การวัดทางระบาดและดัชนีอนามัย

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Influenza A (H1N1) 2009 in Thailand
Advertisements

Burden of Disease Thailand, 2009
สุขภาพสัตว์และการอนามัย
กลุ่มเศรษฐกิจ ภาวการงาน ( มีการจ้างงาน ไร้อาชีพ เป็นทหาร ) อาชีพ
การมีภาวะเจริญพันธุ์ลดลง
ผ.ศ(พิเศษ).น.พ.นภดล สุชาติ พ.บ. M.P.H.
การพิจารณาเลือกชนิด วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี ในแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค นพ.พรศักดิ์ อยู่เจริญ สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค.
Practical Epidemiology
การพยากรณ์โรคความดันโลหิตสูง
The Future Challenges and Policy Elaboration นพ. โกเมนทร์ ทิวทอง.
การวัดทางระบาดวิทยา น.ส.วิภาวี ธรรมจำรัส.
การวัดการเกิดโรค พ.ท. ผศ.ราม รังสินธุ์ พ.บ. ส.ม. DrPH
ระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์
Jinnpipat Choopanya, M.D.,M.P.H.M. Mukdahan Provincial Chief Medical Officer.
โครงการพัฒนาระบบการจดทะเบียนการเกิด สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
The prevention of progression of arterial disease and diabetes (POPADAD) trial: factorial randomised placebo controlled trial of aspirin and antioxidants.
B ASIC C ONCEPTS OF E PIDEMIOLOGY. What is Epidemiology? Greek roots: Epi : Upon. Demos: Human population. Logia: Science. “Science that deals with the.
สถานการณ์โรคมะเร็งในประเทศไทย
Disability-adjusted life year (DALYs)
Measures of Association and Impact for HTA
Cardiac Center Maharatnakhonratchasima Hospital service plan 2016
แนวทาง การดำเนินงาน องค์กรหัวใจดี แนวทาง แพทย์หญิงจุรีพร คงประเสริฐ 24 ธ.ค
นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ
กำหนดทิศทางของสถานศึกษา
Clinical Correlation Cardiovascular system
ระบาดวิทยาโรคไม่ติดต่อ
ทบทวนสถิติสำหรับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ
การวิเคราะห์ข้อมูล ดร. นพ. วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย
การวิเคราะห์ข้อมูล ดร. นพ. วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย
ข้อมูลทะเบียนมะเร็ง กฤติกา สุวรรณรุ่งเรือง
“สถานการณ์และระบาดวิทยา โรคไม่ติดต่อในประเทศไทย ”
สถิติและการวัดทางระบาดวิทยาที่ควรรู้
การวิเคราะห์งบการเงิน
Burden of disease measurement
การเขียนรายงานการสอบสวนทางระบาดวิทยา
ข้อมูลสำคัญในการพัฒนาอนามัยแม่และเด็ก: มุมมองและความหมาย
โครงการพัฒนาทีมจัดการระบบ การจัดการโรคเรื้อรัง ในระดับจังหวัดปี 2554
สถานการณ์ของโรคไข้หวัดใหญ่ในปี ๒๕๕๘
การอ่านและให้คุณค่าบทความวิชาการ (Journal Article Appraisal)
การประเมินความจำเป็นด้านสุขภาพ Health Needs Assessment - HNA
หมวด ๒ กลยุทธ์.
หมวด ๒ กลยุทธ์.
นพ.เฉวตสรร นามวาท กรมควบคุมโรค
การสอบสวนทางระบาดวิทยา (Epidemiological investigation)
กลุ่มระบาดวิทยาและข่าวกรอง สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา
ที่ใช้ในงานระบาดวิทยา
อ.จงกล โพธิ์แดง ภาควิชาระบาดวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล 2559
การจัดทำ KEY PERFORMANCE INDICATORS (KPIs) COMPETENCY
Community health nursing process
การกระจายของโรคในชุมชน
เพศสัมพันธ์ในวัยเรียน
รูปแบบการศึกษา ทางระบาดวิทยา
การวัดทางระบาดวิทยา ( Measurement in Epidemiology)
วัคซีนป้องกันเอชพีวี
Risk Management in New HA Standards
การตรวจสอบภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน
Breast Cancer Surveillance system
สถิติกับดัชนีการวัด... ในงานระบาดวิทยา
ทพ.สุธา เจียมมณีโชคชัย รองอธิบดีกรมอนามัย
Burden of Diseases (BOD) Disability Adjusted Life Years(DALY)
สถานการณ์วัณโรค นางสาวภัทรา ทองสุข นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
แผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี(ด้านสาธารณสุข) และการตรวจราชการประจำปี ๒๕๖๐
การจัดตั้งหน่วยทะเบียนมะเร็ง และการควบคุมคุณภาพ
ประชากร นำเสนอโดย ผศ.ดร.สมาน แก้วไวยุทธ.
Public Health Nursing/Community Health Nursing
ส่งสัญญาณเตือนระยะต้น
คปสจ.เดือนสิงหาคม สิงหาคม 59.
ทบทวนกฎหมายรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติที่สำคัญซี่งมีมิติในเชิงคดี
เศรษฐกิจพอเพียง Sufficiency Economy.
การวางแผนงานสาธารณสุข
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การวัดทางระบาดและดัชนีอนามัย อาจารย์ ธรรมศักดิ์ สายแก้ว วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ สาขาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

ความหมาย ดัชนีอนามัย หมายถึง เครื่องชี้บ่งภาวะสุขภาพอนามัยชุมชน โดยมากจะอยู่ในรูปปริมาณเพื่อแสดงถึงสุขภาพอนามัยชุมชนในด้านต่างๆ มีลักษณะเป็นได้ทั้งรูปอัตรา อัตราส่วน และสัดส่วน

ประโยชน์ของดัชนีอนามัย 1.ช่วยในการวัดการกระจายของโรค และแสดงแนวโน้มของการเกิดโรคในชุมชน 2.ใช้วิเคราะห์สถานการณ์ทางด้านอนามัยและปัญหาสุขภาพอนามัยของชุมชน การมีดัชนีอนามัยเพื่อสรุปเกี่ยวกับการเจ็บป่วยและการตายของชุมชน ทำให้สามารถเปรียบเทียบสถิติอนามัยในปัจจุบันและอดีต เปรียบเทียบสถิติอนามัยภายในประเทศหรือระหว่างประเทศเพื่อประเมินสถานการณ์ทางด้านอนามัย

ประโยชน์ของดัชนีอนามัย 3.ใช้เป็นแนวทางในการวางแผนงานสาธารณสุข โดยเฉพาะการกำหนดเป้าหมายวัตถุประสงค์ และการประเมินผลของแผน 4. ใช้ในการประเมินการจัดบริการสาธารณสุข และวัดผลการดำเนินงานตามโครงการต่างๆว่าได้ผลมากน้อยเพียงใด 5. ใช้เป็นประโยชน์ในงานวิจัยและการศึกษาทางด้านวิทยาการระบาดต่างๆ

ลักษณะของดัชนีอนามัย ลักษณะดัชนีอนามัยที่ดี 1.การหามาได้ (Availability) หาง่ายไม่มีวิธีการยุ่งยาก 2. ความสมบูรณ์ของการครองคลุม (Completeness of coverage) 3. ความคงที่ (Stability) ไม่มีการเปลี่ยนแปลง 4. ความมีอยู่ทั่วไป (Universality)ดัชนีอนามัยควรมีลักษณะของการแสดงของข้อมูลหรือปัจจัยรวมต่างๆที่มีอยู่ทั่วไป ซึ่งใช้ในการพิจารณาระดับสุขภาพอนามัยหรือมีผลกระทบต่อระดับสุขภาพอนามัย 5. การยอมรับ (Acceptability) ดัชนีอนามัยควรเป็นที่ยอมรับและใช้ทั่วไป และในการสำรวจหรือรวบรวมข้อมูลเพื่อหาค่าดัชนีอนามัยควรเป็นที่ยอมรับของประชาชน และไม่เพิ่มอันตรายต่อประชาชน

ลักษณะของดัชนีอนามัย ลักษณะดัชนีอนามัยที่ดี 6. ความง่าย (Simplicity) ดัชนีอนามัยควรคำนวณจากข้อมูลได้ง่ายและไม่สิ้นเปลือกทรัพยากรมากนัก 7. การผลิตได้ใหม่ (Reproducibility) ดัชนีอนามัยสามารถผลิตขึ้นได้ใหม่และได้ผลเหมือนกันไม่ว่าจะดำเนินการในลักษณะต่างเวลา ต่างสถานที่ หรือต่างบุคคลก็ตาม 8. ความจำเพาะ (Specificity) มีความบ่งจำเพาะสำหรับปรากฎการณ์ที่เกี่ยวข้อง 9.ความไว (Sensitivity) มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของปรากฎการณ์ที่เกี่ยวข้อง 10. ความถูกต้อง (Validity) ดัชนีอนามัยสามารถวัดสิ่งที่ต้องการวัดได้ถูกต้อง

ชนิดของการวัดทางระบาด 1. การวัดการเกิดโรคในชุมชน ( Measures of Disease Frequency) 2. การวัดเพื่อหาความสัมพันธ์ ( Measures of Association) 3. การวัดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชุมชน ( Measures of Potential Impact )

การวัดการเกิดโรคในชุมชน ( Measures of Disease Frequency) การวัดความมากน้อยของโรคหรือปัญหาสุขภาพในกลุ่มประชากรที่สนใจ รวมทั้งความพิการหรือการเสียชีวิต ซึ่งเป็นผลที่เกิดจากการเป็นโรค ได้แก่ อัตราอุบัติการณ์ และอัตราความชุก เป็นต้น

การวัดเพื่อหาความสัมพันธ์ ( Measures of Association เป็นการวัดความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับปัจจัยที่อาจเป็นสาเหตุหรือเป็นปัจจัยเสี่ยง (Risk Factors) กับการเกิดโรค (Disease)ระหว่างประชากรที่ศึกษา 2 กลุ่ม เพื่อเปรียบเทียบกันว่าในกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงจะเกิดโรคมากเป็นกี่เท่าของกลุ่มที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยง ตัวอย่าง การได้รับวัคซีน กับการเกิดโรคระหว่างกลุ่มประชากร 2 กลุ่มเช่นเดียวกันเพื่อเปรียบเทียบว่าในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนจะเกิดโรคน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีนเป็นกี่เท่า

การวัดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชุมชน ( Measures of Potential Impact ) เป็นการวัดขนาดของผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโครงการรณรงค์ที่ดำเนินการให้การป้องกันหรือกำจัดปัจจัยเสี่ยงในชุมชนว่า ภายหลังจากที่ได้ดำเนินมาตรการควบคุมป้องกันไปแล้ว เช่น การลดหรือขจัดปัจจัยเสี่ยง การให้ภูมิกันโรค การให้การวินิจฉัยและให้การรักษาแต่เนิ่นๆจะทำให้การเกิดโรคเปลี่ยนแปลงหรือไม่อย่างไร ค่าที่ใช้ในการนี้ ได้แก่ ค่า population attributable risk

เครื่องมือพื้นฐานที่ใช้ในการวัด 1. การนับ หรือ จำนวน ( Count or Number) 2. อัตราส่วน ( Ratio) 3. สัดส่วน ( Proportion ) 4. อัตรา ( Rate ) 5. ดัชนี (Index ) 6. อัตราส่วนความเสี่ยง (Risk Ratio) หรือ ความเสี่ยงสัมพัทธ์ (Relative Risk )

เครื่องการวัดทางระบาดที่สำคัญ 1. การวัดการตาย โดยใช้ อัตราตาย( Mortality rate) 2. การวัดการป่วย โดยใช้ อัตราป่วย( Morbidity rate) 3. การวัดความสัมพันธ์โดยใช้ความเสี่ยงสัมพัทธ์ 4. การวัดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชุมชนโดยใช้ population attributable fraction ) สูตรพื้นฐาน อัตรา / อัตราส่วน / สัดส่วน = A x K หรือ ( numerator) B denominator

อัตราป่วย( Morbidity rate) 1. อัตราอุบัติการณ์( Incidence rate) 2. อัตราความชุก( Prevalence rate) 3. อัตราโจมจับ ( Attack rate) 4. อัตราโจมจับเฉพาะ ( specific attack rate )

การวัดการกระจายด้านปริมาณจากการเจ็บป่วย อัตราอุบัติการณ์ ( Incidence rate ) การเปรียบเทียบระหว่างจำนวนผู้ป่วยใหม่ที่เกิดขึ้นในชุมชนในช่วงระยะเวลาหนึ่งกับจำนวนประชากรทั้งหมดในชุมชนเดียวกันที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้ อัตราอุบัติการณ์ = จำนวนผู้ป่วยใหม่ที่เกิดขึ้นในชุมชนทั้งหมด ในระยะเวลาที่กำหนด จำนวนประชากรทั้งหมดในชุมชนเดียวกันที่มีความเสี่ยง ต่อการเกิดโรคนี้ในระยะเวลาที่กำหนด ผลที่ได้จะออกมาเป็นอัตราการป่วยต่อหน่วยของประชากรที่ใช้เปรียบเทียบ K ซึ่งอาจจะเป็นประชากร 1,000 10,000 หรือ 100,000 คนก็ได้ X k

อุบัติการณ์ (Incidence) จำนวนผู้ป่วยทั้งหมดที่มีอยู่ในระยะเวลาที่กำหนด จำนวนผู้ป่วยทั้งหมด จำนวนประชากรทั้งหมด จำนวนประชากร 1000 คน 2552 2553 ความชุก = x 1000 = 8 ต่อประชากรพันคน 8 1000

การวัดการกระจายด้านปริมาณจากการเจ็บป่วย ประโยชน์ที่สำคัญของอุบัติการณ์ คือ อัตรานี้บ่งให้ทราบได้โดยตรงถึงโอกาสหรือความเสี่ยงของคนในชุมชนที่จะเกิดโรคในช่วงระยะเวลาหนึ่ง แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการควบคุมและป้องกันโรค รวมทั้งประโยชน์ในการศึกษาหาสาเหตุของโรคในโอกาสต่อไปได้ การเปลี่ยนแปลงอัตราอุบัติการณ์ในชุมชน จะบ่งบอกสภาวะสุขภาพอนามัยของคนในชุมชน

การวัดการกระจายด้านปริมาณจากการเจ็บป่วย ตัวอย่าง ถ้าพบว่าชุมชนหนึ่งมีการเพิ่มขึ้นของอัตราอุบัติการณ์ของโรคใดๆแปลได้ว่า 1. ถ้าเป็นการเพิ่มอย่างแท้จริง นั้นเกิดจากการเปลี่ยนหรือความมาสมดุลของปัจจัยการเกิดโรค (EHA) 2. ถ้าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่จริง อาจมีผลมาจากการวินิจฉัยโรคดีขึ้นทำให้ค้นพบโรคได้มากขึ้นหรือการบกพร่องในการบันทึกการเจ็บป่วยหรือการนับจำนวนประชากรในชุมชนก็ได้ ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงคุณภาพการบริการควบคุมและป้องกันโรคที่ไม่ได้มาตรฐานที่ดีก็ได้

การวัดการกระจายด้านปริมาณจากการเจ็บป่วย อัตราความชุกของโรค ( Prevalence rate ) คืออัตราที่แสดงผู้ป่วยทั้งหมดที่อยู่ในชุมชนในช่วงเวลาหนึ่งต่อประชากรทั้งหมดของชุมชนในช่วงเวลานั้น อัตราความชุกของโรค = จำนวนผู้ป่วยทั้งหมดในระยะเวลาที่กำหนด x K จำนวนประชากรทั้งหมดในชุมชนในระยะเวลาที่กำหนด ผลที่ได้จะออกมาเป็นอัตราการป่วยต่อหน่วยของประชากรที่ใช้เปรียบเทียบ K ซึ่งอาจจะเป็นประชากร 1,000 10,000 หรือ 100,000 คนก็ได้

ความชุก (Prevalence) จำนวนผู้ป่วยใหม่ที่เกิดขึ้นในระยะเวลาที่กำหนด จำนวนประชากรที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค จำนวนประชากร 1000 คน 2552 2553 อุบัติการณ์ = x 1000 = 5 ต่อประชากรพันคน 5 1000

การวัดการกระจายด้านปริมาณจากการเจ็บป่วย ประโยชน์ที่สำคัญของอัตราความชุกของโรค ( Prevalence rate ) อัตรานี้บ่งให้ทราบถึงความมากน้อยของปัญหาโรคภัยไข้เจ็บในชุมชน ซึ่งเป็นภาระของแพทย์และนักสาธารณสุขที่จะต้องรับผิดชอบจัดการรักษาและบริการที่เหมาะสมได้ อัตรานี้มีประโยชน์สำหรับผู้บริหารงานสาธารณสุขในด้านเตรียมชนิดแบะขนาดของบริการให้เหมาะสมกับปัญหาในชุมชนที่รับผิดชอบ

อัตราป่วย (Attack rate) อัตราป่วยระลอกแรก (Primary attack rate) = 3/10 = 30% อัตราป่วยระลอกสอง (Secondary attack rate) = (1+1+2)/(3+2+3) = 4/8 = 50%

อัตราตาย( Mortality rate) 1. อัตราตายอย่างหยาบ( Crude death rate) 2. อัตราตายเฉพาะ ( Specific death rate) 3. อัตราตายเฉพาะเหตุ ( Cause–specific death rate) 4. อัตราผู้ป่วยตาย ( case fatality rate )

การวัดการกระจายด้านปริมาณจากการตาย เครื่องมือที่ใช้วัดการตาย ได้แก่ 1. มรณบัตร 2. การสำรวจเฉพาะเรื่อง เช่น การตายเฉพาะโรค วิธีวัด วัดเป็นอัตราตาย ประกอบด้วย 3 ส่วน 1. กลุ่มประชากรที่เสี่ยงต่อการตาย 2. ระยะเวลาที่กำหนดในการวัด เช่น ปี เดือน 3. จำนวนคนที่ตายที่เกิดขึ้นในกลุ่มประชากรที่เสี่ยงต่อการตายนั้น

การวัดการกระจายด้านปริมาณจากการตาย 1. อัตราตายอย่างหยาบ ( Crude death rate ) คือ อัตราตายที่แท้จริงของชุมชนเพราะนับจากสาเหตุการตายทุกชนิด อัตราตายอย่างหยาบ = จำนวนคนตายทุกสาเหตุในระยะเวลาที่กำหนด x K จำนวนประชากรกลางปี 2. อัตราตายเฉพาะ ( Specific death rate ) -อัตราตายเฉพาะกลุ่มอายุ ( Age-Specific death rate ) วัดการตายในกลุ่มอายุต่างๆ - อัตราตายเฉพาะเพศ ( Sex-Specific death rate ) วัดการตายในกลุ่มเพศหญิงและชาย - อัตราตายเฉพาะเหตุ ( cause-Specific death rate ) วัดการตายตามสาเหตุต่างๆ

การวัดการกระจายด้านปริมาณจากการตาย 3. อัตราส่วนการตาย ( Proportional mortality rate ) คือ อัตราส่วนที่แสดงถึงสัดส่วนของการตายด้วยสาเหตุเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่งเปรียบเทียบกับการตายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่กำหนด เช่น ในประเทศไทยในปี 2551 การตายจากอุบัติเหตุต่างๆการเป็นพิษและพลวเหตุมีอัตราตาย 34.8 ต่อประชากรแสนคน และการตายด้วยสาเหตุนี้คิดเป็นร้อยละ คือ อัตราส่วนการตายเท่ากับ 6.7 ของสาเหตุการตายทุกสาเหตุในปีนั้น 4. อัตราป่วยตาย ( Case fatality rate ) คือ สัดส่วนการตายด้วยสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งเปรียบเทียบกับจำนวนผู้ป่วยด้วยสาเหตุนั้นทั้งหมด

จากตารางนักศึกษาอธิบายได้อย่างไร ตารางบอกอะไร ตารางที่ 1 ตารางแสดงอัตราป่วยต่อแสนประชากรแสนคน และอัตราป่วยตายด้วยโรคคอตีบประเทศไทย 2517-2521 พ.ศ. จำนวนป่วย จำนวนตาย อัตราป่วยต่อแสน อัตราป่วยตาย 2517 2518 2519 2520 2521 1,905 1,934 2,345 2,290 1,773 143 140 177 141 126 4.68 4.62 5.47 5.21 3.94 7.51 7.24 7.55 6.16 7.11 แหล่งข้อมูล:รายงานการเฝ้าระวังโรค 2521 กองระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข จากตารางนักศึกษาอธิบายได้อย่างไร ตารางบอกอะไร

การวัดการกระจายด้านปริมาณจากการตาย จากตารางที่ 1 จะเห็นว่าโรคคอตีบในประเทศไทยอัตราป่วยมีแนวโน้มลดลง แต่อัตราผู้ป่วยตายซึ่งแสดงถึงความรุนแรงของโรคและบริการการรักษาพยาบาลยังคงสภาพเดิมตลอดเวลา 5

การวัดการกระจายด้านปริมาณจากการตาย ประโยชน์ที่สำคัญของอัตราตาย อัตรานี้บ่งให้ทราบถึงรายละเอียดของความรุนแรงของปัญหาสุขภาพอนามัย และเป็นดัชนีในการประเมินคุณภาพของบริการสุขภาพ

อัตราส่วน(ratio) ( a ) อัตรา ( Rate ) = ( b) อัตราส่วน (Ratio) เป็นการเปรียบเทียบค่าตัวเลขของจำนวนหนึ่งกับอีกจำนวนหนึ่ง โดยตัวตั้งไม่ได้มาจากตัวหาร เช่น การเปรียบเทียบจำนวนนักเรียนชาย ( a ) ต่อจำนวนนักเรียนหญิง (b) อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิงของนักเรียนเท่ากับ a : b หรือเปรียบเทียบอัตราส่วนของเด็กเกิดไร้ชีพ (Fetal deaths) ต่อเด็กเกิดมีชีพ (Live birth) ในบางครั้งอัตราส่วนอาจแปลงเป็นรูปของร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์ได้ ( a ) อัตรา ( Rate ) = ( b)

อัตราป่วย (Attack rate) สัดส่วนของประชากรที่มีภูมิไวรับที่ป่วยเป็นโรค 3 อัตราป่วย = = 30% 10

สัดส่วน(ratio) X สัดส่วน X 100 X +Y+……… จำนวนคนตายด้วยโรคหัวใจ สัดส่วน (Proportion) เป็นการเปรียบเทียบระหว่างตัวตั้งซึ่งเป็นจำนวนหนึ่งของตัวหาร กับตัวหารซึ่งเป็นจำนวนรวมทั้งหมด มักนิยมแปลงเป็นรูปร้อยละ หรือเปอร์เซ็นต์ X สัดส่วน X 100 X +Y+……… จำนวนคนตายด้วยโรคหัวใจ สัดส่วนของคนตายด้วยโรคหัวใจ = x 100 จำนวนคนตายทั้งหมด

การวัดค่าความเสี่ยง เป็นการวัดการเรียบเทียบอัตราอุบัติการของการเกิดโรคในกลุ่มคนที่สัมผัสกับปัจจัยเสี่ยง เปรียบเทียบกับอัตราอุบัติการของการเกิดโรคในกลุ่มคนที่ไม่ได้สัมผัสกับปัจจัยเสี่ยงนั้นๆ ค่าที่ได้เรียกว่า ค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์ ( Relative Risk) ค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์ = อัตราอุบัติการณ์ของการเกิดโรคในกลุ่มคนที่สัมผัสกับปัจจัยเสี่ยง อัตราอุบัติการของการเกิดโรคในกลุ่มคนที่ไม่สัมผัสกับปัจจัยเสี่ยงนั้นๆ

การวัดผลกระทบของปัจจัยที่ศึกษาต่อการเกิดโรค การวัดผลเฉพาะในกลุ่มผู้ที่มีปัจจัยนั้น เช่น การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสูบบุหรี่และการเกิดโรค ทางเดินหายใจ เป็นโรค ไม่เป็นโรค สูบบุหรี่ 100 ไม่สูบบุหรี่ 100 50 350 40 160 10 190

การคำนวณ Attributable fraction among the exposed (AFe) AFe = = = 0.75 หรือ 75 % ถ้า Ie = Incidence ในผู้ที่มีปัจจัย = 40÷100 =40% Iu = Incidence ในผู้ที่ไม่มีปัจจัย = 10÷100 = 10% หรือ ในกรณีที่ไม่มีข้อมูล Incidence สามารถใช้ Relative risk มาใช้ในการ คำนวณได้ AFe = = = 0.75 หรือ 75%

การวัดผลกระทบของปัจจัยที่ศึกษาต่อการเกิดโรค การวัดผลในประชากรทั้งหมด เช่น การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสูบบุหรี่และการเกิดโรค ทางเดินหายใจ เป็นโรค ไม่เป็นโรค สูบบุหรี่ 100 ไม่สูบบุหรี่ 100 50 350 40 160 10 190

การคำนวณ Attributable fraction in the whole population (AFp) AFe = = = 0.60 หรือ 60 % ถ้า Ip = Incidence ใน Population = 50÷200 =0.25 =25% หรือ ในกรณีที่ไม่มีข้อมูล Incidence สามารถใช้ Relative risk และความชุกของการมีปัจจัยในชุมชนมาใช้ในการคำนวณ คือ AFp = Pe x (RR-1) = 0.50 x (4.00-1) = 60% Pe x (RR-1)+1 0.50 x (4.00-1)+1