรมอนุญาโตตุลาการมโนสาเร่ (Small Claim) โครงการสร้างนวัตกรรมในการประนอมข้อพิพาทรูปแบบใหม่ โครงการพัฒนาหลักสูตรการบริหารจัดการความขัดแย้ง ขยายขอบเขตการบริการ โครงการสร้างเครือข่ายในด้านอนุญาโตตุลาการและการประนอมข้อพิพาทระหว่างประเทศ โครงการผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการระงับข้อพิพาททางเลือกในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โครงการพัฒนาระบบการะงับข้อพิพาทพาณิชย์ออนไลน์ โครงการเข้าร่วมประชุมวิชาการกับองค์กรระหว่างประเทศ
๑. โครงการสร้างเครือข่ายในด้านอนุญาโตตุลาการและประนอมข้อพิพาทระหว่างประเทศ วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความรับรู้ในแบรนด์ที เอช เอ ซีและการให้บริการของสถาบันฯ ในต่างประเทศ เพื่อแนะนำและประชาสัมพันธ์แบรนด์ที เอช เอ ซีและบริการของสถาบันฯ ในต่างประเทศ เป้าหมายที่คาดว่าจะได้รับ สร้างความรับรู้แบรนด์ที เอช เอ ซี ในระดับสากล สร้างความรับรู้ในบริการของที เอช เอ ซี ในระดับสากล เพื่อให้เกิดความตั้งใจซื้อหรือมาใช้บริการของสถาบันฯที่ประเทศไทย กิจกรรมการดำเนินงาน ประชาสัมพันธ์และสร้างเครือข่ายCLMVโดยการออกบูธ ประชาสัมพันธ์และสร้างเครือข่ายCLMVโดยการศึกษาดูงานสถาบันอนุญาโตตุลาการและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
๒. โครงการประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ถึงภารกิจหน้าที่ของสถาบันฯ วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการให้บริการของสถาบันฯเป้าหมายที่คาดว่าจะได้รับ เพื่อแนะนำและประชาสัมพันธ์แบรนด์ที เอช เอ ซีและบริการของสถาบันฯ เป้าหมายที่คาดว่าจะได้รับ การรับรู้ในภารกิจของ ที เอช เอ ซี รับรู้ในบริการด้านการระงับข้อพิพาททางเลือกของสถาบันฯ เพื่อให้เกิดความตั้งใจซื้อหรือมาใช้บริการของสถาบัน กิจกรรมการดำเนินงาน การทำ Roadshow และจัดสัมมนาร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร การประชาสัมพันธ์โดยการออกบูธนิทรรศการ การประชาสัมพันธ์โดยใช้ช่องทางสื่อสารมวลชน จัดทำของที่ระลึกเพื่อส่งเสริมแบรนด์ของสถาบัน ประชาสัมพันธ์จัดการแข่งขันทางวิชาการโดยร่วมมือกับสถาบันการศึกษา การออกแบบ จัดพิมพ์สื่อทางการตลาดเพื่อการแนะนำองค์กรและบริการ การจัดหาพื้นที่ข่าวสารในการเผยแพร่กิจกรรมของสถาบันตามช่องทางต่างๆ
๓. โครงการพัฒนาสื่อออนไลน์ และ Social Media วัตถุประสงค์ สร้างความรับรู้และความเข้าใจในแบรนด์และบริการของสถาบันฯ ผ่านช่องทางดิจิตัล เพื่อขยายฐานกลุ่มลูกค้ารวมถึงการสร้างความตั้งใจซื้อจากในและต่างประเทศ เป้าหมายที่คาดว่าจะได้รับ สร้างความรับรู้ถึงภารกิจและบริการของ ที เอช เอ ซี ผ่านช่องทางดิจิตัล เช่น Facebook LinkedIn Website ต่างๆ สร้างช่องทางสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและแอพลิเคชั่น กระตุ้นการรับรู้หรือสนใจมาใช้บริการของสถาบันในวงกว้างผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต กิจกรรมการดำเนินงาน พัฒนาระบบและการบริหารจัดการข้อมูลลูกค้า และการส่งจดหมายข่าวสารของสถาบัน รวมถึงการทำวิจัยการตลาดที่เกี่ยวข้องในการเพิ่มประสิทธิภาพงานการตลาด ทำการตลาดดิจิตัล ผ่านสื่อออนไลน์และโซเชี่ยลมีเดียรูปแบบต่างๆ ประชาสัมพันธ์กิจกรรมอันเกี่ยวข้องกับระบบ TalkDD: ODR for E-commerce การบริหารจัดการ ดูแล สร้างเนื้อหา สำหรับเว็บไซต์ เฟสบุ๊ค จดหมายข่าวและช่องทางของสถาบันต่างๆ ที่เกี่ยวกับ ADR
๔. โครงการส่งเสริมการใช้อนุญาโตตุลาการและการประนอมข้อพิพาท วัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มจำนวนคดีและผู้ใช้บริการระงับข้อพิพาททางเลือกกับสถาบัน สร้างความรับรู้ผ่านโครงการกิจกรรมเพื่อดึงดูดผู้เข้ามาใช้บริการ เป้าหมายที่คาดว่าจะได้รับ จำนวนคดีที่เข้าสู่สถาบัน มากกว่า 10 คดี กิจกรรมการดำเนินงาน ส่งเสริมการใช้อนุญาโตตุลาการและการประนอมข้อพิพาทในกลุ่มเป้าหมายการให้บริการ
๕. โครงการแยกระบบอนุญาโตตุลาการในสัญญาทางปกครองออกจากอนุญาโตตุลาการเชิงพาณิชย์ วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเหมาะสมของรูปแบบทางกฎหมายที่เหมาะสมต่อการระงับข้อพิพาทในสัญญาทางปกครองด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการ เป้าหมายที่คาดว่าจะได้รับ เพื่อให้มีการแยกรูปแบบการระงับข้อพิพาทในสัญญาทางปกครองออกจากการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลากาทางพาณิชย์ทั่วไป กิจกรรมการดำเนินงาน สัมมนารับฟังความคิดเห็น(Brain Strom) จากผู้มีส่วนได้เสีย เรื่อง "ปัญหาของระบบอนุญาโตตุลาการในสัญญาทางปกครองในปัจจุบัน“ ศึกษาวิจัยเพื่อนำไปสู่การแยกระบบอนุญาโตตุลาการในสัญญาทางปกครองออกจากอนุญาโตตุลาการเชิงพาณิชย์ รวมทั้ง ประเด็นเขตอำนาจศาลตามพ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 เพื่อความเป็นไปได้ในการแก้ไขกฎหมาย
๖. โครงการสร้างแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อการยกร่างคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ วัตถุประสงค์ เพื่อยกระดับอนุญาโตตุลาการในไทยให้สามารถยกร่างคำชี้ขาดได้ในมาตรฐานระดับสากล เป้าหมายที่คาดว่าจะได้รับ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานด้านอนุญาโตตุลาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุญาโตตุลาการมีความรู้และนำหลักการดังกล่าวไปปรับใช้อย่างเหมาะสม กิจกรรมการดำเนินงาน สัมมนากลุ่มย่อยเพื่อระดมความคิดเห็น(Brain Strom) ในหัวข้อ "ข้อควรปฏิบัติและแนวทางการยกร่างคำชี้ขาด" จัดทำคู่มือแนวทางการยกร่างคำชี้ขาด สำหรับอนุญาโตตุลาการและผู้ปฏิบัติงานด้านอนุญาโตตุลาการ
๗. โครงการสร้างรูปแบบวิธีระงับข้อพิพาททางเลือกในสัญญาธุรกิจก่อสร้าง วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างรูปแบบการระงับข้อพิพาททางเลือกที่มีความเหมาะสมและตอบสนองต่อภาคเอกชนในธุรกิจก่อสร้าง เป้าหมายที่คาดว่าจะได้รับ มีกฎหมายว่าด้วยการระงับข้อพิพาททางเลือกในสัญญาธุรกิจก่อสร้าง กิจกรรมการดำเนินงาน จัดทำร่างกฎหมายว่าด้วยการระงับข้อพิพาทด้านการชำระเงินในธุรกิจก่อสร้าง โดยการศึกษาร่างกฎหมาย The Construction Industry Payment and Adjudication Act 2012 : CIPAA
๘. โครงการสร้างนวัตกรรมอนุญาโตตุลาการมโนสาเร่ (Small Claim) วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้ภาคธุรกิจขนาดเล็กของไทย สามารถเข้าสู่สิทธิในกระบวนการยุติธรรมในรูปแบบของการอนุญาโตตุลาการได้มากขึ้น เป้าหมายที่คาดว่าจะได้รับ มีข้อบังคับว่าด้วยอนุญาโตตุลาการมโนสาเร่ (Small Claim) กิจกรรมการดำเนินงาน จัดทำร่างข้อบังคับว่าด้วยอนุญาโตตุลาการมโนสาเร่
๙. โครงการพัฒนาการตีความของศาลภายใต้หลักกฎหมายว่าด้วยเรื่องความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนตามพ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ 2545 วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างทัศนคติแก่นักกฎหมาย ให้เห็นถึงแนวปฏิบัติที่เหมาะสมต่อการนำหลักการเรื่องความสงบเรียบร้อยฯ มาใช้ในการเพิกถอน/ไม่บังคับตามคำชี้ขาด เป้าหมายที่คาดว่าจะได้รับ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุญาโตตุลาการมีความรู้และนำหลักการดังกล่าวไปปรับใช้อย่างเหมาะสม กิจกรรมการดำเนินงาน จัดทำคู่มือแนวปฏิบัติที่เหมาะสม (Best Practice) ในประเด็นการตีความหลักความสงบเรียบร้อยฯ สำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านอนุญาโตตุลาการ
๑๐. โครงการปรับปรุงพัฒนาระยะเวลาที่ใช้สำหรับการบังคับตามคำชี้ขาด (Monitoring Mechanism) วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเหมาะสมอันนำไปสู่การปรับปรุงและยกร่างกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับ เป้าหมายที่คาดว่าจะได้รับ เพื่อให้มีกฎหมาย หรือข้อบังคับฯ ที่ส่งผลให้เกิดการลดระยะเวลาในการบังคับตามคำชี้ขาดในศาลไทย กิจกรรมการดำเนินงาน รวบรวมกฎหมายต่างประเทศ ข้อบังคับหรือไกด์ไลน์ต่างๆ รวมถึงแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับระยะเวลาการบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการในศาลของต่างประเทศ จัดทำข้อเสนอเพื่อปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
๑๑. โครงการพัฒนาระบบการระงับข้อพิพาทด้านการเงินและการธนาคาร วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบหรือกลไกการระงับข้อพิพาทด้านการเงินและการธนาคารที่เหมาะสมและรวดเร็ว เป้าหมายที่คาดว่าจะได้รับ เพื่อให้มีระบบหรือกลไกการระงับข้อพิพาทในธุรกิจการเงินและการธนาคารที่มีความเหมาะสมและรวดเร็ว กิจกรรมการดำเนินงาน ศึกษาระบบการระงับข้อพิพาทด้านการเงินและการธนาคารในต่างประเทศ ยกร่างแนวทางหรือเสนอมาตรการทางกฎหมาย
๑๒.โครงการจัดทำรายงานสถานการณ์อนุญาโตตุลาการในไทย วัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมคำพิพากษาทั้งหมดของไทยในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเกี่ยวข้องกับการอนุญาโตตุลาการเพื่อเผยแพร่ในรูปรายงานประจำปี รวบรวมกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ ต่างๆที่สำคัญต่อการอนุญาโตตุลาการในไทยเพื่อเผยแพร่ในรูปรายงานประจำปี รวบรวมสถานการณ์เด่นๆที่เกิดขึ้นในแวดวงอนุญาโตตุลาการของไทย เช่นงานสัมมนา งานวิจัย วิทยานิพนธ์ เป็นต้นเพื่อเผยแพร่ในรูปรายงานประจำปี เป้าหมายที่คาดว่าจะได้รับ เพื่อปรับทัศนคติของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการอนุญาโตตุลาการ กระตุ้นให้เล็งเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นของระบบอนุญาโตตุลาการ กิจกรรมการดำเนินงาน จัดทำรายงานเรื่อง "การติดตามแนวโน้มคำวินิจฉัยของศาลไทยต่อการยอมรับหรือปฏิเสธคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการตั้งแต่ปีพ.ศ.2545-2559"
๑๓. โครงการผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการระงับข้อพิพาททางเลือกในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความรับรู้เรื่องการระงับข้อพิพาทรูปแบบต่างๆ รวมทั้งการอนุญาโตตุลาการ และประโยชน์ที่มีต่อการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเผยแพร่ให้ไทยเป็นศูนย์กลางการระงับข้อพิพาททางเลือกในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เป้าหมายที่คาดว่าจะได้รับ เพื่อประเทศไทยเป็นประเทศที่มีบรรยากาศเอื้อต่อการระงับข้อพิพาทางเลือก ในฐานะประเทศศูนย์กลางด้านการระงับข้อพิพาททางเลือกในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง กิจกรรมการดำเนินงาน จัดประชุมวิชาการระหว่างประเทศ International Trade, Investment, and Dispute Resolution in the Mekong Region – Prospects and Challenge for CLMVT
๑๔. โครงการอบรมบุคลากรให้มีองค์ความรู้ในเรื่องอนุญาโตตุลาการ วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักกฎหมายและกระบวนการอนุญาโตตุลาการที่ถูกต้อง เป้าหมายที่คาดว่าจะได้รับ เพื่อบุคลากรของไทยให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักกฎหมายและกระบวนการอนุญาโตตุลาการเพิ่มขึ้น กิจกรรมการดำเนินงาน จัดอบรมหลักสูตรอนุญาโตตุลาการร่วมกับคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๑๕. โครงการพัฒนาความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์เรื่องอนุญาโตตุลาการ วัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่ความรู้ รวมถึงพัฒนาทักษะการอนุญาโตตุลาการภายใต้กฎหมายไทย และการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ เป้าหมายที่คาดว่าจะได้รับ ผู้เข้าร่วมสัมมนามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักกฎหมายและกระบวนการอนุญาโตตุลาการเพิ่มขึ้น กิจกรรมการดำเนินงาน สัมมนาเชิงปฏิบัติการ ได้แก่ THAC Mock Arbitration ร่วมกับ Baker McKenzie, Arbitration Training Day ร่วมกับ IBA , ฯลฯ
๑๖. โครงการเข้าร่วมประชุมวิชาการกับองค์กรระหว่างประเทศ วัตถุประสงค์ เพื่อผู้ปฏิบัติงานสามารถนำความรู้และข้อมูลทางวิชาการมาเผยแพร่และต่อยอดในการพัฒนางานอนุญาโตตุลาการและประนอมข้อพิพาทของ THAC เป้าหมายที่คาดว่าจะได้รับ เพื่อองค์ความรู้ทางวิชาการเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการอนุญาโตตุลาการและการระงับข้อพิพาททางเลือกในประเทศไทยให้มีมาตรฐานสากลต่อไปในอนาคต กิจกรรมการดำเนินงาน เข้าร่วมประชุมวิชาการ เช่น UNCITRAL Commission WG II, ICC Mediation Week , 50th Congress UNCITRAL ฯลฯ
๑๗. โครงการสร้างความร่วมมือกับทนายความในการประนอมข้อพิพาท วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างทัศนคติแก่ทนายความ และที่ปรึกษากฎหมายให้เห็นถึงประโยชน์ของการประนอมข้อพิพาทและเลือกใช้การประนอมแทนการฟ้องศาล เป้าหมายที่คาดว่าจะได้รับ เพื่อให้มีกลุ่มผู้สนับสนุนการระงับข้อพิพาทนอกศาลด้วยการประนอมข้อพิพาท กิจกรรมการดำเนินงาน ประชุมร่วมกับสำนักงานทนายความ ที่ปรึกษากฎหมาย เพื่อสร้างความร่วมมือและสนับสนุนการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีประนอมข้อพิพาท
๑๘. โครงการสร้างมาตรการพิเศษเพื่อสนับสนุนการประนอมข้อพิพาทในประเทศไทย วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้มีมาตรการพิเศษที่กำหนดให้คู่พิพาทต้องทำการประนอมข้อพิพาทก่อนนำคดีฟ้องต่อศาล เป้าหมายที่คาดว่าจะได้รับ มีแนวทางหรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับมาตรการพิเศษที่กำหนดให้มีการดำเนินการระงับข้อพิพาททางเลือกนอกศาลเพิ่มขึ้น กิจกรรมการดำเนินงาน รวบรวมและวิเคราะห์มาตรการทางกฎหมายที่สนับสนุนและส่งเสริมการประนอมข้อพิพาทของต่างประเทศ ยกร่างแนวทางและเสนอมาตรการทางกฎหมาย
๑๙. โครงการสร้างนวัตกรรมในการประนอมข้อพิพาทรูปแบบใหม่ วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ในการประนอมข้อพิพาท เพื่อให้การประนอมข้อพิพาทสามารถใช้ได้ในระดับสากล และมีระบบการประเมินข้อพิพาทเบื้องต้น (Early Neutral Evaluation) เพื่อสนับสนุนกระบวนการประนอม เป้าหมายที่คาดว่าจะได้รับ มีเครื่องมือในการระงับข้อพิพาทที่มีมาตรฐาน กิจกรรมการดำเนินงาน จัดทำมาตรการการระงับข้อพิพาท โดยวิธีการประนอมข้อพิพาทก่อนหากตกลงกันไม่ได้ให้ใช้วิธีการอนุญาโตตุลาการในลำดับถัดไป (Med-Arb หรือ Arb-Med-Arb) ศึกษาการประเมินข้อพิพาทเบื้องต้น (Early Neutral Evaluation) เพื่อนำไปสู่การจัดทำกลไกสนับสนุนการประนอมข้อพิพาท
๒๐. โครงการการอบรมผู้ประนอมของ THAC วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างผู้ประนอมที่มีมาตรฐานสากลและขึ้นบัญชีเป็นกับ THAC เป้าหมายที่คาดว่าจะได้รับ มีผู้ประนอมขึ้นบัญชีของ THAC กิจกรรมการดำเนินงาน อบรมความรู้เกี่ยวกับการประนอมเพื่อขึ้นบัญชีผู้ประนอมของ THAC อบรมผู้ประนอนของ THAC เพื่อเป็นวิทยากร
๒๑. โครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้ประนอมและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาท วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างองค์ความรู้ รวมถึงพัฒนาทักษะการประนอมข้อพิพาทเฉพาะด้าน เพื่อสามารถรองรับคดีที่มีลักษณะเฉพาะ เป้าหมายที่คาดว่าจะได้รับ ผู้ประนอมได้รับการพัฒนาทักษะการประนอมข้อพิพาทอย่างต่อเนื่อง กิจกรรมการดำเนินงาน สัมมนาพัฒนาการใหม่ในการประนอมข้อพิพาทและผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับข้อพิพาท จำนวน 4 ครั้ง
๒๒. โครงการสัมมนา Global Pound Conference in Bangkok 2017 วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความรับรู้เรื่องการระงับข้อพิพาททางเลือกให้เป็นที่รับรู้ให้กับกลุ่มวิชาชีพ 5 กลุ่มได้แก่ ผู้ให้บริการระงับข้อพิพาททางเลือก คณะตุลาการ ทนายและนักกฎหมาย กลุ่มนักวิชาการ และผู้ใช้ (เช่นกลุ่มนักธุรกิจ) เป้าหมายที่คาดว่าจะได้รับ ผู้เข้าร่วมสัมมนามีโอกาสได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการระงับข้อพิพาททางเลือก กิจกรรมการดำเนินงาน สัมมนา Global Pound Conference in Bangkok 2017
๒๓. โครงการสัมมนา Mediation Symposium วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการจัดการความขัดแย้ง และการประนอมข้อพิพาท รวมทั้งประชาชนทั่วไปได้รับความรู้เรื่อง ความเข้าใจที่ถูกต้อง เป้าหมายที่คาดว่าจะได้รับ ผู้เข้าร่วมสัมมนามีความรู้และเข้าใจเรื่องการประนอมข้อพิพาทมากขึ้น และเห็นถึงประโยชน์ของการประนอมข้อพิพาท กิจกรรมการดำเนินงาน สัมมนา Mediation Symposium (International Mediation summit)
๒๔. โครงการพัฒนาหลักสูตรการบริหารจัดการความขัดแย้ง วัตถุประสงค์ เพื่อให้ความรู้เรื่องการการจัดการความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพแก่บุคคลทั่วไป ให้เห็นถึงประโยชน์ของการจัดการความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ เป้าหมายที่คาดว่าจะได้รับ นำหลักสูตรการบริหารจัดการความขัดแย้งไปเผยแพร่ให้แก่บุคคลทั่วไปและนักศึกษาในระดับชั้นอุดมศึกษา กิจกรรมการดำเนินงาน พัฒนาหลักสูตรการบริหารจัดการความขัดแย้ง
๒๕. โครงการจัดการแข่งขันการประนอมข้อพิพาทในประเทศไทย วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการประนอมข้อพิพาทและประโยชน์ของการประนอมให้แก่นักศึกษาที่อนาคตอาจเผชิญกับปัญหาทางธุรกิจ เป้าหมายที่คาดว่าจะได้รับ การประนอมข้อพิพาทได้รับกับเผยแพร่ในระดับอุดมศึกษา กิจกรรมการดำเนินงาน จัดการแข่งขัน Thailand National Mediation Competition
๒๖. โครงการศึกษาทัศนคติเกี่ยวกับการบริหารจัดการความขัดแย้งของคนไทย วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบการประนอมข้อพิพาท และการจัดการความขัดแย้งที่เหมาะสมกับวัฒนธรรม ค่านิยมและความเชื่อของคนไทย เป้าหมายที่คาดว่าจะได้รับ เพื่อเพื่อนำไปใช้ประกอบการพัฒนาหลักสูตรการบริหารจัดการความขัดแย้ง กิจกรรมการดำเนินงาน เพื่อนำไปใช้ประกอบการพัฒนาหลักสูตรการบริหารจัดการความขัดแย้ง
๒๗. โครงการพัฒนาระบบการะงับข้อพิพาทพาณิชย์ออนไลน์ วัตถุประสงค์ เพื่อให้ระบบ TalkDD สามารถรองรับกลุ่มผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าออนไลน์ได้เพิ่มมากขึ้น เป้าหมายที่คาดว่าจะได้รับ เพื่อเพื่อให้เกิดการระงับข้อพิพาทพาณิชย์ online ผ่าน TalkDD กิจกรรมการดำเนินงาน พัฒนาระบบ TalkDD
๒๘. โครงการเสริมสร้างความรู้ระบบ TalkDD สำหรับผู้ใช้และผู้ให้บริการ วัตถุประสงค์ เพื่อเพื่อให้ผู้ใช้บริการ (ผู้ซื้อและผู้ขาย) และผู้ให้บริการ (ผู้ประนอม) สามารถเข้าใจและใช้งานระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพพสูงสุด เป้าหมายที่คาดว่าจะได้รับ เพื่อผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการสามารถใช้ระบบ odr ได้อย่างดี กิจกรรมการดำเนินงาน อบรมผู้ประนอมข้อพิพาทประจำ ที เอช เอ ซี เรื่องการใช้ระบบ Talk DD สัมมนาเกี่ยวกับธุรกิจ e-Commerce
๒๙. โครงการพัฒนาการบริหารจัดการคดี วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาหลักสูตรการอบรมผู้ประนอม และอนุญาโตตุลาการ เพื่อพัฒนาระบบการขึ้นบัญชีผู้ประนอมและอนุญาโตตุลาการ ระบบการรับคำเสนอของคู่กรณี ผ่านระบบออนไลน์ เป้าหมายที่คาดว่าจะได้รับ มีหลักสูตรอบรมผู้ประนอม และอนุญาโตตุลาการ ของ THAC มีระบบการขึ้นบัญชีผู้ประนอมและอนุญาโตตุลาการ และระบบการรับคำเสนอของคู่กรณี ผ่านระบบออนไลน์ กิจกรรมการดำเนินงาน พัฒนาหลักสูตรการอบรมการประนอม และอนุญาโตตุลาการ ของ THAC พัฒนาระบบการขึ้นบัญชีผู้ประนอมและอนุญาโตตุลาการ ระบบการรับคำเสนอของคู่กรณี ผ่านระบบออนไลน์