Vernier เวอร์เนียร์ คือเครื่องมือที่ใช้วัดระยะ (distance) หรือ ความยาว (length) ให้ได้ค่าอย่างละเอียด เวอร์เนียร์ต่างจากไม้บรรทัดทั่วๆไป เพราะมี 2 สเกล.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
บทที่ 5 การดำรงชีวิตของพืช
Advertisements

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ ประกาศราชกิจจานุเบกษา วันที่ 22 พฤษภาคม.
Inkjet Printer. Inkjet โดย 1. นางสาววิจิตรา ขจร นางสาววิภาพรรณ คิดหมาย นางสาวศรัญญา มิตรเจริญ พันธ์
หน่วยที่ 3 ความคลาดเคลื่อน ความถูกต้อง ความเที่ยงตรง และความไว.
เป็นหลักสำคัญในการนำเสนอเนื้อหา ของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนก็คือ ควร นำเสนอภาพที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา ประกอบ กับคำอธิบายสั้นๆ ง่ายๆ แต่ได้ใจความ การใช้ภาพประกอบจะทำให้ผู้เรียน.
หน่วยที่ 4 เครื่องวัดไฟฟ้าชนิดขดลวดเคลื่อนที่
การพัฒนาทักษะการคำนวณเรื่องระบบเลขฐาน โดยใช้แบบฝึกทักษะของนักศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคโนโลยีพาณิชยการลานนา.
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 หลักการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์
การทดลองในวิชาฟิสิกส์
การบริหารการค้าปลีกและการค้าส่ง
Plant layout Design.
การใช้งาน Microsoft Excel
ครั้งที่ 7 รีจิสเตอร์ (REGISTER). รีจิสเตอร์ (Register) รีจิสเตอร์เป็นวงจรความจำที่ใช้ในการเก็บค่า ทางไบนารี่ ใช้ในการเก็บค่าในระหว่างการ ประมวลผลโดยใช้ฟลิป.
โปรแกรมคำนวณคะแนน สหกรณ์ ตามเกณฑ์ดีเด่นแห่งชาติ กรมส่งเสริม สหกรณ์ กองพัฒนาสหกรณ์ด้านการเงิน และร้านค้า วิธีการใ ช้
เรื่องที่ครอบคลุม การซื้อขายสินค้าในตลาดแข่งขันสมบูรณ์
Adaptive Software Development. วงจรชีวิตของการพัฒนาซอฟแวร์ หรือ Software Development Life Cycle (SDLC) เป็นโครง ร่างหรือแนวทางวิธีการ เพื่อใช้ทำความเข้าใจและเพื่อ.
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ วิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเฉลิมราชประชาอุทิศ.
การเลือกข้อมูลจาก List การกำหนดเงื่อนไขการป้อนข้อมูลด้วย Data Validation การใส่ Comment / แสดง / แก้ไข / ลบ.
1. รู้ถึงความต้องการของตัวเอง ก่อนก่อนเริ่มต้นออกแบบ เมื่อคุณเริ่มคิดจะออกแบบโบรชัวร์ออกมาอย่างไร ให้เริ่มต้น สอบถามลูกค้าของคุณก่อนว่าทำไม เค้าต้องการโบร์ชัวร์
LOGO ภาษาซี 1.1 อ. กฤติเดช จินดาภัทร์. LOGO ตัวอย่างโค้ดภาษาซี
สาธิตการใช้โปรแกรมฐานข้อมูล
แบบจำลองอะตอม ครูวนิดา อนันทสุข.
สถิติเบื้องต้นสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล
stack #2 ผู้สอน อาจารย์ ยืนยง กันทะเนตร
เครื่องวัดความถี่ไฟฟ้า Frequency Meter
องค์ประกอบและเทคนิคการทำงาน
เครื่องวัดแบบชี้ค่าศูนย์
Content Team: คู่มือการป้องกันสินค้าลอกเลียนแบบ 9 July 2015
ความเค้นและความเครียด
สารอินทรีย์ สารประกอบอินทรีย์ที่มีธาตุออกซิเจนเป็นองค์ประกอบ ได้แก่
แนวทางการออกแบบโปสเตอร์
DC Voltmeter.
บทที่ 1 หน่วยผลิตและทางเลือกภายใต้โครงสร้างตลาด
QUEUE คิวจะมีโครงสร้างแบบเชิงเส้นเหมือน stack แต่แตกต่างตรงที่ queue มีตัวชี้ 2 ตัวคือ หัว(Head) และหาง(Tail) โดยการใส่ข้อมูลเข้าและนำข้อมูลออก จะมีลักษณะ.
เครื่องมือช่างยนต์ (Auto Mechanic hand tools)
การจัดการควบคุมคุณภาพข้อมูล
พารามิเตอร์สายส่ง Transmission Line Parameters
บทที่ 8 เงื่อนไขตัดสินใจ
B92 Protocol Alice สุ่ม string a string a (data bits)
ชุดที่ 1 ไป เมนูรอง.
วิธีการกรอกแบบเสนอโครงการในไฟล์ Power point นี้
การบริหารโครงการซอฟต์แวร์
ชั้น G ปารีส ศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 โคราช
Data storage II Introduction to Computer Science ( )
บทที่ 9 การทำซ้ำ (Loop).
State Table ตารางสถานะ ปรับปรุง 18 เมษายน 2562
SMS News Distribute Service
บทที่7 ทฤษฎีกราฟเบื้องต้น
วัฏจักรหิน วัฏจักรหิน : วัดวาอาราม หินงามบ้านเรา
เสียงในภาษา วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ครูกิ่งกาญจน์ สมจิตต์
การปรับปรุงพื้นที่ทุรกันดาร 2559 นายแพทย์สงกรานต์ ไหมชุม
BASIC STATISTICS MEAN / MODE / MEDIAN / SD / CV.
บทที่ 9 การเรียงลำดับข้อมูล (Sorting)
บทที่ 3 โรงเรือนและอุปกรณ์โคเนื้อ
บทที่ 6 เงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน
งานนำเสนอสำหรับโครงการ นิทรรศการวิทยาศาสตร์
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การกำหนดประเด็นปัญหา
ค่ารูรับแสง - F/Stop ค่ารูรับแสงที่มีค่าตัวเลขต่ำใกล้เคียง 1 มากเท่าไหร่ ค่าของรูรับแสงนั้นก็ยิ่งมีความกว้างมาก เพราะเราเปรียบเทียบค่าความสว่างที่ 1:1.
บทที่ 10 การแบ่งปัญหาใหญ่ออกเป็นปัญหาย่อยและการสร้างลำดับขั้นตอนย่อย
ยิ้มก่อนเรียน.
การสเก็ตภาพสามมิติ(Three-Dimensional Pictorials )
บทที่ 4 การจำลองข้อมูลและกระบวนการ (Data and Process Modeling)
การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน การเขียนโปรแกรมแบบทางเลือก
โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีถนนรีไซเคิลเพื่อลดขยะพลาสติกใน 4 ภูมิภาค
กิจกรรมที่ 12 รวบรวมข้อมูลอย่างไรกันดี
Electrical Instruments and Measurements
บทที่ 7 การบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์ของเสียง Doppler Effect of Sound
ใบสำเนางานนำเสนอ:

Vernier เวอร์เนียร์ คือเครื่องมือที่ใช้วัดระยะ (distance) หรือ ความยาว (length) ให้ได้ค่าอย่างละเอียด เวอร์เนียร์ต่างจากไม้บรรทัดทั่วๆไป เพราะมี 2 สเกล สเกลแรก เรียกกันว่า สเกลหลัก มีลักษณะเหมือนสเกลของไม้บรรทัดแบบทั่วๆไป สเกลที่สอง เรียกกันว่า สเกลเวอร์เนียร์ เป็นสเกลที่ใช้ช่วยอ่านค่าให้แม่นยำมากขึ้น

Vernier & Ruler ไม้บรรทัดทั่วไป มีเพียงสเกลหลักเท่านั้น สเกลเวอร์เนียร์ สเกลหลัก เวอร์เนียร์ มีสเกลหลักและสเกลเวอร์เนียร์ช่วยอ่านค่า

การอ่านค่าจากไม้บรรทัด จากภาพ ค่าที่อ่านได้ควรเป็น 4.8 หรือ 4.9 เซนติเมตร แต่อาจจะประมาณเป็น 4.87 เซนติเมตรก็ได้ แต่ค่าตัวเลขสุดท้าย (เลข 7) เป็นค่าที่ได้จากการคาดคะเน

การอ่านค่าจากเวอร์เนียร์ จากภาพ เรามีเวอร์เนียร์ที่อ่านได้ละเอียด 0.01 เซนติเมตรเนื่องจากมีสเกลเวอร์เนียร์ที่ช่วยในการอ่านค่า ค่าที่อ่านได้ คือ 4.86 เซนติเมตร ค่าที่อ่านได้ละเอียด 0.01 เซนติเมตร คือ Least count ของเวอร์เนียร์อันนี้

เวอร์เนียร์ที่ Least count อ่านได้ 1/128 นิ้ว Least Count of Vernier เวอร์เนียร์ที่ Least count อ่านได้ 1/128 นิ้ว

Least Count of Vernier (2)

การหาค่าของ Least Count Least Count = S/n เมื่อ S คือ ค่าความยาว 1 ช่องของ main scale และ n คือ จำนวนช่องทั้งหมดบน vernier scale จากรูป S = 0.1 cm และ n = 10 ช่อง ทำให้ least count = 0.01 cm

อีกตัวอย่างของการหาค่า Least count ตามรูป S = 0.1 cm และ n = 20 ช่อง เราจึงได้ Least count = 0.1/20 = 0.005 cm

Mathematic of Vernier โดยทั่วไป นอกจากเราจะมี Least count = S/n แล้ว เรายังมี Least count = S - V เมื่อ S คือความยาว 1 ช่องของสเกลหลัก และ V คือความยาว 1 ช่องของสเกลเวอร์เนีย ดังนั้น S - V = S/n nS - nV = S nS - S = nV nV = (n-1)S สมการนี้เราจะใช้ในการสร้างสเกลเวอร์เนีย ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเรามี เวอร์เนียที่มี n เท่ากับ 8 ช่อง เราจะได้ 8V = 7S ซึ่งหมายความว่า เราจะต้องนำความยาว 7 ช่องของสเกลหลัก มาแบ่งเป็น 8 ช่องเท่าๆกันสำหรับสเกลเวอร์เนีย

หลักการทำงานของเวอร์เนีย จากรูป เราจะเห็นได้ว่า ระยะ 8 ช่องของสเกลเวอร์เนีย จะเท่ากับ 7 ช่องของสเกลหลัก S = 1/16 และ n = 8 ทำให้ เวอร์เนียนี้มีค่า Least count หรือ LC เท่ากับ 1/128 จาก LC = S - V และ จากรูป ขีด 0 ของสเกลหลักและสเกลเวอร์เนีย อยู่ตรงกัน ตำแหน่งขีดที่ 1 ของสเกลหลัก จะยาวกว่า ตำแหน่งขีดที่ 1 ของสเกลเวอร์เนีย อยู่ 1 LC ตำแหน่งขีดที่ 2 ของสเกลหลัก จะยาวกว่า ตำแหน่งขีดที่ 2 ของสเกลเวอร์เนีย อยู่ 2 LC

หลักการทำงานของเวอร์เนีย (ต่อ) คำถาม ตามภาพ ตำแหน่งของขีดที่ 5 ของเวอร์เนีย จะห่างจากขีดที่ 5 บนสเกลหลักกี่ LC? โปรดสังเกต ถ้าตำแหน่งขีด 0 ของสเกลเวอร์เนีย อยู่ตรงกับขีดของสเกลหลัก ตำแหน่งของขีดที่ 1 ถึงขีดที่ 7 จะไม่ตรงกับขีดใดๆบนสเกลหลักเลย

หลักการทำงานของเวอร์เนีย (ต่อ) จากรูป จะเห็นได้ว่า ขีด 0 ของเวอร์เนียไม่ตรงกับขีดบนสเกลหลัก แต่ขีดที่ 1 อยู่ตรงกับขีดบนสเกลหลักแทน แสดงว่าขีด 0 เลื่อนออกมาจากตำแหน่งเดิมเป็นระยะ 1 LC ค่าที่อ่านได้ คือ 1/128 นิ้ว โปรดสังเกต ถ้าตำแหน่งขีดที่ 1 ของสเกลเวอร์เนีย อยู่ตรงกับขีดของสเกลหลัก ตำแหน่งของขีดอื่นๆของสเกลเวอร์เนีย จะไม่ตรงกับขีดใดๆบนสเกลหลักเลย

หลักการทำงานของเวอร์เนีย (ต่อ) จากรูป จะเห็นได้ว่า ขีด 0 และ ขีดที่ 1 ของเวอร์เนียไม่ตรงกับขีดบนสเกลหลัก แต่ขีดที่ 2 อยู่ตรงกับขีดบนสเกลหลักแทน แสดงถึงว่าขีด 0 เลื่อนออกมาตำแหน่งเดิมเป็นระยะ 2 LC ค่าที่อ่านได้ คือ 2/128 นิ้ว โปรดสังเกต ถ้าตำแหน่งขีดที่ 2 ของสเกลเวอร์เนีย อยู่ตรงกับขีดของสเกลหลัก ตำแหน่งของขีดอื่นๆของสเกลเวอร์เนีย จะไม่ตรงกับขีดใดๆบนสเกลหลักเลย

หลักการทำงานของเวอร์เนีย (ต่อ) จากรูป จะเห็นได้ว่า ขีด 0 และ ขีดอื่นๆ ของเวอร์เนียไม่ตรงกับขีดบนสเกลหลัก เว้นแต่ขีดที่ 7 อยู่ตรงกับขีดบนสเกลหลักแทน แสดงถึงว่าขีด 0 เลื่อนออกมาตำแหน่งเดิมเป็นระยะ 7 LC ค่าที่อ่านได้ คือ 7/128 นิ้ว โปรดสังเกต ถ้าตำแหน่งขีดที่ 0 ของสเกลเวอร์เนีย เลื่อนเพิ่มไปอีก 1 LC ขีด 0 จะอยู่ตรงกับขีดของสเกลหลักอีกครั้ง และเราจะอ่านค่าได้ เป็น 8/128 หรือ 1/16 นิ้ว และจะเริ่มการอ่านค่าเป็น n/128 นิ้ว เพิ่มเติมเข้าไปถ้า ขีด 0 อยู่ระหว่างช่องของสเกลหลัก และ ขีดที่ n ของเวอร์เนียตรงกับขีดใดขีดหนึ่งของสเกลหลัก

หลักการทำงานของเวอร์เนีย (ต่อ) จากรูป จะเห็นได้ว่า ขีด 0 อยู่เลยตำแหน่ง ขีดที่ 1 ของสเกลหลัก และขีดที่ 3 ของสเกลเวอร์เนียอยู่ตรงกับขีดบนสเกลหลักแทน ค่าที่อ่านได้ คือ 1/16+ 3/128 นิ้ว

ทดสอบการอ่านค่าเวอร์เนีย ตามรูป ค่าที่อ่านได้คือกี่นิ้ว? ค่าที่อ่านได้คือ 1+2/16+5/128 นิ้ว

อีกตัวอย่างของการอ่านเวอร์เนีย ตามรูป ค่าที่อ่านได้คือกี่เซนติเมตร? ค่าที่อ่านได้คือ 3.74 เซนติเมตร

อีกตัวอย่างของการอ่านเวอร์เนีย เวอร์เนียนี้มีค่า Least count = 0.005 cm ตามรูป ค่าที่อ่านได้คือกี่เซนติเมตร? ค่าที่อ่านได้คือ 3.745 เซนติเมตร

การสร้างเวอร์เนีย เวอร์เนียประกอบด้วยสเกล 2 สเกล คือ สเกลหลัก กับสเกลเวอร์เนีย สเกลหลักจะมีขีดแบ่งเหมือนสเกลมาตรฐานทั่วไป คือเป็น มิลลิเมตรหรือ เซนติเมตร หรือ นิ้ว ทำให้จัดสร้างขึ้นได้ง่าย แต่สเกลเวอร์เนียจะมีค่าที่แตกต่างไปจากสเกลหลักเล็กน้อย ทำให้จัดสร้างได้ยากกว่า โดยทั่วไป เราจะใช้สมการ nV = (n-1)S ในการจัดสร้างสเกลเวอร์เนีย เช่น ถ้าเรามี n = 10 เราจะได้ 10V = 9S ซึ่งหมายถึง จะต้องนำความยาว 9 ช่องของสเกลหลักมาแบ่งเป็น 10 ช่องเท่าๆกัน เพื่อใช้เป็นสเกลเวอร์เนีย

เปรียบเทียบสเกลหลักกับสเกลเวอร์เนีย ในรูป เราจะเห็นได้ชัดว่าสเกลของเวอร์เนีย สั้นกว่าสเกลหลัก และจะเห็นได้ว่า 10 ช่องของสเกลเวอร์เนียจะยาวเท่ากับ 9 ช่องของสเกลหลัก ในตัวอย่างนี้ ค่า V = 0.09 เซนติเมตร และ S = 0.1 เซนติเมตร

การขยายสเกลเวอร์เนีย ถ้าเราต้องการวัดได้ละเอียดมากขึ้นเป็น 1/200 หรือ 0.005 เซนติเมตร เราอาจทำได้โดยการเพิ่มจำนวนช่องของเวอร์เนีย จาก 10 เป็น 20 ช่อง จากสมการ nV = (n-1)S เราจะได้ 20V = 19S ซึ่งหมายถึงเราต้องนำ 19 ช่องของสเกลหลัก มาแบ่งเป็น 20 ช่องของสเกลเวอร์เนีย จำนวนช่องที่มากขึ้นอาจจะทำให้การแบ่งความยาว 19 มิลลิเมตรทำได้ยาก บางครั้งเราจึงนำเทคนิคการขยายสเกลมาใช้ ถ้าเราจะขยายสเกลเป็น 2 เท่า สมการ nV = (n-1)S จะถูกเปลี่ยนไปเป็น nV = (2n-1)S ในที่นี้ เราจะได้ 20V = 39S นั่นคือ เราจะนำความยาว 39 มิลลิเมตร มาแบ่งเป็น 20 ช่องเท่าๆกัน เพื่อเป็นสเกลเวอร์เนีย

ตัวอย่างของการขยายสเกลเวอร์เนีย จากรูป เราจะเห็นได้ว่า ความยาว 20 ช่องของสเกลเวอร์เนียจะยาวเท่ากับ 39 ช่อง หรือ 39 มิลลิเมตรบนสเกลหลัก ค่าความยาว 1 ช่องของเวอร์เนีย (V) จะยาวเท่ากับ 1.95 มิลลิเมตร หรือ 0.195 เซนติเมตร ซึ่งจะสั้นกว่า 2 ช่อง (2 mm) ของสเกลหลักอยู่ 0.005 เซนติเมตร การอ่านค่าจะมีผลเหมือนกับการอ่านค่าจากเวอร์เนียทั่วๆไป