งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การป้องปรามการละเมิด ทรัพย์สินทางปัญญา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การป้องปรามการละเมิด ทรัพย์สินทางปัญญา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การป้องปรามการละเมิด ทรัพย์สินทางปัญญา
นายนิรันดร์ ปันเป็ง นิติกรชำนาญการ สำนักป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์

2 การละเมิดลิขสิทธิ์

3 สิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์
เจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆ ต่องานอันมี ลิขสิทธิ์ของตนดังต่อไปนี้ มีสิทธิ์ในการทำซ้ำ ดัดแปลง จำหน่าย ให้เช่า คัดลอก เลียนแบบทำสำเนา การทำให้ปรากฏต่อสาธารณชนหรืออนุญาตให้ ผู้อื่นใช้สิทธิของตน โดยมีหรือไม่มีค่าตอบแทนก็ได้ นอกจากสิทธิที่เจ้าของลิขสิทธิ์จะได้รับความคุ้มครองในรูปของผลประโยชน์ ทางเศรษฐกิจดังกล่าวแล้ว กฎหมายยังคุ้มครองสิทธิที่เรียกว่า ธรรมสิทธิ์ หรือ สิทธิในทางศีลธรรมด้วย โดยกำหนดว่าผู้สร้างสรรค์มีสิทธิที่จะแสดงตน ว่าเป็นผู้สร้างสรรค์และห้ามผู้อื่นมิให้กระทำการบิดเบือน ตัดทอน ดัดแปลง หรือกระทำการให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงของผู้สร้างสรรค์

4 ทำซ้ำหรือดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิดังกล่าวข้างต้น โดยจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใด อย่างหนึ่งหรือไม่ก็ได้ แต่เงื่อนไขดังกล่าวจะกำหนดในลักษณะที่เป็น การจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรมไม่ได้

5 การกระทำที่ถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์
ทำซ้ำ ดัดแปลง จำหน่าย (ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า ให้เช่าซื้อ หรือเสนอ ให้เช่าซื้อ) ให้เช่า คัดลอก เลียนแบบทำสำเนา การทำให้ปรากฏต่อสาธารณชน (เผยแพร่ต่อสาธารณชน) แจกจ่ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร

6 โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์

7 การละเมิดสิทธิบัตร

8 สิทธิบัตร คือ หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์คิดค้นหรือการ ออกแบบผลิตภัณฑ์

9 สิทธิบัตรการประดิษฐ์ หมายถึง การคิดค้นเกี่ยวกับ กลไก โครงสร้าง ส่วนประกอบ ของสิ่งของเครื่องใช้ เช่น กลไกของกล้อง ถ่ายรูป, กลไกของเครื่องยนต์, ยารักษาโรค เป็นต้น หรือการคิดค้น กรรมวิธีในการผลิตสิ่งของ เช่น วิธีการในการผลิตสินค้า, วิธีการใน การเก็บรักษาพืชผักผลไม้ไม่ให้เน่าเสียเร็วเกินไป เป็นต้น

10 สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ หมายถึง การ ออกแบบรูปร่าง ลวดลาย หรือสีสัน ที่มองเห็นได้ จากภายนอก เช่น การออกแบบแก้วน้ำให้มีรูปร่าง เหมือนรองเท้า เป็นต้น

11 อนุสิทธิบัตร เป็นการให้ความคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์ คิดค้น เช่นเดียวกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ แต่แตกต่าง กันตรงที่การประดิษฐ์ที่จะขอรับอนุสิทธิบัตร เป็นการ ประดิษฐ์ที่มีเป็นการปรับปรุงเพียงเล็กน้อย และมี ประโยชน์ใช้สอยมากขึ้นมาก

12 สิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตร (เจ้าของสิทธิบัตร)
มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น ในการที่จะผลิต ใช้ ขาย และมีสิทธิ์ที่จะ ใช้คำว่า “สิทธิบัตรไทย” หรืออักษร “สบท.” ให้ปรากฏในหีบห่อหรือ ในการประกาศโฆษณาได้ มีสิทธิที่จะอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้สิทธิในการนำการประดิษฐ์มาทำการ ผลิต ใช้ ขาย หรือ ใช้คำว่า “สิทธิบัตรไทย” ได้เช่นเดียวกับผู้ทรง สิทธิบัตร มีสิทธิที่จะโอนสิทธิบัตรของตนให้แก่บุคคลอื่น แต่จะต้องทำเป็น หนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

13 การกระทำที่ถือว่าละเมิดสิทธิบัตร
ผู้ทรงสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์เท่านั้นที่มีสิทธิใช้และหา ประโยชน์จากแบบผลิตภัณฑ์แต่เพียงผู้เดียว บุคคลอื่นที่มิใช่ผู้ทรง สิทธิบัตรหากใช้แบบผลิตภัณฑ์และแสวงหาประโยชน์จากแบบ ผลิตภัณฑ์ย่อมเป็นการละเมิดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ ข้อยกเว้น การกระทำที่ถือว่าเป็นการละเมิด ได้แก่ 1. การนำไปใช้เพื่อการศึกษาและวิจัย 2. การกระทำใดๆเกี่ยวกับแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มาโดยสุจริต

14 การละเมิดเครื่องหมายการค้า

15 เครื่องหมายการค้า คือ เครื่องหมายที่ใช้หรือจะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น สิ่งที่จะทำให้เครื่องหมายการค้ามีความแตกต่างกัน ก็คือ ลักษณะบ่งเฉพาะ (Distinctiveness) คือ ลักษณะที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้สินค้านั้นทราบและเข้าใจได้ว่า สินค้าที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างไปจากสินค้าอื่น

16 เครื่องหมายการค้า มักจะใช้เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของสินค้าโดยเป็นสิ่งที่ช่วยให้ผู้บริโภค ทราบถึงความแตกต่างของสินค้าที่ตนเลือกซื้อ ส่งผลให้เครื่องหมาย การค้าได้กลายมาเป็นสิ่งแสดงถึงคุณภาพและแสดงให้เห็นถึง แหล่งกำเนิดของสินค้า ดังนั้น จึงเป็นเสมือนตัวแทนหรือสัญลักษณ์ที่ ทำให้ผู้ซื้อจดจำและจำแนกสินค้าออกจากสินค้าของผู้ประกอบการ รายอื่น เพื่อที่จะสร้างความแตกต่างให้เห็นเด่นชัด และดึงดูดใจ ผู้บริโภคเพื่อให้เข้าถึงตัวสินค้า

17 ลักษณะของการละเมิดเครื่องหมายการค้า
ท่านอาจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ ได้ให้ความหมายไว้ว่า การปลอมเครื่องหมายการค้า ให้ความหมายไว้ว่า การปลอมเป็นการทำให้เหมือนของจริงขึ้นตรง ตามลักษณะเดิม แต่คงไม่ถึงขนาดต้องเหมือนกับของเดิมทุกประการ การเลียนเครื่องหมายการค้า มิได้มีเจตนาปลอม แต่ทำให้คล้ายคลึงกับของแท้ โดยอาจทำให้ ประชาชนทั่วไปหลงเชื่อว่าเป็นของแท้ (เจตนาพิเศษ)

18 สิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน
เจ้าของเครื่องหมายการค้ามีสิทธิแต่เพียงผู้เดียว ที่จะใช้เครื่องหมาย การค้ากับสินค้าที่จดทะเบียนไว้ และกรณีที่ผู้อื่นละเมิดสิทธิใน เครื่องหมายการค้า เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้ว มี สิทธิที่จะฟ้องร้องและเรียกค่าเสียหาย ได้ และในกรณีที่มีผู้อื่นนำ เครื่องหมายการค้าของเจ้าของ เครื่องหมายการค้าไปจดทะเบียน เจ้าของเครื่องหมายการค้าอาจฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียน เครื่องหมายการค้านั้นได้ 

19 เครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียน
เจ้าของเครื่องหมายการค้ามีสิทธิที่จะใช้เครื่องหมายการค้าที่ยังมิได้ จดทะเบียนนั้น แต่จะฟ้องคดีเพื่อป้องกันการละเมิดเครื่องหมาย การค้าที่ไม่ได้จดทะเบียน หรือค่าเสียหายไม่ได้

20 แต่ หากผู้แอบอ้างเอาตราสินค้าหรือเครื่องหมายการค้าของ ผู้ประกอบการผู้เป็นเจ้าของตราหรือเครื่องหมายการค้า นำสินค้าของ ผู้แอบอ้างไปขายโดยแอบอ้างว่าสินค้าที่ขายเป็นของผู้ประกอบการ เจ้าของตราหรือเครื่องหมายการค้าลักษณะแบบนี้ กฎหมายเรียกว่า การลวงขาย อย่างนี้ผู้ประกอบการเจ้าของตราหรือเครื่องหมายการค้า ที่เสียหายสามารถฟ้องร้องเรียกค่าสินไหมทดแทนกับผู้แอบอ้างนำ สินค้าไปลวงขายได้ ตามพระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้าพ.ศ มาตรา  46 วรรคสอง  บัญญัติว่า บทบัญญัติมาตรานี้ไม่ กระทบกระเทือนสิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้า ที่ไม่ได้จด ทะเบียน ในอันที่จะฟ้องคดีบุคคลอื่นซึ่งเอาสินค้าของตน ไปลวงขายว่า เป็นสินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น

21 และอาจใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 272 ผู้ใด (1) เอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความใด ๆ ในการประกอบ การค้าของผู้อื่นมาใช้ หรือทำให้ปรากฏที่สินค้า หีบ ห่อ วัตถุที่ใช้ หุ้ม ห่อ แจ้งความรายการแสดงราคา จดหมายเกี่ยวกับการค้าหรือ สิ่งอื่น ทำนองเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือ การค้าของ ผู้อื่นนั้น (2) เลียนป้าย หรือสิ่งอื่นทำนองเดียวกันจนประชาชนน่าจะ หลงเชื่อ ว่าสถานที่การค้าของตนเป็นสถานที่การค้าของผู้อื่นที่ตั้งอยู่ใกล้เคียง

22 ความผิดนี้เป็นความผิดอันยอมความได้ ผู้เสียหายต้องแจ้งความร้องทุกข์ก่อน

23 เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนนอกราชอาณาจักร
มาตรา 273 ผู้ใดปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น ซึ่งได้จดทะเบียนแล้ว ไม่ว่าจะได้จด ทะเบียนภายในหรือนอกราชอาณาจักร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน หกพันบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 274 ผู้ใดเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น ซึ่งได้จด ทะเบียนแล้ว ไม่ว่าจะได้จด ทะเบียนภายในหรือนอกราชอาณาจักร เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้า ของผู้อื่นนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้ง ปรับ มาตรา 275 ผู้ใดนำเข้าในราชอาณาจักร จำหน่ายหรือเสนอ จำหน่ายซึ่งสินค้าอันเป็น สินค้าที่มีชื่อ รูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความ ใดๆ ดังบัญญัติไว้ใน มาตรา 272 (1) หรือ สินค้าอันเป็นสินค้าที่มี เครื่องหมายการค้าปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น ตาม ความใน มาตรา 273 หรือ มาตรา 274 ต้องระวางโทษดังที่บัญญัติ ไว้ในมาตรานั้น ๆ

24 ข้อควรปฏิบัติ เมื่อถูกกล่าวหาว่าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

25 กรณี ถูกกล่าวหาว่าละเมิดลิขสิทธิ์
ผู้ถูกจับกุมและถูกกล่าวหาว่าละเมิดลิขสิทธิ์ควรตรวจสอบหลักฐานที่ใช้ประกอบการกล่าวหาดังนี้ 1.หลักฐานการแจ้งความร้องทุกข์ (บันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดี) ต่อพนักงานสอบสวน เนื่องจากคดีละเมิดลิขสิทธิ์เป็นความผิดส่วนตัว เจ้าของลิขสิทธิ์หรือตัวแทนผู้รับมอบอำนาจจะต้องแจ้งความร้องทุกข์เสียก่อน เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงมีอำนาจในการจับกุมดำเนินคดี และคดีนี้สามารถระงับด้วยการถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้อง หรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย 2.หลักฐานความเป็นเจ้าของงานอันมีลิขสิทธิ์(เป็นผู้สร้างสรรค์) หรือการได้มาซึ่งสิทธิ์โดยวิธีอื่น เช่น เป็นผู้รับโอน หรือผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ เป็นต้น 3.หลักฐานการมอบอำนาจให้ตัวแทนมาดำเนินคดี เช่นหนังสือมอบอำนาจหมดอายุหรือไม่ การมอบอำนาจถูกต้องหรือไม่ การมอบอำนาจต่อเนื่องไม่ขาดสายหรือไม่ มีอำนาจในการร้องทุกข์ ถอนคำร้องทุกข์ หรือยอมความหรือไม่ เป็นต้น 4. มีเจ้าหน้าที่ตำรวจมาด้วยหรือไม่ มีการแสดงตัวและเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องเป็นผู้จับกุม โดยอาจขอดูบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ตำรวจ

26 5. การเข้าตรวจค้นในที่รโหฐานเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องมีหมายค้นของศาลมาแสดงก่อนทำการตรวจค้นและมีเจ้าหน้าที่ตำรวจที่นำตรวจค้นมีชื่อตรงตามที่ระบุไว้ในหมายค้นด้วย 6. ของกลางที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะยึดได้คือทรัพย์สินที่ทำหรือมีไว้เป็นความผิดหรือทรัพย์สินที่ได้ใช้หรือมีไว้ในการกระทำความผิด 7. กรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจแสดงตัวเพื่อจับกุมแล้วเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องแจ้งสิทธิแก่ผู้ถูกจับว่ามีสิทธิดังนี้ - มีสิทธิรับทราบข้อกล่าวหาในการกระทำผิด - มีสิทธิที่จะให้การหรือไม่ให้การก็ได้ และถ้อยคำของผู้ถูกจับอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้ - มีสิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความหรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว - มีสิทธิแจ้งหรือขอให้เจ้าพนักงานแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจทราบถึงการถูกจับกุมและสถานที่ถูกควบคุมในโอกาสแรก

27 - มีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนในชั้นสอบสวน
- มีสิทธิได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อญาติได้ตามสมควร - มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็วเมื่อเกิดการเจ็บป่วย 8. ควรติดต่อหรือประสานให้ทนายความมาเพื่ออำนวยความสะดวกเกี่ยวกับคดี (ถ้ามี) 9. ควรมีการประกันตัวผู้ถูกกล่าวหาในชั้นสอบสวน โดยมีหลักประกันที่นำมาใช้ประกันตัวเช่น โฉนดที่ดิน เงินสด พันธบัตร หรือบุคคลที่เป็นข้าราชการ 10. คดีละเมิดลิขสิทธิ์เป็นคดีที่ยอมความกันได้ดังนั้นหากจะยอมความต้องกระทำต่อหน้าพนักงานสอบสวนและบันทึกไว้เป็นหลักฐาน ไม่ควรเจรจาจ่อรองกันเองในที่เกิดเหตุหรือ สถานที่ลับตา 11. หากไม่ได้กระทำความผิดควรเตรียมหลักฐานในการต่อสู้คดี

28 ผู้ถูกจับกุมผู้ถูกกล่าวหาว่าละเมิดเครื่องหมายการค้า
1. ตรวจสอบข้อเท็จจริงว่าผู้กล่าวหาได้ใช้เครื่องหมายการค้ามาก่อนหรือไม่ หรือจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ในประเทศหรือต่างประเทศมาก่อน หรือไม่ เพื่อทราบว่าผู้กล่าวหาเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่แท้จริง 2. ตรวจสอบในขณะจับกุมว่ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจมาด้วย โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ เป็นผู้ทำการจับกุม โดยอาจขอดูบัตรประจำตัว 3. การเข้าตรวจค้นในที่รโหฐานเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องมีหมายค้นของศาลมา แสดงก่อนทำการตรวจค้นและมีเจ้าหน้าที่ตำรวจที่นำตรวจค้นมีชื่อตรง ตามที่ระบุไว้ในหมายค้นด้วย

29 4. คดีละเมิดเครื่องหมายการค้าเป็นคดีที่ไม่สามารถยอมความกันได้เนื่องจาก เป็นคดีความผิดอาญาแผ่นดิน ต้องดำเนินคดีไปตามกระบวนการ 5. ของกลางที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะยึดได้คือทรัพย์สินที่ทำหรือมีไว้เป็นความผิดหรือ ทรัพย์สินที่ได้ใช้หรือมีไว้ในการกระทำความผิดเท่านั้น 6. กรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจแสดงตัวเพื่อจับกุมแล้วเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องแจ้งสิทธิแก่ ผู้ถูกจับว่ามีสิทธิดังนี้ - มีสิทธิรับทราบข้อกล่าวหาในการกระทำผิด - มีสิทธิที่จะให้การหรือไม่ให้การก็ได้ และถ้อยคำของผู้ถูกจับอาจใช้เป็น พยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้

30 - มีสิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความหรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความเป็นการ เฉพาะตัว
- มีสิทธิแจ้งหรือขอให้เจ้าพนักงานแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจทราบถึงการ ถูกจับกุมและสถานที่ถูกควบคุมในโอกาสแรก - มีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนในชั้น สอบสวน - มีสิทธิได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อญาติได้ตามสมควร - มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็วเมื่อเกิดการเจ็บป่วย

31 7. ควรติดต่อหรือประสานให้ทนายความมาเพื่ออำนวยความสะดวกเกี่ยวกับคดี (ถ้ามี) 8. ควรมีการประกันตัวผู้ถูกกล่าวหาในชั้นสอบสวน โดยมีหลักประกันที่นำมาใช้ ประกันตัวเช่น โฉนดที่ดิน เงินสด พันธบัตร หรือบุคคลที่เป็นข้าราชการ 9. หากไม่ได้กระทำความผิดควรเตรียมหลักฐานในการต่อสู้คดี

32 ถูกกล่าวหาว่าละเมิดสิทธิบัตร
1. ตรวจสอบข้อเท็จจริงว่าผู้กล่าวหาได้จดทะเบียนสิทธิบัตรไว้แล้วหรือไม่ 2. ตรวจสอบว่าผู้กล่าวหามีเจ้าหน้าที่ตำรวจมาด้วยและเป็นผู้ทำการจับกุม เนื่องจากการจับกุมเป็นอำนาจของเจ้าหน้าที่ตำรวจเท่านั้น โดยอาจขอดู บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ตำรวจ 3. การตรวจค้นในที่รโหฐานเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องมีหมายค้นของศาลมาแสดง ก่อนจึงจะทำการค้นได้ 4. คดีละเมิดสิทธิบัตรไม่สามารถยอมความกันได้ดังนั้นจึงไม่สามารถตกลงกัน ในที่เกิดเหตุหรือหน้าโรงพักหรือหลังโรงพักโดยจ่ายเงินเป็นค่าชดเชยความ เสียหาย จึงขอให้ไปดำเนินการตามกฎหมายบนโรงพักเท่านั้น

33 5. ควรติดต่อหรือประสานทนายความเพื่อมาอำนาจความสะดวกเกี่ยวกับคดี
(ถ้ามี) 6. ของกลางในคดีได้แก่ ทรัพย์สินที่ได้ทำหรือมีไว้เป็นความผิดหรือทรัพย์สินที่ ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด

34 กรณีเจ้าของสิทธิ์ หากถูกละเมิดลิขสิทธิ์เจ้าของลิขสิทธิ์ควรดำเนินการดังนี้ 1. ควรส่งหนังสือเตือนไปยังผู้กระทำละเมิด โดยอาจระบุรายละเอียดเช่น - งานอันมีลิขสิทธิ์ของเจ้าของสิทธิ์ว่ามีการให้ความคุ้มครองตามกฎหมายอย่างไรเช่นเป็นลิขสิทธิ์ประเภทไหน มีอายุความคุ้มครองเท่าไร เจ้าของสิทธิ์มีสิทธิในงานนั้นอย่างไร - พฤติการณ์การละเมิดของผู้กระทำละเมิดเป็นอย่างไรที่เข้าข่ายละเมิด - ผลของการละเมิดมีความผิดตามกฎหมายอย่างไร - คำสั่งให้หยุดการกระทำละเมิดภายในระยะเวลากำหนด

35 กรณีเจ้าของสิทธิ์ 2. หากมีหนังสือเตือนไปยังผู้กระทำละเมิดแล้ว ผู้กระทำละเมิดไม่หยุดการกระทำควรดำเนินการแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจ พร้อมหลักฐานดังนี้ กรณีลิขสิทธิ์ในประเทศ หลักฐานการสร้างสรรค์งานหรือหลักฐานการแสดงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์และหลักฐานการนำงานออกโฆษณางานครั้งแรก ตัวอย่างงานที่ละเมิดและงานที่ถูกละเมิด หนังสือมอบอำนาจในการแจ้งความร้องทุกข์ในกรณีที่ไม่ได้แจ้งความร้องทุกข์ด้วยตัวเอง(หากมีการมอบอำนาจช่วงการมอบอำนาจต้องไม่ขาดสาย) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือหนังสือรับรองนิติบุคคลของเจ้าของลิขสิทธิ์หรือผู้รับมอบอำนาจ

36 กรณีเจ้าของสิทธิ์ กรณีลิขสิทธิ์ต่างประเทศ หลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของสิทธิ์ของผู้เสียหายและเงื่อนไขการได้รับความคุ้มครอง ตามกฎหมายต่างประเทศที่เป็นแหล่งเกิดงาน เช่น ชื่อผู้สร้างสรรค์ การเผยแพร่การโฆษณางาน การจดแจ้งงานอันมีลิขสิทธิ์ ชื่อผู้แปลหรือจัดทำคำบรรยายเป็นภาไทย รวมทั้งเจ้าของลิขสิทธิ์ต้องรับรองว่าได้สร้างสรรค์งานขึ้นเมื่อใด หนังสือมอบอำนาจซึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์ในต่างประเทศได้มอบอำนาจให้นิติบุคคลหรือบุคคลในประเทศไทยเป็นตัวแทนผู้รับมอบอำนาจ หนังสือรับรองความเป็นนิติบุคคลของเจ้าของลิขสิทธิ์ หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล เช่น คำให้การของผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล ซึ่งให้การต่อหน้าโนตารีพับลิค หนังสือรับรองฐานะนิติบุคคลของผู้รับมอบอำนาจในประเทศไทย (กรณีตั้งนิติบุคคลเป็นตัวแทนในประเทศไทย)

37 กรณีเจ้าของสิทธิ์ หนังสือมอบอำนาจให้บุคคลร้องทุกข์แทนในกรณีที่มีการมอบอำนาจช่วง พร้อมด้วยหลักฐานการมอบอำนาจ เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ หนังสือรับรองการเป็นนิติบุคคล เอกสารที่แสดงว่าบ่อเกิดแห่งงานที่ถูกละเมิดลิขสิทธิ์นั้น เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมพร้อมคำแปลภาษาไทย เช่น อนุสัญญากรุงเบอร์น ตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ของประเทศที่เป็นแหล่งกำเนิดงานพร้อมคำแปลภาษาไทย เอกสารที่มาจากต่างประเทศจะต้องเป็นต้นฉบับ ถ้าจะใช้สำเนาจะต้องมีการรับรองความถูกต้องแท้จริงโดยวิธีการตามกฎหมายของประเทศนั้นๆ เช่นให้โนตารีพับลิค หรือแมจิสเตรท รับรองว่าบุคคลดังกล่าวมีตัวตนจริง แล้วให้สถานทูตหรือสถานกงสุลไทยรับรองอีกชั้นหนึ่ง ตัวอย่างงานที่ละเมิดและงานที่ถูกละเมิด เอกสารที่เป็นภาษาต่างประเทศให้จัดทำคำแปลเป็นภาษาไทยพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจรับเรื่องแล้วให้ร่วมชี้ยืนยันสินค้าละเมิดในการตรวจค้น

38 กรณีเจ้าของสิทธิ์ ให้การต่อพนักงานสอบสวนในฐานะผู้เสียหาย เป็นพยานในชั้นพนักงานอัยการและชั้นศาล สนับสนุนพยานหลักฐานอื่นใดที่พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการร้องขอ

39 เจ้าของเครื่องหมายการค้าหากถูกละเมิดควรดำเนินการดังนี้
1. ควรส่งหนังสือเตือนไปยังผู้กระทำละเมิด โดยอาจระบุรายละเอียดเช่น เครื่องหมายการค้าที่กฎหมายให้ความคุ้มครองเป็นอย่างไร สินค้าประเภทไหน มีอายุความคุ้มครองเท่าไร เจ้าของสิทธิ์มีสิทธิในเครื่องหมาย การค้านั้นอย่างไร พฤติการณ์การละเมิดของผู้กระทำละเมิดเป็นอย่างไรที่เข้าข่ายละเมิด ผลของการละเมิดมีความผิดตามกฎหมายอย่างไร คำสั่งให้หยุดการกระทำละเมิดภายในระยะเวลากำหนด สำเนาภาพถ่ายทะเบียนแบบเครื่องหมายการค้า

40 2. หากมีหนังสือเตือนไปยังผู้กระทำละเมิดแล้ว ผู้กระทำละเมิดไม่หยุดการกระทำควรดำเนินการแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจ พร้อมหลักฐานดังนี้ ทะเบียนแบบเครื่องหมายการค้าที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับรองหรือ หนังสือรับรองการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า กรณีที่เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนในต่างประเทศ ต้องดำเนินการตาม กฎหมายอาญา ในเรื่องการนำรูปรอยประดิษฐ์ในทางการค้าเป็นความผิดอัน ยอมความได้ต้องแจ้งความร้องทุกข์ก่อน หนังสือมอบอำนาจกรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ตัวอย่างสินค้าจริงและตัวอย่างสินค้าที่ละเมิด

41 ควรดำเนินการร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในดำเนินการจับกุมผู้ต้องหาและ ตรวจยึดสินค้าของกลาง
ให้การต่อพนักงานสอบสวนในฐานะผู้เสียหาย ผู้กล่าวหา และเป็นพยานในชั้น พนักงานอัยการและชั้นศาล สนับสนุนพยานหลักฐานในการดำเนินคดีแก่พนักงานสอบสวนและพนักงาน อัยการ

42 ถูกละเมิดสิทธิบัตร ควรแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจพร้อมหลักฐาน ดังนี้ 1) ตัวสิทธิบัตร 2) กรณีนิติบุคคลเป็นผู้ทรงสิทธิบัตรจะต้องแสดงหนังสือรับรองนิติ บุคคลด้วย 3) กรณีผู้ทรงสิทธิบัตรมิได้มาแจ้งความร้องทุกข์ด้วยตนเองจะต้องมี หนังสือมอบอำนาจให้มาแจ้งความ ร้องทุกข์แทน หากผู้ทรงสิทธิบัตรเป็น บุคคลหรือนิติบุคคลต่างประเทศเอกสารเกี่ยวกับการมอบอำนาจจะต้อง เป็น ต้นฉบับ ถ้าจะใช้สำเนาจะต้องมีการรับรองความแท้จริงถูกต้อง โดยวิธีการ ตามกฎหมายของประเทศนั้น (เช่น ให้โนตารีพับลิคหรือแมจิสเตรทรับรอง) แล้วให้สถานเอกอัครราชทูตไทยหรือกงสุลไทยรับรองอีกชั้นหนึ่ง

43 กรณีถูกกล่าวหาว่าละเมิดสิทธิบัตรควรทำอย่างไร
ควรปฏิบัติดังนี้ 1. ตรวจสอบข้อเท็จจริงว่าผู้กล่าวหาได้จดทะเบียนสิทธิบัตรไว้แล้ว หรือไม่ 2. ตรวจสอบว่าผู้กล่าวหามีเจ้าหน้าที่ตำรวจมาด้วยและเป็นผู้ทำการ จับกุม เนื่องจากการจับกุมเป็นอำนาจของเจ้าหน้าที่ตำรวจเท่านั้น โดยอาจขอดู บัตรประจำตัว เจ้าหน้าที่ตำรวจ 3. การตรวจค้นในที่รโหฐานเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องมีหมายค้นของศาลมา แสดงก่อนจึงจะทำการค้นได้

44 4. คดีละเมิดสิทธิบัตรไม่สามารถยอมความกันได้ดังนั้นจึงไม่สามารถตกลงกันใน ที่เกิดเหตุหรือหน้าโรงพักหรือหลังโรงพักโดยจ่ายเงินเป็นค่าชดเชยความ เสียหายจึงขอให้ไปดำเนินการตามกฎหมายบนโรงพักเท่านั้น 5. ควรติดต่อหรือประสานทนายความเพื่อมาอำนาจความสะดวกเกี่ยวกับคดี (ถ้า มี) 6. ของกลางในคดีได้แก่ ทรัพย์สินที่ได้ทำหรือมีไว้เป็นความผิดหรือทรัพย์สินที่ ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด 7. ควรมีการประกันตัวผู้ต้องหา หลักฐานที่ต้องนำมาใช้ในการประกันตัว เช่น โฉนดที่ดิน เงินสด หรือบุคคลที่เป็นข้าราชการ

45 8. กรณีเป็นผู้ถูกจับย่อมมีสิทธิดังนี้ (1) มีสิทธิรับทราบข้อกล่าวหาในการกระทำความผิด (ป.วิอาญา ม.83 ว2 ) (2) มีสิทธิจะไม่ให้การหรือให้การก็ได้ และถ้อยคำของผู้ถูกจับอาจใช้เป็นพยานหลักฐาน ในการพิจารณาคดีได้(ป.วิอาญา ม. 83 ว2) (3) สิทธิในการพบและปรึกษาทนายความหรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว (ป.วิอาญา ม.7/1 และ ม.83 ว2) (4) มีสิทธิแจ้งหรือขอให้เจ้าพนักงานแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจทราบถึงการถูก จับกุมและสถานที่ที่ถูกควบคุมในโอกาสแรก (ป.วิอาญา ม.7/1 ) (5) สิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้ในชั้นสอบสวน (ป.วิอาญา ม.7/1 ) (6) สิทธิได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อกับญาติได้ตามสมควร (ป.วิอาญา ม.7/1 ) (7) สิทธิได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็วเมื่อเกิดการเจ็บป่วย (ป.วิอาญา ม.7/1 )

46 ข้อควรปฏิบัติในการแจ้งเบาะแสการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
ข้อมูลที่ควรทราบก่อนแจ้งข้อมูล 1. ชื่อผู้กระทำละเมิด(บริษัท,ห้าง,ร้าน,แผงลอย) 2. รูปพรรณของบุคคลที่กระทำละเมิด 3. จำนวนคนในที่ตั้ง 4. สถานที่ตั้ง 5. พฤติการณ์การกระทำละเมิด ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้าหรืออื่นๆ 6. วัน เวลา ที่กระทำละเมิด 7. ข้อมูลอื่นที่จำเป็น เช่นแผนที่ตั้ง สถานที่ใกล้เคียงที่สังเกตได้ง่าย สินค้าหรือ ผลิตภัณฑ์ที่ละเมิด เลขที่บ้าน หมายเลขทะเบียนรถ ฯลฯ


ดาวน์โหลด ppt การป้องปรามการละเมิด ทรัพย์สินทางปัญญา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google