การปกครองท้องถิ่น
การนิยามการปกครองท้องถิ่น มีผู้ให้นิยามหลายคน อาทิ Britannica , Holloway , จรูญ สุภาพ,วุฒิสาร ตันไชย;นครินทร์ เมฆไตรรัตน์,โกวิทย์ พวงงาม และอลงกรณ์ อรรคแสง
วัตถุประสงค์ของการปกครองท้องถิ่น ชูวงศ์ ฉายะบุตร และโกวิทย์ พวงงาม ได้เสนอความคิดเห็น คือ ๑. การปกครองท้องถิ่นเป็นการแบ่งเบาภาระของรัฐบาล ในด้านการเงิน บุคลากร ๒. การปกครองท้องถิ่นเป็นการตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นอย่างแท้จริง ๓. เพื่อให้หน่วยการปกครองท้องถิ่นเป็นสถาบันที่ให้การศึกษาการปกครองระบอบประชาธิปไตยระดับชาติเป็นอย่างดี
ลักษณะสำคัญของการปกครองท้องถิ่น ปธาน สุวรรณมงคล ได้กล่าวถึงลักษณะสำคัญของการปกครองท้องถิ่น คือ ๑. เป็นนิติบุคคล ๒. มีอำนาจหน้าที่เฉพาะ ๓. ผู้บริหารมาจากการเลือกตั้ง ๔. ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง ๕. มีความเป็นอิสระในการบริหารงานอย่างเพียงพอ ๖. มีอำนาจในการจัดหารายได้และใช้จ่ายรายได้อย่างอิสระตามสมควร ๗. มีการกำกับดูแลจากรัฐ
หน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงาน การปกครองท้องถิ่น ๑. เป็นงานที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น และงานที่เกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกในชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน ๒. เป็นงานที่เกี่ยวกับการป้องกันภัย รักษาความปลอดภัย ๓. เป็นงานที่เกี่ยวกับสวัสดิการสังคม ๔. เป็นงานที่เกี่ยวกับการพาณิชย์ของท้องถิ่น ๕. เป็นงานที่เกี่ยวกับการเมืองการปกครอง
บทบาทของการปกครองท้องถิ่น ปธาน สุวรรณมงคล ได้ให้บทบาทของการปกครองท้องถิ่น ดังนี้ ๑. บทบาทในการสนับสนุนการพัฒนาการเมือง ๒. บทบาทในการจัดให้มีบริการสาธารณะ ๓. บทบาทในการกระตุ้นการพัฒนาท้องถิ่น ๔. บทบาทในการประสาน ๕. บทบาทในการให้ความคุ้มครอง
ปัจจัยที่เกื้อหนุนบทบาทของการปกครองท้องถิ่น ๑. พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของการปกครองท้องถิ่นในประเทศนั้น ๒. ระบบการเมือง ๓. นโยบายของรัฐ ๔. วัฒนธรรมทางการเมือง ๕. ความเจริญทางเศรษฐกิจ ๖. ระดับการศึกษาและข้อมูลสารสนเทศ
เกณฑ์การจัดตั้งองค์กรการปกครองท้องถิ่น ๑. เกณฑ์จำนวนประชากร ๒. เกณฑ์ลักษณะพื้นที่ ๓. เกณฑ์รายได้ ๔. เจตนารมณ์และความเห็นของประชาชน
หลักการจัดโครงสร้างรูปแบบการปกครองท้องถิ่น ๑. การจัดโครงสร้างตามรูปแบบการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ๒. การจัดโครงสร้างรูปแบบตามสภาพพื้นที่และลักษณะชุมชน ๓. การจัดโครงสร้างรูปแบบตามนโยบายรัฐบาล
รูปแบบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๑. แบบที่ประชุมเมือง (Town Meeting) หรือที่ประชุมเมืองที่เป็นตัวแทน (Representative Town Meeting) ๒. แบบสภา-นายกเทศมนตรี (The Council – Mayor Form) ๓. แบบนายกเทศมนตรีอ่อนแอ (The Weak Mayor Form) ๔. แบบนายกเทศมนตรีเข้มแข็ง (The Strong Mayor Form) ๕. แบบคณะกรรมการ (The Commission Form) ๖. แบบผู้จัดการเมือง (The City Manager)
การจัดรูปแบบและโครงสร้างจัดชั้นภายใน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๑. แนวคิดว่าด้วยการจัดชั้นภายในระบบการปกครองท้องถิ่น ๒. แนวคิดว่าด้วยการจัดโครงสร้างแบบชั้นเดียว ๓. แนวคิดว่าด้วยการจัดโครงสร้างแบบหลายชั้น
การปกครองท้องถิ่นของประเทศไทย ๑. รูปแบบทั่วไป ๒. รูปแบบพิเศษ