การวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชี

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
สำนักมาตรฐานด้านการบัญชีภาครัฐ
Advertisements

การติดตามและ ประเมินผลโครงการ
บทที่ 1 การรวมธุรกิจ.
บทที่ 3 การบริหารพนักงานขาย
ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ (Business Information Systems)
การประเมินผลโครงการ บทที่ 9 ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ yalada.
บทที่5 การควบคุมการผลิตและต้นทุนการผลิต
บทที่ 6 งบประมาณ.
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ผู้รับผิดชอบ ผลผลิต ฝ่ายบริหารทั่วไป
LOGO การคำนวณต้นทุนผลผลิต ของปีงบประมาณ 2553 โดย นายธีรชาติ พันธุ์หอม หัวหน้าฝ่ายแผนงานและ งบประมาณด้านก่อสร้าง คณะทำงานต้นทุนผลผลิตสำนัก ชลประทานที่ 11.
. แผ น กลุ่ม 1 กลุ่ม 2 กลุ่ม 3 กลุ่ม 4 กลุ่ม 5 รวม 1. สหกรณ์/กลุ่ม เกษตรกรได้รับ การส่งเสริม สนับสนุนการ ดำเนินงาน สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร
การประเมินผลโครงการ คปสอ.คลองใหญ่.
1.
สหกรณ์ ปี 2560 สหกรณ์ 4,629 สหกรณ์ (65%) ต้อง  สมาชิกไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 มีส่วนร่วม ในการดำเนินธุรกิจสหกรณ์  สหกรณ์มีเสถียรภาพทางการเงินในระดับ มั่นคงมาตรฐานขึ้นไป.
ความเป็นมาของการศึกษาความเป็นไป ได้ของโครงการ ความหมายของการศึกษาความเป็นไป ได้ของโครงการ ขอบข่ายการศึกษาความเป็นไปได้ของ โครงการ การประเมินโครงการและการจัดลำดับ.
นางวราพันธ์ ลังกาวงศ์ ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผน.
Knowledge- Base Systems ระบบสหกรณ์. ที่มาของโครงการ โครงการนี้เกิดจากการรวมกลุ่มของกลุ่มบุคคล เพื่อดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อความต้องการและเป้าหมายของ.
บัญชี อิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มออมทรัพย์ เพื่อการผลิต นายยงยุทธ พันตารักษ์ พัฒนาการอำเภอเมือง พิจิตร จังหวัดพิจิตร.
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ วิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเฉลิมราชประชาอุทิศ.
ผลการดำเนินงาน ปีงบ ๒๕๕๘ ( ร่าง ) แผนปฏิบัติการฯ ปี งบ ๒๕๕๙ กลุ่มงานบริหารทั่วไป สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดตราด.
กระบวนการทางการบัญชี บันทึก  สมุดรายวันขั้นต้น
บทที่ 3 องค์ประกอบของการสัมมนา
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
ระบบการควบคุมภายในกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
แนวทางการจัดตั้งและพัฒนา สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ สาขา 7
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
บทที่ 6 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
ACCOUNTING FOR INVENTORY
การเงินธุรกิจ (Business Finance) รหัสวิชา FIN1104
การบัญชีต้นทุนช่วง (Process Costing).
Presentation การจัดการข้อร้องเรียนในธุรกิจบริการ Customer Complaint Management for Service.
การวิเคราะห์ ต้นทุน ปริมาณ กำไร
เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
บทที่ 5 การวางแผนทางการเงิน ผศ. อรทัย รัตนานนท์ รศ.อรุณรุ่ง วงศ์กังวาน.
บทที่ 8 การควบคุมโครงการ
ระบบเศรษฐกิจ.
การวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชี
วิธีการกรอกแบบเสนอโครงการในไฟล์ Power point นี้
การจัดลำดับความสำคัญของโครงการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ งานบริหารและธุรการ คณะบริหารธุรกิจ
กลุ่มเกษตรกร.
โครงการสนับสนุนสินเชื่อเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อย เพื่อประกอบอาชีพเสริม
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณและการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ มีนาคม 2560.
วาระที่ ผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเตรียมความพร้อมบุคลากร สำนักแผนงานและโครงการพิเศษเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน ของหน่วยงานในพื้นที่
สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ สาขา 7
สรุปมาตรฐานการบัญชี เรื่อง สัญญาก่อสร้าง
บทที่ 9 งบประมาณการลงทุน
โซ่อุปทานและโลจิสติกส์ ญาลดา พรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ
การเงินทางธุรกิจ (Business Finance) รหัสวิชา FIN1103
การวิจัยทางการท่องเที่ยว
บทที่ 6 เงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน
การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด
การวางแผนกำลังการผลิต
ระบบติดตามงานของผู้ตรวจราชการกรม
Business Finance FI 212 Lectured By ญาลดา พรประเสริฐ.
การจัดทำแผนการสอบบัญชีโดยรวม
การวิเคราะห์งบการเงิน
อ.ชิดชม กันจุฬา (ผู้สอน)
ขอบเขตของงานการจัดซื้อ
8/26/2019 ชื่อบริษัท แผนธุรกิจ.
การประเมินผลโครงการ บทที่ 9 ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ yalada.
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
โซ่อุปทานและโลจิสติกส์ ญาลดา พรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ
การจัดการภาครัฐ และภาคเอกชน Public and private management
แนวทางการดำเนินงานประเมินความเสี่ยงบุคลากรในโรงพยาบาล
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
บทที่ 7 การบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชี โดย กรมตรวจบัญชีสหกรณ์

การวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชี ประเด็นสำคัญ การใช้ผลการตรวจสอบรายงานทางการเงิน การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของอัตราส่วนทางการเงิน (CAMELS) ฝึกปฏิบัติ/กรณีศึกษา

การใช้ผลการตรวจสอบ รายงานทางการเงิน

ผู้ใช้ผลการวิเคราะห์ และประโยชน์ที่ได้รับ วางแผน / ควบคุมการเงิน ผลตอบแทน /เงินปันผล ผู้บริหาร ผู้เป็นเจ้าของ (สมาชิก) การวิเคราะห์ทางการเงิน ผู้ลงทุน(สมาชิก) เจ้าหนี้ (สถาบันการเงิน) ผู้ตรวจสอบบัญชี/ผู้ตรวจสอบกิจการ วิเคราะห์ความเสี่ยง วิเคราะห์สินเชื่อ ให้สังเกต/ข้อเสนอแนะกับผู้บริหาร งบการเงินที่สำคัญ

ผู้เป็นเจ้าของ (สมาชิกสหกรณ์) วิเคราะห์ทางการเงินเพื่อทราบถึงความเสี่ยง/ผลตอบแทนที่จะได้รับจากสหกรณ์ คือ เงินปันผลตามหุ้นและเงินเฉลี่ยคืนตามส่วนธุรกิจ/ดอกเบี้ยเงินฝาก

คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ (ผู้บริหาร) วิเคราะห์ทางการเงินเพื่อทราบถึงฐานะ การเงินและผลการดำเนินงานของสหกรณ์ รวมทั้งวินิจฉัยปัญหาต่างๆ เพื่อวางแผน ควบคุมทางการเงิน ปรับปรุงการบริหารงาน

ผู้สอบบัญชี วิเคราะห์ทางการเงินเพื่อทราบประสิทธิภาพ ในการบริหารการเงินของสหกรณ์และให้ข้อสังเกต หรือข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์แก่สหกรณ์

ผู้ตรวจสอบกิจการ วิเคราะห์ทางการเงินเพื่อให้คำปรึกษาแนะนำด้านการบริหารการเงิน การดำเนินงาน การวางแผนแก่สหกรณ์

สถาบันการเงิน/เจ้าหนี้ วิเคราะห์ทางการเงินเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาให้สินเชื่อแก่สหกรณ์

การวิเคราะห์งบการเงิน (Financial Statement Analysis)

การวิเคราะห์งบการเงิน Financial Statement Analysis กระบวนการหา ข้อเท็จจริง เกี่ยวกับฐานะการเงิน และผลการดำเนินงานของกิจการ โดยนำเครื่องมือหรือเทคนิคต่างๆ มาใช้วิเคราะห์และหาความสัมพันธ์ระหว่างรายการต่างๆ แล้วนำข้อเท็จจริงจากการวิเคราะห์มาใช้ในการให้ข้อเสนอแนะหรือประกอบ การตัดสินใจทางการเงิน

งบดุล งบกำไรขาดทุน เครื่องมือสำคัญ - งบการเงิน งบดุล เปรียบเทียบ หมายเหตุประกอบงบ งบกำไรขาดทุน งบกำไรขาดทุน ต้นทุนขาย/บริการ รายละเอียดกำไร(ขาดทุน)เฉพาะธุรกิจ.... รายละเอียดรายได้อื่น รายละเอียดค่าใช้จ่ายการดำเนินงาน

ทำไมต้องมีรูปแบบงบการเงิน เพื่อ - จัดเรียงรายการทางการเงิน ให้เป็นหมวดหมู่ตามลักษณะ การดำเนินกิจการ - การรายงานผลทางการเงิน - ประโยชน์ในการอ่านข้อมูล - ประโยชน์ในการวิเคราะห์ ข้อมูล สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. ต้นน้ำ จำกัด งบกำไรขาดทุน สำหรับปีสิ้นสุด วันที่ 31 มีนาคม 2555 และ 2554 ปี 2555 บาท % ปี 2554 ขาย/บริการ หัก ต้นทุนขาย/บริการ (งบต้นทุนขาย/บริการ) กำไร (ขาดทุน) ขั้นต้น 800 600 200 100 75.0 25.0 970 750 220 77.3 22.70 บวก รายได้เฉพาะธุรกิจ หัก ค่าใช้จ่ายเฉพาะธุรกิจ กำไร (ขาดทุน) เฉพาะธุรกิจ (รายละเอียด 15) 50 250 20 230 6.25 31.25 2.50 28.75 70 290 240 7.22 29.92 5.15 24.77 บวก รายได้อื่น (รายละเอียด 6) รวม หัก ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (รายละเอียด 7) กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 10 140 1.25 30.3 12.5 17.5 120 130 1.03 25.77 12.37 13.40

งบกำไรขาดทุน สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. ต้นน้ำ จำกัด สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. ต้นน้ำ จำกัด งบกำไรขาดทุน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2555 และ2554

งบกำไรขาดทุน ปี 2555 บาท % ปี 2554 บาท % ขาย/บริการ 800 100 970 100 หัก ต้นทุนขาย/บริการ(งบต้นทุนขาย/บริการ) 600 75.0 750 77.3 กำไร (ขาดทุน) ขั้นต้น 200 25.0 220 22.70 บวก รายได้เฉพาะธุรกิจ 50 6.25 70 7.22 250 31.25 290 29.92 หัก ค่าใช้จ่ายเฉพาะธุรกิจ 20 2.50 50 5.15 กำไร (ขาดทุน) เฉพาะธุรกิจ (รายละเอียด 1-5) 230 28.75 240 24.77 บวก รายได้อื่น (รายละเอียด 6) 10 1.25 10 1.03 รวม 240 30.0 250 25.77 หัก ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (รายละเอียด 7) 100 12.5 120 12.37 กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 140 17.5 130 13.40

งบกำไรขาดทุน ปี 2555 บาท % ขาย/บริการ 800 100 บาท % ขาย/บริการ 800 100 หัก ต้นทุนขาย/บริการ (งบต้นทุนขาย/บริการ) 600 75.0 กำไร (ขาดทุน) ขั้นต้น 200 25.0 บวก รายได้เฉพาะธุรกิจ 50 6.25 250 31.25 หัก ค่าใช้จ่ายเฉพาะธุรกิจ 20 2.50 กำไร (ขาดทุน) เฉพาะธุรกิจ (รายละเอียด 1-5) 230 28.75 รายละเอียด กำไร(ขาดทุน) เฉพาะธุรกิจ.... ...................... รายละเอียด รายได้อื่น บวก รายได้อื่น (รายละเอียด 6) 10 1.25 รวม 240 30.0 หัก ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (รายละเอียด 7) 100 12.5 กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 140 17.5 รายละเอียด ค่าใช้จ่ายใน การดำเนินงาน

รายละเอียดกำไร(ขาดทุน)เฉพาะธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย ปี 2555 บาท % ปี 2554 บาท % ขายสินค้าประเภทการเกษตร ขายปุ๋ย 200 25.0 350 36.0 ขายอาหารสัตว์ 100 12.5 250 25.8 ขายสินค้าประเภทน้ำมัน ขายน้ำมันเชื้อเพลิง 300 37.5 250 25.8 ขายน้ำมันหล่อลื่น 200 25.0 120 12.4 หัก ต้นทุนขาย สินค้าประเภทการเกษตร 200 33.3 390 40.2 สินค้าประเภทน้ำมัน 400 66.7 360 37.1 กำไร (ขาดทุน) ขั้นต้น 200 17.5 220 22.7 บวก รายได้เฉพาะธุรกิจ 50 6.25 70 7.2 หัก ค่าใช้จ่ายเฉพาะธุรกิจ (20) (2.50) (50) (5.15) กำไร (ขาดทุน) เฉพาะธุรกิจ 230 28.75 240 24.77

รายละเอียดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ปี 2555 บาท % ปี 2554 บาท % เงินเดือนและค่าจ้าง XX XX XX XX ค่าล่างเวลา XX XX XX XX ค่าเบี้ยประชุม XX XX XX XX ค่าเครื่องเขียนแบบพิมพ์ XX XX XX XX หนี้สงสัยจะสูญ XX XX XX XX ค่าเสื่อมราคา XX XX XX XX ค่าซ่อมแซมและบำรุงรักษา XX XX XX XX ค่าน้ำ - ค่าไฟ XX XX XX XX ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด XX XX XX XX รวม XX XX XX XX

งบกำไรขาดทุน กำไรสุทธิ กำไรขั้นต้น กำไรเฉพาะธุรกิจ กำไรจากการดำเนินงาน วิเคราะห์งบการเงิน - Financial Statement Analysis งบกำไรขาดทุน รายรับ ขาย/บริการ รายได้เฉพาะธุรกิจ รายได้อื่น รายการพิเศษ รายจ่าย ต้นทุนขาย/บริการ ค่าใช้จ่ายเฉพาะธุรกิจ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน รายการพิเศษ กำไรขั้นต้น กำไรเฉพาะธุรกิจ กำไรสุทธิ กำไรจากการดำเนินงาน

สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. ต้นน้ำ จำกัด งบดุล สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. ต้นน้ำ จำกัด งบดุล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2555 และ 2554

งบดุล สินทรัพย์ หนี้สินและทุนของสหกรณ์ สินทรัพย์หมุนเวียน xx รวมสินทรัพย์ 100 หนี้สินและทุนของสหกรณ์ หนี้สินหมุนเวียน xx หนี้สินไม่หมุนเวียน xx รวมหนี้สิน xx ทุนของสหกรณ์ xx รวมหนี้สินและทุนของสหกรณ์ 100

งบดุล สินทรัพย์ หนี้สินและทุนของสหกรณ์ สินทรัพย์หมุนเวียน xx รวมสินทรัพย์ 100 หนี้สินและทุนของสหกรณ์ หนี้สินหมุนเวียน xx หนี้สินไม่หมุนเวียน xx รวมหนี้สิน xx ทุนของสหกรณ์ xx รวมหนี้สินและทุนของสหกรณ์ 100

เครื่องมือ/เทคนิคที่ใช้วิเคราะห์งบการเงิน  การวิเคราะห์แนวตั้งหรือการย่อส่วนตามแนวดิ่ง Financial Statement Analysis  การวิเคราะห์แนวโน้มหรือการวิเคราะห์แนวนอน  การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน

การวิเคราะห์ตามแนวตั้งหรือการย่อส่วนตามแนวดิ่ง วิเคราะห์ทุกรายการในงบการเงิน วิเคราะห์เฉพาะประเภทรายการ หรือกลุ่มของรายการ

การวิเคราะห์ตามแนวตั้งหรือการย่อส่วนตามแนวดิ่ง เป็นการวิเคราะห์โครงสร้างงบการเงิน โดยนำตัวเลขในงบการเงินมาย่อส่วนลงด้วยการคำนวณออกมาเป็นอัตราร้อยละของยอดรวม ทำให้ง่าย ต่อการอ่านงบการเงินและแปลความหมาย  ใช้ข้อมูลจากงบการเงินปีเดียว ทำให้ทราบโครงสร้างงบการเงิน  ใช้ข้อมูลจากงบการเงินเปรียบเทียบตั้งแต่ ๒ ปีขึ้นไป ทำให้ทราบ การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างงบการเงิน  ใช้ข้อมูลจากงบการเงินของสหกรณ์เปรียบเทียบกับงบการเงิน ของสหกรณ์อื่น หรือกิจการอื่นที่ดำเนินธุรกิจประเภทเดียวกัน ทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากขึ้น

งบดุล รายการที่เทียบเป็น 100 % คือ ยอดรวมสินทรัพย์ หรือยอดรวมหนี้สินและทุน การวิเคราะห์ตามแนวตั้งของรายการในงบดุล - ด้านสินทรัพย์ ให้คำนวณเป็นอัตราร้อยละของยอดรวมสินทรัพย์ - ด้านหนี้สินและทุน ให้คำนวณเป็นอัตราร้อยละของยอดรวม หนี้สินและทุน งบกำไรขาดทุน รายการที่เทียบเป็น 100 % คือ ยอดขาย / บริการ การวิเคราะห์ตามแนวตั้งของรายการในงบกำไรขาดทุน ให้คำนวณเป็นอัตราร้อยละของยอดขาย / บริการ

 การวิเคราะห์แนวตั้ง สินทรัพย์ หนี้สินและทุน สินทรัพย์หมุนเวียน จำนวนเงิน ร้อยละ เงินสดและเงินฝากธนาคาร 90,000.00 8.70 ลูกหนี้ (สุทธิ) 80,000.00 7.73 สินค้าคงเหลือ 400,000.00 38.65 วัสดุคงเหลือ 5,000.00 0.48 รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 575,000.00 55.56 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 460 ,000.00 44.44 รวมสินทรัพย์ 1,035,000.00 100 หนี้สินหมุนเวียน เจ้าหนี้การค้า 100,000.00 9.66 เงินรับฝาก 68,000.00 6.57 หนี้ สินหมุนเวียนอื่น 15,000.00 1.45 รวมหนี้สินหมุนเวียน 183,000.00 17.68 หนี้สินไม่หนุนเวียน 25,000.00 2.42 รวมหนี้สิน 208,000.00 2.10 ทุนข องสหกรณ์ ทุนเรือนหุ้น 600,000.00 57.97 เงินสำรอง 130,000.00 12.56 ทุนสะสมตามข้อบังคับ ระเบียบและอื่น ๆ 36,000.00 3.48 กำไรสุทธิประจำปี 610,000.00 5.89 รวมทุนข 827,000.00 79.90 รวมหนี้สินและทุนของสหกรณ์ Financial Statement Analysis วิเคราะห์ทุกรายการ

 การวิเคราะห์แนวตั้ง (ต่อ) วัสดุคงเหลือ 5000.00 0.87 เงินสด / เงินฝากธนาคาร 90,000.00 15.65 จำนวนเงิน ร้อยละ สินค้าคงเหลือ 400,000.00 69.57 ลูกหนี้ (สุทธิ ) 80,000.00 13.91 สินทรัพย์หมุนเวียน รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 575,000.00 100 วิเคราะห์เฉพาะกลุ่มรายการ Financial Statement Analysis 55.56

 การวิเคราะห์แนวตั้ง (ต่อ) ขาย/บริการ 800 100 970 100 หัก ต้นทุนขาย/บริการ(งบต้นทุนขาย/บริการ) 600 75.0 750 77.3 กำไร (ขาดทุน) ขั้นต้น 200 25.0 220 22.70 ปี 2555 บาท % บวก รายได้เฉพาะธุรกิจ 50 6.25 70 7.22 250 31.25 290 29.92 หัก ค่าใช้จ่ายเฉพาะธุรกิจ 20 2.50 50 5.15 กำไร (ขาดทุน) เฉพาะธุรกิจ (รายละเอียด 1-5) 230 28.75 240 24.77 บวก รายได้อื่น (รายละเอียด 6) 10 1.25 10 1.03 รวม 240 30.0 250 25.77 หัก ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (รายละเอียด 7) 100 12.5 120 12.37 กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 140 17.5 130 13.40 สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. ต้นน้ำ จำกัด งบกำไรขาดทุน สำหรับปีสิ้นสุด วันที่ 31 มีนาคม 2555 และ 2554 ปี 2554 บาท % Financial Statement Analysis

ข้อสังเกตของการวิเคราะห์ตามแนวตั้ง 1. การวิเคราะห์ตามแนวตั้งนิยมใช้วิเคราะห์เฉพาะประเภทรายการ หรือกลุ่มรายการ เช่น วิเคราะห์สินทรัพย์หมุนเวียน หนี้สินหมุนเวียน ทุนของสหกรณ์ เป็นต้น 2. การวิเคราะห์ตามแนวตั้งไม่สามารถวิเคราะห์ได้อย่างแน่นอนถึงฐานะ การเงินและผลการดำเนินงานของสหกรณ์ เนื่องจากไม่มีการเปรียบเทียบ ผลลัพธ์กับเกณฑ์วัดใดๆ เช่น ไม่มีการเปรียบเทียบกับอัตราส่วน มาตรฐานผลของสหกรณ์ประเภทและขนาดเดียวกัน เป็นต้น

การวิเคราะห์แนวโน้มหรือการวิเคราะห์แนวนอน การวิเคราะห์แนวโน้มจากข้อมูลเดิม การวิเคราะห์อัตราร้อยละของปีฐานคงที่ การวิเคราะห์อัตราร้อยละของปีฐานเคลื่อนที่ การวิเคราะห์อัตราร้อยละของแนวโน้ม

การวิเคราะห์แนวโน้มหรือการวิเคราะห์แนวนอน เป็นการวิเคราะห์เพื่อทราบการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในอดีตจนถึงปัจจุบันและพิจารณาแนวโน้ม หรือทิศทางที่ควรจะเป็นในอนาคตของรายการต่างๆ ในงบการเงิน โดยนำข้อมูลจากงบการเงินในระยะเวลาหลายๆ ปี ต่อเนื่องกันมาวิเคราะห์และพิจารณาข้อมูล หรือปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น สภาพเศรษฐกิจ นโยบายของภาครัฐ คู่แข่งทางธุรกิจ เป็นต้น

ตัวอย่าง การวิเคราะห์แนวโน้มจากข้อมูลเดิม ตัวอย่าง การวิเคราะห์แนวโน้มจากข้อมูลเดิม ในปี 25x2 มียอดขาย/บริการลดลง แต่ในปี 25x3 และปี 25x4 มียอดขาย/บริการเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แต่กลับลดลงอีกในปี 25x5 ในปี 25x4 มียอดขาย/บริการเพิ่มขึ้น 2.1 ล้านบาท สูงสุดในรอบ 5 ปี ส่วนต้นทุนขาย/บริการในปี 25x2 ลดลง แต่ในปี 25x3 มีต้นทุนขาย/บริการเพิ่มขึ้น 830,000 บาท สูงสุดในรอบ 5 ปี และกำไรสุทธิในปี 25x2 ลดลงเช่นเดียวกัน แต่ในปี 25x3 และปี 25x4 มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ในปี 25x4 มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 590,000 บาท สูงสุดในรอบ 5 ปี 33

ตัวอย่าง การวิเคราะห์อัตราร้อยละของปีฐานคงที่ ตัวอย่าง การวิเคราะห์อัตราร้อยละของปีฐานคงที่ ในปี 25x2 มีอัตรากำไรสุทธิลดลงเมื่อเทียบกับปี 25x1 ซึ่งเป็นปีฐาน และในปี 25x3 ถึง ปี25x4 อัตรากำไรสุทธิมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยในปี 25x4 มีอัตราการเพิ่มขึ้นของกำไรสุทธิค่อนข้างสูง เนื่องจากมีอัตราการเพิ่มขึ้นของยอดขาย/บริการสูงกว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของต้นทุนขาย/บริการ แม้ว่าในปี 25x5 จะมีอัตรากำไรสุทธิลดลง แต่เมื่อเทียบกับปี 25x1 แล้ว ยังมีอัตรากำไรสุทธิมากกว่าปีฐาน แสดงถึงสหกรณ์มีผลการดำเนินงานดีขึ้นโดยตลอดตั้งแต่ ปี 25x3 34

ตัวอย่าง การวิเคราะห์อัตราร้อยละของปีฐานเคลื่อนที่ ตัวอย่าง การวิเคราะห์อัตราร้อยละของปีฐานเคลื่อนที่ ในปี 25x2 มีอัตรารายได้ลดลง ร้อยละ 8.18 แต่ในปี 25x3 และปี 25x4 มีอัตรารายได้เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยในปี 25x4 มีอัตรารายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.00 สูงสุดในรอบ 5 ปี ส่วนอัตราต้นทุนขาย/บริการในปี 25x2 ลดลงร้อยละ 3.04 แต่ในปี 25x3 มีอัตราต้นทุนขาย/บริการเพิ่มขึ้น ร้อยละ 28.92 สูงสุดในรอบ 5 ปี และอัตรากำไรสุทธิในปี 25x2 ลดลงร้อยละ 15.31 แต่ในปี 25x3 และปี 25x4 มีอัตรากำไรสุทธิเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยในปี 25x4 มีอัตรากำไรสุทธิเพิ่มขึ้น ร้อยละ 54.13 สูงสุดในรอบ 5 ปี 35

ตัวอย่าง การวิเคราะห์อัตราร้อยละของแนวโน้ม2543 -2548 2543 2544 2545 2546 2547 2548 2543 2544 2545 2546 2547 2548

 การวิเคราะห์อัตราร้อยละของแนวโน้ม(ต่อ)  การวิเคราะห์อัตราร้อยละของแนวโน้ม(ต่อ) แผนภูมิ แสดงสัดส่วนรายได้กับค่าใช้จ่าย ปี 40 – ปี 49 1 , 000 . 00 200 400 600 800 2 2540 2541 2542 2543 2544 2545 2546 2547 2548 2549 แสนบาท รายได้ ค่าใช้จ่าย 770 68 791 66 994 59 123 23 634 72 643 45 844 28 899 79 144 01 194 54 187 31 331 92 32 % 91 73 46 89 48 94 64 95 77 97 12 265 51 291 38 312 40 401 09 397 478 338 04 462 50 99 39 ปี Financial Statement Analysis

Financial Statement Analysis  การวิเคราะห์อัตราร้อยละของแนวโน้ม(ต่อ) แผนภูมิ แสดงสัดส่วนของหนี้สินและทุนของสหกรณ์ ปี 40 – ปี 49 100 . 00 200 300 400 500 600 700 800 900 1 , 000 2540 2541 2542 2543 2544 2545 2546 2547 2548 2549 แสนบาท ปี 316 84 337 63 388 54 360 24 401 521 22 785 91 796 40 816 13 446 58 513 64 663 41 680 29 746 74 765 14 658 68 48 372 39 45 97 % 03 43 05 56 95 07 93 35 19 81 37 86 38 51 28 49 99 62 72 50 01 866 53 815 47 Financial Statement Analysis หนี้สิน ทุน

ข้อสังเกตของการวิเคราะห์แนวโน้มหรือการวิเคราะห์แนวนอน 1. การวิเคราะห์แนวโน้มอาจเลือกคำนวณเฉพาะรายการที่ต้องการ ทราบและรายการที่สัมพันธ์กัน ไม่จำเป็นต้องคำนวณทุกรายการ 2. การวิเคราะห์อัตราร้อยละของปีฐานคงที่ อัตราการเปลี่ยนแปลง จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงเพียงใด ขึ้นอยู่กับตัวเลขที่ใช้เป็นฐานในการ คำนวณ หากตัวเลขในปีฐานน้อยอัตราการเปลี่ยนแปลงจะเพิ่ม มากขึ้น ทั้งที่ในระหว่างปีบัญชีจำนวนเงินของรายการนั้นมีการ เปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย 3. การวิเคราะห์อัตราร้อยละของปีฐานเคลื่อนที่ อัตราการเปลี่ยนแปลง จะเพิ่มขึ้น หรือลดลง เพียงขึ้นอยู่กับตัวเลขที่ใช้เป็นฐานในการ คำนวณ ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ส่งผลให้ไม่ทราบแนวโน้ม ของการดำเนินธุรกิจที่แท้จริง

การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน เป็นการวิเคราะห์โดยนำรายการต่างๆ ในงบการเงินทั้ง งบดุลและงบกำไรขาดทุนตั้งแต่ ๒ รายการขึ้นไปมาเทียบให้อยู่ในรูปของอัตราส่วน แล้วหาผลลัพธ์ให้อยู่ในรูปเท่า หรือร้อยละ ทั้งนี้ รายการที่นำมาเปรียบเทียบกันจะต้องเป็นรายการที่มีความสัมพันธ์กัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการแปลความหมายและใช้เปรียบเทียบข้อมูลอื่นๆ ทำให้เข้าใจสถานการณ์ทางการเงินและสภาพการดำเนินงานของสหกรณ์

การวิเคราะห์เปรียบเทียบอัตราส่วนทางการเงิน กระทำได้ 3 รูปแบบ 1. การเปรียบเทียบอัตราส่วนทางการเงินของสหกรณ์ปีปัจจุบันกับปีก่อนๆ เช่น เปรียบเทียบอัตรากำไรสุทธิของสหกรณ์ในช่วง 5 ปี คือ 25x1 ถึงปี 25 x5 เป็นต้น 2. การเปรียบเทียบอัตราส่วนทางการเงินของสหกรณ์กับสหกรณ์อื่นที่มีขนาดธุรกิจใกล้เคียงกัน โดยเปรียบเทียบในช่วงเวลาเดียวกัน 3.การเปรียบเทียบอัตราส่วนทางการเงินของสหกรณ์กับอัตราส่วนมาตรฐาน

อัตราส่วนทางการเงิน (CAMELS) C – Capital Strength A – Asset Quality M – Management Ability CAMELS ANALYSIS E – Earning L – Liquidity S – Sensitivity

C - Capital - เงินทุน เป็นการวิเคราะห์แหล่งเงินทุนที่สามารถรองรับ หรือป้องกันผลกระทบจากความเสี่ยงทางด้านธุรกิจและ การเงินที่เกิดขึ้นกับสหกรณ์ แหล่งเงินทุน ประกอบด้วย ทุนเรือนหุ้น ทุนสำรอง ทุนสะสม ตามระเบียบข้อบังคับ กำไรสุทธิ และ การจัดหาเงินทุนในรูปของการก่อหนี้ผูกพัน

A - Asset Quality คุณภาพของสินทรัพย์ คุณภาพของสินทรัพย์เป็นการวิเคราะห์สินทรัพย์ ที่ลงทุนได้ก่อให้เกิดรายได้แก่สหกรณ์อย่างไร และได้ถูกใช้ไปอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ สินทรัพย์ที่จะวัดประสิทธิภาพในที่นี้ คือ ลูกหนี้ สินค้าคงคลัง และสินทรัพย์รวม

M - Management ความสามารถในการบริหาร ความสามารถในการบริหารงานเป็นการวิเคราะห์ถึงความสามารถของฝ่ายบริหารในการวางกลยุทธ์และจัดโครงสร้างองค์กรในการนำพาองค์กรให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกิจการอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมที่กิจการเผชิญอยู่ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกิจการ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

E - Earning ความสามารถทำกำไร วิเคราะห์ถึงความสามารถในการแข่งขันของสหกรณ์ ในธุรกิจที่สหกรณ์ดำเนินอยู่ ซึ่งจะประกอบไปด้วยการรักษาอัตราค่าใช้จ่ายดำเนินงาน ต่อกำไรก่อนหักค่าใช้จ่ายดำเนินงานให้ต่ำ และเพิ่มอัตรากำไรขั้นต้นในแต่ละธุรกิจให้มากที่สุด รวมทั้งการวิเคราะห์ถึงคุณภาพและแนวโน้มของกำไรในอนาคตของสหกรณ์

L - Liquidity - สภาพคล่อง สภาพคล่อง เป็นการพิจารณาความเพียงพอของเงินสดหรือสินทรัพย์ที่มีสภาพใกล้เคียงเงินสด รวมถึงทรัพย์อื่นที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่าย สภาพคล่องวัดได้จากอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน ซึ่งคำนวณได้จากสัดส่วนระหว่างสินทรัพย์หมุนเวียนกับหนี้สินหมุนเวียน หากสหกรณ์มีความเสี่ยงของเงินทุนสหกรณ์จำเป็นต้องรักษาสภาพคล่องให้สูงเพียงพอ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการ ขาดสภาพคล่องทางการเงิน

S – Sensitivity ผลกระทบ เป็นผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยแวดล้อม ที่เกี่ยวของสหกรณ์ ด้านนโยบายของรัฐบาล/หน่วยงานกำกับดูแล เช่น นโยบายการปรับค่าจ้างแรงงาน

¤ การใช้อัตราส่วนทางการเงิน ¤ การใช้อัตราส่วนทางการเงิน วัดความเพียงพอของเงินทุนต่อความเสี่ยง (C) วัดคุณภาพของสินทรัพย์ (A) อัตราการเติบโตของธุรกิจ (M) วัดความสามารถการทำกำไร (E) วัดสภาพคล่อง (L)

¤ การใช้อัตราส่วนทางการเงิน วัดความเพียงพอของเงินทุนต่อความเสี่ยง (C) 1. อัตราส่วนหนี้สินทั้งสิ้นต่อทุน 2. อัตราส่วนทุนสำรองต่อสินทรัพย์ อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของทุน อัตราการเติบโตของหนี้ 5. อัตราการเติบโตทุนของสหกรณ์

1.อัตราส่วนหนี้สินทั้งสิ้นต่อทุน (เท่า) ●ใช้วัดความสามารถในการก่อหนี้ของสหกรณ์ว่า จะก่อหนี้ได้ มากน้อยเพียงใดจึงจะเหมาะสมและไม่เสี่ยงต่อเจ้าหนี้ที่จะได้รับชำระหนี้ คืนโดยเทียบสัดส่วนระหว่างหนี้สินและทุนของสหกรณ์ เพื่อวัดความสัมพันธ์ของ เจ้าหนี้กับส่วนของทุนว่ามีจำนวนมากน้อยเพียงใด โดยความสามารถในการชำระหนี้สิน จะเกิดขึ้นเมื่อสหกรณ์มีรายได้เพียงพอสำหรับการชำระหนี้และดอกเบี้ย ● อัตราส่วนนี้สูงเท่ากับเจ้าหนี้ต้องรับภาระความเสี่ยงจากการชำระหนี้ ในทางตรงข้าม หากอัตราส่วนนี้ต่ำเกินไปจะสรุปว่าดีก็ไม่เสมอไปต้องพิจารณาปัจจัยอื่นประกอบด้วย อาจเป็นเพราะเครดิตสหกรณ์ไม่ดี ยังอาจทำให้การขยายตัวของการดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างเชื่องช้าเพราะไม่มีการระดมทุนในรูปการกู้ยืม

อัตราส่วนหนี้สินทั้งสิ้นต่อทุน (เท่า) = หนี้สินทั้งสิ้น ทุนของสหกรณ์ 1.อัตราส่วนหนี้สินทั้งสิ้นต่อทุน (เท่า) ต่อ อัตราส่วนหนี้สินทั้งสิ้นต่อทุน (เท่า) = หนี้สินทั้งสิ้น ทุนของสหกรณ์ หนี้สินทั้งสิ้น ได้จากงบดุล รายการยอดรวมหนี้สิน ทุนของสหกรณ์ ได้จากงบดุล รายการยอดรวมทุนของ สหกรณ์ 52

= หนี้สินทั้งสิ้น ทุนของสหกรณ์ วิเคราะห์งบการเงิน - Financial Statement Analysis อัตราส่วนหนี้สินทั้งสิ้นต่อทุน ตัวอย่าง ปี 2555 = 208,000 827,000 = หนี้สินทั้งสิ้น ทุนของสหกรณ์ = 0.25 ต่อ 1 ปี 2554 = 210,000 800,000 = 0.26 ต่อ 1

2. อัตราส่วนทุนสำรองต่อสินทรัพย์ (เท่า) ใช้วัดว่าเงินทุนที่สหกรณ์มีทั้งหมดมีกี่ส่วนที่เป็นทุนสำรองของสหกรณ์ โดยเทียบสัดส่วนของทุนสำรองกับสินทรัพย์รวมทั้งสิ้นเพื่อวัดความสัมพันธ์ ของทุนสำรองกับทุนดำเนินงานของสหกรณ์ว่ามีจำนวนมากน้อยเพียงใด หากมี ค่าสูง เท่าไรก็แสดงถึงความเสี่ยงที่ลดลง เพราะในการดำเนินงานนั้นหากเงินทุน ที่ใช้ได้มาจากทุนสำรองของตนเอง และการดำเนินงานมีผลกำไรสมาชิก ของสหกรณ์ก็จะได้รับประโยชน์มากกว่าการดำเนินงานโดยใช้ทุนดำเนินงาน ที่ได้มาจากการกู้ยืม ซึ่งจะมีภาระค่าใช้จ่ายจากดอกเบี้ยจ่าย

ทุนสำรองต่อสินทรัพย์ (เท่า) = ทุนสำรอง สินทรัพย์ทั้งสิ้น 2. อัตราส่วนทุนสำรองต่อสินทรัพย์ (เท่า) ต่อ ทุนสำรองต่อสินทรัพย์ (เท่า) = ทุนสำรอง สินทรัพย์ทั้งสิ้น ทุนสำรอง ได้จากงบดุล รายการทุนสำรอง สินทรัพย์ทั้งสิ้น ได้จากงบดุล รายการยอดรวมสินทรัพย์ 55

3.อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของทุน (ร้อยละ) ใช้วัดผลตอบแทนต่อส่วนของทุนว่าสหกรณ์ได้รับผลตอบแทนจากเงินทุนของตนเองกลับคืนในอัตราร้อยละเท่าใด หากอัตราส่วนนี้สูงย่อมแสดงถึงประสิทธิภาพในการใช้เงินทุนเพื่อหากำไรได้สูง 56

ทุนถัวเฉลี่ย อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของทุน (%) = กำไรสุทธิ x 100 3.อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของทุน (ร้อยละ) ต่อ อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของทุน (%) = กำไรสุทธิ x 100 ทุนถัวเฉลี่ย กำไรสุทธิ ได้จากงบกำไรขาดทุน รายการกำไรสุทธิ ทุนถัวเฉลี่ย ได้จากงบดุล รายการทุนของสหกรณ์ปีปัจจุบัน บวกด้วย ทุนของสหกรณ์ปีก่อนแล้วหารด้วย 2

กำไรสุทธิ X 100 ทุนถัวเฉลี่ย วิเคราะห์งบการเงิน - Financial Statement Analysis อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของทุน ตัวอย่าง ปี 2555 = 61,000 x 100 กำไรสุทธิ X 100 827,000 + 800,000 2 ทุนถัวเฉลี่ย = ร้อยละ 7.50 ปี 2554 ทุนถัวเฉลี่ย = 46,000 x 100 = ทุนปีปัจจุบัน+ ปีก่อน 800,000 + 780,000 2 2 = ร้อยละ 5.82

4. อัตราการเติบโตของหนี้ (%) หนี้สินทั้งสิ้นปีปัจจุบัน – หนี้สินทั้งสิ้นปีก่อน x 100 หนี้สินทั้งสิ้นปีก่อน เป็นอัตราส่วนที่ใช้พิจารณาการเปลี่ยนแปลงของหนี้สินว่ามีการเพิ่มขึ้น หรือลดลงอย่างไร กรณีอัตราส่วนนี้มีผลลัพธ์เพิ่มขึ้น แสดงว่าสหกรณ์ก่อหนี้เพิ่มขึ้นจากปีก่อน เป็นผลให้มีภาระดอกเบี้ยจ่ายเงินกู้เพิ่มขึ้น สหกรณ์จำเป็นต้องเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงาน โดยการสร้างรายได้เพิ่มขึ้น และ / หรือ ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นลง

ทุนของสหกรณ์ปีปัจจุบัน – ทุนของสหกรณ์ปีก่อน x 100 5. อัตราการเติบโตของทุนสหกรณ์ (%) ทุนของสหกรณ์ปีปัจจุบัน – ทุนของสหกรณ์ปีก่อน x 100 ทุนของสหกรณ์ปีก่อน เป็นอัตราส่วนที่ใช้พิจารณาการเปลี่ยนแปลงของทุนว่ามีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไร กรณีอัตราส่วนนี้มีผลลัพธ์เพิ่มขึ้น แสดงว่าสหกรณ์มีเงินทุนเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มขึ้นจากการระดมทุนจากสมาชิก หรือจากผลการดำเนินงานของสหกรณ์ก็ตาม ทั้งนี้ การมีเงินทุนเพิ่มขึ้นจะส่งผลต่อความเพียงพอของเงินทุนต่อความเสี่ยงด้วย

ตัวอย่าง สรุปผลความเพียงพอของเงินทุนต่อความเสี่ยง (C) ตัวอย่าง(ตัวเลขสมมุติ) 1. อัตราส่วนหนี้สินทั้งสิ้นต่อทุน( เท่า) ปีปัจจุบัน 1.22 เท่า ปีก่อน 1.16 เท่า 2. อัตราส่วนทุนสำรองต่อสินทรัพย์(เท่า)ปีปัจจุบัน 0.02 ปีก่อน 0.02 3. อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของทุน (%) ปีปัจจุบันร้อยละ 8.20 ปีก่อน ร้อยละ 8.51

ตัวอย่าง สรุปผลความเพียงพอของเงินทุนต่อความเสี่ยง (C) กล่าวคือ อัตราส่วนหนี้สินทั้งสิ้นต่อทุนสูงขึ้นกว่าปีก่อน อัตราทุนสำรองต่อสินทรัพย์เท่ากับปีก่อน และอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของทุนลดลงจากปีก่อน เนื่องจากต้องรับภาระเกี่ยวกับดอกเบี้ยจ่ายจากการกู้ยืมเงินของสหกรณ์ เป็นต้น ข้อเสนอแนะ ดังนั้น สหกรณ์ควรบริหารสินทรัพย์เพื่อสร้างรายได้เพียงพอสำหรับการชำระหนี้และดอกเบี้ยเมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระ หรือระดมทุนให้เพียงพอเพื่อรองรับความเสี่ยง กล่าวคือควรดำรงสภาพคล่องให้เพียงพอในช่วงระยะเวลาที่หนี้ถึงกำหนดชำระ

¤ การใช้อัตราส่วนทางการเงิน วัดคุณภาพสินทรัพย์ (A) 6. อัตราการค้างชำระหนี้ของลูกหนี้ 7. อัตราหมุนของสินทรัพย์ 8. อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ 9. อัตราการเติบโตของสินทรัพย์

6. อัตราการค้างชำระของลูกหนี้(ร้อยละ) อัตราส่วนนี้จะใช้วัดว่าจำนวนลูกหนี้ที่ถึงกำหนดชำระนั้น มีลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ตามกำหนดเป็นร้อยละเท่าใด โดยวัดอัตราการค้างชำระของสมาชิกที่มีต่อสหกรณ์ หากอัตราส่วนนี้ต่ำ แสดงว่าลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้คืนต่อสหกรณ์น้อยด้วย หมายถึงลูกหนี้ที่ปรากฏในงบการเงินเป็นหนี้ที่มีคุณภาพ สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็ว เป็นผลให้สหกรณ์สามารถนำเงินได้รับชำระหนี้ไปหาประโยชน์ได้มากขึ้น ขณะเดียวกันสหกรณ์ก็ได้รับผลตอนแทนในรูปของรายได้เพิ่มขึ้นด้วย

6.อัตราการค้างชำระของลูกหนี้(ร้อยละ) ต่อ อัตราการค้างชำระ (%) = หนี้ที่ไม่สามารถชำระได้ตามกำหนด x 100 หนี้ที่ถึงกำหนดชำระ หนี้ที่ไม่สามารถชำระได้ตามกำหนด สามารถดูได้จากรายละเอียดลูกหนี้ เงินกู้ ณ วันสิ้นปี และหนี้ที่ถึงกำหนดชำระ 65

7. อัตราหมุนของสินทรัพย์ (รอบ) 7. อัตราหมุนของสินทรัพย์ (รอบ) อัตราส่วนนี้จะบ่งบอกความสามารถของกิจการในการใช้สินทรัพย์ ทั้งหมดที่มีอยู่ว่าก่อให้เกิดรายได้มากน้อยหรือมีประสิทธิภาพเต็มที่ หรือไม่ ถ้าอัตราส่วนนี้สูง แสดงว่ากิจการมีความสามารถในการ ใช้สินทรัพย์ที่มีอยู่เพื่อก่อให้เกิดรายได้สูง และมีการบริหารงาน อย่างมีประสิทธิภาพ

7. อัตราหมุนของสินทรัพย์ (รอบ)ต่อ 7. อัตราหมุนของสินทรัพย์ (รอบ)ต่อ อัตราหมุนของสินทรัพย์ (รอบ) = ขาย/บริการ สินทรัพย์ทั้งสิ้นถัวเฉลี่ย ขาย/บริการ ได้จากงบกำไรขาดทุน รายการขาย/บริการ สินทรัพย์ทั้งสิ้นถัวเฉลี่ย ได้จากงบดุล ยอดรวมสินทรัพย์ปีปัจจุบัน + ยอดรวมสินทรัพย์ปีก่อน / 2 67

อัตราหมุนของสินทรัพย์ วิเคราะห์งบการเงิน (Financial Statement Analysis) 7. อัตราหมุนของสินทรัพย์(รอบ)ต่อ ปี 2555 อัตราหมุนของสินทรัพย์ = 800,000 1,035,000+1,010,000 2 ขาย/บริการ = 0.78 รอบ สินทรัพย์ทั้งสิ้นถัวเฉลี่ย ปี 2554 สินทรัพย์ทั้งสิ้นถัวเฉลี่ย = สินทรัพย์ทั้งสิ้นปีปัจจุบัน+ปีก่อน = 600,000 1,010,000+1,000,000 2 2 = 0.60 รอบ

8. อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ร้อยละ) ใช้วัดผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ของสหกรณ์ว่าสหกรณ์ได้รับผลตอบแทนจากการใช้สินทรัพย์เพื่อก่อให้เกิดผลกำไรกลับคืนในอัตราร้อยละเท่าใด กรณีอัตราส่วนนี้มีผลลัพธ์สูง แสดงว่าประสิทธิภาพในการหาผลตอบแทนจากการใช้สินทรัพย์ของสหกรณ์อยู่ในระดับสูง อัตราส่วนนี้เป็นอัตราส่วนหนึ่งที่ฝ่ายบริหารใช้ควบคุมการดำเนินการ หรือการวางแผนโดยตรง เพราะเป็นอัตราส่วนที่ใช้วัดความสามารถของฝ่ายบริหารในการใช้สินทรัพย์ของกิจการ ในอันที่ก่อให้เกิดกำไรกลับคืนมาสู่กิจการ 69

8. อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ร้อยละ) ต่อ อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์(%) = กำไรจากการดำเนินงาน x 100 สินทรัพย์ทั้งสิ้นถัวเฉลี่ย กำไรจากการดำเนินงาน ได้จากงบกำไรขาดทุน สินทรัพย์ทั้งสิ้นถัวเฉลี่ย ได้จากงบดุล ยอดรวมสินทรัพย์ปีปัจจุบัน + ยอดรวมสินทรัพย์ปีก่อน / 2

8. อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ร้อยละ)ต่อ วิเคราะห์งบการเงิน - Financial Statement Analysis ปี 2555 = 61,000 X 100 กำไรจากการดำเนินงาน X 100 1,035,000 + 1,010,000 2 สินทรัพย์ถัวเฉลี่ย = ร้อยละ 5.97 ปี 2554 = 61,000 X 100 สินทรัพย์ทั้งสิ้นถัวเฉลี่ย = สินทรัพย์ทั้งสิ้นปีปัจจุบัน+ปีก่อน 1,010,000+1,000,000 2 = ร้อยละ 6.07 2

อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ ข้อสังเกต 1) การใช้ยอดสินทรัพย์ทั้งสิ้นโดยเฉลี่ย เพราะถือว่ากำไรเกิดจากการใช้ทรัพยากรที่กิจการมีอยู่ตลอดรอบระยะเวลาบัญชี 2) การวิเคราะห์อัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมควรพิจารณาควบคู่ไปกับอัตราหมุนของสินทรัพย์ ถ้ามีความขัดแย้งกัน กล่าวคือ อัตราหมุนของสินทรัพย์มีค่าสูง ซึ่งหมายความว่ากิจการใช้สินทรัพย์ให้เกิดรายได้มาก ในขณะที่อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ รวมมีค่าต่ำ กิจการควรหาสาเหตุด้วยว่าเนื่องจากเหตุใด เพื่อจะได้หาทางแก้ไขได้ตรง

9. อัตราการเติบโตของสินทรัพย์ (%) สินทรัพย์ทั้งสิ้นปีปัจจุบัน – สินทรัพย์ทั้งสิ้นปีก่อน x 100 สินทรัพย์ทั้งสิ้นปีก่อน สินทรัพย์ทั้งสิ้น ได้จากงบดุล รายการรวมสินทรัพย์ เป็นอัตราส่วนที่ใช้พิจารณาการเปลี่ยนแปลงของสินทรัพย์ว่ามีการเพิ่มขึ้น หรือลดลงอย่างไร กรณีอัตราส่วนนี้มีผลลัพธ์เพิ่มขึ้น แสดงว่ามีสินทรัพย์เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ควรพิจารณาว่าสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นมาจากการก่อหนี้ การระดมทุนจากสมาชิก หรือผลการดำเนินงานของสหกรณ์ หากเป็นการก่อหนี้สหกรณ์ต้องใช้สินทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อก่อให้เกิดรายได้คุ้มกับค่าใช้จ่ายจากดอกเบี้ยเงินกู้

ตัวอย่าง สรุปผลการใช้อัตราส่วนทางการเงิน วัดคุณภาพสินทรัพย์ (A) ตัวอย่าง (ตัวเลขสมมุติ) 6. อัตราการค้างชำระหนี้ของลูกหนี้ (%) ปีปัจจุบัน ร้อยละ 0.04 ปีก่อน ร้อยละ 0.03 7. อัตราหมุนของสินทรัพย์ (รอบ) ปีปัจจุบัน 0.08 ปีก่อน 0.08 8. อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์(%)ปีปัจจุบัน ร้อยละ 3.74 ปีก่อน ร้อยละ 3.70

ตัวอย่าง สรุปผลการใช้อัตราส่วนทางการเงิน วัดคุณภาพสินทรัพย์ (ต่อ) ตัวอย่าง สรุปผลการใช้อัตราส่วนทางการเงิน วัดคุณภาพสินทรัพย์ (ต่อ) สหกรณ์มีสินทรัพย์ทั้งสิ้น 312.87 ล้านบาท ประกอบด้วย -สินทรัพย์หมุนเวียน 43.60 ล้านบาท -ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ 0.2 ล้านบาท -หลักทรัพย์และสินทรัพย์อื่น 1.80  ล้านบาท -ลูกหนี้เงินกู้ระยะยาว 267.27 ล้านบาท ลูกหนี้ดังกล่าวเป็นลูกหนี้ที่ผิดนัดชำระหนี้ ร้อยละ 0.4 ของลูกหนี้ทั้งสิ้น แต่สามารถบริหารสินทรัพย์ก่อให้เกิดรายได้  0.08  รอบ ส่งผลให้การ ดำเนินงานมีอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ ร้อยละ 3.74 สินทรัพย์ส่วนใหญ่จะเป็นลูกหนี้รวม  308.33 ล้านบาท หรือร้อยละ 98.55 ของสินทรัพย์ทั้งสิ้น

ข้อเสนอแนะ ต้องพยายามติดตามลูกหนี้ให้ชำระหนี้ตามกำหนดระยะเวลา ตัวอย่าง สรุปผลการใช้อัตราส่วนทางการเงินวัดคุณภาพสินทรัพย์ ต่อ คุณภาพของสินทรัพย์ที่ลงทุนเป็นสินทรัพย์พอมีคุณภาพ เนื่องจากสินทรัพย์ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของลูกหนี้สูงถึงร้อยละ 98.55 เมื่อพิจารณาอัตราหมุนของสินทรัพย์จะเท่ากับปีก่อน และมีอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์สูงขึ้นกว่าปีก่อน แต่มีหนี้ผิดนัดการชำระหนี้ ร้อยละ 0.4 ของลูกหนี้ทั้งสิ้น ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ข้อเสนอแนะ ต้องพยายามติดตามลูกหนี้ให้ชำระหนี้ตามกำหนดระยะเวลา

¤ การใช้อัตราส่วนทางการเงิน วัดความสามารถการบริการจัดการ (M) 10. อัตราการเติบโตของธุรกิจ

10. อัตราการเติบโตของธุรกิจ (%) มูลค่าธุรกิจรวมปีปัจจุบัน – มูลค่าธุรกิจรวมปีก่อนx 100 มูลค่าธุรกิจรวมปีก่อน มูลค่าธุรกิจรวม ได้จากปริมาณแต่ละธุรกิจที่เพิ่มขึ้นระหว่างปี เป็นอัตราส่วนที่ใช้พิจารณาการเปลี่ยนแปลงของปริมาณธุรกิจว่ามีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไร กรณีอัตราส่วนนี้มีผลลัพธ์เพิ่มขึ้น แสดงว่าปริมาณธุรกิจเพิ่มขึ้นจากปีก่อน อาจสรุปได้ว่าสามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่สมาชิกเพิ่มขึ้นและควรพิจารณาเป็นรายธุรกิจว่ามีการเพิ่มขึ้น หรือลดลงอย่างไร เพื่อให้สามารถวางแผนงานให้เกิดประโยชน์แก่สมาชิกและสร้างรายได้เพิ่มขึ้น

อัตราการเติบโตของธุรกิจ ตัวอย่าง ปี อัตราการเติบโตของธุรกิจ 25x2 ร้อยละ 8.63 25x1 ร้อยละ 8.58 ในปี 25x2 อัตราการเติบโตของธุรกิจ ร้อยละ 8.63 แสดงว่าสหกรณ์มีปริมาณธุรกิจเพิ่มขึ้นสามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่สมาชิกเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับปี 25x1 ซึ่งมีอัตราส่วนนี้ ร้อยละ 8.58 จะเห็นว่าในปี 25x2 การเติบโตของธุรกิจมีอัตราเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

¤ การใช้อัตราส่วนทางการเงิน วัดความสามารถการทำกำไร (E) 11. อัตราค่าใช้จ่ายดำเนินงานต่อกำไรก่อนหักค่าใช้จ่ายดำเนินงาน 12. อัตราค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน 13. อัตรากำไรสุทธิ 14. กำไรต่อสมาชิก 15. เงินออมต่อสมาชิก 16. หนี้สินต่อสมาชิก 17. อัตราการเติบโตของทุนสำรอง 18. อัตราการเติบโตของทุนสะสมอื่น 19. อัตราการเติบโตของกำไร 20. อัตรากำไรขั้นต้น

กำไรก่อนหักค่าใช้จ่ายดำเนินงาน ได้จากงบกำไรขาดทุน 11.อัตราค่าใช้จ่ายดำเนินงานต่อกำไรก่อนหักค่าใช้จ่ายดำเนินงาน(ร้อยละ) แสดงให้ทราบว่าสหกรณ์มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเป็นร้อยละเท่าใดของกำไรก่อนหักค่าใช้จ่ายดำเนินงาน อัตราค่าใช้จ่ายดำเนินงานต่อกำไรก่อนหักค่าใช้จ่ายดำเนินงาน= ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน x 100 กำไรก่อนหักค่าใช้จ่ายดำเนินงาน ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน ได้จากงบกำไรขาดทุน รายการค่าใช้จ่ายดำเนินงาน กำไรก่อนหักค่าใช้จ่ายดำเนินงาน ได้จากงบกำไรขาดทุน (ให้นำรายการยอดรวมซึ่งได้จากกำไร(ขาดทุน) เฉพาะธุรกิจ บวก รายได้อื่น) 81

ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน X 100 = ร้อยละ 6.04 11.อัตราค่าใช้จ่ายดำเนินงานต่อกำไรก่อนหักค่าใช้จ่ายดำเนินงาน(ร้อยละ)(ต่อ) วิเคราะห์งบการเงิน - Financial Statement Analysis ปี 2555 = 61,000 X 100 1,010,000 ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน X 100 = ร้อยละ 6.04 กำไรก่อนหักค่าใช้จ่ายดำเนินงาน ปี 2554 = 71,000 X 100 1,200,000 = ร้อยละ 5.92

12. อัตราค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (ร้อยละ) แสดงความสัมพันธ์ระหว่างค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานกับรายได้ของสหกรณ์ อัตราค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน(%) = ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน x 100 ขาย/บริการ ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน ได้จากงบกำไรขาดทุน รายการค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ขาย/บริการ ได้จากงบกำไรขาดทุน รายการขาย/บริการ 83

12. อัตราค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (ร้อยละ) ต่อ 12. อัตราค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (ร้อยละ) ต่อ วิเคราะห์งบการเงิน - Financial Statement Analysis ปี 2555 = 81,000 X 100 1,090,000 ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน x 100 = ร้อยละ 7.40 ขาย/บริการ ปี 2554 = 65,000 X 100 1,200,000 = ร้อยละ 5.42

13. อัตรากำไรสุทธิ (ร้อยละ) แสดงถึงประสิทธิภาพในการดำเนินงานเพื่อก่อให้เกิดกำไรของสหกรณ์ว่ามีกำไรสุทธิเป็นร้อยละเท่าใดของรายได้ อัตรากำไรสุทธิ(%) = กำไรสุทธิ x 100 ขาย/บริการ กำไรสุทธิ ได้จากงบกำไรขาดทุน รายการกำไรสุทธิ ขาย/บริการ ได้จากงบกำไรขาดทุน รายการขาย/บริการ 85

13. อัตรากำไรสุทธิ (ร้อยละ) ต่อ วิเคราะห์งบการเงิน - Financial Statement Analysis ปี 2555 = 181,000 X 100 1,290,000 กำไรสุทธิ x 100 = ร้อยละ 14.03 ขาย/บริการ ปี 2554 = 165,000 X 100 1,250,000 = ร้อยละ 13.20

ตัวอย่าง สรุปผล วัดความสามารถการทำกำไร(E) พิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างรายได้กับค่าใช้จ่าย ขึ้นอยู่กับการบริหารควบคุมรายจ่ายอย่างมีประสิทธิภาพโดยเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายทีละรายการว่ามีกำไรขั้นต้นหรือไม่หากบริหารค่าใช้จ่ายดีมีประสิทธิภาพกำไรสูง ตรงกันข้ามบริหารค่าใช้จ่ายไม่ดี ไม่เหมาะสมกับรายได้ กำไรต่ำ รวมถึงอัตราค่าใช้จ่ายดำเนินงานต่อกำไรก่อนหักค่าใช้จ่ายดำเนินงาน ให้อยู่ในอัตราที่ต่ำจึงได้ชื่อว่าบริหารมีประสิทธิภาพ

14. กำไรต่อสมาชิก (บาท) กำไรสุทธิ จำนวนสมาชิก กำไรสุทธิ ได้จาก งบกำไรขาดทุน จำนวนสมาชิก ได้จาก จำนวนสมาชิกทั้งสิ้น ณ วันสิ้นปีบัญชี เป็นอัตราส่วนที่แสดงค่าเฉลี่ยโดยรวมว่า ผลกำไรจากการดำเนินงานของสหกรณ์คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่าใดหากเทียบกับสมาชิกต่อคน

15. เงินออมต่อสมาชิก (บาท) เงินออมของสมาชิก จำนวนสมาชิก เงินออมของสมาชิก ได้จาก งบดุล (เงินรับฝากจากสมาชิก+ทุนเรือนหุ้น) จำนวนสมาชิก ได้จาก จำนวนสมาชิกทั้งสิ้น ณ วันสิ้นปีบัญชี เป็นอัตราส่วนที่แสดงค่าเฉลี่ยโดยรวมว่า เงินที่สมาชิกออมไว้กับสหกรณ์ทั้งในรูปของเงินรับฝาก และทุนเรือนหุ้นทั้งหมดคิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่าใดหากเทียบกับสมาชิกต่อคน

หนี้สินทั้งสิ้นของสมาชิก 16. หนี้สินต่อสมาชิก (บาท) หนี้สินทั้งสิ้นของสมาชิก จำนวนสมาชิก หนี้สินทั้งสิ้นของสมาชิก ได้จาก งบดุล (รวมลูกหนี้ของสมาชิกทุกประเภท) จำนวนสมาชิก ได้จาก จำนวนสมาชิกทั้งสิ้น ณ วันสิ้นปีบัญชี เป็นอัตราส่วนที่แสดงค่าเฉลี่ยโดยรวมว่า ภาระหนี้สินของสมาชิก ณ วันสิ้นปีที่ต้องชำระต่อสหกรณ์คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่าใดหากเทียบกับสมาชิกต่อคน

17. อัตราการเติบโตของทุนสำรอง (%) ทุนสำรองปีปัจจุบัน - ทุนสำรองปีก่อน x 100 ทุนสำรองปีก่อน ทุนสำรอง ได้จาก งบดุล รายการทุนสำรอง เป็นอัตราส่วนที่ใช้พิจารณาการเปลี่ยนแปลงของทุนสำรองว่ามีการเพิ่มขึ้น หรือลดลงอย่างไร

18. อัตราการเติบโตของทุนสะสมอื่น (%) ทุนสะสมอื่นปีปัจจุบัน - ทุนสะสมอื่นปีก่อน x 100 ทุนสะสมอื่นปีก่อน ทุนสะสมอื่น ได้จาก งบดุล รายการทุนสะสมอื่น เป็นอัตราส่วนที่ใช้พิจารณาการเปลี่ยนแปลงของทุนสะสมอื่นว่ามีการเพิ่มขึ้น หรือลดลงอย่างไร

กำไรสุทธิปีปัจจุบัน -กำไรสุทธิปีก่อน x 100 19. อัตราการเติบโตของกำไร (%) กำไรสุทธิปีปัจจุบัน -กำไรสุทธิปีก่อน x 100 กำไรสุทธิปีก่อน กำไรสุทธิ ได้จาก งบกำไรขาดทุน รายการกำไรสุทธิ เป็นอัตราส่วนที่ใช้พิจารณาการเปลี่ยนแปลงของกำไรสุทธิว่ามีการเพิ่มขึ้น หรือลดลงอย่างไร

20. อัตรากำไรขั้นต้นของ................ (%) กำไรขั้นต้นของ............. x 100 ขาย...........สุทธิ กำไรขั้นต้นของ...ได้จาก รายละเอียดกำไร (ขาดทุน)แต่ละธุรกิจ รายการกำไรขั้นต้น ขาย......สุทธิ ได้จาก รายละเอียดกำไร (ขาดทุน) แต่ละธุรกิจ รายการรวมรับ.....สุทธิ เป็นอัตราส่วนที่ใช้วัดความสามารถในการกำหนดราคาขายที่เหมาะสม และการควบคุมต้นทุนขาย ซึ่งหากต้นทุนขายต่ำก็จะมีผลทำให้อัตรากำไร ขั้นต้นสูงขึ้น ทั้งนี้ การวิเคราะห์อัตราส่วนนี้โดยแยกเป็นแต่ละประเภทสินค้า จะทำให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น

¤ การใช้อัตราส่วนทางการเงิน วัดสภาพคล่อง (L) 21. อัตราส่วนทุนหมุนเวียน 22. อัตราหมุนของสินค้า 23. อายุเฉลี่ยสินค้า (ระยะเวลาในการขายโดยเฉลี่ย) อัตราหมุนของลูกหนี้ 25. ระยะเวลาจัดเก็บหนี้โดยเฉลี่ย (วัน)

21. อัตราส่วนทุนหมุนเวียน(เท่า) 1. เป็นอัตราส่วนที่ใช้เป็นเครื่องชี้ฐานะทางการเงิน ระยะสั้นของธุรกิจในเรื่องความสามารถในการชำระหนี้ ระยะสั้นของธุรกิจ ณ เวลานั้น 2. ช่วยชี้ถึงระดับความปลอดภัยของเจ้าหนี้ - กรณีอัตราที่ต่ำแสดงว่ากิจการอาจไม่ชำระหนี้สินระยะสั้นได้เมื่อครบกำหนด - กรณีอัตราส่วนทุนหมุนเวียนสูงย่อมแสดงถึงความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นได้สูง

มองต่างมุม 21. อัตราส่วนทุนหมุนเวียน(เท่า)ต่อ  เจ้าหนี้ เหตุการณ์ลักษณะนี้เป็นเรื่องน่าพอใจหากอัตราส่วน นี้ยิ่งสูง ความคล่องตัวยิ่งมาก  ฐานะผู้บริหาร มีความรอบคอบแล้ว หากอัตราส่วนนี้ยิ่งสูง เป็นปัญหา แก่กิจการได้ ทั้งนี้อาจเป็นได้ว่ากิจการมีสินทรัพย์ หมุนเวียนเกินความจำเป็น เช่น มีสินค้าคงเหลือมากเกินไป กล่าวคือ

มองต่างมุม 21. อัตราส่วนทุนหมุนเวียน(เท่า)ต่อ  1. เนื่องจากไม่ได้ใช้สินทรัพย์ส่วนนี้ในการก่อให้เกิดกำไร แก่กิจการเท่าที่ควร ทั้งนี้อาจเป็นผลเนื่องมาจากมีการขาย สินค้าน้อยลงหรือเก็บเงินจากลูกหนี้ได้ช้าทำให้ยอดลูกหนี้ สะสมเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆทำให้เสียโอกาสในการที่จะนำเงิน จำนวนนั้นไปลงทุนเพื่อหารายได้เพิ่มขึ้น

มองต่างมุม 21. อัตราส่วนทุนหมุนเวียน(เท่า)ต่อ  2. กรณีถือเงินสดมากเกินความจำเป็นแทนที่นำไปใช้ชำระหนี้สินระยะยาวเพื่อลดดอกเบี้ยจ่าย หรือนำไปจ่ายเป็นเงินปันผลซึ่งก็จะทำให้ผู้ถือหุ้นได้รับประโยชน์หรือนำไปลงทุนอย่างอื่นเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อกิจการยิ่งขึ้น

21. อัตราส่วนทุนหมุนเวียน(เท่า)ต่อ  กรณีอัตราส่วนทุนหมุนเวียนต่ำ 1. กิจการสาธารณูปโภค จะลงทุนในสินทรัพย์ประเภทถาวรมาก เงินเข้าจากรายได้ค่อนข้างสม่ำเสมอสินทรัพย์หมุนเวียนจึงมีไม่มาก แต่ก็ไม่เป็นอุปสรรคต่อการชำระหนี้ระยะสั้นแต่อย่างใด เนื่องจากบริการที่ให้ส่วนใหญ่แล้วจะได้รับชำระค่าบริการจากผู้บริโภคเดือนต่อเดือน 2. กิจการที่ขายสินค้าเป็นเงินสดก็มักจะถือสินค้าไว้เป็นจำนวนน้อย เพราะสินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่หมุนได้เร็ว จึงไม่ต้องการเงินทุนหมุนเวียนมากนัก ไม่เสมอไปว่ากิจการจะไม่สามารถชำระหนี้ได้ ตัวอย่างเช่น

คุณภาพสินทรัพย์ 21. อัตราส่วนทุนหมุนเวียน(เท่า)ต่อ 1. อัตราส่วนทุนหมุนเวียน= สินทรัพย์หมุนเวียน ต่อ 1 หนี้สินหมุนเวียน สินทรัพย์หมุนเวียน ได้จากงบดุล รายการยอดรวมสินทรัพย์สินทรัพย์หมุนเวียน หนี้สินหมุนเวียน ได้จากงบดุล รายการยอดรวมหนี้สินหมุนเวียน 101

21. อัตราส่วนทุนหมุนเวียน(เท่า)ต่อ วิเคราะห์งบการเงิน - Financial Statement Analysis ปี 2555 = 281,000 290,000 สินทรัพย์หมุนเวียน (เท่า) = 0.97 ต่อ 1 หนี้สินหมุนเวียน ปี 2554 = 265,000 250,000 = 1.06 ต่อ 1

ตัวอย่าง สรุปผลสภาพคล่อง (L) จากตัวอย่าง จะเห็นว่าสภาพคล่องของสหกรณ์ ปีปัจจุบัน 0.97 เท่า ต่ำกว่าปี 2554 ที่มีสภาพคล่องเท่ากับ 1.06 เท่า

การวัดส่วนทุนหมุนเวียน ข้อสังเกต การวัดส่วนทุนหมุนเวียน การวิเคราะห์อัตราส่วนทุนหมุนเวียนมีจุดอ่อนประการหนึ่ง คือ ไม่ได้มีการพิจารณาการเคลื่อนไหวของรายการต่างๆ ที่ประกอบกันเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนที่มีผลกระทบต่อสภาพคล่องทางการเงินด้วย นั่นคือระยะเวลา ที่ใช้ในการเปลี่ยนสภาพลูกหนี้ และสินค้าคงเหลือให้เป็นเงินสด การวิเคราะห์อัตราส่วนสภาพคล่องแต่เพียงอย่างเดียว อาจก่อให้เกิดความหลงผิดได้ ผู้วิเคราะห์จึงควรนำอัตราส่วนที่เกี่ยวข้องมาพิจารณาประกอบ อันได้แก่ อัตราหมุนของลูกหนี้ อัตราหมุนของสินค้าคงเหลือ มาใช้ประกอบการประเมินสภาพคล่องนอกเหนือไปจากอัตราส่วนสภาพคล่องทางการเงิน

22. อัตราหมุนของสินค้า (ครั้ง) สินค้าคงเหลือสุทธิถัวเฉลี่ย ต้นทุนสินค้าขาย สินค้าคงเหลือสุทธิถัวเฉลี่ย ต้นทุนสินค้าขาย ได้จาก งบกำไรขาดทุน รายการต้นทุนสินค้าขาย/บริการ สินค้าคงเหลือสุทธิถัวเฉลี่ย ได้จาก งบดุล รายการสินค้าคงเหลือปีปัจจุบัน+ปีก่อน/2 เป็นอัตราส่วนที่ใช้วัดความสามารถในการเปลี่ยนสินค้าเป็นเงินสด ทำให้ทราบว่าสหกรณ์สามารถจำหน่ายสินค้าได้คล่องเพียงใด ซึ่งแสดงถึง ประสิทธิภาพในการจัดการสินค้า การวิเคราะห์อัตราส่วนนี้ โดยแยกเป็นแต่ละประเภทสินค้าจะทำให้ เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น

22. อัตราหมุนของสินค้า (ครั้ง) (ต่อ) กรณีอัตราหมุนของสินค้ามีผลลัพธ์สูง หรือมีจำนวนครั้งมากแสดงว่า สหกรณ์จำหน่ายสินค้าได้เร็ว ส่งผลให้ยอดขายและผลกำไรเพิ่มขึ้น แต่หาก เป็นผลมาจากสาเหตุอื่น เช่น จำหน่ายสินค้าลดราคา มีสินค้าเสื่อมสภาพ ชำรุด ล้าสมัย เก็บรักษาสินค้าไว้น้อยเกินไปอาจทำให้เกิดความเสียหาย หรือเสียโอกาสในการทำกำไรได้ กรณีอัตราส่วนนี้มีผลลัพธ์ต่ำ หรือมีจำนวนครั้งน้อยแสดงว่าสหกรณ์ มีเงินทุนจมในสินค้ามากเกินไป ส่งผลต่อยอดขายและผลกำไรของสหกรณ์ และอาจมีค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสินค้าเพิ่มขึ้น หรือมีสินค้าเสื่อมสภาพ ชำรุด ล้าสมัย

ตัวอย่าง ปี อัตราหมุนของสินค้า 25x2 4.46 ครั้ง 25x1 4.61 ครั้ง

23. อายุเฉลี่ยสินค้า(ระยะเวลาในการขายโดยเฉลี่ย) (วัน) 365 อัตราหมุนของสินค้า 365 ได้จาก 1 ปี มี 365 วัน หรือ 366 วัน (ตามปีปฏิทิน) อัตราหมุนของสินค้า ได้จาก ต้นทุนสินค้าขาย/สินค้าคงเหลือสุทธิถัวเฉลี่ย เป็นอัตราส่วนที่แสดงว่า สหกรณ์ใช้ระยะเวลาในการขายสินค้า ออกไปให้ได้โดยเฉลี่ยเท่าใด กรณีอายุเฉลี่ยสินค้ามีผลลัพธ์น้อย หรือระยะเวลาในการขาย โดยเฉลี่ยน้อย แสดงถึงการได้มาซึ่งเงินจากการขายสินค้าเร็ว

ตัวอย่าง ปี อายุเฉลี่ยสินค้า 25x2 81.84 วัน 25x1 79.18 วัน ในปี 25x2 อายุเฉลี่ยสินค้า 81.84 วัน เมื่อเปรียบเทียบกับปี 25x1 ซึ่งมีอายุเฉลี่ยสินค้า 79.18 วัน จะเห็นว่าในปี 25x2 มีระยะเวลาในการขายสินค้าโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ทำให้ได้เงินจากการขายสินค้าช้าลง จึงควรเพิ่มประสิทธิภาพในการขายสินค้าเพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาสินค้าเสื่อมสภาพ ชำรุด หรือล้าสมัย และควรสำรวจความต้องการของสมาชิกเพื่อจัดหาสินค้ามาจำหน่ายได้ตรงตามความต้องการในปริมาณที่เหมาะสม

24. อัตราหมุนของลูกหนี้ ครั้ง 24. อัตราหมุนของลูกหนี้ ครั้ง = ยอดขายเชื่อสุทธิ ครั้ง ลูกหนี้การค้าสุทธิถัวเฉลี่ย ยอดขายเชื่อสุทธิ ได้จาก การขายสินค้าเป็นเงินเชื่อแก่สมาชิกทั้งสิ้นระหว่างปี ลูกหนี้การค้าสุทธิถัวเฉลี่ย ได้จาก งบดุล รายการลูกหนี้การค้าสุทธิปีปัจจุบัน+ปีก่อน/2

24. อัตราหมุนของลูกหนี้ (ครั้ง) (ต่อ) อัตราหมุนของลูกหนี้ใช้วัดความสามารถของกิจการในการเก็บหนี้ โดยจะวัดในรูปของจำนวนครั้งในระหว่างปี และจำนวนวันที่เก็บหนี้ได้ อัตราส่วนนี้เป็นสิ่งบ่งบอกประสิทธิภาพในการจัดเก็บหนี้ หรือคุณภาพของลูกหนี้ เช่น ลูกหนี้บางรายอาจไม่ให้ความร่วมมือ หรือคอยบ่ายเบี่ยงอยู่ตลอดเวลาหรือฐานะการเงินของลูกหนี้อาจตกต่ำ ฯลฯ ยิ่งอัตราหมุนของลูกหนี้สูงเท่าใด แสดงว่าสหกรณ์มีความสามารถในการติดตามหนี้มีประสิทธิภาพ

ตัวอย่าง ปี อัตราหมุนของลูกหนี้ 25x2 27.84 ครั้ง 25x1 25.18 ครั้ง 27.84 ครั้ง 25x1 25.18 ครั้ง ในปี 25x2 อัตราหมุนของลูกหนี้ 27.84 ครั้ง เมื่อเปรียบเทียบกับปี 25x1 ซึ่งมี อัตราหมุนของลูกหนี้ 25.18 ครั้ง จะเห็นว่าในปี 25x2 มีอัตราหมุนของลูกหนี้จำนวนครั้งที่เพิ่มขึ้น ได้รับเงินจากลูกหนี้การขายสินค้าเป็นเงินเชื่อเร็วขึ้น ทำให้เห็นประสิทธิภาพในการเร่งรัด หรือเข้มงวดในการจัดเก็บหนี้มากขึ้น

24. อัตราหมุนของลูกหนี้ (ครั้ง) (ต่อ) ข้อควรคำนึงสำหรับการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับปีก่อน ก็คือ ภาวะเศรษฐกิจหรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น และส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ

365 อัตราหมุนของลูกหนี้ 25. ระยะเวลาจัดเก็บหนี้โดยเฉลี่ย (วัน) เป็นอัตราส่วนที่แสดงว่า สหกรณ์ใช้ระยะเวลาในการเก็บหนี้ได้ โดยเฉลี่ยเท่าใด กรณีอายุเฉลี่ยการเก็บหนี้น้อย หรือระยะเวลาในการเก็บหนี้ โดยเฉลี่ยน้อย แสดงถึงการได้มาซึ่งเงินจากลูกหนี้เร็ว

ข้อจำกัดของการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินไม่สามารถบอก ได้ว่าอัตราส่วนใดมีประโยชน์ หรือสำคัญน้อยที่สุด ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์ และการใช้อัตราส่วนใดเพียงอัตราส่วนเดียวไม่สามารถชี้ได้ว่าฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของสหกรณ์เป็นอย่างไร ต้องอาศัยอัตราส่วนอื่นๆ ที่มีความสัมพันธ์เข้ามาช่วย เสริมด้วย

สวัสดี