งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การวัดทางระบาดวิทยา ( Measurement in Epidemiology)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การวัดทางระบาดวิทยา ( Measurement in Epidemiology)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การวัดทางระบาดวิทยา ( Measurement in Epidemiology)
อาจารย์ รังสิมา พัสระ วท.ม. (สาธารณสุขศาสตร์)

2 หัวเรื่อง การวัดความถี่ (Frequency Measures)
การวัดความสัมพันธ์ (Measures of Association) การวัดผลกระทบทางด้านสาธารณสุข (Measures of Public Health Impact)

3 ชนิดของการวัดทางระบาดวิทยา
การวัดการเกิดโรคในชุมชน (Measures of Disease Frequency) เป็นการวัดความมากน้อยของโรคหรือปัญหาสุขภาพในกลุ่ม ประชากรที่สนใจ รวมทั้งความพิการหรือการเสียชีวิตซึ่งเป็นผล ที่เกิดขึ้นจากการเป็นโรค ได้แก่ อัตราอุบัติการณ์ และอัตรา ความชุก เป็นต้น

4 การวัดเพื่อหาความสัมพันธ์ (Measures of Association)
เป็นการวัดความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับปัจจัยที่อาจเป็น สาเหตุหรือเป็นปัจจัยเสี่ยง (Risk factors) กับการเกิด โรค (Disease) ระหว่างกลุ่มประชากรที่ศึกษา 2 กลุ่ม เพื่อเปรียบเทียบกันว่าในกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงจะเกิดโรค มากเป็นกี่เท่าของกลุ่มที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยง

5 การวัดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชุมชน (Measures of Potential Impact)
เป็นการวัดขนาดของผลกระทบที่เกิดขึ้นจาก โครงการรณรงค์ที่ดำเนินการให้การป้องกันหรือ กำจัดปัจจัยเสี่ยงในชุมชนว่า ภายหลังจากที่ได้ดำเนิน มาตรการควบคุมป้องกันไปแล้ว

6 เครื่องมือพื้นฐานที่ใช้ในการวัด (Basic Tools for Measurement)
การนับ (Count) หรือจำนวน (Number): เป็น วิธีการที่ง่ายที่สุดในการวัดเชิงปริมาณ

7 เครื่องมือพื้นฐานที่ใช้ในการวัด (Basic Tools for Measurement)
อัตราส่วน (Ratio) หมายถึง การเปรียบเทียบเลขตัวตั้ง ซึ่ง เป็นจำนวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในกลุ่มประชากรที่ศึกษา กับเลข ตัวหาร ซึ่งได้แก่ เป็นคนที่มิได้ประสบกับเหตุการณ์นั้นๆหรือเป็น การเปรียบเทียบระหว่างเลขตัวตั้ง ซึ่ง เป็นประชากรกลุ่มหนึ่ง โดยที่เลขตัวตั้งไม่ได้เป็นสมาชิกของเลขตัวหาร

8 เครื่องมือพื้นฐานที่ใช้ในการวัด (Basic Tools for Measurement)
คุณสมบัติของอัตราส่วน มีหน่วยในการวัด ตัวอย่างเช่น – จำนวนประชากรต่อพื้นที่ (คน/ตร.กม.) ในกรุงเทพมหานคร (เขตห้วยขวาง) = 5,335 คน/ตร.กม. - จำนวนเตียงโรงพยาบาลต่อประชากร (คน/เตียง) ฯลฯ ในกรุงเทพมหานคร (เขตห้วยขวาง) = 1,116 คน/เตียง

9 เครื่องมือพื้นฐานที่ใช้ในการวัด (Basic Tools for Measurement)
ไม่มีหน่วยในการวัด ตัวอย่างเช่น – อัตราส่วนเพศชาย : หญิง - อัตราส่วนของผลการรักษา รักษาหาย:รักษาไม่หาย ฯลฯ - จำนวนแพทย์ต่อประชากร ฯลฯ

10 เครื่องมือพื้นฐานที่ใช้ในการวัด (Basic Tools for Measurement)
3. สัดส่วน (Proportion หรือ Proportional Rate) สัดส่วน เป็นค่าที่คำนวณเพื่อแสดงว่า เหตุการณ์ที่สนใจ พบเป็นสัดส่วนเท่าใดต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด หรืออีกนัยหนึ่ง สัดส่วนหมายถึงการเปรียบเทียบระหว่างเลขตัวตั้ง ซึ่งเป็นประชากรกลุ่มย่อยกลุ่มหนึ่ง กับเลขตัวหารซึ่งเป็นผลรวม ของประชากรทุกกลุ่มที่ร่วมอยู่ในเหตุการณ์อย่างเดียวกัน

11 เครื่องมือพื้นฐานที่ใช้ในการวัด (Basic Tools for Measurement)
คุณสมบัติของสัดส่วน ไม่มีหน่วย มีค่าอยู่ระหว่าง 0-1 (หรือ ถ้าคูณด้วย 100)

12 เครื่องมือพื้นฐานที่ใช้ในการวัด (Basic Tools for Measurement)
ตัวอย่าง: สัดส่วนการตายเฉพาะสาเหตุ (Proportional Mortality for Specific Cause or Proportional Mortality Ratio) = จำนวนของคนตายทั้งหมดด้วยสาเหตุที่สนใจในปีที่กำหนด x 100 จำนวนของคนตายทั้งหมดในทุกสาเหตุในปีเดียวกัน เช่น สัดส่วนของการตายด้วยโรคหัวใจ

13 เครื่องมือพื้นฐานที่ใช้ในการวัด (Basic Tools for Measurement)
4. อัตรา (Rate) หมายถึง (1) ความน่าจะเป็นของการเกิดเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งใน กลุ่มประชากรที่ศึกษา ณ ช่วงเวลาที่กำหนด (2) เป็นการเปลี่ยนแปลงของ เหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง ต่อ หนึ่งหน่วยระยะเวลา เช่น อัตราความเร็วของรถ 120 กิโลเมตร/ ชั่วโมง จะแสดงการเปลี่ยนแปลงของตำแหน่งของรถในขณะนั้นๆว่า ถ้า ขับด้วยความเร็วเช่นนี้ตลอด 1 ชั่วโมง รถจะเคลื่อนที่ไปได้ 120 กม. เป็นต้น

14 เครื่องมือพื้นฐานที่ใช้ในการวัด (Basic Tools for Measurement)
ข้อสังเกต 1: อัตราที่คำนวณได้จะมีค่าอยู่ระหว่าง 0 และ 1 ซึ่ง เทียบเท่าได้กับค่าความน่าจะเป็นของการเกิดเหตุการณ์นั้นๆใน ประชากรที่ศึกษา ข้อสังเกต 2: ในการคำนวณอัตรานั้น ตัวเลขตัวเศษ จะเป็นส่วน หนึ่งของตัวเลขตัวส่วนเสมอ

15 เครื่องมือพื้นฐานที่ใช้ในการวัด (Basic Tools for Measurement)
เพื่อให้แปลผลค่าของอัตราป่วยได้ชัดเจนขึ้น ในบางกรณี เราจึงมักนิยม นำค่าคงที่ k ซึ่งอาจเป็นจำนวนใดๆ ได้แก่ 10, 100, 1,000,…,etc) มาคูณค่าที่คำนวณได้ การจะใช้ค่า k เป็นค่า เท่าใด ขึ้นอยู่กับความนิยมของอัตรานั้นๆว่ามักใช้ในรูปแบบใด แต่ โดยทั่วไป มักจะใช้ค่า k ที่ทำให้ค่าอัตราที่คำนวณได้เป็นเลขที่มีตัวเลข หน้าจุดทศนิยม 1-3 ตำแหน่ง

16 เครื่องมือพื้นฐานที่ใช้ในการวัด (Basic Tools for Measurement)
5. ดัชนี (INDEX): จะหมายถึงเครื่องชี้วัดถึงสถานการณ์ที่เป็นอยู่ ในทาง สาธารณสุข ค่าอัตรา อัตราส่วน และสัดส่วนล้วนเป็น ดัชนีสุขภาพประเภทหนึ่งทั้งสิ้น ซึ่ง แต่ละตัวก็มีชื่อ การ คำนวณและการแปลผลแตกต่างกันไป

17 เครื่องมือพื้นฐานที่ใช้ในการวัด (Basic Tools for Measurement)
ข้อสังเกต ควรจำไว้เสมอว่า ในการคำนวณค่า อัตรา หรือ อัตราส่วน หรือสัดส่วน หรือ ดัชนี ค่าของตัวเศษและส่วน ต้องเป็นค่าที่ได้มาจากชุมชนเดียวกัน และในช่วง ระยะเวลาที่กำหนดเดียวกันด้วย และจะต้องบอกหน่วยด้วย ว่า ต่อประชากรอะไร จำนวนเท่าไร และต่อเวลาเท่าใดด้วย

18 เครื่องมือพื้นฐานที่ใช้ในการวัด (Basic Tools for Measurement)
6. อัตราส่วนความเสี่ยง (Risk Ratio) หรือ ความเสี่ยงสัมพัทธ์ (Relative Risk) หมายถึง การเปรียบเทียบความเสี่ยงของการเป็นโรค ระหว่างกลุ่มประชากรที่มีปัจจัยเสี่ยงกับกลุ่มที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยง โดยเริ่มต้น ศึกษาในคน 2 กลุ่ม ซึ่งปราศจากโรคเหมือนกัน แต่ต่างกันตรงที่กลุ่มหนึ่ง ได้รับหรือมีปัจจัยที่คาดว่าเป็นสาเหตุของการเกิดโรค แล้วติดตามผลไป จนกระทั่งโรคได้เกิดขึ้นในคนทั้ง 2 กลุ่ม Risk Ratio = Relative Risk = อัตราป่วยในกลุ่มที่ได้รับปัจจัยเสี่ยง อัตราป่วยในกลุ่มที่ไม่ได้รับปัจจัยเสี่ยง

19 เครื่องมือการวัดทางระบาดวิทยาที่สำคัญ
การวัดการตาย โดยใช้อัตราตาย (Mortality rate) การวัดการป่วย โดยใช้อัตราป่วย (Morbidity rate) การวัดความสัมพันธ์ โดยใช้ค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์ การวัดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชุมชน โดยใช้ population attributable fraction

20 ประชากรกลุ่มเสี่ยง (Population at risk)
หมายถึง จำนวนประชากรที่สัมผัสต่อปัจจัยเสี่ยง และมีโอกาสที่ จะป่วยหรือตายจากโรคนั้นในช่วงระยะเวลาที่ทำการศึกษา แต่ถ้า ประชากรกลุ่มดังกล่าวมีการเคลื่อนย้ายเปลี่ยนแปลง ทำให้จำนวน ประชากรที่เสี่ยงไม่คงที่ตลอดช่วงเวลาที่ทำการศึกษา จะใช้ค่า ประชากรเฉลี่ย หรือ ประชากรกลางปี แทนจำนวนประชากรที่เสี่ยง

21 การคำนวณประชากรกลางปี
อาจทำได้ 3 วิธีดังนี้ จำนวนประชากรกลางปี (1 กรกฎาคม) ของปีที่กำหนด (ซึ่งหาได้โดย การสำรวจสำมะโนประชากรในวันดังกล่าว) วิธีนี้ไม่นิยมปฏิบัติ เนื่องจากจะเสียเวลาและค่าใช้จ่ายมาก

22 การคำนวณประชากรกลางปี
การประมาณค่าจำนวนประชากรกลางปี โดยอาศัยข้อมูลจากการ สำรวจสำมะโนประชากรที่สำนักงานสถิติแห่งชาติกระทำทุก 10 ปี (เช่น พ.ศ. 2503, 2513, 2523, 2533, เป็นต้น) และนำมาคาดประมาณจำนวนประชากรกลางปีในแต่ละปีโดย อาศัยวิธีการทางสถิติ

23 การคำนวณประชากรกลางปี
จากการคำนวณ โดยอาศัยสถิติจากการจดนับตามทะเบียนราษฎรของ กระทรวงมหาดไทยซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจดจำนวนราษฎรไทย จากการเกิด การตาย การย้ายถิ่น เป็นต้น จำนวนประชากรกลางปี ( 1 กรกฎาคม) ของปีที่กำหนด = จำนวนประชากรเมื่อ 1 ม.ค. + 1/2 (จำนวนคนเกิด – จำนวนคนตาย+ จำนวนคนที่ย้ายเข้า – จำนวนคนที่ย้ายออก) ในปีนั้น = 1/2 (จำนวนประชากรเมื่อ 31 ธ.ค. ปีก่อนนั้น + จำนวนประชากรเมื่อ 31 ธ.ค. ของปีที่กำหนด)

24 การคำนวณอัตราป่วยและอัตราตายโดยใช้ Person-time
แต่ละคนมีระยะเวลาของการสัมผัสปัจจัยเสี่ยงไม่เท่ากัน ภาวะ ความเสี่ยงของคนเหล่านั้นก็น่าจะไม่เท่ากันด้วย ควรใช้จำนวนคน และจำนวนระยะเวลาที่แต่ละคนสัมผัสปัจจัยเสี่ยง มาคำนวณเป็นปริมาณประชากรที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค ใช้จำนวนนี้เป็นตัวหารในการคำนวณอัตราอุบัติการณ์และอัตราตาย จากสาเหตุต่างๆต่อไป

25 การคำนวณอัตราป่วยและอัตราตายโดยใช้ Person-time
Total Person-time at risk = ผลรวมของระยะเวลาที่ สัมผัสต่อปัจจัยเสี่ยงของผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคทุกคน = ∑ (person at risk x duration of expose)

26 ตัวอย่าง : มีคนงาน 40 คน ทำงานอยู่ในโรงงานผลิตแบตเตอรี่ โดยมีระยะเวลาการทำงานต่างกัน ดังนี้ คนงาน 8 คน ทำงานมานาน 10 ปี person-time at risk = 8 x 10 = 80 person-years คนงาน 25 คน ทำงานมานาน 5 ปี person-time at risk = 25 x 5 = 125 person-years คนงาน 6 คน ทำงานมานาน 2 ปี person-time at risk = 6 x 2 = 12 person-years คนงาน 1 คน ทำงานมานาน 6 เดือน person-time at risk = 1 x 0.5 = 0.5 person-years Total person-years at risk = = person-years ถ้าสมมติว่าในช่วงเวลาที่ทำการศึกษา 10 ปี มีคนงานป่วยด้วยโรคทางระบบประสาท 2 ราย อัตราอุบัติการณ์ (Incidence Density) = (2/217.5) x 1000 = 9.20/1,000 person – years

27 การแปลความหมายของ Incidence density
ค่า Incidence density = 9.2/1,000 person- years หมายความว่า ในประชากรกลุ่มที่มีลักษณะเดียวกันนี้ เราจะคาดได้ว่า น่าจะมีผู้ป่วยใหม่เกิดขึ้น 9.2 คนต่อประชากร 1,000 คนในเวลา 1 ปี

28 การคำนวณอัตราป่วยและอัตราตายโดยใช้ Person-time

29 เดือน จำนวนคน เมื่อวันที่ 1 รวม A B C จำนวน Person-month =A+B/2+C/2
January 80 72 8 14 83.0 February 86 84 2 10 90.0 March 94 11 99.5 April 105 102 3 17 112.0 May 119 115 4 26 130.0 June 141 130 22 146.5 July 152 143 9 151.5 August 151 137 5 September 142 139 146.0 October 150 144 6 18 156.0 November 162 155 7 13 165.0 December 168 167 1 172.0 รวม 1,598.0

30 การวัดค่าความเสี่ยง โดยทั่วไป การวัดค่าความเสี่ยงต่อการเกิดโรค จะวัดโดยการเปรียบเทียบอัตรา อุบัติการณ์ของการเกิดโรคในกลุ่มคนที่สัมผัสกับปัจจัยเสี่ยง เปรียบเทียบกับ อัตราอุบัติการณ์ของการเกิดโรคในกลุ่มคนที่ไม่ได้สัมผัสกับปัจจัยเสี่ยงนั้นๆ ค่าที่ได้ เรียกว่า ค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์ (Relative Risk) ค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์ = อัตราอุบัติการณ์ของการเกิดโรคในกลุ่มคนที่สัมผัสกับปัจจัยเสี่ยง อัตราอุบัติการณ์ของการเกิดโรคในกลุ่มคนที่ไม่ได้สัมผัสกับปัจจัยเสี่ยงนั้นๆ

31 ตัวอย่าง ค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์ของการเกิดโรคมะเร็งปอด เนื่องจากการสูบบุหรี่ = อัตราอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งปอดในกลุ่มที่สูบบุหรี่ อัตราอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งปอดในกลุ่มที่ไม่สูบบุหรี่ เช่น อัตราอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งปอดในกลุ่มที่สูบบุหรี่ = 150/100,000 อัตราอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งปอดในกลุ่มที่ไม่สูบบุหรี่ = 15/100,000 ค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์ของการเกิดโรคมะเร็งปอด เนื่องจากการสูบบุหรี่ = /100,000 = 10 15/100,000 หมายความว่า คนที่สูบบุหรี่ มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอด สูงกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ 10 เท่า

32 ค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์ (Relative Risk)

33 การวัดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชุมชน
การวัดความชุกของการเกิดโรคนั้น จะเป็นดัชนีที่บอกให้ทราบว่า มีโรค เกิดขึ้นมากน้อยเท่าใดในกลุ่มประชากรที่สนใจ การวัดค่าความเสี่ยงของการเกิดโรคนั้นๆ เนื่องจากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง จะเป็นตัวที่บอกให้ทราบว่า การเกิดโรคนั้นๆ มีความสัมพันธ์กับปัจจัย ใดบ้าง หากเราทำการจัดโครงการรณรงค์เพื่อกำจัดปัจจัยนั้นๆ ออกไปจาก ชุมชน จะลดปริมาณการป่วยได้เท่าไร

34 ปริมาณการป่วยที่ลดลง จะมากหรือน้อย
ขึ้นอยู่กับสาเหตุ 4 ประการ (1) อัตราการป่วยเดิม มีอยู่มากน้อยเพียงใด (2) ปัจจัยที่ทำการรณรงค์นั้น มีความสัมพันธ์มากน้อยเพียงใด กับการเกิดโรค (3) ปัจจัยที่ทำการรณรงค์นั้น มีอยู่มากน้อยเพียงใดในชุมชน (4) โครงการรณรงค์นั้น จะสามารถกำจัดปัจจัยนั้นๆได้มาก น้อยเพียงใด

35 ตัวอย่าง ในชุมชนหนึ่ง มีประชากรอยู่ 500,000 คน
สัดส่วนของการสูบบุหรี่ในประชากร = 10% (หรือ Pe = 0.1) อัตราอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งปอดในกลุ่มที่สูบบุหรี่ = 150/100,000 = Ie อัตราอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งปอดในกลุ่มที่ไม่สูบบุหรี่ = 15/100,000 = Io

36 ตัวอย่าง Attributable risk (AR) = Ie – Io = 150 – 15 = 135/100,000 หมายความว่า ปริมาณโรคมะเร็งปอดที่เกิดขึ้น เนื่องจากการสูบบุหรี่ เท่ากับ 135 ต่อประชากรแสนคน

37 Population Attributable risk (PAR) = Ip – Io เมื่อ Ip = อัตราการป่วยด้วยมะเร็งปอดในประชากร ซึ่งจะคำนวณได้จาก Ip = Pe(Ie) + Po(Io) Po = สัดส่วนของการไม่สูบบุหรี่ในประชากร = 1 – Pe ดังนั้น Ip = (0.1)(150/100,000) + (1-0.1)(15/100,000) = 28.5 /100,000 Population Attributable risk = 28.5 – 15 = 13.5/100,000 หมายความว่า ถ้าทำโครงการรณรงค์แล้ว ได้ผล 100% คือสามารถทำให้ผู้ที่สูบบุหรี่เลิกสูบบุหรี่ได้ทั้งหมด จะทำให้โรคมะเร็งปอดในชุมชนลดลง 13.5 รายต่อประชากรแสนราย

38 ตัวอย่าง Attributable Fraction (AF) = (Ie – Io)/Ie = (150 – 15)/150 = 0.90 การแปลผล: การป่วยด้วยโรคมะเร็งปอด 90% เป็นการป่วย เนื่องมาจากการสูบบุหรี่ (อีก 10% เป็นการป่วยที่เกิดเนื่องจากสาเหตุอื่นๆ)

39 ตัวอย่าง Population Attributable Fraction (PAF) = (Ip – Io)/Ip = (28.5 – 15)/28.5 = 0.47 การแปลผล: การป่วยด้วยโรคมะเร็งปอดในชุมชนนี้ 47% เป็นการ ป่วยเนื่องมาจากการสูบบุหรี่ (อีก 53% เป็นการป่วยที่เกิดเนื่องจาก สาเหตุอื่นๆ) หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ถ้าหากสามารถกำจัดปัจจัยการสูบบุหรี่ ออกไปจากประชากรได้ทั้งหมด เราน่าจะลดการป่วยด้วย โรคมะเร็งปอดไปได้ 47%

40 The end


ดาวน์โหลด ppt การวัดทางระบาดวิทยา ( Measurement in Epidemiology)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google