งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

หมวดที่ 4 กายใจเป็นสุข นางอรวรรณ ดวงจันทร์ สำนักส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต 28 ธันวาคม 2559 ณ.โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "หมวดที่ 4 กายใจเป็นสุข นางอรวรรณ ดวงจันทร์ สำนักส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต 28 ธันวาคม 2559 ณ.โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หมวดที่ 4 กายใจเป็นสุข นางอรวรรณ ดวงจันทร์ สำนักส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต 28 ธันวาคม 2559 ณ.โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น

2 หมวดที่ 4 กายใจเป็นสุข เป้าหมายที่ต้องการให้เกิด เพื่อ
คนวัยทำงานมีความสุขในการทำงาน เกิดความผูกพันองค์กร เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ช่วยเพิ่มผลผลิต

3 “ความสุข” ตามองค์การอนามัยโลก
หมวดที่ 4 กายใจเป็นสุข “ความสุข” ตามองค์การอนามัยโลก : สภาพจิตใจที่เป็นสุข : สามารถมีสัมพันธภาพที่ดีต่อผู้อื่นและรักษาสัมพันธภาพไว้อย่างต่อเนื่อง : ปรับตัวได้ในสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง : มีการจัดการปัญหาในการดำเนินชีวิต : ภาคภูมิใจในตนเอง

4 หมวดที่ 4 กายใจเป็นสุข ประกอบด้วย 3 กิจกรรมหลัก
4.1 กิจกรรมนันทนาการ เพื่อ * ผ่อนคลายความเครียด * ส่งเสริมความสามัคคีของผู้ปฏิบัติงาน 4.2 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิต (และป้องกันปัญหาสุขภาพจิต) เพื่อ * ผู้ปฏิบัติงานทั่วไปได้รับการส่งเสริมให้มีสุขภาพจิตที่ดี มีภูมิคุ้มกันทางใจ * ผู้ปฏิบัติงานกลุ่มเสี่ยงได้รับการเฝ้าระวัง ป้องกันปัญหาสุขภาพจิต หมายเหตุ กลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้ที่เสี่ยง/ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ผู้ที่เสี่ยงต่อการติดสุรา/ยาเสพติด ผู้ที่มีปัญหาหนี้สิน ผู้ที่มีปัญหาครอบครัว เป็นต้น 4.3 กิจกรรมการเห็นคุณค่าของผู้ปฏิบัติงานและครอบครัว เพื่อ * ให้เกิดความภาคภูมิใจในตัวเอง * รู้สึกตนเองมีคุณค่า มีความสำคัญและเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร

5 Key Words เกณฑ์การประเมิน หมวด 4 กายใจเป็นสุข
สำรวจความต้องการ ร่วมวางแผน ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ประเมินผล วิเคราะห์ผลเพื่อปรับปรุงและบันทึก

6 เกณฑ์การประเมิน หมวดที่ 4 กายใจเป็นสุข

7 เกณฑ์การประเมินหมวดที่ 4 กายใจเป็นสุข บทบาท/การดำเนินงานของพี่เลี้ยง
4.1 กิจกรรมนันทนาการ 4.1.1 มีการจัดกิจกรรมนันทนาการต่างๆ เพื่อผ่อนคลายความเครียดและส่งเสริมความสามัคคีของผู้ปฏิบัติงาน Audit Check list. บทบาท/การดำเนินงานของพี่เลี้ยง 58. มีการประเมินความต้องการของผู้ปฏิบัติงานด้านกิจกรรมนันทนาการเพื่อการวางแผนจัดกิจกรรม กำหนดรูปแบบ และระยะเวลา ช่วยแนะนำ สปก. ดำเนินการสำรวจความต้องการของผู้ปฏิบัติงาน เกี่ยวกับด้านกิจกรรมนันทนาการต่างๆ เพื่อผ่อนคลายความเครียดและเสริมสร้างความสามัคคีของผู้ปฏิบัติงาน เช่น งานเลี้ยงปีใหม่, งานแข่งกีฬาสี, กิจกรรม Building Team เป็นต้น โดยรูปแบบการสำรวจความต้องการ เช่น - กล่องรับความคิดเห็น - ทางโทรศัพท์, ทางอีเมล์ - ความเห็นของพนักงานจากการจัด กิจกรรมครั้งที่ผ่านมา เป็นต้น

8 4.1 กิจกรรมนันทนาการ (ต่อ) บทบาท/การดำเนินงานของพี่เลี้ยง
4.1.1 มีการจัดกิจกรรมนันทนาการต่างๆ เพื่อผ่อนคลายความเครียดและส่งเสริมความสามัคคีของผู้ปฏิบัติงาน (ต่อ) Audit Check list. บทบาท/การดำเนินงานของพี่เลี้ยง 59. ผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วมในการดำเนินการวางแผนจัดกิจกรรม กำหนดรูปแบบ และระยะเวลา ช่วยแนะนำ สปก. ให้มีการจัดเวทีหรือช่องทางให้ผู้ปฏิบัติงานได้มีส่วนร่วมของในการดำเนินการวางแผนจัดกิจกรรม กำหนดรูปแบบ และระยะเวลา เช่น Morning Talk, Small Groups Meeting, กล่องรับความเห็น เป็นต้น

9 4.1 กิจกรรมนันทนาการ(ต่อ) บทบาท/การดำเนินงานของพี่เลี้ยง
4.1.1 มีการจัดกิจกรรมนันทนาการต่างๆ เพื่อผ่อนคลายความเครียดและส่งเสริมความสามัคคีของผู้ปฏิบัติงาน (ต่อ) Audit Check list. บทบาท/การดำเนินงานของพี่เลี้ยง 60. มีการดำเนินการจัดกิจกรรมนันทนาการในสถานประกอบการตามแผนอย่างต่อเนื่อง เช่น เปิดเพลงผ่านเสียงตามสาย การจัดกิจกรรมรวมกลุ่มเพื่อออกกำลังกาย เล่นดนตรี การจัดการแข่งกีฬาระหว่างองค์กร ช่วยแนะนำ สปก. ดำเนินการจัดกิจกรรมนันทนาการต่างๆ ตามแผนที่วางไว้ เพื่อผ่อนคลายความเครียดและส่งเสริมความสามัคคีของผู้ปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง เช่น - กิจกรรมเปิดเพลงเสียงตามสาย - กิจกรรมออกกำลังกาย/แข่งกีฬา - กิจกรรมเล่นดนตรี/ประกวดร้องเพลง - จัดงานรื่นเริงตามเทศกาลต่างๆ เช่น วันสงกรานต์ วันปีใหม่ เป็นต้น

10 4.1 กิจกรรมนันทนาการ (ต่อ) บทบาท/การดำเนินงานของพี่เลี้ยง
4.1.1 มีการจัดกิจกรรมนันทนาการต่างๆ เพื่อผ่อนคลายความเครียดและส่งเสริมความสามัคคีของผู้ปฏิบัติงาน (ต่อ) Audit Check list. บทบาท/การดำเนินงานของพี่เลี้ยง 61. มีการดำเนินการจัดกิจกรรมนันทนาการโดยจัดกิจกรรมเพื่อชุมชน หรือ ดำเนินการร่วมกับชุมชน เช่น การจัดงานรื่นเริงตามเทศกาลต่างๆ เป็นต้น ช่วยแนะนำ สปก. ดำเนินการจัดกิจกรรมนันทนาการ โดยจัดกิจกรรมเพื่อชุมชนหรือดำเนินการร่วมกับชุมชน เช่น - กิจกรรมสอนน้องเล่นดนตรี/วาดรูป - กิจกรรมวันเด็ก - การจัดงานรื่นเริงตามเทศกาลต่างๆ เช่น วันสงกรานต์, วันปีใหม่ เป็นต้น รวมถึง มีการสรุปรายงานผลการจัดกิจกรรม

11 4.1 กิจกรรมนันทนาการ (ต่อ) บทบาท/การดำเนินงานของพี่เลี้ยง
4.1.1 มีการจัดกิจกรรมนันทนาการต่างๆ เพื่อผ่อนคลายความเครียดและส่งเสริมความสามัคคีของผู้ปฏิบัติงาน (ต่อ) Audit Check list. บทบาท/การดำเนินงานของพี่เลี้ยง 62. มีการประเมินผลการจัดกิจกรรมและบันทึกการประเมินเพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาต่อไป ช่วยแนะนำ สปก. ให้มีการประเมินผลหลังการจัดกิจกรรมและบันทึกเพื่อนำไปสู่การทบทวนแผนงานและปรับปรุงแก้ไข รวมถึงการพัฒนาให้ดีขึ้น -โดยรูปแบบการประเมิน เช่น รายงานสรุปผลการประชุมคณะทำงาน สรุปผลจากการสังเกต การใช้แบบสอบถามสำรวจความพึงพอใจจากผู้ปฏิบัติงาน เป็นต้น

12 4.1 กิจกรรมนันทนาการ (ต่อ) จุดอ่อนที่พบบ่อยในการตรวจประเมิน
ไม่มีการสำรวจความต้องการจากผู้ปฏิบัติงาน ในการจัดให้มีกิจกรรมนันทนาการต่างๆ ส่วนใหญ่จะเป็นการกำหนดมาจากผู้บริหาร หรือ ฝ่ายบุคคล ไม่มีการประเมินผลการจัดกิจกรรมหรือมีการประเมินแล้วแต่ไม่มีการนำผลลัพธ์จากการประเมินมาวิเคราะห์ เพื่อนำไปสู่การกำหนดแผนการปรับปรุงและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น

13 4.2 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิต (และป้องกันปัญหาสุขภาพจิต )
เกณฑ์การประเมิน 4.2 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิต (และป้องกันปัญหาสุขภาพจิต ) 87

14 4.2 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิต(และป้องกันปัญหาสุขภาพจิต)
4.2.1 กิจกรรมการประเมินสุขภาพจิต (ตามแบบของกรมสุขภาพจิต) ได้แก่ แบบประเมินความสุข แบบประเมินความเครียด แบบประเมินความเข้มแข็งทางใจ แบบประเมินปัญหาการดื่มสุรา แบบประเมินภาวะซึมเศร้า Audit Check list. บทบาท/การดำเนินงานของพี่เลี้ยง 63. มีการประเมินความต้องการของผู้ปฏิบัติงานด้านกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตเพื่อการวางแผนจัดกิจกรรม กำหนดรูปแบบ และระยะเวลา ช่วยแนะนำ สปก. ดำเนินการสำรวจความต้องการของผู้ปฏิบัติงาน เกี่ยวกับกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิต เช่น การอบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการความเครียดด้วยตนเอง ปัญหาการดื่มสุรา และหรือ การติดบอร์ดให้ความรู้ด้านสุขภาพจิต เป็นต้น โดยรูปแบบการประเมินความต้องการ เช่น - กล่องรับความคิดเห็น - การทำ Morning talk - ความเห็นของพนักงานจากการจัด กิจกรรมครั้งที่ผ่านมา เป็นต้น

15 บทบาท/การดำเนินงานของพี่เลี้ยง
4.2 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิต (ต่อ) 4.2.1 กิจกรรมการประเมินสุขภาพจิต (ตามแบบของกรมสุขภาพจิต) ได้แก่ แบบประเมินความสุข แบบประเมินความเครียด แบบประเมินความเข้มแข็งทางใจ แบบประเมินปัญหาการดื่มสุรา แบบประเมินภาวะซึมเศร้า (ต่อ) Audit Check list. บทบาท/การดำเนินงานของพี่เลี้ยง 64. ผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วมในการดำเนินการวางแผนจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิต กำหนดรูปแบบ และระยะเวลา ช่วยแนะนำ สปก. ให้มีการจัดเวทีหรือช่องทางให้ผู้ปฏิบัติงานได้มีส่วนร่วมของในการดำเนินการวางแผนจัดกิจกรรม กำหนดรูปแบบ และระยะเวลา เช่น กิจกรรม Morning Talk, กิจกรรม Small Groups Meeting, กล่องรับความเห็น เป็นต้น

16 4.2 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิต (ต่อ) บทบาท/การดำเนินงานของพี่เลี้ยง
4.2.1 กิจกรรมการประเมินสุขภาพจิต (ตามแบบของกรมสุขภาพจิต) ได้แก่ แบบประเมินความสุข แบบประเมินความเครียด แบบประเมินความเข้มแข็งทางใจ แบบประเมินปัญหาการดื่มสุรา แบบประเมินภาวะซึมเศร้า (ต่อ) Audit Check list. บทบาท/การดำเนินงานของพี่เลี้ยง 65. มีการให้ความรู้สุขภาพจิตในรูปแบบต่างๆ เช่น ติดโปสเตอร์ความรู้สุขภาพจิต เปิดเสียงตามสาย การจัดอบรมโดยเชิญบุคลากรสาธารณสุขมาให้ความรู้ ช่วยแนะนำและสนับสนุนให้ สปก. มีการให้ความรู้ด้านสุขภาพจิตให้กับผู้ปฏิบัติงานในรูปแบบ ต่างๆ เช่น 1) สนับสนุนการให้ความรู้สุขภาพจิตในรูปแบบOne way เช่น การติดบอร์ดความรู้สุขภาพจิต ให้ความรู้ผ่านเสียงตามสาย จัดมุมอ่านหนังสือห้องสมุด ฯลฯ 2). สนับสนุนวิทยากรในการอบรมให้ความรู้เรื่องสุขภาพจิตให้กับผู้ปฏิบัติงาน หรือแนะนำหน่วยงานที่สามารถมาเป็นวิทยากรให้ความรู้ด้านสุขภาพจิตได้ เช่น ศูนย์สุขภาพจิต รพช สสอ. รพท. รพศ., เป็นต้น

17 4.2 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิต (ต่อ) บทบาท/การดำเนินงานของพี่เลี้ยง
4.2.1 กิจกรรมการประเมินสุขภาพจิต (ตามแบบของกรมสุขภาพจิต) ได้แก่ แบบประเมินความสุข แบบประเมินความเครียด แบบประเมินความเข้มแข็งทางใจ แบบประเมินปัญหาการดื่มสุรา แบบประเมินภาวะซึมเศร้า (ต่อ) Audit Check list. บทบาท/การดำเนินงานของพี่เลี้ยง 66. มีการประเมินสุขภาพจิต (โดยใช้แบบประเมินตามแบบของกรมสุขภาพจิต) ดังต่อไปนี้ โดยเลือกใช้ตามความเหมาะสม 1 ครั้งต่อปี (หรือจะประเมินมากกว่านั้นก็ได้ตามความเหมาะสม) *แบบประเมินความสุขคนไทย *แบบประเมินความเครียด -แบบประเมินความเข้มแข็งทางใจ -แบบปัญหาการดื่มสุรา -แบบคัดกรองโรคซึมเศร้า 2 คำถาม ช่วยแนะนำ สปก. ให้ดำเนินการประเมินสุขภาพจิตผู้ปฏิบัติงาน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือตามความเหมาะสม เช่น #เพื่อการส่งเสริมสุขภาพจิต (อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง) โดยการประเมินความสุข และการประเมินความเครียด ให้ครอบคลุมทั้งองค์กร #เพื่อการป้องกันปัญหาสุขภาพจิต ในกลุ่มเสี่ยงตามความเหมาะสม โดยการประเมินความเครียด การประเมินปัญหาการดื่มสุรา การประเมินภาวะซึมเศร้า

18 ตัวอย่าง แบบประเมินความสุข

19 บทบาท/การดำเนินงานของพี่เลี้ยง
4.2 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิต (ต่อ) 4.2.1 กิจกรรมการประเมินสุขภาพจิต (ตามแบบของกรมสุขภาพจิต) ได้แก่ แบบประเมินความสุข แบบประเมินความเครียด แบบประเมินความเข้มแข็งทางใจ แบบประเมินปัญหาการดื่มสุรา แบบประเมินภาวะซึมเศร้า (ต่อ) Audit Check list. บทบาท/การดำเนินงานของพี่เลี้ยง 67. มีการบันทึกข้อมูลผลการประเมินพร้อมทั้งนำผลการประเมินมาวิเคราะห์เพื่อวางแผนพัฒนาต่อไป ช่วยแนะนำ สปก. ให้ดำเนินการบันทึกผลการประเมินสุขภาพจิตด้วย และนำผลการประเมินมาวิเคราะห์เพื่อจัดทำแผน/โครงการ/มาตรการ ในการป้องกันควบคุมปัญหา รวมถึงการนำไปสู่การพัฒนาสุขภาพจิตของผู้ปฏิบัติให้ดีขึ้น และหากพบพนักงานที่มีความเสี่ยงภาวะสุขภาพจิต ต้องมีการวางแผนช่วยเหลือต่อไป

20 บทบาท/การดำเนินงานของพี่เลี้ยง
4.2 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิต (ต่อ) 4.2.1 กิจกรรมการประเมินสุขภาพจิต (ตามแบบของกรมสุขภาพจิต) ได้แก่ แบบประเมินความสุข แบบประเมินความเครียด แบบประเมินความเข้มแข็งทางใจ แบบประเมินปัญหาการดื่มสุรา แบบประเมินภาวะซึมเศร้า (ต่อ) Audit Check list. บทบาท/การดำเนินงานของพี่เลี้ยง 68. มีการแนะนำ หรือ ประสานและส่งต่อเพื่อรับการดูแลทางสังคมจิตใจใน Psychosocial clinic ในโรงพยาบาลชุมชน หรือ มีหัวหน้า HR หรือพยาบาลเป็นผู้รับฟังและให้การปรึกษาเบื้องต้น (ในกรณีที่มีปัญหาที่ต้องได้รับการปรึกษา) ช่วยแนะนำ สปก. ควรจัดให้มีบุคลากรที่มีความรู้และสามารถรับฟังและให้คำแนะนำ/ปรึกษา ด้านสุขภาพจิตเบื้องต้นได้ ช่วยแนะนำเรื่องการส่งต่อในกรณีที่ผู้ปฏิบัติงานมีปัญหาที่ต้องการได้รับการปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านสุขภาพจิต เช่น มีภาวะซึมเศร้า ติดสุรา มีปัญหาความเครียดสูง เป็นต้น โดยให้ส่งต่อ Psychosocial Clinic ในโรงพยาบาลชุมชน หรือโรงพยาบาลที่สปก.ติดต่ออยู่

21 บทบาท/การดำเนินงานของพี่เลี้ยง
4.2 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิต (ต่อ) 4.2.1 กิจกรรมการประเมินสุขภาพจิต (ตามแบบของกรมสุขภาพจิต) ได้แก่ แบบประเมินความสุข แบบประเมินความเครียด แบบประเมินความเข้มแข็งทางใจ แบบประเมินปัญหาการดื่มสุรา แบบประเมินภาวะซึมเศร้า (ต่อ) Audit Check list. บทบาท/การดำเนินงานของพี่เลี้ยง 69. มีการประชาสัมพันธ์หรือให้ข้อมูลเรื่องการให้บริการปรึกษาทางโทรศัพท์ - การให้บริการปรึกษาทางโทรศัพท์ 1323 ช่วยแนะนำ สปก. ให้มีการประชาสัมพันธ์สายด่วนสุขภาพจิต 1323 เพื่อเป็นช่องทางสำหรับผู้ที่มีเรื่องไม่สบายใจ ทุกข์ใจ อยากขอรับการปรึกษาแบบไม่เผชิญหน้า

22 ตัวอย่างการดำเนินงาน

23 บทบาท/การดำเนินงานของพี่เลี้ยง
4.2 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิต(ต่อ) 4.2.2 มีห้อง/สถานที่ สำหรับ ประกอบศาสนกิจ Audit Check list. บทบาท/การดำเนินงานของพี่เลี้ยง 70. มีห้องหรือสถานที่สำหรับประกอบศาสนกิจหรือฝึกสมาธิ ตามความเหมาะสม (มีหรือไม่มีก็ได้ ยกเว้น มีผู้ปฏิบัติงานที่นับถือศาสนาอื่น ๆ เช่น อิสลาม) ช่วยแนะนำ สปก. จัดให้มีสถานที่ประกอบศาสนกิจ หรือฝึกสมาธิ ตามความเหมาะสมและบริบทขององค์กร ซึ่งจะมีหรือไม่มีก็ได้ แต่ถ้ากรณีมีผู้ปฏิบัติงานเป็นมุสลิม ต้องจัดสถานที่สำหรับการละหมาดให้ด้วย ตามความเหมาะสม 98

24 บทบาท/การดำเนินงานของพี่เลี้ยง
4.2 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิต (ต่อ) 4.2.3 มีสถานที่หรือมุมพักผ่อนหย่อนใจให้กับพนักงาน Audit Check list. บทบาท/การดำเนินงานของพี่เลี้ยง 71. มีสถานที่หรือมุมพักผ่อนหย่อนใจให้กับผู้ปฏิบัติงานตามความเหมาะสม ช่วยแนะนำ สปก. จัดให้มีสถานที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจของผู้ปฏิบัติงาน ตามความเหมาะสม เช่น ศาลาพักผ่อน มุมนั่งพัก ห้องอินเตอร์เน็ต ห้องนั่งพักผ่อน เป็นต้น 99

25 บทบาท/การดำเนินงานของพี่เลี้ยง
4.2 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิต (ต่อ) 4.2.4 มีศูนย์/สถานที่ดูแลเด็กเล็กตามความเหมาะสม Audit Check list. บทบาท/การดำเนินงานของพี่เลี้ยง 72. มีศูนย์ หรือ สถานที่ดูแลเด็กเล็กตามความเหมาะสม หรือ มีสถานที่สะอาดสำหรับแม่ลูกอ่อนเพื่อปั๊มน้ำนม ช่วยแนะนำ สปก. จัดให้มีสถานที่ดูแลเด็กเล็กซึ่งเป็นบุตรหลานของผู้ปฏิบัติงาน รวมทั้งมุมสำหรับแม่ลูกอ่อนปั๊มนม ทั้งนี้ ตามความเหมาะสมของสถานประกอบการนั้นๆ ** ในกรณี สปก. ไม่มีสถานที่เหมาะสม เช่น อาจจะเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ เสี่ยงต่ออันตรายของพิษสารเคมีได้ง่าย อาจจะพิจารณาขอรับบริการ/รับการสนับสนุนจากศูนย์เด็กเล็กที่อยู่ใกล้เคียง 100

26 บทบาท/การดำเนินงานของพี่เลี้ยง
4.2 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิต 4.2.5 มีการส่งเสริมกิจกรรมจริยธรรม Audit Check list. บทบาท/การดำเนินงานของพี่เลี้ยง 73. มีการส่งเสริมกิจกรรมจริยธรรม โดยจัดกิจกรรมพัฒนาคุณธรรมที่สอดคล้องกับบริบทของสถานประกอบการ วัด ศาสนสถาน และชุมชน เช่น ส่งเสริมครูพระสอนศีลธรรมในสถานประกอบการ จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาจิตใจ กิจกรรมจิตอาสา ค่ายพุทธธรรม ค่ายคุณธรรม จริยธรรม หรือมีแหล่งเรียนรู้ทางศาสนาในสถานประกอบการ เช่น มีหนังสือธรรมะไว้บริการผู้ปฏิบัติการ ช่วยแนะนำ สปก. จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมจริยธรรม พัฒนาคุณธรรมที่สอดคล้องกับบริบทของสถานประกอบการ หรือร่วมกับชุมชน เช่น ทำบุญ จัดกิจกรรมค่ายพุทธธรรม ค่ายคุณธรรม จริยธรรม การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาจิตใจ หรือมีแหล่งเรียนรู้ทางศาสนาในสถานประกอบการ เช่น มีหนังสือธรรมะไว้บริการผู้ปฏิบัติการ มีห้องนั่งสมาธิหรือสวดมนต์ไหว้พระ

27 จุดอ่อนที่พบบ่อยในการตรวจประเมิน
4.2 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิต(ต่อ) จุดอ่อนที่พบบ่อยในการตรวจประเมิน การประเมินสุขภาพจิต พบว่า -จำนวนผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับการประเมินยังไม่เหมาะสม -การเลือกใช้แบบประเมินที่เหมาะสม -ไม่สรุปผลการประเมินหรือสรุปผลแล้วแต่ไม่นำมาวิเคราะห์วาง แผนการช่วยเหลือต่อไป -ไม่มีบันทึกผลการวิเคราะห์หรือการให้ความช่วยเหลือ -ไม่มีระบบการให้การปรึกษาเบื้องต้นและหรือระบบส่งต่อ ขาดการประชาสัมพันธ์สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ของกรมสุขภาพจิตซึ่งเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ผู้ปฏิบัติงานสามารถขอรับการปรึกษา ยังขาดการนำผลลัพธ์ของการจัดกิจกรรมต่างๆ มาวิเคราะห์ เพื่อนำไปสู่การกำหนดแผนการปรับปรุงและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น และต่อเนื่อง

28 เกณฑ์การประเมิน 4.3 กิจกรรมการเห็นคุณค่าของผู้ปฏิบัติงานและครอบครัว

29 4.2 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิต (และป้องกันปัญหาสุขภาพจิต )
เกณฑ์การประเมิน 4.2 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิต (และป้องกันปัญหาสุขภาพจิต ) 87

30 บทบาท/การดำเนินงานของพี่เลี้ยง
4.3 กิจกรรมการเห็นคุณค่าของผู้ปฏิบัติงานและครอบครัว 4.3.1 มีการมอบรางวัลหรือเกียรติบัตรแก่พนักงานที่ปฏิบัติงานดีตามสมรรถนะการทำงาน Audit Check list. บทบาท/การดำเนินงานของพี่เลี้ยง 74. มีการประเมินความต้องการของผู้ปฏิบัติงานด้านกิจกรรมการเห็นคุณค่าของผู้ปฏิบัติงานและครอบครัวเพื่อการวางแผนจัดกิจกรรม กำหนดรูปแบบ และระยะเวลา ช่วยแนะนำ สปก. มีการสำรวจความต้องการของผู้ปฏิบัติงานในการจัดให้มีกิจกรรมส่งเสริมคุณค่าของผู้ปฏิบัติงานและครอบครัว เช่น การมอบรางวัลให้แก่ผู้ปฏิบัติดี ขยัน หรือพนักงานดีเด่น, การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผู้ที่ทำงานดี/ ทำความดี มีจรรยาบรรณ การมอบทุนเรียนดีให้กับบุตรผู้ปฏิบัติงาน เป็นต้น โดยการสำรวจอาจจะเป็นรูปแบบ กล่องรับความเห็น การพูดคุยกัน แล้วนำผลการประเมินความต้องการนี้ ไปสู่การจัดทำแผนจัดกิจกรรม กำหนดรูปแบบ และระยะเวลาให้ชัดเจน

31 บทบาท/การดำเนินงานของพี่เลี้ยง
4.3 กิจกรรมการเห็นคุณค่าของผู้ปฏิบัติงานและครอบครัว(ต่อ) 4.3.1 มีการมอบรางวัลหรือเกียรติบัตรแก่พนักงานที่ปฏิบัติงานดีตามสมรรถนะการทำงาน(ต่อ) Audit Check list. บทบาท/การดำเนินงานของพี่เลี้ยง 75. มีการดำเนินการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างคุณค่าของผู้ปฏิบัติงานและครอบครัวโดยการให้รางวัลตามแผนอย่างต่อเนื่อง เช่น - สร้างแรงจูงใจให้กับผู้ปฏิบัติงาน เช่น เงินรางวัลสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่ขยันและทุ่มเทให้กับสถานประกอบการ - มอบรางวัลหรือเกียรติบัตร ติดประกาศเชิดชูผู้ปฏิบัติงานดีเด่น ช่วยแนะนำ สปก. มีการจัดกิจกรรมสร้างแรงจูงใจโดยการให้รางวัลกับผู้ปฏิบัติงาน เช่น 1) มอบเงินรางวัลสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่ขยันและทุมเทให้กับสถานประกอบการ มีสวัสดิการ การจัดทัศนศึกษาให้กับผู้ปฏิบัติงาน เป็นต้น 2) มอบเกียรติบัตร ติดประกาศเชิดชูผู้ฏิบัติงานดีเด่น ให้แก่ผู้ปฏิบัติงานที่ปฏิบัติดีตามสมรรถนะการทำงาน

32 บทบาท/การดำเนินงานของพี่เลี้ยง
4.3 กิจกรรมการเห็นคุณค่าของผู้ปฏิบัติงานและครอบครัว(ต่อ) 4.3.1 มีการมอบรางวัลหรือเกียรติบัตรแก่พนักงานที่ปฏิบัติงานดีตามสมรรถนะการทำงาน (ต่อ) Audit Check list. บทบาท/การดำเนินงานของพี่เลี้ยง 76. มีการดำเนินการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างคุณค่าของผู้ปฏิบัติงานและครอบครัวตามแผนอย่างต่อเนื่อง เช่น - เปิดโอกาสและสนับสนุนให้ผู้ปฏิบัติงานเขียนโครงการที่เป็นประโยชน์และสร้างสรรค์ เพื่อของบประมาณของหน่วยงาน เช่น โครงการสำนึกรักบ้านเกิด โครงการปลูกป่า โครงการช่วยเด็กกำพร้า ฯลฯ - กำหนดให้มีวัน “เพราะเราเป็นครอบครัวเดียวกัน” สำหรับผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการ และครอบครัว ปีละ 1 ครั้ง - ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือดูงานสถานประกอบการอื่นๆที่ประสบความสำเร็จในเรื่องความสุข เป็นต้น ช่วยแนะนำ สปก. มีการจัดกิจกรรมเสริมสร้างคุณค่าของผู้ปฏิบัติงานและครอบครัว เช่น โครงการสำนึกรักบ้านเกิด โครงการปลูกป่า โครงการช่วยเด็กกำพร้า เปิดโอกาสให้พนักงานได้พัฒนาชุมชน หรือทำบุญให้วัดชุมชนตนเอง เป็นต้น ให้ครอบครัวเข้ามาร่วมทำกิจกรรม เช่นกำหนดให้มีวัน “เพราะเราเป็นครอบครัวเดียวกัน” มีเงินช่วยเหลือทุนเรียนดีสำหรับบุตรผู้ปฏิบัติงาน ทัศนศึกษา จัดเวทีร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือการาศึกษาดูงานสถานประกอบการอื่นๆ ที่ประสบความสำเร็จในเรื่องความสุขของผู้ปฏิบัติงาน เป็นต้น

33 มอบทุนการศึกษาแก่บุตรพนักงาน
กิจกรรมทัศนศึกษา มอบทุนการศึกษาแก่บุตรพนักงาน

34 กิจกรรมเสริมสร้างคุณค่าของพนักงานและครอบครัว

35 บทบาท/การดำเนินงานของพี่เลี้ยง
4.3 กิจกรรมการเห็นคุณค่าของผู้ปฏิบัติงานและครอบครัว (ต่อ) 4.3.1 มีการมอบรางวัลหรือเกียรติบัตรแก่พนักงานที่ปฏิบัติงานดีตามสมรรถนะการทำงาน (ต่อ) Audit Check list. บทบาท/การดำเนินงานของพี่เลี้ยง 77. มีการประเมินผลการจัดกิจกรรมและบันทึกการประเมินเพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาต่อไป ให้มีการบันทึกและประเมินผลการจัดกิจกรรมต่างๆทุกครั้ง เพื่อนำไปสู่การทบทวนแผนงานและปรับปรุงแก้ไข รวมถึงการพัฒนาให้ดีขึ้น โดยรูปแบบการประเมิน เช่น การสังเกต, การใช้แบบสอบถามในการสำรวจความพึงพอใจจากผู้ปฏิบัติงาน เป็นต้น

36 จุดอ่อนที่พบในการตรวจประเมิน
4.3 กิจกรรมการเห็นคุณค่าของผู้ปฏิบัติงานและครอบครัว จุดอ่อนที่พบในการตรวจประเมิน รูปแบบกิจกรรมการส่งเสริมคุณค่าของผู้ปฏิบัติงานทางจิตใจ ส่วนใหญ่เกิดจากองค์กร หรือ ผู้บริหารกำหนดเอง ยังขาดการประเมินผลและนำผลลัพธ์ของการประเมินมาวิเคราะห์ เพื่อนำไปสู่การกำหนดแผนการปรับปรุงและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น

37 วัฎจักรการดำเนินงานให้เกิดผลลัพธ์ อย่างมีประสิทธิภาพ
การนำผลลัพธ์มาวิเคราะห์นำไปสู่การปรับปรุงแก้ไข พัฒนาให้ดีขึ้น ประเมินความต้องการ การจัดทำแผน/โครงการ P D C A การบันทึก ติดตามและประเมินผลของกิจกรรม ดำเนินการจัดกิจกรรมตามแผนที่กำหนดไว้ 109

38 110


ดาวน์โหลด ppt หมวดที่ 4 กายใจเป็นสุข นางอรวรรณ ดวงจันทร์ สำนักส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต 28 ธันวาคม 2559 ณ.โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google