บทที่ 2 หลักการแก้ปัญหา จุดประสงค์ 1. อธิบายขั้นตอนการแก้ปัญหา 2. ประยุกต์ใช้หลักการแก้ปัญหา 1
1.หลักการแก้ปัญหา การแก้ปัญหาเป็นกิจกรรมพื้นฐานในการ ดำรงชีวิตของมนุษย์ เพราะในชีวิตประจำวัน มนุษย์ทุกคนต้องเคยพบกับปัญหาต่างๆ ที่ จะต้องคิดแก้ปัญหาและตัดสินใจที่จะ ดำเนินการในการแก้ปัญหาเหล่านั้นด้วย วิธีการที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งแต่ละวิธี อาจจะได้ผลลัพธ์ที่เหมือนหรือแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรู้ ความสามารถ และ ประสบการณ์ของผู้แก้ปัญหาที่จะเลือกวิธี แก้ปัญหาให้เหมาะสมนำไปสู่คำตอบที่ถูกต้อง ในเวลาอันรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม วิธีการ เหล่านั้นล้วนมีขั้นตอนที่คล้ายคลึงกัน
2. ขั้นตอนการแก้ปัญหา กระบวนการแก้ปัญหา มี 4 ขั้นตอน ดังนี้ กระบวนการแก้ปัญหา มี 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1. วิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา วิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา เป็นการทำความเข้าใจกับปัญหาเพื่อแยกว่า สิ่งใด เป็นข้อมูลที่กำหนดให้ สิ่งที่ต้องการคืออะไร 2. วางแผนในการแก้ปัญหา พิจารณาสิ่งที่ต้องการหากับข้อมูลที่มีอยู่ว่า หาคำตอบได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ก็แสดงว่าต้องหา ข้อมูลเพิ่มเติม เมื่อได้แนวทางจึงวางแผนและ ออกแบบการแก้ปัญหา 3. ดำเนินการแก้ปัญหา นำแนวทางตามที่ได้วางแผน ไว้มาปฏิบัติให้เกิดผล 4. ตรวจสอบและปรับปรุง ตรวจสอบให้แน่ใจว่าวิธีการ นี้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องหรือไม่
การใช้สัญลักษณ์ เป็นการใช้สัญลักษณ์รูปแบบต่าง ๆ มาเรียงต่อกันเป็นแผนภาพเพื่อสื่อสารให้ผู้ที่พบเห็นเข้าใจตรงกัน ซึ่งสัญลักษณ์ที่กล่าวถึงนี้ได้กำหนดขึ้นโดยสถาบันมาตรฐานแห่งชาติอเมริกา (ANSI : The American National Standard Institute) ดังตัวอย่าง
การเขียนผังงานที่แสดงขั้นตอนการส่งจดหมาย
ลองทำดู การเขียนผังงานแสดงขั้นตอนการต้มมาม่า เริ่มต้น ขั้นตอนการต้มมาม่า 1. ต้มน้ำให้เดือด 2. เทมาม่าลงในหม้อต้ม 3. รอจนเส้นสุก 4. ปิดไฟ จบงาน
ลองทำดู การเขียนผังงานแสดงขั้นตอนการส่ง e-mail เริ่มต้น ขั้นตอนการส่ง e-mail 1. เปิดเว็บไซต์ผู้ให้บริการ e-mail เช่น gmail.com 2. มี e-mail ของตัวเองหรือยัง 2.1 ยังไม่มี ให้สมัครใช้งาน 2.2 มีแล้ว ให้ไปขั้นตอนต่อไป 3.เข้าใช้งาน e-mail โดยพิมพ์ชื่อผู้ใช้และ รหัสผ่าน 4. พิมพ์ e-mail ผู้รับ 5. พิมพ์ชื่อเรื่องที่ต้องการส่ง 6. พิมพ์เนื้อหาที่ต้องการส่ง 7. กดปุ่ม “ส่ง” ไม่มี มี จบงาน
ในบางครั้งการแก้ปัญหาตามขั้นตอนในครั้งแรก อาจยังไม่เพียงพอที่ จะทำให้บรรลุผลที่ต้องการ ทั้งนี้ อาจเนื่องจากยังเข้าใจปัญหาไม่ดีพอ ข้อมูลที่มีอยู่ไม่ เพียงพอ หรือวิธีการแก้ปัญหายังไม่เหมาะสม ยังไม่ ครอบคลุมกรณีต่างๆ ของปัญหา จึงจำเป็นต้องมีการ ย้อนกลับไปทำขั้นตอนที่ผ่านมาซ้ำๆ เพื่อทบทวนและ ปรับปรุงจนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ
3. กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ การนำเข้าข้อมูล การแก้ปัญหาที่ ยุ่งยากซับซ้อน จำเป็นต้องใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ เข้ามาช่วย เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพในการ ทำงานให้รวดเร็ว ถูกต้อง และทำงาน ซ้ำๆ ได้ การประมวลผลข้อมูล การเก็บรักษาข้อมูล การแสดงผล
ใบงานที่ 2.1 เกมแก้ปัญหา (http://oho.ipst.ac.th/learning-media) ใบงานที่ 2.1 เกมแก้ปัญหา (http://oho.ipst.ac.th/learning-media) ให้นักเรียนเปิดเว็บไซต์แล้วเล่นเกมแก้ปัญหา เมื่อเล่น ชนะแล้วให้นักเรียนเขียนขั้นตอนการเล่นเกมลงใน สมุดอย่างละเอียดทั้งสองเกม 1) เกมแก้ปัญหา “พาของสามสิ่งข้ามฝั่ง” URL:http://oho.ipstweb.com/wp- content/uploads/sites/3/2015/01/game1.swf 2)เกมแก้ปัญหา “ ตวงน้ำใส่กระบอก ระดับ 1 ” URL:http://oho.ipstweb.com/wp- content/uploads/sites/3/2015/01/game4.swf
ใบงาน 2.2 เขียนแผนผังความคิด แต่ละคนเลือกหัวข้อที่จะเขียน Flowchart ดังต่อไปนี้ 1 หัวข้อ แสดงขั้นตอนการทำไข่เจียว แสดงขั้นตอนการชงกาแฟสำเร็จรูป แสดงขั้นตอนการทำส้มตำ แสดงขั้นตอนการซักผ้า แสดงขั้นตอนการล้างจาน แสดงขั้นตอนการสมัคร Facebook