การสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางประวัติศาสตร์สากล หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒ การสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางประวัติศาสตร์สากล จุดประสงค์การเรียนรู้ สร้างองค์ความรู้ใหม่ทางประวัติศาสตร์ โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์อย่างเป็นระบบได้ 1
ความสำคัญและประโยชน์ของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ไม่ใช่วิชาที่หยุดนิ่งหรือตายตัว แต่เป็นวิชาที่ต้องมีการศึกษาค้นคว้าใหม่ๆอยู่เสมอ เพื่ออธิบายเหตุการณ์หรือปัญหาที่เกิดขึ้น ประวัติศาสตร์จึงเป็นวิชาที่ต้องศึกษาให้สอดคล้องกับเวลาที่เปลี่ยนไป เพื่อจะสามารถอธิบายเหตุการณ์ได้ เหมือนกับการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ศึกษาปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น สิ่งที่สืบค้นเกี่ยวกับอดีตจึงจะนับได้ว่าเป็นความรู้ ไม่ใช่ข่าวลือหรือเรื่องเล่าต่อๆ กันมา ซึ่งไม่คำนึงถึง เรื่องความคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริงนัก
การกำหนดหัวเรื่องที่จะศึกษา ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ การกำหนดหัวเรื่องที่จะศึกษา เริ่มจากความสงสัย อยากรู้ หรือไม่พอใจ คำอธิบายที่มีแต่เดิม กำหนดประเด็น ควรกำหนดกว้างๆ ในตอนแรก แล้วกำหนดให้แคบลง เพื่อความชัดเจน ในภายหลัง กำหนดหัวเรื่องอาจเกี่ยวกับเหตุการณ์ บุคคลสำคัญ ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ที่ผู้ศึกษาเห็นว่าสำคัญ และเหมาะสม
การรวบรวมหลักฐาน รวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับหัวข้อที่ จะศึกษา รวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับหัวข้อที่ จะศึกษา หลักฐานมีทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษร และไม่เป็น ลายลักษณ์อักษร หลักฐานแบ่งออกเป็นหลักฐานชั้นต้นและหลักฐานชั้นรอง หลักฐานชั้นรองช่วยให้เข้าใจหลักฐานชั้นต้นได้ง่ายขึ้น
การประเมินคุณค่าของหลักฐาน การวิพากษ์วิธีภายนอก เป็นขั้นตอนพิจารณาเริ่มแรก ว่าหลักฐานที่ได้มานั้นเป็นของจริงหรือของปลอม หรือหลักฐานที่กล่าวกันว่าบุคคลนั้น เขียนหรือทำขึ้น แท้จริงแล้วเป็นเช่นนั้นหรือไม่ การวิพากษ์วิธีภายใน เป็นการประเมินคุณค่าหลักฐานว่าให้ข้อมูลอะไรแก่ผู้ค้นคว้าบ้าง ข้อมูลนั้นๆมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด เป็นการตรวจสอบองค์ประกอบของหลักฐานเกี่ยวกับเวลา สถานที่และบุคคล
การวิเคราะห์ สังเคราะห์และจัดหมวดหมู่ข้อมูล ผู้ศึกษาต้องวิเคราะห์ข้อมูลในหลักฐานนั้น ให้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์อะไรบ้าง ข้อมูลนั้นมีความสมบูรณ์เพียงใด ข้อมูลนั้นมีจุดหมายเบื้องต้นอย่างไร จากนั้นนำข้อมูลทั้งหลายมาจัดหมวดหมู่ ผู้ศึกษาควรมีความรอบคอบ รอบรู้และวางตัวเป็นกลางในการศึกษาข้อมูล
การเรียบเรียงหรือการนำเสนอ เพื่อนำเสนอเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ศึกษา ควรใช้ศิลปะในการใช้ภาษาเพื่ออธิบายเหตุการณ์อย่างมีระบบ มีการโต้แย้งหรือสนับสนุนผลการศึกษาแต่เดิมโดยมีข้อมูลสนับสนุน อย่างมีน้ำหนักและเป็นกลาง สรุปผลการศึกษาว่าสามารถให้คำตอบต่อข้อสงสัยได้เพียงใด
ประเภทและแหล่งรวบรวมหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หลักฐานทางประวัติศาสตร์สากล ประเภทและแหล่งรวบรวมหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หลักฐานชั้นต้นหรือหลักฐานปฐมภูมิ เกิดขึ้นในช่วงที่ต้องการจะศึกษา และเขียนขึ้นโดยบุคคลที่อยู่ร่วมในเหตุการณ์ มีทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษร และที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร หลักฐานชั้นต้นที่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นหลักฐานที่ได้รับความเชื่อถือมาก หลักฐานชั้นรองหรือหลักฐานทุติยภูมิ เป็นหลักฐานที่ทำขึ้นภายหลังจากเหตุการณ์ หลักฐานชั้นรองมีทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษร และไม่เป็นลายลักษณ์อักษร การระบุว่าหลักฐานที่มีอยู่เป็นหลักฐานชั้นต้นหรือชั้นรองนั้น ให้คำนึงว่าหลักฐานนั้นผลิตขึ้นหรือมีอยู่ร่วมสมัยกับเหตุการณ์ที่ต้องการศึกษาหรือไม่ และไม่มีการเรียบเรียงขึ้นมาใหม่
ตัวอย่างหลักฐานทางประวัติศาสตร์สากล ๑ สมัยโบราณ เฮโรโดตุส (Herodotus) ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งประวัติศาสตร์” ในโลกตะวันตกได้เขียนผลงานที่สำคัญ คือ สงครามเปอร์เซียหรือประวัติศาสตร์สงครามเปอร์เซีย (The Persian Wars หรือ History of Persian Wars) ผู้แปล คือ นายชำนาญ อินทุโศภณ พิมพ์ ๒ เล่มจบ ผู้แปลเป็นภาษาไทยชื่อว่า ตำนานของเฮโรโดตัส
๒ สมัยกลาง ๑. ประวัติศาสตร์ของพวกแฟรงก์ เขียนโดยบาทหลวงเกรเกอรีแห่งเมืองตูร์ อธิบายความเปลี่ยนแปลงของพวกแฟรงก์ จากการเป็นอนารยชนมาเป็นการตั้งอาณาจักรให้เป็นเอกภาพ ๒. แมกนา คาร์ตา เป็นกฎบัตรเพื่อจำกัดพระราชอำนาจของกษัตริย์ อีกทั้งเป็นการประกัน สิทธิและเสรีภาพของประชาชนไม่ให้ถูกเจ้าหน้าที่รัฐรังแก
๓ สมัยใหม่ ๑. คำประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกา เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่สำคัญมาก เพราะเป็นการประกาศสิทธิพื้นฐานของมนุษยชน ๒. รัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา มีความสำคัญต่อรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยในประเทศต่างๆ ๓. ประวัติศาสตร์ความเสื่อมและการสิ้นสุดของจักรวรรดิโรมัน โดย เอ็ดวาร์ด กิบบอน ได้สรุปปัจจัยสำคัญที่ทำให้จักรวรรดิโรมันเสื่อมและสิ้นสุด คือ การขยายตัวของคริสต์ศาสนา
๔ สมัยปัจจุบัน ๑. อารยธรรมและทุนนิยม คริสต์ศตวรรษที่ ๑๕-๑๘ โดย เฟอร์นานด์ โบรเดล ชาวฝรั่งเศส เห็นว่าวิธีการเขียนประวัติศาสตร์ที่ดี คือ ความพยายามเข้าใจสังคมในภาพรวมและระบบความสัมพันธ์ต่อกัน ๒. ศึกษาประวัติศาสตร์ โดย อาร์โนลด์ ทอยน์บี ชาวอังกฤษ เป็นการศึกษาความรุ่งเรือง และความเสื่อมโทรมของสังคมในอดีตจำนวนมาก ๓. หลักฐานเกี่ยวกับยุคจักรวรรดินิยม มีอยู่ในหนังสือประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่ หรือในหนังสือประวัติศาสตร์อารยธรรมโลกสมัยใหม่
ตัวอย่างการศึกษาโดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ การกำหนดหัวเรื่องที่จะศึกษา ๑ สมมติว่าสนใจศึกษาเรื่องราวของบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ จักรพรรดินโปเลียนที่ ๑ อาจตั้งหัวข้อในการค้นคว้าว่า “บทบาท ของจักรพรรดินโปเลียนที่ ๑ เพื่อชาติหรือเพื่อวงศ์ตระกูล” การรวบรวมหลักฐาน ๒ หลักฐานชั้นต้นและหลักฐานชั้นรองหลายชิ้นอาจสืบค้นได้จาก อินเทอร์เน็ตนอกเหนือจากห้องสมุดของสถานศึกษาต่างๆ การประเมินคุณค่าของหลักฐาน ๓ เป็นการประเมินคุณค่าของหลักฐานที่ได้รวบรวมมาว่า มีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และจัดหมวดหมู่ข้อมูล ๔ ต้องสำรวจข้อมูลในมือที่คัดเลือกไว้แล้วว่าเนื้อความเป็นอย่างไร ไปในทิศทางเดียวกันหรือขัดแย้งกัน อาจจัดข้อมูลเป็นกลุ่มหรือ หัวข้อหรือประเด็น การเรียบเรียงหรือการนำเสนอ ๕ ขั้นนี้จะเป็นการตอบโจทย์ที่ตั้งไว้แต่แรก
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ https://www.youtube.com/watch?v=IaH6mYhVr5c