โดยอาจารย์ฐิติพร วัฒนชัย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เครื่องหมายการค้า TM โดยอาจารย์ฐิติพร วัฒนชัย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ความรู้เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า 1. เครื่องหมายการค้ามีความสำคัญอย่างไร 2. เครื่องหมายการค้าคืออะไร และ ได้มาอย่างไร 3. การคุ้มครองสิทธิในเครื่องหมายการค้า 4. อายุความคุ้มครองและการต่ออายุ 5. การละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้า
1. เครื่องหมายการค้ามีความสำคัญอย่างไร? เพื่อจำแนกหรือแยกให้เห็นว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างจากสินค้าของผู้อื่น เพื่อบ่งบอกให้สาธารณชนได้รู้ว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นเป็นสินค้าของผู้ใด เพื่อมีผลให้สาธารณชนได้คาดเห็นถึงคุณภาพของสินค้า เพื่อผลในการส่งเสริมการขายหรือการประชาสัมพันธ์สินค้า
“ เครื่องหมาย ”(mark) ภาพถ่าย ภาพวาด ภาพประดิษฐ์ ตรา ชื่อ คำ ข้อความ ตัวหนังสือ ตัวเลข ลายมือชื่อ กลุ่มของสี รูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุ เสียง หรือสิ่งเหล่านี้ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ( พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 4 )
2. เครื่องหมายการค้าคือ......... 2. เครื่องหมายการค้าคือ......... ( พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 4 )
.....2.เครื่องหมายการค้า ได้มาอย่างไร? การได้มาซึ่งสิทธิในเครื่องหมายการค้ามี 2 ลักษณะ การได้มาโดยการใช้ - การนำเครื่องหมายการค้าไปใช้กับสินค้าหรือได้มีการโฆษณาโดยใช้เครื่องหมายการค้าให้เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชน การได้มาโดยการจดทะเบียน
การได้มาโดยการใช้
การได้มาโดยการจดทะเบียน พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 8
ตัวอย่างเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกัน “SOSO” รายการสินค้ากุญแจโลหะ กับ “SOLO” รายการสินค้า กรรไกร คีม ไขควง (ฎ. 6934/2549) “ROZA กับ “ROSA” (ฎ. 385/ 2549) “TWIST” กับ “TWISTER” สินค้าจำพวกเดียวกัน (ฎ.7936-7937/2537) “MICHELIN” กับ “Michaeler” สินค้ายาง (ฎ.10657/2546) “ZENTEL” กับ “ZENTAB” สินค้าจำพวกเดียวกัน (ฎ. 8902/2543)
กระบวนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
ตัวอย่างหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียน เครื่องหมายการค้า หมอนหน้าคน และ พวงกุญแจฮักมี ทำด้วยวิธีการเย็บ, ปักทุกชิ้นส่วน ประกอบจนเป็นหมอนหน้าคน และ พวงกุญแจ ที่เป็นหน้าคุณเองหรือคนที่คุณรัก
3.การคุ้มครองสิทธิในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียน 1.มีขอบเขตเท่าที่กฎหมายรับรองและให้ความคุ้มครองเท่านั้น ( มาตรา 44 ) 1.1 สิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้า 1.2 สิทธิในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า 2. ขอบเขตแห่งสิทธิย่อมต้องถูกจำกัดด้วยประโยชน์ของประเทศหรือของสาธารณชน 3. ขอบเขตแห่งสิทธิถูกจำกัดไม่ให้ล่วงละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น 4. ขอบเขตแห่งสิทธิถูกจำกัดโดยหลักการคุ้มครองผู้สุจริต(มาตรา 27,47)
สิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่...ไม่จดทะเบียน พิจารณาตาม มาตรา46 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ แล้วสรุปได้ดังนี้ มีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าเพื่อแสดงความเกี่ยวพันระหว่างสินค้ากับเจ้าของเครื่องหมายการค้า – แต่ไม่มีสิทธิใช้แต่ผู้เดียว มีสิทธิคัดค้านการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม ม.34 และมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม ม.67 ไม่มีสิทธิห้ามผู้อื่นใช้เครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกัน เว้นแต่กรณีลวงขาย
การลวงขาย (Passing Off) หมายถึง การที่บุคคลหนึ่งนำสินค้าของตนไปลวงว่าเป็นสินค้าของผู้อื่นซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า – ถือเป็นการเอาเปรียบทางการค้า กระทบต่อผู้บริโภค และกระทบต่อ goodwill ของเจ้าของเครื่องหมายการค้า ลักษณะของการลวงขายควรมีข้อเท็จจริงประกอบดังนี้ - ความมีชื่อเสียงเกียรติคุณ goodwill ของเครื่องหมายการค้า - ข้อเท็จจริงที่แสดงออกต่อผู้บริโภค เช่น การทำหีบห่อ ตัวอักษร ภาพและสี (ต้องดูพฤติการณ์แต่ละกรณีไป) - การลวงขายไม่จำกัดว่าสินค้าที่ลวงขายนั้นต้องเป็นสินค้าประเภทเดียวกับสินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้าเท่านั้น
4. อายุความคุ้มครองและการต่ออายุ เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้วจะมีอายุความคุ้มครอง 10 ปี นับแต่วันยื่นจดทะเบียน สามารถต่ออายุได้ทุกๆ 10 ปี โดยไม่จำกัดแต่จะต้องยื่นคำขอต่อนายทะเบียน ภายใน 90 วัน ก่อนวันสิ้นอายุ มิฉะนั้นจะถือว่า เครื่องหมายการค้านั้นได้ถูกเพิกถอนการจดทะเบียน (พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 53)
5.การละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้า สิทธิที่จะเรียกร้องค่าทดแทนทางแพ่ง สิทธิฟ้องร้องดำเนินคดีอาญา -สิทธิฟ้องผู้อื่นฐานเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ หรือข้อความใดๆ ในการประกอบการค้าของตนไปใช้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 272(1) -สิทธิที่จะฟ้องผู้อื่นฐานปลอมเครื่องหมายการค้า ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 273 และพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 108
……5.การละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้า -สิทธิที่จะฟ้องผู้อื่นฐานเลียนเครื่องหมายการค้า ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 274 และพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 109 -สิทธิฟ้องผู้นำเข้ามาในราชอาณาจักร จำหน่าย หรือเสนอจำหน่ายสินค้าซึ่งเอาเครื่องหมายการค้าของตนไปใช้ หรือมีเครื่องหมายการค้าปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้ว ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 275 และพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 110
ตัวอย่างเครื่องหมายการค้าที่เป็นเสียง แก้ไขเพิ่มเติม โดยมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2559
ขอบคุณ Infographic กรมทรัพย์สินทางปัญญา