บรูไนดารุสซาลาม Brunei Darussalam

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
แนวทางการจัดทำบัญชีสมดุลผลไม้
Advertisements

การคัดเลือกพื้นที่เพื่อการพัฒนาสถานบริการสาธารณสุข ในชายแดนชนบท
นโยบายการดำเนินงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ศ. นพ. รัชตะ รัชตะนาวิน และ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ. สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์
รายงานประเทศอาเซียน จัดทำโดย
การส่งเสริมและสนับสนุน ให้สหกรณ์เป็นวาระ แห่งชาติ.
การจัดการศูนย์สารสนเทศ หน่วยที่ 10 “ ความร่วมมือในการบริการ สารสนเทศ ” อาจารย์ ดร. นฤมล รักษาสุข.
กระบวนการถ่ายทอดความรู้
องค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปา
ประชาคมอาเซียน.
ธนาคารออมสิน.
สำนักประสานและติดตามนโยบาย สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
Royal project and Government project พระบิดาแห่งชาวโคนมไทย.
การมอบนโยบายแนวทาง การปฏิรูปที่ดินประจำปี 2559 โดย นายสรรเสริญ อัจจุตมานัส เลขาธิการ ส. ป. ก.
Knowledge- Base Systems ระบบสหกรณ์. ที่มาของโครงการ โครงการนี้เกิดจากการรวมกลุ่มของกลุ่มบุคคล เพื่อดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อความต้องการและเป้าหมายของ.
สถาบันด้านปัจจัยการ ผลิตทางการเษตร ( ตลาดแรงงาน ) ศ.491 การวิเคราะห์การผลิต และนโยบายการผลิตสินค้าเกษตร รศ. ภราดร ปรีดาศักดิ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
แนวทางการบริหารจัดการเขต พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษโดย สหกรณ์ นายเชิดชัย พรหมแก้ว ผู้อำนวยการกองพัฒนาสหกรณ์ภาคการเกษตร และกลุ่มเกษตรกร กรมส่งเสริมสหกรณ์ วันที่
ผลการดำเนินงาน ปีงบ ๒๕๕๘ ( ร่าง ) แผนปฏิบัติการฯ ปี งบ ๒๕๕๙ กลุ่มงานบริหารทั่วไป สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดตราด.
วิสัยทัศน์ ประเด็น ยุทธศาสตร์ สิ่งสำคัญที่ต้องทำ ให้บรรลุ เพื่อตอบสนอง วิสัยทัศน์ เป้าประสง ค์ หลัก ประสิทธิภ าพ ผลสำเร็จ สูงสุดของ องค์กรซึ่ง ประชาชน.
มอบนโยบายการบริหารราชการให้กับหัวหน้าสถานีตำรวจ วันอังคารที่ 2 ๑ มิ. ย.59 เวลา น. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
โดย นายแพทย์ณัฐพร วงษ์ศุทธิภากร รองอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข “เรียนรู้ สิ่งแวดล้อม สร้างสรรค์” นโยบายการดำเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย.
๕ เรื่องเด่นในร่างรัฐธรรมนูญ
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
วาระที่ สรุปผลการปฏิบัติงาน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2559
การสร้างแผนปฏิบัติการระดับตำบลหรือท้องถิ่น
การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน (Quality of Work Life)
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
การสัมมนาวิชาการ สมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดหอมแห่งประเทศไทย เรื่อง เห็ดไทย ... กับการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน วันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม 2555 ณ โรงแรมเอเชียแอร์พอร์ต.
Design by Agri - Map สำนักงานชลประทานที่ ๘.
หลักสูตรอาเซียน เพื่อสร้างประชาคมอาเซียน ให้เป็นประชาคมที่มุ่งเน้น การปฏิสัมพันธ์กับต่างประเทศ มีความมั่นคง มีสันติภาพ และมีความมั่งคั่ง.
ธงชาติประเทศในอาเซียน
เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
โดย นายทรงเกียรติ ตาตะยานนท์ ผู้อำนวยการส่วนจัดการงบประมาณ
วิธีการกรอกแบบเสนอโครงการในไฟล์ Power point นี้
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การจัดลำดับความสำคัญของโครงการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ระบบติดตามงานของผู้ตรวจราชการกรม
ระบบติดตามงานของผู้ตรวจราชการกรม
แผนการขายลูกค้า SMEs พื้นที่ บน.3.1 ขบน ก.พ
การบริหารงานประชาสัมพันธ์ของจังหวัด : การประชาสัมพันธ์และการจัดการสื่อ
ณ ห้องประชุมกองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร
แนวทาง/เกณฑ์การประเมินโครงการฯ
กลุ่มเกษตรกร.
รศ. ทวีศักดิ์ สูทกวาทิน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณและการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ มีนาคม 2560.
เครือข่ายความร่วมมือ เพื่อการพัฒนาห้องสมุดและ แหล่งเรียนรู้
ณ ห้องประชุมกำธร สุวรรณกิจ
การแสดงเจตจำนงของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย
อำนาจอธิปไตย 1.
การประชุมคณะกรรมการความร่วมมือด้านการลงทุนของอาเซียน (CCI) ครั้งที่ ๖๔
YRC LANNA LOCAL WISHDOM
ความปลอดภัยด้านอาหารและน้ำ
การเตรียมการป้องกันและแก้ปัญหาภัยแล้ง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ระบบติดตามงานของผู้ตรวจราชการกรม
บทบาทขององค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคต่าง ๆ
. ระบบการปกครอง & การเมืองการปกครอง ของประเทศใน S.E.A.
แนวทางการแก้ไขปัญหาก๊าซ LPG
ทรัพยากรไทย:ก้าวสู่โลกกว้างอย่างมั่นใจ
การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด
การจัดการความรู้ Knowledge Management
ระบบติดตามงานของผู้ตรวจราชการกรม
การเตรียมตัวสู่ประชาคมอาเซียน
กลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตร
การปกครองท้องถิ่น ในปัจจุบัน
สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ
กรมมีผลการปฏิบัติงานที่ดี เกษตรกรได้รับประโยชน์
มารู้จักและมีส่วนร่วมในกิจกรรม CSR ของ สศช. กันเถอะ
Singapore ประเทศสิงคโปร์.
การประชุมผู้บริหารระดับสูง
การจัดการภาครัฐ และภาคเอกชน Public and private management
ใบสำเนางานนำเสนอ:

บรูไนดารุสซาลาม Brunei Darussalam บรูไนได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อปี ค.ศ. 1984 ความหมายของสัญลักษณ์บนธงชาติ wings of four feathers : ความยุติธรรม ความร่มเย็นเป็นสุข ความมั่งคั่ง และสันติภาพ hands in prayer : ความมุ่งมั่นของรัฐบาลที่จะส่งเสริมความอยู่ดีกินดี สันติภาพ และความเจริญรุ่งเรือง crescent : ศาสนาอิสลาม

บรูไนแบ่งเขตการปกครองท้องถิ่นออกเป็น 4 เขต : Brunei – Muara Tutong Belait Temburong

พื้นที่ 5,765 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ 5,765 ตารางกิโลเมตร เมืองหลวง บันดาร์เสรีเบกาวัน (Bandar Seri Begawan) ประชากร 401,890 คน (2554) ภาษาราชการ มาเลย์ ศาสนา อิสลาม (67%) พุทธ (13%) คริสต์ (10%) และอื่นๆ (10%) พระประมุขและผู้นำทางการบริหาร สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์ Sultan Haji Hassanal Bolkiah Mu’izzaddin Waddaulah (สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 29) ขึ้นครองราชย์เมื่อ 1 สิงหาคม 1968 สมเด็จพระราชาธิบดีทรงเป็นองค์อธิปัตย์ คือ เป็นทั้งประมุขและนายกรัฐมนตรี และยังทรงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จะทรงชี้นำ และย้ำเตือนให้ประชาชนปฏิบัติตนในครรลองที่ถูกต้อง และส่งเสริมให้ประชาชนรู้คุณค่าของศาสนาอิสลาม โดยเฉพาะจากพระราชดำรัสในโอกาสสำคัญต่างๆ อาทิ ในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ วันเฉลิมฉลองวันประสูติพระศาสดามูฮัมหม้ด เป็นต้น จะทรงเน้นย้ำเรื่องความประหยัด มัธยัด การพัฒนาศักยภาพของประชาชนในด้านต่าง ๆ

ผลประโยชน์แห่งชาติ เพื่อธำรงไว้ซึ่งอธิปไตย อิสรภาพ และบูรณภาพแห่งดินแดน เพื่อส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองทั้งทางเศรษฐกิจ และสังคม เพื่อรักษาอัตลักษณ์ของประเทศทั้งทางด้านการเมือง วัฒนธรรม และศาสนา เพื่อส่งเสริมสันติภาพ ความมั่นคง เสถียรภาพ และความเจริญรุ่งเรืองของภูมิภาคและระดับโลก

ข้อมูลเศรษฐกิจ GDP 12.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ GDP per Capita ประมาณ 49,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2554) Real GDP Growth ร้อยละ 2.1 (ปี 2554) อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 2 (ปี 2554) สกุลเงิน ดอลลาร์บรูไน (1 ดอลลาร์ประมาณ 24 บาท) ทรัพยากรสำคัญ น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ สินค้าส่งออก น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ ตลาดส่งออก ญี่ปุ่น อาเซียน เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย อินเดีย สินค้านำเข้า เครื่องจักรอุตสาหกรรม รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าเกษตร ตลาดนำเข้า อาเซียน สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน บรูไนผลิตน้ำมันรายใหญ่เป็นอันดับ 3 ในอาเซียน รองจากอินโดนีเซีย และมาเลเซีย

การเมือง การปกครอง สภานิติบัญญัติแห่งชาติบรูไน (Legislative Council) ก่อตั้งปี 2502 แต่ยกเลิกการประชุมสภาฯไปในปี 2526 และกลับมาเริ่มประชุมใหม่ตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน ประชุมปีละ 1 ครั้ง ปีนี้เป็นปีที่ 8 มีสมาชิกสภา 36 คน สมาชิกสภา : ประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 36 คน สมาชิกอย่างเป็นทางการอันสืบเนื่องด้วยตำแหน่ง ได้แก่ พระราชวงศ์ 3 พระองค์ คือ สมเด็จพระราชาธิบดี (นรม.) มกุฏราชกุมาร (รัฐมนตรีอาวุโส) และเจ้าชายโมฮาเหม็ด รมว.กตค. / ประธานสภา / คณะรัฐมนตรี 11 คน สมาชิกผู้ทรงคุณวุฒิ ได้รับแต่งตั้งโดยสมเด็จพระราชาธิบดี สมาชิกผู้มีความเป็นเลิศ เป็นบุคคลที่มีประสบการณ์ในด้านต่างๆ 7 คน ได้รับแต่งตั้งโดยสมเด็จพระราชาธิบดี สมาชิกจากการเลือกตั้ง ซึ่งประกอบด้วยกำนันและผู้ใหญ่บ้านของพื้นที่ต่าง ๆ 9 คน (มาจากกระบวนการเลือกตั้งโดยประชาชนในพื้นที่ และเมื่อได้รับเลือกจีกระบวนการนำเสนอชื่อเพื่อขอพระราชทานโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากสมเด็จพระราชาธิบดี) เลขานุการสภา 2 คน

การเมือง การปกครอง แนวทางการปกครองประเทศ ระบอบราชาธิปไตยอิสลามมลายู (Malayu Islam Beraja หรือ Malay Islamic Monarchy) วิสัยทัศน์แห่งชาติ Wawasan Brunei 2035 หรือ Vision Brunei 2035 บรูไนมีสถานะทางการเมืองที่มั่นคง การยึดมั่นต่อระบบกษัตริย์ที่มีสมเด็จพระราชาธิบดีเป็นผู้นำในการบริหารประเทศ ทำให้บรูไนสามารถกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศได้อย่างชัดเจนและต่อเนือง MIB ถือเป็นเสาหลักของการสร้างความปรองดอง และความเป็นอยู่ที่ดีของชาติ ประกอบด้วย 3 ประการ : ชาวมลายู ศาสนาอิสลาม และพระมหากษัตริย์ บรูไนให้ความสำคัญกับการเป็นรัฐอิสลามที่สงบ สันติ โดยมีศาสนาเป็นสิ่งชี้นำที่สำคัญในสังคม การเทศนาของอิหม่ามประจำวันศุกร์ที่มัสยิดจะถูกกำหนดและควบคุมโดยรัฐ หัวข้อการเทศนาจึงเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และเป็นโอกาสให้รัฐใช้การเทศนาแจ้งประชาชนทราบเกี่ยวกับนโยบายและทิศทางการบริหารประเทศด้วย การดำเนินการต่างๆ จะเป็นไปตามทิศทางที่กำหนดไว้ใน Wawasan Brunei (ประกาศใช้เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2551)

เศรษฐกิจและการพัฒนา ระบบเศรษฐกิจที่ผูกกับเศรษฐกิจของสิงคโปร์ “ข้อตกลงแลกเปลี่ยนอัตราค่าเงิน” (Currency Interchangeability Agreement) การพึ่งพาการส่งออกน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ บรูไนมีรายได้จากภาคอุตสาหกรรมการผลิตน้ำมันและ ก๊าซธรรมชาติเกือบร้อยละ 95 การที่รายได้หลักของประเทศมาจากภาคอุตสาหกรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ จึงเอื้อประโยชน์ให้บรูไนสามารถคงความเป็นรัฐสวัสดิการและนำมาซึ่งภาวะสุขสบายของประชาชน เนื่องจากรัฐบาลสามารถอุดหนุนราคาสินค้า และให้สวัสดิการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ประชาชนขาดความกระตือรือร้นในการประกอบธุรกิจ สวัสดิการของรัฐ คือการได้รับเบี้ยเลี้ยงต่าง ๆ นอกเหนือจากเงินเดือน อาทิ เบี้ยเลี้ยงยังชีพ เบี้ยเลี้ยงพิเศษจากสมเด็จพระราชาธิบดี เบี้ยเลี้ยงเดินทางท่องเที่ยว เป็นต้น ในปี 2510 (บรูไนยังมีสถานะอยู่ภายใต้การคุ้มครองของประเทศอังกฤษ : British Protectorate) รัฐบาลบรูไน สิงคโปร์ และมาเลเซีย ได้ลงนามร่วมกันในข้อตกลงแลกเปลี่ยนอัตราค่าเงิน ต่อมาในปี 2514 มาเลเซียได้ถอนตัวออกจากข้อตกลงดังกล่าวจึงเหลือเพียงสิงคโปร์และบรูไน โดยทั้งสองประเทศได้กำหนดให้อัตราค่าเงินดอลลาร์บรูไน และดอลลาร์สิงคโปร์ มีค่าเท่ากันที่ 1 ต่อ 1 ในปัจจุบัน ระบบเศรษฐกิจของบรูไนจึงผูกอยู่กับเศรษฐกิจของสิงคโปร์อย่างแนบแน่น ตราบใดที่เศรษฐกิจของสิงคโปร์ยังมั่นคง บรูไนก็สามารถดำรงอยู่ได้อย่างราบรื่น

Oil & Gas แหล่งน้ำมันเชิงพาณิชย์แห่งแรกกของบรูไนได้ถูกค้นพบที่บริเวณเมืองซีเรีย (Seria) ในปี ค.ศ. 1929 โดยบริษัท British Malayan Petroleum Company Limited (BMPC) ซึ่งควบคุมโดยบริษัท Royal Dutch Shellหรือบริษัท Brunei Shell Petroleum Company (BSP) ในปัจจุบัน - บรูไนต้องรักษาปริมาณสำรองน้ำมันและก๊าซธรรมชาติไว้ให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยมีน้ำมันสำรองประมาณ 1,400 ล้านบาร์เรล หากขุดเจาะน้ำมัน 191,000 บาร์เรลต่อวัน น้ำมันสำรองจะหมดใน 25 ปี - บรูไนมีน้ำมัน 4 ประเภทที่ใช้กับรถยนต์ คือ น้ำมันเบนซิน Premium 97 / น้ำมันเบนซิน Super 92 / น้ำมันเบนซิน Regular 85 / และดีเซล - ปัจจุบันรัฐบาลยังคงอุดหนุนราคาน้ำมัน เพราะถือเป็นสวัสดิการของประชาชน รัฐบาลใช้งบประมาณในการอุดหนุนพลังงานประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์บรูไนต่อปี หากสามารถลดการอุดหนุนราคาได้ ก็จะประหยัดงบประมาณและสามารถนำงบฯ ส่วนนั้นมาใช้ในการพัฒนาโครงสร้าง หรือสาธารณูปโภคพื้นฐานอื่น ๆ ได้ ในอนาคตอาจใช้วิธีปรับลดการอุดหนุนราคาน้ำมันเชื้อเพลิงบรถยนต์ความแรงสูง

เศรษฐกิจและการคลัง การจัดตั้งองค์กรทางการเงิน ในปี 2554 (Monetary Authority of Brunei Darussalam) เน้นนโยบายการออมเงิน ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล จัดตั้งองค์กรทางการเงินบรูไน (Monetary Authority of Brunei Darussalam) เมื่อต้นปี 2554 ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญของการปฏิรูปภาคการเงินของประเทศ ทำให้บรูไนมีสถาบันการเงินที่เข้มแข็ง และเป็นการสร้างเสถียรภาพแก่ภาคการเงิน มีการปรับนโยบายของธนาคารที่ให้เครดิตอย่างระมัดระวังมากขึ้น รัฐบาลเน้นนโยบายการออมเงิน และลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล (corporate income tax) จาก 30% เป็น 20% ซึ่งจะช่วยให้ภาคุรกิจสามารถแข่งขันกับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค

แผนการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ภายใต้ Vision Brunei 2035 การสร้างความหลากหลายทางเศรษฐกิจ - การส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม - การส่งเสริมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี - การส่งเสริมด้านการเกษตร - การส่งเสริมอุตสาหกรรมฮาลาล จากสภาวะเศรษฐกิจที่ขึ้นอยู่กับการส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก ในขณะที่การลงทุนในอุตสาหกรรมประเภทอื่นมีน้อยมากทั้งจากนักลงทุนท้องถิ่นหรือจากต่างชาติ จึงมีการผลิตสินค้าในประเทศค่อนข้างน้อย ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์และนโยบาย หรือ Center for Strategic and Policy Studies จึงเสนอให้รัฐบาลให้ความสำคัญกับภาคเศรษฐกิจอื่นมากขึ้น โดยเฉพาะการเสริมสร้างศักยภาพของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ส่งเสริมการพัฒนาพลังงานทางเลือก และพัฒนาภาคเกษตร

Brunei Halal ตราสีเขียว ใช้กับสินค้า ฮาลาลที่ผลิตในบรูไนเท่านั้น ตราสีเขียว ใช้กับสินค้า ฮาลาลที่ผลิตในบรูไนเท่านั้น ตราสีม่วง เป็นตรารับรองมาตรฐานสินค้าฮาลาลที่ออกโดยกระทรวงศาสนาบรูไน ซึ่งประเทศต่าง ๆ สามารถ ขอตรารับรองดังกล่าวเพื่อใช้ในสินค้าที่ผลิตโดยประเทศนั้น ๆ บรูไนมีนโยบายส่งเสริมให้ประเทศเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมฮาลาลในภูมิภาคเช่นเดียวกับไทย โดยดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุน และใช้บรูไนเป็นฐานการผลิตสินค้าฮาลาล และรัฐบาลให้การตรวจรับรองผ่านการใช้ตรา Brunei Halal Brand เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค และขยายช่องทางการจำหน่ายไปยังประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะภูมิภาคตะวันออกกลาง

เกษตรกรรม การส่งเสริมศักยภาพของภาคการเกษตรมากขึ้น ส่งเสริมการเพาะปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมือง ข้าวพันธุ์พื้นเมือง : Laila, Pusu, Adan, Bario ข้าวพันธุ์ผสม (Hybrid Rice) : Titih การเพิ่มผลผลิตข้าวให้ได้ตามเป้าหมาย ร้อยละ 20 ของการบริโภคในประเทศภายในปี 2553 ร้อยละ 60 ของการบริโภคในประเทศภายในปี 2558 จากการที่บรูไนต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งความห่วงกังวลจากปัจจัยต่างๆ อาทิ จากสภาพภูมิอากาศโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจโลก ราคาสินค้าเกษตรที่สูงขึ้น ฯ ทำให้บรูไนเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของประเด็นเรื่องความมั่นคงด้านอาหาร (Food Security) และต้องการเร่งพัฒนาภาคเกษตรกรรม

พลังงาน ยุทธศาสตร์ด้านพลังงาน - ปรับปรุงระบบอุปทานพลังงาน - สร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ - ปรับปรุงระบบอุปทานพลังงาน การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการอนุรักษ์และประหยัด พลังงาน - สร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจสูงสุดจากอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซซธรรมชาติ - สำนักนายกรัฐมนตรีบรูไนจัดให้เรื่องพลังงานเป็นวาระเร่งด่วน มีเป้าหมายสำคัญของยุทธศาสตร์ด้านพลังงาน คือ (1) สร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำถึงปลายน้ำ (2) ปรับปรุงระบบอุปทานพลังงาน การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและเสถียรภาพ ส่งเสริมมาตรการอนุรักษ์และการประหยัดพลังงาน และ (3) สร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจสูงสุดจากอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ - รัฐบาลกำลังจัดทำสมุดปกขาวด้านพลังงาน (Energy White Paper) เพื่อช่วยให้การดำเนินการตามยุทธศาสตร์บรรลุเป้าหมาย มีการส่งเสริมการพัฒนาพลังงานทางเลือก หรือพลังงานทดแทน โดยจะมุ่งเน้นการผลิตไฟฟ้า small scale จากพลังงานลม พลังงานน้ำ และพลังงานแสงอาทิตย์ - ปัจจุบันบรูไนผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำมัน ซึ่งมีเพียงพอต่อความต้องการบริโภคในประเทศ ไม่จำเป็นต้องซื้อจากต่างประเทศแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปชาวบรูไนใช้พลังงานไฟฟ้ากันอย่างฟุ่มเฟือย ที่ผ่านมารัฐบาลจึงพยายามรณรงค์และออกมาตรการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ในปี 2554 ปริมาณการใช้ไฟฟ้าลดลงร้อยละ 20

ปิโตรเคมี ในปี 2547 รัฐบาลบรูไนได้อนุมัติโครงการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม Sungai Liang Industrial Park (SPARK) เพื่อเป็นแหล่งผลิตปิโตรเคมีชั้นนำ บนเนื้อที่ 271 เฮกเตอร์ส เริ่มส่งออกเมธานอลครั้งแรกไปยังประเทศจีนจำนวน 10,000 เมตตริกตันเมื่อเดือน พ.ค. 2553 และการส่งออกไปจีนได้เพิ่มขึ้นเป็น 12,831 เมตตริกตันในเดือน มิ.ย. 2553 และ 33,789 เมตตริกตันในเดือน ก.ค. 2553 ขยายตลาดส่งออกเมธานอลไปยังต่างประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ จีน และไต้หวัน Sungai Liang Industrial Park เป็นเขตอุตสาหกรรรมใหม่ที่รัฐบาลบรูไนพยายามส่งเสริมให้เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและการลงทุน มีการสร้างโรงงานผลิตเมธานอล บนพื้นที่กว่า 16 เฮคเตอร์ มูลค่าการก่อสร้างกว่า 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นความร่วมมือและร่วมทุนระหว่างบริษัท Petroleum Brunei บริษัท Mitsubishi Gas Chemical และบริษัท Itocho Corporation ของญี่ปุ่น

www.brunei-methanol.com/

ความสัมพันธ์กับประเทศไทย สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2527 ความร่วมมือด้านการเมือง ความมั่นคง ทัศนะทางการเมือง ความมั่นคง และการทหารที่สอดคล้องกับไทย มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงอย่างสม่ำเสมอ ทั้งผู้นำทางการเมือง และผู้นำกองทัพ ความสัมพันธ์ในช่วงปี 2554 อยู่ในระดับดีมาก ความร่วมมือต่าง ๆ เริ่มมีพลวัตรภายหลังการเยือนบรูไนอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2554 ซึ่งเป็นการเยือนประเทศอาเซียนประเทศแรก ส่งผลเชิงบวกอย่างมากต่อบรูไน ทำให้ความสัมพันธ์ทวิภาคีมีความแน่นแฟ้มมากยิ่งขึ้น ตลอดจนกระตุ้นให้ความร่วมมือต่าง ๆมีความคืบหน้ามากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการค้า ด้านพลังงาน การศึกษา การเกษตร และความสัมพันธ์ภาคประชาชน บรูไนมีค่านิยมในประเด็นระดับโลก (global issues) ที่สอดคล้องกับไทย จึงเป็นหุ้นส่วนสำคัญของไทยในการผลักดันประเด็นเหล่านี้ในระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ อีกทั้งยังให้การสนับสนุนในเวทีองค์การการประชุมอิสลาม (Organization of Islamic Conference : OIC) ต่อประเด็นการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้

ความสัมพันธ์ ด้านเศรษฐกิจ การค้ารวม 269 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (8,150 ล้านบาท) การลงทุนระหว่าง Brunei Investment Agency กับ กบข. กองทุนไทยทวีทุน 1 มูลค่า 3,800 ล้านบาท กองทุนไทยทวีทุน 2 มูลค่า 2,530 ล้านบาท การเกษตร : การแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ด้านการเกษตร อุตสาหกรรมฮาลาล : การใช้ประโยชน์จากตราบรูไนฮาลาล / การพึ่งพิงเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ฮาลาลของไทย พลังงาน : ความร่วมมือด้านพลังงานทดแทน / พลังงานทางเลือก แรงงาน : MOU ด้านการส่งแรงงานไทยลักษณะรัฐต่อรัฐ

ความร่วมมือด้านการศึกษา / วัฒนธรรม การศึกษา : - การส่งเสริมให้บรูไนเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของนักศึกษา ไทยมุสลิม - MOU ด้านการศึกษาระหว่างไทย – บรูไน - MOU ระหว่างสถาบันการศึกษา การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม - MOU ว่าด้วยความร่วมมือด้านการประชาสัมพันธ์และ การกระจายเสียง บันทึกความเข้าใจด้านการศึกษาระหว่างไทย - บรูไน ลงนามเมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๒ เพื่อนำไปสู่ความร่วมมือด้านการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม กรมประชาสัมพันธ์ และ Radio Television Brunei (RTB) มีโครงการแลกเปลี่ยนคณะเจ้าหน้าที่เพื่อศึกษาดูงานด้านข้อมูลข่าวสารเป็นประจำทุกปี ภายใต้ MOU ว่าด้วยความร่วมมือด้านการประชาสัมพันธ์และการกระจายเสียง รวมทั้งยังมีการจัดกิจกรรมการแสดงดนตรีและการแสดงทางวัฒนธรรม โดยผลัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพทุกสองปี โดยฝ่ายบรูไนเป็นเจ้าภาพในปี ๒๕๕๓ ด้านอื่นๆ การจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในประเทศไทย มีการนำกล่องรับเงินบริจาคไปตั้งไว้ตามสถานที่ต่างๆ มีการเชิญชวนให้บริจาคผ่านทางสื่อมวลชน และการเทศนาของอิหม่ามในช่วงการประกอบศาสนกิจการละหมาดในวันศุกร์

Sultan Omar Ali Saifuddin Mosque

Jame' Asr Hassanal Bolkiah Mosque

Jame' Asr Hassanal Bolkiah Mosque The mosque was built in 1992 to celebrate the 25th year of the Sultan's reign.

Jame' Asr Hassanal Bolkiah Mosque Italian marble, English stained-glass, Venetian mosaics

Istana Nurul Iman

หมู่บ้านน้ำ (Kampong Ayer)

หมู่บ้านน้ำ กับ Water Taxi

Rain Forest at Temburong Natural Park

~End of the Show~

ข้อมูลเพิ่มเติม กรมเอเชียตะวันออก www.eastasiawatch.in.th กระทรวงการต่างประเทศและการค้าบรูไน www.mofat.gov.bn Brunei Economic and Development Board www.bedb.com.bn สอท. ณ บันดาร์เสรีเบกาวัน www.thaiembassybrunei.org/

Media www.bt.com.bn www.borneobulletin.com.bn

Media http://www.rtb.gov.bn/ http://www.pelitabrunei.gov.bn/