การจัดการผู้ป่วยรายกรณีเพื่อลดภาวะแทรกซ้อน ในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง คลินิกโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ นางกรรณิการ์ จันตระ
ขอขอบพระคุณ กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ และญาติผู้ดูแล พญ.สิรินทร ฉันศิริกาญจน โรงพยาบาลรามาธิบดี คุณสมจินต์ โฉมวัฒนะชัย สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ คุณวิชชุดา จงคล้าย โรงพยาบาลสันป่าตอง รศ.ดร.วีระพงษ์ อินทร์ทอง มหาวิทยาลัยราชภัฏ พิบูลสงคราม
โรคความดันโลหิตสูง ถ้าผู้สูงอายุไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี เกิดภาวะแทรกซ้อนมากขึ้น สูญเสียด้านเศรษฐกิจ สังคม ครอบครัว และทรัพยากรบุคคล บทบาทของพยาบาลผู้สูงอายุ ทำอย่างไร
พยาบาลยุคใหม่ ปฏิบัติการพยาบาลในระบบสุขภาพใหม่ พยาบาลต้องปฏิบัติอย่าง มืออาชีพ และใช้ความรู้เป็นฐาน (ศ.ดร.สมจิต หนุเจริญกุล, 2546) การปฏิบัติการพยาบาลที่ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ (evidence-based practice) การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการดูแลผู้สูงอายุ (evidence based aged care)
แนวปฏิบัติเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลโภชนบำบัดในโรคความดันโลหิตสูง สำหรับผู้สูงอายุ ของสถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลโภชนบำบัดในภาวะไขมันเลือดผิดปกติ สำหรับผู้สูงอายุ ของสถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ แนวทางการรักษาภาวะความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป (Guidelines in the treatment of hypertension) ของสมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย JNC 7 จาก http://www.nibi.nih.gov
การใช้หลักในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต (principle of lifestyle modification) การลดน้ำหนัก ใช้ DASH diet จำกัดเกลือในอาหาร การออกกำลังกาย งดหรือลดการดื่มแอลกอฮอล์
การจัดการผู้ป่วยรายกรณี (case management) คือกลยุทธ์ในการติดต่อประสานให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงบริการที่จำเป็น ตลอดจนได้รับการบำบัดดูแลต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุด (ธานี แก้วธรรมานุกุล, 2549) เป็นระบบการดูแลผู้ป่วย ที่ใช้วิธีการทำงานร่วมกันของทีมสหสาขาวิชาชีพในการประเมินภาวะสุขภาพ วางแผนและแนวทางการดูแล ให้การดูแลตามแนวทางที่กำหนด และติดตามผลลัพธ์ที่เกิดจากกระบวนการดูแลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุความต้องการด้านสุขภาพของผู้ป่วยอย่างมีคุณภาพ โดยใช้ทรัพยากรด้านสุขภาพอย่างคุ้มค่า (The American Case Management Society of America –CMSA อ้างใน อรพรรณ โตสิงห์, 2007)
รูปแบบการวิจัย: การพัฒนางานประจำสู่การวิจัย วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการจัดการผู้ป่วยรายกรณีในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงโดยการใช้หลักในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต สถานที่ทำการศึกษา: คลินิกความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ รูปแบบการวิจัย: การพัฒนางานประจำสู่การวิจัย
กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) โดยมีคุณสมบัติคือ อายุ 60 ปีขึ้นไป ทั้งเพศหญิงและชาย มีระดับความดันโลหิตมากกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท และไม่มีภาวะแทรกซ้อน
วิธีการดำเนินการ ศึกษาข้อมูลเบื้องต้น ประวัติการรักษา พฤติกรรมสุขภาพ การรับประทานอาหาร การรับประทานยา การมาตรวจตามนัด ผลการตรวจทางห้องทดลอง สร้างสัมพันธภาพกับผู้สูงอายุและญาติผู้ดูแล สอบถามความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง
วิธีการดำเนินการ วางแผนการจัดการผู้ป่วยรายกรณี ให้ความรู้และให้คำแนะนำแก่ผู้สูงอายุและญาติผู้ดูแล โดย การสอนและการชี้แนะรายบุคคล การใช้คอมพิวเตอร์ แจกแผ่นพับ
วิธีการดำเนินการ ประสานงานกับทีมสหสาขาวิชาชีพ อายุรแพทย์ ศัลยแพทย์ เภสัชกร โภชนากร พยาบาลจิตเวช การตรวจการได้ยิน
วิธีการดำเนินการ บันทึกข้อมูลผู้สูงอายุเป็นรายบุคคล จัดทำสมุดนัดผู้ป่วย ติดตามผลการจัดการผู้ป่วยรายกรณี ติดตามทางโทรศัพท์ หรือประสานงานกับ สถานีอนามัยใกล้บ้าน
การวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test) โดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test)
กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่ศึกษาทั้งหมด 34 ราย ลักษณะกลุ่มตัวอย่าง จำนวน (n=34) ร้อยละ เพศ ชาย 19 55.88 หญิง 15 44.12 อายุ (ปี) 60-69 10 29.41 70-79 20 58.82 80 ปีขึ้นไป 4 11.77
ผลการศึกษา จำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ จำแนกตาม การมาตรวจตามนัด และการกินยาถูกต้อง ลักษณะกลุ่มตัวอย่าง จำนวน (n=34) ร้อยละ การมาตรวจตามนัด ก่อนการจัดการผู้ป่วยรายกรณี 24 70.59 หลังการจัดการผู้ป่วยรายกรณี 33 97.06 การกินยาถูกต้อง 27 79.41 31 91.18
การเปรียบเทียบระดับความดันโลหิตเฉลี่ย ก่อนและหลังการจัดการผู้ป่วยรายกรณี ค่าเฉลี่ย SD t-test p-value ความดันซิสโตลิก ก่อนการจัดการผู้ป่วยรายกรณี 155.38 18.074 หลังการจัดการผู้ป่วยรายกรณี 135.50 13.388 5.902** .000 ความดันไดแอสโตลิก 82.29 12.379 69.26 10.028 5.070** ** p < .01
การเปรียบเทียบระดับความดันโลหิตเฉลี่ย หลังการจัดการผู้ป่วยรายกรณี เกณฑ์ ค่าเฉลี่ย SD t-test p-value ความดันซิสโตลิก 140 135.50 13.388 -1.960 .058 ความดันไดแอสโตลิก 90 69.26 10.028 -12.057** .000 ** p < .01
อภิปรายผลการศึกษา การที่ผู้สูงอายุมีระดับความดันโลหิตเฉลี่ยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และสามารถควบคุมความดันโลหิตให้ต่ำกว่าเกณฑ์ 140/90 มิลลิเมตรปรอทได้ รวมทั้งผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 90 มาตรวจตามนัดและรับประทานยาถูกต้อง และร้อยละ 100 ของผู้สูงอายุไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการศึกษา แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของการจัดการผู้ป่วยรายกรณี โดยการใช้หลักในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต
สรุปผลการศึกษา การจัดการผู้ป่วยรายกรณีในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้หลัก ในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต สามารถควบคุม ความดันโลหิตให้ลดลงอย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่ผู้สูงอายุไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน และมารับการตรวจตามนัดรับประทานยาถูกต้องมากขึ้น
ขอบคุณมากคะ